ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    BRIEF: “ใกล้เกินขีดจำกัดที่มนุษย์จะทนได้” งานวิจัย ชี้ ความร้อนในปีนี้ถือเป็นสัญญาณของโลกยุคใหม่
    .
    สถิติความร้อนของโลกในปีนี้ อาจเป็นสัญญาณของยุควิกฤตสภาพภูมิอากาศใหม่ ที่ไม่มีมนุษย์คนไหนเคยสัมผัสมาก่อน หลังมาลีหรือประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันตก ประสบกับคลื่นความร้อนที่สูงเป็นประวัติการณ์ จนผู้คนต้องหลีกหนีจากที่โล่งแจ้งและอยู่แต่ในบ้านของพวกเขาเป็นเวลากว่าสัปดาห์แล้ว
    .
    นอกจากนี้ เมษายนยังเป็นเดือนรอมฎอนอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม ซึ่งประชาชนชาวมาลีนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นตอนนี้โรคลมแดดกลายเป็นโรคระบาดหนักของพวกเขา
    .
    อย่างไรก็ตาม คลื่นความร้อนครั้งประวัติศาสตร์ที่กำลังล้อมรอบมาลีและส่วนอื่นๆ ของแอฟริกาตะวันตก นักวิทยาศาสตร์ต่างให้ความเห็นกับปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า "มันไม่น่าจะเกิดขึ้นได้" ดังนั้น นักวิจัยกำลังช่วยกันหาคำตอบว่า ทำไมโลกของเรามาถึงจุดนี้ได้เร็วขนาดนี้
    .
    ทั้งนี้ เมื่อสิ้นปี 2023 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคก่อนยุคอุตสาหกรรม (ก่อนปี 1760) เกือบ 1.5 องศาเซลเซียส และร้อนกว่าที่นักสร้างแบบจําลองภูมิอากาศคาดการณ์ไว้ประมาณ 0.2 องศาเซลเซียส
    .
    "จะเกิดอะไรขึ้นถ้าสถิติที่เราใช้การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศของโลกตลอดหลายปีที่ผ่านมากลับใช้ไม่ได้อีกต่อไป" เกวิน ชมิดท์ (Gavin Schmid) ผู้อํานวยการสถาบันนาซาก็อดดาร์ด กล่าว
    .
    ทว่าการทดสอบเพื่อหาคำตอบที่แท้จริงอีกครั้งจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากโลกจะเปลี่ยนจากรูปแบบสภาพอากาศแบบเอลนีโญ (El Niño) ไปสู่รูปแบบตรงกันข้าม นั่นก็คือ ลานีญา (La Niña) ที่จะทำให้อุณหภูมิโลกต่ำลง นักวิทยาศาสตร์จึงคาดหวังว่า ปรากฏการณ์นี้จะช่วยยุติหรือลดสถิติความร้อนของโลก
    .
    แต่ถึงกระนั้น แม้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะกลับสู่วิถีที่คาดเดาได้มากขึ้น แต่ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อผู้คนที่ยากจนและระบบนิเวศยังคงดำเนินต่อไป
    .
    “ถ้าเรายังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศต่อไป สถานการณ์จะยิ่งเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ และจะนำพาเราไปสู่ยุคใหม่ที่เราคาดไม่ถึง”
    .
    .
    .
    อ้างอิงจาก

    https://www.washingtonpost.com/climate-environment/2024/04/19/record-temperatures-heat-climate/

    https://www.washingtonpost.com/clim.../09/record-hot-year-2023-global-temperatures/

    #วิกฤตสภาพภูมิอากาศ #โลกเดือด #โลกร้อน #ClimateChange

    https://www.facebook.com/share/9qbJKu2C4bnRBRFp/?mibextid=oFDknk
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1714205523206.jpg

    BRIEF: ญี่ปุ่นจะติดตั้งตาข่ายเพื่อกั้น ‘วิวภูเขาไฟฟูจิ’ หลังร้าน Lawson เหตุนักท่องเที่ยวทะลัก-ประพฤติตัวไม่ดี
    .
    จุดถ่ายภาพยอดฮิตสำหรับใครก็ตามที่บินไปโตเกียว แต่หลังจากนี้วิวทิวทัศน์นี้จะถูกปิดกั้น เพราะคนในท้องที่ประสบกับนักท่องเที่ยวที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม จนสร้างความขุ่นเคืองใจ ภาครัฐจึงตัดสินใจจะดำเนินการก่อสร้างตาข่าย สูง 2.5 เมตร และยาว 20 เมตร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
    .
    “เป็นเรื่องน่าเสียใจที่เราต้องทําเช่นนี้ ทว่านักท่องเที่ยวมีจำนวนมากเกินไป และบางคนยังไม่เคารพกฎอีกต่างหาก เช่น ทิ้งขยะไม่เป็นที่หรือเพิกเฉยต่อกฎจราจร” เจ้าหน้าที่เมืองฟูจิคาวากุจิโกะ (Fujikawaguchiko) กล่าว
    .
    โดยในปีนี้จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไปเยือนญี่ปุ่นสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งขณะนี้ตัวเลขอยู่ที่ราว 3 ล้านคนแล้ว อย่างไรก็ดี ภูเขาไฟฟูจิ หรือ ภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น ถือเป็นจุดเช็คอินสำหรับผู้มายังโตเกียว ที่หลายคนมักไม่พลาดที่จะถ่ายรูป จากหลายๆ จุดในเมืองฟูจิคาวากุจิโกะ
    .
    แต่จุดชมวิวบริเวณร้านลอว์สัน (Lawson) ร้านค้าสะดวกซื้อ กลับได้รับความนิยมเป็นพิเศษมากกว่าจุดอื่นๆ เนื่องจากภูเขาไฟอันยิ่งใหญ่ปรากฏอยู่ด้านหลังของร้านอย่างชัดเจน
    .
    ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นที่กำลังพบเจอกับสถานการณ์ดังกล่าว ยังมีจุดหมายปลายทางที่มีชื่อเสียงอีกมากมายทั้วโลก ที่กําลังรับมือกับจํานวนนักท่องเที่ยวที่มีมากจนเกินไปเช่นกัน เช่น เมืองเวนิส ในอิตาลี ที่เริ่มเรียกเก็บเงินเพิ่มกับผู้ที่มาเยือนเมืองดังกล่าวแล้ว
    .
    .
    .
    อ้างอิงจาก

    https://www.channelnewsasia.com/asi...fuji-view-troublesome-tourist-tourism-4294376

    https://timesofindia.indiatimes.com...id-tourist-overcrowding/articleshow/109630537

    #ภูเขาไฟฟูจิ #ญี่ปุ่น #Overtourism #TheMATTER

    https://www.facebook.com/share/p/2zng4m3BSezDYJWd/?mibextid=oFDknk
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1714205608987.jpg

    BRIEF: เพื่อรักษาชีวิตประชาชน รัฐญี่ปุ่นเริ่มใช้ระบบ ‘แจ้งเตือนโรคลมแดด’ หลังยอดเสียชีวิตจากความร้อนพุ่งสูงขึ้นทุกปี
    .
    รู้สึกไหมว่ามันร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกที? หลายประเทศทั่วโลกประสบกับปัญหานี้ และแน่นอนว่าภัยคุกคามที่ตามมาคงหนีไม่พ้น ‘โรคลมแดด’ ที่คร่าชีวิตผู้คนอยู่ทุกๆ ฤดูร้อน
    .
    ล่าสุดกระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นเปิดตัวระบบแจ้งเตือนโรคลมแดด (Heat stroke) หลังจากจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากความร้อนในฤดูร้อนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
    .
    เมื่อมีการประกาศแจ้งเตือน เทศบาลจะเปิดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องสมุด และศูนย์ชุมชนให้กับผู้อยู่อาศัยเป็น ‘ที่พักพิงเย็น’ และจะเป็นเช่นนี้จนถึงวันที่ 23 ตุลาคมปีนี้
    .
    หากมีการคาดการณ์ว่าจะมีความร้อนแผ่กระจายและเป็นอันตราย กระทรวงฯ จะส่งแจ้งเตือนช่วง 14.00 น. ของวันก่อนหน้า และเรียกร้องให้ยกเลิกหรือเลื่อนการแข่งขันกีฬาและกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่สามารถใช้มาตรการป้องกันโรคลมแดดได้อย่างเพียงพอ
    .
    จะมีการออกแจ้งเตือนพิเศษในแต่ละจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่กระทรวงฯ พิจารณาว่ามีดัชนีความร้อนสูง ซึ่งคำนาณจากปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิและความชื้นอยู่ที่ 35 หรือมากกว่าจุดอื่นๆ ในจังหวัด และแม้ว่าจังหวัดไซตามะจะเป็นพื้นที่ที่ดัชนีความร้อนแตะระดับ 34 หรือสูงกว่าในวันที่ 11 สิงหาคม 2020 ที่ผ่านมา แต่จนถึงปัจจุบันกระทรวงฯ ก็ยังไม่ได้รับรองให้มีการแจ้งเตือนพิเศษ
    .
    ระบบแจ้งเตือนใหม่นี้เป็นระบบที่เพิ่มเข้ามาจากระบบเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งจะออกการแจ้งเตือนสำหรับแต่ละพื้นที่ในจังหวัด เมื่อมีการคาดการณ์ว่าดัชนีความร้อนจะสูงถึง 33 หรือมากกว่า ขณะที่ระบบนี้สร้างขึ้นเนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดเฉลี่ยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาตกปีละกว่า 1,000 รายในญี่ปุ่น
    .
    อีกทั้งอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศในช่วงฤดูร้อนปี 2023 ยังสูงที่สุดนับตั้งแต่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มบันทึกข้อมูลที่เทียบเคียงได้ในปี 1898
    .
    ข้อมูลจาก Bloomberg ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (Climate change) กำลังคร่าชีวิตผู้สูงอายุในญี่ปุ่น และรัฐบาลกำลังหาวิธีรับมือกับมัน มีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดโดยเฉลี่ย 1,145 รายต่อปี ในช่วงปี 2017 - 2021 ขณะที่ในปี 2020 กว่า 86% ของผู้เสียชีวิตมีอายุเกิน 65 ปี
    .
    ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีประชากรสูงวัยมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเกือบ 30% ของประชากรมีอายุเกิน 65 ปี ถึงอย่างนั้นก็ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่เสมอเมื่อพูดถึงการป้องกันการเสียชีวิตในหมู่ผู้สูงอายุจากความร้อน
    .
    บางครั้งผู้ที่เป็นโรคลมแดดมักหลีกเลี่ยงการเปิดเครื่องปรับอากาศด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ประหยัดเงิน ฯลฯ ตามข้อมูลของรัฐบาลระบุว่า เมื่อฤดูร้อนปี 2022 ในกรุงโตเกียว ประมาณ 90% ของผู้เสียชีวิตไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศ ทำให้เกิดเป็นแผนสนับสนุนผู้สูงอายุใช้เครื่องปรับอากาศ ไปถึงการสร้างที่พักพิงเย็นในเขตท้องถิ่นต่างๆ
    .
    ประเทศอื่นๆ ในเอเชียรวมถึงอินเดีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทยเอง ต้องทนทุกข์ทรมานจากอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์เช่นกัน
    .
    ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนำไปสู่อุณหภูมิที่แผดเผา และเกิดเป็นคลื่นความร้อนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก
    .
    .
    .
    อ้างอิงจาก
    https://english.kyodonews.net/news/...-alert-system-as-heat-stroke-deaths-rise.html

    https://japantoday.com/category/national/japan-launches-new-alert-system-as-heat-stroke-deaths-rise

    https://www.bloomberg.com/news/arti...troke-rise-in-japan-prompting-countermeasures

    #Brief #TheMATTER

    https://www.facebook.com/share/p/twPpL93cZVKmQPUS/?mibextid=oFDknk
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1714205736306.jpg


    “สมมติราคาค่าเช่าร้านอยู่ที่ 5,000 บาท คนจีนมักจะเสนอค่าเช่าเป็น 50,000 บาท หรือมากกว่าราว 5-10 เท่า คนไทยจึงสู้ไม่ได้ทั้งเรื่องสินค้าและค่าเช่าที่”
    .
    “พ่อค้าแม่ค้าคนไทยเจ๊งกันระนาว สมมติรับของจีนมาขาย ต้นทุนตกชิ้นละ 35 บาท ป้าก็ซื้อมาขายต่อ 70 บาท แต่สักพักคนจีนกลับขายสินค้าดังกล่าวเองในราคา 35 บาท”
    .
    The MATTER ขอพาทุกคนไปฟังเสียงพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยที่ย่านสำเพ็ง ที่พูดถึงผลกระทบของการเข้ามาของนักลงทุนจีน รวมถึงทางออกของปัญหานี้ว่าควรจะเป็นอย่างไร อ่านต่อได้ที่: https://thematter.co/social/chinese-investment-in-sampeng/225112

    #สำเพ็ง #ทุนจีน #ทุนต่างชาติ #TheMATTER
    https://www.facebook.com/share/p/qCR5nNMrgLtarKvs/?mibextid=oFDknk
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1714205896438.jpg

