จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    วิธีแยกจิตกับอารมณ์
    จิตกับอารมณ์เป็นเรื่องละเอียดสุขุมจะแยกออกจากกันไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ร้ายที่สุดก็คือคนที่ไม่ยอมเชื่อว่า จิตกับอารมณ์จะแยกออกจากกันได้ โดยสำคัญว่า จิตกับอารมณ์เป็นอันเดียวกัน
    ความจริง จิตกับอารมณ์ไม่ใช่อันเดียวกันและแยกออกจากกันได้ อารมณ์เป็นสิ่งที่มาทีหลัง อาคันตุเกหิ เป็นสิ่งที่จรเข้ามาจับต้อง เหมือนฝุ่นธุลีสิ่งสกปรกเข้ามาจับต้องผ้าขาวหรื่อแก้วที่สุกใสแวววาว ทำให้ผ้าขาวหรื่อแก้วนั้นเปลี่ยนลักษณะไปคือกลายเป็นของเศร้าหมอง หรือจะว่าสภาพเดิมหายไปก็ใช่
    อารมณ์นั้นมี ๒ คือที่ชอบใจและไม่ชอบใจ และเป็นไปในกาล ๓ คือปัจจุบันกาล อดีตกาล อนาคตกาล
    อารมณ์นั้นเข้ามาระหว่างตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส
    อารมณ์นั้นเข้ามาแล้วๆ ก็มาติดมาค้างอยู่ในจิตในใจไม่หายไปง่ายๆ จิตใจเป็นดังผ้าขาวหรือดวงแก้วก็กลายเป็นสิ่งเศร้าหมองไป
    อารมณ์แปลว่าความยินดี หรือธรรมชาติที่มายินดีแห่งจิต ได้แก่ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส เมื่อจิตยินดีก็บังเกิดเป็นจิตสังขารขึ้นมา และก็กลับเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตอีก อารมณ์มีตัณหาอุปาทานเป็นแก่นใน จึงผสมผสานเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา สำเร็จเป็นตัวนึกคิด หรือตัวห่วงตัวอาลัยจึงเป็นไปในอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ในปัจจุบันบ้าง
    ต่อเมื่อท่านผู้ใดมารู้จักอารมณ์ แล้วกำหนดละวางอารมณ์ ไม่นึกถึงเรื่องที่เป็นอดีต และไม่นึกถึงเรื่องที่เป็นอนาคต และไม่นึกถึงเรื่องที่เป็นปัจจุบันได้ ท่านผู้นั้นกก็จะพบความว่าง พบความสงบ มีจิตเป็นตัวของตัวเอง ย่อมพ้นทุกข์ทั้งปวง
    อุคคเสน บุตรเขยของช่างฟ้อน พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอจงละวาง ห่วงอาลัยในอดีต ละวางห่วงอาลัยในอนาคต ละวางห่วงอาลัยในปัจจุบัน จะเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ไม่ต้องเข้าถึงชาติและชราอีก
    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสจบลง อุคคเสนผู้ยืนอยู่บนปลายแผ่นไม้ ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ทันที
    การละ การวาง ก็คือละวาง ไม่นึกน้อมไปในสิ่งทั้ง ๕ นั่นเอง มีรูปเป็นต้น เมื่อใดละวาง ไม่นึกถึง ไม่คิดหา เมื่อนั้นอารมณ์ก็หายไป ความที่อารมณ์หายไปนั่นเอง จิตได้แยกตัวออกจากอารมณ์แล้ว จิตนั้นก็จะเปล่งปลั่ง สุกใส ไม่หายไปไหน ดังผ้าขาวและแก้วอันได้ ซักฟอกกปัดเป่าดีแล้วนั่นแล
    บางคนบอกว่า ปล่อยวางให้จิตว่าง ไม่นึกคิด อะไรๆ เลยทำไม่ได้ เพราะไม่รู้จะเอาจิตไปไว้ที่ไหน ต้องคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่เสมอ
    จริงอยู่นี่ก็เป็นเรื่องของคนส่วนมาก ว่าไปก็คือไม่รู้จักอารมณ์ ไม่รู้จักจิตนั่นเอง เหมือนคนไม่รู้จักแกลบ ไม่รู้จักข้าวสาร ก็ไม่อาจจะแยกได้ในเมื่อสิ่งนั้นปนกันอยู่

