จิ. เจ. รุ. นิ.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 31 สิงหาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

    โลภะข้อที่ ๖ นี้
    จะดูตัวอย่างได้ในข้อที ๕ จะคล้ายกันมาก
    แต่จะเปลี่ยนตรงที่เป็นอสังขาริก มาเป็น สสังขาริก
    คือ อสังขาริกนั้นไม่ต้องมีผู้ชักชวน แต่ สสังขาริกนั้นต้องมีผู้ชักชวน
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ยกตัวอย่างโลภะข้อที่ ๗
    เมื่อนึกอยากจะทานมะม่วง จึงได้ไปขอเขามาหรือไปซื้อมา
    เมื่อได้สิ่งที่ต้องการมาแล้วก็เกิดความรู้สึกเฉยๆ

    เมื่อนึกอยากกินมะม่วง (อกุศลโลภมูลจิตฺตํ)
    จึงได้ไปขอเขามาหรือไปซื้อมา (ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ)
    เมื่อได้สิ่งที่ต้องการมาแล้วก็เกิดความรู้สึกเฉยๆ (อุเปกฺขาสหคตํ)
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๘. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

    ยกตัวอย่างโลภะข้อที่ ๘
    เมื่อมีผู้ที่นำมะม่วงมาขายและแนะนำให้ซื้อ เมื่อผู้ขายแนะว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เกิดอยากกินอยากลอง จึงตกลงซื้อมะม่วงนั้น เมื่อซื้อมาแล้วก็เฉยๆ

    เมื่อมีผู้ที่นำมะม่วงมาขายและแนะนำให้ซื้อ เมื่อผู้ขายแนะว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ = ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    ก็เกิดอยากกินอยากลอง = กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จึงตกลงซื้อมะม่วงนั้น เมื่อซื้อมาแล้วก็เฉยๆ = อุเปกฺขาสหคตํ
     
  4. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    กาย วาจา ใจ ศักดิ์สิทธิ์ เกิดขึ้น เพราะ รวม จิต ให้เป็น หนึ่ง

    การบังคับ จิต คน ได้ต้องยึด ทาน ศีล สมาธิ ควบคู่ กันไป เคารพ ใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    จึงเกิดเป็น วาจา ศักดิ์สิทธิ์ หรือ บังคับ จิต คนได้ บังคับให้เค้าทำดี บังคับให้เค้ารู้ใน พระตถาคต ถือว่าเป็น วาจา ศักดิ์สิทธิ์

    แบบ นี้เรียก ว่าอะไร ครับ ลุงหมาน
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    กาย วาจา ใจ ศักดิ์สิทธิ์ เกิดขึ้น เพราะ รวม จิต ให้เป็น หนึ่ง
    มโน สุจริต ย่อมยัง กาย วาจา ให้สุจริต เรียกว่าสุจริต ๓ เมื่อสุจริต ๓ เกิดขึ้นกับผู้ใด
    ผู้ฟังผู้ที่สนทนาด้วยก็ย่อมมีความเคารพเชื่อถือกับผู้มีสุจริต ๓ ความศักดิ์สิทธิ์ย่อมมีแก่ผู้นั้น

    การบังคับ จิต คน ได้ต้องยึด ทาน ศีล สมาธิ ควบคู่ กันไป เคารพ ใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ต้องสร้างศรัทธาให้เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ว่าปฏิบัติแล้วเห็นผลได้จริง
    เรื่องการปฏิบัตินั้นก็เป็นไปในเรื่อง ทาน ศีล สมาธิ และก็เคารพ พระรัตนตรัย

    จึงเกิดเป็น วาจา ศักดิ์สิทธิ์ หรือ บังคับ จิต คนได้ บังคับให้เค้าทำดี บังคับให้เค้ารู้ใน พระตถาคต ถือว่าเป็น วาจา ศักดิ์สิทธิ์
    วาจาศักดิ์สิทธิ์ คือคนที่พูดแต่ความจริง ก็สามารถทำให้ผู้ฟังเชื่อในสิ่งที่ตนพูด และก็นำไปฏิบัติ นั่นแหละเรียกว่าวาจาศักดิ์สิทธิ์
    แบบ นี้เรียก ว่าอะไร ครับ ลุงหมาน
    อย่างนี้เรียกว่าศรัทธาหรือความเชื่อครับ
     
