ฌาน 4 แล้วจากนั้นฝึก อะไรต่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย GunzEarn, 23 พฤษภาคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tro

    tro สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +21
    ฌาน 4 แล้ว ก็ต้อง...ฌาน 5 6 7 ไปเรื่อยๆ จนกว่า ปัญญา รู้ อริยะสัจจริงๆ มันจะเกิด โน่นแหล่ะครับ
    ..............
    ถ้าโง่ มากๆ ก็เอา มัน ทะลุ ฌาน 3 แสน 5 หมื่น... โน่นแหล่ะ
    ...
    อิอิ
    ...
    เนี่ย เขาเรียก รู้มาก.....ยากนาน...เหมือนผมเลย...........ผมนะ....อาจารย์ สอน มาแล้ว ยังไม่จบ
    ...
    แล้วผม ก็ ฝึก คนที่รู้ตาม มาอีก 1 คน เขาเป็น คนที่ผม ฝึกเอง แต่ เขา กลับ ก้าวหน้า กว่าผม จบก่อนผม เสียอีก.....
    ..
    จนสุดท้าย คนที่ผม ฝึกมากับมือ เขาต้องเป็นคน มา สอน บทสุดท้าย ให้กับผม......อิอิ...นี่ไง ความฉลาดที่โง่ๆ ของผม....
    ....
    เขาเรียก อะไรนะ.....ทิฐิ....นี่แหล่ะ...มันมาขวางกั้น ปัญญา ....ทั้งๆ ที่ ..รู้ตัวเองดี แต่ก็ ...ยังดื้อรั้น
    ...
    อิอิ
    ..
    ขอฝากทุกคน เลย นะว่า....อะไร ที่มัน ง่ายๆ น่ะ.....ไม่ค่อย ผิดหรอก
    ...
    ไอ้ ที่มัน ยากๆ น่ะ ออก มาจาก ปาก ผู้นำ ที่ รู้ ไม่จริง กัน ทั้งนั้นแหล่ะ
    ..
    ผู้ตาม เลย ....ติด...เหมือนกัน
     
  2. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    ขอโทษนะครับ ผมจะอธิบายให้อีกรอบให้ละเอียดกว่าเดิม กับตัวผมตอนนี้ (จริงๆ ผมก็พอเข้าใจจะทำอะไรต่อแล้วก็รู้ แต่ ผมอยากให้ช่วยแน่นำ เพราะผมไม่มีครูบาคอยสั่งสอน ตั้งมั่นแล้วทำด้วยตัวเองครับ) ส่วนฌาน 4 อะไรที่ว่าผมคงเข้าใจผิดจริงๆ ครับ


    ปกติแล้วผมเป็นคนที่นั่งสมาธิทุกวันกลางคืน ก็นั่งแม้ แต่นอนก็คงสมาธิอยู่แต่ ตอนนอนมันจะยากนิดหน่อยเพราะจิตมันจะไปคิดเรื่อยเปลื่อยได้ง่าย แต่ช่วงหลังพอ สมาธิแน่นกว่าเดิมตอนนอนก็เลยอยู่ได้ นาน ประมาณ ชั่วโมง หนึ่ง จากนั้นก็ปล่อย ส่วนตอนนั่ง จะง่ายกว่า
    ผมทำสมาธิ จริง ๆ จัง ทำอย่างงี้เป็น เดือน ละครับ เพราะก่อนหน้า ผมทำไม่ต่อเนื่องหยุดบาง แต่พอช่วงหลัง ผมทำต่อเนื่องฝึกสมำเสมอ จนถึงวันเสาร์ที่ผมกล่าวมา
    โดยปกติแล้วทุกครั้งที่ผมนั่ง พอๆ นั่งไปนาน ก็ รู้ว่าลมหายใจมันเบาจนแทบ จะไม่มีเหลือ ไม่มีแทบจะไม่มีลม พอมาถึงวันเสาร์ ครั้งนี้ ผม นั่ง ตอน ตี 5 จน ถึง 7โมงเช้า ผมก็นั่งเหมือนปกติ พอ ถึงช่วง ที่ลม ไม่มีเหมือนไม่มีแล้วก็นั่ง ไป หน่อย ซักแปปหนึ่ง มือผมด้านขวามันเริ่มขยับไปเองตอนแรกผมไม่รู้ว่าด้วยเหตุอะไร พอนั่ง ไปเรื่อย พอ ประมาณ 7 ผม ก็ออกจากการนั่งสมาธิ ตอนแรกก็คิดว่าคงไม่ใช่ แต่เอาจริงๆ ผมลองเพ่งไป ที่ นิ้ว ไป ที่มือ ไป นิ้วเท้า ไป ที่แต่ละจุด มันกลับ ขยับที่ผมคิด ไม่ว่าจะเป็นแขนก็สามารถยกขึ้นมาได้ จิตตอนนั้นของผม ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีแทรกง่าย จิตแข๊งกว่าเดิม สมาธิตั้งมั่นได้ดีกว่าเดิม
    พอเวลาผ่านไปถึงเย็น ก็ ยังเป็นแบบนั้นแต่ ก็พอเข้าใจถึงความไม่เที่ยง ของสมาธิแล้วก็จิต จากที่ผมนึกให้แขนยกขึ้นกลับเบาบางลง อย่างว่าเพราะแขน มันหนัก แต่ นิ้วก็ ยังคง อยู่ จากนั้น ผม ก็ มานั่งสมาธิเหมือนปกติทุกครั้งก็ ไม่ได้ใส่ใจมาก แต่พอเข้าใจ ทุกครั้งที่นั่งสมาธิจะทำให้จิตแข๊งขึ้น กำลังในการนึกให้มันขยับก็กลับมาดีขึ้น จนบัดนี้ก็ยังเป็นเช่นนี้ (แต่ผมไม่ได้เอะใจอะไรมากหรอกครับ แต่ที่แน่แน่ผมได้เห็น สภาวะจิตกับกาย) ส่วนการใช้กรรมฐาน อะไรแบบนั้น ผมไม่ค่อยรู้เรื่อง ผมก็ทำแบบคนทั่วๆไป ดูลมหายใจไปเรื่อย แล้วก็ ดูสภาวะจิตไปเรื่อยๆ แค่นั้นหละครับ

    ผมอธิบายไม่ค่อยเก่ง ใช้คำไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ ครับ ไงก็ขออภัยด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  3. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    สมาธิที่เริ่มจากวิตก กับสมาธิที่เริ่มจากวิเวก มีความเตกต่างกันเยอะมัยครับ ถ้าฝึกสมาธิกับวิปัสสนาไปเรื่อยๆวิเวกจะเกิดมาเองหรือเปล่าครับ คือวิเวกมันเกิดจากปัจจัยอะไร
     
  4. ..กลับตัวกลับใจ..

    ..กลับตัวกลับใจ.. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +96
    ...ขอปรับความเข้าใจกันก่อนดีกว่าครับ..

    ...อยากทราบว่า ท่านเจ้าของกระทู้ ปฏิบัติธรรมเพื่อสิ่งใด..

    ...อาจจะเป็นแนวทางในการตอบปัญหา..ได้ดีกว่านี้..
     
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    มันจะมีความต่างเล็กน้อยนะครับ ระหว่างที่รู้ว่าทรงอารมณ์อะไร(สงบ,สมถะ)

    กับการ "ปล่อยรู้" ในอารมณ์ออกมาเพื่อระลึกรู้ดูอีกทีว่า ยังมีจิตที่ยึดอารมณ์อยู่หรือเปล่า
    หากปล่อยรู้ออกมาแล้ว แล้วพบว่า มีจิตหนึ่งกำลังยึดถืออารมณ์อยู่ ให้เห็นอยู่ ถูกรู้
    ถูกดูอยู่ กล่าวสั้นๆว่า ฌาณจิต กำลังถูกรู้ถูกดู จากจิตผู้รู้(หลวงปู่เกทส์จะเรียกตัวนี้ว่าใจ
    เพื่อลดความสับสน) ผู้ปฏิบัติจะเห็นทันทีว่า นอกจากจิตที่ทรงอารมณ์(ขันธ์5)ที่มัน
    ทำงานอยู่ สั่งกายและจิต(ขันธ์)ให้เคลื่อนไปรู้ธรรมอารมณ์ไปมาอยู่ ยังมี "ใจ" หรือ
    จิตผู้รู้ ที่ลอยเด่นขึ้นอีกชั้นหนึ่ง

    หลวงปู่เทสก์จึงเน้นมากสำหรับผู้ปฏิบัตธรรม ท่านจะกล่าวย้ำว่า หากจะปฏิบัติธรรม
    ให้รู้ทาง ต้องหา "ใจ" ให้เจอ หากหาใจเจอ จิตที่เห็นนิมิต จิตที่เสพธรรมอารมณ์
    จากถูกรู้ถูกดูในฐานะขันธ์5 ได้อย่างใสสะอาด ทำให้นิมิต หรือธรรมอารมณ์ใดๆที่
    ปรากฏมาลากเราไปมีอุปทานขันธ์ไม่ได้
     
  6. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    ผมต้องการเพื่อ บรรลุญาณ บรรลุธรรม บรรลุอรหัน คือตอนนี้ผมฝึกเตรียมไว้ก่อน ก่อนที่จะบวชจริงๆ ถ้าบวชจริงๆ จะได้ไม่ยาก เพราะตอนนี้ ผม กำลังจะ 20 ผมตั้งมั่นจะบวช จริงๆไม่เกิน 30 ส่วนศีล 5 ผมว่าผมทำได้หมดนะครับ..... อีกอย่างผมต้องการทำตามเจตนาลมเมื่อตอนเด็กผมด้วย เพราะตอนนั้นมีพระ เขา มาถามผมไม่รู้ว่ใครแล้วก็ไม่รู้ว่านามท่าน เขาแค่มาถาม ผมว่าจะบวชไหม ผมก็บอกว่าจะบวช
    จากนั้นผมก็จำไม่ค่อยได้แล้วครับ......
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ซึ่งถ้า คุณ จขกท สามารถยกจิตผู้รู้ (ซึ่งเดิมเราจะคิดว่ามีอยู่แล้ว) ได้ตรงตาม
    ความเป็นจริง ก็จะผ่าน Step นี้ไปสู่การ ดูเวทนาในเวทนา ซึ่งเป็นลำดับถัดไป
    ในการทำเจริญจิตผู้รู้ให้ใสขึ้น ซึ่งจะใช้การระลึกดูความยินดี ยินร้าย ที่ทำให้จิต
    เคลื่อนไปจับ กาย จิต และ เวทนา ซึ่งจะทำให้ก้าวขึ้นสู่การทำ ฌาณ3 ได้โดยง่าย
    เพราะสามารถกำจัดอภิชญา โทมนัสลงได้

    เมื่อรู้ทันจิตยินดี ยินร้ายได้แล้ว ก็จะสามารถดู นิวรณ์ธรรม หรือ ดูธรรมในธรรม
    ในบทต่อไปได้ จะทำให้จิตผู้รู้ ผู้ดู ใสขึ้น สามารถน้อมจิตที่เสพอารมณ์ฌาณให้
    เกิดขึ้น ทำฌาณ4 ได้โดยง่าย เพราะสามารถกำจัดนิวรณ์ลงได้

    ดังนั้น ควรหา "ใจ" ให้เจอก่อน จึงจะปฏิบัติธรรมได้อย่างไม่ผิดทาง และยังสามารถ
    รู้ทางได้อย่างแจ่มแจ้ง สามารถเลือกกรรมฐานใดๆใน40กองมาทำ โดยไม่สงสัย
    อีกเลยว่า ทำไปถึงตรงนั้นตรงนี้แล้ว จะต้องต่อด้วยอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  8. tro

    tro สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +21
    โห ช้ายล่าย ช้ายล่าย.....บวชตามเจตนา ลมณ์......อิอิ
    ..............
    เจตนารมณ์ ตั้งกะ ตอนเป็น เด็ก....แหม๊......ยังจำได้ ไม่ลืมเลือน....น่าจำ น่าจำ....อิอิ
    ....
    บรรลุญาณ...ของคุณ ญาณคือ ปัญญา เด้อ ปัญญา เพื่อ ไม่ทุกข์
    บรรลุธรรม...ธรรมคือ ความจริง ของ ตนเองเด้อ ความจริง ที่เหมือน กะ ทุกคน
    บรรลุอรหันต์ ...คือ...มองกิเลส จนทะลุ ปรุโปร่ง เด้อ
    ..........
    บวด ฟักทอง อย่าลืมแบ่งมั่งล่ะ ...บวดชีไม่เอา..ฝืด ติดคอ
    ...
    อิอิ
     
  9. ..กลับตัวกลับใจ..

    ..กลับตัวกลับใจ.. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +96
    ...อนุโมทนากับความตั้งใจครับ..


    ...ลองศึกษา บทความนี้ดูอาจเป็นแนวทางให้ท่านได้..




