จิตไม่เกิดดับ เพราะจิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตจึงไม่ใช่กองทุกข์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 16 สิงหาคม 2011.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมทนา สาธุ ในการนำธรรมะดีๆมานำเสนอให้อ่านกัน
     
  2. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    พระพุทธพจน์นี้หมายถึง ถ้าผู้ใดมีศีลย่อมฝึกจิตทำให้ถึงฌาณ ๔ ได้อย่างไม่ยาก ไม่ลำบาก เมื่อมีฌาณสมาบัติแล้วก็จะสามารถใช้ปัญญาประหัตประหารกิเลสได้เป็นอย่างนี้มากกว่านะผมว่า

    ส่วนเรื่องสมาธิของพระโสดาบันนั้นก็เป็นเรื่องที่เกินกว่าที่เราจะคาดคะเน คำสอนที่ว่าพระโสดาบันมีสมาธิระดับฌาณ ๑ แต่มิได้กำหนดว่าทุกท่านจะต้องมีสมาธิเพียงแค่ฌาณ ๑ บางท่านอาจจะได้สมาบัติ ๘ ก่อนที่จะบรรลุพระโสดาบันก็มีมิใช่น้อย

    แต่สมาธิฌาณ ๑ ของพระโสดาบันนั้นเป็นลักษณะที่ "ทรงอารมณ์ฌาณ ๑ ได้แล้ว" และทรงได้ตลอดไป

    คำว่าทรงฌาณ หรือการ เข้าฌาณ ออกฌาณจนเป็นวสีได้ตามใจที่ต้องการนั้น เป็นการใช้สมาธิฌาณเพื่อประโยชน์ในการข่มกิเลสนิวรณ์ ๕ ซึ่งแตกต่างจากการ "ทรงอารมณ์ฌาณ"

    ผมก็อธิบายไม่ค่อยถนัดนักครับ ด้วยที่ความรู้น้อยครับ
     
  3. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    สวัสดีครับท่านชินนา

    ผมชวนมาสังเกตุ ตรงนี้ครับ
    คำว่า ทรงอารมณ์ฌาน ๑ หรือ ที่เรียกว่า ปฐมฌาน
    บางวลีจะได้ยินคำว่า พระโสดาบันมี ปฐมฌานเป็นบาท

    ทีนี้ มีช่วงที่สังเกตุ คือ

    การตั้งใจเข้าไปทำปฐมฌาน
    กับ การเป็นเองในปฐมฌาน
    ที่ว่าเป็นเองนี้ คือ เป็นจากการสร้างเหตุไว้เนืองๆ
    ไม่ใช่ ไม่ได้ทำอะไรเลยแล้วจะบังเกิดขึ้น

    อันนี้ คือจุดต่าง ของสมาธิที่มีอิสระ กับสมาธิที่ไม่มีอิสระครับ


    แม้ ผู้ที่มีความชำนาญ ในสมาบัติ ทั้ง 8 ระดับ
    แม้อยากน้อมเข้าตอนไหนก็เข้าได้ในสมาบัติ

    แต่จะต่างจากสมาธิที่พระโสดาบันมี คือ สั่งไม่ได้
    สมาธิที่พระโสดาบันมี มันสั่งไม่ได้
     
  4. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    สวัสดีครับคุณยอดคะน้า แต่ขอเป็นให้เรียกผมว่าคุณนำหน้าชื่อนะครับ เรียกผมว่าท่านนี่มันแปร่งๆ ยังไงชอบกล

    ตรงตัวหนังสือสีแดงนั้น ก็เป็นอย่างที่คุณว่านั่นแหละครับ ผมก็ไม่ได้บอกว่ามันจะเป็นเองแบบที่เราไม่เคยได้ทำอะไรมาก่อนเลยนะครับ:cool::cool:

    แต่เหตุนั้นจำเป็นต้องทำผ่านมาทุกคนจริงแท้แน่นอน ผมเลยกล่าวข้ามไปครับ

    ขอบคุณที่ท้องติงนะครับ:cool::cool:
     
  5. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710

    ได้ครับ คุณชินนา

    จริงๆไม่ได้ท้วงติงหรอกครับ
    ที่ต้องบอกตามสีแดงนั้นเดี๋ยวจะพากันเข้าใจผิด
    ว่าไม่ทำอะไรเลยแล้วจะรอให้มันเป็นเอง