    อารมณ์เป็นสิ่งที่ต้องละทิ้ง จิตเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งเหมือนแกลบ กับข้าวสารนั่นเอง ละทิ้งอารมณ์ได้ ก็ย่อมจะพบจิต จะพบจิต ก็ต้องทำให้ว่าง จากอารมณ์
    ว่าถึง ผู้ปล่อยวางละทิ้งอารมณ์ไม่ได้ หรือละวางยากจะหันไปดูจิตว่างอย่างเดียวไปเลยก็ได้ เป็นวิธีมุ่งขุดคุ้ยหาจิตว่างอย่างเดียว เป็นสัจฉิกาตัพพันต์ หมายความว่าทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมชาติ ที่สงบ ที่ประณีต วิธีนี้ไม่ต้องไปสนใจ กับการปล่อยวางละทิ้งอารมณ์ เมื่อมุ่งใจหาความสงบ ความประณีตมันจะเป็นการตัด อารมณ์นึก อารมณ์คิดไปในตัว เช่นเดียวกับเราเห็น แสงสว่างอยู่เบื้องหน้า แล้วเดินเข้าไป จนถึงที่สว่าง ความมืดจะหายไปเอง
    ความจริง จิตว่างจากอารมณ์นั้นมีอยู่แล้ว เป็นของเดิม แต่ไม่ปรากฏชัดเป็นนามธาตุ มีความบริสุทธิ์และ ใสสว่าง อยู่ในตัวเหมือนดวงแก้วมณี ไม่มีรักมีชังมาก่อน เมื่อเราต้องการจะขุดคุ้ยหากันจริงๆ ก็ย่อมจะพบได้
    จิตเดิมแม้ไม่มีรูปร่าง สูงต่ำ ดำแดงอย่างใด ก็ยังบ่งบอกความสุขสงบ ของตัวเองให้รู้อยู่บ้าง เช่นเวลารู้สึกตัวตื่นจากหลับ หรือเวลาก่อนจะหลับ จิตยังมิได้คิดอะไร และจิตสู่ภวังค์ขาดความคิด นั่นบ่งบอกถึงสภาพเดิมว่าเป็นธรรมชาติสงบ ผุดผ่องไม่มีอารมณ์นึกอารมณ์คิด มีอยู่แล้วแต่เพราะเราไม่มีเวลาที่จะ ทรงความรู้สึกนั้นไว้ได้
    มีอยู่แล้ว อย่างไร ที่ไหน คือมีอยู่คู่กับความรู้สึกตัว และทั่วไปในความรู้สึกตัว
    การขุดคุ้ยค้นหานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตามหา พุทโธ พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้เบิกบาน ผู้เป็นตัวของตัวเอง ผู้เป็นไท ไม่เป็นทาสใคร พุทโธ ก็คือ จิตนั่นเอง
    อย่างไรก็ดี จิตนั้นไม่มีรูปร่าง รู้เห็นได้ยาก แต่ก็จิตนั้นละเอียด สงบ มีความสะอาดผุดผ่อง รู้เห็นได้ พบเห็นได้ ผู้เข้าถึงจะรู้ จะพบเห็น หลับตาโน้มจิตก่อนจะเข้าหาแหล่งว่าง ให้ถามรูปละเอียดดูก่อนคือ นึกถึงรูปละเอียด นึกขึ้นมาเป็นรูปนิมิต พอให้เห็นว่าเป็นรูปคือเป็นรูป คือเป็นวัตถุที่ไม่มีวิญญาณ สักว่าเป็นของลอยอยู่ ในความว่างเพื่อเอาเทียบกัน รูปละเอียดที่เห็นนั้นจะบอกว่า ตูข้านี่แหละ อาศัยความว่าง ความสงบอยู่ ตูข้าไม่เที่ยง ตูข้าไม่ใช่ของจริง ความว่างนั่นแหละเที่ยง ความว่างสงบนั่นแหละของจริง ท่านจงผละจากตูข้าไปอยู่กับความว่าง ความสงบเถิด
    ความว่างไม่มีรูปร่าง ไม่เป็นใน ไม่เป็นนอก ไม่เป็นใกล้ ไม่เป็นไกล ไม่ใช่ทิศนั้นทิศนี้ ความว่างเป็นที่อยู่ของจิตดับทุกข์ ไม่มีความยึดถือเกาะเกี่ยวอะไรๆ
    ความว่างเป็นเรือนว่างที่อิสระ สงบ เป็นสุข ปลอดภัย ผู้พบความว่างย่อมพบพุทโธ ผู้พบพุทโธ ก็คือผู้พบจิตเดิม ผู้พบจิตเดิมย่อมจะ ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ต่อไปอีกแล
    เมตตาธรรม โดย พระคุณเจ้า หลวงพ่อ ดาบส สุมโณ
    ลูกขอ กราบ กราบ กราบแทบเท้า หลวงพ่อ ด้วยเศียรเกล้า สาธุ สาธุ สาธุ ขอ[/ให้ลูกได้พบจิตเดิม จิตแท้ ในชาติปัจจุบันนี้ ด้วยเทอญ SIZE]
     
  2. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คำว่า การเข้าใจและการเข้าถึง
    การเข้าใจธรรมะ เราก็แค่รู้ผิวเผิน เกิดจากการอ่านหรือท่องจำพระไตรปิฎก
    แต่การเข้าถึงธรรมะ เรารู้แบบลึกซึ้ง ติดตาตรึงใจ เกิดจากธรรมปฎิบัติ หรือนำจิตไปเดินมรรค
    แต่มีนักปฎิบัติหลายท่านมักเข้าใจผิด ชอบเอาสติไปเดินมรรค
    หรือชอบเอาสติไปนำจิต ในขณะที่จิตกำลังเดินมรรค

    แต่ถ้าใครนึกไม่ออก คำว่า รู้เฉยๆกับรู้แบบลึกซึ้ง รู้แบบติดตาตรึงใจ ก็นึกถึงรักแรกพบ
    เอ่อน่ะ!ใช่เลย ประมาณนี้เลย