    สติปัฏฐานภาวนา
    พระธรรมคำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์)
    วัดหินหมากแป้ง อ. ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย

    การฝึกสมาธิด้วยวิธีเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมอันลึกซึ้งและมีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น สติปัฏฐาน 4 มีอยู่พร้อมแล้วที่กายที่ใจของเราทุกๆ คน ทั้งเป็นของดีเลิศ ผู้ใดตั้งใจแลเลื่อมใสปฏิบัติตาม โดยความไม่ประมาท เต็มความสามารถของตนแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่าอย่างช้า 7 ปี อย่างเร็ว 7 วัน อย่างสูงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างต่ำจะได้เป็นพระอนาคามี เป็นต้น
    พระพุทธองค์เมื่อทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่หกปี ได้ทรงนำเอาหลักวิชาที่ได้ศึกษามาทดสอบหาความจริง ก็ไม่เป็นผล มีแต่จะทำให้ฟุ้งส่ายไปมาไม่สงบ จึงทำให้พระองค์ไม่อาจตรัสรู้สัจธรรมได้ เมื่อพระองค์ทรงย้อนมาดำเนินตามแนว ฌาน-สมาธิ ที่พระองค์เคยได้เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีใครสอนให้ แล้วจิตของพระองค์ก็สามารถเข้าถึงองค์ฌาน ได้สำเร็จพระโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
    นี่แสดงว่าเรื่อง ฌาน-สมาธิมัคคปฏิบัติ เป็นเครื่องกำจัด ชำระกิเลสอารมณ์ เครื่องเศร้าหมองออกจากจิต จิตจึงบริสุทธิ์ ความรู้อันนี้จึงเป็นไปเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์แล้วก็ได้ธรรมอันบริสุทธิ์ของจริงของแท้ขึ้นมา ดังคติธรรมที่ว่า "ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ และสำเร็จได้ด้วยใจ"
    แปลเป็นแบบไทยๆ หมายความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ รู้เฉพาะใจของตน (ปัจจัตตัง) ฉะนั้น ใจจึงประเสริฐกว่าทุกสิ่ง เพราะใจเป็นผู้ให้สำเร็จกิจทุกกรณี
    ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงนำเอาแนวปฏิบัติที่พระองค์ได้ทรงดำเนินมาแล้วนั้น มาสอนให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม กายกับใจเป็นของอาศัยกันอยู่ เมื่อจะกระทำความดีหรือความชั่วจึงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน การที่จะฝึกฝนชำระสะสางก็ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ต้องอาศัยศีลเป็นเครื่องชำระซักฟอก ศีลที่จะมีสมรรถภาพสามารถฟอกกายให้สะอาดได้ ก็ต้องอาศัยใจมีเจตนางดเวันในการทำความผิด ด้วยมีความรู้สึกเกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาป
    มนุษย์เราเกิดมาด้วยอำนาจบุญบาป ตกแต่งให้มาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วปัจจัยนิสัยเดิมมันตามมาคร่า ตามอำนาจนิสัยเดิม แล้วใจของเราก็ชอบเสียด้วยเพราะว่าติดในความเคยชินในความเป็นทาสของมัน
    ฉะนั้นเมื่อจะรักษาศีล ก็มักจะอึดอัด ลังเลใจ เพราะกิเลสเป็นผู้บัญชาการอยู่ จิตเราจึงเดือดร้อนเพราะถูกกีดกันด้วยการรักษาศีล ดังนั้นศีลจึงให้โทษเป็นบาปแก่ผู้ขอสมาทานศีล จิตก็จะคอยแต่กาลเวลาให้หมดเขตของการรักษาศีล แม้ผู้บวชเป็นเณร เป็นพระก็เข้าทำนองนี้ ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจถึงการรักษาศีล หรือการปฏิบัติธรรมต่างๆ ว่าทุกอย่างนั้นสำเร็จด้วยใจ ด้วยความตั้งใจในการรักษาธรรมนั้นๆ ก่อนจะปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จึงควรมีศีลเป็นที่ตั้งเสียก่อน เพื่อให้กาย วาจา เกิดความบริสุทธิ์เสียก่อน แล้วใจจะบริสุทธิ์ตามมาอีกทีหนึ่ง จะทำให้การปฏิบัติสติปัฏฐานมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น.


    สติปัฏฐาน 4 เป็นโลกุตตรธรรมและเป็นที่อบรมสติได้อย่างดี ประกอบด้วย
    1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณากายนี้สักแต่ว่ากาย มิใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา
    2. เวทนานุสติปัฏฐาน ให้พิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้สักว่า เวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
    3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว เป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
    4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่า ธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
    สติปัฏฐาน 4 ถึงแม้ท่านจะจัดเข้าเป็นโลกุตตรธรรมแล้วก็ตาม ก็ยังต้องหมายเอาตัวของเราทุกๆ คนที่เป็นโลกียอยู่นี่เอง หมายความว่า การจะปฏิบัติให้ได้ สติปัฏฐาน 4 ได้ก็จำต้องเริ่มจากที่กายใจของเรา เหมือนกับต้องมีสิ่งสมมุติก่อน แล้วจึงจะพัฒนาเป็นสู่สิ่งที่เป็นอนัตตา

    ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐานแต่ละข้อ ขอให้พึงกำหนดไว้ในใจก่อนว่า สติกับใจอยู่ด้วยกัน สติอยู่ตรงไหนใจก็อยู่ตรงนั้น ใจอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น ฐานที่ตั้ง-ที่ฝึกอบรมสติ คือสติปัฏฐาน4 ได้แก่ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม นั่นเอง
    แนวปฏิบัติสติปัฏฐานภาวนา
    ผู้จะลงมือเจริญสติปัฏฐาน 4 แต่ละข้อนอกจากเป็นผู้เห็นโทษทุกข์เบื่อหน่าย คลายความยินดีเพลิดเพลินติดอยู่ในกามคุณ 5 แลทำความเลื่อมใสพอใจในการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน เพราะเชื่อตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า เป็นทางที่ให้พ้นจากกองทุกข์ได้อย่างแท้จริงแล้ว อย่าได้ลังเลสงสัยในสติปัฏฐานข้ออื่นอีกที่เรายังมิได้เจริญ เพราะสติปัฏฐานทั้ง 4 เมื่อเจริญข้อใดข้อหนึ่งได้แล้ว ข้ออื่นๆ ก็จะปรากฏชัดแจ้งให้หายสงสัยในข้อนั้นเอง แล้วก็อย่าไปหวังหรือปรารถนาอะไรๆ ไว้ล่วงหน้าให้มาเป็นอารมณ์ เพราะจะเป็นอุปสรรคแก่การเจริญสติปัฏฐาน

    นัยที่ 1-1 เมื่อเอาสติไปตั้งลงที่กาย แล้วให้เพ่งดูเฉพาะกายเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะกายให้เป็นธาตุ-อสุภ อันใดทั้งสิ้น แม้แต่คำว่า กาย หรือว่า ตน ก็ไม่ต้องไปคำนึง ให้ตั้งสติเพ่งอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตแน่วแน่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว อารมณ์อื่นนอกนั้นมันก็จะหายไปเอง ในขณะนั้นจิตจะไม่ส่งส่ายไปในอดีต-อนาคต แม้แต่สมมุติบัญญัติว่าอันนั้นเป็นนั่น อันนี้เป็นนี่ก็จะไม่มี กายที่จิตไปเพ่งอยู่นั้นก็จะเห็นเป็นสักแต่ว่า วัตถุธาตุอันหนึ่งเท่านั้น มิใช่เรา มิใช่เขา หรือ สัตว์ ตัวตน บุคคลอะไรทั้งนั้น นี่เรียกว่า จิตเข้า เอกัคคตารมณ์ นั่นคือเข้าถึงสติปัฏฐานภาวนาโดยแท้

    เมื่อจิตไปเพ่งวัตถุอันนั้นอยู่โดยไม่ถอน สักพักหนึ่งแล้ว วัตถุอันนั้นก็หายวับไป เมื่อสติไม่มีที่หมาย สติก็หมดหน้าที่ สติก็จะหายไปพร้อมๆ กัน แล้วจิตกับวัตถุภาพนั้นก็จะรวมเข้าเป็นจิตอันเดียว ซึ่งลักษณะคล้ายๆ กับคนนอนหลับ แต่มิใช่หลับเพราะมันยังมีความรู้เฉพาะตัวมันอยู่ต่างหาก แต่จะเรียกว่าความรู้ก็ยังไม่ถูก เพราะว่ามันนอกเหนือจากความรู้ทั่วไป นี่เรียกว่า เอกัคคตาจิต การเจริญสติปัฏฐานถึงที่สุดเพียงเท่านี้ สติปัฏฐานข้ออื่นๆ ก็เหมือนกัน
    อาการของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ถ้าหากว่า จิตไม่รวมเป็นหนึ่งแต่มีการเกิดเป็นสองหรือมากกว่า ตัวจิตจะถอนออกมา จะมีความวุ่นส่งส่ายลังเล หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้นก่อนจิตจะเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เอกัคคตาจิตนั้น คืออาการของจิตทำงาน จะต้องต่อสู้หรือผจญต่างๆ เมื่อจิตได้รวมเป็นเอกัคคตาจิตแล้ว ก็จะดำเนินพักผ่อนตามพอควรแก่เวลา แล้วจิตก็ออกตรวจ-จัดระเบียบ-ชมผลงานของตน-พร้อมๆ กับเกิดความปราโมทย์ ร่าเริงบันเทิงในผลของงานนั้นๆ
    ผลของการเจริญสติปัฏฐานทุกๆ ข้อ จะมีอาการคล้ายๆ กันทั้งนี้ทั้งนั้น อาจมีผิดกันบ้าง ซึ่งเป็นเพราะบุญบารมีนิสัยไม่เหมือนกัน
    ความจริงการงานของกายกับงานของจิตก็คล้ายๆ กัน ผิดที่งานของกายทำด้วยวัตถุ ที่ยังไม่สำเร็จให้สำเร็จแล้วก็พัก ส่วนงานของจิตทำด้วยนามธรรม (ปัญญา) ที่ยังหลงไปยึดไม่รู้เท่า เข้าใจตามเป็นจริง เมื่อชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญาแล้ว ก็หมดหน้าที่แล้วก็ปล่อย วางพักเอง
    อนึ่ง ภาพนิมิตและความรู้ต่างๆ อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังเจริญอยู่นี้ โดยมิได้ตั้งใจจะใหัมันเกิด แต่หากเกิดขึ้นเอง ด้วยอำนาจของสมาธิก็ได้ ตามจังหวะกำลังการเจริญนั้นๆ มิได้หมายความว่าทุกคนที่มาเจริญแล้วจะต้องเกิดภาพนิมิตก็หาไม่ เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะบุญบารมีนิสัยวาสนาของแต่ละคน และมิใช่แต่เรื่องภาพนิมิต เรื่องอื่นๆ ก็มีอีกแยะ
    ฉะนั้นผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานควรอยู่ใกล้กับผู้ที่ฉลาดแลชำนาญในการเจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีเรื่องแลขัดข้องจะได้ตรงไหน ท่านจะได้ขี้แนะช่องทางได้ จะทำให้การเจริญสติปัฏฐานก้าวหน้าไปได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น


    นัยที่ 1-2 เมื่อเอาสติตั้งลงที่เวทนา (โดยมากเป็นทุกขเวทนา) แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะเวทนาเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดค้นว่าเวทนาเกิดตรงนั้น จากนั้น แลอยู่ ณ ที่นั้นๆ อะไรทั้งหมด แม้คำที่เรียกว่า เวทนาๆ นั้นก็อย่าได้มีในที่นั้น เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนี้ จิตก็จะปล่อยวางความยึดถือสมมุติบัญญัติเดิมเสีย แล้วจะมีความรู้สึกสักแต่ว่า เป็นอาการของความรู้สึกอันหนึ่ง ซึ่งมิใช่อยู่นอกกายแลในกายของเรา แล้วอารมณ์อื่นๆ ก็จะหายไปหมด

    เมื่อจิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่เฉพาะในลักษณะนั้นดีแล้ว บางทีทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าที่เกิดอยู่ในขณะนั้นจะหายวับไปเลย หากยังไม่หายเด็ดขาดจะปรากฏอยู่บ้าง อันนั้นก็มิใช่เวทนาเสียแล้ว มันเป็นสักแต่ว่าอาการอันหนึ่งเพียงเพื่อเป็นที่เพ่งหรือที่ตั้งของสติ เรียกว่า จิตเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเป็นลำดับแล้ว อาการอันหนึ่งซึ่งสติไปตั้งมั่นอยู่นั้นก็จะหายไป คงเหลือแต่เอกัคคตาจิต จิตที่บริสุทธิ์ผ่องใสดวงเดียว เมื่ออยู่สักพักแล้วก็จะถอนออกมา ต่อจากนั้นก็เดินตามวิถีเดิม ดังที่ได้อธิบายมาในสติปัฏฐานข้อแรก


    นัยที่ 1-3 เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่จิต (จิตในที่นี้หมายเอาผู้รู้สึกนึกคิด) แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะแต่จิตเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดว่าจิตเป็นบุญ จิตเป็นบาป อย่างนั้นๆ จิตดี จิตชั่ว จิตหยาบ จิตละเอียดอย่างนั้นๆ แม้แต่ชื่อแลบัญญัติของจิตอื่นนอกจากนี้ก็อย่าให้มี ณ ที่นั้น ให้ยังเหลือแต่สติที่เข้าไปเพ่งอาการอันหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะใหัวับๆ แวบๆ แต่มิได้ออกไปยึดแลไปปรุงแต่งอะไร

