จิตไม่เกิดดับ เพราะจิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตจึงไม่ใช่กองทุกข์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 16 สิงหาคม 2011.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ที่ทำสีไว้รู้สึกว่าแปลกไปไหม

    ขณะจิตหนึ่งหรือจิตเกิดครั้งหนึ่ง จิตเกิดได้ที่ละขณะ เกิดครั้งเดียวหลายขณะไม่ได้ใช่หรือไม่?

    ขณะหนึ่งๆ ก็คือจิตเกิดอารมณ์หนึ่งๆ แต่กับมีเจตสิกตั้งหลายรวมตัว ไหนบอกว่า

    จิตกับเจตสิกเป็นนามธรรมเกิดร่วมกันอยู่ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน

    เฮ้อ!!! หลักเหตุผลนั้น เป็นสิ่งสำคัญมากในการศึกษาธรรมะ

    อะไรที่ขาดเหตุผลควรพิสูจน์ก่อน จึงจะเชื่อก็ยังไม่สาย

    ไม่เคยมีใครตอบได้เลยว่า

    เจตสิกคือตัวอะไร?

    เจตสิกเกิดมาจากไหน?

    ทำไมพระอรหันต์จึงมีเครื่องปรุงแต่ง(เจตสิก)ด้วยหละ?
     
  2. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +494
    แก้ไขข้อความ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 ตุลาคม 2012
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อย่างนี้หมายความว่า
    ธรรมชาติจิตเดิมแท้ ผุดผ่องพ้นกิเลส
    แต่อยู่ๆไปกิเลสมีมาเอง ทำให้จิตเศร้าหมอง

    เมื่อจิตหลุดพ้นได้ อวิชาตามมาเกิดภายหลังได้เช่นกัน
    พระอรหันต์กลับไปมีกิเลสได้อีกหรือ
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    กำลังเถียงอรรถกถาเสียเอง หรือคิดมั่วขึ้นมาเอง

    อรรถกถากล่าวไว้ชัดๆ

    "จิตกับเจตสิกเป็นนามธรรมเกิดร่วมกันอยู่ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน มีที่อาศัยอย่างเดียวกัน"

    อรรถกถาชัดเจนแล้วนะว่า เจตสิกเกิดพร้อมจิต ไม่ใช่เกิดจากสังขาร

    สังขารคือการปรุงแต่งใช่หรือไม่?

    ยังกล้ากล่าวหาว่าร้ายพระอรหันต์เสียอีกมีการปรุงแต่งอารมณ์

    ท่านพระอรหันต์นั้นจิตท่านเป็นวิสังขารแล้วจำไว้ด้วย คือสิ้นการปรุงแต่ง

    จะพูดอะไร ถ้าไม่รู้จริงก็ระวังบาปกรรมบ้างก็ดีนะ

    ส่วนประสาทรับรู้นั้น เป็นเรื่องทางกายอย่ามั่วสิ

    คนตาบอด ประสาททางตาเสียไปแล้ว ทำไม่ยังรับรู้ทางอื่นได้หละ?

    อย่าบอกนะว่าเจตสิกเป็นตัวเส้นประสาทเอง ก็แสดงว่าไม่ใช่นามธรรม

    จะเชื่ออะไร ควรยืนอยู่บนหลักเหตุผลหน่อยสิ ศาสนาจะได้หมดเร็วนัก...
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อย่าคิดเองเออเองหรือมั่วเอาแต่ไได้สิ

    มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ชัดเจน

    "จิตเดิมนั้นประภัสสรผ่องใส ที่เศร้าหมองไป เพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจร"

    กิเลสมาเองไม่ได้ ถ้าเราไม่เชิญมันเข้ามาเป็นแขกจรของเราคือจิต

    จิตเดิมนั้นผ่องใส หนะใช่ แต่ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลสไปได้

    เพราะยังมีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้นหมักดองอยู่ที่จิตใช่หรือไม่?

    ถ้าจิตหลุดพ้นหรือหลุดพ้นดีแล้ว อวิชชายังกลับมาเกิดได้อีก

    จะเรียกว่าหลุดพ้นดีแล้วได้ด้วยหรือ? อย่าคิดเองสิ

    ถ้าอวิชชากลับมาได้อีก ต้องเรียกว่าหลุดพ้นไปได้ชั่วคราวใช่หรือไม่?

