** ฉันทะ ** วัตถุมงคล หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา **

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ตุ้ย ฉันทะ, 16 พฤษภาคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. khanngoen

    khanngoen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    761
    ค่าพลัง:
    +885
    ขอบคุณครับคุณพี่โจสำหรับข้อมูลที่กรุณาอธิบายให้ทราบ....ละเอียดมากจริงๆครับนับถือๆ
     
  2. ใจแอ้น

    ใจแอ้น Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +47
    ง. ประเภทเหรียญปั้ม

    34. เหรียญปฏิบัติธรรม ปี 2524 (เหรียญปั้มรูปเหมือนหลวงปู่ดู่รุ่นแรก)
    35. เหรียญเสมา ปี 2525 (เหรียญปั้มรูปเหมือนหลวงปู่ดู่รุ่นแรก ที่ออกโดยวัดสะแก)
    36. เหรียญเสมา ปี 2526
    37. เหรียญอันตรายาปิ (พิมพ์ยืน) ปี 2526
    38. เหรียญอันตรายาปิ (เหรียญกลม) ปี 2526
    39. เหรียญยันต์ดวง ปี 2526
    40. เหรียญลายเซ็น ปี 2529
    41. เหรียญปฎิสังขรณ์ วัดหันตรา 2529

     
  3. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    พี่โจอย่าลืมล๊อกเก็ตหลวงปู่ด้วยนะครับ รออ่านอยู่เช่นกันคร้าบ...
     
  4. chai8383

    chai8383 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +6,348


    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ:cool::cool: ควรจะทำ
    ถือเป็นการบูชาครูบาอาจารย์ด้วย
    เคยคิดจะบอกคุณโจให้รวมกลุ่มกันทำอยู่เหมือนกัน

    เพราะผมมีเพื่อนอยู่ทางใต้ ที่มีแผงพระ พอถามถึงพระเครื่องหลวงปู่ท่าน
    เพื่อนผมส่ายหน้า บอกไม่รู้จะเช่ายังไง มีเยอะรุ่น เลียนแบบก็เยอะ

    ปี 55 ไม่สำเร็จ ก็ทำต่อปี 56 สิครับ เดี๋ยวก็เสร็จ
    ก่อนสั้งพิมพ์ อย่าลืมมาเปิดจองทางเว็บด้วยนะครับ
     
  5. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    ขอบคุณครับคุณนก..เห็นม่ะ..พี่ลืมซะสนิท ขอนำไปลงในหมวดวัตถุมงคลประเภทอื่นๆ ก่อนน่ะครับ ยกแรกนี้ขอเอาเฉพาะโลหะเพียวๆก่อนน่ะคร๊าบ..บบ
     
  6. Aimee2500

    Aimee2500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,703
    ค่าพลัง:
    +1,765
    (ขออนุญาตพี่โจค่ะ)

    60.เหรียญพระพุทธคุณสุธันว์ (จำปี พ.ศ.ไม่ได้)

    เหรียญพระพุทธอนันตคุณ สร้างขึ้นโดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี และคณะโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
    เป็น อุเทสิกเจดีย์ไว้เคารพในคราวที่ระลึกถึงพระพุทธองค์ เพื่อมอบให้กับผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์เพื่อศาสนกุศลและการกุศลอื่นๆตาม ที่เห็นสมควร เพื่อเป็นมหากุศลและสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
    ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ ขนาดกว้าง 2.4 ซม. ยาว 3.2 ซม. ด้านหน้าเป็นรูปจำลองพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำ บัวหงาย ด้านหลังเป็นยันต์อิติปิโสเกราะเพชร ตามตำรับของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และตัวเลขไทย ๒๕๒๗ อันเป็นปีที่จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ จำนวนสร้างทั้งสิ้น เนื้อเงิน 46 เหรียญ เนื้อโลหะผสม 2,357 เหรียญ เนื้อทองแดง 596 เหรียญ ชนวนมวลสารประกอบไปด้วย ชนวนหล่อพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สำนักต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งแผ่นยันต์ต่างๆและตระกรุดอีกเป็นจำนวนมาก หลากหลายเถราจารย์
    พิธีปลุกเสก
    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก วันที่ 3 ก.ค. 2527
    พระอาจารย์มหาโพธิ์ วัดคลองมอญ วันที่ 4 กค.- 18 ต.ค. 2527
    ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย ลำพูน วันที่ 23 ต.ค. 2527
    หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสะต๋อย เชียงใหม่ วันที่ 25-27 ต.ค. 2527
    หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ วันที่ 29 ต.ค.- 27 ธ.ค. 2527
    หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม วันที่ 29 ธ.ค. 2527- 1 ก.พ. 2528
    หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง วันที่ 10-12 มี.ค. 2528
    หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม วันที่ 16-30 มี.ค. 2528 และ 16 เม.ย. 2528
    โดยใช้เวลาที่ให้พระเกจิอาจารย์ปลุกเสกรวมทั้งหมด 227 วัน(เท่ากับศีลของพระสงฆ์)