    เมื่อจิตกับสติรวมกัน เป็นอันหนี่งอันเดียวแล้ว สติก็ตั้งมั่นแนวแน่อยู่เฉพาะที่จิตนั้นอย่างเดียว เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเข้าแล้ว จิตคืออารมณ์ของจิตนั้นก็จะหายไป สติก็จะหายไปตามกัน แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นเอกัคคตาจิต นอกจากนี้อาการเหมือนดังได้อธิบายมาในข้างต้นแล้วทุกประการ


    นัยที่ 1-4 เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่ธรรม (คืออารมณ์ของใจที่เกิดจากอายตนะผัสสะทั้ง 6 ) แล้วให้เพ่งดูอยู่เฉพาะธรรมนั้นเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะว่า ธรรมนั้นเป็นอย่างนั้นๆ แลเกิดดับอย่างนั้นๆ แม้แต่คำว่า ธรรมๆ ก็อย่าให้มี ณ ที่นั่นเลย ให้เพ่งดูแต่เฉพาะอาการอันหนึ่งซึ่งอายตนะภายนอกภายในกระทบกันแล้ว แสดงปฏิกริยาอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเท่านั้น
    หากจะมีคำถามขึ้นมาในที่นี้ว่า จิตกับธรรม ต่างกันตรงไหน ก็ขอเฉลยว่า ธรรมในที่นี้ หมายเอาอารมณ์ซึ่งเกิดจากอายตนะทั้ง 6 มีตา เป็นต้น เมื่อตาเห็นรูปสวยน่าชอบใจ แล้วจิตก็เข้าไปแวะข้องเกี่ยวอยากได้รักใคร่ ชอบใจยินดี ติดยึดมั่นเกาะเหนียวแน่นอยู่ในรูปนั้น ที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ ธัมมารมณ์อย่างนี้แหล่ะที่เรียกว่า ธัมมานุสติปัฏฐาน ที่ต้องการจะฝึกอบรมสติในธรรมอันยังไม่บริสุทธิ์ ให้เกิดเป็นสภาพธรรมอันบริสุทธิ์ขึ้นมา
    เมื่อสติตั้งมั่นแน่วอยู่เฉพาะในธัมมารมณ์มั่นคงไม่เสื่อม เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตละเอียดเข้าไปจนที่ตั้งอารมณ์ของสตินั้นหายไป แล้วสติก็จะหายไปด้วยกัน เมื่อจิตอยู่ในลักษณะเช่นนั้นนานพอสมควรแก่ภาวะของตนแล้ว ก็จะถอนออกมาตามวิถี เดิมดังได้อธิบายมาแล้วในสติปัฏฐานข้อต้นๆ

    หากจะตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า การฝึกอบรมสติปัฏฐาน 4 เบื้องต้น จิตก็จะละเอียดลงไปโดยลำดับๆ จนเป็นเอกัคคตารมณ์แลเอกัคคตาจิต แต่แล้วทำไม จึงต้องถอนออกมาเดินอยู่ในวิถีเดิม (คืออารมณ์ทั้ง หก ) จะไม่เรียกว่า จิตเสื่อม หรือ

    เฉลยว่า มนุษย์เรา เกิดมาในกามภพ ใช้วัตถุกาม (คือ อายตนะ) เป็นเครื่องอยู่ หลงแลมัวเมา คลุกกรุ่นเป็นทุกข์เดือดร้อนนานัปการกับการอยู่ด้วยกามกิเลส ด้วยเหตุที่มิได้ฝึกอบรมสติของตนให้มั่นคงจนได้รู้แลเห็นจิต เห็นตัวกิเลสแลที่เกิดของกิเลสตามเป็นจริง จนจิตแยกออกจากกิเลสได้
    ผู้มีปัญญามาเห็นโทษแลเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของกิเลสเหล่านั้นแล้ว จึงมาตั้งใจฝึกอบรมในสติปัฏฐาน 4 จนได้ผล ดังได้อธิบายมาแล้ว

    ถึงกระนั้นก็ดี เมื่ออายตนะ คือ ตัวของเรา มันเป็นวัตถุกามอยู่ แล้วก็อยู่ในกามภพ รับอารมณ์ที่เป็นของกามกิเลสอยู่ เช่นนี้ เมื่อจิตถอนออกมาจากเอกัคคตาจิต ซึ่งในที่นั้น ถือว่าจิตบริสุทธิ์ไม่มีอะไรแล้ว จิตก็จะมาจับเอาเครื่องมือเก่าใช้ต่อไปจนกว่าจะแตกดับ เมื่อจิตที่ได้ฝึกอบรมให้ชำนาญคล่องแคล่วไว้ดีแล้ว จิตนั้นจะประกอบด้วยปัญญาฉลาด สามารถใช้วัตถุกามมิให้เกิดกามกิเลสได้อย่างดี จิตนั้นได้ชื่อว่าไม่เสื่อม แลเหนือจากกามกิเลส

    สติปัฏฐาน 4 พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างเด็ดขาดว่า ผู้ใดมาเจริญซึ่งสติปัฏฐาน 4 ทำให้มากเจริญให้ยิ่งจนชำนาญแล้ว อย่างช้าเจ็ดปี อย่างเร็วก็เจ็ดวัน ต้องได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่ถึงพระอรหันต์ก็ต้องได้พระอนาคามี การเจริญสติ มิใช่เป็นของเสียหาย มีแต่จะทำให้ผู้เจริญได้ดียิ่งๆ ขึ้น เพราะสติเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกๆ คน.

    เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.
    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --></OBJECT></LAYER>
    </SPAN></STYLE></NOSCRIPT></TABLE></SCRIPT></APPLET><SCRIPT language=JavaScript src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc1.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc2.js"></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript src="http://us.js2.yimg.com/us.js.yimg.com/lib/smb/js/hosting/cp/js_source/geov2_001.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript>geovisit();</SCRIPT>[​IMG] <NOSCRIPT></NOSCRIPT>[​IMG]
    <SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc1.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc2.js"></SCRIPT>
    <SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc1.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc2.js"></SCRIPT>
     
  10. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ....ใช้กำลังของสมถะ....ตั้งแต่ปฐมฌาน เป็นต้นไป...เป็นกำลังในการตัดกิเลส...

    ...1.ตามแนว วิปัสสนาญาณ 9

    ...2.ตามหลักแห่งไตรลักษณ์

    ...3.สัญโยชน์ 10

    ...4.มหาสติปัฏฐานสูตร

    ........ก็ พิจารณา ขันธ์5.....ว่า ไม่ใช่...........
     
  11. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ....ใช้กำลังของสมถะ....ตั้งแต่ปฐมฌาน เป็นต้นไป...เป็นกำลังในการตัดกิเลส...

    ...1.ตามแนว วิปัสสนาญาณ 9

    ...2.ตามหลักแห่งไตรลักษณ์

    ...3.สัญโยชน์ 10

    ...4.มหาสติปัฏฐานสูตร

    ........ก็ พิจารณา ขันธ์5.....ว่า ไม่ใช่...........
     
  12. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    เห็นแสงสว่างหรือยังเอ่ย...
     
  13. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    ถ้าวิปัสสนาเป็น Softcore สมถะก็เป็น Hardcore
    สายวิปัสสนาบางคน ย้ำว่าบางคน ทำสมถะไม่ค่อยได้ (จริตไม่ตรง) แต่อัตตามีอยู่มาก เลยกล่าวร้ายไปเลย แต่เราไม่ค่อยเห็นสายสมถะ กล่าวร้ายสายวิปัสสนามากนัก เพราคนที่ทำสมถะได้ ย่อมทำวิปัสสนาได้เหมือนกัน


    สมถะเป็นฐานของอภิญญา 5 แต่ไม่ได้หมายความว่า สมถะทุกคนจะได้อภิญญานะ
    ส่วนอภิญญาอันที่ 6 ดูว่าจะเป็นวิปัสสนา (แย้งได้นะ)
    สมถะเน้นกำลังจิต แต่ไม่มีอะไรดีทั้งหมด ผู้ปฏิบัติสมถะจำนวนมาก ก็หลงนิมิตกันไปมากมาย (บางทีผู้สอนก็หลงด้วย เลยสอนให้หลงไปตามๆ กัน) เรียกว่ามีอุปสรรคให้ฟันฝ่ามาก แต่หากพ้นไปได้ ก็มีกำลังจิตเป็นการตอบแทน

    ไม่มีใครบอกได้ว่า ฌาณ 4 มีอาการอย่างไรแน่ (เป็นหนึ่งในคำถามอจินไตย) ว่าตามตำราคือ มีอุเบกขา และเอกัคคตา ซึ่งก็ไม่มีใครบอกได้ว่า คุณมีอุเบกขาหรือเปล่า ผู้ที่บอกได้จำเป็นต้องมี เจโตปริยญาณ ซึ่งหาไม่ได้ง่าย...
    สิ่งที่พอจะเป็นเครื่องหมายได้คือ เห็นแสงสว่างแล้วหรือยัง ถ้าเห็นแล้วก็ ใกล้ ฌาณ 4 เต็มที...


    เพิ่มเติม...มีเกร็ดเล็กน้อย
    ตอนนี้ค่อนข้างเชื่อว่า อภิญญานั้น เรียงลำดับกันมา จาก 1-5 ดังนั้นหากมีผู้ใดอ้างว่า สามารถมองดูกรรมของเราในอดีตชาติได้ นั่นหมายความว่า เขามีอภิญญาลำดับที่ 5 ดังนั้นเวลาไปเจอ ก็ไม่ต้องพูดอะไร ให้พูดในใจ เพราะเขาจะใช้อภิญญาลำดับ 4 อ่านใจเราได้เอง.... อิอิ
    อันนี้เป็นความเข้าใจในตอนนี้นะ อาจมีอัพเดตในวันหน้า อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  14. ..กลับตัวกลับใจ..

    ..กลับตัวกลับใจ.. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +96
    ...เพิ่มเติม..อีสักนิด..



    <CENTER>การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ</CENTER>


    <CENTER>พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์</CENTER>


    <CENTER>(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)</CENTER>


    <CENTER>แสดง ณ วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน</CENTER><CENTER>กรุงเทพมหานคร</CENTER><CENTER>วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517</CENTER>--------------------------------------------------------------------------------



    วิธีดำเนินจิตที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรียกว่า ปฏิปทาของจิต มี 3 นัยที่เป็นหลักใหญ่ควรจดจำ การทำความเพียรภาวนาไม่หนีจากทั้ง 3 หลัก ที่จะอธิบายต่อไปนี้

    ถ้าหากเราจับหลักได้แล้ว จิตของเราจะเดินไปในแบบใด เราก็จะได้รู้ว่า อ้อ! มันเดินอยู่ในแบบนี้ขั้นนี้ เราจะได้รู้เรื่อง ถ้าหากไม่รู้เรื่องของมัน เวลาจิตเดินแบบนี้ ก็อยากให้เป็นแบบโน้น มันเดินแบบโน้น ก็อยากให้เดินแบบนั้นอะไรต่างๆ แล้วก็เลยจับอะไรไม่ถูก คือไม่รู้จักหลักของความจริง เหตุนั้นจึงอธิบายให้ฟังเมื่อคืนที่แล้ว แต่จะขออธิบายซ้ำอีก บางทีผู้ที่ยังไม่เคยได้ยิน ก็จะได้เข้าใจ และจดจำไว้ในการปฏิบัติต่อไป

    การดำเนินของจิตในการปฏิบัติ มีหลักอยู่ 3 อย่าง

    อย่างที่ 1 หัดให้จิตสงบอย่างเดียว เรียกว่า เดินสมถะ

    อย่างที่ 2 เดินปัญญา-วิปัสสนา

    อย่างที่ 3 เดินโพธิปักขิยธรรม คือ เดินองค์ปัญญาโดยเฉพาะ

    ถ้าไม่เข้าใจ เวลาเดินสมถะอย่างเดียว เมื่อจิตเข้าไปนิ่งแน่ว อยู่ในความสงบ ก็เข้าใจว่าอันนั้นเป็นของดีแล้ว หมดจดบริสุทธิ์ จิตละเอียดเพียงพอแล้ว เท่านั้นพอแล้ว ถ้าหากว่าผู้ที่เดินปัญญาวิปัสสนา ก็เห็นว่าการหัดสมถะคือหัดทำความสงบของจิตนี้ ไม่ใช่ทาง ต้องดำเนินทางวิปัสสนาจึงจะใช่ทาง หรือบางทีผู้ที่เดินปัญญา ที่เรียกว่าเดินแถวโพธิปักขิยธรรม ก็เข้าใจว่าจิตของตนฟุ้งและส่งไปเสีย ไม่ใช่ปัญญา มันสับสนกันอยู่อย่างนี้แหละ จึงควรเข้าใจหลักใหญ่ในการดำเนินของจิต ซึ่งมีหลักอยู่ 3 หลัก ทีนี้จะอธิบายเป็นข้อ ๆ ไป