    ที่ชวนสังเกตุ
    ความต่าง ก็ตรงที่ สั่งได้ กับ สั่งไม่ได้เท่านั้นเองครับ

    ตอนนี้ ผมมีแอร์การ์ดเป็นผู้ช่วยฝึก ต้องขอตัวก่อนครับ
     
  6. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    เห็นกระทู้นี้มาจากหลายแง่หลายมุม
    เปิดใจเป็นกลางลองพิจาณาจากพระอภิธรรมดู

    จิตเกิดดับ จิตเป็นวิญญาณขันธ์๑ในขันธ์๕ จิตเป็นทุกขอริยสัจน์
    จิตเกิดดับ
    จิตมีการเกิดดับ ไม่เที่ยง ให้ทนอยู่ไม่เกิดไม่ดับไม่ได้ เป็นไตรลักษณะ
    ผู้ใดสามารถเห็นวิถีจิตได้จะเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง และหมดข้อสงสัย

    ที่นอกเหนือกฏของไตรลักษณ์จะมี
    นิพพาน เที่ยงไม่แปรผัน ดำรงอยู่ด้วยสภาพว่างเปล่า ไม่มีการเกิดไม่มีการดับ

    จิตเป็นวิญญาณขันธ์๑ในขันธ์๕
    ขันธ์๕
    ๑รูปขันธ์ คือรูป๒๘
    ๒เวทนาขันธ์ คือเวทนาเจตสิก
    ๓สัญญาขันธ์ คือสัญญาเจตสิก
    ๔สังขารขันธ์ คือเจตสิก๕๐ (เว้นเวทนากับสัญญา)
    ๕วิญญาณขันธ์ คือจิต๘๙

    การสัมปยุตธรรม เข้าวิปัสสนาใดภูมิ๑ในภูมิ๖นั้น
    (ขันธ์๕ ธาตุ๑๘ อายตนะ๑๒ อินทรีย์๒๒ อริยสัจน์๔ ปฏิจจสมุปบาท)
    จะเห็นได้ว่าทุกวิปัสสนาภูมิล้วนประกอบไปด้วยจิต เจตสิก รูปเท่านั้น
    เพราะการบรรลุภูมิธรรมเพื่อเข้าสู่นิพพานอันเป็นทางเบื้องปลายนั้น
    ต้องแจ่มแจ้ง
    ๑เรื่องรูปกาย(รูปขันธ์๑)
    ๒เรื่องนามกาย(นามขันธ์๔ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
    หรือที่เรารู้จักกันดีอย่างโดยย่อคือรูปนามนั่นเอง

    จิตเป็นทุกขอริยสัจน์
    อริยสัจน์๔
    ๑ทุกขอริยสัจน์๑๖๐ (จิต๘๑ เจตสิก๕๑ รูป๒๘)
    ๒สมุทัยอริยสัจน์ คือโลภเจตสิก๑
    ๓นิโรธ คือการดับทุกขอริยสัจน์
    ๔มรรค๘ คือทางดับทุกขอริยสัจน์
    จิตทั้ง๘๑ ดวงอยู่ในทุกขอริยสัจน์ หมายเอาเจตสิก และรูปด้วย
    ดังนั้นจิตจึงจัดอยูในทุกขอริยสัจน์ด้วยเหตุนี้

    จะเห็นได้ว่าไม่ว่าขันธ์๕ หรือ อริยสัจน์ ก็ย่อมมีจิต เจตสิก รูปประกอบร่วมด้วย

    ขยายวิปัสสนาอีกภูมิเพื่อความชัดแจ้ง

    อายตนะ ๑๒
    ๑.จักขายตนะ จักขุปสาท
    ๒.โสตายตนะ โสตปสาท
    ๓.ฆานายตนะ ฆานปสาท
    ๔.ชิวหายตนะ ชิวหาปสาท
    ๕.กายายตนะ กายปสาท
    ๖.รูปายตนะ รูปารมณ์
    ๗.สัททายตนะ สัททารมณ์
    ๘.คันธายตนะ คันธารมณ์
    ๙.รสายตนะ รสารมณ์
    ๑๐.โผฏฐัพพายตนะ โผฏฐัพพารมณ์
    ๑๑.มนายตนะ จิต ๘๙
    ๑๒.ธัมมายตนะ เจตสิก ๕๒,สุขุมรูป ๑๖ ,นิพพาน
    ในอายตนะ๑๒ ก็ยังคงมีจิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ประกอบร่วมด้วย