    ปัญญากับปัญญาญาณ
    ปัญญา แปลว่า ความรู้
    แต่ปัญญาญาณ แปลว่า ความรู้แจ้งแทงตลอด เป็นความรู้ที่อยู่เหนือเหตุผล
    เหนือความรู้สึกนึกคิด โดยที่ไม่ต้องใช้ความพยายามในการคิดเลย
    เกิดขึ้นหลังจากจิตนิ่ง จิตเป็นสมาธิหรือฌาน และจิตวิปัสสนาจนเกิดเป็นวิปัสสนาญาณ นั่นเอง

    เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่อยากจะออกจากทุกข์ของตน ใช้แค่ปัญญาก็พอ
    แต่ถ้าไม่อยากกลับมาเกิดอีก ต้องใช้ปัญญามาก นั่นก็คือ ปัญญาญาณ

    *ปัญญาในที่นี้หมายถึง ปัญญาทางธรรม ปัญญาที่เกิดจากภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มีนาคม 2013
  3. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ผู้จะทรงมรรคผลนิพพานต้องเป็นคนหนักแน่นในธรรม...เพราะกิเลสเป็นสิ่งที่มาสัมผัสสัมพันธ์เราอยู่ตลอดเวลา...ผู้ปฏิบัติต้องมีการคิดอ่านไตร่ตรองอยู่เสมอก็จะมีทางออกได้ขึ้นชื่อว่า"กิเลสแล้วมีแต่ทําให้สัตว์โลกติดจมเป็นถ่ายเดียว" เพราะมันมีรสชาติที่หวานหอมมากชวนให้หลงไหลได้ง่ายไม่เหมือนทางธรรมมีแต่ท้อแท้อ่อนแอเพราะมันทําได้ยากคนจึงเกิดความท้อแท้ได้ง่ายและก็ไม่พ้นตกไปเป็นเหยื่อของกิเลสนั้นเอง...ผู้ปฏิบัตต้องฝืนจึงจะเอาชนะมันได้เปรียบเทียบคําว่า"ความรักความหลง"ของคนที่มีความรักใหม่ๆก็เหมือนกินอ้อยมาจากต้นมัน(หรือเรียกว่าทางก๊กมัน)เป็นภาษาอีสานที่ใช้เรียกทางรากขึ้นมาหาต้นมันนั้นเอง...ก็จะหวานอร่อยมากแต่พอกินมาเรื่อยๆจนถึงทางปลายของอ้อยก็จะหมดความหวานไปได้...คือ ความรักของคนที่มีต่อกันใหม่ๆก็จะหอมหวานแต่พอนานๆเข้าก็เบื่อหน่ายกันไปจนถึงเลิกลากันไป...แต่ทางธรรมก็จะตรงกันข้ามเพราะพอเริ่มปฏิบัติใหม่ๆก็จะไม่อยากทําเพราะมันไม่มีรสชาติชวนชมหรือมันไม่หวานนั้นเอง...แต่พอทําไปนานๆเข้าก็จะเห็นผลของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นแล้วก็มีสุขเกิดขึ้นก็จะทําให้อยากปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆนั้นเองก็เหมือนการกินอ้อยมาจากทางปลายของมันมาจนถึงต้นหรือทางก๊กมันนั้นเอง...ก็จะมีแต่หวานชวนกินการปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้นผู้ปฏิบัติถึงแล้วคําว่าอ่อนแอท้อแท้จะไม่มีเลยมีแต่เพิ่มความเพียรขึ้นไปเรื่อยๆนั้นเอง...จนถึงความหลุดพ้นไปได้...
     
  4. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    การเข้าถึงธรรมนั้นไม่ยาก
    แต่ยากตรงที่เข้าถึงจิตตนเอง นี่แหล่ะ!

    มันยากตรงทำให้จิตตนเองนิ่งหรือเป็นสมาธิ

    ผู้ที่มีสมาธิจิตเท่านั้น ถึงจะมีสิทธิ์รู้เท่าทันกิเลสและความคิดของตนเอง
    นอกนั้น ไม่มีทาง เพราะคนส่วนใหญ่นั้น จิตยังไม่ค่อยนิ่ง
    กว่าจิตคนเราจะนิ่งหรือเป็นสมาธิ ต้องเจริญสติบ่อยๆ

    แต่ปัญญาจะเกิดได้ ก็ต้องอาศัยสมาธิจิต หรือว่าจิตนิ่ง
    หรือสมาธิจิตหรือว่าจิตนิ่ง เราก็ต้องอาศัยสติของเราเองนี่แหล่ะ

    ถ้าผู้ใด ไม่หัดเจริญสติหรือทำสติให้เกิดขึ้นบ่อยๆ
    ถึงจะอ่านมาก หรือท่องจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด
    ก็ไม่ทำให้ผู้นั้นบรรลุธรรมกันได้หรอก
    เหมือนหรือคล้ายจะรู้และเข้าใจธรรมะดีนะ แต่รู้ไม่ลึกซึ้ง
    แถมปฎิบัติตามทันที ทันใดยังไม่ได้มาก หรือปล่อยวางไม่ได้หมด
    หรือยังให้อภัยคนยังไม่ได้ อาจจะได้ แต่ไม่สนิทใจ