    สมถะ อธิบายสมถะ หัวข้อแรกเสียก่อน วิธีเดินสมถะ ถ้าจะเรียกอีกนัยหนึ่งก็เรียกว่า สมาธิ หรือว่า ฌาน ก็เรียก ผู้เดินสมถะ เช่น กำหนดพุทโธ พุทโธ ให้จิตกำหนดอยู่กับพุทโธ หรือว่ากำหนดอานาปานสติ ให้จิตจดจ่ออยู่แต่ในเรื่องลมหายใจนั้น หรือมิฉะนั้นเราเพ่ง อสุภะปฏิกูล เห็นสังขารร่างกายของเราเป็นอสุภะ ของเปื่อยเน่า ก็ได้เหมือนกัน จิตจะสงบอยู่ในเรื่องนั้นๆ หรือมิฉะนั้น จิตอาจจะเกิดภาพนิมิต ปรากฏเป็นปฏิภาครูปอันใดอันหนึ่งก็ตาม อันนั้นก็ยังอยู่ในขั้นสมถะ

    มีสิ่งปลีกย่อยอีกเหมือนกันเรื่องสมถะ อาจจะสงสัยว่าการเดินสมถะ จะมีวิปัสสนาเกิดขึ้นได้ไหม? ตอบว่ามี เรื่องสมถะมันมีวิปัสสนาได้อยู่เหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มีปัญญา สมถะก็ต้องใช้ปัญญาเหมือนกัน คือเราเพ่งพิจารณาพุทโธ พุทโธ ก็จะต้องระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า จิตใจที่น้อมนึกถึงพระคุณความดีของพระองค์ จนเห็นความชัด เกิดความซาบซึ้งในพระคุณของพระองค์ มันก็มีปัญญาเหมือนกัน เมื่อเห็นชัดเจนอย่างนี้แล้ว จิตมันจะสงบลงไป

    เบื้องต้นนั้นเรียดว่าบริกรรม ที่ท่านเรียกกันว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ นี่พูดเป็นเรื่องเป็นราว แต่เราพูดกันง่ายๆ ว่า เรากำหนดอารมณ์อันนั้น ไม่ใช่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เรากำหนดจิตให้อยู่กับอารมณ์อันนั้น จะบริกรรมอะไรก็ตาม เราไม่ต้องพูดให้เป็นเรื่องยืดยาวเช่นนั้น ถ้าพูดว่า “ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์” ดูมันเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เราไม่ต้องพูดว่า “ยกจิต” ละ คือ กำหนดเอาอันใดอันหนึ่งมาเป็นอารมณ์ อันนี้เรียกว่าบริกรรม แล้วเราก็ตั้งจิตให้แน่วอยู่ในอารมณ์อันนั้น นี่เรียกว่า วิธีเดินสมถะ ยังไม่ถึงตัวสมถะ เป็นการเดินให้เข้าถึงสมถะ

    ตราบใดที่จิตสงบ จนกระทั่งวางคำบริกรรม หรือวางอุบายที่เราใช้กำหนดนั้น โดยที่มันวางของมันเอง จิตเข้าไปสงบเป็นเอกเทศของมันอยู่อันหนึ่งต่างหาก อันนั้นเป็นตัว สมถะแท้ เรียกว่า จิตเข้าภวังค์ มันวางอารมณ์หรือคำบริกรรม วางหายไปเลย จิตเข้าไปสงบอยู่อันหนึ่งของมันต่างหาก นั่นเรียกว่า ถึงสมถะ แล้ว

    จิตที่เข้าถึงสมถะ ตามลักษณะที่พูดมานี้ ยังมีผิดแผกอีกนะ บางทีมีหลายเรื่องไม่ใช่น้อยๆ ที่จิตรวมลงไปสนิทอย่างนี้บางครั้งเวลารวมมันวูบลงไปจนสะดุ้งตกอกตกใจ บางทีมีเสียงดังเหมือนกับเสียงฟ้าผ่านี่ก็มี บางทีตกลงไปเหมือนตกหลุมตกเหว ให้สะดุ้งฮวบขึ้นมา ตื่นตกใจเลย บางทีพอจิตรวมก็อาจจะเกิดภาพขึ้นมา ผู้ที่ภาวนาพุทโธ บางทีพอจิตรวมก็เกิดภาพพระพุทธเจ้าก็มี

    หรือพวกที่พิจารณา อสุภะปฏิกูล เป็นของเปื่อยเน่า ในสังขารร่างกายมีของสกปรกโสโครก พอจิตรวมลงแล้ว ภาพที่ปรากฏมันไม่เป็นอย่างที่พิจารณานั่น มันปรากฏพิสดารยิ่งกว่านั้นอีก ตัวของเราเวลาที่พิจารณาว่า ตรงนั้นก็เป็นของปฏิกูลโสโครก ตรงนั้นก็ของเน่า น้ำเลือด น้ำหนอง เป็นอะไรต่างๆ เมื่อจิตรวมเวลามันเกิดภาพนิมิตขึ้นมา มันไม่ใช่อย่างนั้น มันเปื่อยเละไปหมดเลย บางทีเหม็นฉุนขึ้นมาจริงๆ จังๆ ถึงกับอาเจียนออกมาก็มี หลายเรื่องที่มันจะเป็น

    บางคนสงบนิ่งเฉยลงไป บางคนนั้นเงียบหายไปเหมือนกับนอนหลับตั้งหลายชั่วโมง จึงค่อยรู้สึกตัวขึ้นมาก็มี ถ้าหากทำชำนิชำนาญแล้ว มันไม่ถึงขนาดนั้น มันจะรวมละเอียดลงไปถึงขนาดไหนก็รู้ มันจะรวมหยาบขนาดไหนก็รู้ รู้ว่าจิตมันปล่อยมันวางรวมเข้ามา ถ้าชำนาญแล้วจะรู้ได้ นี่อยู่ในขั้น สมถะ ทั้งนั้น แบบนี้โดยมากมักจะไปในทางที่เรียกว่า จิตเข้าภวังค์ หรือไปในทาง ฌาน

    จิตสงบอีกแบบหนึ่ง คือว่า ถ้าหากจิตมันค่อยสงบ ค่อยรวมลงไป รู้ตัวอยู่ตลอดว่า จิตมันอยู่อย่างไร วางอย่างไร รู้เรื่องรู้ตัวอยู่เสมอ แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว มันปล่อยวางอย่างมีสติ รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา อันนี้จิตเป็นพวกสมาธิ ไม่ได้จัดเป็นพวก ฌาน มันหลายเรื่อง อย่างนี้ก็เรียกว่าสมถะเหมือนกัน

    บางทีจิตมันรวม ที่ท่านเรียกว่า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เราไม่ได้แต่งให้มันเป็นไปหรอก แต่เมื่อเราปฏิบัติเป็นไปแล้ว เราจึงมาเทียบกันดู ขณะที่จิตดำเนินเป็นไปนั้นเราไม่รู้

    ขณิกสมาธิ จิตของเราวูบๆ วาบๆ เข้าไปแล้วถอนออกมา เข้าไปอีกแล้วก็ถอนออกมา หรือมิฉะนั้น จิตของคนปกติไม่ได้ฝึกฝนภาวนาก็ตาม มันอาจมีพักหนึ่งได้เหมือนกัน มันรวมประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็พุ่งออกไป

    อุจารสมาธิ ขณะที่เรากำหนดเพ่งอยู่อย่างนั้นไม่ท้อถอย ทีหลังมันคล้ายกับว่ามันละเอียด แต่มันไม่ละเอียด มันเสียดายอะไรสักอย่างก็ไม่ทราบละ มันไม่ทอดธุระลงไปจริงๆ จังๆ อันนั้นเรียกว่า อุปจารสมาธิ

    อัปปนาสมาธิ พอจิตมันทอดธุระ วางหมดพรึบลงไป แน่วลงไปเลยทีเดียวถึงอัปปนา ในลักษณะที่มันถึง อัปปนา แล้วนั่นแหละเราจะรู้จักรสชาติของมันว่า ความสงบ สุขสบาย ความเบา ความผ่องใสเบิกบาน จิตใจอิ่มเอิบ พร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในขณะนั้นหมด

    อัปปนา นี้ก็มีหลายอย่าง ละเอียดลงไปกว่านี้ก็มี จิตรวมลงครั้งแรกนั่น มันลงจนกระทั่งจะไม่ปรากฏลมหายใจเลยก็มี เวลาจิตเข้าไปถึงอัปปนานั้น คล้ายกับไม่มีลมหายใจ ถ้าหากเราตั้งสติกำหนดดูลมหายใจว่า มีหรือไม่มีหนอ? นั่นแหละ จึงค่อยรู้สึกว่าลมนั้นค่อยระบายออกมา อันนี้เรียกว่า อัปปนาสมาธิ

    ทีนี้ ภวังค์ ก็มี 3 อย่างเหมือนกัน เรียกว่า ภวังคุบาท ภวังคจารณะ ภวังคุปัจเฉทะ

    ภวังคุบาท ถ้าพูดตามที่ท่านแสดง เป็นขณะจิตอันหนึ่ง ถ้าพูดตามแนวปฏิบัติแล้ว ภวังคุบาท คล้ายกับขณิกสมาธิ เราเพ่งพิจารณาอยู่ มันมีอาการคล้ายๆ กับจะวูบไปนิดหนึ่ง แต่มันก็ไม่ลง หรือบางทีลงไปนิดเดียว ไม่ถึงอึดใจ เป็นสักแต่ว่า

    ภวังคจารณะ พิจิตมันรวมลงไปแล้ว คราวนี้เพลิดเพลินชอบอกชอบใจ ยินดีในอารมณ์ของมันตรงนั้นแหละ

    ภวังคุปัจเฉทะ มันทิ้งอารมณ์ต่างๆ หมดเลย ไม่เอาอะไรทั้งนั้น ไม่เยื่อใยในของที่พิจารณาอยู่ ไม่เอาอะไรทั้งหมด โน่นแน่ ไปชอบใยใจอารมณ์ความสุข ขั้นละเอียดของมันนั่น แน่วแน่อยู่จนกระทั่งสติไม่มี จนกระทั่งเหมือนกับหลับก็มี ภวังคุปัจเฉทะ เหมือนๆ กันกับหลับ ทีแรก ๆ นั่นเหมือนกับหลับจริง ๆ ถ้านาน ๆ ไปบ่อยเข้ามีความชำนาญ ก็จะไม่เหมือนหลับ มันพลิกไปอยู่ของมันอีกหนึ่งต่างหาก เหล่านี้ล้วนแต่เรียกว่า เดินสมถะ การเดินสมถะเป็นอย่างนี้

    ในระหว่างวิธีเดินสมถะนี้ มันอาจเกิดปัญญาขึ้นมาก็ได้ ในขณะใดขณะหนึ่ง โดยมากเกิดจากสมาธิ เมื่อจิตสงบเข้าไปแน่วแน่อยู่ในเรื่องอารมณ์ที่เราพิจารณานั้น เดี๋ยวมันก็สว่างขึ้นมา คำว่า “สว่าง” ในที่นี้ไม่ใช่แสงสว่าง ถ้ามันเป็นแสงสว่าง นั่นเป็นเรื่องของณานเสียแล้ว

    ถ้า “สว่าง” ด้วยอุบายปัญญา มันมีความปลอดโปร่งขึ้นมาในที่นั้น คิดค้นพิจารณาอะไรทั้งปวงหมด มันชัดเจนแจ่มแจ้งในเวลานั้น การที่มันชัดเจนแจ่มแจ้งนั้น มันเลยเป็นปัญญาขึ้นมาอีก

    หรือบางทีมันอาจจะหยิบยกเอาธรรมะอะไรขึ้นมาพิจารณา เช่นเรื่องสติปัฏฐาน 4 อะไรเป็นสติปัฏฐาน กาย เวทนา จิต หรืออะไรเป็น? คำว่า สติ นั้นคืออะไร? คำว่า สติปัฏฐาน ทำไมจึงต้อง เป็นกายานุปัสสนา - เป็นเวทนานุปัสสนา - เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทำไมมันจึงต้องเป็นอย่างนี้

    ทีนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ลำดับเรื่อง สติปัฏฐาน 4 จะต้องคิดค้นถึงเรื่องกายพิจารณาถึงเรื่องกาย เป็นอสุภะปฏิกูล เห็นเป็นธาตุ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม พิจารณาเรื่องเดียวอยู่ในที่เดียวนั่น บางทีมันเข้าไปถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บางทีมันเข้าไปเป็นสัจจธรรม เป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มันเลยกลายเป็นปัญญาไป อันนี้เป็น ปัญญา เกิดขึ้นมาจาก สมถะ สมถะ กลายเป็นปัญญา

    ถ้าพิจารณานานหนักเข้าแล้ว คราวนี้มันหมดเรื่องหมดราวคือว่า มันรู้เห็นชัดเจนหมดทุกสิ่งทุกอย่าง (เช่น เห็นกายเป็นธาตุชัดเจน) มันก็มารวมเป็นอันเดียว อยู่ในที่เดียวอีกเหมือนกัน เรื่องที่พิจารณาอยู่นั้น มันทิ้งหมด ไม่เอาแล้วคราวนี้ เลยมารวมเข้าเป็นอันเดียว มาเป็นสมถะอีก คล้ายๆกับว่า ทำงานเสร็จสรรพแล้ว เก็บเครื่องไม้เครื่องมือเสีย แล้วพักผ่อน เป็นทำนองนั้น

    นอกจากนั้นอีก มันยังมีอีก เมื่อพิจารณาถึงเรื่องกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี่ละ เดินแบบสมาธิ พิจารณาคิดค้นอะไรต่างๆ จะเป็นธาตุ ขันธ์ หรืออายตนะหรืออะไรก็ตาม ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด พิจารณาไปๆ สติมันอ่อนลงไป มันชอบสงบสุข ยินดีกับความวิเวกสงัด ยินดีกับความชัดความจริงในการพิจารณานั้น เลยนิ่งแน่วเข้าไปหาความสงบ จิตน้อมไปตาม เลยเข้าไปเป็นฌาน จิตเป็นภวังค์หายเงียบไป นี่มันสลับซับซ้อนทีเดียว

    ในผลที่สุด จะเป็นวิธีใดก็ช่างมันเถิด เราแต่งมันไม่ได้หรอก เพียงแต่ให้เราจับหลักที่ได้อธิบายนี้ไว้ก็แล้วกันว่า วิธีเดินสมถะเป็นแบบนี้ๆ อย่างนี้ๆ มันจะเป็นอะไรก็ช่าง ปล่อยให้มันเป็นไปแล้วจึงค่อยมาพิจารณาทีหลังว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?

    ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น? ขณะใดถ้าสติ สมาธิ มีกำลังเพียงพอ จิตมันจะไม่รวมเข้าเป็นภวังค์ สมาธิ นั้นก็เลยเป็น มรรค จนเกิด ปัญญา ขึ้นมา ดังที่อธิบายเมื่อครู่นี้ เหตุผลชัดเจนแจ่มแจ้งอยู่ในที่เดียว จนทอดธุระหมดทุกสิ่งทุกอย่างทั้งปวดหมด มาอยู่ในที่เดียว ธรรมเกิดมาจากที่เดียว ความรู้เกิดจากในที่เดียว แจ่มแจ้งในที่เดียวนั้น เลยเป็นวิธีเดินมรรค มันต้องเป็นแบบนั้น มันเป็นเองของมัน

    ถ้าบางทีอาจจะเกิดพลั้งเผลอ หรืออาจจะเกิดจากสุขภาพไม่ดี หรือมิฉะนั้น สมถะ เกิดจากมึนเมาอาหารก็ได้ เหตุมีหลายเรื่อง เหตุเหล่านี้จิตรวมดีเหลือเกิน ตรงนั้นสงบง่าย เข้าภวังค์ง่ายที่สุด ที่เรียกกันว่า โมหะสมาธิ เป็นภาษาสำนวนของนักปฏิบัติ แต่แท้ที่จริงก็คือภวังค์นั่นเอง

    เหตุนั้นนักปริยัติ หรือปัญญาจารย์ทั้งหลาย จึงโทษนักหนาเมื่อจิตเข้าถึงภวังค์ ก็ว่า อวิชชา โมหะ หลง อย่างที่เขาพูดกันพูดในการปาฐกถาทุกวันนี้ (พ.ศ. 2517) ทางวิทยุกระจายเสียง เขาโจมตีกันเหลือเกินว่า นั่งหลับตาภาวนาเป็นโมหะอวิชชา พวกนี้ตายแล้วเกิด นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไปไหนไม่รอดหรอกพวกนี้ จมอยู่นี่แหละพวกโมหะอวิชชา ภาวนาหาอวิชชาหรือหาปัญญา? เขาถือกันเป็นอย่างนั้น

    จริงบางอย่าง แต่ว่าไม่ถูกทั้งหมด เดี๋ยวนี้เรากำลังคิดค้นหาความโง่ คือโมหะอวิชชา มันจะโง่แบบไหนก็ให้มันเห็นเสียให้หมดเรื่องหมดราว แล้วเราจึงจะฉลาด ถ้ามัวแต่กลัวโง่ก็เลยไม่เห็นโง่ ไม่รู้จักความโง่นั้นสักที ว่ามันเป็นอย่างไร? ไม่เห็นโง่ก็เลยไม่ฉลาดเท่านั้นซี เรื่องมันอยู่ตรงนั้นแหละ อันที่ว่าไม่ถูกทั้งหมดมันอยู่ตรงนี้

    เราจะไปฉลาดรู้ก่อนเกิดอย่างที่พูดกันว่า “ตายก่อนเกิด” มันก็แย่เหมือนกัน คำโบราณท่านว่าไว้น่าฟังมาก “คนตายก่อนเกิดดูเอาเถิดหลานเกิดก่อนยาย” มันก็แปลกเหมือนกันนะ หลานเกิดก่อนยาย มันก็เข้าทำนองเดียวกันนั่น “ยังไม่ทันเกิดก็ตายแล้ว” ก็เหมือนกันกับหลานเกิดก่อนยาย มันก็พอกันนั่นซี

    จึงว่า ให้มันรู้จักความโง่ ให้มันรู้จักความหลง มันจะหลงโดยวิธีไหน แบบไหนก็ตาม ที่อธิบายมาวิธีทั้งหมดนั่นแหละคือ ทำให้รู้จักความโง่ความหลง ค้นคว้าหาความโง่ความหลงนั่น จึงว่าทำลงไปมันก็ไปหาความโง่ความหลงนั่นแหละ แต่เราจะไปหา ไปรู้ความหลงอย่างที่ว่านั่น รู้ว่ามันคือ เป็นเรื่องสมถะ เรียกว่า ฌาน นั่นเอง

    การที่มันติดมันหลงในฌานนี่แหละสำคัญนัก ทีนี้เรารู้เรื่องของมันแล้ว ทีหลังเราก็จะได้ไม่หลง ไม่ติดฌาน นั่นแหละ ปัญญาเกิดจากความไม่รู้

    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมด ถ้าผิดเสียก่อนถึงจะทำถูก กฎหมายของบ้านเมืองทั้งหลาย ถ้าไม่มีคนทำผิด เขาก็ไม่ตราเป็นกฎหมายขึ้นมา พระวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีผู้ทำผิด พระองค์ก็ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบท สิกขาบท 227 ข้อล้วนแต่ผิดแล้วจึงทรงบัญญัติ ไม่ใช่พระองค์ทรงบัญญัติก่อนผิด คณาจารย์ปัญญาจารย์ทั้งหลายสมัยเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องให้ผิดละ บัญญัติหมด บัญญัติผิดก่อนเลย มันไม่ใช่วิสัยของผู้มีปัญญาฌาณ ผู้ฉลาดนั่นเป็นเรื่องความเห็นของคนบางคน จึงว่า พวกเราพากันเรียนให้รู้ถึงเรื่องความโง่ เรื่องความหลงเสีย

    ที่อธิบายในวันนี้ เป็นการอธิบายถึงเรื่อง ในการภาวนาการดำเนินจิตของเรา มันมี 3 แนว เดินทางสมถะ เดินทางปัญญาวิปัสสนา เดินทางปัญญาโพธิปักขิยธรรม วันนี้พูดเฉพาะเรื่อง สมถะ

    เอาเพียงเท่านี้เสียก่อน เอาละ




    --------------------------------------------------------------------------------
     
  15. ..กลับตัวกลับใจ..

    ..กลับตัวกลับใจ.. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +96
    การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ (ตอนจบ)


    พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

    แสดง ณ วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขนกรุงเทพมหานคร
    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2517


    ---------------------------------

    คืนที่แล้วได้พูดถึงเรื่องแรก คือ ทางสงบ แนวสมถะ วันนี้จะเทศน์ถึง 2 ข้อต่อไปคือ จิตดำเนินแนววิปัสสนา กับดำเนินแบบโพธิปักขิยธรรมที่เรียกว่า เดินแบบปัญญา

    ถึงจะเดินแบบวิปัสสนา หรือเดินแบบปัญญาก็ตาม ก็ต้องอาศัยหลักคือความสงบเหมือนกัน ถ้าความสงบไม่มีกำลัง จะเดินวิปัสสนาก็ไม่ตลอด จะเดินปัญญาก็ไม่ไหว ต้องอาศัยความสงบเป็นหลัก คือต้องมีความสงบในเบื้องต้น
    เหตุนั้น ถึงแม้ว่าความสงบเขาจะเรียกว่าโง่ หรือไม่มีความฉลาดก็ช่างเถิด ทำความสงบให้มันมีพลังเต็มที่ เหมือนกับเราอัดลมเข้าลูกโป่ง พออัดลมเข้าเต็มที่แล้ว มันลอยขึ้นไปเอง ถ้าอัดลมยังไม่ทันเต็มที่มันก็ไม่ลอย

    ธรรมะ ถ้าหากว่าไม่มีความสงบ มันก็ไม่มีธรรม ความสงบมีมากพลังก็เต็มที่ คือ สมถะมีพลังเต็มที่แล้ว มันค่อยระเบิดของมันออกมาเอง คือ มันฉายแสงออกมา ให้มีอะไรปรากฏขึ้นมาเป็นแบบต่างๆ

    คำว่า "ฉายแสง" ในที่นี้ อย่าไปคิดว่าแสง คือ แสงสว่าง แสงสว่างมันเป็นภาพนิมิต เช่น ขณะภาวนาเห็นแสงสว่างอยู่ในที่ต่างๆ เป็นดาว หรือ เห็นเป็นดวงสว่างท่ามกลางหน้าอก ฯลฯ อันนั้นไม่ใช่แสงปัญญา อันนั้นเป็นภาพนิมิตเกิดในสมถะ

    นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
    ที่ท่านพูดเช่นนั้น ท่านไม่ได้พูดถึงเรื่องแสง ท่านพูดถึง แสงสว่างของปัญญา คือไปตามรู้ตามเห็นในสิ่งต่าง ๆ เช่น ไปตามรู้เรื่องทุกข์ ดังที่เรามีทุกข์อยู่แล้ว ปรากฏว่าทุกข์อยู่แล้ว แต่หากว่าไม่รู้จักตัวทุกข์ ถ้าหากว่าเรามีความสงบแล้ว จะรู้ทุกข์ขึ้นมาชัดเจน

    หรือหากว่าจะรู้ทุกข์แต่มันก็ไม่ชัด รู้เหมือนคนทั่วๆ ไป ทุกข์จนกระทั่งออกปาก ปรากฏร้องโวยวาย เพราะว่าเมื่อทุกข์แล้วก็ไม่รู้จะแก้ไข มีอย่างเดียวคืออยากตาย อยากหนีให้พ้นจากทุกข์ ตายให้พ้นจากทุกข์นั้น เป็นทำนองนั้นไป รู้ทุกข์อย่างนี้ยังไม่จัดเข้าในพวกรู้ทุกข์ ที่เกิดจากความสงบ เห็นทุกข์แบบนี้ไม่เหมือนรู้ทุกข์ เห็นทุกข์ในความสงบ รู้ทุกข์แบบนี้เป็นแบบฟุ้งแบบระเบิด ไม่เป็นตนเป็นตัว มันกระจายออกไป

    ถ้าหาก รู้จักทุกข์ แบบที่เข้าถึงสัจจะ ต้องมีความสงบเป็นรากฐาน เห็นตัวทุกข์เฉพาะในตัวของเรา ที่ตัวของเรา แล้วก็เกิดสลดสังเวชในตัวเองที่หลงทุกข์ มัวเมาในกองทุกข์ ติดทุกข์ ยึดทุกข์เข้ามาเป็นอารมณ์ ในลักษณะที่เห็นเช่นนี้ คือว่า มีคนหนึ่งเป็นผู้เห็นทุกข์ ถ้ามีความสงบมันมีหลักอย่างนี้ ผู้ที่ไม่มีความสงบแล้ว มันไม่มีใครเป็นตัวเห็นทุกข์ ตัวเรากับทุกข์เป็นอันเดียวกันไปหมด เหตุนั้นจึงแตกกระจาย ทุกข์ไปถึงไหน ก็แตกกระจายไปถึงนั่น

    ส่วนทุกข์ที่เห็นในความสงบนั้น คือจิตมันสงบแล้ว จึงเห็นทุกข์ที่เกิดอยู่ก่อน เห็นเพราะความสงบ มันมีผู้เห็น แล้วก็อาการที่เห็น แล้วก็ทุกข์ที่เห็น 3 อย่างประกอบกัน นี่เป็นปัญญา ที่เกิดจากความสงบแล้วเห็นทุกข์ มันผิดแผกกันตรงนี้

    เหตุนั้นเห็นแบบนี้ จึงมีหนทางแก้ทุกข์ ไม่มีการอยากจะตายเพื่อให้พ้นจากทุกข์ คือ ขณะที่เห็นนั้นมันพ้นจากทุกข์แล้ว จึงค่อยเห็นได้ ถ้าหากว่าอยู่ในทุกข์ ไม่มีความสงบแล้ว ผู้เห็นทุกข์กับตัวทุกข์ มันเข้าอยู่ในอันเดียวกัน เลยเป็นอันเดียวกัน ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ เลยอยากตาย อยากหนีพ้นจากทุกข์นั้นพร้อมกัน ทั้งผู้เห็นและตัวทุกข์นั่นเลย เหตุนั้นจึงพ้นจากทุกข์ไม่ได้ ไปอยู่ที่ไหนๆ ทุกข์มันก็ตามไปอยู่ที่นั่น

    ถ้าหากมีผู้เห็นแล้วมันไม่เป็นอย่างนั้น ทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ จึงว่า ต้องอาศัยความสงบ จึงจะเห็นทุกข์ นั่นเป็นปัญญา มันเข้าไปสอดส่องเห็นชัดถึงจิต
    นอกจากนั้นอีก ที่มันเห็นเหตุที่เกิดทุกข์ นั่นคือว่า เห็นอาการของจิตที่มันเกิดทุกข์ เพราะจิตตัวนี้เข้าไปยึดไปถือในทุกข์อันนั้น ไปหลงยึดถือเอาทุกข์อันนั้นมาเป็นของตัว