    เหรียญนี้เป็นเนื้อทองแดง (รีดจากแผ่นยันต์และตระกรุด) และสร้างจำนวนน้อยเพียง 596 เหรียญเท่านั้น

    มวลสารพระประกอบด้วยชนวนพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ครอบน้ำพระพุทธมนต์ ชนวนพระบูชาศักดิ์สิทธิ์,ชนวนรูปเหมือนพระเถระเจ้า,มงคลวัตถุอาถรรพ์และแผ่น ยันต์ซึ่งได้รับการปลุกเสกและอธิฐานจิตเข้าร่วมสมทบอีกจำนวนมาก

    ++แผ่นจารแผ่นยันต์ต่างๆ++
    +แผ่นยันต์พระเทพสังวรญาณ (สนิท) วัดศีลขันธาราม จ.อ่างทอง
    +แผ่นยันต์พระครูคุณาวรรัตน์ (กลั่น) วัดอินทราราม จ.อ่างทอง
    +แผ่นยันต์หลวงปู่จันทร์ศรี วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดร
    +แผ่นยันต์พระครูทัศนปรีชาญาณ (ชม) วัดป่าสมัคคีธรรม จ.อุดร
    +แผ่นยันต์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดร
    +แผ่นยันต์หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน จ.อุดร
    +แผ่นยันต์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดร
    +แผ่นยันต์หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร วัดเทพสิงหาร จ.อุดร
    +แผ่นยันต์พระราชอุทัยกวี (พุฒ) วัดมณีสถิตย์ จ.อุทัยธานี
    +แผ่นยันต์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัท่าซุง จ.อุทัยธานี
    +แผ่นยันต์พระครูอุชุกรญาณ (หล้า) วัดดงขวาง จ.อุทัยธานี
    +แผ่นยันต์หลวงพ่อชา สุภัทโธ วัดหนองป่าพง จ.อุบลฯ
    +แผ่นยันต์พระครูวินิจพัฒนาคุณ (พั่ว) วัดศิริมงคล จ.อุบลฯ
    +แผ่นยันต์พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลฯ
    +แผ่นยันต์หลวงพ่อกิ ธัมมุตโต วัดสนามชัย จ.อุบลฯ
    +แผ่นยันต์หลวงปู่มั่น ทัตโต วัดบ้านโนนเจริญ จ.อุบลฯ
    +แผ่นยันต์พระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน) วัดบูรพา จ.อุบลฯ
    +แผ่นยันต์พระครูพนภินันต์ (ลี) วัดเอี่ยมวนาราม จ.อุบลฯ

    ++ชนวนพระกริ่ง-พระชัย์ต่างๆ++
    +ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ต่างๆ หลายรุ่น ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ), เจ้าคุณศรี (สนธ์), เจ้าคุณประหยัด
    +ชนวนพระกริ่งหน้าอินเดีย พระศานโสภณ (แจ่ม) วัดมงกุฏฯ
    +ชนวนพระกริ่งเชียงแสน เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์
    +ชนวนพระกริ่ง-พระชัยอรหัง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    +ชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ชินบัญชร หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ จ.ระยอง
    +ชนวนพระกริ่งวัดช่องลม หลวงปู่แก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
    +ชนวนพระกริ่งถ้ำแก้ว อ.ถม อินทวิริโย วัดถ้ำแก้ว จ.เพชรบุรี
    +ชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี จ.กรุงเทพฯ
    +ชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ไตรณคม หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา
    +ชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ปวเรศ หลวงพ่อพัน วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี
    +ชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์อุบาเก็ง หลวงพ่อพัน วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี
    +ชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์สุตาธิการี หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
    +ชนวนพระกริ่งมหามงคล พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
    +ชนวนพระกริ่งศรีเพชรรัตน์ พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PPAnun 1.jpg
      PPAnun 1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.7 KB
      เปิดดู:
      188
    • PPAnan 00.jpg
      PPAnan 00.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.8 KB
      เปิดดู:
      103
    • PPAnan 011.jpg
      PPAnan 011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      119.4 KB
      เปิดดู:
      125
    • PPAnan 191.jpg
      PPAnan 191.jpg
      ขนาดไฟล์:
      144.7 KB
      เปิดดู:
      111
  7. Aimee2500

    Aimee2500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,703
    ค่าพลัง:
    +1,765
    อนุโมทนาสาธุค่ะ
    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สระณังคัจฉามิ
    _/\_ _/\_ _/\_

    สุกี้ไก่หรือสุกี้ซีฟู้ดแห้งค่ะ ^-^
     
  8. ถิรวุษิ

    ถิรวุษิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,685
    ค่าพลัง:
    +7,520
    ขอบคุณครับ ไปมาเมื่อวานออกจากบ้าน 9.30น. แต่ด้วยตัวเองมึนๆงงๆขับเผลินไปหน่อย จะวกกลับมาทางสองพี่น้องก็ไปไกลมากแล้ว ผมเลยวิ่งตรงไปทางอู่ทอง-ด่านช้าง เลี้ยวขวาเข้าทาง เดิมบาง วิ่งแบบอ้อมโลก ไปถึงวัดหลวงปู่กวยบ่ายโมงกว่าๆและพาครอบครัวไปเที่ยวสวนนก ออกมาเกือบ16.30น.คิดว่าถ้าไปถึงวัดสะแกก็คงเย็นมากแล้ว เลยไม่ได้ไปกราบหลวงปู่ดู่ เสียดายมากๆ ครับ :'(
     