    ชิงแชมป์น่ะมันง่าย แต่ป้องกันแชมป์น่ะ มันยาก!
    ขอฝากเตือนจิตบุญเท่านี้
    จาก..นายพยายาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มีนาคม 2013
  5. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    ศึกษา สมาธิว่าง
    ความว่างไม่ใช่ความตาย ไม่ใช่ความยากจน
    ความว่างไม่ใช่เรื่องสุดท้ายของชีวิต คนส่วนมาก มักเข้าใจกันว่า ความว่างไม่มีความสำคัญอะไรกับชีวิต หรือไม่ก็เข้าใจว่า ความว่างเป็นเรื่องสุดท้ายของชีวิต นี่เป็นความเข้าใจผิดไปแล้ว
    ความว่างมี ๒ คือของชาวบ้านกับของนักบวช
    ชาวบ้านก็ดี นักบวชก็ดี ความว่างมีความจำเป็นตลอดกาล เริ่มแต่มีชีวิตอยู่ และแต่เกิด เช่นที่อาศัย เรือนนอน ถิ่นฐาน ร้อนจัด เย็นจัด อากาศเป็นพิษเป็นภัย ไม่ได้สายลมสายแดดพัดผ่าน ก็จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต แม้สร้างบ้านสร้างเรือน ก็ยังต้องมีทิศทางและป่องอากาศ ป่องลม บางเรือนยังมีเครื่องปรับอากาศอีกด้วย
    สัตว์น้ำ ถ้าน้ำแห้งหรือน้ำเป็นพิษ สัตว์น้ำก็อยู่ไม่ได้ สัตว์บก ถ้าไม่มีอากาศ หรืออากาศเป็นพิษก็อยู่ไม่ได้ ทุกนาทีต้องสูบอากาศเข้าอยู่เสมอ
    ที่สำคัญยิ่ง คือคนเราต้องมีอากาศหล่อเลี้ยงหัวใจ และเป็นอากาศที่ดีด้วย เด็กคลอดออกมาจากครรภ์มารดา ถ้าไม่ได้สูบอากาศเข้าไป ก็จะเป็นคนขึ้นมาไม่ได้ อากาศความว่าง เป็นสิ่งที่ต้องหล่อเลี้ยงชีวิตไปจนถึงวันสุดท้าย
    แม้สัพพสังขาร เช่น ต้นไม้ พืชพันธุ์นานา ถ้าตั้งอยู่ในความว่างไม่ดีที่ๆ บดบัง ต้นไม้พืชพันธุ์เหล่านั้น ย่อมไม่เจริญตามธรรมชาติ ลำต้นไม่สมบูรณ์ กิ่งใบไม่สมบูรณ์ ดอกผลไม่สมบูรณ์ และเป็นโรคต่างๆ นั่นเพราะไม่ได้อากาศดี
    โดยธรรมดา คนที่มีความสุข ก็คือคนว่าง ทุกคนไม่รู้จักความว่าง แต่ก็ยินดีต่อความว่าง เพราะความว่างเป็นความอิสระ เป็นไทยแก่ตัวเอง นายงานเห็นลูกงานทำงานหลบๆ หลีกๆ มักจะกล่าวหาว่า เป็นไอ้ขี้คร้าน ทุกคนต้องได้รับการพักผ่อน ให้ชีวิตอยู่กับความว่าง ความว่างช่วยต่ออายุสืบต่อไปได้อีก ความว่างไม่มีใครรังเกียจ เพราะความว่างให้ความสุขแก่คนทุกคน
    ความว่าง บางครั้ง เราเรียกว่าโอกาส เช่นพูดว่าคราวนี้โอกาสให้ โอกาสอำนวย เราจึงได้ไปนั่นไปนี่ได้พบคนนั้น ได้พบคนนี้ คนมีโอกาสมากว่ากันว่าเป็นคนมีบุญ
    ข้าราชการเป็นข้ารับใช้เจ้านายมานาน พออายุ ๖๐ ปี เขาก็ปลดออก ให้เป็นอิสระให้เป็นตัวของตัวเอง
    นักโทษที่อยู่ในคุก พอพ้นโทษ ออกจากคุก (เรือนจำ ) ไปก็ไม่มีใครอยากจะกลับเข้าไปอยู่ในคุกอีก ความว่างเป็นความ อิสระทุกคนจึงต้องการ
    ความว่างไม่ใช่ความยากจน
    ความว่าง เหมือนกับคนมีทรัพย์ หรือเหมือนคนมีทุนทรัพย์เป็นเดิม
    คนมีทรัพย์ ย่อมจะหมดความกังวลในเรื่องความทุกข์ ความเข็ญใจ ซึ่งต่างกันกับคนขาดทรัพย์ คนขาดทรัพย์ ย่อมจะคิดอยู่เสมอ กลางวันก็คิด กลางคืนก็คิด คิดแล้วก็ตัน ทำให้มืดมน
    ส่วนคนมีทรัพย์ จะคิดอะไร ก็ย่อมจะสำเร็จได้แม้ไม่คิดอะไร นึกถึงทรัพย์ ก็ภาคภูมิใจว่าแม้มีความขัดข้องเกิดขึ้น ก็ย่อมจะใช้ทรัพย์ ขจัดความขัดข้องนั้นได้ ผู้มีทรัพย์จึงมีแต่ความเอิบอิ่มผ่องใส และมีแต่จะพูดดี ทำดี คิดดี มองเห็นโทษเห็นคุณ คนมีใจว่างย่อมผ่องใส ตายจากโลกนี้ย่อมไปสุคติ
    บทความโดย พระคุณเจ้า ดาบส สุมโณ
     