    อะไรที่เป็นของชั่วคราว เรานั้นต้องเพียรพยายามทำให้เป็นของถาวรใช่หรือไม่?

    จะพูดอะไร ก็อย่าพูดเอาแต่ได้เพียงฝ่่ายเดียวสิ และหัดตอบคำถามด้วยนะ?
     
  6. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    คุณธรรมภูต
    ตามที่ฟัง ครูบาอาจารย์ ท่านใช้จิตดั้งเดิม แต่ไม่มีคำว่าแท้เลย
    หลวงพ่อพุธ หลวงตามหาบัว ท่านกล่าวว่า จิตเดิม ผู้ที่ทำสมาธิจนถึง ฌาน 4 นั้นคือ
    ผู้ที่เข้าถึง จิตเดิม คือสามารถระงับกิเลส ได้ชั่วคราว พอออกจากฌาน 4 นั้น
    กิเลส ก็มาเกาะกินหัวใจเหมือนเดิม

    น่าจะมาเพิ่มเติมทีหลัง กระมัง กับคำว่า "แท้" ที่ต้องไปค้นหาต้นกำเนิดของจิต ซึ่ง
    ตรงนี้พระพุทธองค์ไม่ทรงแนะนำ และชี้ทาง
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    แค่เรื่องจิตที่เป็นหลักสำคัญทางพระพุทธศาสนายังไม่รู้จักกันเลย

    ถ้าไปพูดถึงเรื่องจิตเดิมที่ประภัสสร หรือ จิตเดิมแท้ที่เป็นธาตุรู้ สักแต่ว่ารู้

    สงสัยจะโดนข้อกล่าวหาว่าร้ายไปมากกว่านี้แน่เลย

    พระพุทธองค์ได้ทรงแนะนำ และชี้ทางให้ แต่ไม่ปฏิบัติตามนั่นเอง

    "ดราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์๘อยู่ โลกจักไม่วjางเว้นจากพระอรหันต์แน่นอน"

    แถมมีพระพุทธพจน์รับรองอีกว่า เริ่มต้นอริยมรรคตรงไหนก่อนดังนี้
    V
    V
    อ้างอิง มหาวาร สํ ๑๙/๕๒๐/๑๖๕๔ ฉบับสยามรัฐ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง


    ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งอะไรเล่า???
    รู้เห็นตามความเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐว่า
    นี้เป็นทุกข์
    นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
    นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

    ^
    ^
    รู้เห็นตามความเป็นจริง ก็คือ รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงนั่นเอง
    คือ รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งก็คือ สัมมาทิฐิ ในองค์อริยมรรค ๘
    หรือ ปัญญา ในองค์อริยมรรค ๘

    อ้างอิงมหาสติปัฏฐานสูตร -- สัมมาทิฐิเป็นไฉน???
    ความรู้ในทุกข์
    ความรู้ในทุกขสมุทัย
    ความรู้ในทุกขนิโรธ
    ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ

    การยังสมาธิให้เกิดขึ้นเกิดนั้น ใช่เป็นการฝึกฝนอบรมจิตหรือไม่?
    ถ้าไม่เคยปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจังจนชำนาญเป็นวสี
    จนกระทั่งรู้จักทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้จักวิธีดับทุกข์ รู้จักชำนาญในเส้นทาง(มรรค)วิธีการดับทุกข์
    จะเอาสัมมาทิฐิมาจากไหน?
    สัมมาทิฐินั้นต้องเกิดจากการปฏิบัติจนกระทั่งรู้เห็นตามความเป็นจริงเท่านั้นครับ
    ส่วนสัมมาทิฐิที่คิดเองเออเองนั้น เป็นเพียงแค่มีทิฐิที่เห็นว่าน่าจะถูกต้องเท่านั้น
    ต้องปฏิบัติเพื่อให้รู้เห็นตามความเป็นจริง จึงจะเรียกได้ว่าสัมมาทิฐินั่นเอง....
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คัลทูลสูตรที่๒

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.

    ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เดิน เขาก็ย่อมเดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
    ถ้าแม้ยืน เขาก็ย่อมยืนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
    ถ้าแม้นั่ง เขาก็ย่อมนั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
    ถ้าแม้นอน เขาย่อมนอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
    เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า
    จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะสิ้นกาลนาน.


