จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    [​IMG]

    เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘
    เรื่อง จิตวุ่นวาย

    คำว่า “ที่นั่นวุ่นวาย ที่นี่วุ่นวาย” จะหมายถึงอะไร? ถ้าไม่หมายถึงใจตัวก่อเหตุนี้เท่านั้นพาให้เป็นไปต่างหาก สถานที่เขาไม่ได้วุ่นวาย นอกจากใจเป็นผู้วุ่นวายแต่ผู้เดียว ดินฟ้าอากาศเขาไม่ได้ว่าเขาเป็นทุกข์เป็นร้อนและวุ่นวายอะไร ถ้าดูแบบนักปฏิบัติธรรมเพื่อธรรมอย่างจริงใจ จะเห็นแต่ใจดวงเดียวนี้เท่านั้นดิ้นรนวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา ยิ่งกว่าหางจิ้งเหลนขาด (หางจิ้งเหลนขาดมันดิ้นริดๆ) สถานที่ใดก็เป็นสถานที่นั้นอยู่ตามสภาพของเขา ผู้ที่วุ่นวายก็คือหัวใจที่เต็มไปด้วยกิเลสเครื่องก่อกวนให้วุ่นวายนั้นเอง ขึ้นชื่อว่า “กิเลส” แล้ว ทุกประเภทต้องทำคนและสัตว์ให้อยู่เป็นปกติสุขได้ยาก ต้องลุกลี้ลุกลนกระวนกระวายส่ายแส่ไปตามความผลักดันของมันมากน้อยอยู่นั่นเอง

    ที่พระพุทธเจ้าท่านว่า “จงมาสู่สถานที่นี้ ที่นี่ไม่วุ่นวาย!” คือพระองค์ไม่วุ่นวาย พระองค์ได้ชำระความวุ่นวายหมดแล้ว บรรดาสิ่งที่ทำให้วุ่นวายภายในพระทัยไม่มีเหลือแล้ว สถานที่นี้จึงไม่วุ่นวายไม่ขัดข้อง

    “ยสกุลบุตร” ถ้าพูดถึงชื่อ ก็ว่า “ยส” เข้ามานี่ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ที่นี่ไม่เศร้าหมองขุ่นมัวไปด้วยตมด้วยโคลนคือกิเลสโสมมต่างๆ แต่ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าจะทรงทราบชื่อทราบนามของเขาหรือไม่ก็ตาม ก็หมายเอาผู้นั้นนั่นแหละ เมื่อเราทราบชื่อของท่านแล้วก็ถือเอาความว่า สถานที่นั้นก็คือสถานที่บำเพ็ญเพื่อความไม่วุ่นวายนั่นเอง สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่เวลานั้น ก็เป็นสถานที่ที่ฆ่ากิเลส ทำลายกิเลสทั้งมวล ไม่ใช่เป็นที่สั่งสมกิเลส เป็นสถานที่ไม่วุ่นวายกับอะไรบรรดาข้าศึกเครื่องก่อกวน จึงทรงเรียกพระยสเข้ามาว่า

    “มาที่นี่ ที่นี้ไม่ยุ่งเหยิง ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่เดือดร้อน” ที่นี่เป็นที่อบรมสั่งสอนธรรมเพื่อแก้ความเดือดร้อนวุ่นวายภายในใจโดยตรง จนยสกุลบุตรได้บรรลุธรรมเป็นที่พอใจในที่นั้น

    ที่นั้นควรเป็นเครื่องระลึก ให้เราทั้งหลายได้คิดถึงเรื่องความวุ่นวายว่า มันอยู่ในสถานที่ใดกันแน่? ถ้าไม่อยู่ในหัวใจนี้ไม่มีในที่อื่นใด เมื่อความวุ่นวายที่ก่อกวนอยู่ภายในใจระงับดับลงไปแล้ว ด้วยความประพฤติปฏิบัติธรรมในสถานที่อันเหมาะสม ความสงบเย็นใจก็เกิดขึ้น ไปที่ใดอยู่ที่ใดก็ไม่วุ่นวาย เมื่อหัวใจไม่วุ่นวายเสียอย่างเดียว อยู่ที่ไหนก็อยู่เถอะไม่วุ่นวายทั้งสิ้น สบายไปหมด! จะอดบ้างอิ่มบ้างก็สบาย เพราะใจอิ่มธรรม ไม่หิวโหยในอารมณ์เครื่องก่อกวนให้วุ่นวาย เราสังเกตดูเผินๆ ก็ พอทราบได้ ด้วยอาการที่แสดงออกของสัตว์และบุคคล ในเวลามีความทุกข์เข้าทับถมมากน้อย เฉพาะอย่างยิ่งขณะจะตายสัตว์จะดิ้นรน คนจะอยู่เป็นปกติสุขไม่ได้ ต้องกระวนกระวายทิ้งเนื้อทิ้งตัว จนไม่มีสติประคองใจ กระทั่งตายไป