    BRIEF: โลกเปลี่ยนจนรู้สึกว่า ‘บ้าน’ ไม่มั่นคง การศึกษาพบ Climate change ทำคนพลัดถิ่นมากกว่า 21.5 ล้านคนต่อปี
    .
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ไม่ใช่เรื่องไกลตัว อากาศที่ร้อนขึ้นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และมีอิทธิพลต่อการเมืองและวัฒนธรรมของเราทุกคนเพราะมันจะคุกคามอาหารที่เรากิน น้ำที่เราดื่ม และแน่นอนว่ากระทบต่อสังคมของเราด้วย
    .
    ขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเร่งตัวขึ้น ความร้อนจัดและภัยพิบัติทางสภาพอากาศทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องพลัดถิ่นมากขึ้น วิกฤตดังกล่าวกำลังรบกวนชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยๆ กับความเป็นอยู่และสิ่งที่เราเรียกว่า ‘บ้าน’
    .
    ก่อนหน้านี้เราได้ยินข่าวไฟป่าร้ายแรงที่สุดของสหรัฐฯ ในรอบกว่าศตวรรษที่เมืองเมาอิ รัฐฮาวาย ซึ่งทำลายเมืองประวัติศาสตร์ คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 100 ราย และทำให้ผู้อยู่อาศัยหลายพันคนต้องพลัดถิ่น แม้จะผ่านเหตุการณ์นี้ได้เกือบหนึ่งปีแล้ว แต่พวกเขาก็ยังคงเผชิญกับวิกฤติที่อยู่อาศัยและชาวเมาอิจำนวนมากไม่มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง
    .
    ผู้คนนับล้านประสบกับสถานการณ์เดียวกับชาวเมาอิในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ ข้อมูลจากสำนักงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2008 ผู้คนเฉลี่ยราว 21.5 ล้านคน (ต่อปี) ถูกบังคับให้ต้องพลัดถิ่น เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เช่น น้ำท่วม พายุ ไฟป่า และอุณหภูมิที่สูงขึ้นมาก
    .
    ขณะที่ข้อมูลของสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ ระบุว่า ตัวเลขเหล่านี้มีแต่จะเพิ่มขึ้น ผู้คนทั่วโลกมากถึง 1.2 พันล้านคนอาจต้องพลัดถิ่นภายในปี 2050 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
    .
    ธนาคารโลก (World Bank) ประมาณการว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ผู้คนมากกว่า 140 ล้านคนในประเทศบ้านเกิดของตัวเองต้องพลัดถิ่นภายในปี 2050 ตัวอย่างเช่น ชาวโซมาลิสมากกว่า 1 ล้านคน จะต้องออกจากพื้นที่อยู่อาศัยเนื่องจากภัยแล้งเข้ามาแทนที่ในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่กี่เดือนในปี 2022 จะเห็นได้ว่าความแห้งแล้งของประเทศ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคทำให้หลายครอบครัวต้องย้ายออกจากบ้านของตัวเอง
    .
    โมฮาเหม็ด อับดี (Mohamed Abdi) ผู้อำนวยการประจำประเทศโซมาเลีย ของสภาผู้ลี้ภัยนอร์เวย์ บอกกับสำนักงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UN) ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเลขที่น่าตกใจของผู้ที่เปราะบางที่สุดบางคน ที่ต้องละทิ้งสิ่งต่างๆ และมุ่งหน้าไปยังที่ที่ไม่มีใครรู้จัก “วิกฤติสภาพภูมิอากาศทั่วโลกกำลังขัดขวางการเชื่อมต่อของเรากับสถานที่ต่างๆ และความรู้สึกของ ‘บ้าน’ ที่เราอยู่อาศัย”
    .
    ชีวิตของเราทุกคนเกี่ยวโยงกับธรรมชาติ แต่ผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียม
    .
    ปัจจุบันเกิดภัยแล้งรุนแรงทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ของแอฟริกา กลุ่มช่วยเหลือในภูมิภาคระบุว่า ผู้คนมากกว่า 2.7 ล้านคนในพื้นที่ชนบทของซิมบับเวเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารและหลายครอบครัวกำลังหิวโหย ความแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องส่งผลให้พืชผลไหม้เกรียม ซึ่งผู้คนหลายสิบล้านคนกำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ซึ่งภัยแล้งนี้ลุกลามไปถึงประเทศเล็กๆ ใกล้เคียงอย่าง บอตสวานา แองโกลา แคมเบียและมาลาวี
    .
    ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดของสหรัฐฯ คือ Maricopa County ในรัฐแอริโซนา เมืองใหญ่ในทะเลทรายซึ่งมีอุณหภูมิสูงเกิน 100 ฟาเรนไฮต์ (สูงกว่า 37 องศาเซลเซียส) และมีรายงานการเสียชีวิตจากความร้อน 645 รายในปี 2023 ซึ่งเพิ่มขึ้น 700% จากทศวรรษที่แล้ว ความสูญเสียเหล่านี้เกิดขึ้นกับครอบครัวที่มีรายได้น้อย ชุมชนผิวสี และคนงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากนายจ้างอย่างเพียงพอ
    .
    ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Redfin (อสังหาริมทรัพย์) พบว่าชาวสหรัฐฯ เกือบครึ่งหนึ่งที่วางแผนจะย้ายถิ่นฐานบอกว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจของพวกเขา และกว่า 27% ของการสำรวจบอกว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาไม่ว่าจะน้ำท่วมหรือไฟป่าทำให้พวกเขาต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะย้ายไปอยู่ที่ไหนดี
    .
    ซึ่งนี่จะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวเราในอนาคตเช่นกันว่า พวกเราจะไปทำอะไรอยู่ที่ไหนต่อดี?
    .
    แม้ว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะทำให้ความไม่เท่าเทียมขยายวงกว้างขึ้น และส่งผลกระทบต่อชุมชนบางแห่งรุนแรงกว่าชุมชนอื่นๆ ความเจ็บปวดที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนกำลังทำให้เรารู้สึกไม่มั่นคงขึ้นเรื่อยๆ และไม่ว่าจะเป็นที่ไหนบนโลกก็คงยังไม่มั่นคงเช่นกัน
    .
    จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการพลัดถิ่นทั้งทางกายและทางใจอย่างแท้จริง
    .
    .
    .
    อ้างอิงจาก

    https://www.vox.com/climate/24133013/climate-change-displacement-migration-disruption-home

    https://press.un.org/en/2023/gashc4395.doc.htm

    https://www.unhcr.org/us/news/stori...ions-climate-change-and-disaster-displacement

    https://www.worldbank.org/en/news/i...ll---preparing-for-internal-climate-migration

    #Brief #TheMATTER

    https://www.facebook.com/share/p/zPFbamsAmhbnWKG6/?mibextid=oFDknk
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โลกมันร้อน อากาศร้อนพุ่งสูงไปพร้อมๆ กับค่าไฟ ในโลกโซเชียลญี่ปุ่นมีชาวเน็ตบอกต่อๆ กันว่า ให้เอาผ้าเปียกไปวางบนคอมเพรสเซอร์แอร์จะทำให้ประหยัดไฟ ซึ่งก็มีการแชร์ต่อๆ กันไปเป็นจำนวนมาก แล้วมันได้ผลจริงไหม จะเฟคนิวส์หรือเปล่า บริษัทไดกิ้นที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเครื่องปรับอากาศก็เลยทำการทดลองต่างๆ รวมถึงเอาผ้าเปียกวางบนคอมเพรสเซอร์แอร์ด้วย ไปดูกันเถอะว่า วิธีไหนทำห้ประหยัดไฟได้บ้าง
    .
    การทดลองนี้ เปิดแอร์ทิ้งไว้ 11 ชม. ระหว่างเวลา 8.00-19.00 น.
    .
    วิธีไหนประหยัดไฟกว่าระหว่าง ปรับความแรงของลม “ต่ำ” หรือ “ออโต้”
    ไดกิ้นทำการทดลองเปิดเทียบกับ 30 วัน ทดลองตั้งแต่ 8.00-19.00 น. พบว่าการปรับออโต้ ประหยัดไฟมากกว่า เหตุผลเป็นเพราะ เมื่อตั้งค่าแรงลม “ต่ำ การถ่ายเทความร้อนในห้องไม่ดี การจะทำให้ทั้งห้องเย็นใช้เวลามากขึน คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานหนักกว่า ทำให้เปลืองไฟมากกว่า

    1. วิธีไหนประหยัดไฟกว่าระหว่างการกำหนดทิศทางลม “เป่าลมแนวทแยงลงมา” หรือ “เป่าลมไปด้านหน้าตรงๆ” ผลสรุปว่า การปรับทิศทางลมเป็นแนวทแยงลงแปลืองค่าไฟมากกว่า
    ตามปกติอากาศเย็นจะอยู่ต่ำ อากาศร้อนจะลอยตัวสูง การปรับแอร์แนวทแยงลงมาจะทำให้ข้างล่างเย็นข้างบนร้อน ซึ่งข้างบนที่ว่าก็มีเซนเซอร์แอร์จับอยู่ ทำให้แอร์คิดว่าอากาศมันร้อนและทำงานหนักขึ้น แต่ถ้าเราปรับแอร์ไปตรงๆ ข้างบนจะเย็นทำให้แอร์ทำงานเบากว่า แล้วความเย็นจะค่อยๆไหลไปข้างล่างเอง

    2. วิธีไหนประหยัดไฟกว่าระหว่าง การลดอุณหภูมิที่ตั้งไว้ลง 1℃ หรือ เพิ่มแรงลมให้แรงขึ้น
    ช่วงบ่าย 13.00-15.00 เป็นช่วงเวลาที่อากาศร้อนที่สุด เวลาร้อนมนุษย์เราจะกดลดอุณหภูมิลง แต่จริงๆ แล้วเรายังรู้สึกเย็นขึ้นได้ด้วยการไม่ลดอุณหภูมิแต่ปรับลมให้แรงขึ้น ซึ่งการเปรียบเทียบลดอุณหถูมิลง 1 องศากับเพิ่มแรงลมนั้น พบว่าเพิ่มแรงลมประหยัดไฟกว่า เพราะการใช้ไฟในส่วนการลดอุณหภูมินั้นมากกว่าการเพิ่มแรงลม

    3. การเอาผ้าเปียกวางบนคอมเพรสเซอร์แอร์ตามที่แชร์ๆ โลกโซเชียลประหยัดไฟจริงหรือไม่?
    ต้องเล่าก่อนว่า ก่อนหน้านี้ในโลกโซเชียลญี่ปุ่น มีการแชร์วิธีประหยัดค่าไฟแอร์ ด้วยการเอาผ้าเปียกวางบนคอมเพรสเซอร์แอร์ โดยไดกิ้นทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ แต่ไดกิ้นน่าจะวางผ้าเปียกปิดช่องทางลม เพราะผลการทดลองบอกว่าการวางผ้าเปียกทำให้ค่าไฟเพิ่มเหตุผลเพราะผ้าไปขวางช่องลม แต่ชาวเน็ตไม่ได้วางผ้าขวางการไหลของลมไง วางด้านบนคอมเพรสเซอร์แอร์ สรุปก็คือไม่ได้คำตอบเพราะทำการทดลองคนละแบบ แต่ไดกิ้นบอกว่าหากวางคอมเพรสเซอร์แอร์ในที่ร่มหรือฉีดน้ำรอบๆ คอมเพรสเซอร์ให้รอบๆนั้นไม่ร้อน ก็จะช่วยให้ประหยัดไฟได้มากขึ้น

    ก็ลองเอาไปทำกันดูนะเพื่อนๆ น่าจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟลงได้พอสมควร หรือหากใครมีวิธีไหนที่ชาวยประหยัดค่าไฟ ก็มาแชร์กันได้
    FB_IMG_1714209525587.jpg
    https://www.facebook.com/share/Ka9thBjxwYmUGSQc/?mibextid=oFDknk
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Boosie Badazz ออกมาโพสต์เตือนสติชาวอเมริกันว่าในขณะนี้ประเทศของพวกเขาแย่แล้ว และเขาเองก็ไม่เคยเห็นอเมริกาต้องตกอยู่ในสภาพแบบนี้มาก่อน
    "มันบ้าตรงที่ทุกบริษัทไม่มีสภาพคล่องทางการเงินเลย แถมยังล้มละลายกันอีก ตอนนี้โลกไม่มีเงินแล้ว, ประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเจ็บปวด ประชาชนไม่มีเงิน นอกจากต้องจ่ายบิลค่าใช้จ่ายกันแล้วก็ไม่มีแผนพิเศษสำรองอะไร คุณไม่มีเงินที่จะเอาไปให้บริษัทที่เลิกจ้างพนักงานหลักหมื่นๆคน คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตัวเอง นี่มันคืออเมริกาที่จนที่สุดที่ผมเคยเห็นมาในชีวิตเลย"
    https://www.facebook.com/share/p/wDvwGivmnVmtRWJS/?mibextid=oFDknk

    Screenshot_2024-04-28-13-19-34-90_a23b203fd3aafc6dcb84e438dda678b6.jpg
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กรมอุตินิยมวิทยาออกข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. – 2 พ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด

    อ่านเพิ่มเติม https://bbc.in/4a1a3f8
    Gl9YPs_Ld_F4NQW4QkpxkULazUTw0nYCI4tg35aUGU9&_nc_ohc=2j006tEFWCYAb6CevfZ&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    "น้ำท่วมรุนแรง คลื่นความร้อนสูง แล้งยาวนาน ไฟป่าพุ่ง" สภาพอากาศสุดขั้วที่โลกกำลังเผชิญ
    9266ad10-030f-11ef-bee9-6125e244a4cd.jpg
    ที่มาของภาพ,REUTERS

    Article information
    • Author,มาร์ก พอยน์ทิง และ เอสมี สตอลลาร์ด
    • Role,บีบีซีนิวส์ แผนกข่าวภูมิอากาศและวิทยาศาสตร์
    • 28 เมษายน 2024
    การศึกษาใหม่ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เผชิญกับฝนที่หนักและถี่ขึ้น และนี่คือ 4 สภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather) ที่ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)

    1.ฝนตกหนักสุดขั้ว น้ำท่วมรุนแรง
    สำหรับทุก ๆ 1 องศาเซลเซียสที่อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ชั้นบรรยากาศจะสามารถเก็บกักความชื้นได้เพิ่มขึ้นประมาณ 7%

    สิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดละอองน้ำฝนมากขึ้นและฝนตกหนักขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สั้นลงและในพื้นที่ที่แคบลง

    d46e35c0-030f-11ef-82e8-cd354766a224.png
    คำบรรยายภาพ,อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เกิดฝนมากขึ้นได้อย่างไร 1) เมื่อมีความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้นทำให้เกิดการระเหยมากขึ้น 2) ความชื้นที่มากขึ้นก่อตัวเป็นเมฆมากขึ้น 3) ฝนตกหนักมากขึ้น
    นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า สภาพอากาศสุดขั้วแต่ละเหตุการณ์ สามารถเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่ โดยพิจารณาจากสาเหตุตามธรรมชาติและสาเหตุจากมนุษย์

    กรณีฝนตกหนักที่นครดูไบและประเทศโอมาน ในเดือน เม.ย. 2024 เป็นเรื่องยากที่จะสรุปได้อย่างชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีบทบาทมากน้อยเพียงใด เนื่องจากฝนตกหนักในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นได้ยาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อเปรียบเทียบน้อยลง

    แต่กลุ่มวิเคราะห์สภาพอากาศโลก (WWA) ชี้ว่า ปริมาณฝนประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะหนักขึ้น 10-40% และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน่าจะเป็นคำอธิบายที่ชัดเจนที่สุด

    ในเดือนเดียวกันนั้น ยังพบเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในบางพื้นที่ของแอฟริกาตะวันออกด้วย

    แม้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีบทบาทอย่างไรในเหตุการณ์นั้น แต่ WWA พบว่า สถานการณ์ฝนตกหนักในภูมิภาคเดียวกันช่วงเดือน ต.ค. และ พ.ย. 2023 นั้นเลวร้ายลง เนื่องจากการผสมผสานกันระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์ทางสภาพอากาศธรรมชาติที่เรียกว่า "ปรากฏการณ์ไอโอดี (Indian Ocean Dipole-IOD)” ซึ่งเป็นการสลับขั้วของน้ำอุ่นและน้ำเย็นในมหาสมุทรอินเดีย