    ว่าด้วยความเศร้าหมองและผ่องแผ้วของจิต

    [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง
    สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๓๑๔ - ๓๓๕๓. หน้าที่ ๑๔๑ - ๑๔๓.
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คัลทูลสูตรที่๒

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.

    ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เดิน เขาก็ย่อมเดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
    ถ้าแม้ยืน เขาก็ย่อมยืนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
    ถ้าแม้นั่ง เขาก็ย่อมนั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
    ถ้าแม้นอน เขาย่อมนอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
    เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า
    จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะสิ้นกาลนาน.


    ว่าด้วยความเศร้าหมองและผ่องแผ้วของจิต

    [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง
    สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๓๑๔ - ๓๓๕๓. หน้าที่ ๑๔๑ - ๑๔๓.
     
  10. ไร้นา

    ไร้นา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +108
    แค่ยิ้ม ยิ้ม ๆ แต่ยังไม่เข้าใจ และก็ขอบใจทุกๆท่านมาก
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    >>> อวิชชาสูตร <<<

    [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี

    เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า
    ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕

    ^
    ^
    เหตุแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมทำให้เกิดความบริบูรณ์แก่อวิชชา

    ซึ่งมีนิวรณ์๕เป็นอาหาร อันโอชะของอวิชชา กดดันให้เกิดอาสวะทั้งหลาย

    และอาสวะทั้งหลายก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาที่บริบูรณ์ยิ่งๆขึ้นเท่านั้น

    แต่อาสวะทั้งหลายไม่ใช่เหตุตั้งต้นของอวิชชาแน่นอน....

    เพราะพระพุทธพจน์ยืนยันไว่แน่นอนแล้วว่า

    "เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้"

    ถ้าอวิชชาหาที่ตั้งมิได้ ลอยไปก็ลอยมา

    จะต้องไปเดือดร้อนทำไมกับอวิชชาด้วยเล่า???

    ก็ไปให้มันลอยไปลอยมาเท่านั้นก็พอแล้ว

    มันมีก็เหมือนไม่มี เพราะหาที่ตั้งที่อาศัยไม่ได้
     
  12. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    หง่ะ [​IMG] ไม่ได้กล่าวร้ายอะไรค่ะ คุณหลบภัย แปลกใจเฉยๆ คุณธรรมภูติ


    เอาแบบนี้นะคะ ทารกที่อยู่ในครรภ์ ถือว่าเป็นจิตประภัสไหมคะ แตกต่างจาก
    การไประงับกิเลส ในฌาน 4 หรือเปล่าคะ คุณธรรมภูติ ช่วยชี้แนะ คุณหลบภัยด้วยค่ะ


    [​IMG]
     
  13. nipp

    nipp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +20
    ธรรมภูติ
    เป็นลูกศิษท์พระอาจารย์สงบหรือเปล่าเพราะธรรมมะเหมือนกันเลย
    1.จิตนั้นไม่เกิดดับ แต่ที่เกิด-ดับนั้นเป็นเงาของจิต ที่ไหลไปตาม ผัสสะ

    มันก็ถูกนะ แล้วแต่ละครูบาอาจารย์ หรือฆราวาสเขาจะตั้ง หรือสมมุติ

    หลวงพ่อชาท่านก็สมมุติว่า ความคิดนั้นคือ จิต -จิตนั้นก็คือจิตผู้รู้ จิตผู้รู้นั้นก็คืออวิชชา
    สรุปแล้วแต่ใครจะสมมุติ ตกลงคือ ความคิด=จิต=จิตผู้รู้=อวิชชา ทั้ง 4 ตัวคือตัวเดียวกัน

    อาจารย์ศุภวรรณ หลวงพ่อเทียน ท่านสมมุติให้ จิตนั้นคือแมว ความคิดคือหนู เมื่อปฎิบัติไปจนถึงขั้นแมวตัวใหญ่กว่าหนูแล้ว แมวจะเก่งแล้วจับหนูได้เอง อย่างเป็นอัตโนมัติ

    หลวงพ่อปราโมชน์ ท่านก้ว่า จิตนั้น เกิด-ดับ จิตนั้นก็คือ ความคิด จิตนั้นก็คือจิตผู้รู้เป็นผู้ดูจิต หรือความคิด เมื่อจิตผู้รู้ตั้งมั่น อยู่ในระดับฌาน 2 3 จิตผู้รู้จะเห็นการดับไปของความคิด เมื่อทำถึงที่สุดแล้ว จิตผู้รู้นี้ก็คือ อวิชชา ก็ต้องถูกทำลายไป จึงไม่มีจิต

