จิ. เจ. รุ. นิ.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 31 สิงหาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การเวียนตาย-เวียนเกิด ของสัตว์โลกที่ยังต้องเกี่ยวข้องกับวัฏฏะ

    อันว่าเราท่านทั้งหลายนั้น ครั้นเมื่อตายไปแล้ว หากว่าแลัวกันไปก็หมดเรื่องหมดราว แต่นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่
    ตราบใดที่ยังมีกิเลสตัณหาอยู่ ก็ต้องเวียน เกิดเวียนตายอยู่ในวัฏลงสารไม่มีที่สิ้นสุด สถานที่ที่เราต้องไปเวียนเกิดเวียนตาย
    ซึ่งเรียกว่าวัฏสงสารนั้น มีอยู่หลายที่หลายแห่ง ที่หนึ่ง ๆ จะเรียกว่า โลกหนึ่งๆ ก็ได้ ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้

    มีโลกอยู่มากมาย เช่น โลกนรก โลกมนุษย์ และโลกเทวดา เป็นต้น เราตายไปแล้วใช่ว่าจะกลับมาเกิดใน โลกมนุษย์นี้อยู่ร่ำไปก็หาไม่
    อาจจะไปเกิดในโลกอื่นๆ อีกมากมาย แต่จะไป เกิดในโลกไหน และเกิดเป็นอะไรนั้น ก็สุดแต่กรรมที่ทำไว้ หรือตามสภาพของจิต
    ของแต่ละบุคคล และการที่จะไปเกิดแต่ละครั้งนั้น ใช่ว่าอยู่ ๆ ก็ปุบปับไป เกิดส่งเดชอย่างนั้นเอง ไม่ต้องมีเหตุมีผลอะไร ไม่ใช่อย่างนั้น

    อันที่จริงสัตว์ ที่จะตายไปเกิดนั้น ก่อนที่จะตายลงไปจริง ๆ ย่อมต้องเกิดมีอารมณ์ ขึ้นก่อน อารมณ์นี้ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับเป็นมัคคุเทศก์
    ชี้ทางบอกให้ผู้ตายรู้ล่วงหน้าว่า ตนจักไปเกิดในโลกไหน มีสุขมีทุกข์ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร จักไปเกิดในโลกใหม่ซึ่งมิใช่โลกมนุษย์
    หรือว่าจักไดักลับมาเกิดในมนุษยโลกนี้อีกต่อไป

    อารมณ์ก่อนตาย กาลเมื่อสัตว์ทั้ งหลายใกล้จะถึงแก่มรณะ ย่างเขัาไปสู่แดนมฤตยู แล้วจะไป
    บังเกิดอยู่ในโลกอื่นต่อไปนั้น ในมรณาสันกาลวิถี คือ กาลที่ใกล้จะตายนั้น แล้วเข้าสู่มรณาสัณนวิถี คือวิถีตาย
    ย่อมมี อารมณ์ ๓ ประการ ปรากฏเป็นอารมณ์แห่งปฏิสนธิจิตก่อน ดังต่อไปนี้

    ๑. กรรมอารมณ์
    ๒. กรรมนิมิตอารมณ์
    ๓. คตินิมิตอารมณ์
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ผมว่า อยู่ที่การนำเสนอครับ

    ในส่วนปริยัติ ก็มีส่วนที่เรียกว่า วิปัสนาธุระ นั่นคือ มหาสติปัฏฐาน 4

    ผู้ที่มุ่งทางตรง นิพพาน ควรศึกษา วิธีการ ที่เรียก สติปัฏฐาน 4
    ซึ่งไม่ต้อง เรียน จนครบ 30 ปี

    สมัยพุทธกาล ภิกษุ จะมาเรียนวิปัสนาธุระ อยู่ล่วง 3 เดือน
    กับสำนักพระพุทธเจ้าหรือ ตามศัทธิวิหาริกของพระมหาเถระ
    ก่อนที่จะออกไปภาวนาในป่าบ้าง โคนไม้ว่างมั่ง เรือนว่างเปล่ามั่ง
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๑. กรรมอารมณ์ ได้ แก่ กรรมที่ ตนเคยกระทำไว้ แต่ก่อนๆ มาปรากฏให้ ระลึกขึ้นไดั ในขณะที่กำลังร่อแร่จะตายไปในพริบตานี้
    ถัาเป็นผู้มีบาปเคยทำ อกุศลกรรมไว้ ในขณะนี้ก็จะปรากฏเป็นภาพให้เห็นชัดเจนในมโนทวาร เช่น ตนเคยฆ่าคนไว้