    เห็นเรื่องที่มันจะทำให้เกิดทุกข์ด้วย ถ้าหากเราไม่เอามาเป็นของตัว ไม่เอามาเป็นของเราเสียแล้ว ทุกข์อันนั้นมันก็เป็นสักแต่ว่าทุกข์ มันไม่เข้าไปยึดเอามาเป็นของตัว มันไม่เข้าไปอยู่ในทุกข์ เป็นเพียงแต่ว่า เห็นทุกข์เฉยๆ มองเห็นได้ชัดเลยว่าเหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์คือตรงนี้ เมื่อไม่ต้องการจะให้เกิดทุกข์ เราก็ไม่เข้าไปยึดไปถือ มันเห็นพร้อมกันเลย ไปเห็นความจริงตรงนั้น

    ในขณะที่เห็นการเกิดทุกข์นั่น พร้อมกันนั่นจะเห็นเป็น อนัตตา พร้อมกันไป คือ ทุกข์นั้นไม่ใช่เรา เป็นอันหนึ่งต่างหาก อนัตตาชัดขึ้นมาก่อนไตรลักษณ์ ที่เกิดนี้ อนัตตา มาก่อน ไม่ใช่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเห็นเป็นอนัตตา แล้วจึงค่อยเป็นทุกข์ แล้วจึงค่อยเป็นอนิจจัง

    ที่เห็นว่า ทุกข์ไม่ใช่เรา มันเป็นอนัตตาตรงนั้นแหละ แล้วก็เห็นชัดในขณะนั้นด้วยว่า ทุกข์นั้นเกิด ดับ ไม่ใช่มั่นคงถาวร เปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา จึงว่า อนัตตา แล้วไปหา ทุกขัง แล้วเป็น อนิจจัง ความรู้เห็นเกิดจากความสงบมันกลับกัน ถ้าหากพูดตามบัญญัติตำราต้องเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ก็ได้เหมือนกัน มันก็อันเดียวกันนั่นแหละ แต่ในทางปฏิบัติที่เกิดปัญญา มันต้อง อนัตตา เกิดก่อน ต้องเป็นอย่างนั้น ที่พูดนี่พูดตามแนวปฏิบัติ การที่เห็นเช่นนี้ (ไตรลักษณ์) เรียกว่า ปัญญาวิปัสสนา อันเกิดจากความสงบ

    ปัญญาวิปัสสนา คือ รู้แจ้งเห็นชัดตามความเป็นจริง วิปัสสนาคือ ความรู้แจ้ง "รู้แจ้ง" ก็หมายความถึง แสงสว่าง แจ้งก็คือสว่างนั่นเอง มันไม่ได้ "รู้" เฉยๆ มัน "รู้แจ้ง" มันสว่าง ท่านจึงว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี แสงสว่างจากอย่างอื่น เช่น แสงไฟ ถ้ามีอะไรมาบังแล้ว แสงนั้นเข้าไม่ถึง
    แต่แสงปัญญาอันนี้มันทะลุปรุโปร่งหมด คือ มันเห็นตัวของเรา มันเห็นตัวสมุทัย ที่เกิดขึ้นในตัวเรา อย่างที่อธิบายมาแล้ว ทุกข์ มันเกิดขึ้นเพราะอย่างนี้ ละสมุทัยได้อย่างนี้ๆ อนัตตา ทุกขัง อนิจจัง เป็นอย่างนี้ๆ ชัดขึ้นมา มันทะลุปรุโปร่งหมด ไม่มีเครื่องปกปิด ใครจะมาโกหกก็ไม่ได้ ไม่ยอมเชื่ออะไรทั้งนั้น ใครจะมาว่าไม่จริงก็ไม่ได้ ใครจะมาปิดป้องกำบังก็ไม่ได้ แม้จะอยู่ในตัวของเรา ก็ไม่มีอะไรจะส่องเข้าไปภายใน เห็นภายในตัวได้เท่าปัญญา ปัญญามันส่องเข้าไปเห็นตัวของเรา

    เมื่อเห็นตัวของเราแล้ว มันเห็นอย่างอื่นทะลุปรุโปร่งไปหมดทุกอย่าง บรรดาขันธ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกอันนี้ ได้แก่ขันธ์ 5 ขันธ์ 4 และขันธ์ 1 ก็เห็นทะลุปรุโปร่งด้วยกันหมด มันเหมือนกันหมด ไม่มีผิด

    ขันธ์ 5 มีรูป มีนาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เช่นตัวของเรา มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
    ขันธ์ 4 มีแต่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้แก่พวกอรูปพรหม
    ขันธ์ 1 ที่ท่านอธิบายไว้ในตำราว่า "พรหมลูกฟัก" นั้น ถ้าหากพูดตามแนวปฏิบัติ คือว่า จิตเข้าไปรวมอยู่นิ่ง แล้วไม่มีความรู้สึก แข็งนิ่งอยู่คนเดียว ไม่มีอะไร ปรากฏอยู่เฉพาะตัวเท่านั้น ใจไม่ทราบหายไปไหน เห็นเฉพาะกาย คือไปถือ "รูปจิต" นั่นแหละเป็นกาย มันไปถือมั่นเหมาะอยู่แต่ในอันนั้น คือรูปจิตไม่ใช่รูปกายนี้ แต่ทางบัญญัติท่านถือเอารูปกาย ก็คิดดูซิว่า เป็นอรูปพรหมแล้ว ทำไมถึงยังจะไปถือ รูป อีกเล่า

    อรูปพรหม ก็แปลว่าไม่มีรูป คราวนี้ขันธ์ 1 มันเลยนั่นไปอีก และจะมีแต่รูป แล้วไม่มีนาม จะใช้ได้หรือ มันไม่สมเหตุสมผล ถ้าสมเหตุสมผลคือว่า รูปจิต เป็นความว่าง ในการภาวนา จิตไปถือเอาความว่าง เอาวิญญาณ ถือเอาความไม่มีเป็นอารมณ์ เป็นภพของอรูปพรหม ได้แก่ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญาตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ท่านแสดงไว้ ไปถือเอาตัวจิต

    คราวนี้เมื่อมันว่างเรื่องเหล่านี้แล้ว มันจึงไปถือเอาความที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวนั่น จิตมีอยู่อันเดียว เลยไปถือเอาอันหนึ่งเดียว คือ รูปจิต นั่นแล้วก็ไม่มีอุบายปัญญาคิดค้นอะไร คือ หยุดอยู่นิ่ง อันนั้นท่านจึงเรียกว่า พรหมลูกฟัก เรียกว่า ขันธ์ 1 มีแต่รูป คือ รูปจิต
    ขันธ์ 5 มีรูป มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือตัวของเรานี่
    ขันธ์ 4 ไม่มีรูป มีแต่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ขันธ์ 1 มีแต่รูป คือ รูปจิต
    แล้วอะไรจะดีกว่ากัน ลองคิดดูซิ? 1 ดี หรือว่า 4 ดี หรือว่า 5 ดี ของมากมันก็เป็นของดี มีความรู้กว้างขวาง ถ้าอัน 1 แล้วไม่มีความรู้กว้าง อัน 4 ก็ไม่กว้าง คนเรามันต้องการของมาก มันจึงจะแตกฉานมาก ไม่ใช่อันเดียวแตกฉาน ถ้าอันเดียวแล้วมันไม่แตกฉาน

    แต่ความแตกฉานเกิดขึ้นในที่เดียวนั้น ไปรู้รอบ 5 (ขันธ์ 5) ไปรู้รอบ 6 คือ อายตนะ 6 ไปรู้รอบ 4 คือ อริยสัจจ์ 4 ไปรู้รอบ 12 คือ ปัจจยาการ 12 (ปฏิจจสมุทปบาท) รู้รอบ 37 คือ โพธิปักขิยธรรม มันมารู้ขึ้นในที่อันเดียว
    นี่แหละเรื่อง ปัญญา มันสว่างอย่างนี้ มันสว่างจ้า คือความชัดตามความเป็นจริง ในแสงสว่างทั้งหลายเสมอด้วยแสงสว่างของปัญญาไม่มี แสงไฟแสงฟืน แสงดาวแสงเดือน ไม่ได้ส่องให้เห็นทุกข์เห็นภัยหรอก นอกจากแสงปัญญาแล้วไม่มี จึงเรียกว่า ปัญญาวิปัสสนา รู้แจ้ง รู้จริง รู้ทั้งภายนอกภายใน หรือที่เรียกว่า ทั้งรู้ ทั้งเห็น รู้ด้วยเห็นด้วย มีแต่รู้อย่างเดียวก็ยังใช้ไม่ได้ มีแต่เห็นอย่างเดียวก็ยังใช้ไม่ได้

    เห็นอย่างเดียวไม่รู้คืออย่างไร? คือ เห็นภาพนิมิต อย่างที่อธิบายมาแล้ว ภาพนิมิตที่เกิดจากการทำภาวนาสมาธิ ไปเห็นนรกเห็นสวรรค์ชั้นฟ้า เห็นนางฟ้า เห็นภูตผีปีศาจฯ อันนี้ไม่มีความรู้ มีแต่เห็น เห็นด้วยใจ "ตาใจ" เป็นผู้เห็น ไม่มีความรู้ มันเห็นภาพ แต่หาได้รู้เหตุผลต้นตอของภาพไม่ ว่าเกิดจากอะไร? จึงเรียกว่าไม่มีความรู้ ได้แต่เห็นอย่างเดียว

    มีแต่รู้อย่างเดียวคืออย่างไร? คือ รู้เฉพาะตนเอง เข้าใจเฉพาะตนเอง เช่นว่า เราไปเห็นดวงจิต ผ่องใสสะอาด นุ่มนวล เบาสบาย แวววาว สวยงาม ชัดเจนแจ่มแจ้ง แล้วก็เพลิดเพลิน มัวเมา หลงชอบ รักเพลินอยู่แต่ในสิ่งนั้น นั่นเรียกว่ารู้ด้วยใจ มันรู้ชัดขึ้นมาในที่นั้น รู้ภายในด้วยจิต แต่หาได้เทียบของภายนอกไม่ คือ ไม่ได้เทียบเหตุผล ต้นตอ กับของภายนอก

    ถ้าหากทั้งรู้ทั้งเห็นแล้ว เทียบกันได้เลยทั้งภายในภายนอก เช่น เราเห็นทุกข์ เห็นเป็นอนัตตา เห็นเป็นทุกขัง เห็นเป็นอนิจจัง ไม่มีใครมาค้านสักคน ทั้งภายในก็เห็นเป็นอนัตตาแท้ๆ ทีเดียว ชัดเลยเรียกว่า ญาณทัสนะ ทั้งรู้เห็นตามเป็นจริง แล้วเทียบดูกับภายนอก ภายนอกก็เห็นอยู่ กายของคนมันเปลี่ยนสภาพเรื่อยไป เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นแก่ เป็นชรา ต้องแตกดับเห็นชัดทีเดียว ตรงกันเป๋งไม่มีผิด ใครก็ค้านไม่ได้สักคนเดียว
    รู้ภายในเป็นอย่างนั้น เห็นภายนอกก็เป็นอย่างนั้น เป็น อนิจจังแท้ แปรสภาพไปเรื่อยแท้ทีเดียว ไม่มีใครค้าน เป็น อนัตตา คือว่าไม่ใช่ของเรา เราบอกไม่ได้ บังคับไม่ให้แปรสภาพไม่ได้ การแปรสภาพนั้นแหละเป็นของไม่เที่ยง เป็น อนิจจัง เพราะการแปรสภาพมันยักย้ายไม่คงที่ มันถึงเป็นทุกข์ พูดเรื่องเดียวกันนั่นแหละ

    เมือภายในรู้เห็นด้วยใจชัดแล้ว ส่วนภายนอกก็เป็นสักขีพยาน เป็นไปตามนั้นจริงๆ ต้องรับรองทุกคน จึงว่า ทัสสนะ ทั้งรู้ทั้งเห็นแล้วก็มีสักขีพยานในสิ่งที่รู้เห็น เรียกว่า สัจจธรรม เป็นของจริง นี่เป็นปัญญาวิปัสสนา
    พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจจธรรม ความเป็นจริงอย่างนี้ อริยสงฆ์สาวกทั้งหลาย ท่านก็รู้ความจริงอย่างนี้ ของจริงมีอยู่ตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นมาในโลก พระสาวกก็ยังไม่มีขึ้นมาในโลก แต่ผู้คนจะรู้ความจริงอย่างนี้ ต่อเมื่อพระองค์ทรงค้นคว้าด้วย ความวิริยะพากเพียรของพระองค์ จึงไปทรงเห็นชัดขึ้นมาว่า อ้อ! ไม่ใช่มาจากอื่นไกล สัจจธรรม ก็อยู่ในนี้เอง

