ญาณ ปัญญา ต้องมีสมาธิเป็นเหตุหรือสมาธิรองรับเท่านั้น ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 4 มิถุนายน 2015.

  1. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ไม่ต้อง มาคอย ระวังกับ ผม

    ให้ไป ระวังกับ คนอื่น

    มาคุยกับผม ก็ทราบกันอยู่ ผมจะพยายามอุปโลค ทำให้มันเกิด

    ภาษาคนในเว็บ เขาใช้คำว่า " หลอกด่า "

    มันจะเป็น หลอกด่า หรือ ชี้ทรัพย์ มันก็ ขึ้นกับ ข้อเท็จจริงในใจของคุณเอง

    ไม่ใช่ การถูกบีบบังคับ ล่อให้ปรากฏ ....


    แต่....ไม่มีมูล หมาไม่ขี้ นี่คำนักภาวนาโบราณ
     
  2. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    สัพเพธรรมาอนัตตา
    สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา (เนตังมะมะ)
    ไม่เป็นเรา (เนโสมหสมิ)
    ไม่ใช่ตัวตนของเรา (นเมโสอัตตา)
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...ในความเห็นของผม............คิดว่า เข้าใจผิดครับ...............รูปก็มีลักษณะที่ รู้ชัดของรูป นามก็ มีลักษณะที่ชัดของนาม หรือในปรมัตธรรม จิต เจตสิก รูป (เว้นนิพพาน)......เจตสิก52 เป็น เวทนา 1 สัญญา 1สังขาร50. ลักษณะหรอสภาพธรรมของสัญญาก็มีลักษณะอย่างนึง ลักษณะหรือสภาพธรรมของเวทนา ก็มีลักษณะอย่างนึง ลักษณะหรือสภาพธรรมของสังขาร50ก็มีลักษณะเฉพาะอย่างต่างกัน.....ยกตัวอย่าง สังขารที่ใช้คำว่า สัญเจตนา ที่บางท่านแปลว่า "ความคิด"ในเรื่องรูป สัญเจตนาในเรื่องรส สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น ในเรื่องเสียง ในเรื่องโพฐฐัพพะ ในเรื่องธัมมารมณ์ ก็ จัดเป็น สังขารขันธิ์ อันเป็น นาม อยู่ดี ครับ...................หรือ สัญญาในเรื่องรูป สัญญาในเรื่องรส สัญญาในเร่องกลิ่น สัญญาในเรื่องเสียง สัญญาในเรื่องโพฐัพพะ สัญญาในเร่องธัมมารมณ์ ก็ จัดเป็นสัญญาอันเป็น นามอยู่ดี ครับ...............ในความเห็นของผม ลักษณะของรูปตามอภิธรรมที่ผ่านตามานั้น มักจะแทนด้วย สี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ใหว ที่ รู้ชัด ถ้าเป็นปัจจัย ให้เกิด ผัสสะ เวทนา สัญญา สังขาร นั้นก็เป็นลักษณะของ นามที่รู้ชัด ครับ...น่าจะแยกกันประมาณนี้ นะครับ:cool:
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....................มหาสติปัฐฐานสี่ ก็ คือ การรู้เท่าทัน กายใจ รูปนาม....เพราะในท้ายพระสูตร ของ กาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฐฐาน มักมีว่า ก็ แหละสติ ว่า (กาย เวทนา จิต ธรรม) มีอยู่ เพียงอาศัย รู้อาศัยระลึก แท้จริง เราเป็นผู้ที่ ละ ทิฐฐิ กิเลสตัณหา และไม่ยึดมั่น และละ ความยินดียินร้ายในโลกออกเสียได้(คร่าวคร่าว นะ).....เข้าหาสัมมาทิฐฐิ ที่ว่ด้วย การเข้าใจ ปฎิจสมุปบาท และ อิทัปัจจยตา เข้าใจ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พอ สมควร:cool:
     