    ขยายวิปัสสนาอีกภูมิเพื่อความชัดแจ้ง

    ธาตุ ๑๘
    ๑. จักขุธาตุ จักขุปสาท
    ๒. โสตธาตุ โสตปสาท
    ๓. ฆานธาตุ ฆานปสาท
    ๔. ชิวหาธาตุ ชิวหาปสาท
    ๕. กายธาตุ กายปสาท
    ๖. รูปธาตุ รูปารมณ์
    ๗. สัททาธาตุ สัททารมณ์
    ๘. คันธธาตุ คันธารมณ์
    ๙. รสธาตุ รสารมณ์
    ๑๐.โผฏฐัพพธาตุ โผฏฐัพพารมณ์
    ๑๑.จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณจิต๒
    ๑๒.โสตวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณจิต๒
    ๑๓.ฆานวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณจิต๒
    ๑๔.ชิวหาวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณจิต๒
    ๑๕.กายวิญญาณธาตุ กายวิญญาณจิต๒
    ๑๖.มโนธาตุ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒
    ๑๗.มโนวิญญาณธาตุ จิต ๗๖ (เว้น ข้อ ๑๑. – ๑๖.)
    ๑๘.ธัมมธาตุ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน
    ในธาตุ๑๘ ก็ยังคงมีจิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ประกอบร่วมด้วย

    ขยายวิปัสสนาอีกภูมิเพื่อความชัดแจ้ง

    อินทรีย์ ๒๒

    ๑. จักขุนทรีย์ จักขุปสาท
    ๒. โสตินทรีย์ โสตปสาท
    ๓. ฆานินทรีย์ ฆานปสาท
    ๔. ชิวหินทรีย์ ชิวหาปสาท
    ๕. กายินทรีย์ กายปสาท
    ๖. อิตถินทรีย์ อิตถีภาวรูป
    ๗. ปุริสินทรีย์ ปุริสภาวรูป
    ๘. ชีวิตินทรีย์ ชีวิตรูป ชีวิตินทรีย์เจตสิก
    ๙. มนินทรีย์ จิต ๘๙
    ๑๐.สุขินทรีย์ เวทนาเจตสิกที่ในสุขสหคตกายวิญญาณจิต ๑
    ๑๑.ทุกขินทรีย์ เวทนาเจตสิกที่ในทุกขสหคตกายวิญญาณจิต ๑
    ๑๒.โสมนัสสินทรีย์ เวทนาเจตสิกที่ในโสมนัสสหตคจิต ๖๒
    ๑๓.โทมนัสสินทรีย์ เวทนาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
    ๑๔.อุเบกขินทรีย์ เวทนาเจตสิกที่ในอุเบกขาสหคตจิต ๕๕
    ๑๕.สัทธินทรีย์ สัทธาเจตสิกที่ในโสภณจิต ๕๙
    ๑๖.วิริยินทรีย์ วิริยเจตสิกที่ในจิต ๗๓
    ๑๗.สตินทรีย์ สติเจตสิกที่ในโสภณจิต ๕๙
    ๑๘.สมาธินทรีย์ เอกัคคตาเจตสิกที่ในจิต ๗๒
    ๑๙.ปัญญินทรีย์ ปัญญาเจตสิกที่ในติเหตุกจิต ๓๙ - ๔๗
    ๒๐.อนัญญาตัญญัสสามี ปัญญาเจตสิกที่ในโสดาปัตติมัคคจิต ๑
    ๒๑.อัญญินทรีย์ ปัญญาเจตสิกที่ในมรรคบน ๓ ผลต่ำ ๓
    ๒๒.อัญญาตาวินทรีย์ ปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตผลจิต ๑
    อินทรีย์ ๒๒ ก็ยังคงมีจิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ประกอบร่วมด้วย