    แล้วจึงสอนพระสาวกทั้งหลายว่า มันต้องเป็นอย่างนี้ๆ นา ผู้มีบุญอย่างพระอัญญาโกญธัญญะ ขณะที่ฟังธัมมจักกัปวัตนสูตร (ครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนา อริยสัจจ์) ท่านตั้งจิตพิจารณาไปตามกระแสธรรมที่พระองค์ตรัส จิตเลยชัดเจนขึ้นมาว่า อ้อ! มันเป็นจริงอย่างที่พระองค์ตรัสโดยแท้ จิตก็หนักแน่นมั่นคงในสัจจธรรมนั้น เป็นคนแรกที่เป็นพยานให้พระพุทธเจ้าเรียกว่า สาวก คือ ผู้ฟังแล้วเห็นตามรู้ตาม ไม่ได้เห็นด้วยตนเอง พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็นด้วยพระองค์เอง เรียกว่า สัพพัญญู ไม่มีครูอาจารย์สั่งสอน
    ถึงแม้ว่า พระสาวกทั้งหลายจะเห็นชัดด้วยตนเองก็ตาม จะฟังพระองค์ทรงเทศนาแล้วจึงเห็นก็ตาม แต่การเห็นชัดนั้นก็ไม่เหมือนกัน มีระดับต่ำ สูง หยาบ ละเอียด ต่างกัน ไม่เสมอภาคกัน และความเห็นอันนั้นที่ชัดหรือไม่ชัดนั่น ระดับความชัด ต่ำสูงก็ไม่เหมือนกัน ไม่มีใครมาวัด วัดด้วยตนเอง เรียกว่า ปัจจัตตัง

    ปัจจัตตัง อันนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าทรงให้ ถึงแม้ว่าจะฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ แล้วเกิดความรู้เห็นชัดขึ้นมา แต่ปัจจัตตังที่เกิดไม่ใช่พระองค์ทรงให้ อาศัยพุทธโอวาทเป็นเครื่องกำหนดพิจารณา มันเป็นเรื่องเฉพาะแต่ละบุคคล วิปัสสนาต้องเป็นอย่างนั้น

    อย่าไปนึกมันจะเป็นวิปัสสนึก ไม่ดี ไปนึกว่าอันนั้นเป็นอนิจจัง อันนั้นเป็นทุกขัง เป็นอนัตตา หรือว่า อันนั้นเป็นอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ อันนั้นเป็น ภังคานุปัสสนาญาณ อันนั้นเป็น ภยตูปัฏฐานญาณ ฯลฯ อย่าไปนึก ถ้ามันไม่ได้เกิดจากจิตอันสงบจากสมถะแล้ว ไม่เป็นวิปัสสนาเลย ถ้าหากเราไปนึก มันก็เป็น วิปัสสนึกเสีย พอหมดจากเรื่องนึก กิเลสมันก็อยู่เท่าเก่า เท่าเดิม
    ถ้าเป็น วิปัสสนา เกิดเองแล้ว กิเลสที่มีอยู่เก่า ความยึดมั่นถือมั่น สำคัญว่าตน ว่าตัว เรา เขา ต่างๆ มันหายไปไหนไม่ทราบ มันวางเสีย มันเบามันเยือกเย็น จิตใจสว่างแจ่มจ้าภายใน เกิดปิติ ปัสสัทธิ มีความพออกพอใจ ยึดมั่นอันนั้นไว้ภาวนา ไม่ท้อถอยจึงเรียก วิปัสสนา

    มรรค ทีนี้วิปัสสนานี่แหละ ถ้าหากว่ามันดำเนินเข้าไปถึง มรรค คือ เมื่อพิจารณาเห็นชัดเห็นจริงแจ่มแจ้งแล้ว (มันเป็นไปอีกระยะหนึ่ง กว่าจะเข้าไปถึงมรรค) มันทิ้งวิปัสสนาแล้วคราวนี้ เข้าไปอยู่ในที่เดียวของมันต่างหาก เรื่องทั้งหลายไปรวมหมด ชัดอยู่ในที่แห่งเดียวนั่น ไม่ต้องส่งไปพิจารณาตามหมวด ตามกระทู้ ถ้อยคำอะไรต่างๆ เช่น ขันธ์ 5 เป็นอย่างนั้น อายตนะ เป็นอย่างนั้น ธาตุ เป็นอย่างนั้นๆ ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างนั้น ฯลฯ ไม่ต้องไปตามพิจารณาเลย แต่ว่ามาปรากฏอยู่ในที่แห่งเดียวนั่น ชัดเจน
    ญาณทัสสนะ การเห็นทั้งภายนอกภายใน ไม่ต้องพูดถึงละขณะนั้น ตรงนั้น มันไม่มีนอกมีในแล้วคราวนี้ เมื่อไปเห็นตรงนั้นแล้วมันรู้เห็นครอบหมด เรียกว่า มรรค เกิดมรรคอยู่ในที่เดียว

    แต่มันก็ไม่ได้พักอยู่ที่นั่นตลอดไป มันอยู่ในที่เดียวนั้นพักเดียว มันเป็นอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ถอนออกมา ทีหลังมันก็ทำอย่างนี้ไม่ได้อีกเหมือนกัน
    การเดินปัญญา เมื่อจิตถอนออกมาจากมรรค คราวนี้มันเดินปัญญา ตอนมันเดินปัญญานี้ จะยกอะไรขึ้นมา มันก็เรื่องคิดเรื่องพิจารณาทั้งนั้น
    เช่นยก สติปัฏฐาน 4 ขึ้นมาพิจารณาถึงเรื่อง กาย เวทนา จิต ธรรม ในขณะนั้นมันเป็นเรื่องที่น่าคิดน่าค้น น่าพิจารณา น่าตรวจตราจริงๆ กายานุปัสสนา พิจารณากายให้เป็น อสุภะ มันก็ชัด เป็น ธาตุ ก็ชัด พิจารณาเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ชัด หรือจะพิจารณา อริยสัจจธรรมทั้ง 4 มันก็ชัด แม้จะพิจารณาในแนว ปฏิจจสมุปบาท มันก็ชัดอยู่ในแนวนี้หมด

    หมวดธรรมทั้งหลาย ที่ท่านแสดงไว้ในที่ต่างๆ จะพิจารณาอะไรมันก็ชัดอยู่ในที่นี้หมด นี่แหละที่ท่านว่า ธรรมทั้งหลาย 84,000 พระธรรมขันธ์อยู่ในที่เดียวก็คือ ตัวนี้อันนี้แหละ ที่ว่า รู้แจ้งแทงตลอดเญยธรรม ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน การที่ไปตามดูตามศึกษาในคัมภีร์ต่างๆ การเรียนรู้ทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว จะหายสงสัยนั้น หามิได้ พอมารู้ในที่นี้แล้ว หมดสงสัยเลย ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้นมาในที่นี้แล้ว หมดสงสัย
    เหตุนั้น เมื่อเราพิจารณาตรงนี้นั้น ใช้ปัญญาตรวจตราไปตามอาการต่างๆ มันจะไปโดยรอบเอง อย่างเช่น เมื่อเดินปัญญาพิจารณาถึงเรื่อง กาย พอเราพิจารณากายเท่านั้น มันกลายเป็นเรื่อง จิต ไปในตัว คือว่าใครเป็นผู้

    พิจารณากาย ก็จิตนั่นซิเป็นผู้พิจารณากาย ใครเป็นคนว่า เวทนา ก็จิตน่ะซีเป็นผู้ว่า เวทนาก็เกิดจากกาย กับใจ พอพิจารณา กาย มันเห็น เวทนา ขึ้นที่ในนั้น ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย มันก็เกิดจากกายกับใจ นั่นซี ไม่มี กายกับใจ มันจะเกิดความสุข ความทุกข์ได้อย่างไร?
    ท่านบัญญัติว่า กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเรื่องๆ เป็นวรรคเป็นตอนไป ความเป็นจริงอันเดียวกันนั่นเอง แต่ท่านแยกออกเป็น 4 อย่าง เพราะมีอาการ 4 เมื่อพิจารณา กาย ก็เห็นเวทนาไปด้วย เวทนาเกิดขึ้นที่กายกับใจ เมื่อพิจารณา เวทนา มันก็เป็นการพิจารณาจิต มันเห็นจิต เห็นกาย อยู่ในนั้น มันเกิดเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ก็เพราะจิตไปยึดไปถือ มันเลยเป็นการพิจารณา กาย เวทนา จิต อยู่ในนั้นพร้อมแล้ว ทั้ง กาย ทั้ง เวทนา ทั้งจิตก็เป็น ธรรม ก็เป็นการพิจารณา ธรรม ไปในตัว

    ทางบัญญัติท่านแยกกันไว้เป็นส่วนหนึ่งๆ ถ้าไม่แยกเป็นอันเดียวกัน ในทางปฏิบัติเห็นในที่เดียวกันเลย พอพิจารณากายก็เห็นเวทนา เห็นจิต พร้อมกันไปเลย
    ถ้าหากใครวิตกขึ้นมาว่า ทำไมจึงต้องเป็นอย่างนี้?
    ให้ตั้งจิตใจของเราให้มันแน่วแน่ เพ่งพิจารณาตรวจค้นแล้วจะสนุกเหมือนกัน แบบนี้เรียกว่า เดินปัญญา

    สัมมัปปธาน 4 หากพิจารณาต่อไปถึงเรื่อง การละ การถอน การติด เรียกว่า สัมมัปปธาน 4 ได้แก่ การละบาป การบำเพ็ญบุญ และเจริญบุญไว้ และบาปที่ละแล้วอย่าให้มันเกิดขึ้นมาอีก คือว่า ละบาปแล้วรักษาไว้อย่าทำบาปนั้นอีก บำเพ็ญบุญแล้วพยายามรักษาไว้ อย่าให้บุญสูญไป หมายความว่า พยายามอย่าให้ความดีเสื่อมไป
    เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ละบาปอยู่ในตัว ละความชั่วไปในตัวแล้ว และทำอยู่อย่างนั้น ก็เท่ากับทำความดี และรักษาความดีอยู่ในตัวแล้วเหมือนกัน ก็เป็นอันเดียวกัน แล้วจะเอาอย่างไรกันอีกเล่า? อันส่วนปลีกย่อยนั้น ก็แล้วแต่ใครหรอก แต่หลักมันต้องเป็นอย่างนี้

    พละ 5 ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็อันเดียวกันอีก ศรัทธา ความเชื่อมั่นของเรา เมื่อเราพิจารณาเห็นชัดแจ้งขึ้นมา มันก็เกิดความเชื่อมั่นขึ้นในที่นั้น แน่วแน่แล้วมันก็ไม่ท้อถอย บางคนนั่งภาวนาอยู่ได้ตั้ง 3-4 ชม. มันไม่ใช่ วิริยะ หรืออันนั้น?
    อินทรีย์ 5 สัทธินทรีย์ ความเชื่อเป็นใหญ่ วิริยินทรีย์ ความเพียรเป็นใหญ่ มันก็เป็นใหญ่น่ะสิ มีความขยันไม่ท้อถอย นั่งอยู่ได้ตั้งหลายชั่วโมง มันก็เพียรเป็นใหญ่ ความที่จิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในที่เดียว ในอารมณ์อันเดียวก็เป็นสตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มีอยู่ในที่เดียวนั่นครบหมดเลย พิจารณาดูเถิด พละ 5 เมื่อมันเป็นใหญ่แล้ว มันก็เป็นกำลัง ดังนั้น พละ 5 อนิทรีย์ 5 เมื่อมันเป็นใหญ่แล้ว มันก็เป็นอันเดียวกัน

    อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ก็อยู่ในอันเดียวกันนั้น ทำนองเดียวกันกับที่อธิบายไปแล้ว
    โพชฌงค์ 7 สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา มีอยู่ในที่เดียวกันนั่น พิจารณาดูเถิด
    อัฏฐังคิกมรรค หรือ มรรคมีองค์ 8 มีสัมมทิฏฐิ เป็นต้น มันก็อยู่ในอันเดียวกันนั่น มีพร้อมกันหมดเลย

    ถ้าปฏิบัติถูกทางแล้ว มันเป็นอย่างนั้น พิจารณาธรรมะข้อใดมันชัดแจ้งอยู่ในที่เดียวนั่น มันไม่ได้ส่งออกไปภายนอก ถ้าหากส่งออกไปหยิบอันโน้นอันนี้แล้ว นั่นยังไม่ถูกทาง ถ้าเราจับจุดตรงนี้ได้แล้ว เรียกว่า เดินปัญญา ปัญญาอันนี้ท่านเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม หมายความถึงว่า การพิจารณาธรรมแบบนี้ เป็นคล้ายกันกับว่า นกที่บินไปในอากาศ มันบินไปข้างหน้า นกเวลาบิน มันบินไปข้างหน้าเท่านั้น ไม่ได้บินกลับหลังหรอก
    ผู้ที่พิจารณาเช่นนี้ เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เจริญงอกงามในด้านปัญญา จิตใจสว่างเบิกบานแจ่มจ้า ปัญญาเจริญโดยลำดับๆ มีถึงที่สุดจุดหมายปลายทาง คือ พ้นจากทุกข์

    ที่ท่านว่า โพธิปักขิยธรรม ธรรม 37 ประการ ประกอบด้วย สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 รวมเป็น 37 แล้วคิดค้นพิจารณาเหมือนที่อธิบายมานี้ เป็นการตรวจตราพิจารณาธรรมแบบ เดินปัญญา เป็นเหมือนอย่างนก ที่บินไปข้างหน้าในอากาศ มีหวังที่จะถึงจุดหมายปลายทาง คือ ความพ้นจากทุกข์