    ภาพทีตนฆ่าคนก็มาปรากฏ ตนเคยเตะถีบด่าว่าพ่อแม่เอาไว้ หรือเป็นคนติดเหล้าดื่มสุราเมรัยเป็นประจำ เคยทำอทินนาทานลักขโมยและ
    ปล้นคนอื่น เคยประพฤติกามมิจฉานอกใจสามีภรรยาเอาไว้ ก็จะปรากฏเป็น ภาพให้เห็นขัดเจนอย่างที่ตัวทำไว้ไม่ผิดเพี้ยน

    แล้วจิตก็ยึดหน่วงเอาภาพเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์ เมื่อดับจิตตายลงไปแล้ว ก็น้อมนำไปเกิดในทุคติภูมิ เช่น โลกนรก เป็นต้น
    หากว่าตนเคยทำกุศลกรรมไว้ ในขณะนี้ก็จะปรากฏเป็นภาพ ให้เห็นอย่างชัดเจนในมโนทวารคือทางใจเหมือนกัน เช่น ตนเคยบริจาคทาน

    เคยทำบุญเลี้ยงพระ เคยขุดสระสร้างศาลา เคยรักษาศีล ก็จักเห็นเป็นภาพของ ตัวเองกำลังกระทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างแจ้งชัด
    จำได้ ทำให้ ใจคอชุ่มชื่น แล้วดับจิตตายลงไปทันใด อารมณ์อันดีงามนี้ก็จะน้อมนำไปเกิดในสุคติ อารมณ์ เหล่านี้เรียกว่า กรรมารมณ์

    ที่ปรากฏแก่คนที่ใกล้จะตาย ในขณะที้เขากำลัง ย่างเข้าสู่แดนมฤตยู เขาเห็นของเขาอยู่คนเดียวเท่านั้น เราท่านเวลานี้ยังไม่เห็น
    เพราะยังไม่ตาย ยังมีชีวิตเป็นปกติดีอยู่ถ้าอยากจะเห็นก็ต้องอดใจรอไป ก่อน โน่นจวนจะดับจิตตายไปโน่นแหละเป็นเห็นแน่

    แต่ถ้ากรรมารมณ์นี้ไม่ ปรากฏให้เห็น ก็จะปราถฏอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง
     
  4. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    คนภาวนาคงไม่ต้องมา ห่วงเรื่องกรรมแล้วมั้ง ถ้ายังห่วงแสดงว่ายังไม่ได้ตั้งเลย

