จิ. เจ. รุ. นิ.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 31 สิงหาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ไม่รุนะว่าใครคอยถือกล้องคอย แชะ แชะ แชะ คอยจับผิด

    คำว่า เหมือน เป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไป
    คำว่า คือ เป็นภาษาทางภาคอิสานเป็นภาษาท้องถิ่น
    ไม่รุนะว่ามีคนตามตูดต้อยๆๆ
     
  2. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    อ้าว.......(ไม่ได้ร้อน)นะ
    ก็ไม่มีป้ายบอกว่า.........ห้ามตามตูดต้อยๆ
    ก็เห็นอยากเดินตามตูดเขาต้อยๆ........
    หยุดก็ไม่บอก....เอ่อ 555+
    ก็ได้.... ก็ได้.......
    ไปก็ได้.........
    ขอบคุณอีกครั้งคะ สำหรับข่าวดี และธรรมดีๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  3. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ลุงๆๆๆ เหลืออีกนิดส์นึง
    มโนวิญญาณธาตุ เป็นธาตุรู้ที่รู้ได้ เตกาสิคคือ ทั้ง3 กาล
    และกาลวิมุตติด้วย คือ นิพพานและบัญญัติ

    อิๆ ลุง
     
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พูดถึง อารัมมณะสังคหะ (จำแนกจิตเจตสิกโดยการรับอารมณ์)
    ก็นึกถึง อารัมมณูปณิชฌาน
    อารัมมณะสังคหะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กันยายน 2012
  5. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ถ้านับว่า 4 อสงไขย แสนมหากัปป์ ที่ผ่านมาของพระพุทธองค์
    เป็นการศึกษาปริัยัติของพระพุทธองค์ แล้วล่ะก็

    ความเป็นสยัมภู คือตรัสรู้ได้เองโดยไม่มีใครสั่งสอน
    ของพระพุทธองค์ก็เป็นโมฆะ ไปแล้วสิ
    ถ้าเป็นอย่างที่คุณว่า พระพุทธองค์จะทรงเป็นสยัมภูได้เหรอ
    ต้องไปเรียนปริยัติมาก่อน 4 อสงไขย แสนมหากัปป์
    ถึงจะตรัสรู้ แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าสยัมภูเหรอ

    การสั่งสมปัญญาบารมี ก็คือสั่งสมปัญญาบารมีสิ

    ผมว่าคุณควรจะเปิดใจให้มากกว่านี้นะ
    อย่าเอาทิฏฐิมานะอวดรู้อวดฉลาดมาใช้
    ก็เอาธรรมะของพระพุทธองค์นั่นแหละมาอบรมจิตใจ

    การบรรลุธรรมท่านก็มี โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์
    เป็นขั้นเป็นตอนไปนั่นแหละ

    จะถามหาทำไมองค์ภาวนา
    เอาไตรสิกขา ข้อที่ควรศึกษา มาศึกษามาปฏิบัติสิ
    ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละเอามาปฏิบัติ
    จะไปจดจำแต่ตำรามันจะได้เรื่องอะไร
    จำมาแล้วก็เอามาปฏิบัติ
    นั่งหลับตาทำสมาธิไปสิ
    ไม่หลับตาทำสมาธิจิตมันเป็นสมาธิไม่หรอกนะ
     
  6. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ทวนความเข้าใจหน่อย
    คือมโนธาตุจะรับอารมณ์ต่อจากวิญญาณ๕
    คือทำหน้าที่รับอารมณ์อย่างเดียวรับเสร็จก็ส่งต่อแล้วก็หมดหน้าที่ของมโนธาตุ
    เข้าใจอย่างนี้ถูกมะครับ
     
  7. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ถูกค่ะ
    มโนธาตุ 3 อยู่ในปัจทวารวิถี
    ทวิปัญจวิญญาณจิต 10