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [​IMG]

    ประวัติหลวงพ่อดาบส สุมโน


    หลวงพ่อดาบส สุมโน
    เดิมชื่อ “สง่า” นามสกุล “เจริญจิตต์”
    เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กัน ยายน ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ.๒๔๖๗ ปีชวด ตำบลบางกระไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
    ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๔ ตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือนยี่เวลา ๑๗.๐๐ น. “พระภิกษุสง่า สุมโน” จึงตั้งสัจจะอธิษฐาน ณ ดอยพระเจ้าหล่าย ขอสละเพศบรรพชิตขอลาสิกขาบทจากการเป็น “พระภิกษุสงฆ์” โดยหันมาถือการครองเพศเป็น “ดาบส” ที่มีเพียง ผ้าอังสะและผ้าสบง เพียงสองผืนหุ้มห่อร่างกายไว ้จากนั้นจึงครองเพศเป็น “ดาบส” และปฏิบัติธรรมอยู่บน “ดอยพระเจ้าหล่าย” โดยมิได้ฉันทั้งอาหาร และน้ำถึง “๓ วัน ๓ คืน” จากนั้นจึงเดินทางลงจากดอยเพื่อธุดงค์ไปจังหวัด ต่างๆ ทั้ง แพร่ ลำปาง น่าน ยะลา ชุมพร และท้ายสุดปฏิบัติธรรมที่ “อาศรมไผ่มรกต” ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย จนมรณภาพ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๔ สิริอายุได้ ๗๖ ปี

    “หลวงพ่อดาบส สุมโน” นับเป็น “ผู้บำเพ็ญเพียร” ด้วยศีลาจารวัตร บริสุทธิ์ผุดผ่องจนได้พบแสงสว่างแห่งธรรมเจิดจ้า และธรรม ที่ท่านแสดงให้บรรดาศิษย์ได้ยังความสุข ความสงบ ความร่มเย็น ให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ที่เคยฟังธรรมจากท่านจึงนับได้ว่าท่านเป็น “ประทีปธรรม” แห่งภาคเหนือที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ และในจิตใจ ของประชาชนตลอดไป

    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญกับจ่าติ๊กด้วยนะครับ
    ที่แนะนำธรรมะของพระคุณเจ้า ดาบส สุมโณ มาให้ลูกหลาน
    ลูกขอน้อมจิตก้มกราบพระคุณเจ้าดาบสฯ ด้วยเศียรเกล้า
    สาธุๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มีนาคม 2013
  7. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +10,246
    [๑๐๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลาประทับนั่ง
    บนอาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
    ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรม
    เหล่านั้น พวกเธอเรียนแล้ว พึงส้องเสพ พึงให้เจริญ พึงกระทำให้มากด้วยดี
    โดยประการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ดำรงอยู่ได้นาน เพื่อประโยชน์ของชน
    เป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์
    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    ก็ธรรมที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ... เหล่านั้นเป็นไฉน คือ
    สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕
    พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่เรา
    แสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ... ฯ

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยัง
    ความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดย
    ล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ

    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้
    ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

    [๑๐๘] คนเหล่าใด ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งมี
    ทั้งขัดสน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า ภาชนะดินที่นายช่าง
    หม้อกระทำแล้ว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ ทุกชนิด
    มีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ฯ

    พระศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

    วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราเป็นของน้อย เราจักละ
    พวกเธอไป เรากระทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล อันดีเถิด จงเป็นผู้
    มีความดำริตั้งมั่นดีแล้ว ตามรักษาจิตของตนเถิด ผู้ใด จักเป็นผู้
    ไม่ประมาท อยู่ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร
    แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้ ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
     
  8. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การแสวงหา"มรรคผลนิพพาน"หรือการปฏิบัติธรรมนั้นก็ไม่แตกต่างจากการที่เราไปจับจ่ายตลาดนั้นแหละเพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าที่มีอยู่ในโลกนี้ก็เหมือนสมบัติทางโลกหรือสิ้นค้าที่มีอยู่ตามท้องตลาดว่าแต่เราๆท่านๆจะมีความสามารถหาชื้อมาได้เช่น กําลังเงินของใครมีมากก็ได้ราคาสิ้นค้ามาแตกต่างกัน แต่ผู้มีเงินน้อยก็ชื้อมาได้น้อยตามกําลังเงินที่มีอยู่แต่ละท่านนั้นคือเปรียบเทียบกับทางโลก...แต่ทางธรรมนั้นก็คล้ายๆกันคือ ถ้าเรามีศรัทธามากก็จะปฏิบัติได้มากตามภูมิวาสนาเพราะการปฏิบัติก็ขึ้นอยู่กับกําลังใจของแต่ละท่านนั้นเอง...
    ที่มาจากเทปธรรมะขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้าค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2013
  9. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    จิตใจของแต่ละท่านที่เกิดมาในโลกนี้ ก็เหมือนเตาไฟที่รอเชื้อไฟที่จะมาจุดให้มีแต่ลุกไหม้เพราะเตาไฟที่ได้เชื้อก็มีแต่จะลุกไหม้... ถ้าเราเอาฟืนเข้าไปมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจะมีกําลังลุกไหม้ได้มากเท่านั้น...เพราะมันได้เชื้อนั้นเองก็ไม่ต่างอะไรกับใจเราๆท่านๆที่มีกิเลสคือตัวเชื้อเป็นตัวเติมให้เกิดความอยากความโลภเกิดขึ้น...เพราะกิเลสก็คือตัวเชื้อทําให้เกิดความโลภที่มีกําลังมากก็จะมีแต่ความร้อนแรงเกิดขึ้นไปเรื่อยๆเราจึงต้องมาดับไฟโดยการไม่เติมเชื้อคือ"กิเลส"ให้ลุกลามไปก็เหมือนเตาไฟที่ไม่มีเชื้อไฟคอยเติมไฟในเตาก็จะดับไปในที่สุด...
    ที่มาจากเทปธรรมะขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้าค่ะ
     