    คนที่ภาวนาได้ เราจะมีแต่สติกับรู้ไป อดีต อนาคต กรรมอะไร จะเกิดอะไร นี่เขาไม่ไปเน้น
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คนภาวนาไม่ต้องมาหรอกนั่งหลับหูหลับตาไปเถอะ
    ไม่ต้องรับรู้อะไรทั้งนั้น อะไรจะผ่านมาทางหูทางตาก็ให้วางซะ
    ทำจิตให้เป็นอุเบกขา เด๋วบรรลุเอง สอนจิตให้โง่ สอนให้จิตไม่ให้รับรู้อะไรทั้งนั้น
    สอนกันเข้าไปได้ คนฟังก็เชื่อแค่คิดก็ผิดแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กันยายน 2012
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]......จิตคืออะไร
    ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์ ธรรมชาติคือ จิต อารมณ์ คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ ปกติ การรู้มี 3 ชนิด คือ
    1) รู้โดยสัญญาเจตสิก เหมือนเด็กเห็นเหรียญเงิน รู้ว่าเป็นของกลม ๆ แต่ไม่รู้ว่า เงิน
    2) รู้โดยจิต เหมือนผู้ใหญ่เห็นเหรียญเงิน รู้ว่าเป็นของกลม ๆ และเป็นเงิน
    3) รู้โดยปัญญา เหมือนผู้เชี่ยวชาญดูเหรียญเงิน รู้ซึ้งว่าเป็นเหรียญจริงหรือปลอม
    และประกอบด้วยธาตุอะไรด้วย
    ดังนั้น การรู้โดยจิตเป็นการรู้มากกว่าการรู้โดยสัญญา แต่ไม่รู้ชัดแจ้วเหมือนการรู้ โดยปัญญาบุคคหนึ่งกำลังคิดถึงคู่รักของตน
    หรือกำลังคิดถึงรสมะนาว ขณะนั้นอะไรคือจิต อะไรคืออารมณ์ จิตก็คือ การคิดหรือนึก ส่วนอารมณ์ คือ คู่รัก หรือรสมะนาว
    ดังนั้น การคิดนี้ หมายถึง จิตได้ปกติ การคิดมี 3 อย่าง คือ
    1) การคิดโดยวิตกเจตสิก (อุหนนจินฺตา) เป็นการมุ่งถึงคิดในแง่ของให้จิตกับ อารมณ์มาสัมพันธ์กัน
    2) การคิดโดยจิต (วิชานนจินฺตา) เป็นการมุ่งถึงคิดในแง่รู้อารมณ์
    3) การคิดโดยปัญญาเจตสิก (ปชานนจินฺตา) เป็นการมุ่งคิดถึงในแง่มีความเข้าใจ รู้ชัดแจ้ง
    ดังนั้น การคิดโดยจิตเป็นการคิดในแง่ของการรู้อารมณ์ผิดกับการคิดโดยวิตกหรือ โดยปัญญา
    จิตจะว่างจากอารมณ์ได้ไหม ? ไม่ได้เลย จิตเกิดขึ้นมาทุกครั้ง ต้องรู้อารมณ์เสมอ ไป จิตคือตัวการรู้ได้อย่างไรย่อมไม่ได้
    เมื่อมีการรู้ ย่อมมีสิ่งที่ถูกรู้เสมอไป
    การรู้อารมณ์ของจิตนี้มีประเภทต่าง ๆ กันออกไปมี จิตหลายชนิดมักจะรู้กาม อารมณ์ ซึ่งได้แก่อารมณ์ที่กามตัณหาสามารถเข้าไปยึดมั่นได้
    มีจิตบางชนิด ที่รับรู้ อารมณ์อันมีกำลังแรงกล้ามาก จนสามารถให้เกิดสมาธิจิตถึงขั้นฌานจิตได้ และมีจิต บางชนิดที่รับรู้อารมณ์อันมีสภาพอมตสุข
    อันได้แก่พระนิพพาน ยังให้จิตที่รับรู้พ้นจาก วัฏสงสาร
    จิตที่รู้อารมณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวรู้โดยเป็นอกุศลก็มีเป็นกุศลก็มี และเป็นอพยากตะ คือไม่บุญไม่บาปก็มี
    ด้วยเหตุนี้ จิตจึงแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังอยู่ในหัวข้อต่อไป

    ความหมายประเภทของจิต
    การกระทำของคนเราโดยทั่วไป ไม่ว่าการพูดจา กิริยาท่าทาง หรือทางคิดนึกมี อาการต่าง ๆ ออกไป บางคนพูดจาเหมือนพุ่งหอกไปทิ่มแทงจิตใจผู้อื่น
    ให้เจ็บช้ำ บาง คนพูดจาเหมือนโปรยดอกไม้หอมให้แก่ผู้อื่น บางคนมักหน้าบูดหน้าบึ้ง บางคนหน้าตา ยิ้มแย้มแจ่มใส บางคนมักคิดร้ายต่อผู้อื่น
    บางคนมีจิตเมตตอารี การที่เกิดการกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะอาศัยจิตใจที่ต่างกัน หากแยกจิตตามกฎแห่งกรรมแล้ว
    แยกออกได้เป็น 5 จำพวกใหญ่ ๆ ซึ่งได้แก่
    จำพวกที่ 1 จิตบาป (อกุศลจิต)
    จำพวกที่ 2 จิตที่เป็นผลบาป (อกุศลวิบากจิต)
    จำพวกที่ 3 จิตบุญ (กุศลจิต)
    จำพวกที่ 4 จิตที่เป็นผลของบุญ (กุศลวิบากจิต
    จำพวกที่ 5 กิริยาจิต
     