    นอกจากนี้ ยังพบว่าเมื่อ ก.ย. 2023 น้ำท่วมรุนแรงสร้างความสูญเสียต่อชีวิตประชาชนทางตอนเหนือของประเทศลิเบีย

    a3188d30-0310-11ef-bee9-6125e244a4cd.jpg
    ที่มาของภาพ,AFP

    คำบรรยายภาพ,นายกเทศมนตรีของเมืองเดอร์นา ทางตอนเหนือของลิเบีย คาดการณ์ว่า อาจมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมสูงถึง 20,000 คน
    ฝนที่ตกลงมานี้ มีโอกาสเกิดขึ้นเพิ่มสูงถึง 50 เท่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มั่นคงหลายปีติดต่อกัน กำลังส่งผลกระทบต่อการเตรียมพร้อมรับมือเหตุการณ์เช่นนี้

    คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ขององค์การสหประชาชาติ รายงานว่า สถานการณ์ฝนตกหนักเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นในพื้นที่บกส่วนใหญ่ทั่วโลก เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ ทาง IPCC ยังระบุด้วยว่า รูปแบบนี้จะยังคงดำเนินต่อไป หากอุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น

    2.คลื่นความร้อนสูงขึ้น และยาวนานกว่าเดิม
    แม้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ก็ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาพอากาศร้อนสุดขั้ว

    การกระจายตัวของอุณหภูมิประจำวันจะเปลี่ยนไปทางที่อุ่นขึ้น ทำให้มีแนวโน้มว่าจะเกิดวันที่มีสภาพอากาศร้อนจัดบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น

    e4ce7370-0310-11ef-b9d8-4f52aebe147d.png
    คำบรรยายภาพ,"การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยที่สร้างความแตกต่างมหาศาล" แผนภูมิเส้นแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพียงเล็กน้อย ได้เพิ่มความน่าจะเป็นที่จะมีอากาศร้อนมากขึ้น และสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้นได้
    เมื่อต้นเดือน เม.ย. 2024 คลื่นความร้อนรุนแรงพัดผ่านภูมิภาคซาเฮลของแอฟริกา ส่งผลให้สาธารณรัฐมาลีมีอุณหภูมิสูงถึง 48.5 องศาเซลเซียส สถานการณ์นี้เชื่อมโยงกับจำนวนผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น

    WWA พบว่า อุณหภูมิระดับนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากปราศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ และมันกำลังจะกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นเมื่อโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง

    ในสหราชอาณาจักร พบว่า เดือน ก.ค. 2022 อุณหภูมิพุ่งสูงแตะ 40 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรกเท่าที่เคยมีการบันทึกข้อมูล ซึ่งต่อมาพบว่าสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางไปทั่วประเทศ โดย WWA ระบุว่า เหตุการณ์เช่นนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้น

    นอกจากนี้ยังพบว่า คลื่นความร้อนคงอยู่นานขึ้นในหลายพื้นที่ รวมถึงสหราชอาณาจักรด้วย

    สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นจากโดมความร้อนซึ่งเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ส่งผลให้อากาศร้อนถูกกดลงมาและติดอยู่ในบริเวณนั้น ทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น เมืองต่าง ๆ

    203f9560-0311-11ef-82e8-cd354766a224.png
    คำบรรยายภาพ,ภาพแสดงการเกิดขึ้นของโดมความร้อน 1) มวลของอากาศอุ่นก่อตัวขึ้นภายใต้สภาพอากาศที่นิ่งในช่วงฤดูร้อนที่ค่อนข้างแห้ง 2) ความกดอากาศสูงในชั้นบรรยากาศผลักให้อากาศอุ่นเคลื่อนตัวลงมา 3) สภาพอากาศถูกบีบอัดอยู่ภายใต้โดมความร้อน ทำให้ร้อนมากขึ้นกว่าเดิม
    มีทฤษฎีหนึ่งชี้ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นในแถบอาร์กติก ซึ่งร้อนขึ้นเกือบสี่เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก กำลังส่งผลให้กระแสลมกรด (jet stream) ซึ่งเป็นลมแรงที่พัดอยู่บนชั้นบรรยากาศไหลช้าลง ส่งผลต่อการเกิดโดมความร้อนได้ง่ายขึ้น

    3. ความแห้งแล้งที่ยาวนานขึ้น
    การเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับภัยแล้งแต่ละครั้งนั้นเป็นเรื่องที่ยาก

    ปริมาณน้ำที่เรามีใช้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ใช่แค่เพียงอุณหภูมิและฝนเท่านั้น และระบบสภาพอากาศตามธรรมชาติก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน โดยกรณีภัยแล้งในแอฟริกาใต้ช่วงต้นปี 2024 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง

    แต่คลื่นความร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถทำให้ภัยแล้งเลวร้ายลงได้ เนื่องจากความร้อนทำให้ดินแห้งเร็วขึ้น ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศด้านบนร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่ความร้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้น

    ในช่วงที่มีอากาศร้อน ความต้องการน้ำจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากภาคเกษตรกรรม ยิ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่มีอยู่

    บางพื้นที่ในแอฟริกาตะวันออกเผชิญกับฤดูฝนที่แล้งต่อเนื่องถึง 5 ฤดูกาลต่อเนื่องกันในช่วงปี 2020 และ 2022 ส่งผลให้ภูมิภาคนี้ประสบกับภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปี ภัยแล้งดังกล่าวทำให้ประชาชนกว่า 1.2 ล้านคนในโซมาเลียต้องย้ายถิ่นฐาน

    กลุ่มวิเคราะห์สภาพอากาศโลก ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ภัยแล้งลักษณะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 100 เท่า

    นอกจากนี้ยังพบว่าเบื้องหลังภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบอย่างน้อย 50 ปีของป่าฝนแอมะซอนช่วงครึ่งหลังของปี 2023 ยังเกิดจากภาวะโลกร้อนซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ด้วย

    6de31260-0311-11ef-b9d8-4f52aebe147d.png
    คำบรรยายภาพ,แผนที่ความรุนแรงของภัยแล้งทั่วอเมริกาใต้ โดยพื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอนส่วนใหญ่ประสบกับความแห้งแล้งที่รุนแรงที่สุด เห็นได้จากสีส้มและสีแดงบนแผนที่
    4. การเพิ่มขึ้นของชนวนไฟป่า
    ไฟป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในหลายพื้นที่ของโลก การชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสาเหตุหรือทำให้ไฟป่าครั้งใดรุนแรงขึ้นนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน

    แต่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทำให้สภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจายของไฟป่ามีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้น

    ความร้อนที่รุนแรงยาวนาน จะดึงความชื้นออกจากดินและพืชมากขึ้น ต่อมาพบว่าสภาพแห้งกรังเหล่านี้ จะเป็นเชื้อเพลิงให้เกิดไฟป่าซึ่งสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีลมแรง

    อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังอาจเพิ่มโอกาสเกิดฟ้าผ่าในป่าทางเหนือสุดของโลก อันส่งผลให้เกิดไฟป่าได้อีกด้วย

    แคนาดาประสบกับฤดูไฟป่าที่เลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2023 โดยมีพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ไปประมาณ 18 ล้านเฮกเตอร์ หรือ 113 ล้านไร่

    กลุ่มวิเคราะห์สภาพอากาศโลก ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเอื้อให้เกิด “สภาพอากาศที่เหมาะสมให้เกิดไฟไหม้รุนแรง” เป็น 2 เท่า ในพื้นที่ทางตะวันออกของแคนาดา ซึ่งช่วยให้ไฟป่าลุกลามเป็นวงกว้างด้วย

    โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) คาดการณ์ว่า สภาวะไฟป่ารุนแรงสุดขั้วจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกในอนาคต เนื่องจากผลกระทบร่วมกันของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    ทาง UNEP ยังประเมินด้วยว่า จำนวนไฟป่าที่รุนแรงที่สุดอาจเพิ่มขึ้นสูงถึง 50% ภายในปี 2100


    https://www.bbc.com/thai/articles/c...SOMaLDkQJ09gaRlFaOYMHi0Y7Kurm8bUOwARnAu4gn9_7
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วิจัยพบ 'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' อาจทำให้โลกหมุนช้าลง และกระทบต่อการนับเวลาของโลก
    47714530-efec-11ee-a041-a734ae2e6430.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    1 เมษายน 2024

    งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลกับความเร็วในการหมุนของโลกและอาจส่งผลต่อวิธีการที่มนุษย์ใช้นับเวลา

    การละลายของน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพิ่มปริมาณน้ำในทะเลและมหาสมุทรของโลก ส่งผลต่อการกระจายตัวของมวล ณ มุมต่าง ๆ ของโลก

    สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้โลกหมุนตัวช้าลงเล็กน้อย ทว่าโดยรวมมันก็ยังคงหมุนเร็วกว่าที่เคยเป็นมาอยู่ดี

    ผลกระทบที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็คือ อาจต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าที่ผู้ดูแลเวลาระดับโลกจะลดเวลาบนนาฬิกาทั่วโลกลงหนึ่งวินาที ทั้งนี้ ตามปกติจะมีการลดเวลาลงหนึ่งวินาทีเช่นนี้เป็นครั้งคราวอยู่แล้วเพื่อให้เวลาตรงกับการหมุนของโลก

    "ภาวะโลกร้อนส่งผลกับการนับเวลาของโลกเราแล้ว" งานศึกษาที่ตีพิมพ์ลงวารสาร Nature ระบุ

    eb26e230-f009-11ee-b0e1-b9dd5ac46984.jpg
    ที่มาของภาพ,PA

    ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ใช้ระบบเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) เพื่อปรับตั้งนาฬิกาและเวลาของโลก โดยเวลา UTC นี้คำนวณตามการหมุนของโลก

    แต่ความเร็วในการหมุนของโลกนั้นไม่คงที่ มันจึงส่งผลต่อความยาวของช่วงกลางวันและกลางคืน

    ที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของแก่นโลกชั้นที่เป็นของเหลวทำให้โลกหมุนเร็วขึ้นเล็กน้อย

    เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) จึงถูกเพิ่มขึ้น 27 วินาทีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เพื่อให้สอดคล้องกับการหมุนของโลก อย่างไรก็ดี ผู้ดูแลเวลากำลังวางแผนที่จะลบเวลาลงหนึ่งวินาทีเป็นครั้งแรกในปี 2026 ซึ่งนี่เรียกว่า "ลบวินาทีทิ้ง" (negative leap second)

    ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้พบว่า การละลายของน้ำแข็งอันเกิดจากภาวะโลกร้อน ช่วยชะลอความเร็วในการหมุนของโลกที่เพิ่มขึ้นนั้นไว้บางส่วน

    งานศึกษาชี้ว่า แผ่นน้ำแข็งทั่วโลกสูญเสียมวลเร็วขึ้นกว่า 30 ปีก่อนถึง 5 เท่า และนั่นหมายความว่า อาจไม่จำเป็นต้องมีการลบวินาทีทิ้งจนกว่าจะถึงปี 2029

    "มันค่อนข้างน่าประทับใจ สำหรับผมเองด้วย ที่เราได้ทำบางสิ่งที่ส่งผลต่อความเร็วในการหมุนของโลกอย่างชัดเจน" ดันแคน แอกนิว ผู้เขียนการศึกษานี้กล่าวกับสำนักข่าวเอ็นบีซี

    "สิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกำลังเกิดขึ้น"

    e2087a60-eff0-11ee-b0e1-b9dd5ac46984.png
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    คำบรรยายภาพ,การเปลี่ยนแปลงของแก่นโลกชั้นที่เป็นของเหลวทำให้โลกหมุนเร็วขึ้นเล็กน้อย
    การลบวินาทีทิ้งยังไม่เคยถูกนำมาใช้มาก่อน การศึกษาชิ้นดังกล่าวยังชี้ด้วยว่า การลบวินาทีทิ้ง "จะก่อให้เกิดปัญหาที่ไม่เคยมีมาก่อน" สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลก

    "นี่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นความท้าทายสำคัญในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการบอกเวลาทั่วโลกแสดงเวลาตรงกัน" แอกนิว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก กล่าวกับเอเอฟพี

    "คอมพิวเตอร์จำนวนมากถูกเขียนโปรแกรมโดยตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าการทดเวลาเช่นนี้จะมีค่าเป็นบวกทั้งหมด ดังนั้นโปรแกรมเหล่านี้อาจจะต้องถูกเขียนขึ้นใหม่" เขาเสริม

    อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อน่าสงสัยเกี่ยวกับการศึกษานี้อยู่

    เดเมทริออส แมทซากิส อดีตหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของแผนกบริการเวลา ของหอดูดาวกองทัพเรือสหรัฐฯ บอกกับเอเอฟพีว่า "โลกนั้นมีความไม่แน่นอนมากเกินไป" เกินกว่าที่เราจะบอกได้ว่าต้องลดวินาทีทิ้งในเวลาอันใกล้หรือไม่

    กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังส่งผลให้โลกร้อนขึ้น

    อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการละลายอย่างรวดเร็วของธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็ง

    https://www.bbc.com/thai/articles/crg09rgl6qdo
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หมีขั้วโลกเสี่ยงสูญพันธุ์จากภาวะอดอยาก เพราะน้ำแข็งขั้วโลกละลายจากภาวะโลกร้อน
    903b88c0-ca71-11ee-896d-39d9bd3cadbb.jpg
    ที่มาของภาพ,DAVID MCGEACHY

    Article information
    • Author,แมทท์ แมคกราธ
    • Role,ผู้สื่อข่าวด้านสิ่งแวดล้อม
    • 18 กุมภาพันธ์ 2024
    ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นกำลังเป็นภัยคุกคามความอยู่รอดของบรรดาหมีขั้วโลก ขณะที่นักวิทยาศาสตร์พบว่า พวกมันบางส่วนกำลังเผชิญหน้ากับภาวะขาดแคลนอาหาร เนื่องจากน้ำแข็งทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังละลาย และพวกมันไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอาหารเพื่อดำรงชีพบนพื้นแผ่นดินได้

    โดยปกติแล้ว หมีขั้วโลก หรือ หมีขาว ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์แห่งอาร์กติก มักล่าแมวน้ำวงแหวน (ringed seal) เป็นอาหาร โดยพวกมันจะจับแมวน้ำเหล่านี้บนแผ่นน้ำแข็งที่ลอยอยู่ห่างจากชายฝั่ง

    แต่เมื่อแผ่นน้ำแข็งหายไปเนื่องจากโลกที่ร้อนขึ้น หมีขาวจำนวนมากจำต้องอาศัยบนฝั่งนานขึ้น และต้องหันมากินไข่ของนก, ผลเบอร์รี และหญ้าแทน ด้วยสถานการณ์เช่นนั้นจะทำให้น้ำหนักตัวของพวกมันลดลงอย่างฮวบฮาบ เพิ่มความเสี่ยงต่อการตายมากขึ้น