  10. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ทุกข์แท้ๆ อยู่ตรงไหน เกิดตรงไหน
    ทำไมมันถึงทุกข์
    ค้นหาเอาเอง
    ใจใครทุกข์ ก็หาที่ใจคนนั้น
    ใจเราทุกข์ ก็หาที่ "ใจเรา" นั่นแหละ
    จึงจะพ้นทุกข์ ได้จริงในที่สุด

    ส่วนจะหาทาง ออกจากทุกข์ อย่างไร
    ธรรมะของ พระพุทธเจ้าบอกแนวทางไว้หมด
    ขึ้นอยู่กับ เราจะตั้งใจปฏิบัติ เพื่อพ้นทุกข์หรือเปล่า
    ที่นี่ ตรงนี้ ...จิตเกาะพระ ...แนวทางปฏิบัติ เพื่อความพ้นทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2013
  11. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ผู้ปฏิบัติธรรมที่ท่านได้ความสงบที่เป็นขั้นสมถะธรรม คือความสงบขั้นแรกนั้น...จิตจะสงบลงไปนิ่งอยู่ในอารมณ์เดี่ยวโดยไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับอะไรทั้งสิ้นเพราะความสงบแบบนี่ทําให้เกิดความสบาย และก็จะดิ่งลงไปแบบติดสุขก็ว่าได้เพราะผู้ภาวนาถึงขั้นนี้ยังไม่ใช่ขั้น"ปัญญา"เพราะขั้นปัญญาต้องเกิดจากการใช้ความสงบคือตัว"สติ"นั้นออกพาคิดไตร่ตรองในความเป็นจริงของ"รูปของนาม"เพราะจะรอให้เป็นเป็นเองนั้นไม่ได้เพราะจิตแค่สงบนั้นยังไม่ใช้ปัญญาที่จะฆ่า"กิเลส"ได้เราจะสังเกตุเห็นได้ว่าเวลาเรานั่งสมาธินี่นั่งได้หลายชั่วโมงแต่พอออกจากสมาธิก็ยังไม่ทันต่ออารมณ์ที่มาสัมผัสเราก็จะค่อยไปตามมันก็ยังจะไม่พ้นจากทุกข์ไปได้นั้นเอง...จึงต้องได้ใช้สมาธิตัวสงบนั้นออกก้าวเดินด้าน"ปัญญา"คือพาคิดใคร่ครวญลงในกฏอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือลงในไตรลักษณ์นั้นเองจึงจะเป็นปัญญาที่แท้จริง ถ้าเป็นแค่สมถะก็ยังจะไม่ทันกลมายาของกิเลสที่เป็นตัวแหลมคมที่ทําให้เราหลงติดมันได้อย่างง่ายดายนั้นเอง...
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เราพบทุกข์
    แต่จิตเราพบธรรมหรือยัง?


    เรารู้จักความทุกข์แล้ว แต่ยังไม่รู้จักวิธีดับทุกข์ตนเอง
    อย่าลืมนะ..จิตคือผู้ทำหน้าที่ปล่อยวางกับสิ่งทั้งปวง