  7. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    มาโพสต์ธรรมะ แต่ไม่รู้เรื่องภาวนา
    มาบอกว่าภาวนานั่งหลับตาอย่างเดียว
    นี่เหรอประกาศว่าตัวเรียนอภิธรรม
    น่าสมเพชจริง ๆ
     
  8. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจด

    ศีลวิสุทธิ
    1.ปาฏิโมกขสังวรศีล
    2.อินทรียสังวรศีล
    3.อาชีวปาริสุทธิศีล
    4.ปัจจัยสันนิสิตศีล
     
  9. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    อาหาร ๔ เป็นไฉน. คือ
    [ ๑ ] กพฬิงการาหาร หยาบหรือละเอียด
    [ ๒ ] ผัสสาหาร
    [ ๓ ] มโนสัญเจตนาหาร
    [ ๔ ] วิญญาณาหาร

    อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่

    ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด



    ทีนี้ ใน นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ นั้น เป็นวิปัสสนาปัญญาในระดับกังขาวิตรณวิสุทธิ

    ต้องพิจารณานามรูปโดยความเป็นปัจจัย เหตุใกล้

    ก้จะดับทิฎฐิ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นลอยๆ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเที่ยงแท้ ไม่มีเหตุให้เกิด ไม่มีผลให้รับ

    ไม่มีอาหาร ไม่เชื่อกรรม ผลของกรรม



    ก็ความประมาทที่สำเร็จแล้ว ย่อมทำประมาทนั้นให้เลินเล่อ ด้วยทิฏฐิตนเป็นใหญ่

    ก็ความประมาทในทิฏฐินี้มีอาหาร มิใช่ไม่มีอาหาร

    ก็ความประมาทในทิฏฐินี้ย่อมมีองค์ ๓ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

    ก็ปัจจุบันเป็นอย่างไร พึงทราบว่า อดีตเคยสร้างเหตุอย่างนั้น นี้เป็นปัญญาเชื่อกรรม ผลของกรรม
     
  10. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส

    สมาธิปริภาวิโต ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา

    ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ
     
  11. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 8 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 4 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>เล่าปัง*, จิตสิงห์, paetrix </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ..............[​IMG]
    [​IMG]<IMG src='http://www.skn.ac.th/skl/project/foodh99/thong.jpg' width=115>[​IMG]
    ...............[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2012
  12. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เดชพโลเรียนบาลีมาหรือ
     
  13. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ปัจจยปริคคหญาณ ----มหาเหตุอยู่ที่ใจ
     
  14. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    พิจารณาให้ดี

    อย่าเพิ่งใช้ มหาเหตุเลย
     
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    นักตำรา ต้องเดินเรียงตามญาณ
    ของจริงมันไม่ใช่หรอก
     
  16. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ก็ยังติดอวดตน นี่หรือที่ยกนักว่าของจริง
     
  17. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ไม่รู้ว่าใครยกเพราะไม่เคยยกตน
    เอาสิ่งที่รู้ที่เห็นมาพูด
    ไม่ใช่พระ เอามาพูดกับโยมไม่อาบัติ
    รู้อะไรพูดได้หมด

    ผมขอตัวก่อน
    จะไปทำสมาธิ

    อย่าไปคิดมา ผมถกเถียงไปเฉย ๆ นั่นแหละ
    คุยแล้วก็จบไปเลย หากพลาดพลั้งล่วงเกินก็ขออภัย
     
  18. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
  19. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ก็คุยกันตามกาล ^^

    ไม่มีอะไรล่วง ไม่มีอะไรเกิน หากมีอะไรล่วง มีอะไรเกิน เห็นแล้วก็ปัดกวาดเสีย
     
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อิจฉาพระเนาะ ไปดีเสียแล้ว

    ..