    ขยายวิปัสสนาอีกภูมิเพื่อความชัดแจ้ง

    ปฏิจจสมุปบาท

    ๑. อวิชชา โมหเจตสิกที่ในอกุศลจิต ๑๒
    ๒. สังขาร เจตนาเจตสิกที่ในจิต ๒๙
    ๓. วิญญาณ จิต ๘๙
    ๔. นามรูป เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘
    ๕. สฬายตนะ ปสาทรูป ๕ (อายตนะ ๕) จิต ๘๙ (มนายตนะ)
    ๖. ผัสสะ ผัสสะเจตสิกที่ในจิต ๘๙
    ๗. เวทนา เวทนาเจตสิกที่ในจิต ๘๙
    ๘. ตัณหา โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘
    ๙. อุปาทาน โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔
    ๑๐. กัมภวะ เจตนาเจตสิกที่ในจิต ๒๙
    อุปบัตติภวะ กามวิ ๒๓ เจ ๓๓ กัมมชรูป ๒๐
    กามภวะ กามวิ ๒๓ เจ ๓๓ กัมมชรูป ๒๐
    รูปภวะ รูปวิ ๕ จักขุ โสต สัม สัน เจ ๓๕ กัมมชรูป ๑๕
    อรูปภวะ อรูปวิปากจิต ๔ เจตสิก ๓๐
    สัญญีภวะ โลกียวิ ๓๑ (๑) เจ ๓๕ กัมมชรูป ๒๐
    อสัญญีภวะ ชิวิตนวกกลาป
    เนวสัญญีนาสัญญีภวะ เนวสัญญานาสัญญีวิ ๑ เจ ๓๐
    เอกโวการภวะ ชีวิตนวกกลาป
    จตุโวการภวะ อรูปวิปากจิต ๔ เจ ๓๐
    ปัญจโวการภวะ กามวิ ๒๓ รูปวิ ๕ เจ ๓๕ กัมมชรูป ๒๐
    ๑๑. ชาติ อุปปาทักขณะของนิปผันนรูป ๑๘ นามขันธ์ ๔
    ๑๒. ชรา ฐีติขณะ ของนิปผันนรูป ๑๘ นามขันธ์ ๔
    มรณะ ภังคขณะของนิปผันนรูป ๑๘ นามขันธ์ ๔
    โสกะ โทมนัสเวทนาเจตสิก
    ปริเทวะ จิตตชวิปลาสสัททะ
    ทุกข เวทนาเจตสิกที่ในทุกขสหคตจิต ๑
    โทมนัส เวทนาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
    อุปายาส โทสเจตสิก
    ปฏิจจสมุปบาท ก็ยังคงมีจิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ประกอบร่วมด้วย

    ทั้งวิปัสสนาภูมิทั้ง๖ เป็นทางสู่การบรรลุเญยธรรม (ธรรมที่ควรรู้)
    ก็ยังคงเกียวเนื่องด้วยจิต เจตสิก รูปทั้งหมด ไม่มีเกินกว่านี้

    หมายความว่าไม่ว่าจะเจริญโพธิปักขิยธรรม๓๗
    สติปัฏฐาน 4
    สัมมัปปธาน 4
    อิทธิบาท 4
    อินทรีย์ 5
    พละ 5
    โพชฌงค์ 7
    มรรคมีองค์ 8
    ในองค์ธรรมไหนนั้นหลังการสัปยุตธรรม ต้องแทงลงวิปัสสนาภูมิ๖จึงจะบรรลุธรรมตามภูมิธรรมที่พึงมี
     
  7. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]

    ข้อควรระวัง อาจถูกบิดเบือนคำสอน จะด้วยมีเจตนาหรือไม่ได้เจตนา ก็ถือได้ว่าเป็นกรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2011
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการนำเสนอบทความต่างๆไม่ว่าที่ไหนตามนั้น

    ไม่เคยที่จะยุยงส่งเสริมให้ใครปัดตำราอภิธรรมปิฎกทิ้งทะเลไปเลย

    ทั้งๆที่ในหลายส่วนนั้น ขาดเหตุผลที่น่าเชื่อถือให้ตริตรองตามได้

    และยังพูดเสมอๆว่า ควรเอาไว้เรียนกัน ที่ดีก็มีเยอะ ที่ไม่น่าเชื่อถือก็เยอะไปด้วยเช่นกัน