    ฉะนั้นจึงมีใจดวงเดียวเป็นตัวก่อเหตุให้เกิดความวุ่นวาย แต่ใจนั้นมีสิ่งที่พาให้ก่อเหตุ ไม่ใช่เฉพาะใจเฉยๆ จะก่อเหตุขึ้นมาอย่างดื้อๆ สิ่งที่แทรกสิงอยู่นั้นคือสิ่งวุ่นวายหรือตัววุ่นวาย เมื่อเข้าไปสิงในจิตใจของผู้ใด ผู้นั้นก็ต้องวุ่นวายไปด้วยมัน การแก้กิเลสคือธรรมชาติที่ทำให้วุ่นวายนี้ จึงแก้ลงที่ใจด้วยข้อปฏิบัติ เช่น ท่านสอนให้กำหนด “พุทโธ,ธัมโม,สังโฆ” เป็นเครื่องบริกรรม หรือกำหนด “อานาปานสติ” เป็นอารมณ์ เพื่อใจได้รับความสงบระงับในขั้นเริ่มแรก ซึ่งเป็นธรรมเครื่องระงับความวุ่นวาย ต่อไปก็ตามดูใจว่ามันวุ่นวายกับเรื่องอะไร? นี่คือขั้นเริ่มแรกที่ปัญญาจะเริ่มออกก้าวเดินเพื่อค้นหาสาเหตุ คือตัวกิเลสที่ทำให้ใจวุ่นวายไม่หยุดหย่อน จนกว่าจะรู้เรื่องของมันไปโดยลำดับ ไม่ยอมถอยทัพกลับแพ้ข้าศึก ตัวแทรกซึมก่อกวนที่แอบซ่อนอยู่ภายในจิต

    เช่นใจวุ่นวายกับเรื่องรูป รส กลิ่น เสียง เครื่องสัมผัส ซึ่งเข้าใจว่าอันนั้นดี อันนี้ชั่ว อันนั้นเป็นอย่างนั้น อันนี้เป็นอย่างนี้ ด้วยความสำคัญต่างๆ ปัญญา พิจารณาคลี่คลายดูให้เห็นตามความเป็นจริงในสิ่งนั้นๆ แล้วย้อนเข้ามาดูจิตใจผู้มีความสำคัญมั่นหมายในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ จนเกิดความวุ่นวายขึ้นภายในตัว ให้เห็นชัดเจนทั้งภายในภายนอก ใจก็สงบระงับลงไปได้ เป็นอรรถเป็นธรรม พอมีที่ผ่อนคลายหายทุกข์ไปได้ไม่รุนแรง

    การแก้ความวุ่นวายแก้ตรงที่ความวุ่นวายมีอยู่ คือใจนี่เอง แก้ไม่หยุดไม่ถอย ใจจะฝืนเราไปที่ไหน จะต้องสงบระงับความกำเริบลงจนได้ไม่เหนือธรรมเครื่องฝึกทรมานไปได้ ปราชญ์ท่านเคยฝึกทรมานจนเห็นผลมาแล้ว จึงได้นำอุบายวิธีนั้นๆ มาสอนสัตว์โลกเช่นพวกเรา ชาวปฏิบัติธรรมทางใจ
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้า
     
  2. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    พวกเรากำลังทำอะไรกันอยู่
    อย่าไปสนใจกับภัยพิบัติภายนอกจิตตนเองมากนักเลย
    เดี๋ยวจิตจะตก เราจะเป็นทุกข์เสียเอง ไม่มีใครทำให้เราทุกข์เท่ากับตนเอง

    ดูภัยพิบัติภายใน ก็คือจิตใจตนเอง จะดีกว่า
    เพราะกิเลสมันเผากาย เผาใจตนเองทุกนาที ทุกชั่วโมง ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี
    จนกว่าจิตจะหนีเข้านิพพาน แค่พระโสดาบันก็ยังโดนเผา แต่น้อยกว่าปุถุชน
    แต่มันค่อยๆ เผาทีละเล็ก ทีละน้อย แบบไม่รู้ตัว
    มารู้ตัวกันอีกทีนึง ก็คือ เป็นทุกข์ไปแล้ว

    หรือหนักไปกว่านั้น ก็คือ อกหัก รักคุด รักสามเส้า รักสี่หรือห้าเศร้าก็ตาม
    บ้างก็ทำร้ายตนเอง บ้างก็ฆ่าตัวตาย โดยกระโดดน้ำตาย ให้รถชนตาย กิินยาตายบ้าง
    อย่างนี้ตาย เพราะความรัก หรือความหลง
    แต่ถ้าตายเพราะโลภ เช่น ทำธุรกิจเจ๊ง ฆ่าลูก ฆ่าภรรยาตาย สุดท้ายก็ฆ่าตนเองตายตามไปด้วย
    แต่ถ้าตายเพราะความโกรธ อันนี้จะมุ่งประเด็นไปทำร้ายผู้อื่นแทน
    อันนี้มีเยอะแยะให้เห็นกันมากมาย จะไม่ขอกล่าวถึง

    เหตุที่พร่ำบ่นวันนี้ ก็แค่อยากให้พวกเรา มีเวลาอยู่กับตนเองให้มาก
    เพราะจะได้มีเวลาดูกาย ดูจิต โดยเฉพาะดูจิตตนเองมากๆ
    เพราะจิตตัวเดียว ที่จะทำให้เราอยู่ก็สุข(มีลมหายใจ) ไปก็ุสุข(ตาย)
    เราไม่รู้วันตาย อย่ามัวหลงระเริง อยู่กับสิ่งสมมุติกันมากนัก

    อย่าลืมตัวว่า...
    เราเกิดมาเพื่อสร้างบุญบารมี หรือ เพื่อจะทำแต่บาปๆๆ เพียงอย่างเดียว
    นั่นแหล่ะ! เรากำลังกำหนดชะตาชีวิต หรือการไปของดวงจิตตนเองแล้ว

     
  3. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เกิดมาทำไม!
    บางคนเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม บางคนเกิดมาเพื่อบรรลุธรรม
    บางคนเกิดมาเพื่อเสวยกรรมดี กรรมชั่ว บางคนเกิดมาเพื่อสร้างบุญ สร้างบารมี