  9. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    ขอบคุณครับ คุณ Aimee สำหรับข้อมูลเหรียญพระพุทธอนันตคุณ

    ความจริงแล้ว ชุดวัตถุมงคลของท่านอ.สุธันว์ ยังมีอีกจำนวนมากหลายอย่าง แต่การนำมาบรรจุเข้าเล่นในสายหลวงปู่ดู่..พูดจริงๆก็ถือว่ายากพอสมควร

    ผมเองกว่าจะนำเหรียญนี้ลงบรรจุในรายการก็คิดแล้วคิดอีกหลายรอบ

    คืออย่างนี้ครับ..ขออธิบายให้ฟัง

    ใครๆก็รู้ว่า อ.สุธันว์ ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักสร้างพระ ท่านสร้างพระเพื่อหารายได้ให้แก่สถานที่ต่างๆไว้มากมายเหลือเกินแม้กระทั่งถึงปัจจุบัน และใครๆก็รู้ว่า อ.สุธันว์ท่านถือว่าเป็นเจ้าแห่งมวลสาร คือ วัตถุมงคลของท่านแต่ละรุ่นจะเพียบด้วยมวลสารสิ่งศักดิ์สิทธิ์หายาก และจากครูบาอาจารย์ต่างๆมากมายทั่วประเทศ อีกทั้งความที่ท่านทำบุญทำทานมาโดยตลอด จึงมีครูบาอาจารย์ให้ความเมตตามากมายทั่วประเทศอีกเช่นกัน

    เหตุดังนั้นพระของท่าน นักเล่นในสายหลวงปู่ดู่ ถึงไม่มีใครปฏิเสธในเรื่องมวลสาร พิธีการสร้าง ครูบาอาจารย์ปลุกเสก และเจตนาอันบริสุทธิ์ แต่ที่มีปัญหาก็คือ..มีการถกเถียงกันบ้างว่า สมควรจัดเป็นพระของหลวงปู่ท่านโดยตรงหรือไม่

    เพราะในหนังสือเล่มเขียวเองก็ไม่ได้ระบุไว้ และบางทีสายอื่นๆก็นำเหรียญนี้ไปขึ้นเป็นสายที่ครูบาอาจารย์เขาร่วมอธิษฐานจิตด้วยเหมือนกัน

    นี่จึงเป็นเหตุผลให้เกิดความกรำกรวมพอสมควร

    แต่ปัจจุบันนักสะสมสายหลวงปู่ดู่ จึงมีทั้งท่านที่เก็บสะสม และไม่เก็บ

    พูดง่ายๆ ก็คือ.. ถ้าเป็นลักษณะเพียงหลวงปู่ร่วมอธิษฐานจิต มวลสารโรงงานธรรมดาๆ ก็คงไม่นิยมเล่นหาไปแล้ว (เหมือนอีกหลายๆเหรียญ) แต่นี่..ความที่เป็นเหรียญของ อ.สุธันว์ จึงมีบางคนก็ให้ความนิยมบ้าง

    ความจริงไม่ใช่แต่เพียงเหรียญพระพุทธนี้เท่านั้น เคยคุยๆกันพรรคพวก หากจะทำหนังสือชุดใหม่ถวายให้วัด ชุดที่ยากที่สุดในการจัดเข้าชุด ก็คือ ชุดของอ.สุธันว์ นี่แหละ เพราะนอกจากเหรียญนี้แล้ว ยังต้องรวมไปถึง พระกริ่งอนันตคุณ พระปิดยายันต์ยุ่งเนื้อต่างๆอีกมากมาก และยังเหรียญพระแก้วหมดห่วง หรือพระสังกัจจายน์อีก มากที่เดียว