    แม้ในพระสูตรเองก็ไม่แตกต่างๆออกไปจากตำราอภิธรรมเช่นกัน

    แต่ในพระสูตรชั้นต้นๆนั้น ยังคงความน่าเชื่อมากกว่าที่มีในชั้นหลัง

    ยังคงหลงเหลือเค้าโครงที่ถูกต้องของพระพุทธวจนะที่พระพุทธองค์ทรงตรัส

    เพื่อให้เราชาวพุทธเดินตามรอยพระบาทของพระพุทธองค์ได้อย่างถูกต้อง

    ตรงตามความเป็นจริงที่ได้จากผลของการปฏิบัติตามอริยมรรค๘

    มรรคคือทางเดิน ซึ่งเป็นทางเดินของจิตสู่ความเป็นอริยบุคคลนั่นเอง

    เริ่มต้นจากที่ไหนพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนแล้ว

    ส่วนในตำราอภิธรรมนั้น ถ้าผู้ศึกษาได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานมาอย่างจริงจัง

    ก็ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงได้เช่นกันว่า จิตที่พูดถึงนั้นล้วนเป็นจิตสังขารทั้งสิ้น

    คือจิตที่ได้ผสมกับอารมณ์เสร็จสิ้นไปแล้ว ไม่ได้พูดถึงจิตที่เป็นเพียงธาตุรู้ มีหน้าทีรู้เท่านั้น

    เมื่อจิต(ธาตุรู้) ไปรู้เรื่องที่เป็นกุศล เราก็เรียกว่ากุศลจิต เพราะจิตไปยึดเรื่องที่รู้ คือเรื่องของกุศล

    เมื่อเรื่องของกุศลที่รู้อยู่ก่อนดับไป ก็เปลี่ยนแปลง แส่ส่ายฯลฯ ไปรู้เรื่องอื่นต่อไปเรื่อยๆ

    ตามสภาพจิตที่มีอวิชชา เป็นจิตที่มีเจตนาจะปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา หยุดไม่เป็น เพราะจิตยังไม่มีเครื่องหยุด

    เมื่อพูดถึงตำราอภิธรรมแล้ว ไม่ใช่เพิ่งรู้จักหรือเพิ่งเรียนรู้ เคยคลุกคลีผ่านมาแล้วไม่น้อยกว่า30ปี

    ตั้งแต่สมัยที่อยู่วัดโพธิ์ สมัยนั้นยังมีการเข้าทรงอันเชิญ วิญญาณของหลวงพ่อเสือมาเข้าทรง

    เพื่อสอนธรรม พร้อมทั้งแสดงฤทธิ์เดชมากมาย ออกมาให้เห็น

    เช่นคนทรงเป็นผู้หญิงแต่สูบบุหรี่ทีละเป็นกำๆ ควันโขมงไปเลย ไล่ยุงได้ดี

    ส่วนรายการพิเศษนั้น คือการแทงพระเครื่องออกมาจากผลส้มที่ละ2-3องค์ เพื่อมาแจกจายให้คนมาฟัง

    คนที่เชื่อก็ดีไป ส่วนคนที่ไม่เชื่อก็บอกว่า แค่เป็นการเล่นกลแบบพื้นๆเท่านั้น

    ถ้าจะให้เกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นนั้น ควรต้องตอบคำถามง่ายๆที่คาใจ

    เนื่องจากหลายอย่างที่มีหลักฐานอยู่นั้น ขาดเหตุผลที่ตริตรองตามไม่ได้ ใช่หรือไม่?

    แค่เรื่องแรกเรื่องเดียวก็เป็นที่ถกเถียงกันมานานมากๆ เป็นพันๆปีแล้ว โดยที่เชื่อตามๆกันโดยไม่มีเหตุผล

    จนมีคนที่ไม่คิดจะตอบคำถาม เพราะหาสิ่งที่สมเหตุสมผลไม่ได้ เนื่องจากเชื่อตามๆกันมาโดยไม่เคยพิสูจน์ความจริงเลย

    แม้แต่ได้เคยนำเสนอไปว่า มีวิธีที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจิตไม่เกิดดับ สิ่งที่เกิดดับไปนั้นคือสิ่งที่ถูกจิตรู้

    ขนาดว่าพิสูจน์ให้เห็นต่อหน้าต่อตาชัดๆ ยังได้รับคำตอบว่าซึ่งน่าแปลกใจเอามากๆว่า

    ยอมรับว่าใช่ที่พิสูจน์มานั้น มีเหตุผลไม่อาจเถียงได้ แต่ไม่เชื่อ

    เพราะตำราเขียนไว้ว่าจิตต้องเกิดดับ เฮ้อ!!!เป็นเรื่องที่น่าสงสารอะไรเช่นนี้?