  6. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    จิตใจที่ดีย่อมเห็นประโยชน์ได้จากทุกสิ่ง
    ใช่ป่าวคะลุง

    แม้แต่หมาเน่ายังเอามาคิดให้เกิดธรรมได้
    ธรรมะไม่ว่าใครจะกล่าว ย่อมให้ประโยชน์
    ถ้าเราไม่ศรัทธาเค้า แต่หากเค้ากล่าวธรรมที่เป็นประโยชน์
    เราจะเห็นข้อธรรมที่มีประโยชน์ หรือจะมุ่งไปหาที่ตัวบุคคล

    แต่หากเรามุ่งไปที่ตัวบุคคล เราก็ไม่ได้ประโยชน์
    และทำให้จิตเราเกิดอกุศลด้วย

    เพราะอ่านธรรมะที่ถูกต้อง แต่อารมณ์เสีย
    เกิดอกุศลแก่ตัวผู้อ่านแล้วค่ะ
    อ่านแล้วมานั่งหงุดหงิดว่า เค้าอวดรู้ อวดเก่ง
    มุ่งไปที่ตัวบุคคลแล้ว คนที่เสีย คือ คนอ่าน

    ส่วนคนเขียนธรรมะ เค้าก็เขียนด้วยจิตที่ตั้งไว้แล้ว
    เหมือนของที่วางแจก ใครจะหยิบหรือไม่หยิบไป ก็ช่าง

    เค้าให้แบบคว่ำขัน
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๑. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโทสมูลจิตฺตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ขอยกตัวอย่างโทสะดวงที่ ๑
    นั่งนึกถึงอดีตว่าคนที่เรารักเราเคยทุ่มเทให้ทุกอย่าง แต่มาบัดนี้กลับมาทิ้งเราไปเสียได้ (อสังขาริกํ)
    จึงมานั่งคิดเสียใจน้อยใจและโกรธอามฆาตแค้น (โมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ )
    ว่าถ้ามีโอกาสเมื่อไหร่จะแก้แค้นให้สาสมใจเลย เป็นต้น (กามาวจรอกุศลโทสมูลจิตฺตํ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กันยายน 2012
  8. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ความเป็นจริงพระสงฆ์ท่านรักษาพระธรรมเอาไว้ไม่ให้ตกหล่น
    ได้มาจาก

    การจำ
    การท่อง
    การเขียน
    และอีกหลายๆทาง
    เอามานำสื่อว่าเป็นปริยัติ

    สิ่งที่เรานำมาท่องมาจำมาเขียนมา
    คือสิ่งที่เราไปศึกษาพระธรรม
    และเอามาจากพระธรรมมะของพระพุทธองค์
    เราจำได้แม่นเยี่ยมเราทำการจำ

    การจำคือการรู้หรือไม่ขอรับ
    และการรู้นี้หมายถึงพระพุทธองค์ท่านกล่าวว่า
    งามทั้งเบื้องต้น เปลี่ยนแปรท่ามกลาง และก็ยังงดงามอยู่ที่บั้นปลาย

    อะไรคือต้นครับ และอะไรคือบั้นปลาย
    ผมถามว่าจะจบลงตรงจุดไหนนะขอรับ
    แล้วเริ่มต้นควรเริ่มที่จุดไหนดี

    หากมุมมองสั้น
    เริ่มกุศลาจบตรงเอวังหรือไม่ขอรับ

    ผมไม่ได้มีโทสะโมหะราคะหรือสมมุติต่างๆที่นำเสนอมาว่าถามเพื่ออะไร
    ที่ถามเพราะผมไม่รู้ขอรับ ขอลุงหมานช่วยชี้แนะแนวทางด้วยครับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วครับ
     
  9. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา พึงคบหาแต่บัณฑิต

    ให้อีกหนึ่ง บท ของลุงหมาน
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปุจฉา
    ความเป็นจริงพระสงฆ์ท่านรักษาพระธรรมเอาไว้ไม่ให้ตกหล่น
    ได้มาจาก