    สรุปแล้ว ก็แล้วแต่กรรมผู้ใดจะนำพา
    แต่ถ้าผู้ใดทำเหตุ ปัจจัย ในปัจจุบันให้มันดี หรือ มุ่งแต่เจริญสติ สมาธิ ปัญญา
    อันนี้ถือว่าดีมาก เพราะเห็นมีแต่พระกรรมฐานที่พอจะเปลี่ยนนิสัยหรือสันดาน
    หรือดวงชะตาชีวิตของคนเราได้ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเป็นทุกข์
    หรือผู้ที่ชอบโทษดวงชะตาตนเองไม่ดี ว่าต้องเป็นเพราะกรรมเก่าที่เคยทำไม่ดีไว้แน่ๆ

    พระพุทธองค์ก็เคยทรงตรัสว่า การกระทำความดี ก็อย่าไปสนใจกรรมอดีต
    ธรรมะของพระพุทธองค์เป็นของละเอียด ศักดิ์สิทธิ์มาก
    คนสมัยก่อนฟังธรรมะ จากพุทธวจนะหรือพระโอษฐ์ ก็มีดวงตาเห็นธรรมเลย
    ก็เพราะว่า เขาฟังด้วยใจ คือฟังอย่างตั้งใจจริงๆ ไม่ใช่คนสมัยนี้ คือฟังหูซ้ายทะลุหูขวา
    (ผมว่าตัวเอง เมื่อก่อนนะ)

    เมื่อพวกเราไม่ได้ฟังธรรมะโดยตรง จากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์
    เพราะฉะนั้น พวกเราจะต้องมีความขยันมากกว่าหลายเท่าตัว กว่าจะมีดวงตาเห็นธรรม

    พระธรรมหรือคำสังสอนของพระพุทธองค์เป็นอมตะ เห็นมีแต่จิตของคนเราที่คอยเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
    พระพุทธศาสนาไม่มีวันเสื่อม ไม่ต้องเป็นห่วง
    เพราะเห็นมีแต่จิตใจของผู้คนที่เสื่อมอยู่ทุกวัน ทุกยุคทุกสมัยกาล
    อย่าไปวิตกกังวล เอาจิตตนเองให้รอดก่อน เมื่อรอดแล้ว ค่อยไปช่วยผู้อื่นต่อไปฯ

    พระธรรรมจะไม่เสื่อมสลาย เพราะถ้าพุทธบริษัท มีสติปัญญา มีปัญญาญาณ
    ต้องช่วยกันยกจิต หรือ พากันเข้าให้ถึงธรรมปฎิบัติ มิใช่แค่อามิสบูชา
    หรือ มิใช่แค่สร้างสิ่งภายนอก

    พูดได้แค่นี้ พูดมากก็ไม่ดี เดี๋ยวพลาด เพราะความละเอียดแห่งจิตต่างกัน
    มิใช่ตนเองรู้มาก หรือไปเปรียบบุคคลอื่นเขานะ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดกัน
    แค่แลกเปลี่ยนธรรมะกันเฉยๆ

     
  4. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ธรรมะสดๆ จ้า
    ตลาดสดไม่มีขายนะเอ๊า!
    เหมือนได้ดื่มน้ำตาลสดจากต้น ทั้งหวาน เย็นและชื่นใจ
    เหมือนได้ฟังธรรมะจากพระโอษฐ์ ก็มิปาน

    เอ๊า! ขยันผุดขึ้นมา เมื่อผุดขึ้นมาแล้ว เราก็แบ่งปันกัน แต่ต้องเอาปัญญาของตนกรองอีกทีนึง
    เมื่อก่อนจะทิ้งหมด เพราะเป็นคนปฎิเสธทั้งนิมิตและอภิญญา
    เอ่อ นี่ถ้าไม่มีผู้ใดฝากมา ก็ไม่เอาเหมือนกัน(งงมั๊ย ไม่ต้องงงนะ)

    เหมือนบริษัทหรือห้างร้าน ก็ต้องมี Auditor หรือผู้ตรวจสอบบัญชี
    น้ำก็เหมือนกัน กว่าจะใสสะอาดให้เราได้ดื่มกิน ก็ต้องผ่านfilter หรือกรองเป็นอย่างดี
    จิตคนเราก็เหมือนกัน กว่าจะดีหรือใสได้ ก็ต้องผ่านกระบวนการชำระหรือล้างจิต ล้างกิเกสกันมาเท่าไหร่
    นับตั้งแต่รักษาศีล ทำภาวนา ภาวนามีทั้งสมถะและวิปัสสนา
    กว่านักภาวนาจะได้สติสัมปชัญญะ หรือมหาสติ มหาสมาธิ มหาปัญญา
    หรือปัญญาญาณ หรือสัมมาญาณะ หรือวิมุตติ

    มันไม่ง่ายนัก ที่จิตนักภาวนา จะมองเห็นความเกิด-ดับของธรรม เป็นธรรมดา
    เป็นอนัตตา กว่าจิตไปอยู่ระหว่าง คำว่า สุขหรือทุกข์ ยินดีหรือไม่ยินดี
    พอใจหรือไม่พอใจ ดีใจหรือเสียใจ เป็นต้น

    ไม่อยากนอนเลย เมื่อถึงเวลานอน ก็ต้องนอน
    ไม่อยากพูดเลย เมื่อถึงเวลาพูด ก็ต้องพูด
    ทุกวันนี้มันกลัวตายที่ไหน มันเป็นทุกข์ ร้อนรนซะที่ไหน
    นึกว่าตายจริง ลมหายใจละเอียดขนาดนั้น
    ปัจจัตตัง! ทุกท่านสามารถเข้าถึงกันได้ทุกคน ไม่ใช่เรื่องวิเศษ
    ไม่เกินสติปัญญาของมนุษย์ที่ฝึกฝนกัันได้ ว่าแต่ว่า จะฝึกกันไหม
    เมื่อไหร่ เท่านั้นเอง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มีนาคม 2013
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อย่าลืมนะ!
    เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ป้าๆ น้าๆ อาๆ
    ตัดขันธ์ ๕ ให้เด็ดขาด นิพพานก็อยู่ไม่ไกล
    ไม่ต้องไปตัดคนอื่น ไม่ต้องเอาจิตไปสนใจอย่างอื่น
    วันๆนึงเอาจิตไปตั้งอยู่แต่ฝ่ายบุญ ฝ่ายกุศลเป็นพอ
    ใครดี ใครเลว ไม่เกี่ยวกับตน ไม่เกี่ยวมรรคผลของตนเอง
    ไม่ต้องรู้มาก ให้ปฎิบัติมากๆ แต่อย่ามองข้ามศีลตนเองนะ