    ศาสนาพุทธนั้น เป็นศาสนาที่ยืนอยู่บนหลักของเหตุผล

    ให้เชิญเข้ามาพิสูจน์ได้ ไม่ไช่พูดเลื่อนลอยแบบที่สอนกันอยู่ทุกวันนี้

    กิเลส กรรม วิบาก เป็นเรื่องจริงมีอยู่จริง

    มีผู้ได้รับผลของกิเลส กรรม วิบากนั้นมีอยู่จริงๆ จำเป็นต้องรับเสียด้วยสิ

    แต่พอมีผู้ที่ปฏิบัติอย่างจริงจังจนจิตหลุดพ้นดีแล้ว กลับกลายเป็นเรื่องโกหกพกลมหลอกเด็กไปเสียฉิบ

    เมื่อจิตหลุดพ้นดีแล้ว มีเหลืออยู่แต่การหลุดพ้นดีแล้วเท่านั้นที่ยังคงอยู่

    แต่ผู้ที่รับผลของการหลุดพ้นดีแล้วนั้น กลับสอนว่าไม่มีอยู่จริง เป็นเรื่องโกหก มีแต่การหลุดพ้น

    จิตต้องลับหายหน้าไป เพราะเหตุผลง่ายๆ ที่ถูกสอนว่าจะกลายเป็นสัสสตทิฐิไปโดยไม่รู้ตัว

    ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าอะไรเช่นนี้ เหมือนกับคนที่พยายามทำความดีมาแทบเป็นแทบตาย

    แต่ผลสุดท้ายกลับบอกว่า อย่าดีใจไปนะ เพราะไม่มีผู้รับผลความดีนั้น

    แล้วใครล่ะที่ชื่นใจกับผลของความดีนั้น

    แล้วมนุษย์คนเดินดินกินข้าวแกงที่ไหนในโลกจะยอมรับได้ แต่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่า

    เมื่อทำความดีแล้ว ย่อมได้ผลดี แต่อย่ายึดติดในผลนั้น ไม่ใช่ทรงตรัสว่าไม่มีผู้รับผลนั้น

    ทรงสั่งสอนไม่ให้ยึดติดในผลนั้น ถ้ายึดติดก็มีผู้รับทันที ถ้าไม่ยึดติดล่ะ ก็มีแต่ผู้รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น...

    ถ้าจะสนทนากันด้วยความจริงใจแล้ว ก็อย่าทำให้ต้องเอือมระอา เสียเวลาไปเปล่าๆเลย

    เพราะมีคำถามที่ยังไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจน ขนาดแสดงให้เห็นชัดๆยังปฏิเสธหน้าตายเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2011
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เวรกรรมนั้นมีอยู่จริง ใครทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอน

    ไม่ใช่จิตดวงใหม่ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ต้องมารับกรรมแทนที่จิตดวงอื่นทำไว้ใช่หรือไม่?

    ถึงจะทำกรรมโดยไม่รู้ตัว เพียงเพราะเชื่อตามๆกันมาโดยสุจริตใจก็ต้องรับผลของกรรมนั้นที่ทำให้เนิ่นช้า

    ระวังจะกลายเป็นผู้ช่วยในการบิดเบือนสัจธรรมเสียเอง แผนภูมิที่วาดมานั้น

    เมื่อพิจารณาแล้วไม่ลงกับหลักของตำราอภิธรรมเลย ต้องเริ่มที่จิ เจ รุ นิจึงจะถูก

    เล่นไปเริ่มที่รุ(รูป)ก่อน ก็สับสนเอง สนองตัณหาตนเอง

    โดยไปเอาอารมณ์ขึ้นก่อนนะไม่ถูกต้องตรงตามเป็นจริง

    การที่รูป(อารมณ์)ทั้งหลายนั้น จะเป็นอารมณ์ได้ ต้องมีจิตที่เข้าไปยึดติดในอารมณ์เหล่านั้น

    ถ้าไม่มีคนยึด ผู้ยึดติดแล้ว รูปก็คือรูป ไม่เป็นอารมณ์ของใครไปไม่ได้

    หัดรู้จักเรียนรู้ แบบมีหลักการและเหตุผลที่ตริตรองตามความเป็นจริงจึงจะถูก

    จะได้ไม่ถูกจูงไปในทางที่ผิด ทำให้หลงทางเสียเวลา.