    ที่ผ่านมา ภาพของหมีขั้วโลกได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในแถบอาร์กติก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวต่อสัตว์สายพันธุ์นี้กลับมีความซับซ้อนยิ่ง

    แม้ว่าจำนวนของหมีขั้วโลกได้ดิ่งลงอย่างหนักจนถึงช่วงทศวรรษที่ 1980 แต่นั่นก็เป็นผลมาจากการล่าโดยไม่คำนึงถึงความยั่งยืน

    เมื่อมีการปรับใช้กฎหมายการปกป้องที่เข้มงวดขึ้น จำนวนของหมีขั้วโลกก็เพิ่มขึ้น ทว่าอุณหภูมิของโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นในขณะนี้ดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดสำหรับพวกมัน

    เพราะเหตุใดโลกที่ร้อนขึ้นจึงส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของพวกมัน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทะเลอาร์กติกที่เป็นผืนน้ำแข็ง คือ สิ่งสำคัญต่อการอยู่รอดของพวกมัน เพราะถือเป็นสถานที่หลัก ๆ ในการล่าแมวน้ำวงแหวน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ให้ปริมาณไขมันสูง โดยฤดูการล่าก็มีระยะเวลาไม่ยาวนานนักคือ ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิจนถึงต้นฤดูร้อน

    ทว่า ในช่วงเดือนที่อากาศอุ่นขึ้น กลับพบกว่าหลายส่วนของอาร์กติกในปัจจุบันไม่มีน้ำแข็งเหลืออยู่เลย
    b8798170-ca71-11ee-896d-39d9bd3cadbb.jpg
    ที่มาของภาพ,DAVID MCGEACHY

    คำบรรยายภาพ,งานศึกษาพบว่า หมีขั้วโลกมีน้ำหนักลดลงเมื่อใช้เวลาบนพื้นดินมากขึ้น เนื่องจากผืนน้ำแข็งทะเลละลาย
    งานวิจัยที่ทำการศึกษาในรัฐแมนิโทบาตะวันตก ของแคนาดา พบว่า ช่วงเวลาที่ปราศจากน้ำแข็งในพื้นที่นี้ได้ขยายยาวนานขึ้นราวสามสัปดาห์ ระหว่างปี 1979 ถึงปี 2015

    เพื่อทำความเข้าใจว่าสัตว์สายพันธุ์นี้เอาชีวิตรอดอย่างไร เมื่อน้ำแข็งค่อย ๆ หายไป นักวิจัยจึงติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ของหมีขั้วโลกจำนวน 20 ตัว เป็นเวลาหลายเดือนในช่วงฤดูร้อนเป็นเวลา 3 ปี

    นอกจากจะมีการตรวจตัวอย่างเลือดและชั่งน้ำหนักหมีขั้วโลกเหล่านี้แล้ว ทีมวิจัยยังสวมปลอกคอที่ติดตั้งกล้องเพื่อบันทึกวิดีโอและอุปกรณ์ระบุพิกัด เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งที่พวกมันกิน

    ในช่วงฤดูร้อนที่ปราศจากน้ำแข็ง หมีขั้วโลกเหล่านี้ปรับกลยุทธ์การเอาตัวรอด บางตัวเน้นไปที่การพักผ่อนและลดอัตราการเผาผลาญพลังงาน

    พวกมันส่วนใหญ่พยายามหาอาหารจากพืช ผลเบอร์รี หรือ ลอยว่ายน้ำหาสิ่งที่พวกมันจะพอกินได้

    ทว่า กลยุทธ์ทั้งสองแบบกลับล้มเหลว โดยหมีขั้วโลก 19 จาก 20 ตัว ที่นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาพบว่า สูญเสียกล้ามเนื้อ ในบางกรณี พบว่าการสูญเสียกล้ามเนื้อสูงถึง 11%

    da2f6b40-ca71-11ee-8685-316409d66f25.jpg
    ที่มาของภาพ,USGS/WASHINGTON STATE UNIVERSITY

    คำบรรยายภาพ,นักวิจัยใช้กล้องติดคอและจีพีเอสเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวและกิจกรรมของหมีขั้วโลก
    โดยเฉลี่ยแล้ว พวกมันน้ำหนักลดลงวันละ 1 กิโลกรัม

    ดร.แอนโทนี ปากาโน แกนนำนักวิจัยเรื่องนี้ จากสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา ในรัฐอลาสกา ระบุว่า "ไม่ว่าพวกมันจะใช้กลยุทธ์อะไร ก็ไม่มีประโยชน์ที่แท้จริงในการทำให้พวกมันใช้ชีวิตบนพื้นดินได้นานขึ้น"

    ขณะที่ ชาร์ลส์ โรบินส์ ผู้เขียนงานวิจัยร่วม จากศูนย์ศึกษาหมี จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน กล่าวว่า "หมีขั้วโลกไม่ใช่หมีกริซลีที่มีขนสีขาว พวกมันต่างกันอย่างมาก"

    หมีขั้วโลก 2 จาก 3 ตัว ที่ลงไปในน้ำและพบซากสัตว์ที่ตายแล้ว ใช้เวลากินซากพวกนั้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากพวกมันเหนื่อยเกินไปจากการออกแรง

    "หมีเพศเมียวัยก่อนที่จะโตเต็มวัยตัวหนึ่งไปเจอเข้ากับซากวาฬเบลูกา มันจะกัดแค่สองถึงสามคำ เท่านั้น แต่ว่ามันจะใช้ซากวาฬนั้นเป็นทุ่นลอยเพื่อพักเป็นส่วนใหญ่" ดร.ปาโกานา บอกกับ บีบีซีนิวส์

    "สิ่งนี้บอกกับเราว่า หมีเหล่านี้ไม่สามารถกินและว่ายน้ำไปพร้อม ๆ กันได้"

    ข้อเท็จจริงสำคัญเกี่ยวกับหมีขั้วโลก
    ปัจจุบัน มีหมีขั้วโลกเหลืออยู่ประมาณ 26,000 ตัว โดยส่วนใหญ่พวกมันอาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา นอกจากนี้ยังพบประชากรหมีขั้วโลกส่วนหนึ่งในสหรัฐฯ, รัสเซีย, กรีนแลนด์ และนอร์เวย์

    หมีขั้วโลกถูกจัดอยู่ในสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) โดยสภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อจำนวนประชากรที่ลดลงของพวกมัน

    หมีเพศผู้ตัวเต็มวัยสามารถมีความสูงถึง 3 เมตร และมีน้ำหนักเกือบ 600 กิโลกรัม และพวกมันสามารถกินเปลวไขมันระหว่างผิวหนังและกล้ามเนื้อของปลาวาฬที่มีน้ำหนักกว่า 45 กิโลกรัมในคราวเดียวได้

    นอกจากนี้ พวกมันยังมีประสาทสัมผัสในการดมอันทรงพลัง โดยสามารถได้กลิ่นเหยื่อที่อยู่ห่างออกไปไกลถึง 16 กิโลเมตรได้ และยังมีความสามารถในการว่ายน้ำเป็นอย่างดี ที่ผ่านมามันเคยถูกพบในจุดที่ห่างออกไปจากชายฝั่งถึง 100 กิโลเมตร พวกมันยังว่ายน้ำด้วยความเร็วถึง10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนหนึ่งมาจากลักษณะของอุ้งเท้าของพวกมันที่เป็นพังผืดเล็กน้อย

    สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการค้นพบครั้งนี้คือ มีหมีตัวหนึ่งมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 32 กิโลกรัม โดยนักวิจัยเชื่อว่า หมีตัวดังกล่าว บังเอิญโชคดีไปเจอกับซากสัตว์ที่ตายแล้วจึงทำให้มันสามารถกักเก็บไขมันในร่างกาย แม้ว่ามันใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพักผ่อนเพื่อทำให้ตัวเองแข็งแรง

    ขณะที่การศึกษาก่อนหน้านี้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้ส่งผลต่อหมีขั้วโลก แต่งานศึกษาฉบับใหม่นี้ ได้ชี้ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ "ความสามารถในการปรับตัวของสัตว์สายพันธุ์นี้"

    อย่างไรก็ตาม นักวิจัยคนอื่น ๆ กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อหมีขั้วโลกจะมีความแตกต่างกัน ตามแต่ละพื้นที่

    "เป็นไปได้ที่หมีขั้วโลกจะหายไปจากพื้นที่ที่ผืนน้ำแข็งในทะเลจะสูญหายไปในอนาคต แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าจะเป็นเมื่อไหร่และที่ไหน" จอน อารส์ จากสถาบันขั้วโลกของนอร์เวย์กล่าว ทั้งนี้ เขาไม่มีส่วนร่วมกับงานศึกษาครั้งนี้

    "บางพื้นที่อาจจะมีสภาพที่เหมาะกับหมีเหล่านี้เช่นกัน แต่คงเป็นในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า"

    "ส่วนพื้นที่ที่อยู่ในการศึกษาครั้งนี้อาจเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีสภาพที่ยากต่อการใช้ชีวิตของหมีเหล่านี้ ในเวลาอันสั้น หากผืนน้ำแข็งในทะเลยังคงสูญหายไปอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้"

    สำหรับงานศึกษาชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ คอมมิวนิเคชันส์

    https://www.bbc.com/thai/articles/cp6x0gg1d52o
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เอลนีโญ-ลานีญา คืออะไร และส่งผลต่อสภาพอากาศอย่างไร ?
    a99f3ca0-0188-11ef-a9f7-4d961743aa47.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    Article information
    • Author,มาร์ก พอยน์ทิง และ เอสมี สตอลลาร์ด
    • Role,บีบีซีนิวส์ แผนกข่าวภูมิอากาศและวิทยาศาสตร์
    • 25 เมษายน 2024
    สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียรายงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญที่เริ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนปี 2023 ได้สิ้นสุดลงแล้ว

    ทว่า ปรากฏการณ์นี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซ้ำเติมภาวะโลกร้อนระยะยาวที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์

    เอลนีโญคืออะไร ?
    เอลนีโญเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติที่เรียกรวมกันว่า "ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้เอลนีโญ" (El Niño Southern Oscillation: ENSO) โดยปรากฏการณ์นี้มีสองสถานะตรงกันข้าม ประกอบด้วย เอลนีโญและลานีญา ทั้งสองสถานะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ

    การเกิดเอลนีโญ่สามารถระบุได้จากการวัดค่าต่าง ๆ ดังนี้:

    • อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกในเขตร้อนสูงกว่าปกติ
    • ความดันบรรยากาศสูงกว่าระดับปกติที่เมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย (แปซิฟิกตะวันตก)
    • ความดันบรรยากาศต่ำกว่าปกติที่ตาฮิติ หมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส (แปซิฟิกตอนกลาง)
    ba7f9c40-0188-11ef-97f7-e98b193ef1b8.png
    ในสภาวะ "ปกติ" น้ำที่ผิวทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกจะเย็นกว่าทางตะวันออกและอุ่นกว่าทางตะวันตก

    "ลมสินค้า" (trade winds) มักจะพัดจากตะวันออกไปตะวันตก และความร้อนจากดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ ทำให้น้ำอุ่นขึ้นขณะที่มันเคลื่อนไปในทิศทางนี้

    แต่ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ลมเหล่านี้จะอ่อนกำลังลงหรือพัดกลับทิศ ส่งผลให้น้ำผิวทะเลอุ่นไหลไปทางตะวันออกแทน

    5dca6fb0-0189-11ef-97f7-e98b193ef1b8.png
    ส่วนในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา ลมตะวันออกไปตะวันตกตามปกตินี้จะแรงขึ้น ผลักให้กระแสน้ำอุ่นให้ไปทางตะวันตกมากขึ้น

    กระบวนการนี้ทำให้น้ำเย็นจากด้านล่างของมหาสมุทรดันตัวขึ้นมาด้านบน ส่งผลให้ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณแปซิฟิกตะวันออกเย็นกว่าปกติ

    686a50c0-0189-11ef-a9f7-4d961743aa47.png
    ชาวประมงชาวเปรูเป็นกลุ่มแรกที่สังเกตปรากฏการณ์นี้ในช่วงศตวรรษที่ 1600 พวกเขาสังเกตเห็นว่า กระแสน้ำอุ่นบริเวณใกล้กับทวีปอเมริกาดูเหมือนจะสูงสุดใกล้ในเดือน ธ.ค.

    พวกเขาจึงตั้งชื่อเล่นให้ว่า "เอลนีโญ เด นิบีดาด" ซึ่งแปลว่า พระกุมารเยซูในภาษาสเปน

    เอลนีโญ-ลานีญา ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร ?
    ไม่ใช่ทุกเหตุการณ์จะนำไปสู่ผลลัพธ์แบบเดียวกัน ผลกระทบของปรากฎการณ์ทั้งสองแตกต่างกันไปแล้วแต่ภูมิภาค อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์สังเกตการณ์ผลกระทบดังต่อไปนี้:

    7c3d8a90-0189-11ef-97f7-e98b193ef1b8.jpg
    ที่มาของภาพ,EPA

    คำบรรยายภาพ,ออสเตรเลียต้องเผชิญกับน้ำท่วมรุนแรง ซึ่งเป็นผลจากปรากฏการณ์ลานีญา
    การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นอย่างไร
    อุณหภูมิของโลกโดยทั่วไปจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่จะลดลงในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา

    ในช่วงที่มีปรากฎการณ์เอลนีโญจะทำให้กระแสน้ำอุ่นจะกระจายออกไปกว้างกว่าเดิม และจะอยู่ใกล้กับผิวน้ำมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งนี้ส่งผลให้มีการปล่อยความร้อนสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทำให้อากาศชื้นขึ้นและร้อนขึ้น

    ทว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแต่ละภูมิภาคมีความซับซ้อน บางพื้นที่อาจเผชิญหน้ากับอากาศที่ร้อนขึ้นและหนาวลงมากกว่าที่ประเมินไว้ในเวลาอื่น ๆ ของปี

    ในปี 2023 ถือเป็นปีที่มีความร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซ้ำร้ายกว่านั้น คือโลกต้องรับมือกับภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงระยะยาวอันเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์อยู่แล้ว สถานการณ์ความร้อนถูกส่งต่อมาจนถึงปี 2024

    b892caf0-0189-11ef-97f7-e98b193ef1b8.png
    ช่วงระหว่างปี 2020 ถึง 2022 โลกเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ลานีญาที่ยาวนานเกินปกติ ทำให้ช่วยควบคุมอุณหภูมิโลกเอาไว้ได้