    นี่พูดถึงเรื่อง วิปัสสนา กับ วิธีเดินปัญญา มันแฝงกันอยู่อย่างนี้ บางทีเราเดินวิปัสสนา เดินไป เดินไป มันรวมลงในที่เดียวเป็น มัคคสมังคี พอมันถึงมัคคสมังคี จิตรวมลงไปพักอยู่พักหนึ่งออกจากมัคคสมังคี แล้วก็เดินปัญญา
    จิตจะดำเนินแบบใดก็ตาม จะเข้าไปรวมแบบใดก็ช่างเถิด แต่ขอให้เข้าใจหลักตามนี้ เวลาจิตดำเนินไป มันไปเองของมันหรอก เราไม่ได้ตั้งใจจะให้มันเป็นแบบนี้ แบบโน้น แต่มันเป็นไปของมันเอง ให้เข้าใจหลักเอาไว้ก็แล้วกัน อยากจะให้นักปฏิบัติเข้าใจถึงสิ่งที่มันเป็นไปเอง ไม่ใช่แต่งเอา ถ้าแต่งแล้วผิดไม่ใช่หนทาง ในทางปฏิบัติจิตมันดำเนินไปแล้ว การปฏิบัติมันเป็นไปแล้ว เราจึงค่อยมาตามรู้เท่าทีหลัง ว่ามันเป็นอย่างนั้น ๆ เราไปตามรู้เรื่องของมัน ก็เพื่อไม่ให้มันเดินแหวกจากทาง ให้มันเดินตรงแน่วไป

    ที่ว่า "มันแหวกจากทาง" เช่นว่า จะเดินสมถะ พิจารณาอสุภะกัมมัฏฐานอยู่ หรือบริกรรม พุทโธ พุทโธอยู่ กำหนดอยู่เพียงประเดี๋ยวเดียว มันก็ไปทางอื่นเสียแล้ว วิ่งไปเอาอย่างอื่น ไปเอาอานาปานสติ ไปเอาพิจารณาธาตุ ฯลฯ เรียกว่ามันแหวกแนว
    หรือหากว่าเราจะ เดินปัญญา พิจารณากายคตาสติปัฏฐานหรือพิจารณาสติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นต้น พิจารณาไปประเดี๋ยวเดียวมันก็ไม่เอาเสียแล้ว มันไม่อยู่ที่สติปัฏฐาน 4 แล้ว มันวิ่งไปเอาอรหังสัมมา ไปเอาพุทโธ ไปเอาอย่างอื่นๆ นี่รียกว่ามันแหวกแนว มันไม่เข้าทาง

    เหตุนั้น เราจึงต้องตั้งสติประคองจิตของเรา ให้มันเดินตามแนวนี้ มันจะเดินสมถะ หรือจะเดินวิปัสสนา หรือจะเดินปัญญา ก็ตาม ให้มันเดินตามแนวที่อธิบายมานี้ ให้รู้ว่า อ้อ! อันนี้จิตมันเดินปัญญานะ อันนี้เดินสมถะ อันนี้เดินวิปัสสนานะ เข้าใจตามเป็นจริงแล้วก็พอ เปรียบเหมือนกันกับเรื่องทุกข์ ทุกข์ทั้งหลายเรามีอยู่ตามเป็นจริง แต่เราไม่เข้าใจทุกข์ เมื่อไม่เข้าใจทุกข์เลย เป็นคนหลงเสีย ไปมัวเมาในกองทุกข์ เลยไม่เห็นทุกข์

    เช่นเดียวกัน อันนี้ ธรรม มีอยู่ เมื่อจิตของเราไม่เดินตามธรรม เราก็เลยไม่เห็นธรรม หรือว่าเมื่อเดินไปตามธรรม แต่เราไม่เข้าใจถึงว่าจิตเดินตามทางธรรม มันก็เลยไม่รู้เรื่องของธรรม ไม่รู้ว่าจิตเดินแบบไหน
    จึงว่าให้เห็นตามเป็นจริงแล้วก็พอ อย่าไปแต่งมัน จะไปแต่งให้ทุกข์เป็นสุขก็ไม่ได้ จะไปแต่งสมุทัยให้เป็นทุกข์ก็ไม่ได้ หรือจะไปแต่งอนิจจัง ให้เป็นอนัตตาก็ไม่ได้ หรือแต่งมันก็ไม่ถูก

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันมีอยู่แล้ว เมื่อจิตเข้าถึงไปเห็นในที่อันเดียวตรงนั้นแล้ว เห็นชัดตามเป็นจริง ทีนี้ความเห็นไม่กลับมาแล้ว มันเป็นอย่างไรก็เห็นชัดตามเรื่องที่เป็นจริงของมัน ก็เรียกว่า เห็นชัด เห็นแจ้ง เห็นจริง เท่านั้น
    วันนี้ประมวลรวมเรื่อง การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ 3 ข้อ คือ สมถะแบบ 1 วิปัสสนา อีกแบบ 1 แล้วก็ปัญญาอีกแบบ 1

    ทั้งสมถะ ทั้งวิปัสสนา ทั้งปัญญา อาศัยซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น เวลาปฏิบัติ จิตจะเดินแบบใดก็ช่าง แต่เราเป็นคนไปตามรู้ตามเห็น เข้าใจเรื่องของมันแล้วก็พอ เราอย่าไปแต่งมัน ให้มันเดินไปตามทางตามเรื่องของมัน ถ้าไปแต่งมันแล้ว มันผิดแผกแหวกแนวใช้ไม่ได้

    พากันจำอันนี้ไว้ให้มั่นคง แล้วดำเนินต่อไป จะได้รู้ความเป็นจริงด้วยตนเอง และมีหลักฐานมั่นคงในการที่จะดำเนิน ในทางที่จะปฏิบัติธรรมต่อไป
    เท่านี้ละ เอวํฯ

    -------------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  16. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ศึกษาตามหลวงปู่เทศก็ดีครับ....ใหม่ๆ....ไม่ครูฝึกเรื่องธรรมดา....เราก็หาวิธีศึกษาเอา........ท่านที่ฝึกผ่านมาแล้วเป็นได้แต่เพียงผู้บอก.......หน้าที่ปฏิบัติเป็นหน้าที่ของน้องที่จะต้องทำเอง..........

    สังเกตนะถ้าอ่านมากๆ....จับหลักให้ได้.......ครูบาอาจารย์แต่ละท่านจะสอนไม่ต่างกันเลย....ต่างตรงแต่วิธีที่แต่ละท่านใช้....และแต่ละท่านแนะนำ.........

    เอาเป็นว่าช่วงแรกนี้ไม่เข้าใจก็ศึกษาไปก่อนนะครับ....ด้วยตนเอง......หลวงปู่เทศก็ดี.....หลวงปู่ชาก็ดี......หลวงพ่อพุธก็ดี....หลวงพ่อฤาษีลิงดำก็ดี.......ท่านทั้งหลายเหล่านี้ต่างได้รับการยกย่องว่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ.....น้องชอบแนวใหนอย่างไร...ท่านใหนก็เอามาปลับใช้เอานะ...

    เรื่องฌาน 4 ลำดับมันก็เป็นอย่างนั้นหละครับ.......ไม่มีเปลื่ยนหลอกนะ......ต่อให้ศึกษามาทั้ง 4 ท่านก็ไม่มีเปลื่ยนหละ......พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ตามนี้.......เอาเป็นว่าตอนนี้อย่าไปสนใจมันนะ........เรามาเอาพื้นฐานกันก่อนแล้วกัน........จะศึกษาจากที่พี่ให้ไปครั้งก่อนนั้นก็ได้..........

    หลายท่านที่ตอบในนี้......มีทั้งผู้ที่ปฏิบัติได้จริง......ได้บ้างไม่ได้บ้าง....ก็มี....ฉนั้นอย่าเพิ่งไปปักใจนะ.......อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ......ศึกษาเองนะ......ความจำ....กับได้จริงนี่มันต่างกันเลย......

    ว่างๆ.....ก็ไปกราบครูบาอาจารย์ก็ได้นิครับ.......ไปสอบถามธรรม.......ไม่ทราบว่าอยู่จังหวัดใหนล่ะครับ....เพื่อพี่รู้จะได้แนะนำไปกราบได้......(ถ้ารู้นะครับ)

    โมทนาสาธุธรรม......ตั่งใจปฏิบัติ....ไอ่อาการที่น้องเป็นก็ไม่ต้องไปสนใจมันหละครับ.......เพราะว่าน้องฝึกกรรมฐานลมหายใจ(อานา)....ก็เอาจิตไปไว้ที่ลมหายใจนั้นหละครับ......ไม่ต้องไปอยู่ที่อื่น.......ตามธรรมชาติของจิตมันจะสอดส่ายนั้นเรื่องธรรมดา.......ก็ให้รู้เอา....ไม่ต้องไปห้ามมัน....ว่างๆก็กลับมาที่เดิมอย่างนี้....พิจารณาบ้างก็เรื่องธรรมดา......เอาเป็นว่าไม่แนะนำมาก....ศึกษาเองนะครับ.....
    :z17
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  17. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาครับ
    มีแต่ความโปร่งเบากับความนุ่ม มีขึ้นมาเล็กน้อยนะครับ
    สลับกับ ความกด หนัก หน่วง ก็ยังมีอยู่ครับ
    ส่วนความใสชัด กับความสว่าง ความ ร่มเย็น ยังไม่มี ยังขุ่นอยู่มากๆเลย
    ยังคงต้องฝึกหาใจไปเรื่อยๆ ขอบคุณครับ[​IMG]
     
  18. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    ปกติแล้วผมเป็นคนที่นั่งสมาธิทุกวันกลางคืน ก็นั่งแม้ แต่นอนก็คงสมาธิอยู่แต่ ตอนนอนมันจะยากนิดหน่อยเพราะจิตมันจะไปคิดเรื่อยเปลื่อยได้ง่าย แต่ช่วงหลังพอ สมาธิแน่นกว่าเดิมตอนนอนก็เลยอยู่ได้ นาน ประมาณ ชั่วโมง หนึ่ง จากนั้นก็ปล่อย
    หลังจากสมาธิลองนอนตะแคงขวา นอนดูตัวเองนอนนะครับ จะได้ความรู้สึกแปลกๆอีกแบบหนึ่ง อนุโมทนาครับ
     
  19. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    เมื่อยังทรงฌาน 4 อยู่จะไม่มีความคิดนึกอะไรได้ มีแต่อารมณ์สุขกับเอกัคคตา
    ออกจากฌาน 4 แล้วเราจะสามารถคิดนึกได้
    ก็ให้น้อมจิตพิจารณาชาติความเกิดเป็นทุกข์ กับนิมิตที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปเป็นนามอะไรก็ตาม แล้วเมื่อรู้เมื่อเห็นอะไรแล้วให้พิจารณาเป็นพระไตรลักษ์ให้หมด ทำอย่างนี้ทุกครั้งจะเป็นตัววิปัสสนาญาณ จนจิตยอมรับเห็นจิตในจิตเป็นอนัตตา

    ถ้าท่านไม่เดินตามหนทางที่ผมบอกท่านนี้ ท่านจะไปสิ้นสุดที่สมาบัติแปดหลงเดินทางไปพรหมโลก ย่อมพลาดจากมรรคผลนิพาน ถ้าท่านรู้ตัวว่าหลงทาง สุดท้ายท่านก็ต้องกลับมาพิจารณาทางปัญญาท่านจะให้เสียเวลาเนินนานไปทำไมกัน

    พระในพุทธกาลทุกองค์ท่านทำฌาน 4 และถอยจิตมา

    พิจารณาตัวปัญญาในการละกิเลสสังโยชน์ เกศา โลมา นขา ทันตะ ตะโจ ให้กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง พิจารณาให้เป็นของไม่สะอาด เป็นเรือนรังของเชื้อโรค เนื้อหนังเราก็เหมือนถุงหนังห่ออุจจาระและ ปัสสาวะ เมื่อส่องจิตดูอยู่ในวงกายพอแล้ว ก็เข้าพักจิตอยู่ในฌาน 4 พอจิตพักตัวพอแล้ว ก็ถอนออกมาพิจารณาร่างกายให้เป็นของไม่สวยไม่งาม

    เจริญอยู่อย่างนี้ให้เกิดความชำนาญ จนจิตเกิดความเบื่อหน่ายในรูปร่างกาย แม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อม<WBR>เบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส

    เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคายความกำหนัด ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว
     
  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    นิโรธสมาบัติ

    นิโรธสมาบัติ (อ่านว่า นิโรดสะมาบัด, นิโรดทะ- ) แปลว่า การเข้านิโรธ, การเข้าถึงความดับ หมายถึงการเข้าถึงความดับสัญญา (ความจำ) และเวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด ซึ่งสามารถดับได้ถึง 7 วัน เรียกว่าเข้านิโรธสมาบัติ เรียกย่อว่า เข้านิโรธ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    นิโรธสมาบัติ ต้องเป็นพระอรหันต์และพระอนาคามีผู้ได้สมาบัติ 8 จึงจะสามารถเข้าได้ ถือกันมาว่าผู้ได้ถวายอาหารแด่พระสงฆ์ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติมื้อแรกจะได้รับอานิสงฆ์ในปัจจุบันทันตา ท้งนี้เพราะเป็นอาหารมื้อสำคัญหลังจากที่ท่านอดมาถึง 7 วัน ร่างกายจึงต้องการอาหารมากเป็นพิเศษ




    อ้างอิง
    :z17
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2009
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...