    ผู้ใดมีความทุกข์มาก ต้องไปเรียนรู้หรือทำความรู้จัก คำว่า อริยสัจ 4
    ร่างกายของคนเรานี้ ก็คือ ตัวทุกข์ดีๆนี่เอง
    เพราะฉะนั้น เราก็อย่าพยายามหนีทุกข์ตนเอง เพราะไม่มีผู้ใดจะหนีทุกข์พ้นไปได้สักคนเดียว
    เพราะตราบใดที่เรายังมีขันธ์๕ หรือร่างกาย
    รีบเข้ามาทำความรู้จักกับความทุกข์ หรือร่างกายตนให้ไวๆ
    แค่อ่าน แค่ศึกษาอย่างเดียวมันยังไม่พอ เพราะเราแค่รู้เฉยๆแต่ดับทุกข์ตนเองยังไม่ได้
    แต่ถ้าอยากจะดับทุกข์ ต้องนำจิตไปเดินมรรคหรือปฎิบัติธรรม
    มิใช่ แค่นุ่งขาวห่มขาวแล้ว เราจะพ้นทุกข์
    เราต้องมีกำลังใจมากพอ มากจนทำให้เราอยากปฎิบัติธรรมเอง โดยมิต้องมีใครมาบอกให้ทำ
    การปฎิบัติธรรม มิใช่แค่บวชกายภายนอกกันเฉยๆ อันนั้นยังเข้าไม่ถึง แค่รักษาศีลบริสุทธิ์
    แต่ถ้าผู้ใด ทำจิตนิ่ง จิตเป็นสมาธิได้เมื่อไหร่ ก็พบสุขเมื่อนั้น นี่ก็คือ อานิสงส์แรก
    แก่นธรรมของผู้ปฎิบัติ มันก็อยู่ที่ตรงนี้แหล่ะ นั่นก็คือ จิตของผู้ปฎิบัติ
    นักปฎิบัติธรรมมีมากมาย แต่เข้าถึงแค่เปลือก เพราะหาจิตตนเองไม่พบ
    แต่ถ้าใครหาจิตตนเองพบ ธรรมะก็อยู่ภายในจิตตนเอง นั่นแหล่ะ
    ผู้ที่เห็นสัจธรรม มีดวงตาเห็นธรรม จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับวาระกรรม
    ผู้ที่เข้าใจธรรมะ ก็ย่อมเข้าใจกฎแห่งกรรม

    เพราะฉะนั้น ธรรมะมีมากมาย มากกว่าอากาศที่เราหายใจ
    นักเทศน์ พระอริยเจ้า วัดหรือสถานที่ปฎิบัติธรรมนั้น ก็มีมากมายเช่นกัน
    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มันไม่มีประโยชน์อันใด ถ้าหากผู้ปฎิบัติยังหาแก่น(จิตตนเอง)ไม่เจอ
    ผู้ที่มีอภิญญา มีมโนยิทธิ แต่ไม่ได้นำจิตไปวิปัสสนาหรือไม่ดับอาสวกิเลสให้สิ้น ก็จะหาดีไม่ได้
    ผู้เขียนมิได้มีเจตนาสอนสั่งธรรมผู้ใด แต่มาสนทนาธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนธรรมะกัน

    เมื่อก่อน ผู้เขียนเคยอ่านหนังสือธรรมะ เขียนโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา
    เรื่อง ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น (แต่ภูทำลูกเดียว) ซึ่งเป็นหนังสือธรรมะที่โดนใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2013
  13. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +10,246
    [๑๒๙] สมัยนั้น ไม้สาละทั้งคู่ เผล็จดอกสะพรั่งนอกฤดูกาล ดอกไม้
    เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอก
    มณฑารพอันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่น
    โปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของ
    ทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยัง
    พระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อ
    บูชาพระตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ฯ

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์
    ไม้สาละทั้งคู่ เผล็จดอกบานสพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของ
    ตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอก
    มณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่ง
    จันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น
    โปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ใน
    อากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต

    ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม
    ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
    หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตาม
    ธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด

    เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติ
    ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [​IMG]
    ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"
    "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"
    "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"

    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุผล เป็นศาสนาแห่งความรู้ ศาสนาแห่งอิสรภาพ
    เสรีภาพและสันติภาพ ให้ใช้ปัญญาเหนือศรัทธา ไม่เชื่อง่ายโดยไม่ไตร่ตรอง(กาลามสูตร)
    ไม่ได้แยกแยะเชื้อชาติหรือสัญชาติ เพศ วัย รูปลักษณ์สัญฐานใด เป็นศาสตร์ที่พึ่งตนเอง
    คือกำหนดชะตาชีวิต ดังคำพุทธพจน์ที่ว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

    ส่วนผู้ที่จะเข้าถึงพระธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น ต้องธรรมปฎิบัติ
    ธรรมะของพระพุทธองค์ ถือว่าเป็นของสูง ของศักดิ์สิทธิ์ สำหรับชาวพุทธ
    ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น เป็นจิตละเอียด
    คือเข้าฌานเพื่อบรรลุญาณ เป็นจิตสะอาด เป็นจิตบริสุทธิ์ จิตที่ปราศจากอุปกิเลส

    บรรลุฌานลำดับแล้วต่อเจริญญาณ อันเป็นองค์ปัญญาขั้นสูง ๓ ประการ ตามลำดับแห่งยาม
    คือ ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ(เดือน๖) พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรม
    และทรงตรัสรู้เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา
    ก่อน พ.ศ.๔๕ หลังออกผนวชได้ ๖ ปี ที่ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์
    ในขณะนั่งบำเพ็ญใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์อยู่นั้น ได้เข้าฌานเพื่อบรรลุญาณ จนเวลาผ่านไป ๓ ยามได้แก่
    ปฐมยาม(ยามต้น) ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุติญาณ คือระลึกชาติ
    มัชฌิมยาม(ยามสอง) ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ปัจฉิมยาม(ยามสาม) ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือรู้วิธีกำจัดกิเลส ด้วยอริยสัจ ๔
    คือทรงพระปรีชาสามารถทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้ดับสิ้นไป จนได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    คือญาณอันประเสริฐอันเป็นเครื่องตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