    การจำ
    การท่อง
    การเขียน
    และอีกหลายๆทาง
    เอามานำสื่อว่าเป็นปริยัติ

    สิ่งที่เรานำมาท่องมาจำมาเขียนมา
    คือสิ่งที่เราไปศึกษาพระธรรม
    และเอามาจากพระธรรมมะของพระพุทธองค์
    เราจำได้แม่นเยี่ยมเราทำการจำ


    วิสัชชนา
    ใช่ครับ...พระสงฆ์คือสาวกของพระพุทธเจ้า
    ก็ต้องทรงจำคำสอนและนำไปปฏิบัติ และยังต้องทรงจำนำไปเผยแผ่อีกด้วย

    ปุจฉา
    การจำคือการรู้หรือไม่ขอรับ
    และการรู้นี้หมายถึงพระพุทธองค์ท่านกล่าวว่า
    งามทั้งเบื้องต้น เปลี่ยนแปรท่ามกลาง และก็ยังงดงามอยู่ที่บั้นปลาย

    วิสัชชนา
    การจำก็คือการจำ การรู้จริงต้องศึกษา
    เช่นว่า บางท่านสวดมนต์เก่งนั้นอาศัยการจำมา
    บางคนสวดมนต์เก่ง รู้ความหมายด้วยแล้วนำไปปฏิบัติจนได้เกิดเห็นจริง อันนนี้รู้จริง

    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
    พระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาเจ้าตรัสไว้ดีแล้วพระธรรมจึงได้ชื่อว่า
    ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
    คือ งามทั้งเนื้อความ งามทั้งถ้อยคำที่แสดง และงามทั้งความมุ่งหมาย
    เป็นความงามบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ปุจฉา
    อะไรคือต้นครับ และอะไรคือบั้นปลาย
    ผมถามว่าจะจบลงตรงจุดไหนนะขอรับ
    แล้วเริ่มต้นควรเริ่มที่จุดไหนดี


    วิสัชชนา
    ที่ว่างามในเบื้องต้น ก็คือทรงแสดง ศีล
    งามในท่ามกลาง ก็คือทรงแสดง สมาธิ
    งามในที่สุด ก็คือทรงแสดง ปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กันยายน 2012
  11. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ความอาฆาตแค้นนี่น่ากลัวนะคะ ปุถุชนไม่ว่าใคร หนียากนะคะ
    หนูว่า เห็นได้ง่ายในใจเรา แต่ยอมรับยากว่าเราอาฆาตเค้าแล้วนะ
    แล้วก็อภัยกันแค่ปาก หรือต่างคนต่างเดิน ให้อภัยกันจริงๆ อภัยกันยากมาก

    ดูใจตนเองง่ายๆ นึกถึงคนๆ นี้แล้ว ใจของตนเป็นอย่างไร ใจใครใจมัน
    จะปิดบังตนเองไม่ได้ ว่าแค้นเคืองทันที ขุ่นใจเล็กน้อย หรือเป็นๆ หาย
    นี่แสดงว่า ยังอาฆาตอยู่ การกระทำก็ยังตามมาได้บ้างเมื่อสบโอกาส
    มีการพูดถากถางเสียดสีแบบลอยๆ ไม่เจาะจงบ้าง พูดเหมือนไม่อาฆาต
    แต่อาฆาต ไม่กล้ากล่าวตรงๆ ยิงคำพูดไปยังคู่กรณี เพราะกลัวเสียหน้า
    บางคนหัวหมอ นำธรรมะมากล่าวเชิงกระทบกระเทียบฝ่ายตรงข้าม
    อันนี้บาปหนัก นำธรรมะมาเป็นเครื่องมือเสียดสีกระทบคน บาปหนัก
    เพราะพระพุทธเจ้าสูงสุดแล้ว พระพุทธองค์ยังเคารพพระธรรมว่าสูงกว่า

    แล้วความอาฆาตนี่ปิดบังกันยากนะ เห็นได้แม้ในคำพูดที่ดูเหมือนจะเนียนๆ
    แต่แฝงด้วยความอาฆาตมีอยู่ ความอาฆาตอยู่ในคนๆ ไหนคนๆ นั้น
    ร้อน และแผดเผาใจพร้อมร่างกายก็โดยไฟอาฆาตเผาด้วย
    ทำให้รูปร่างหน้าตาหมอง ไม่ผ่องใส เรียกว่า หมองทั้งกายทั้งใจ