    ผลกระทบจากเอลนีโญต่ออุณหภูมิของสหราชอาณาจักรและในภูมิภาคยุโรปตะวันตกเป็นเรื่องซับซ้อนและไม่แน่นอน อาจทำให้เกิดอากาศเย็นกว่าค่าเฉลี่ยฤดูหนาวปกติ แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละครั้งไป

    การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝน
    ในช่วงที่มีปรากฏการณ์เอลนีโญ น้ำอุ่นจะผลักกระแสลมกรดแปซิฟิก(Pacific jet stream) ที่มีกำลังแรงให้ไปทางตอนใต้และตะวันออกมาขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาและอ่าวเม็กซิโกจะมีฝนตกชุก

    ภูมิภาคเขตร้อนอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และแอฟริกากลาง มักประสบกับสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าเดิม

    ส่วนในช่วงที่มีปรากฏการณ์ลานีญา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะกลับกัน

    cf7fc7e0-0189-11ef-a9f7-4d961743aa47.png
    พายุโซนร้อน
    เอลนีโญยังส่งผลกระทบต่อรูปแบบการหมุนเวียนของบรรยากาศ ซึ่งหมายความว่า จะมีพายุโซนร้อนมากขึ้นในแปซิฟิกเขตร้อน แต่มีพายุเดียวกันนี้น้อยกว่าในฝั่งแอตแลนติกเขตร้อน ซึ่งรวมถึงทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา

    ในปรากฏการณ์ลานีญา สถานการณ์จะกลับกัน

    ระดับคาร์บอนไดออกไซด์
    นักวิทยาศาสตร์ยังสังเกตเห็นว่า ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นระหว่างเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนขึ้นในเขตร้อน

    หากพืชเจริญเติบโตช้าลงเนื่องจากภัยแล้ง แปลว่าพวกมันดูดซับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้น้อยลง ขณะที่มีไฟป่ามากขึ้นในพื้นที่อย่างเอเชียใต้ ส่งผลให้มีการปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น

    fa21ef50-0189-11ef-8369-47dc4454b972.jpg
    ที่มาของภาพ,REUTERS

    คำบรรยายภาพ,สภาพของบึงน้ำเค็มนาวาร์โร ในกรุงบัวโนสไอเรส ของอาร์เจนตินา ในแห้งขอดอย่างหนักจากภัยแล้งในเดือน ธ.ค. 2022
    เหตุใดรูปแบบสภาพอากาศในช่วงที่เกิดเอลนีโญและลานีญาถึงสำคัญ ?
    ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาทำให้ปัญหาสภาพอากาศสุดขั้นรุนแรงขึ้นไปอีก ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้างพื้นฐาน อาหาร และพลังงานทั่วโลก

    ตัวอย่างเช่น ในช่วงเอลนีโญ น้ำเย็นจะไหลขึ้นสู่ผิวน้ำบริเวณนอกชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ลดลง สารอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ ที่จะถูกพัดพาขึ้นมาจากพื้นมหาสมุทรขึ้นจะลดน้อยลงด้วย นั่นจึงส่งผลให้มีสารอาหารสำหรับสัตว์ทะเลอย่างหมึกและปลาแซลมอนน้อยลง และส่งผลกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำที่ชาวประมงในอเมริกาใต้จับได้อีกทอดหนึ่ง

    0c705de0-018a-11ef-8369-47dc4454b972.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    คำบรรยายภาพ,ปรากฏการณ์เอลนีโญสามารถส่งผลกระทบกับปริมาณสัตว์ทะเลที่ชาวประมงอาจจับได้
    นอกจากนี้ องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO) ยังรายงานว่า ภัยแล้งและน้ำท่วมที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงในปี 2015-2016 ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของประชากรกว่า 60 ล้านคน

    การศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์เอลนีโญมีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต

    เอลนีโญและลานีญาเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน
    ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญามักเกิดขึ้นทุก ๆ 2-7 ปี และมักจะกินเวลาราว 9-12 เดือนต่อครั้ง

    ปรากฏการณ์ทั้งสองไม่ค่อยเกิดสลับกันมากนัก ลานีญาเกิดขึ้นน้อยกว่าเอลนีโญ

    686970f0-018a-11ef-97f7-e98b193ef1b8.jpg
    ที่มาของภาพ,EPA

    คำบรรยายภาพ,นี่ถือว่าเป็นระยะเวลาสามปีซ้อนแล้วที่ปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เผชิญน้ำท่วม
    สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อเอลนีโญและลานีญาหรือไม่
    ปี 2021 คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือไอพีซีซี (IPCC) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติ รายงานว่า เหตุการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1950 นั้นมีความรุนแรงมากกว่าช่วงระหว่างปี 1850 ถึง 1950

    มันยังบอกอีกว่าข้อมูลจากวงปีในต้นไม้และหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าความถี่และความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนีโญนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ช่วงปี 1400

    ไอพีซีซี สรุปว่ายังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่บ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อปรากฏการณ์เอลนีโญ

    ทว่าโมเดลสภาพภูมิอากาศบางโมเดลชี้ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก แต่ยังไม่แน่ชัด

    eed473b0-018a-11ef-a9f7-4d961743aa47.jpg

    https://www.bbc.com/thai/articles/cp9gj9xvkrzo
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทำไมเมืองใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของจีนกำลังจม ?
    0b329310-fedf-11ee-8369-47dc4454b972.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    คำบรรยายภาพ,ภาพอาคารที่กำลังทรุดและพังลงในมลฑลกวางสี
    Article information
    • Author,แมตต์ แม็คกราธ
    • Role,ผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม
    • 21 เมษายน 2024
    นักวิจัยเผยว่า เมืองใหญ่เกือบครึ่งของจีนกำลังทรุดตัวลง เนื่องจากการสูบน้ำบาดาลใต้ดินมาใช้ ขณะที่การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วทำให้น้ำหนักเมืองเพิ่มขึ้นอีก

    มีรายงานว่า เมืองบางแห่งทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว โดย 1 ใน 6 ของเมืองทรุดตัวลงมากกว่า 10 มิลลิเมตรต่อปี

    นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วในจีนในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้มีความต้องการในการใช้น้ำมากขึ้นตามมา จึงทำให้การสูบน้ำบาดาลใต้ดินขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็นเงาเช่นกัน

    สำหรับเมืองที่อยู่บริเวณชายฝั่ง การทรุดตัวของเมืองนี้เป็นภัยคุกคามต่อประชาชนหลายล้านคน โดยเฉพาะภัยจากน้ำท่วม ขณะที่ระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มสูงขึ้น

    2fc720e0-fee1-11ee-97f7-e98b193ef1b8.png
    คำบรรยายภาพ,แผนที่แสดง 5 ภูมิภาค (สีส้ม) ที่ประสบปัญญาแผ่นดินทรุดตัวมากที่สุด
    จีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการรับมือกับแผ่นดินทรุดตัว โดยทั้งนครเซี่ยงไฮ้และนครเทียนจิน ต่างก็มีหลักฐานของการทรุดตัวตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1920 โดยที่นครเซี่ยงไฮ้ทรุดตัวลงไปแล้วมากกว่า 3 เมตรในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา


    ในยุคปัจจุบัน จีนกำลังเผชิญกับปัญหาดินทรุดตัวเป็นวงกว้างในหลายเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

    เพื่อทำความเข้าใจขนาดของปัญหานี้ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของจีนได้ทำการศึกษาเมืองทั้งหมด 82 แห่ง รวมถึงทุกเมืองที่มีประชากรเกินกว่า 2 ล้านคน โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-1 เพื่อวัดการเคลื่อนที่ของแผ่นดินในแนวดิ่งทั่วประเทศ

    จากการพิจารณาข้อมูลตั้งแต่ปี 2015 ถึง 2022 ทีมนักวิจัยสามารถสรุปได้ว่า 45% ของพื้นที่เขตเมืองทรุดตัวลงมากกว่า 3 มิลลิเมตรต่อปี ขณะที่พื้นที่ดินในเขตเมืองประมาณ 16% กำลังทรุดตัวลงด้วยอัตราเร็วกว่า 10 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เป็นการทรุดตัวอย่างรวดเร็ว

    ในอีกทางหนึ่ง จากผลการศึกษานี้ หมายความว่าประชากร 67 ล้านคน กำลังอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว

    นักวิจัยระบุว่า เมืองที่ประสบปัญหามากที่สุดนั้นกระจุกตัวอยู่ใน 5 ภูมิภาคที่ไฮไลต์บนแผนที่

    ขณะที่อัตราการทรุดตัวดังกล่าวมีปัจจัยหลายประการ เช่น ลักษณะทางธรณีวิทยา และน้ำหนักของอาคาร แต่ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งตามที่นักวิจัยอ้างถึงคือ การสูญเสียน้ำใต้ดินไป

    สิ่งนี้หมายถึงการสูบน้ำบาดาลใต้ดินหรือเมืองใกล้เคียงเพื่อนำมาใช้สำหรับประชากรในพื้นที่

    กรณีนี้เคยเกิดขึ้นในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก เช่น เมืองฮิวสตัน รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา, กรุงเม็กซิโกซิตี้ ของเม็กซิโก และกรุงเดลี ของอินเดีย

    984ba340-fedf-11ee-97f7-e98b193ef1b8.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    คำบรรยายภาพ,ภูมิภาคที่เป็นแหล่งผลิตถ่านหินของจีนก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทรุดตัวของแผ่นดิน
    ในจีน คณะวิจัยสามารถเชื่อมโยงระหว่างการสูบน้ำใต้ดินจากบ่อน้ำที่เฝ้าระวังจำนวนมากกว่า 1,600 แห่ง กับระดับการทรุดตัวของแผ่นดินที่เพึ่งขึ้น

    "ผมคิดว่า การสูบน้ำใต้ดินมาให้ อาจจะเป็นเหตุผลหลัก" ศาสตราจารย์โรเบิร์ต นิโคลลส์ จากมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย ในสหราชอาณาจักร กล่าว แม้ว่าเขาจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงานวิจัยฉบับนี้

    "ในประเทศจีน มีผู้คนจำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เคยเป็นเกิดจากการสะสมของตะกอน หากพูดในแง่ภูมิศาสตร์ ดังนั้นเมื่อคุณสูบน้ำใต้ดินออกมา หรือคุณชะล้างหน้าดินไป แผ่นดินก็มีแนวโน้มจะทรุดตัวลง"

    ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธพลต่อการทรุดตัวของแผ่นดิน ได้แก่ ระบบการขนส่งในเมืองและการทำเหมืองแร่และถ่านกิน เป็นต้น

    8966c580-fedf-11ee-a9f7-4d961743aa47.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    คำบรรยายภาพ,เกิดหลุมขนาดใหญ่บนถนนในเมืองเจิ้งโจว สาเหตุจากการทรุดตัวของแผ่นดิน
    ในพื้นที่ภาคเหนือของผิงติ่งชาน ซึ่งเป็นแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ แผ่นดินกำลังทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วถึง 109 มิลลิเมตรต่อปี

    นักวิจัยกล่าวว่า ภัยคุกคามสำคัญที่เกิดขึ้นในอนาคตคือ ประชากรในเขตเมืองจะเผชิญกับน้ำท่วม จากการผสมผสานของแผ่นดินทรุดตัวและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    ในปี 2020 พื้นที่ประมาณ 6% ของจีนมีระดับความสูงสัมพัทธ์ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ภายใน 100 ปีข้างหน้า ตัวเลขนี้อาจเพิ่มขึ้นเป็น 26% ของประเทศ ในสถานการณ์ที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปานกลางถึงสูง

    นักวิจัยระบุว่า แผ่นดินทรุดตัวลงเร็วกว่าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น แต่เมื่อนำมาปัจจัยทั้งหมดมารวมกันแล้วจะทำให้ประชาชนหลายร้อยล้านคนเสี่ยงต่อน้ำท่วม

    อย่างไรก็ตาม การวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สามารถรับมือกับการทรุดตัวแบบช้า ๆ ได้

    ประเด็นเรื่องแผ่นดินทรุดตัวเคยส่งผลกระทบต่อศูนย์กลางเมืองสำคัญอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น นครโอซากาและกรุงโตเกียวในญี่ปุ่นในอดีต

    "พื้นที่ในกรุงโตเกียวที่ทรุดตัวลงคือ บริเวณท่าเรือ โดยทรุดตัวมากถึงห้าเมตรในศตวรรษที่ 20" ศาสตราจารย์นิโคลส์กล่าว

    "แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1970 พวกเขาได้นำน้ำประปาผ่านท่อจากพื้นที่อื่น ๆ และยังมีกฎหมายห้ามใช้น้ำบาดาล และนั่นจึงหยุดยั้งการทรุดตัวลง"

    ผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Science
    https://www.bbc.com/thai/articles/clm385zvzy2o
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จีนโคลนลิงวอกสำเร็จ หวังใช้เป็นสัตว์ทดลองทางการแพทย์
    e709e9b0-b4de-11ee-bc2f-cb5579b90709.jpg
    ที่มาของภาพ,ZHAODI LIAO, NATURE

    คำบรรยายภาพ,เจ้าเรโทร จะเป็นลิงวอกโคลนรุ่นใหม่ตัวแรก ที่จะถูกนำมาใช้ทดลองทางการแพทย์หรือไม่
    17 มกราคม 2024
    นักวิจัยจีนได้โคลน “ลิงวอก” ตัวแรกสำเร็จ เพื่อนำมาเป็นตัวทดลองทางการแพทย์

    ลิงวอก เป็นสปีชีส์ลิงที่ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย เพราะมีคุณลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับมนุษย์

    นักวิจัยจีนที่ทำการโคลนลิงวอก ระบุว่า ลิงโคลนนิงจะช่วยให้การพัฒนายาเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น เพราะหากทดลองยากับลิง จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์คล้ายคลึงกับผลที่จะเกิดกับมนุษย์

    ความพยายามที่ผ่านมาของนักวิจัยจีนเพื่อโคลนนิงลิงวอก ไม่ประสบความสำเร็จ รวมถึงการที่โคลนนิงลิงจนมีชีวิตขึ้นมาแล้ว แต่มันก็ตายในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา

    ด้านกลุ่มสวัสดิภาพสัตว์ ชี้ว่า “วิตกกังวล” ต่อการโคลนนิงลิงวอกของจีน

    โดยทั่วไปแล้ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศผู้และเพศเมีย จะปฏิสนธิกัน จนออกมาเป็นลูกสัตว์ที่มีส่วนผสมยีนจากทั้งพ่อและแม่ แต่ในการโคลนนิงนั้น จะใช้เทคนิคที่สร้างสัตว์ขึ้นมาด้วยยีนที่เหมือนกันสัตว์ต้นทาง เสมือนการทำสำเนาสัตว์ขึ้นมาใหม่