    ปัญหาก็คือ หากนำพระของท่านทั้งหมดจัดเข้าชุดหลวงปู่ดู่ ก็จะเป็นที่ถกเถียงกันอีกว่า แล้วของที่อื่นๆในลักษณะเดียวกัน เช่น ชุดเหรียญของ ธ.ศรีนคร ล่ะ ทำไมไม่จัด..หรือหากไม่จัดชุดนี้ แล้วทำไมทีเหรียญอื่นๆของท่านถึงได้จัดเข้าไปล่ะ เช่น เหรียญปั้มรูปไข่ ปี 29 หรือ เหรียญปั้มรูปไข่ประทานพร ปี 30 ทั้งๆที่ตลอดตัวเหรียญก็ไม่ได้ระบุความเป็นวัดสะแก (เหรียญนิยมอื่นๆ ถึงแม้ลูกศิษย์จะเป็นผู้สร้างมาให้ แต่ก็สร้างให้หลวงปู่โดยตรง ส่วนใหญ่ไม่ด้านหน้าสร้างเป็นรูปหลวงปู่ดู่ หรือหลวงปู่ทวด ด้านหลังเหรียญก็ระบุชัดเจนว่าวัดสะแก ) หรือแม้แต่พระกลางลาน ซึ่งเป็นของวัดสะแกโดยตรง ก็ถือว่าเป็นพระของหลวงปู่ศรี (สีห์) ท่าน พอดีในประวัติมาเผยแพร่ตอนหลังว่าหลวงปู่ช่วยร่วมอธิษฐานจิตผ่านสายไฟด้วย เช่นนี้เป็นต้น ก็ไม่ถูกจัดอยู่ในวัตถุมงคลของหลวงปู่ แต่ลูกศิษย์ลูกหาหลวงปู่ฯหลายๆท่านก็เล่นหากัน

    แต่สำหรับความคิดผม เห็นว่าน่าเสียดายที่เดียว หากไม่นำมาจัดไว้ เวลานานไปหากไม่ถูกบันทึกไว้ กาลเวลาอาจทำให้วัตถุมงคลชุดนี้ของท่านทั้งหมดถูกหลงลืมไป ของดีๆ มวลสารดีๆ เจตนาบริสุทธิ์ของอ.สุธันว์ ก็จะหายไปด้วย กลายเป็นพระกลางๆ ไม่สามารถบรรจุลงเป็นทางการของสำนักใดได้ น่าเสียดายมาก..ที่จริงหากบรรจุลงในชุดวัตถุมงคลของหลวงปู่ฯได้ ก็อาจใช้วงเล็บว่า " หลวงปู่ร่วมอธิษฐานจิต" ก็น่าจะเป็นการได้


    สรุปๆ ผมก็เล่าที่ไปที่มาทั้งหมด ก็ประมาณนี้ล่ะครับ จึงอยู่ที่ว่าใครนิยมอย่างใด ก็ว่ากันไป..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2012
  10. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    บทที่ 5 : วัตถุมงคลหลวงปู่เยอะแยะ.แล้วเขานิยมเล่นหาอะไรกันหนอ..??

    ตอบ : จากบทที่ 4 เมื่ออ่านรายการทั้งหมดเพียงผิวเผิน บางคนอาจท้อใจ จะเห็นว่าพระของหลวงปู่ฯ ท่านก็เยอะจริงๆตามที่เขาว่าล่ะ แต่สำหรับนักสะสมที่คุ้นเคยกับพระของหลวงปู่ นานไปเมื่อจัดระบบหมวดหมู่ เข้าใจที่มาที่ไปถึงความนิยมชัดเจนแล้ว ตัดทอนรุ่นที่นิยมเล่นหาน้อยลงไปบ้าง จะเห็นไม่ยากเลย เหลือเพียงนิดเดียว แพร๊บเดียวก็จำได้หมดแล้ว

    ที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือ พระหลวงปู่ฯท่าน ถึงจะมีเยอะแยะรุ่น แต่ก็ได้รับความนิยมทั้งหมดเลยน่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นอะไร อันจะผิดกับสายอื่นๆบ้าง ที่บางครั้งจะนิยมเล่นหาเพียง 4-5 รุ่นเท่านั้น รุ่นอื่นๆที่ไม่นิยม ก็จะไม่นิยมหรือแทบจะไม่เล่นหากันไปเลย ถึงแม้จะแท้และทันก็ตามที กลายเป็นพระทิ้งๆขวางๆ องค์ละ 100-200 ก็เยอะ

    การจะทำความเข้าใจ และจดจำกับพระหลวงปู่ง่ายๆ ก็คือ วกกลับมาที่ความนิยมของสากลทั่วไปก่อน หลักๆก็คือ

    1. ความเป็นพระของลป.ดู่ ลูกศิษย์ลูกหาก็ต้องนิยมเป็นรูปเหมือนองค์ท่านก่อนเป็นปกติ แต่เนื่องจากองค์หลวงปู่ดู่ ท่านยังมีความพิเศษเหนือกว่าปกติทั่วไป คือ หลวงปู่ท่านจะมีความผูกพันธ์กับหลวงปู่ทวดมาก หรือแม้กระทั่งศิษย์บางคนยังเชื่อลึกๆว่า ก็คือองค์เดียวกัน ดังนั้นพระที่เป็นรูปเหมือนลป.ทวด จึงได้รับความนิยมเทียบเท่ากันไปด้วย และที่พิเศษกว่านั้นก็คือ พิมพ์พระเหนือพรหม ซึ่งถือเป็นพิมพ์เอกลักษณ์ของหลวงปู่ ก็ได้รับความนิยมควบคู่เท่าๆกัน หรือบางทีอาจจะมากกว่าซะด้วยซ้ำ ดังนั้น 3 พิมพ์รูปเหมือนนี้ จึงค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นสากลในพระของหลวงปู่ดู่ อันจะค่อนข้างมากกว่าพิมพ์ที่เป็นรูปพระพุทธ หรือ รูปครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ

    2. ความเป็นลอยองค์รุ่นแรก / เหรียญหล่อรุ่นแรก / เหรียญปั้มรุ่นแรก/ เหรียญรูปหลวงปู่ทวดรุ่นแรก/ เหรียญรูปหลวงปู่ดู่รุ่นแรก / รุ่นที่สร้างน้อยหายาก /อะไรๆประมาณนี่

    3. เมื่อเข้าใจในข้อ 1 และ ข้อ 2 ดีแล้ว จะเห็นว่าพระหลวงปู่ที่ว่าเยอะๆถึง 70-80 กว่าแบบ เอาเข้าจริง เหลือนิดเดียว เล่นหาง่ายครับ

    หากให้จัดระดับค่านิยมในหมวดพระเครื่องโลหะของหลวงปู่ Top Seven แรก ก็ต้องไม่หนี..

    1. ชุดหล่อรุ่นแรก ปี 2522 ด้วยศักดิ์ศรีความเป็นงานหล่อรุ่นแรก สวยงาม คลาสสิค ประกอบด้วยกันทั้งหมดรวม 9 รุ่นคือ..

    1.1 หล่อลอยองค์ รูปเหมือน ลป.ดู่
    1.2 หล่อลอยองค์ รูปเหมือน ลป.ทวด
    1.3 เหรียญหล่อเสมา รูปเหมือนลป.ดู่
    1.4 เหรียญหล่อบัวข้างเหลี่ยม รูปเหมือนลป.ดู่
    1.5 เหรียญหล่อพระเหนือพรหม (ทั้งเนื้อทองเหลืองและเนื้อโลหะผสม)
    1.6 พระชัยวัฒน์ (รุ่นสอง)
    1.7 เหรียญหล่อเสมา (สองหน้า)
    1.8 เหรียญหล่อบัวข้างเหลี่ยม (สองหน้า)
    1.9 เหรียญหล่อพระเหนือพรหม (สองหน้า)

    อนึ่ง : สำหรับเหรียญหล่อในข้อที่ 1.7 - 1.9 รวม 3 รุ่น คือ ชุดสองหน้า เนื่องจากเป็นพระที่หาได้ยาก รุ่นหนึ่งมีเพียงอย่างละ 40 องค์เท่านั้น นานๆจะมีผ่านเข้ามาทีหนึ่ง ดังนั้นนักสะสมเพิ่งเริ่มใหม่ๆ ยังไม่ต้องจดจำก็ได้ครับ จำในชุด 6 อันดับแรกก่อน เพราะเป็นมาตรฐานที่มีการเช่าหาหมุนเวียนกันโดยตลอดครับ

    2. เหรียญปั้มเปิดโลก ทุกเนื้อ ทุกพิมพ์ (ด้วยศักดิ์ศรีนิยมมาแต่เดิม ว่ากันว่าหลวงปู่อธิษฐานจิตให้เปิดทั้งสามโลก)

    3. เหรียญปั้มเศรษฐี (ด้วยศักดิ์ศรี ว่ากันว่าหลวงปู่ว่า "ใครมีไว้แล้วจะรวย ไม่มีจน")

    4. เหรียญปั้มยันต์ดวง (ด้วยศักดิ์ศรี ว่ากันว่าใส่แล้วดวงจะดี เสริมดวง กลับจากร้ายกลายเป็นดี)

    5. เหรียญปั้มข้างบัว 20 (ด้วยศักดิ์ศรี ความเป็นเหรียญลป.ทวดรุ่นแรก ได้จารลายมือหลวงปู่เองมากถึง 4 จุดที่เดียว)

    6. เหรียญปั้มปฏิบัติธรรม (ด้วยศักดิ์ศรี เหรียญปั้มรูปเหมือนลป.ดู่รุ่นแรก (ถึงจะไม่ได้ออกจากวัดสะแกโดยตรง) และชื่อก็ดี ปฏิบัติธรรม ลูกศิษย์ลูกหาในสายปฏิบัติธรรมนิยมมาก และยังมีข้อมูลว่ารุ่นนี้มวลสารแผ่นยันต์จากหลวงปู่มากและอยู่กับหลวงปู่นานมาก)

    7. เหรียญเสมา 25 ( ด้วยศักดิ์ศรี นิยมมาแต่เดิม เป็นเหรียญปั้มรูปเหมือนรุ่นแรกที่ออกจากวัดสะแกเป็นทางการ)

    จากขอเขียนด้านบน สำหรับนักสะสมท่านใหม่ๆ เห็นมั๊ยครับ ไม่ยากเท่าไรเลย ผมพยายามจะใช้ภาษาง่ายๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ที่สุดน่ะครับ (ไม่รู้ทำได้ป่าว ?) อธิบายให้พอเข้าใจก็คือ งานหล่อทั้งชนิดลอยองค์ และชนิดเหรียญหล่อ (ฉีด) จะมีเพียงรุ่นเดียว คือ รุ่นปี 2522 เท่านั้น (นับเฉพาะเหรียญนิยมขนาดมาตรฐาน ไม่นับเหรียญจิ๋วสำหรับเด็กและสตรี) และเนื่องจากเหรียญชนิดนี้มีความสวย หนา มีความคลาสสิคในตัว จึงได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ครับ