    ไปก่อนนะคะ ลูกจะใช้เนททำการบ้านค่ะ
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คนที่เคยอ่านพระไตรปิฎกมาพอตัวน่ะย่อมจะต้องตีความในพระไตรปิฎกได้ดี
    การอ่านพระไตรปิฎกน่ะไม่ใช่อ่านนิยาย ต้องตีความหมายให้ได้จะต้องมีครูบาอาจารย์ฝึกสอนการอ่าน
    ไม่ใช่นึกจะหยิบมาอ่านก็อ่านได้เลยเข้าใจได้เลย ดังจะเห็นได้ว่า
    ต้องมี อรรถกถาจารย์ อนุฎีกาจารย์ เป็นต้น ท่านได้ขยายธรรมไว้ให้แล้ว
    การฟังธรรมใช่เป็นศึกษาปริยัติหรือเปล่า
    ในสมัยที่พระโพธิสัตว์พบพระพุทธเจ้าที่ชื่อพระทีปังกรนั้น
    พระโพธิสัตว์ของเราจะตรัสรู้เป็นอรหันต์เข้าปรินิพพานเสียเลยตอนนั้นท่านก็สามารถทำได้
    แต่พระโพธิสัตว์จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปให้หมู่สัตว์ว่า
    ส่วนเราเป็นผู้ข้ามได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังข้ามไม่ได้ ส่วนเราเป็นผู้พ้นไปแล้ว
    แต่สัตว์โลกยังไม่พ้นไป เราจะให้พ้นได้ด้วย เพราะท่านมีความกรุณาต่อสัตว์โลก
    จึงไม่ปรินิพพานเสียตั้งแต่ตอนนั้น และตอนนั้นท่านขึ้นชื่อเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระทีปังกรณ์
    มีไหมที่จะไม่เคยฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าคิดให้เป็นหน่อย

    ศีล สมาธิ ปัญญา ไปเอามาแต่ไหนถ้าไม่ได้ศึกษามา อยู่ดีๆจะรู้ได้ไหม
    เอางี้ถามว่าสวดมนต์เป็นไหมถ้าไม่อ่านตำราหรือฟังเขาสวดมา
    ยังจะทำตัวเหมือนว่ารู้เองเห็นเองอยู่นั่นแหละ
    จะรู้เองเห็นเองมันก็ต้องตรงคำสอน แล้วคำสอนมาจากไหนก็มาจากตำรา

    -เอาธรรมะมาอบรมจิตน่ะ แล้วรู้ธรรมะมาจากไหนล่ะ
    -ไม่รู้องค์แห่งการภาวนา ก็ไปนั่งหลับเฉยๆน่ะซิ
    -นั่งหลับตาจึงจะเกิดสมาธิ แล้วกิริยาบท ๔ ที่สอนกันเขามีไว้ทำอะไร
    สมาธิน่ะประหารกิเลสอะไรได้บ้าง จึงจะบรรลุมรรคผลได้ มีกล่าวไว้เพียงให้ได้ฌาน อภิญญา เท่านั้น
    เสร็จแล้วก็ต้องกลับมาเกิดอีก การทำสมาธินั้นเป็นการทำเพื่อการเกิดอีก เป็นการทำเพื่อเอามาหรือทำให้มีขึ้น
    ไม่มีการที่จะทำแล้วให้ไปลดไปละไปเลิกไปประหารตรงไหนได้เลย
    เอาน่าศึกษาธรรมให้ดีๆ แล้วจะรู้ว่าที่ทำอยู่น่ะถูกต้องไหม อย่าไปรู้เพียงเขาบอกมาเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กันยายน 2012
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ดังที่คุณ JitJailove อธิบายไว้นแหละถูกต้องครับ
    และที่คุณเข้าใจตรงนี้แหละถูกต้องครับ
    มโนธาตุจะรับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๕ แต่ต้องทางทวารใดทวารหนึ่งเท่านั้น
    มิใช่ว่าจะรับพร้อมกันทั้ง ๕ ทวารเลยนะครับ การเกิดขึ้ของมโนธาตุนั้นเกิดขึ้น
    มารับชั่วขณะจิตเดียวแล้วก็ดับลง
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คุณปุณฑ์ คุณรู้ไหมว่าคุณกำลังเปิดตำราเรียนอยู่นะครับ
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE id=pid151 cellSpacing=0 summary=pid151 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=plc><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_151 class=t_f>จิตปรมัตถ์
    ขณะที่เห็นสีต่างๆ ทางตานั้น ตาไม่เห็นอะไร ตาเป็นเพียงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเห็นซึ่งเป็นจิต
    เมื่อเสียงกระทบหู หูไม่ใช่จิต เพราะเสียงและหูไม่รู้อะไร แต่สภาพธรรมที่ได้ยินเสียง หรือรู้เสียงนั้นเป็นจิต
    ฉะนั้น จิตปรมัตถ์จึงเป็นสภาพธรรมที่รู้สี รู้เสียง รู้สิ่งต่างๆ ปรมัตถธรรมคือ สภาพธรรมที่มีจริงนี้เป็นอภิธรรม
    เป็นธรรมที่เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย
    แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ประสูติ และตรัสรู้ สภาพธรรมทั้งหลาย ก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่แล้ว
    [อังคุตตรนิกาย อุปปาทสูตร ข้อ ๕๗๖] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระบรมศาสดา
    เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
    และธรรมทั้งปวง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น