    ถ้ำอยู่ที่กายตน จิตอยู่กับพระพุทธเจ้า อย่าได้ห่าง!
    สติอยู่ไหน ฌานอยู่ไหน จิตอยู่ไหน หาเจอกันไหม๊
    หาสองตัวนี้ให้เจอก่อนเห่อ อย่าเพิ่งไปหาปัญญา
    เหมือนคนอยากไปสวรรค์ อยากไปพระนิพพาน
    แต่ไม่รู้จักแม้น คำว่า การรักษาศีล ทำภาวนา
    ปิดประตูนรกตนเองให้ได้ก่อนเห่อ

    *ดื่มน้ำ ต้องเลือกดื่มน้ำ pure! pure!

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มีนาคม 2013
  6. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ♥ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    อย่าตำหนิว่าใครเลว ถ้าเขารู้ตัว ไม่มีใครหรอกที่อยากจักทำตัวเป็นคนเลว ให้ใครเขาประณามหยามหยัน

    ให้มองทุกอย่างเป็นกฎของกรรม กรรมมันบังคับเขาให้เป็นเช่นนั้น คิดให้ลงจุดนี้ให้ได้ จักมีความเมตตาและสงสารบุคคลผู้หลงผิดเหล่านั้น

    แทนที่จักไปประณามการกระทำของเขา กลับมีความสงสาร ที่เขาหลงผิด กระทำกรรมเหล่านั้นขึ้นมา ให้เป็นกฎของอกุศลกรรม อันจักนำให้เขาต้องลงไปสู่อบายภูมิ ๔ ตั้งต้นกันใหม่อีกยาวนานกว่าจักกลับมาเป็นมนุษย์

    ให้คิดอย่างนี้ด้วยจิตเมตตา กรุณา แต่มิใช่คิดอย่างสาสมใจในกฎของกรรมชั่วของเขา ถ้าเป็นเยี่ยงนั้น เจ้าก็ตั้งอารมณ์ผิด จิตขาดอภัยทานเป็นการไม่ถูกต้องของการตั้งอารมณ์นั้น


    จากหนังสือธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  7. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ธรรมโอวาทหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    เขตของการบุญน่ะ มันอยู่ที่จิตเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ตั้งมั่น ไม่ใช่ตัวบุญอยู่ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว หากว่าเราภาวนาแบบชนิดนกแก้วนกขุนทอง ว่าไป พุทโธ ธัมโม สังโฆ ว่าไปโดยจิตไม่ตั้ง อารมณ์ไม่ทรงอยู่ พอว่าไปบ้าง พุทโธ ๆ หรือว่า ธัมโม สังโฆ ก็ตาม หรืออย่างอื่นก็ตาม แต่จิตอีกส่วนหนึ่ง มันแลบไปสู่อารมณ์อย่างอื่น อย่างนี้ว่าเท่าไรก็ไม่เป็นบุญ

    การที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีการภาวนาด้วย ก็เพื่อจะใช้อารมณ์ยึด คือสติให้รู้อยู่ว่านี่เรากำหนดลมหายใจเข้าออก หรือว่าเราภาวนาว่าอย่างไร แล้วก็ควบคุมอารมณ์อยู่เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียวให้เป็นเอกัคตารมณ์ อารมณ์ของเราเป็นหนึ่งไม่มีสอง อย่างนี้จัดว่าเป็นสมาธิ
     
  8. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ผู้ที่เคารพตนนั้นก็คือผู้เคารพธรรมนั้นเอง...เพราะธรรมที่แท้ก็อยู่ที่กายกับใจของเราๆท่านๆ ที่เป็นรูป-นามประกอบกันขึ้นเป็นเรามีธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ลม ไฟ นั้นเอง...เราจะสังเกตุเห็นได้ว่าธาตุที่เรามีอยู่ในร่างกายของเราก็ที่สําคัญมากก็คือ "ธาตุลม"ถ้าขาดลมไม่ถึง ๕ นาทีก็ตายแล้วจึงเป็นธาตุที่สําคัญมาก แต่ธาตุที่เหนือธาตุพวกนี้ก็คือ"วิญญาณธาตุ"ที่ก่อให้เกิดตัวปรุงแต่งที่ทําให้โลกวุ่นวายอยู่ตลอดเวลาท่านได้กล่าวไว้ว่า "โลกก็เปรียบเหมือนเนื้อที่มีอยู่ในโลกนี้ และเกลือก็คือ"ศีลธรรม" เพราะเนื้อทุกชนิดถ้าขาดเกลือก็จะเน่าก็เหมือนคนไม่มีศีลนั้นแหละก็จะทําให้เป็นคนที่มีจิตใจเน่าได้ต้องเอาเกลือมารักษาไว้...เพราะเกลือจะรักษาเนื้อไม่ให้เน่า ก็เหมือนเรามีศีลเราก็จะมีสติและสตินี้ก็จะรักษาเราเหมือนเกลือรักษาความเค็มนั้นเอง...
    ที่มาจากเทปธรรมะเทศน์ในงานมุทิตาของหลวงปู่ชา สุภทฺโท
    ลูกขอน้อมกราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้า
     