    อันดับต่อมา..ตลาดปัจจุบันใครๆก็รู้ว่าต้องนิยมเป็นเหรียญปั้ม และเหรียญปั้มที่นิยมก็ต้องเป็นรูปเหมือนไม่ลป.ดู่ ก็ต้องลป.ทวด ซึ่งรูปเหมือนท่านทั้งสององค์ รวมกันก็เพียงแค่ 13 รุ่นเท่านั้น คือ เป็นรูปลป.ทวดซะ 4 รุ่น / รูปลป.ดู่ซะ 9 รุ่น ที่นิยมก็ต้องเป็นรุ่นแรกรูปเหมือนหลวงปู่ทั้งสอง แล้วก็รุ่นชื่อดีๆเป็นมงคล หักที่นิยมเป็น Basic ไปแล้วก็ 6 รุ่น ที่เหลืออีกเพียง 7 รุ่น ก็เป็นรุ่นนิยมรองๆ ลดหลั่นกันมา จำไม่ยากเลย

    หลักๆก็เห็นจะมีเพียงเท่านี้

    นอกจากนั้นรุ่นอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมรองๆกันมา ส่วนใหญ่ก็ด้วยเหตุผลชุด Top Seven ทั้งหมดปัจจุบันราคาสูงมากแล้ว นักสะสมใหม่ๆ เงินน้อยๆ ไม่ยึดติดอีโก้ แต่อยากได้พระหลวงปู่ไว้ติดตัว ก็เลยเก็บรุ่นรองๆลงไป ก็เป็นดังเช่นปกติสากลทั่วไปครับ

    นอกจากนั้นที่นิยม และอาจมีราคาสูงไปเลย โดยไม่สนใจว่าจะเป็นชุดรูปเหมือนลป.ทั้งสอง แต่อาจเป็นรูปพระพุทธ ก็ด้วยเหตุผล พิธีดี มวลสารมาก สร้างน้อย หายาก เช่น พระกริ่งไตรสรคมณ์ พระชัยวัฒน์คลุมโปง เป็นต้น หรืออาจเป็นชุดปี 2532 ที่ถึงแม้จะเป็นพระยุคสุดท้าย แต่สร้างเพียงแต่เนื้อเงิน จำนวนสร้างน้อยมากเพียงไม่เกิน 200 องค์ อย่างนี้ก็เป็นที่นิยมและราคาก็เริ่มขยับๆปรับตัวสูงมากขึ้น เช่นนี้เป็นต้น ซึ่งก็ต้องค่อยๆสะสมองค์ความรู้กันต่อไป

    หมายเหตุ : จบภาคบรรยายแล้วน่ะครับ วันหลังค่อยมาติดตามชม ภาพในแต่ละชุดครบทุกรุ่น ทุกพิมพ์ เจาะลึกแยกเนื้อหากันโดยละเอียดกันต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2012
  11. khanngoen

    khanngoen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    761
    ค่าพลัง:
    +885
    รอชมครับคุณพี่โจขอบคุณที่สละเวลาบรรยายให้ฟัง (อ่าน)ครับ
     
  12. นพคุณ

    นพคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +3,815
    คุณพี่โจครับ แล้วเหรียญ หลวงพ่อบุญคุ้มละครับ
    ไม่จัดอยูในกลุ่มเหรียญปั๊มพระพุทธหรอครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. SKTC

    SKTC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    455
    ค่าพลัง:
    +537
    คุณโจครับ....ชุดเหรียญหล่อรุ่นแรกปี 2522 .....ประกอบด้วย 7 รุ่น ผมเห็นลงไว้แค่ 6 รุ่นครับ หรือว่ามีแค่ 6 รุ่นครับ ^^
     
  14. moddang

    moddang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,464
    ค่าพลัง:
    +5,423
    ต้องขอคารวะ พี่โจ จริงๆ ด้วยใจที่ศรัทธาหลวงปู่ ถึงตั้งใจเขียนได้ขนาดนี้ครับ ^^

    1. ชุดเหรียญหล่อรุ่นแรก ปี 2522 ทั้งหมด ด้วยศักดิ์ศรีความเป็นเหรียญหล่อรุ่นแรก สวยงาม คลาสสิค อันประกอบด้วย 7 รุ่นคือ

    1.1 ลอยองค์รูปเหมือน ลป.ดู่
    1.2 ลอยองค์รูปเหมือน ลป.ทวด
    1.3 เหรียญหล่อเสมา รูปเหมือนลป.ดู่
    1.4 เหรียญหล่อบัวข้างเหลี่ยม รูปเหมือนลป.ดู่
    1.5 เหรียญพระเหนือพรหม (ทั้งเนื้อทองเหลืองและเนื้อโลหะผสม)
    1.6 พระชัยวัฒน์ เนื้อโลหะผสม (รุ่นสอง)