  5. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ขอบคุณทั้งสองท่านครับ
     
  6. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    การพิจารณารูปนาม มีหลายวิธี หลายแบบ ค้นหากูเกิ้ลก็จะทราบทุกวิธี แต่ละวิธีในส่วนรายละเอียดก็แตกต่างกันไป พอพิจารณาแล้วก็ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละคนไปอีก จึงอาจมีประสบการณ์ไม่เหมือนตำราได้ แต่ทุกรูปแบบ ก็พิจารณาเห็นรูป เห็นนาม เห็นเป็นองค์ประกอบที่มาประชุมรวมกัน เห็นความเกิด ความดับ ความเป็นเหตุปัจจัยต่อกัน ก็ให้เห็นอย่างนี้ไปเนืองๆ ก่อน

    ถ้าท่านจะพิจารณา เวทนา ที่เกิดแก่กาย ก็โฟกัส คือ มุ่งพิจารณา เวทนา อย่างเดียว พื้นฐาน คือ ไม่เอาความคิดปรุงแต่ง ระวังความคิดปรุงแต่ง เพราะพิจารณา เวทนา ถ้าไปคิดก็หลุดจากการพิจารณานะครับ

    การเปลี่ยนกรรมฐานระหว่างกลางทางของการพิจารณาอย่างหนึ่ง มันจะเคลื่อนจากความตั้งใจแรก ที่เป็นการบอกเล่าของท่านอื่น เป็นเรื่องเฉพาะตัวและเมื่อถึงจุดหนึ่ง ญาณปัญญาเกิดขึ้น เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เพราะเราไม่อาจทราบได้ว่า ญาณปัญญาจะเกิดในรูปแบบใด เป็นแบบเฉพาะตัวกัน ถ้ามันยังไม่เกิดมันก็รู้ว่าไม่เกิด ก็อย่าไปคิดเปลี่ยนวิธีกลางครัน มันแสดงว่าจับจด หรือไม่ตั้งมั่นในกรรมฐาน

    ถ้าท่านจะพิจารณา เวทนา แค่นั่งเฉยๆ เวทนาก็มามะรุมมะตุ้มแล้ว แต่ว่าการพิจารณาเวทนา แบบพระป่าที่ทราบ ต้องใช้ขันติและความเพียรมาก เริ่มฝึกกันไป อาจแค่ดูเวทนาเบาๆ แต่ว่า ตามแบบพระป่าสุดท้าย ไต่ระดับถึง สามชั่วโมงเป็นอย่างน้อยแบบไม่เปลี่ยนอิริยาบถ จะเห็นว่า เวทนา เค้าเกิดดับ ในรูปแบบต่างๆ เอาว่าตายเป็นตายก็จะพิจารณาเวทนา จนรู้จัก เวทนา แก่กาย ทั้งนี้ ก็ห้ามเข้าญาณที่จัดว่าเป็นการหนีเวทนา แต่ถ้าจะเข้าญาณก็ต้องจดจ่อที่เวทนาอยู่นั้นเอง แต่วิธีแบบนี้ก็แล้วแต่กำลังขันติ บางท่านก็หกชั่วโมง บางท่านนั่งนิ่งได้ทั้งวันแบบไม่ต้องเข้าฌาณ แล้วแต่ความอดทน แต่เค้าก็ไม่ได้บังคับให้ฝึกแบบนี้นะครับ ตามกำลังของตนก็แล้ว

    ท่าน จขกท ถ้าจะเน้น พิจารณาเวทนา ก็น่าจะลองแบบนี้ดู อันนี้เฉพาะเวทนาที่เกิดแก่กายนะครับ แล้วเวลาฝึกอย่างนี้ ก็อย่าเผลอไปดูเวทนาที่ใจ มันจะคลาดจากกรรมฐาน อย่าไปพิจารณาสัญญา อย่าไปพิจารณาสังขาร อย่าไปพิจารณาจิต อย่าไปพิจารณาธรรม เพราะนั่นเป็นการเปลี่ยนกรรมฐานจากที่ตั้งใจนะครับ
     
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ฉฬงฺคุเปกฺขา ใครพอเข้าใจ ขยายความให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...