    สัตว์ที่เกิดจากการโคลนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ แกะดอลลี มันถูกโคลนขึ้นในปี 1996 โดยนักวิทยาศาสตร์ได้สั่งการให้เซลล์จากแกะอีกตัว แปรสภาพเป็นเอ็มบริโอ หรือตัวอ่อน ที่สามารถเติบโตขึ้นมาเป็นสิ่งมีชีวิตได้ จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็นำเอ็มบริโอนั้น ปลูกถ่ายเข้าไปในแกะตัวเมีย ที่ทำหน้าที่ตั้งครรภ์แทน

    141b1550-b4df-11ee-8f07-bbfdfa890097.jpg
    ที่มาของภาพ,ZHAODI LIAO, NATURE

    สำหรับการโคลนลิงวอกนี้ ทีมนักวิจัยจีนอธิบายในวารสาร เนเจอร์คอมมูนิเคชัน ว่า ได้ใช้กระบวนการเดียวกับการโคลนแกะดอลลี เพื่อให้กำเนิดลิงวอกโคลน พร้อมชี้ว่า ลิงวอกที่โคลนออกมาได้ มีชีวิตและมีสุขภาพดีหลังการโคลน 2 ปี ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดว่า การโคลนนิงประสบความสำเร็จ

    ดร.ฝ่าหลง ลู่ จากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์บอกกับบีบีซีว่า “ทุกคนต่างมีความสุข” ต่อผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จนี้

    แต่โฆษกราชสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ชี้ว่า สัตว์ไม่ควรต้องมาทุกข์ทรมาน เพื่อผลประโยชน์ต่อคนไข้ที่เป็นมนุษย์ แม้ว่าสัตว์นั้นจะเกิดจากการโคลนก็ตาม

    สำหรับลิงวอกนั้น พบโดยทั่วไปในเอเชีย โดยประเทศที่มีประชากรลิงวอกอยู่มาก อาทิ อัฟกานิสถาน อินเดีย ไทย เวียดนาม และจีน ซึ่งพวกมันถูกนำมาใช้ในการทดลองทางการแพทย์ เพื่อศึกษาการติดเชื้อและภูมิคุ้มกัน

    ย้อนไปเมื่อปี 2018 ลิงมาคากที่เกิดจากการโคลนคู่แรก ได้ถือกำเนิดขึ้น แต่ลิงวอก ก็ยังเป็นสัตว์ทดลองที่นักวิจัยทางการแพทย์นิยมใช้ เพราะมียีนที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับมนุษย์

    205c9870-b4df-11ee-8f07-bbfdfa890097.jpg
    ที่มาของภาพ,CHINESE ACADEMY OF SCIENCES

    คำบรรยายภาพ,ลิงมาคาก ที่ถูกโคลนออกมาในปี 2018
    แต่การโคลนเซลล์ของสัตว์โตเต็มวัยให้กลายเป็นตัวอ่อนก็มีปัญหาอยู่ เพราะความพยายามส่วนใหญ่มักจะเกิดความผิดพลาดในกระบวนการตั้งโปรแกรมเซลล์ ทำให้โคลนสัตว์ออกมาได้น้อย อีกทั้งยังมีสุขภาพที่ย่ำแย่ เรียกว่า โอกาสโคลนสำเร็จอยู่ที่ 1-3% เท่านั้นสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แล้วยิ่งเป็นลิงวอก ถือว่าการโคลนยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะไม่เคยมีใครโคลนมันสำเร็จ จนกระทั่งนักวิจัยจีนโคลนลิงวอกตัวแรกของโลกขึ้นมาได้เมื่อ 2 ปีก่อน

    นักวิจัยจีนค้นพบว่า ความพยายามโคลนลิงวอกที่แล้วมา ทางทีมตั้งโปรแกรมส่วนรกได้ไม่เหมาะสม ทำให้กระบวนการโคลนไม่ลุล่วง ซึ่งรกนี้เองเป็นตัวนำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงตัวอ่อน

    ดังนั้น ทีมวิจัยจึงเลี่ยงปัญหานี้ ด้วยการไม่ใช้ชิ้นส่วนที่จะพัฒนาเป็นรกของเอ็มบริโอที่โคลนออกมาได้ แต่สกัดเซลล์ชั้นในส่วนนี้ออกมา แล้วนำไปใส่ในบริเวณส่วนนอกของเอ็มบริโอที่ไม่ได้เกิดจากการโคลน เพื่อให้เซลล์พัฒนากลายเป็นรกตามปกติ จากนั้นค่อยนำเอ็มบริโอที่ผสมผสานทั้งเซลล์จากการโคลนและไม่โคลน ปลูกถ่ายเข้าไปยังลิงตัวเมีย จนให้กำเนิดลิงที่แทบจะเหมือนกับลิงวอกต้นทางทุกประการ

    2f4d8420-b4df-11ee-beb5-e1400df560f2.png
    นักวิจัยได้ใช้เอ็มบริโอ 113 ชิ้น ในจำนวนนี้ 11 ชิ้นถูกนำไปปลูกถ่าย นำมาสู่การตั้งครรภ์ 2 ตัว และเกิดออกมาสำเร็จ 1 ตัว โดยนักวิจัยตั้งชื่อลิงวอกโคลนว่า “เรโทร” เป็นการตั้งชื่อตามเทคนิกที่ใช้ คือ “การแทนที่เนื้อเยื่อตัวอ่อนส่วนนอก”

    แต่ราชสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ข้องใจกับงานวิจัยนี้ของจีน

    “ผลการศึกษานี้ยังไม่มีการนำไปปรับใช้จริง เราสันนิษฐานว่า คนไข้มนุษย์จะได้ประโยชน์จากการทดลองนี้ แต่การนำไปปรับใช้ในชีวิตจริง ยังต้องใช้เวลาอีกนานหลายปี ซึ่งระหว่างนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะต้องมีการโคลนสัตว์ต้นแบบออกมาอีกมาก เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้” โฆษกของราชสมาคม ระบุ

    “ราชสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์กังวลว่า สัตว์จำนวนมากจะทุกข์ทรมานจากการทดลองนี้ ที่ยังมีอัตราสำเร็จต่ำ สัตว์ประเภทวานรถือเป็นสัตว์ที่มีความรู้และมีความรู้สึก พวกมันไม่ใช่แค่อุปกรณ์วิจัย”

    ศาสตราจารย์ โรบิน โลเวลล์-แบดจ์ จากสถาบันฟรานซิสคริกในกรุงลอนดอน มีความกังวลเช่นกัน แม้ว่าจะสนับสนุนการวิจัยสัตว์หากผลประโยชน์ต่อคนไข้มีมากกว่าความทุกข์ทรมานต่อสัตว์

    “การมีสัตว์ที่มียีนที่คล้ายคลึงกัน จะลดความคลาดเคลื่อนในการทดลองได้ แต่ก็ต้องถามว่ามันคุ้มไหม”

    “จำนวนความพยายามโคลนมันสูงมาก ทีมวิจัยจีนต้องใช้เอ็มบริโอจำนวนมาก แล้วปลูกถ่ายเข้าไปในลิงตัวเมีย เพื่อให้ได้สัตว์ที่มีชีวิตออกรอดออกมาเพียงตัวเดียว”

    35397a10-b4df-11ee-bc2f-cb5579b90709.jpg
    สิ่งที่นักวิจัยกังวล คือ นักวิทยาศาสตร์จีนโคลนลิงวอกออกมาได้แค่ตัวเดียว

    “คุณสรุปไม่ได้ว่าเทคนิคที่ใช้นั้นสำเร็จ เพราะคุณสร้างสัตว์ออกมาได้ตัวเดียว มันไม่มีเหตุผลสิ้นดีที่จะกล่าวอ้างว่าคุณทำสำเร็จ คุณต้องใช้เทคนิกนี้สร้างออกมาให้ได้อย่างน้อยก็ 2 ตัว หรือมากกว่านั้น”

    ดร.ฝ่าหลง หลู ตอบโต้ผ่านบีบีซีว่า ทีมวิจัยมีเป้าหมายที่จะโคลนลิงวอกออกมาอีก ด้วยการใช้เอ็มบริโอที่น้อยลง พร้อมเสริมว่า ได้ขอการอนุมัติทางจริยธรรมแล้ว ก่อนจะดำเนินการวิจัย

    “กระบวนการเกี่ยวกับสัตว์ทั้งหมดในงานวิจัยของเรา ยึดโยงกับแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการด้านการใช้งานและการดูแลสัตว์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพเซี่ยงไฮ้ สถาบันวิทยาศาสตร์จีน และสถาบันประสาทวิทยาศาสตร์ กระบวนการวิจัยยังได้รับการอนุมัติโดยศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด”

    https://www.bbc.com/thai/articles/cl79lngz74ro
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทำไมคนเมืองหนาวคิดว่าตัวเองไม่ต้องอาบน้ำทุกวัน ?
    bf5b5b60-02e0-11ef-8369-47dc4454b972.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    Article information
    • Author,เมทิลดา เวลิน
    • Role,ผู้สื่อข่าวสารคดีพิเศษ
    • 26 เมษายน 2024
    การอาบน้ำบ่อย ๆ เป็นเรื่องจำเป็นหรือไม่ ? ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า การอาบน้ำทุกวันเกิดขึ้นมาจาก "การตกลงร่วมกันของสงคม" หรือ "สัญญาประชาคม" มากกว่าความจำเป็น

    เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมเลิกอาบน้ำทุกวันด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งการทำงานจากที่บ้าน การย้ายไปอยู่กับคู่รักที่อาบน้ำน้อยกว่าผมแต่เนื้อตัวของเธอยังคงสะอาดอยู่ ประกอบกับความขี้เกียจของช่วงวัยกลางคนด้วย ตราบใดที่ผมไม่ได้ไปออกกำลังกาย ทุกวันนี้ผมอาบน้ำราว 3 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อนบางคนของผมอาบน้ำน้อยกว่านั้น บางคนอาบแค่สัปดาห์ละครั้งในช่วงฤดูหนาว บางคนมีปัญหาด้านผิวหนัง ขณะที่บางคนแค่ไม่ชอบให้ผมเปียก แต่เพื่อนบางคนก็ไม่เห็นด้วยกับผม หรือถึงกับรังเกียจเลย

    "เหมือนฉันตื่นนอนไม่เต็มตาถ้าไม่ได้อาบน้ำตอนเช้า" พวกเขากล่าว "ทุก ๆ วันต้องเริ่มต้นด้วยการอาบน้ำและดื่มกาแฟหนึ่งสักแก้ว" หรือ "ไม่มีทางที่ฉันจะนอนบนเตียง [โดยไม่ได้อาบน้ำ] หลังจากเดินทางมาทำงานในลอนดอน" และ "อาทิตย์ละ 3 ครั้งเหรอ? ยี้"

    สำหรับพวกเราชาวอาบน้ำน้อยมักถูกมองด้วยความกังขาอยู่บ่อย ๆ ไม่ใช่แค่พวกฮิปปี้รักธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในเต็นท์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ใช้ติ๊กตอกที่อาบน้ำน้อย แม้กระทั่งคนดัง เมื่อเดือนที่แล้ว ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ชาวอังกฤษ โจนาธาน รอส ตกเป็นข่าวใหญ่เนื่องจากบอกว่าบางครั้งเขาอาบน้ำน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง และในปี 2023 นักแสดงสาวอย่าง อเมริกา เฟอร์เรรา ทำให้เพื่อนร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องบาร์บี้ประหลาดใจด้วยการสารภาพว่าบางครั้งเธอก็เลือกจะไม่อาบน้ำ

    ในปี 2021 นักแสดงอย่างแอชตัน คุชเชอร์ สร้างความหวาดผวาให้กับนักวิจารณ์ด้วยกิจวัตรการอาบน้ำแค่ "รักแร้และเป้าทุกวัน ส่วนอื่นไม่เคยอาบ" และเจค จิลเลนฮาล นักแสดงอีกคนบอกว่าเขาเชื่อว่า การอาบน้ำบางครั้งเป็นเรื่อง "ไม่ค่อยจำเป็น" (แต่ต่อมาก็อ้างว่าเขาแค่พูดติดตลก) เมื่อคนดังคนอื่น ๆ ออกมาเปิดเผยแนวคิดของพวกเขาต่อการอาบน้ำ ความไม่พอใจยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่ง เจสัน มาโมอา และ เดอะร็อค นักแสดงชื่อดังทั้งสองคนต้องออกมาชี้แจงว่าพวกเขาต่างก็อาบน้ำบ่อยมาก

    แม้แพทย์ส่วนใหญ่จะเห็นตรงกันว่า การล้างมือบ่อย ๆ เป็นกุญแจสำคัญในการหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรค แต่การอาบน้ำทุกวันไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง ในทางกลับกัน มันอาจส่งผลเสียต่อคุณได้ด้วยการทำให้ผิวแห้งและระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าชาวอเมริกันและชาวอังกฤษกว่าครึ่งอาบน้ำทุกวัน ถึงเวลาลดความถี่ในการอาบน้ำแล้วหรือยัง

    dc484b70-02e0-11ef-97f7-e98b193ef1b8.jpg
    ที่มาของภาพ,TOBY MADDEN

    คำบรรยายภาพ,นักสิ่งแวดล้อม ดอนนาแชธ แม็คคาร์ธี เป็นคนอาบน้ำไม่บ่อยนักและเขายังมีเครื่องเก็บน้ำฝนในสวนของเขาด้วย
    อย่างไรก็ตาม การหาคนไม่ค่อยอาบน้ำมาพูดคุยเพื่อเขียนข่าวไม่ใช่เรื่องง่าย ในปี 2015 นักเคมีที่ชื่อว่า เดวิด วิทล็อก กลายเป็นข่าวหลังประกาศว่าเขาไม่ได้อาบน้ำมา 12 ปีแล้ว เขาใช้วิธีการฉีดแบคทีเรียที่ดีใส่ตัวแทน และยังได้เริ่มต้นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่อิงตามแนวคิดนี้อีกด้วย

    ปีถัดมา แพทย์ที่ชื่อ เจมส์ แฮมบลิน เขียนเกี่ยวกับการที่เขาหยุดอาบน้ำเช่นกัน ในปี 2020 เมื่อหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า "ความสะอาด: วิทยาศาสตร์ผิวหนังยุคใหม่และความงดงามของการทำให้น้อยลง" ออกวางจำหน่าย เขาบอกกับบีบีซีว่า "ผมมีกลิ่นตัว และภรรยาผมบอกว่ามันเป็นกลิ่นที่ระบุตัวตนได้ แต่เธอก็ชอบ คนอื่น ๆ บอกว่ามันไม่ได้แย่" เมื่อฉันส่งอีเมลไปหาเขาเพื่อขอสัมภาษณ์ โดยบอกถึงนิสัยการอาบน้ำของตัวเองสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เขาก็บอกว่าเขาไม่ว่างคุย แต่เสริมว่า "บอกคนที่ล้อคุณว่าพวกเขากำลังทรยศต่อความรู้ด้านจุลินทรีย์บนผิวหนังอย่างรุนแรง แล้วเดินจากไป"