  9. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    "ปัญญา"เป็นเอกลักษณ์หรือธงชัยของพระศาสนา เพราะปัญญาคือความรู้ที่เห็นเป็นจริงเพราะได้เชื่อได้ศรัทธาอย่างถูกต้องของผู้ปฏิบัติ...ถ้ายังไม่เกิดปัญญาก็จะไปศรัทธาที่ผิดๆได้เหมือนคนที่เริ่มมีศรัทธาแล้วก็ทําไปด้วยความเห็นผิดก็มีมากเพราะ"ตัวปัญญา"ที่แท้จริงยังไม่เกิด บางครั้งเอาความคิดเห็นตนเป็นใหญ่ เพราะใจที่ยังไม่เห็นปัญญาที่แท้ จึงต้องปฏิบัติให้เป็นปัญญาอย่างแท้จริง...คือ ปฏิบัติบูชาธรรมไม่ได้ปฏิบัติบูชาตนเป็นใหญ่ เพราะปัญญานี้คือ"รู้ตามความเป็นจริงนั้นคือรู้ที่มาที่ไปของสัตว์ที่เทียวเกิดเทียวตายไปตามกรรม นี่ต้องเชื่อเรื่อง"กรรมนี่เป็นตัวให้ผล"เพราะปัญญามีแล้วนั้นจึงจะเห็นและเชื่อทุกๆอย่างเป็นไปตามกรรมของๆตน และการปฏิบัติเราก็ต้องมีคุณงามความดีที่จะปฏิบัตให้เข้าถึงซึ้ง"ตัวปัญญา"นั้นเอง...
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,376
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    ทาง ๕ สายสลายทุกข์ ๑ พระอาจารย์ สมภพ โชติปัญโญ
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=OCOjB3Q9GmE]ทาง ๕ สายสลายทุกข์ ๑ พระอาจารย์ สมภพ โชติปัญโญ - YouTube[/ame]

    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     
  11. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เราอยู่เหนือสิ่งเหล่านี้กันได้ไหม?
    คือ อารมณ์และความรู้สึกต่างๆของตนเอง
    ได้แก่ สุขหรือทุกข์ ดีใจหรือเสียใจ พอใจหรือไม่พอใจ เป็นต้น

    เมื่อคนเราหลงมาเกิดกันแล้ว ย่อมหนีไม่พ้น คำว่า สุขหรือทุกข์
    นอกเสียจากผู้ปฎิบัติธรรม และจะต้องบรรลุธรรมขั้นใด ขั้นหนึ่ง
    หรือได้ญาณใด ญาณหนึ่ง จากญาณทั้ง ๙ (มรรค๔ ผล๔ นิพพาน๑)

    สรุปแล้ว ขึ้นอยู่กับความละเอียดของจิต
    จิตละเอียดมาก ก็ยิ่งจะปล่อยวางกับทุกสิ่งได้ง่าย เช่น พระอรหันต์

    พระอรหันต์ก็เหมือนเราๆ ท่านๆ ทุกอย่าง นี่แหล่ะ
    มีอายตนะ หรือการรับรู้เหมือนเราหมดทุกอย่าง
    ต่างกันที่จิตเท่านั้น เช่น จิตนิ่ง มีสมาธิ มีปัญญา หรือมีญาณ
    และที่สำคัญยิ่งไปกว่านี้ ก็คือ พระอรหันต์ไม่เอาจิตไปยึดมั่นถือมั่น
    กับสิ่งกระทบจิต หรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เพราะจิตฝึกมาดี
    ย่อมรู้ และเข้าใจธรรมในอริยสัจ ๔ และกฎไตรลักษณ์เป็นอย่างดี
    และเข้าไปให้ถึงธรรมะ โดยการเอาจิตไปเดินมรรคมีองค์ ๘

    เมื่อเราอยู่เหนือขันธ์ ๕ เหนือความรู้สึกนึกคิด แยกกายแยกจิตได้ชัดเจนและเด็ดขาด
    ก็ย่อมอยู่เหนือโลกได้

    ปล.ขออนุญาตยกคุณทาทา ยัง มาเพื่อธรรมาทานในครั้งนี้ด้วย
    และขอให้เธอพบความสุขที่แท้จริง มีดวงตาเห็นธรรมไวๆด้วยเทอญ..สาธุๆๆ
    "โลกคือละคร โลกคือมายา"

     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    หากคนเรามีสติมาก
    ก็พอจะมองเห็น คำว่า ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม ผู้ที่ไม่มีดวงตาเห็นธรรม ได้ชัดเจน

    คำว่า ธรรม แปลว่า ความจริง!
    เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม แปลว่า ผู้ที่เห็นความจริง เห็นของจริงๆ

    แล้วลองหันมาดูผู้ที่ไม่มีดวงตาเห็นธรรมกันบ้างสิ!
    แปลว่า ผู้ที่มองไม่เห็นความจริง เห็นแต่มายา เห็นแต่สิ่งหลอกลวงแทบทั้งสิ้น
    อ่านกันหลายๆรอบ ทำความเข้าใจให้ดี อ่านอย่างมีสติ อ่านด้วยใจ

    แล้วตอบตนเองให้ได้ ว่า..เราเป็นคนแบบไหน?
     