    คำว่า อภิ แปลว่ายิ่งใหญ่ อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นอนัตตา
    ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว
    พระองค์ทรงเทศนาธรรมทั้งปวงที่ทรงตรัสรู้ พร้องทั้งเหตุปัจจัยของธรรมทั้งปวงนั้น
    โดยสภาพความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ พระองค์ทรงเคารพธรรมที่ทรงตรัสรู้
    [สังยุตตนิกาย คารวสูตรที่ ๒ ข้อ ๕๖๐] พระองค์มิได้ทรงเทศนาว่า
    ธรรมทั้งปวงอยู่ในอำนาจของพระองค์ แต่ทรงเทศนาว่า แม้พระองค์เองก็ไม่สามารถบันดาลให้ผู้ใดพ้นทุกข์
    หรือบรรลุมัคค์ ผล นิพพานได้ การประพฤติปฏิบัติธรรมเท่านั้น ที่เป็นปัจจัยให้ผู้ปฏิบัติบรรลุมัคค์ ผล นิพพาน และพ้นทุกข์ได้
    ปรมัตถธรรม หรืออภิธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้ เพราะปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีจริง
    ฉะนั้น ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จึงเป็นการรู้ความจริงของปรมัตถธรรม ตามสภาพลักษณะของปรมัตถธรรมนั้นๆ
    จิตเป็นปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้น รู้สี รู้เสียง รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้สิ่งต่างๆ ตามประเภทของจิตนั้นๆ
    เช่น จิตที่เกิดขึ้นเห็นสีทางตาเป็นจิตประเภทหนึ่ง จิตที่เกิดขึ้นได้ยินทางหูเป็นจิตประเภทหนึ่ง
    จิตที่เกิดขึ้นรู้เย็น รู้ร้อน รู้อ่อน รู้แข็ง รู้ตึง รู้ไหวทางกายเป็นจิตประเภทหนึ่ง
    จิตคิดนึกที่เกิดขึ้นรู้เรื่องต่างๆ ทางใจเป็นจิตประเภทหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น
    ทั้งนี้ตามประเภทของจิต และตามปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตประเภทนั้นๆ
    ในขณะที่จิตกำลังเห็นสิ่งใดอยู่นั้น ขณะนั้นมิได้มีแต่เฉพาะจิตที่เห็นเท่านั้น
    หรือมิได้มีแต่เฉพาะสิ่งที่จิตเห็นเท่านั้น แต่ต้องมีทั้งจิตเห็นและสิ่งที่จิตเห็น
    เมื่อมีสิ่งที่ถูกเห็นขณะใด ก็แสดงว่าขณะนั้นต้องมีสภาพเห็น คือจิตเห็นด้วย
    แต่ถ้ามุ่งสนใจแต่เฉพาะวัตถุ หรือสิ่งที่ถูกเห็นเท่านั้น ก็จะทำให้ไม่รู้ความจริงว่า
    สิ่งที่ถูกเห็นนั้นจะปรากฏได้ก็เพราะจิตเกิดขึ้นทำกิจเห็นสิ่งนั้น ในขณะคิดนึกก็เช่นเดียวกัน
    เมื่อจิตคิดนึกเรื่องใด เรื่องราวนั้นเป็นคำที่จิตกำลังคิดนึกอยู่ขณะนั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งใด
    สิ่งที่จิตรู้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า อารมฺมณ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>






    </TD></TR><TR><TD class="plc plm"></TD></TR><TR><TD class=pls></TD><TD class=plc>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กันยายน 2012
  12. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    จิตเกิดดับอย่างนี้แล้วจะกำหนดทันได้ยังไง
    เราทำได้เพียงกำหนดตามใช่มะครับ
    ยกตัวอย่างเช่นขณะพิจารณาอารมณ์ทางจักขุทวาร
    แว้บเดียวเท่าันั้นที่เป็นจักขุวิญญาณ
    หลังจากนั้นก็เป็นการแยกแยะของเราว่าั้นั่นรูปารมณ์ นั่นจักขุปสาทรูปเกิด จักขุวิญญาณเกิด ซึ่งอารมณ์ที่พิจารณานั้นผ่านไปแล้ว
    จิตที่กำหนดกลายเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ไม่ใช่จักขุวิญญาณแล้ว แต่มีจักขุวิญญาณเป็นอารมณ์ ถ้าแยกไม่ผิดน่าจะเป็นอุเบกขาญาณสัมปยุตอสังขาริก
    ถูกต้องมะครับ
     