    ในที่สุด ฉันก็เจอกับนักสิ่งแวดล้อม ดอนนาแชธ แม็คคาร์ธี "ผมไม่ได้อยู่คนเดียว [กับการไม่อาบน้ำทุกวัน]" เขาบอกฉัน "สิ่งที่ทำผมโดดเดี่ยวคือความกล้าหาญที่จะพูดถึงมัน"

    เมื่อแปดปีที่แล้ว แม็คคาร์ธี เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของอังกฤษ เกี่ยวกับการอาบน้ำของเขา (ในตอนนั้น) สัปดาห์ละครั้ง เสริมด้วยการล้างหน้าที่อ่างล้างหน้า การเปิดเผยตัวเองว่า การเป็นคนที่อาบน้ำไม่บ่อยนั้นน่ากลัว เขากล่าว เพราะเขารู้ว่าเขาจะโดนถล่มทับด้วยการดูถูกและเยาะเย้ย แต่หลังจากบทความนั้นเผยแพร่ ผู้คนก็กระซิบข้างหูเขาว่าพวกเขาก็ทำแบบเดียวกัน

    043b3160-02e1-11ef-97f7-e98b193ef1b8.jpg
    ที่มาของภาพ,TOBY MADDEN

    คำบรรยายภาพ,บ้านของแม็คคาร์ธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
    แม็คคาร์ธี เคยเป็นนักบัลเลต์มืออาชีพที่มีนิสัยชอบการอาบน้ำเป็นปกติ จนกระทั่งได้รับบาดเจ็บ หลังจากใช้เวลาสองสัปดาห์อยู่กับชาวพื้นเมืองยาโนมามิในป่าแอมะซอน เขาตัดสินใจทำบางอย่างเพื่อสิ่งแวดล้อม เขาติดตั้งระบบเก็บน้ำฝนและเครื่องทำน้ำอุ่นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ในบ้านที่กรุงลอนดอน เพื่อติดตามปริมาณน้ำที่เขาใช้

    ตลอดปีต่อ ๆ มา เขาเริ่มอาบน้ำน้อยลงเรื่อย ๆ ปัจจุบัน อาจจะอาบแค่เดือนละครั้งเท่านั้น เขาใช้วิธีเช็ดตัวทุกวันโดยใช้ผ้าชุบน้ำที่อ่างล้างหน้าทำความสะอาดร่างกายทั้งหมด และใช้น้ำเพียงแค่ 1 แก้วสำหรับการโกนหนวด ไม่มีใครบ่นว่าเขามีกลิ่นตัวเลย

    "ถ้าคุณไปตามตึกเก่า ๆ ในห้องนอน คุณจะเห็นโต๊ะไม้สวย ๆ ที่มีร่องสำหรับวางกะละมัง คนสมัยก่อนจะตักน้ำจากกะละมังเหล่านั้น และใช้ผ้าเช็ดหน้าสำหรับทำความสะอาดทั้งหน้าและตัว... แน่นอนว่า การมีน้ำไหลตลอดเวลามันเป็นข้อดีมหาศาล แต่ก็นำไปสู่การใช้น้ำเปลืองมากขึ้นด้วย"

    การอาบน้ำเพื่อ "เอาหน้า"
    ความหลงใหลในการชำระล้างร่างกายด้วยสบู่และน้ำทุกวันของเรานั้น กลับกลายเป็นประเด็นที่แวดวงวิชาการสนใจน้อยอย่างน่าประหลาด ถึงขนาดที่รายงานจากปี 2005 ยังคงเป็นบรรทัดฐานสำคัญในวงการวิจัยการอาบน้ำอยู่ในปัจจุบัน รายงานระบุว่า ในประเทศอังกฤษ การอาบน้ำวันละครั้งหรือบางครั้งอาจจะสองครั้งต่อวันเป็นเรื่องปกติ สำหรับหลายคน "มันกลายเป็นกิจวัตรประจำวันที่ปกติมาก จนการอาบน้ำที่น้อยกว่าทำให้ผู้คนรู้สึกอึดอัดทั้งทางสังคมและร่างกาย"

    ศาสตราจารย์เดล เซาเทอร์ตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาการบริโภคประจำมหาวิทยาลัยบริสตอล เป็นหนึ่งในผู้เขียนร่วมรายงานฉบับนี้ เขากล่าวกับบีบีซีว่า "เราชำระร่างกายกันมากกว่าที่เคยทำในอดีตมาก" การเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา และไม่ได้ถูกวางแผนไว้ล่วงหน้า จริง ๆ มันดูเหมือนจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ

    เดิมที คนเรามักทำความสะอาดร่างกายด้วยการอาบน้ำ วัฒนธรรมการอาบน้ำนั้นมีความหลากหลาย ตั้งแต่การแช่น้ำแร่เพื่อการบำบัดในเมืองสปา ไปจนถึงการแช่น้ำอุ่นผ่อนคลายแบบสมัยใหม่ พร้อมกับไวน์สักแก้ว ชาหรือกาแฟสักถ้วย และหนังสือสักเล่ม (การอาบน้ำแบบไหนที่ใช้น้ำน้อยกว่า ประหยัดกว่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า จะแบบฝักบัวหรือแบบแช่น้ำ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการอาบน้ำ ในขณะที่บางคนบอกว่าการอาบน้ำแบบฝักบัวสะอาดกว่าเพราะชะล้างสิ่งสกปรกออกไป แต่บางคนก็บอกว่าความแตกต่างนั้นน้อยเกินกว่าจะมีนัยสำคัญ)

    20e1f0b0-02e1-11ef-97f7-e98b193ef1b8.jpg
    ที่มาของภาพ,ALAMY

    คำบรรยายภาพ,ในหลายร้อยปีที่ผ่านมา การทำความสะอาดร่างกายมักใช้น้ำในขันและกะละมัง ปัจจุบัน การอาบน้ำด้วยฝักบัวทุกวันกลายเป็นเรื่องปกติ
    ในช่วงทศวรรษ 1950 ศ.เซาเทอร์ตันเล่าว่า ชาวอังกฤษเริ่มมีน้ำประปาใช้ในห้องน้ำ ต่อมาไม่นานก็มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ตามมา นั่นคือ สายยางที่ต่อกับก๊อกน้ำ ด้านบนมีตะแกรงพลาสติกและหัวฝักบัว ปัจจุบัน บ้านหลายหลังถูกสร้างใหม่และหอพักนักศึกษาหลายแห่งได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ทุกห้องมีห้องน้ำในตัว "ถ้าคุณมีฝักบัวแค่หนึ่งอันสำหรับครอบครัวห้าคน มันก็ทำให้ไม่อยากอาบน้ำบ่อย" ศ.เซาเทอร์ตันอธิบาย "แต่ถ้าคุณแค่ลุกจากเตียงแล้วเดินเข้าไปในห้องอาบน้ำส่วนตัวของคุณเอง..." เพียงแค่มีฝักบัวให้ใช้อย่างสะดวก ซึ่งแต่เดิมถูกติดตั้งเพื่อให้อาบน้ำง่ายขึ้น ตอนนี้มันกลายเป็นเหตุผลที่เราอาบน้ำบ่อยขึ้น

    ฝักบัวธรรมดานี้ยังมีความหมายใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 1900 ด้วย ธุรกิจโฆษณาที่เฟื่องฟูได้ผนวกสัญลักษณ์ใหม่เข้ากับห้องน้ำของเรา ศ.เซาเทอร์ตันกล่าวว่า ฝักบัวไม่ได้ถูกนำเสนอขายแค่ในฐานะเครื่องมือประหยัดเวลา แต่ยังช่วยให้สดชื่นด้วย โฆษณาฝักบัวในช่วงประมาณปี 1970 ประกอบด้วยภาพวาดง่าย ๆ ของอ่างอาบน้ำที่มีหัวฝักบัว แต่พอถึงช่วงทศวรรษ 1980 บ่อยครั้งที่ภาพโฆษณาจะเป็นภาพผู้หญิงคนหนึ่งกำลังผ่อนคลายท่ามกลางไอน้ำ

    การอาบน้ำด้วยการใช้ผักบัวกลายเป็นกิจกรรมพักผ่อน และยังช่วยให้เราเปลี่ยนโหมดด้วย เราสวมบทบาทต่าง ๆ มากมาย สลับไปมาระหว่าง พนักงานออฟฟิศ นักเทนนิส พ่อแม่ และเพื่อนที่ไปทานข้าวเย็น การอาบน้ำด้วยผักบัวเป็นกิจกรรมที่ทำเกิดจุดเปลี่ยน แลห้องอาบน้ำในลักษณะนี้ยังเป็นเหมือนประตูมิติที่เปลี่ยนเราจากตัวตนหนึ่งไปสู่อีกตัวตนหนึ่ง

    "ถ้าคุณย้อนกลับไป 100 ปีที่แล้ว เราไม่ได้อาบน้ำทุกวัน เพราะฝักบัวไม่ใช่สิ่งของที่ทุกคนมี" ศาสตราจารย์ คริสเทน กรัม-ฮันส์เซน จากภาควิชาสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร มหาวิทยาลัยออลบอร์ก ประเทศเดนมาร์ก กล่าวกับฉัน "เราไม่ได้อาบน้ำเพื่อสุขภาพ เราอาบน้ำเพราะมันเป็นเรื่องปกติ"

    เมื่อเราลองนึกถึงสภาพแวดล้อมอย่างเช่น การไปเดินป่าหรือเทศกาลดนตรี มุมมองทางสังคมของการอาบน้ำบ่อย ๆ ก็จะชัดเจนขึ้น เธอกล่าว ในสถานการณ์เหล่านั้น บรรทัดฐานที่แตกต่างกันก็มีผล และการอาบน้ำน้อยลงก็กลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

    327bdc50-02e1-11ef-8369-47dc4454b972.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    คำบรรยายภาพ,ตามงานเทศกาลดนตรี ผู้คนไม่ได้คาดหวังว่าคนอื่น ๆ จะต้องอาบน้ำบ่อย
    อนาคตจะเป็นอย่างไร เราจะเลี่ยงการเข้าห้องอาบน้ำฝักบัวกันหมดในเร็ว ๆ นี้หรือไม่ ไม่น่าเป็นไปได้ เหล่าอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่เห็นแนวโน้มที่มีนัยสำคัญว่าผู้คนที่จะอาบน้ำน้อยลงด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม

    "นี่ไม่ใช่เรื่องราวที่ค่อย ๆ ทยอยเกิดขึ้นเรื่อง ๆ แล้วจากนั้นเราก็พูดกันว่า 'โอ้ นั่นเป็นความคิดที่แย่! หยุด[อาบน้ำ]กันเถอะ' " ศ.เซาเทอร์ตันกล่าว "คุณย้อนเวลากลับไปไม่ได้แล้ว บรรทัดฐานการอาบน้ำฝักบัวฝังรากลึกอยู่ในสังคมของเราแล้ว"

    ดูเหมือนว่าการไม่อาบน้ำทุกวันของฉันจะยังคงเป็นที่สะดุดตาสำหรับบางคน ฉันรู้สึกดีขึ้นจากการพูดคุยกับแม็คคาร์ธี "ผมคิดว่าการอาบน้ำจำนวนมากเป็นแค่การกระทำเอาหน้า" เขากล่าว "ทำไมเราถึงต้องอาบน้ำ ? ส่วนใหญ่เพราะกลัวว่าคนอื่นจะบอกว่าเราเหม็น... ผมเผชิญหน้ากับความกลัวนั้น และผมก็ยังมีชีวิตอยู่"


    https://www.bbc.com/thai/articles/c...Kv_GI_B07YlTcu1_TYgzBaYwZ8dEd4A0W7uldKJaDZE_L
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    งานวิจัยพบว่า กัญชาเพิ่มความเสี่ยงอาการป่วยทางจิตที่รุนแรง
    cfa9e4b0-0203-11ef-8369-47dc4454b972.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    คำบรรยายภาพ,นักวิจัยกล่าวว่า ผู้ป่วยมีอาการจิตเวชจะสูญเสียการรับรู้ที่ไม่ตรงกับโลกความเป็นจริงและอาจจะมีอาการหูแว่ว
    Article information
    • Author,มิเชลล์ โรเบิร์ต
    • Role,ผู้สื่อข่าวสายสุขภาพ บีบีซีนิวส์
    • 24 เมษายน 2024
    นักวิจัยกล่าวว่าการสูบกัญชาที่มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง

    รายงานการวิจัยฉบับนี้ได้รับการเปิดเผยในวารสารทางการแพทย์ เดอะแลนเซต ในหมวดจิตเวชศาสตร์ (the Lancet Psychiatry) เมื่อเดือน มี.ค. 2019 ด้วยการศึกษาในเมืองต่าง ๆ ในยุโรป พวกเขาประเมินว่า มีผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ประมาณ 1 ใน 10 คน ที่อาจเชื่อมโยงกับการใช้กัญชาที่มีความเข้มข้นสูง

    โดยเฉพาะในกรุงลอนดอนของอังกฤษและกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งพบว่า ความเสี่ยงสูงกว่า เนื่องจากกัญชาส่วนใหญ่ที่วางขายนั้นมีความเข้มข้นสูงมาก

    งานศึกษายังระบุอีกด้วยว่า การใช้กัญชาทุกวันยังทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคจิตเวชมากขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ผู้คนควรตระหนักถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ถึงแม้งานศึกษานี้จะไม่ใช่ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงอันตรายของมันก็ตาม

    ดร.มาร์ธา ดิ ฟอร์ติ หัวหน้านักวิจัยและจิตแพทย์ บอกว่า “หากคุณตัดสินใจจะใช้กัญชาที่มีความเข้มข้นสูง ก็โปรดจำไว้ว่ามันมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น”

    ด้าน ดร.เอเดรียน เจมส์ จากราชวิทยาลัยจิตแพทย์ บอกว่า “นี่เป็นงานศึกษาที่มีคุณภาพและผลการศึกษาควรถูกนำไปใช้อย่างจริงจัง”

    ความเสี่ยงทางจิตเวช
    ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและรับรู้ไม่ตรงกับโลกความเป็นจริงและอาจมีอาการหูแว่ว เห็นในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือมีความคิดหลงผิดสับสน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นอาการทางการแพทย์ยอมรับ และมีความแตกต่างจากอาการเคลิ้มหลอนที่เกิดจากยาเสพติด