    ผิดกับผู้ที่มีเมตตา พอมองไปเห็นรูปร่างหน้าตาผ่องใส แม้ว่าจะหน้าดำ
    ปี๊ดปี๋เพราะเป็นคนผิวดำ แต่ความเบิกบานผ่องใสจะฉายแววออกมา
    ที่หน้าตา แววตา ชัดเจนค่ะ

    โทสะมากๆ นี่อันตราย ลงนรกได้ง่ายๆ
    ให้อภัยกันดีกว่า แม้จะยากมาก แต่ก็ควรทำค่ะ
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอบคุณครับศึกษาธรรมะเข้าใจธรรมะ
    ธรรมะของพระพุทธองค์นั้นเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาหาที่สุดมิได้
    บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เหมือนผ้าขาวที่วางไว้ บางคนเอาธรรมะมาย่ำยี
    โดยเอาธรรมะของพระองค์มาเป็นเครื่องมือเสียดสีผู้อื่น
    พยายามจะเอา กิเลส ตัณหา ทิฎฐิ มานะ ของตนเข้าไปยัดเยียดหรือปลอมปนไว้
    ทำให้ธรรมะที่เป็คำสอของพระพุทธองค์เสียหาย<!-- google_ad_section_end --> เศร้าหมอง
    ทำตนเป็นผู้สอนว่า ไม่ต้องไปศึกษาให้มากลงมือปฏิบัติเลย
    ถ้ามองให้ลึกซึ้งจะเห็นได้ว่าเป็นการเข้าไปตัดทอนคำสอนของพระองค์ว่า
    ไม่มีประโยชน์ ยกภาษิตอะไรต่อมิอะไรที่นอกเหนือคัมภีร์มาอ้างอิง
    ทำตนเป็นคนที่รู้มากอ่านมามาก แล้วมาบอกว่าถ่อมตนก็เพื่อกลบล่องรอยด่างตนฉะนั้นแล
    การศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญาที่รู้จริง เมื่อรู้จริงจะมีไหมที่จะไม่นำไปปฏิบัติ
    (ยกเว้นคนที่ศึกษาแล้วไม่รู้จริง เช่น ศึกษามาแล้วลืม)
    พยายามจะแยกปริยัติกับการปฏิบัติออกจากกัน ดังที่กล่าวหากันว่าเรียนปริยัติขาดการปฏิบัติ
    แท้จริงแล้วปริยัติกับการปฏิบัตินั้นต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นนิสสยปัจจัย

    การให้อภัยหรืออโหสิกรรมใช่ว่าเพียงจับมือกันแล้วเดินจากกันไปเท่านั้น
    มันจะเป็นได้เพียงการสร้างภาพเท่านั้นเอง ปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2012
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๒. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโทสมูลจิตฺตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

    ยกตัวอย่างโทสะดวงที่ ๒

    เช่นว่า ได้มีมาบอกว่า คนที่เพื่อนสนิทรักใครชอบกันกับเรานินทาเราพูดใส่ร้ายเรา สสงฺขาริกํ
    เมื่อได้ฟังเนื้อความแล้วก็เกิดความน้อยใจเสียใจว่าเรื่องทั้งหลายไม่เป็นความจริง โทมนสฺสสหคตํ
    จึงโกรธผูกอาฆาตแค้นปฏิฆสมฺปยุตฺตํ
    คนที่มาว่ากล่าวเราทั้งๆที่ไม่เป็นความจริง (หรือเป็นเรื่องจริงก็ไม่ควรเอาเรื่องนี้มาเปิดเผย)กามาวจรอกุศลโทสมูลจิตฺตํ
     
  14. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741

    ค่ะลุง การให้อภัยใครสักคนเป็นเรื่องยากมากๆ
    ยากจริงๆ ตามธรรมดาที่กระทำกันโดยทั่วไปคือ ต่างคนต่างอยู่
    แต่ถ้าสามารถมี หิริ โอตตัปปะ ก็จะไม่ก่อเวรกันค่ะ
    จะหยุดกล่าวร้ายต่อกันได้ค่ะ