  13. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    ว่าถึงเรื่องจิตเรื่องใจ
    อันว่าจิตหรือใจ แห่งเราๆท่านๆ เปรียบด้วยของ ๓ อย่าง

    1. เปรียบเหมือนกับน้ำ
    2. เปรียบเหมือนกับทองคำ
    3. เปรียบเหมือนกับเลข ๙

    ๑. จิตใจ เปรียบเหมือนน้ำอย่างไร

    คือว่าน้ำนั้น เป็นธาตุไม่ตาย กระจายอยู่ในที่ต่างๆ หลายชนิด เปรี้ยวบ้าง ฝาดบ้าง กร่อยบ้าง เค็มบ้าง ตลอดจนคุณภาพ และสีน้ำในที่ต่างๆชนิดต่างๆ ก็ล้วนเป็นธาตุไม่ตายทั้งนั้น จิตใจอันชื่อว่าสัตว์ก็ไม่ตายเช่นกับน้ำ จิตใจไม่ใช่นามขันธ์ ในขันธ์ ๕ ซึ่งเกิดสลายไปตามกาลเวลา จิตใจเราท่าน ตราบใดยังไม่เข้าสู่อมตมหานิพพาน ก็จะชื่อว่าสัตว์เวียนว่าย ตายเกิดหาที่สุดมิได้
    น้ำทั้งหลายในโลกแผ่นดิน แอ่งใหญ่ แอ่งน้อย ธารใหญ่ ธารน้อย ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของน้ำในมหาสมุทรทั้งนั้น และเป็นเชื้อเดียวตระกูลเดียวกัน เมื่อใดไหลไปถึงมหาสมุทร ก็จะเปลี่ยนรส เปลี่ยนสี เข้าเป็นอันเดียวกันกับน้ำในมหาสมุทร และเป็นรสเดียวกันกับน้ำมหาสมุทร

    ๒. จิตใจเปรียบเหมือนทองคำอย่างไร

    ทองคำย่อมมีชนิดต่างๆ กล่าวโดยย่อก็บริสุทธ์ กับไม่บริสุทธ์ ชนิดที่ไม่บริสุทธ์ ก็คือมีแร่อื่นผสม บรรดาจิตใจก็เหมือนกัน ผู้ใดชำระจิตใจให้บริสุทธ์แล้ว ก็เป็นดังทองคำที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ทองคำทั้งหลาย ก็เป็นแร่ธาตุที่ไม่ตาย จึงมีคำพูดว่า ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้

    ๓. จิตใจเปรียบเหมือนเลข ๙ อย่างไร

    เลข ๙ เป็นเลขที่มีจำนวนสูงสุดในบรรดาเลข เป็นเลขกายสิทธิ์ และหมายความว่าไม่ตายแต่เลข ๙ ก็ยังเป็นเลขไม่สมบูรณ์ เลขที่สมบรูณ์กว่า คือเลข ๐ ที่ว่าไม่สมบูรณ ก็เพราะมีความเปลี่ยนแปรไม่คงที่ เหมือนกับน้ำบนแผ่นดิน ส่วนเลขสูญนั้น ไม่เปลี่ยนเป็นอื่น เหมือนน้ำมหาสมุทรคงที่ เลขสูญเป็นอากาศธาตุ ไม่ตายใช้เท่าไรก็ไม่หมดเช่นคนสูบความว่าง หายใจเข้าไปเท่าไรๆ ความว่างธาตุว่างก็ไม่มีวันที่จะหมดไป เลขสูญไม่หมด และไม่มีอะไรๆ จะลบล้างได้ ดังจะรู้ได้ดังนี้
    เอาเลข ๑ ลบเลข ๐ จะเห็นว่าลบไม่ได้ สูญก็คงเป็นสูญคงเดิม เอาเลข ๑ ลบเลขอื่นๆ เลขอื่นๆ จะลดลง เช่น เอาเลข ๑ ลบ ๙ เลข ๙ จะลดจำนวนลงเหลือ ๘ หรือ ๑ ลบ ๘ จะเหลือ ๗ หรือว่าเอา ๑ บวก ๐ ก็คงไม่ได้จำนวนจากสูญ เลขสูญจึงชื่อว่าสมบูรณ์ เป็นสภาพมีอยู่ เลขสูญจึงชี้หมายถึง อมตมหานิพพาน ซึ่งเป็นสภาพมีอยู่ๆ เหนือกาลสาม

    เขียนโดย พระคณเจ้า หลวงพ่อ ดาบส สุมโน
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ธรรมะที่แท้จริงอยู่ที่ไหน
    ก็อยู่ข้างในกายและใจของตนเอง นั่นแหล่ะ!

    มองเข้าไป กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
    โดยเฉพาะ จิตในจิตตนเอง มองดูบ่อยๆ แต่มิใช่ให้ดูนานๆ
    อย่าไปมองดูคนอื่น สิ่งอื่น ที่มิใช่เรื่องจิตตนเอง
    เพราะนอกนั้น มิใช่ธรรมะที่จริงของเรา
    ข้างนอกจิตตนเองนั้น มีแต่สิ่งมายา หาความจริงมิได้เลย
     
  15. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เข้าใจไปหมด
    ถ้าเข้าใจธรรมะ เข้าใจธรรมชาติ ก็ย่อมเข้าใจตนเองและผู้อื่น
    ธรรมมีหลายระดับ ศีลก็มีหลายระดับ ก็ขึ้นอยู่กับจิตใจผู้นั้น
    จิตใจของคนเรานั้น ก็มีหลายระดับเช่นกัน
    ได้แก่ จิตปุถุชน จิตอริยบุคคล เป็นต้น

    จิตปุถุชน ก็มีหลายระดับ คือเริ่มตั้งแต่ศีลด่าง ศีลพร้อย จนถึงศีลขาดกระจุย
    จิตอริยบุคคล มีตั้งแต่ พระโสดาบัน จนถึงพระอรหันต์
    จิตของพระอรหันต์ยังมีปลีกย่อยเข้าไปอีก ก็คือ อรหันตมรรค อรหันตผล
    และที่สุดของที่สุด ก็คือ จิตนิพพาน