    หลวงพ่อเกษม อาจิณสีโล ท่านก็ว่า จิตนั้นคืออวิชชา อวิชชานั้นก็คือจิต เมื่อทำถึงที่สุดแล้ว ก็จะไม่มีจิตและไม่มีอวิชชา
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    :cool:
    oh! good!:cool::cool::cool:
     
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แปลว่า มีผู้หลุดพ้นอย่างนั้นหรือ
     
  16. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมขอตอบได้ไหมครับ ทารกที่อยู่ในครรภ์ เป็นจิตประภัสครับ เพราะมีศีล 5 บริบูรณ์ครับ

    แตกต่างจากการไประงับกิเลสในฌาณ 4 ครับ เพราะฌาณ 4 มีอารมณ์เดียว แต่พบคลายออก จิต ยังปรุงแต่งได้ครับ

    และบางครั้งศีล 5 ไม่บริบูรณ์ เพราะการใช้ชีวิตที่เติบโตขึ้นมาครับ

    จึงมีสิ่งเจือปนมาก มากจนเจ้าของ จิต เองยังไม่รู้ก็มีอยู่เยอะครับ

    การที่มีศีล 5 บริบูรณ์จึงสามารถมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ครับ ไม่งั้นก็ต้องรอไปอีกครับ

    แต่หากสามารถทรงอารมณ์แห่งฌาณ 4 ได้เป็นเนืองนิตย์ จะเห็น จิตเดิม ได้ชัดเจนมากขึ้นครับ

    และทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ยังนอนหลับอยู่ ยังไม่ตื่นมารับรู้อารมณ์ภายนอก

    จะมีอารมณ์เสมือนตอนที่มนุษย์นอนหลับสนิทเลยครับ จิต ได้พักเต็มที่

    ฉนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงครับ บุคคลที่ถึงแล้วสามารถย้อนไปดูได้ครับ

    ระลึกได้ในขณะที่ตื่นเพราะอาการเมื่อย เหมือนคนนอนเวลาเมื่อยจะขยับตัว

    คนที่เป็นแม่จะรู้สึกว่าทารกในครรภ์ถีบ จริงๆแล้วทารกขยับตัวเพราะเมื่อยครับ

    แต่ถ้าถามถึงอาการหิว ส่วนใหญ่จะรู้กันอยู่แล้ว ว่าทารกได้อาหารจากสายสะดือ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    พระพุทธองค์ทรงหลุดพ้นใช่หรือไม่ และ ทรงบัญญัติสังโยชน์ 10 ไว้ให้เป็นแนวทาง

    และพระสาวก(พระอรหันต์)ก็ทรงหลุดพ้นเช่นกัน ด้วยประหารสังโยชน์ 10 ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้

    แต่หากจะถามว่าในยุคสมัยนี้ มีใครที่หลุดพ้นบ้าง คงตอบได้ยากเต็มที

    แต่พระศาสนาได้มีบัญญัติถึงแนวทางไว้ดีแล้ว สามารถทดลอง หรือ ทดสอบได้ด้วยตนเองครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เจริญ ฮวบ ฮวบ ในธรรมล่ะ ^^
     
  19. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา

    หทยสฺส สทิสี วาจา
    วาจาเช่นเดียวกับใจ
    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
    ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน
    ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
    คนโกรธมีวาจาหยาบคาย
    มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
    คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน
    อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
    คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
    สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
    ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์
    ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
    น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
    ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย
    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ
    วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม
    โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
    เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
    มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
    นามนุญฺญํ กุทาจนํ
    ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
    วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
    ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล


     
  20. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา

    หทยสฺส สทิสี วาจา
    วาจาเช่นเดียวกับใจ
    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
    ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน
    ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
    คนโกรธมีวาจาหยาบคาย
    มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
    คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน
    อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
    คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
    สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
    ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์
    ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
    น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
    ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย
    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ
    วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม
    โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
    เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
    มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
    นามนุญฺญํ กุทาจนํ
    ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
    วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
    ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล


     

แชร์หน้านี้

Loading...