    อย่างไรก็ตาม ยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันว่า กัญชาอาจก่อให้เกิดหรือทำให้ปัญหาสุขภาพจิตแย่ลงมากน้อยเพียงใด แต่หลายประเทศได้เดินหน้าปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดและทำให้มันกลายเป็นสิ่งถูกกฎหมายแล้ว

    แพทย์ต่างมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้กัญชาที่มีความเข้มข้นสูงซึ่งมีส่วนผสมของ THC (Tetrahydrocannabinol) จำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ทำให้เกิดอาการอารมณ์พุ่ง ควบคุมตัวเองไม่ได้และล่องลอย หรือเรียกกันว่า “ไฮ (high)” โดยข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า กัญชาที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรงหรือ สกั๊งค์ มักมีปริมาณ THC สูงถึง 14% ซึ่งคิดเป็น 94% ของกัญชาที่ขายตามท้องตลาดในกรุงลอนดอน

    “มันยังคงตามรังควานชีวิตผม”
    e61d1dc0-0203-11ef-a9f7-4d961743aa47.jpg
    คำบรรยายภาพ,แอด กริดลีย์
    ปัจจุบัน แอด กริดลีย์ ต้องใช้ยารักษาโรคทางจิตเวชที่แตกต่างกันถึง 3 ชนิด เนื่องจากกำลังเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากโรคจิตเภท นอกจากนี้เขายังเคยพยายามปลิดชีวิตตัวเอง โดยเขาเชื่อว่าอาการทางจิตดังกล่าวเกิดจากการใช้กัญชา ซึ่งตอนนี้เขาเลิกสูบมันแล้ว

    “ผมเคยสูบกัญชาเยอะมาก การเมากัญชาเป็นเรื่องปกติสำหรับผม และผมเริ่มทำอะไรหลาย ๆ อย่างด้วยตัวเอง หลังจากพยายามฆ่าตัวตาย 2-3 ครั้ง ซึ่งผมไม่ยอมรับว่าทำมันลงไปจริง ๆ แม่มาเห็นสภาพผมนั่งกอดเข่า ตัวสั่นเทาอยู่ที่แฟลตซึ่งเป็นบ้านของผม เธอก็รู้ทันทีว่ามีบางอย่างผิดปกติ” เขาเล่าผ่านรายการวิคตอเรีย เดอร์บีเชียร์

    “ภายใน 24 ชั่วโมง ก็มีหมอออกมาดู และผมก็อยู่โรงพยาบาลถึงวันรุ่งขึ้น มันทำให้ชีวิตผมเป็นทุกข์อีกประมาณ 10 ปีหลังจากนั้น ผมไม่สามารถงานได้เลย ต้องเข้าออกโรงพยาบาลหลายสิบครั้ง และไม่ได้ทำอะไรที่มีความหมายต่อชีวิตของผม”

    “เมื่อผมหยุดสูบกัญชา อาการทางจิตเวชก็หยุดลง ผมต้องพึ่งยาและสิ่งต่าง ๆ แต่นั่นเป็นการแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น เพื่อให้สารเคมีในสมองของผมได้รับความสมดุลบางอย่าง ซึ่งพอเลิกสูบ อาการก็หายไป”

    “ถ้าผมรู้ถึงความเสี่ยง ผมคงลังเลที่จะสูบมัน”

    งานศึกษา
    นักวิจัยจากคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ได้ศึกษาการใช้กัญชาของผู้คนใน 11 เมืองของยุโรป รวมถึงกรุงลอนดอน และภูมิภาคหนึ่งของบราซิลด้วย

    พวกเขาเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่าง 901 คน ที่เคยเป็นโรคจิตเวชและอีก 1,237 คน (คนทั่วไป) ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคจิตเวช

    พวกเขาจัดหมวดหมู่ของกัญชาที่ผู้เข้าร่วมงานวิจัยใช้ โดยแบ่งตามความเข้มข้นของมัน อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้ทำการทดสอบความแรงของกัญชาในห้องปฏิบัติการโดยตรง

    กัญชาซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าผิดกฎหมาย หากมีความเข้มข้นต่ำจะมีส่วนผสมของสาร THC ต่ำกว่า 10% ขณะที่กัญชาแรง ๆ จะมีสาร THC เข้มข้นมากกว่า 10% ขึ้นไป

    ผลการศึกษาพบอะไรบ้าง
    ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า

    • จากรายงานด้วยตัวเองของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า การใช้กัญชารายวันเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคจิตเวชขั้นต้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมจำนวน 29.5% (หรือ 266 คนจากทั้งหมด 901 คน) ของผู้ป่วยและเทียบกับ 6.8% (84 คนจาก 1,237 คน) ของกลุ่มควบคุม
    • การใช้กัญชาที่มีความเข้มข้นสูงยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยจิตเวชขั้นต้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม 37.1% ของกลุ่มผู้ป่วย (334 คน ใน 901คน) เทียบกับ 19.4% ของกลุ่มควบคุม (240 คน ใน 1,237 คน)
    • ในสถานที่ 11 แห่งที่ทำการศึกษาพบว่า ผู้ที่ใช้กัญชาเป็นประจำทุกวัน มีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคจิตเวชขั้นต้นสูงถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยใช้กัญชา
    • ความเสี่ยงนี้เพิ่มเป็น 5 เท่าในผู้ที่ใช้กัญชาที่มีความเข้มข้นสูงทุกวัน
    • ไม่มีหลักฐานความเชื่อมโยงระหว่างการใช้กัญชาน้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์กับโรคจิตเวช ทั้งนี้ ไม่ได้คำนึงถึงความแรงของกัญชา
    • ผู้ศึกษาประเมินว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยรายใหม่ (20.4%) ของโรคจิตเวชในสถานที่ทำการศึกษาทั้ง 11 แห่ง อาจเชื่อมโยงกับการใช้กัญชาทุกวัน และ 1 ใน 10 (12.2%) มีความเชื่อมโยงกับการใช้กัญชาที่มีฤทธิ์สูง
    • พบว่า ในกรุงลอนดอน 1 ใน 5 (21%) ของผู้ป่วยโรคจิตเวชรายใหม่อาจมีความเชื่อมโยงกับการใช้กัญชาทุกวัน และเกือบ 1 ใน 3 (30%) เป็นกัญชาที่มีความเข้มข้นสูง
    จากการประเมินของนักวิทยาศาสตร์พบอีกว่า การกำจัดกัญชาที่มีความแรงออกจากตลาด อาจลดอัตราการเกิดโรคจิตเวชของกรุงลอนดอนจาก 45.7 เป็น 31.9 รายต่อประชากร 100,000 คนได้

    นั่นอาจจะหมายความว่า สำหรับทางตอนใต้ของกรุงลอนดอนซึ่งใช้เป็นสถานที่ที่พวกเขาทำการศึกษา หากดำเนินการกำจัดกัญชาดังกล่าวออกไปจะทำให้ ผู้ป่วยโรคจิตเวชน้อยลงได้ถึง 60 คนต่อปี

    38c5da30-0204-11ef-8369-47dc4454b972.jpg
    ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

    สูบกัญชาที่ไม่แรงมาก และแค่ครั้งคราว ได้หรือไม่ ?
    นิค ฮิกมอตต์ จากองค์กรการกุศลด้านยาเสพติดและแอลกอฮอลชื่อว่า Addaction บอกว่า “เรามีปัญหาเกี่ยวกับความเข้มข้นของกัญชา คนที่เสพกัญชาแรง ๆ เป็นประจำ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายร้ายแรง มันอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับสมองของผู้ที่มีอายุน้อย และอยู่ในวัยกำลังพัฒนาสมอง”

    “คำแนะนำของผมคือ การหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาที่มีความเข้มข้นสูงทุกวัน และใส่ใจว่ามันทำให้คุณรู้สึกเช่นไร ถ้าหากมันลงเอยด้วยการทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวลหรือไม่สงบ อาจเป็นการดีที่จะไม่ไปลองมัน มันไม่ใช่ความคิดที่หากจะใช้กัญชาควบคู่กับแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดอื่น ๆ”

    สิ่งสำคัญคือ อย่ามีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อเรื่องนี้เกินจริง คนจำนวนมากทดลองกัญชาแล้วเดินหน้าต่อโดยไม่มีปัญหาใด ๆ แต่สำหรับผู้ที่ต้องการคำแนะนำหรือความช่วยเหลือ ผมแนะนำให้ติดต่อหมอหรือร้านขายยาในพื้นที่

    กัญชาอาจมีความแรงและประเภทที่แตกต่างกันออกไป แต่กัญชาที่มีกลิ่นเหม็นมากจนเรียกกันว่า "สกั๊งค์” มักมีแนวโน้มว่ามีสาร THC ในระดับสูงกว่ากัญชาชนิดอื่น ๆ

    https://www.bbc.com/thai/articles/cq5n2v51075o
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อุตุฯ โต้ "ไม่เกิดขึ้น" ปมวิกฤตโลกอากาศสุดขั้วที่จะทำให้ไทยร้อนต่อถึงก.ย.

    กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในประเด็น “วิกฤตโลกอากาศสุดขั้วไทยร้อนต่อถึง เดือนกันยายน” จนกลายเป็นกระแสส่งต่อกันในโลกออนไลน์ ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกมาชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่า

    สถานการณ์ความร้อนจะคลื่คลายลง จึงไม่เกิดวิกฤตโลกอากาศสุดขั้วไทยร้อนถึงกันยายน เนื่องจากเดือน ก.ย. เป็นช่วงปลายฤดูฝน อุณหภูมิจะไม่สูงมาก มีฝนตก ความชื้นในอากาศสูง และมีมรสุม ทำให้ความร้อนจะคลี่คลายลง

    ----
    #MONONews #วิกฤตโลกอากาศสุดขั้ว #กรมอุตุนิยมวิทยา

    ZEhdINz5eJxlwKU3zRSZWo_teLbOdjXVkMTKdZA&_nc_ohc=G0D9UoKRbwUQ7kNvgH8J9r-&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หมายจับหรือมาตรการอื่นๆใดของศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี) ต่อเจ้าหน้าที่อิสราเอล จะไม่ส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการทางทหารของประเทศในฉนวนกาซา และในทางกลับกัน มันจะเป็นแบบอย่างที่อันตราย จากคำเตือนของเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล

    ก่อนหน้านี้ ดักลัส เมอร์เรย์ ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษ เผยแพร่บทความในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กดพสต์ อ้างว่าศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งกำลังสืบสวนกรณีฮามาสรุกรานอิสราเอลในวันที่ 7 ตุลาคม และการตอบโต้แก้แค้นของรัฐยิวต่อเหตึการณ์ดังกล่าว กำลังมีแผนดำเนินคดีข้อหาอาชญากรรมสงครามเป็นรายบุคคล กับ เนทันยาฮู, โยอาฟ กัลแลนท์ รัฐมนตรีกลาโหมและหนึ่งในผู้บัญชาการทหารระดับสูงของประเทศ มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะเป็นประธานเสนาธิการทหาร

    ในวันศุกร์(26เม.ย.) เนทันยาฮู แชร์บทความของ เมอร์เรย์ บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ยืนยันว่าตราบใดที่เขายังอยู่ในอำนาจ "อิสราเอลจะไม่มีวันยอมรับความพยายามใดๆของไอซีซี ที่จะบ่อนทำลายสิทธิโดยธรรมชาติในการป้องกันตนเอง" เขากล่าว "คำขู่จับทหารและเจ้าหน้าที่ของชาติประชาธิปไตยหนึ่งเดียวในตะวันออกกลางและรัฐยิวหนึ่งเดียวในโลกใบนี้ เป็นเรื่องอุกอาจ เราจะไม่อ่อนข้อให้กับมัน"

    นายกรัฐมนตรีรายนี้ยืนยันต่อว่า ปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลในกาซา "เป็นแค่การทำสงครามกับพวกก่อการร้ายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งเราจะเดินหน้าจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายแห่งชัยชนะ ในขณะที่ไอซีซีจะไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อปฏิบัติการของอิสราเอล อีกด้านหนึ่งมันจะเป็นแบบอย่างที่อันตรายที่คุกคามทหารและพวกเจ้าหน้าที่ของโลกประชาธิปไตยทั้งมวล ที่กำลังสู้รบกับความป่าเถื่อนของพวกก่อการร้ายและพวกผู้รุกราน"

    จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในกาซา ยอดผู้เสียชีวิตจากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศและการจู่โจมทางภาคพื้นของอิสราเอลในฉนวนของปาเลสไตน์แห่งนี้ แตะระดับ 34,388 คนแล้ว และได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 77,400 คน โดยยุทธการดังกล่าวเป็นการแก้แค้นกรณีที่พวกฮามาสบุกจู่โจมเล่นงานอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม สังหารผู้คนไปราว 1,200 ราย และจับตัวประกัน 250 คน

    ศาลอาญาระหว่างประเทศ เปิดการสืบสวรคำกล่าวหาอาชญากรรมสงครามที่ก่อโดยกองทัพอิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ในดินแดนยึดครองเวสต์แบงค์และกาซา ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2021 นอกจากนี้แล้วการสืบสวนยังครอบคลุมไปถึงเหตุการณ์ต่างๆนับตั้งแต่ปี 2014

    ทั้งนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเฮก ยืนยันว่ามีเหตุล่วงละเมิดต่างๆนานาท่ามกลางสถานการณ์ที่ลุกลามบานปลายระหว่างอิสราเอลกับฮามาส ตามหลังเหตุโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งมันอยูภายใต้ขอบเขตการสืบสวนของศาลแห่งนี้เช่นกัน

    สถานีโทรทัศน์ชาแนล 12 ของอิสราเอล รายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลของเนทันยาฮู รู้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ทางศาลอาญาระหว่างประเทศจะออกหมายจับ ตั้งแต่ก่อน เมอร์เรย์ จะออกบทความแล้ว และได้เปิดประชุมฉุกเฉินหารือกันในประเด็นนี้ที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีบรรดารัฐมนตรีและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายหลายคนเข้าร่วมด้วย

    อิสราเอล ไม่ได้เป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศและไม่ยอมรับขอบเขตอำนาจของศาลแห่งนี้ อย่างไรก็ตามปาเลสไตน์เข้าร่วมศาลแห่งนี้ในปี 2015 และหากมีการออกหมายจับ เนทันยาฮูและพวกเจ้าหน้าที่อื่นๆของอิสราเอล รัฐสมาชิก 124 ชาติ ก็จะมีหน้าที่ที่จะต้องจับกุมพวกเขา หากว่าบุคคลเหล่านี้ย่างกราย เข้าสู่ประเทศนั้นๆ

    (ที่มา:อาร์ทีนิวส์)
    ttps://www.facebook.com/photo?fbid=840536651448331&set=a.645849364250395

     

แชร์หน้านี้

Loading...