    ชุดนี้ ถ้ามี พระชัยวัฒน์รุ่นสอง แสดงว่าขาด พระชัยวัฒน์รุ่นแรกครับ ^^
     
  15. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    เรียนคุณนพคุณ..ครับ

    เนื่องจากเหรียญนี้จัดอยู่ในทำเนียบ ชุดที่หลวงปู่ท่านไม่ได้อธิษฐานจิตเพียงองค์เดียว เพียงแต่ทางคณะผู้สร้าง คือ ทางมูลนิธิ รร.บุญคุ้ม ปทุมธานี เขาก็ให้หลายๆครูบาอาจารย์ช่วยอธิษฐานจิต หลวงปู่ดู่ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งพระเกจิแต่ละองค์ในยุคนั้นก็ถือว่าระดับสุดยอดทั้งนั้น เช่นอย่าง ลป.ดู่ , ลป.ชื้น, ลป.เส็ง, ลป.รอด, ลป.เจ็ก ปทุม ฯลฯ และยังนำเข้าพิธีใหญ่รวมอีกหลายที่

    แต่การจะจัดเป็นชุดวัตถุมงคลของท่านโดยตรงโดยเฉพาะ ค่อนข้างจะทำได้ยากครับ

    นอกจากควรแยกออกมาอีกชุดหนึ่ง อาจใช้ชื่อว่า "ชุดที่หลวงปู่ร่วมอธิษฐานจิต" ซึ่งก็ต้องดึงชุดของ อ.สุทันว์ ออกมาจัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยครับ ตามความคิดเห็นในกระทู้ที่ 8701 ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2012
  16. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    ขอบคุณขอรับท่าน SKTC ที่ช่วยตรวจทานให้..อิ.อิ..มีรวม 6 รุ่นครับ แต่ผมพิมพ์หัวผิดไว้ว่า 7 รุ่น เดี่ยวต้องไปแก้ไขใหม่ขอรับ..

    อาจเป็นความเคยชินน่ะครับ เวลาเรานับพระในชุดเรา ก็จะเห็นเป็นปกติว่าชุดนี้มี 7 องค์ ก็เลยพิมพ์จั่วหัวไว้ก่อน เพราะเวลาเรียงในกล่องเราจะแยกพิมพ์เหนือพรหมออกเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อโลหะผสม กับเนื้อทองเหลือง ก็เลยดูเหมือนเป็น 7 องค์ไป แต่เวลาเราเขียนต้องเขียนเป็น 6 รุ่นจึงจะถูกต้อง เพราะเนื้อหานั้นเรามาแยกกันเองว่าองค์ไหนเนื้อโลหะแก่อะไร

    อนึ่งถ้าจะว่ากันจริงๆ ชุดปี 2522 ทั้งหมด ต้องนับว่ามี 9 รุ่น จึงจะถูกต้องครบถ้วน คือ จะต้องบวกชุด 2 หน้าทั้ง 3 พิมพ์ คือ พรหมสองหน้า เสมาสองหน้า และบัวข้างเหลียมสองหน้าเข้าไปด้วย

    แต่เนื่องจากในหัวข้อนี้ เป็นเรื่องการอธิบายเพื่อให้นักเล่นใหม่จดจำง่ายๆ ในรุ่นที่เล่นหากันเป็นปกติทั่วๆไป ชุดสองหน้ามีน้อยมากเพียงพิมพ์ละ 40 องค์ นานๆจะมีหมุนเวียนเข้ามาในตลาดสักที ผมเลยตัดออกไป เพื่อไม่อยากให้นักสะสมใหม่ต้องจดจำมากเกินไปจนเกินความจำเป็น แต่ในรายการพระรวมในบทที่ 4 มีรายละเอียดทุกรุ่นครบหมดแล้วครับ

    ขอบคุณท่านสมเกรียติครับ ที่ช่วยกันสอดส่องดูแลความถูกต้อง


    อย่างไรก็ดี..เดี๋ยวผมจะกลับไปแก้ไขใหม่ครับ..เอาให้ครบทั้งหมดในรุ่นปี 2522 ไปเลยดีกว่า จะได้ไม่งง..แต่จะหมายเหตุไปว่าชุดสองหน้าทั้งสองพิมพ์ไม่ต้องจำมากหรอก..เดี๋ยวจะมากเกินไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2012
  17. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    นักสะสมเรา บางทีก็ชอบเรียกชื่อพระไปตามหนังสือเล่มเขียว อย่างพระชัยวัฒน์หล่อโบราณรุ่นแรก ปี 2519 บางคนก็เรียกชื่อว่า รุ่นคลุมโปง 19 บ้าง แต่บางคนก็เรียกพระชัยวัฒน์ รุ่นแรกบ้าง แล้วแต่ใครจะถนัดปาก