    สมาธิที่เจริญไว้ด้วยสีล ย่อมมีกำลังมากและมีผลานิสงส์มาก
    ปัญญาที่ได้เจริญไว้ด้วยสมาธินั้น ย่อมมีกำลังมาก มีอานิสงส์มาก
    จิตใจที่ได้เจริญไว้ด้วยปัญญานั้น ย่อมหลุดพ้นจาก อาสวะ ทั้ง ๔ ได้โดยตนเอง

    ..

    ด้วยสติสัมปชัญญะ (สัมปชัญญะคือปัญญาเจตสิก)
    ที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น
    บุคคลนั้นจะเข้าใจ "กัมมัสสกตาญาณ" ตั้งแต่ต้นจนถึงญาณขั้นสูง
    ไม่ใช่เพียงชื่อ ไม่ใช่เพียงเรื่องราว ไม่ใช่เพียงคำ
    แต่มีสภาพธรรมะจริงๆ ที่ปรากฏให้รู้ว่า เป็นปัญญาที่รู้กรรม
    เพราะเป็นตัวธรรมะจริงๆ ที่เป็นผลของกรรม.

    สนทนาธรรมที่วัดบ้านปิง อ.เมือง จ. เชียงใหม่
    พ.ศ. ๒๕๔๔ โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์


    ..

    ปัญญาเจตสิก คือความรู้ในเหตุผลแห่งความจริงของสภาวธรรมและทำลายความเห็นผิด หรือเป็นเจตสิกที่มีความรู้เป็นใหญ่ ปกครองซึ่งสหชาตธรรมทั้งปวง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณา มีความรู้แจ้งซึ่งสภาวธรรม เป็นลักษณะ
    โมหนฺธการวิทฺธํสนรสา มีการกำจัดมืด เป็นกิจ
    อสมฺโมหปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่หลงผิด หรือไม่เห็นผิด เป็นผล
    สมาธิปทฏฺฐานา มีสมาธิ เป็นเหตุใกล้

    ปัญญานี้ มีอรรถาธิบายอย่างกว้างขวาง และแจกแจงได้หลายนัย หลายกระบวน เป็นจำนวนมากมาย แต่ในที่นี้จะกล่าวย่อ ๆ พอให้รู้เค้า จึงขอแจกแจงว่า ปัญญามีเพียง ๓ นัย เท่านั้น คือ

    ก. กัมมสกตาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่า กรรมเป็นสมบัติของตน
    ข. วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ขันธ์ ๕ รูปนาม เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ค. โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจจ ๔

    ปัญญาที่รู้เห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน อันเรียกว่า กัมมสกตาปัญญานี้ มี ๑๐ ประการ คือ

    (๑) อตฺถิทินนํ ปัญญารู้เห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว ย่อมมีผล
    (๒) อตฺยิฏฐํ ปัญญารู้เห็นว่า การบูชาย่อมมีผล
    (๓) อตฺถิหุตํ ปัญญารู้เห็นว่า การบวงสรวงเทวดา ย่อมมีผล
    (๔) อตฺถิกมฺมานํ ผลํวิปาโก ปัญญารู้เห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและชั่วมีอยู่ (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม)
    (๕) อตฺถิอยํโลโก ปัญญารู้เห็นว่า โลกนี้มีอยู่ (ผู้จะมาเกิดนั้นมี)
    (๖) อตฺถิปโรโลโก ปัญญารู้เห็นว่า โลกหน้ามีอยู่ (ผู้จะไปเกิดนั้นมี)
    (๗) อตฺถิมาตา ปัญญารู้เห็นว่า มารดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อมารดาย่อมจะได้รับผล)
    (๘) อตฺถิปิตา ปัญญารู้เห็นว่า บิดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อบิดาย่อมจะได้รับผล)
    (๙) อตฺถิ สตฺตโอปปาติกา ปัญญารู้เห็นว่าโอปปาติกสัตว์นั้นมีอยู่ (สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหมนั้นมี)
    (๑๐) อตฺถิ โลเกสมณพฺรหฺมณา สมฺมาปฏิปนฺนา ปัญญารู้เห็นว่าสมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ประกอบด้วยความรู้ยิ่ง เห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้นั้นมีอยู่ในโลกนี้

    http://www.abhidhamonline.org/aphi/p2/052.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...