    แม้เรื่องอสังขตธรรม ก็มีพระพุทธพจน์และพระสังฆราชได้ทรงรับรองชี้ไว้อย่างชัดเจนว่ามีมากกว่าหนึ่ง

    ยังจะเอาชนะคะคานให้ได้สิ ก็ไม่รู้จะพูดยังไงกับคนแบบนี้แล้วจริงๆ


    ฝากข้อคิด อย่าอายความจริง อย่าหมิ่นกรรมฐาน อย่าผลาญเวลาที่จะภาวนาให้เกิดปัญญา(มยปัญญา).
     
  10. kaestepclub

    kaestepclub สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุกับท่านที่พบครูบาอาจารย์ที่เป็นของจริง และออกประพฤติปฏิบัติจริง

    ท่านที่ยังไม่พบครูบาอาจรย์จริง และกำลังค้นหาอยู่ ก็ขอให้พบในเร็ววัน

    ท่านที่พบครูอาจารย์ปลอม ขอให้ท่านเกิดความเฉลียวใจ และได้พบของจริงในเร็ววัน

    จะทำขนมเค้ก อ่านตำราเฉยๆไม่ลงมือทำ ไม่เป็นเค้กหรอก

    ใช้เครื่องปรุงผิด เครื่องมือผิด ก็ไม่เป็นเค้กหรอก

    ใส่เครื่องปรุงทุกอย่างตามตำรา แต่ขั้นตอนผิด ก็ไม่เป็นเค้กเหมือนกัน

    ตำราส่วนมากไม่ได้บอก "เทคนิควิธีการ" ไว้ เมื่อลงมือทำด้วยความถูกต้องบ่อยครั้งเข้าจะได้เทคนิควิธีการมาเอง

    คนที่ทำเค้กเป็นแล้ว หากขาดส่วนผสมใด เค้าสามารถใช้ส่วนผสมอื่นแทนได้ แต่ "เค้าจะไม่ปฏิเสธส่วนผสมหลักซึ่งจำเป็นต้องใช้ และขาดไม่ได้"

    คนที่ทำเค้กเป็นแล้ว หากมีใครมาพูดเรื่องการทำเค้กกับเค้า เค้าจะรู้ทันทีว่าคนนั้น "ทำเป็น"หรือ "ทำไม่เป็น"

    สายบุญสายกรรมเนาะ
     
  11. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    ^
    มาช้ายังดีกว่าไม่มาเน๊าะ

    อุส่าห์ ขุด
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ......................ถ้าไม่ใช้คำว่าจิต..ซ้ำกับปริยายอื่นอื่น ก็หมดปัญหา....ก็ใช้คำว่า "วิมุติญาณทัสนะ"ก็จบ......:cool:
     
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    บอกกล่าวเล่าเก้าหนึ่งหนึ่ง สำหรับคนที่มาช้า ตกรถ

    เดี๋ยวนี่เขาเปลี่ยนเป้าหมาย ไป symbol ชื่อย่อท่าน ว. กันแล้ว

    พึ่งเล่นกันวันที่ 3 พ.ย. นี้ นี่เอง

    ดังนั้น

    เกาะแน่นๆ.......แนวรับอยู่ เอ๊อะ แนวต้านอยู่ที่ อ๊ะ
     
  14. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    ขอบคุณท่าน...ธรรมะสวนัง...ตอบไว้ชัดเจนแล้ว จิต เกิดดับตลอดเวลา
    และแสดงหลักฐานในพระสูตรสรุปไว้ในตอนหนึ่งว่า
    ปุตุชนผู้มิได้สดับในพระสัทธรรม จะไม่รู้เลยว่า จิตเกิดดับตลอดคืนตลอดวัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...