    ไม่มุ่งแต่จะไปชนะคนอื่นค่ะ มุ่งมาที่ใจตนเองเป็นสำคัญค่ะ
     
  15. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    วิสัชชนา
    ที่ว่างามในเบื้องต้น ก็คือทรงแสดง ศีล
    งามในท่ามกลาง ก็คือทรงแสดง สมาธิ
    งามในที่สุด ก็คือทรงแสดง ปัญญา[/QUOTE]

    แสดงว่ากอบัวที่จะรอดจากปากเต่าได้นั้นต้องรักษาศีลและเอาศืลหุ้มห่อตนเพื่อมาพบสมาธิ และเพื่อเจริญปัญญาได้หรือไม่ขอรับ
    กระผมเข้าใจมาทางนี้เป็นเหตุอันใกล้ไหมขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้ว
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กันยายน 2012
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แสดงว่ากอบัวที่จะรอดจากปากเต่าได้นั้นต้องรักษาศีลและเอาศืลหุ้มห่อตนเพื่อมาพบสมาธิ และเพื่อเจริญปัญญาได้หรือไม่ขอรับ
    กระผมเข้าใจมาทางนี้เป็นเหตุอันใกล้ไหมขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้ว[/QUOTE]

    ไม่ทราบคำถามจริงๆว่า
    ทำไมกอบัวจะต้องรักษาศีล
    ศีลมันจะไปเกี่ยวข้องกับกอบัวด้วย
    ถามมาใหม่ถามลึกซึ้งเกินไปตอบไม่ได้ครับ
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    -โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต ซึ่งมีจำนวน ๒ ดวงนั้น คือ


    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ อสังฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโมหมูลจิตฺตํ
    จิตหลงเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความสงสัย เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ยกตัวอย่างโมหะดวงที่ ๑
    จิตที่คิดสงสัยว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะมีผลจริงหรือ สวรรค์นรกมีจริงหรือ
    บาปบุญมีจริงหรือ ตายแล้วเกิดจริงหรือ ตายแล้วสูญจริงหรือ เหล่านี้เป็นต้น
    เป็นสงสัยที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครชักชวน คือคิดขึ้นมาเองก็โง่เอง หรือเรียกอีกอย่างชักชวนตัวเองให้โง่
    วิจิกิจฉานี้เปรียบได้ดังบุคคลที่ยืนอยู่ที่ทางสองแพร่งเพียงกำลังจะตัดสินใจว่าจะเดินไปทางไหนดี
    เพราะความลังเลสงสัยเวทนาจึงเป็นอุเบกขาเวทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กันยายน 2012
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๒. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ อสังฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโมหมูลจิตฺตํ
    จิตหลงเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ขอยกตัวย่างโมหะดวงที่ ๒
    จิตที่คิดเกิดความฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ไปในอดีตบ้าง ไปในอนาคตบ้าง
    ที่จับอารมณ์ไม่มั่น จะเป็นไปในทางโลภะโสมนัสก็ไม่ใช่
    จะเป็นไปในทางโทสะก็ไม่ใช่ เป็นจิตที่หลงไปในอารมณ์ต่าง
    อารมณ์ใดที่เกิดขึ้นก็รู้สึกเฉยๆ และฟุ้งไปเรื่อยๆ ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการชักชวน
    ผู้ที่สติเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ที่เรียกว่าจิตตานุปัสสนา จิตฟุ้งก็รู้ว่าจิตฟุ้งเหล่า
    นี้ เป็นต้น​
    [​IMG]
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กันยายน 2012
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อเหตุกจิต 18 ดังนี้
    [​IMG]
    คลิ๊กดูภาพขยายได้ครับ

    -อกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของบาปอกุศล ซึ่งมีจำนวน ๗ ดวงนั้น ได้แก่

    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล เห็นรูปที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๒. อุเปกขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้ยินเสียงที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๓. อุเปกขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้กลิ่นที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๔. อุเปกขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้รสที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๕. ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา เป็นผลของอกุศล กายถูกต้องสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๖. อุเปกขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนจิตฺตํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๗. อุเปกขาสหคตํ สนฺตีรณจิตฺตํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผล เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กันยายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...