    เราผู้ปฎิบัติธรรม ย่อมจะต้องรู้วาระจิตตนเองเป็นอย่างดี
    เราสมควรรู้ธรรมไปตามวาระจิตของตนเองนั้นๆเถิด
    เพราะฉะนั้น ผู้ปฎิบัติย่อมมีสุข มีทุกข์ต่างกันไป
    ปล่อยวางกับทุกสิ่ง ก็ต่างกันไป

    และด้วยเหตุนี้ พระโสดาบันจึงเป็นทุกข์ รู้สึกทุกข์น้อยกว่าปุถุชนหรือคนธรรมดา
    พระโสดาบันมีความสุขมากกว่าปุถุชนหรือคนธรรมดา
    พระโสดาบันมีความสุขน้อยกว่าพระอรหันต์
    แต่พระอรหันต์ ไม่เอาทั้งทุกข์และก็สุข

    ความสุขพระอรหันต์ คือความว่าง ความสุขเพราะจิตละปล่อยวางกับสิ่งสมมุติทั้งปวง
    แต่คนส่วนใหญ่ให้คำจำกัดความว่า บรมสุข สุขเหนือสุข
    แต่จริงๆแล้ว อาจจะไม่ถูกต้องนัก มันไม่ใช่ความสุขอะไรแบบนั้น
    ความสุขที่คนทางโลกตั้งชื่อหรือหยิบยื่นให้ เพราะจิตปราศจาก ปฎิเสธ ไม่ไปยึดติดกับสิ่งใดๆ
    เช่น กิเลส ตัณหาและอุปาทาน

    ปล.ขออนุญาตกล่าวถึงอารมณ์ของอริยบุคคล
    มิได้มีเจตนาล่วงเกินจิตผู้อื่น หรือไปเปรียบเทียบจิตผู้ใด
    แต่ถ้าใช้ภาษาสมมุติไม่ถูกใจท่านทั้งหลาย จึงขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มีนาคม 2013
  16. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การทําความดีนั้นเป็นของยาก คนจึงไม่อยากทําเพราะมันเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก...ถ้าสิ่งไหนที่ทํากันได้ยากสิ่งนั้นก็มีคุณค่ามาก เพราะเราจะรู้ว่ากว่าเราจะได้อะไรมานั้นก็ได้มาไม่ง่ายมันก็ทําให้เห็นคุณค่านั้น..ยกตัวอย่าง เช่น พระอรหันต์ท่านก็ไม่ได้บรรลุธรรมของท่านได้ง่ายๆเพราะ แต่ละท่านก็ล้วนมอบกายถวายชีวิตแทบทุกๆท่าน เพราะธรรมก็อยู่ผากตายทั้งนั้นไม่มีอะไรได้มาง่ายๆเลย... ถ้าปฏิบัติธรรมโดยที่เรามีศรัทธาต่อพระศาสนานั้นก็จะทําโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนอะไรทั้งสิ้นแล้วก็จะทําเพื่อความหลุดพ้นเพื่อพ้นจากทุกข์เท่านั้น...พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสสอนว่าไม่มีอะไรเป็นของเที่ยงแม้แต่อะไรๆก็ไม่เที่ยง เพราะคําสอนของท่านได้ประจักษ์ต่อสายตาของพวกเราๆท่านๆแล้ว อย่างท่านได้กล่าวไว้ว่า รูปไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง และถ้าเราได้เดินรอยตามท่านแล้วก็จะเห็นได้ด้วยดี เพราะไม่มีอะไรเป็นของเที่ยงแม้แต่ตัวของเราก็ไม่เที่ยงนั้นเอง...จึงต้องทําอะไรแล้วจงอย่าได้หวังเพราะความหวังที่ไม่สมหวังนั้นก็จะทําให้เป็นทุกข์ได้..การปฏิบัติธรรมท่านให้ทําด้วยใจและเข้าถึงการปล่อยวางนั้นแหละที่จะเป็นความสุขที่แท้จริง ปล่อยแม้แต่คําว่าเรานั้นเอง ไม่มีเราไม่มีเขาก็สบายนั้นเอง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2013
  17. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    พระศาสนาเหมือนรักษาโรคที่มีอยู่ในโลกนี้ เพราะธรรมะโอสถของพระพุทธเจ้านั้นมีหลายขนานไว้สําหรับแต่ละโรคที่มีอยู่ในสัตว์ในบุคคลแต่ละบุคคลแล้วแต่จะถูกกับยาขนานไหนก็แล้วแต่จริตของโรคนั้นๆตามแต่จะหนักเบาของโรคนั้นๆก็เหมือนคนป่วยทางโลกก็ต้องไปโรงพยาบาลหมอก็ต้องตรวจดูอาการของคนไข้ก่อนว่าเป็นอย่างไร...พอรู้แล้วว่าอาการเป็นอย่างนั้นก็จะจัดยาให้รับประทาน แล้วผู้รับประทานตามหมอจัดให้ก็จะหายจากโรคได้...แต่คนไข้ที่ไม่ทําตามหรือไม่ปฏิบัติตามหมอสั่งก็มีโอกาสตายได้...ก็เหมือนโรคทางใจของแต่ละท่านถ้ารู้ว่าเป็นโรคทางใจคือ"โรคกิเลส"เป็นแล้วไม่รักษาก็อาจถึงตายได้เพราะไม่รับรู้หรือไม่มีทางแก้เพราะกิเลสมันปิดกั้นไว้ไม่ให้เราไปหาหมอ...หมอในที่ที่ก็คือพระพุทธเจ้าของพวกเราและคําสั่งสอนของท่านคือ"หลักธรรมหลักวินัย"นั้นก็เหมือนยารักษาโรคขนานเอกของพระพุทธที่ได้เห็นว่าถ้าสัตว์โลกนํามาใช้หรือนํามาปฏิบัติก็จะเป็นผู้พ้นจากโรคที่มีอยู่ในใจของเราๆท่านมานานแสนนานก็จะค่อยๆบางเบาไปหรือหายเป็นใจที่ไม่มีโรคนั้นเอง...
     