    จึงทำให้พระชัยวัฒน์ในชุดหล่อปี 2522 นี้..ต้องกลายเป็นรุ่นสองไปโดยปริยาย (หนังสือเล่มเขียวก็เขียนไว้เช่นนั้น)

    แต่ถ้าโดยส่วนตัวผม ความจริงชอบแรกแบบง่ายๆมากกว่า รุ่นพระชัยวัฒน์คลุมโปง 19 กับรุ่นพระชัยวัฒน์ ปี 22 ก็เท่านั้น

    แต่เราก็ต้องเขียนระบุชื่อไปเช่นนั้น ก็เพราะหนังสือเลมเขียวเขาระบุไว้แต่เดิม จะไปเปลี่ยนแปลงก็ไม่ดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2012
  18. ศิษย์ต่างแดน

    ศิษย์ต่างแดน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,011
    ค่าพลัง:
    +3,448
    คุณพี่โจ ยังไม่นอนอีกหรือครับ อนุโมทนาขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับพระหลวงปู่
     
  19. Jopaa

    Jopaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +4,867
    พี่โจ สวัสดีครับพี่

    มีเรื่องรบกวนหน่อยครับ เผอิญอยากรู้เรื่อง อยากรู้ประวัติเหรียญหยดน้ำปี32 นะครับ ที่มีอุณาโลมนะครับ อยากรู้จริงๆครับพี่ว่าทันหลวงปู่ดู่ปลุกเสกหรือป่าว พี่พอรู้ประวัติหรือมีหลักฐานชัวร์ๆๆ ไหมครับ และผมพอได้ยินมาว่านักเล่นสายตรงลึกๆ จะเลือกเก็บแต่เฉพาะรุ่นที่ไม่มีอุณาโลม จึงอยากจะรู้ว่าลึกๆแล้วทันหรือไม่ทันกันแน่อย่างไรครับ

    และเห็นในเว๊ปบางเว๊ป ก็เอาเรื่องนี้ไปลงเหมือนกัน ว่ารุ่นที่มีอุณาโลมนั้นบางเนื้อถึงจะทันหลวงปู่ปลุกเสกเช่น

    url=http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=643609&storeNo=328]

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ : ขอโทษน่ะครับ..ที่ต้องขออนุญาตินำเอาข้อความ Pm.ฉบับนี้ Copy มาให้ดู

    เนื่องจากเห็นว่าเป็นคำถามที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม จึงขออนุญาติตอบดังนี้น่ะครับ

    เรื่องเหรียญหล่อหยดน้ำรูปเหมือน ลป. ดู่ (จิ๋ว) รุ่นปี 2532 จะแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ

    1. พิมพ์ด้านหลังปกติ (มีรอยมือจารหลวงลุงดำ)
    2. พิมพ์ด้านหลังอุณาโลม ( ไม่มีรอยมือจารหลวงลุงดำ)

    ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ ทั้งสองรุ่นจะมีราคาเล่นหาต่างกัน โดยพิมพ์ปกติจะเล่นหาแพงกว่า ด้วยเชื่อว่าเป็นพิมพ์ที่ทันหลวงปู่ท่านอธิษฐานจิตให้แน่นอน

    ส่วนอีกพิมพ์หนึ่งคือ พิมพ์อุณาโลมหลัง นักเล่นสายตรงบางท่านก็ว่าทัน บางท่านก็ว่าไม่ทัน ปัจจุบันก็ยังสับสนกันอยู่

    ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงเช่นนั้นครับ..กลุ่มเราหรือทุกคนก็เคยสับสน จนทีสุดก็ได้ เซียนนิวส์ เรานี่แหละ เขาไปถามหลวงลุงท่านตรงๆเลย ว่าที่ถูกต้องทันหรือไม่ทันกันแน่อย่างไร ?

    ก็เป็นที่สิ้นสุดว่า " ทัน " แน่นอนครับ ทั้งสองรุ่น ต่างกันแต่เพียงว่า พิมพ์ปกติจะออกมาก่อน และถูกจองหมดตั้งแต่แรก จึงทำพิมพ์ที่มีอุณาโลมเสริมภายหลัง (เหมือนกรณีเหรียญยันต์ดวง พิมพ์ธรรมดา กับพิมพ์นิยมยันต์ทะลุ) และการที่พิมพ์หลังอุณาโลม ไม่มีรอยมือจารหลวงลุง ท่านว่าท่านจารไม่ไหว เหรียญมันเล็กมาก พื้นที่จารก็แทบจะไม่มี ท่านว่าถ้าจะไม่ทันจริงๆ ก็ต้องโน้นรุ่นที่เอาไปให้หลวงปู่เกษมทำให้นู้น ( หยดน้ำเนื้อเงินปี 2533 )

    ดังนั้นคำตอบนี้ จึงน่าจะถือว่าเป็นที่สิ้นสุดได้น่ะครับ

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2012
  20. ส่างปา

    ส่างปา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,531
    ค่าพลัง:
    +11,165
    ไม่ทราบว่ารู้จักเหรียญนี้บ้างหรือเปล่าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • page.jpg
      page.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102.3 KB
      เปิดดู:
      134
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...