  13. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ลุงเพิ่งไปเมื่อกี้นี้เองค่ะ
    ลุงไม่ว่าง งานเยอะวันนี้ค่่ะ
    เราตอบให้ก่อนนะคะ

    เวลาเกิดทางปัญจทวาร ทำอะไรไม่ได้หรอกค่ะ
    เวลาจิตเกิดทางทวารขึ้นเป็นวิถีจิต
    วิถีจิตทางปัญจทวาร รวดเร็วมากๆๆๆ
    ยังไม่รู้อะไรเลย วิถีนี้ ตาก็รับแค่เห็นสี แต่นับเป็นช๊อทๆๆ
    ก็จะมีแค่เห็นเป็นจุด ทีละจุด
    ยังไม่รู้อะไรเลย

    มันจะมารู้เอาตรงที่ลง มโนทวารวิถี
    มันจะเกิดการรวบรวมข้อมูล ที่รู้มาจากปัญจทวารวิถี
    มีสัญญาเกิดว่า ที่เห็นนั้นคืออะไร
    มีอัตถะ และนามมัค คือ มีเนื้อเรื่องและชื่อมาปรากฏ
    เพราะมันสัญญามาก่อน

    ทีนี้แหล่ะ เกิด อกุศล หรือ กุศล
    จากการโยนิโส เต็มๆ ตรงทวารนี้แหล่ะค่ะ

    มันทำหน้าที่แบบเหมือนเส้นกร๊าฟ
    ลุงหมานอธิบายให้เราฟังมา
    ว่ามันเหมือนเส้นกร๊าฟ ที่ขึ้นแล้วลง

    อธิบายว่า จิตขึ้นมารับอารมณ์ที่แรง ทางทวารใดทวารหนึ่ง
    เกิดปัญจทวารวิถีในอารมณ์ที่แรงนั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปารมณ์
    ถึงโผฏฐัพพารมณ์
    แล้วก็ไปเกิดต่อที่มโนทวารวิถี เสร็จแล้ว
    ก็ขึ้นไปรับอารมณ์ทางปัญจทวารวิถีอีก อารมณ์ใดแรงก็รู้
    อารมณ์นั้น ทางทวารนั้นๆ แล้วก็ลงสู่ใจคือ มโนทวารวิถีอีก

    อธิบายแค่นี้ก่อนนะ
    งานมา ไปทำงานก่อนค่ะ
     
  14. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ขอบคุณครับ แต่ งงดีจัง
    เครื่องรับผมกำลังไม่พอแฮะ
    ขอไปอัพเครื่องก่อนละกัน
    ว่าแต่จะอัพไหวรึเปล่าเนี่ย:cool:
     
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ผมว่าคุณไปศึกษาความหมายของปริยัติให้ดี จะดีกว่านะ
    ถ้าไปตีความแบบคุณ พระพุทธองค์จะทรงเป็นสยัมภูได้ยังไง
    นี่ล่ะอ่านแต่ตำราแต่ไม่สนใจปฏิบัติ
    มันก็เข้าถึงความจริงไม่ได้
    ศาสนาจะสมบูรณ์แบบได้ต้องมีทั้ง ปริยัติ ปฏบัติ ปฏิเวธ

    ตีความแบบคุณมันมีคุณคนเดียวเท่านั้นแหละที่ตีความแบบนี้
    ถ้าว่ามี อรรถกถาจารย์ อนุฎีกาจารย์ คนไหนตีความแบบคุณ
    คุณก็เอาหลักฐานมาให้ผมดูหน่อยสิ ว่าอยู่ในตำราเล่มไหน
    นี่แสดงว่าคุยกันมานี่คุณเข้าใจผิดหมดเลยนะ
    ไม่ใช่สยัมภู ศีล สมาํืํธิ ปัญญา จะรู้เองได้เหรอ
    แต่ถ้าเป็นพระพุทธองค์ พระองค์จะทรงรู้เองเห็นเอง
    ผมก็ไม่ได้ว่าการเรียนปริยัติไม่ดีนี่