  18. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ของฝากจากแดนไกล
    ท่านให้เอานิมิต มาคอยเตือนจิตตนเองเสมอว่า..มันไม่เที่ยง แปลว่า มันไม่แน่นะ
    สำหรับผู้ที่มีอภิญญา ให้มุ่งไปดับหรือตัดกิเลส(ตนเอง)ให้สิ้นซาก จะได้สิ้นภพชาติ

    ผู้ใดไม่เห็นความสำคัญเรื่องศีล เรื่องภาวนา ปัญญารู้แจ้งก็จะไม่เกิด
    เมื่อเกิดทุกข์ขึ้นมา แล้วเจ้าจะไปโทษใครเล่า หรือจะไปโทษผู้กำเนิดของตนดี
    อย่าเลย คนเราเมื่อเกิดมากันแล้ว ย่อมมีบุญหนุนนำมาเกิดแล้ว คือให้โอกาสใหม่
    ในการกระทำกรรมดีหรือชั่ว ลูกหลานเลือกทำเองทั้งนั้น ใครทำหรอ ก็สติของพวกเจ้านั่นไงเลา
    แต่ถ้าสติพวกเรามีมาก แต่ถ้ามีไม่มากก็ให้ทำความรู้สึกตัวมาก เดี๋ยวจิตนิ่งและเกิดปัญญา
    มันจะพาเราออกจากทุกข์ ออกจากภัยทั้งปวงเอง รอดเพราะเจ้านำจิตไปอยู่แต่ฝ่ายบุญ นั่นไง

    ใครไม่หมั่นภาวนา ไม่ทำจิตเป็นสมาธิเป็นฌาน ก็เห็นมีแต่ทุกขเวทนา เท่านั้นเอง

    เราอยากเป็นหมูไม่กลัวน้ำร้อนหรือ เป็นคางคกยางหัวไม่ตกไม่รู้สึกตัวหรือ
    เห็นโลงศพจึงหลั่งน้ำตาหรือ
     
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จะเข้าบ้านก็ต้องเปิดประตู จะเข้าประตูก็ต้องเปิดประตูเป็น
    นักปฎิบัติธรรมก็เช่นกัน ก่อนจะพบดวงจิตเดิมแท้(จิตพุทธะ)
    ก็ต้องรู้จักวิธีที่จะทำให้จิตตนเองนิ่งเสียก่อน โดยการเจริญสติภาวนานั่นเอง
    อยากเห็นจิตตนเอง มีอาการหรือมีอารมณ์เป็นเช่นไรนั้น
    เราต้องเจริญสติมากๆ จนกว่าจิตจะนิ่งหรือเป็นสมาธิ เราถึงจะเห็นจิตพุทธะ

    แต่จะเห็นช้าหรือเร็ว ก็ต้องอยู่กับบุคคลนั้น มีความขยันหมั่นเพียรมากน้อยเพียงใด
    การฝึกสติ ฝึกจิต ขอให้นึกถึงตอนที่เราเรียนขับรถใหม่ๆ
    เราต้องหัดขับรถบ่อยๆ เราจึงจะเก่ง เมื่อขับเก่งแล้ว ก็อย่าประมาทก็แล้วกัน
    สติก็เหมือนกัน เมื่อฝึกเก่งแล้ว จิตก็นิ่งแล้ว เป็นสมาธิแล้ว เป็นฌานมาก
    แล้วเราจะเข้าถึงความละเอียดแห่งจิตตนเอง สิ่งต่อไปที่เราจะเห็น จะรู้ได้ด้วยจิต
    ได้แก่ นิมิตต่างๆนานา อภิญญาต่างๆ เริ่มเข้ามาให้เห็น ให้รู้บ้างแล้ว
    แต่อย่าลืมนะ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อมีหรือได้อภิญญาแล้ว ก็อย่ามัวหลงกับมัน
    ให้นำไปตัด-ดับ-ส่องกิเลสตนเอง ไปเปลี่ยนเป็นปัญญาของตนเอง
     
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ชีวิตคนเราทุกวันนี้อยู่กับสิ่งมายามาก
    เช่น อยู่กับคนรักทั้งวัน อยู่กับรถคันงามทั้งวัน
    อย่าลืมนะ โลกทิพย์ไม่ได้มีถนนให้รถวิ่ง เขาใช้บุญบาป ฌานหรือญาณขับเคลื่อน

    อย่าลืมนะ ความตายก็แค่เปลี่ยนภพภูมิของดวงจิตเท่านั้น อย่าไปเสียใจ อย่าไปร้องไห้
    ตายเมื่อไหร่จุติทันที ยกเว้นตายก่อนอายุขัย เมื่อมีกายหยาบ เดี๋ยวก็ลืมกายละเอียด
    เมื่อมีกายละเอียด เดี๋ยวก็ลืมกายหยาบ เข้าใจเน๊อะ

    อย่าลืมนะว่า เรากำลังอยู่บนโลกสมมุติ โลกวัฎฎะ คือโลกนะจ๊ะ
    เพราะฉะนั้น ให้รีบเร่งรักษาศีล ทำภาวนา
    อย่าไปหลงตนเองมากนัก เพราะกายนี้เป็นแค่ที่อยู่ของดวงจิตชั่วคราว(เท่านั้น)
     

แชร์หน้านี้

Loading...