    มีแต่คุณนี่ล่ะมาพูดว่าผมต้องรู้ปริยัติอย่างนู้นอย่างนี้ถึงจะตัดสินได้
    ผมก็บอกว่าเมื่อรู้เองเห็นเองแล้วจะต้องไปเอาปริยัติมาพูดอะไรอีก
    เอาปฏิบัติมาพูดได้เลย ปริยัติกับปฏิบัติมันเป็นอันเดียวกัน
    ยังจะไปอ้างปริยัติอะไรอีก ถ้าผมไม่ศึกษาปริยัติแล้ว
    ผมจะปฏิบัิติได้เหรอ จะเกิดปฏิเวธได้เหรอ

    ผมถามจริง ๆ ที่คุยกันมานานสองนานนี่
    คุณไม่เข้าใจว่าข้อเท็จมันคืออะไรเลยเหรอ
    เห็นแต่แถไปเรื่อย หาหลักหาเกณฑ์ไม่ได้ซักอย่าง

    คุณคิดว่าหมดโลกนี้มีคุณอ่านตำราปริยัติอยู่คนเดียวเหรอ
    นี่ล่ะไม่รู้ว่าคนอื่นเค้าเป็นยังไง
    พูดเป็นตุเป็นตะ
    ต้องมีองค์ภาวนาอย่างนั้นอย่างนี้ สมาธิบรรลุมรรคผลไม่ได้
    คนอื่นเค้ารู้มาก่อนคุณแล้วครับ ไปงมอะไรอยู่ที่ไหน
    ถึงได้คิดว่าคนนั้นคนนี้เค้าจะไม่รู้เหมือนคุณ
    น่าตลกขบขันนะ

    จะอิริยาบถไหนก็ทำสมาธิไปเถอะทำได้
    มันไม่ต้องนั่งอย่างเดียวหรอก อิริยาบถไหนก็ทำได้
    คุณคิดว่าคนอื่นไม่รู้เหรอ
    ที่ยกมาว่านั่งหลับตาทำสมาธิไปนี่ เป็นยกมากล่าวเพียงย่อ ๆ เท่านั้นแหละ

    น่าตลกขบขันดี
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เราชอบเรียน(ค้น)จากกูเกิ้ล นี่แหละค่ะ บอกหลายครั้งแล้ว
    ครูบาอาจารย์หลายท่านสร้างเว็บดีๆไว้มาก
    เราก็หากินอยู่กับเว็บ 84000.. ธรรมะเกทเวย์
    อภิธรรมออนไลน์.. เว็บของที่มีคำสอน อ.บุญมี อ.สุชีพ อ.สุจินต์ .. ฯลฯ

    ไม่งั้น จะมาอนุโมทนาอาแปะบ่อยๆ ทำไม?

    แต่ที่สำคัญคงอยู่ที่ ปฏิบัติไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2012
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    มโนธาตุ เป็นนามธรรม มโนธาตุคือ ปัญจทวาราวัชชนจิต 1 ดวง และ สัมปฏิจฉันนจิต 2 ดวง (กุศลวิบาก 1 และ อกุศลวิบาก 1) จิต 3 ดวงนี้เป็นมโนธาตุ

    ธัมมธาตุ มีทั้งนามและรูป ธัมมธาตุ ได้แก่ เจตสิก สุขุมรูป และ นิพพาน

    มโนวิญญาณธาตุ เป็นนามธรรม ได้แก่ จิตทุกดวง เว้นทวิปัญจวิญญาณและมโนธาตุ
    มโนวิญญาณธาตุ คือ สันตีรณจิต มโนทวาราวัชชนจิต และจิตที่ทำชวนกิจ เช่น โลภมูลจิต เป็นต้น

    ปัญจวิญญาณธาตุ มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ ทั้งหมดนี้เป็น วิญญาณธาตุ

    http://www.dharma-gateway.com/ubasika/nina/abhidham-19.htm
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ผู้ใดทันจิต ผู้นั้นก็ข้ามโคตรแล้ว..

    ใครสนใจ นอกจากมาถาม หากอยากอ่านเอง
    น่าจะอ่านบทที่ 13 และ 15 ด้วยก็ดีจ๊ะ
    บทที่ 13 กิจของจิตในปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถี

    http://buddhiststudy.tripod.com/ch13.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2012
  19. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    มีหนังสืออ่านด้วย เสร็จผมล่ะ ขอบคุณนะครับ:cool:
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ................เจ้ ผู้ ใดทันจิตผู้นั้น ข้ามโคตรแล้วหมายถึง อย่างไร ครับ?....:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...