    จึงเปล่งพระพุทธสีหนาทปฐมอุทาน ตรัสทักตัณหาด้วยความเบิกบานพระทัยว่า...
    (ขออนุญาตตัดแปะ)​
    "นับตั้งแต่ตถาคตท่องเที่ยวสืบเสาะหานายช่างเรือน อันก่อสร้างนามรูป คือตัวตัณหา
    ด้วยการเวียนว่ายตายเกิดมาตลอด ๔ อสงไขย แสนมหากัลป์
    บัดนี้ได้พบและทำลายสูญสิ้นแล้ว จิตของเราปราศจากสังขาร เครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นแล้ว"​

    และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ด้วยพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา​

    นักปฎิบัติธรรมทุกท่านควรหมั่นระลึก หรือนึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยให้มาก
    ก่อนที่จะลงมือปฎิบัติธรรม เราจะต้องมุ่งมั่น ตั้งใจในการปฎิบัติ
    อย่าได้ทำเล่นๆ เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเบื้องบน เทพเทวาอารักษ์ พรหมท่านรู้
    เพราะฉะนั้น จงตั้งใจในการปฎิบัติจริงๆ โดยการสำรวมจิตตนเองก่อน

    ความรู้เพิ่มเติม วันวิสาขบูชา
    เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีเหตุการณ์ ๓ ประการ ก็คือ
    ๑. วันประสูติ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อน พ.ศ. ๘๐ ปี
    ๒. วันตรัสรู้ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อน พ.ศ. ๔๕ ปี
    ๓. วันปรินิพพาน ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อน พ.ศ. ๑ ปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2013
  15. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โทษของอุปกิเลส ๑๐
    (วิปัสสนูปกิเลส)
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    จากส่วนหนึ่งของ โมกขุบายวิธี


    *อ่านให้ดี จำให้แม่น
    *นี่คือสารธรรม สำคัญมาก

    ลักษณะอาการและการละกิเลส เป็นต้น ของฌานและสมาธิ ผิดกันดังแสดงมา ฌานมีความน้อมเชื่อมาก วิริยะและปีติแรง กำลังใจกล้า โลดโผนทุกๆ อย่าง สรุปแล้ว เมื่อจิตน้อมไปตามอารมณ์ของฌาน ถ้าผู้ติดฌาน หลงฌานอย่างหนักหน่วงแล้ว จิตของตนแทบจะไม่เป็นตัวของตัวเองเสียเลยก็ว่าได้ ที่จริงฌานเมื่อเกิดขึ้นเป็นของน่าตื่นเต้น ผู้ฝึกหัดใหม่จึงชอบนัก แต่ฌานเป็นของได้ง่ายพลันหาย เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของโลกธรรม๘ ส่วน(สัมมา)สมาธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นไปอย่างเรียบๆ เพราะมีสติรอบคอบตามภูมิของตน และยึดเอาไตรลักษณะเป็นอารมณ์ (webmaster - หมายถึง จิตตั้งมั่นแล้วพิจารณาอยู่ในธรรมดังพระไตรลักษณ์ได้อย่างแนบแน่น) ไม่หลงลืมตัว ค่อยได้ค่อยเป็นไปละเอียดลงโดยลำดับ ได้แล้วไม่ค่อยเสื่อมเป็นโลกุตตรธรรม บางคนจะไม่รู้สึกตื่นเต้นในเมื่อตนได้สมาธิ เพราะไม่ได้คำนึงถึงอาการที่ตนได้มี แต่ตั้งหน้าจะทำสมาธินั้นให้มั่นและละเอียดถ่ายเดียว ฌานเป็นของน่าสนุกสนาน มีเครื่องเล่นมาก มีเรื่องแปลกๆ ทำให้ผู้ไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงหลงติดจมอยู่ในฌาน อาการที่จิตหลงติดจมอยู่นั้นคือโทษ ของอุปกิเลส๑๐ พึงสังเกตต่อไป

    [webmaster - สมาธิและฌานต่างเป็นอาการของจิตหรือเจตสิกอย่างหนึ่ง จึงคล้ายดั่งการกำมือและการแบมือ ต่างล้วนเป็นอาการหรือกริยาของ"มือ"ที่แปรเปลี่ยนไปได้ ดังนั้นจึงควรทำความรู้จักไว้ทั้งสอง เพราะย่อมต้องมีกริยาของการแบมือบ้าง,กำมือบ้างเป็นธรรมดา กล่าวคือบางครั้ง, บางสถานการณ์จึงมีการสลับเปลี่ยนกันบ้างโดยธรรมคือธรรมชาติได้เป็นธรรมดา
    ส่วนสมาธินั้น ถ้าไม่เป็นสัมมาสมาธิ คือไม่ได้นำไปพิจารณาธรรมให้เกิดปัญญาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็จะเกิดอุปกิเลสเช่นกัน มักติดในความสงบ(ปัสสัทธิ) ติดแช่นิ่ง(อุเบกขา) ]


    โอภาส แสงสว่างย่อมปรากฏในมโนทวารวิถี ขณะเมื่อจิตเข้าถึงฌาน (ภวังค์) เมื่อจิตน้อมเชื่อไปตามแสงสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ขยายวงกว้างออกไป มีอาการแปลกๆ ต่างๆ เหลือที่จะพรรณา

    ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ บางทีจนกำหนดตามไม่ทัน ไม่ทราบว่ารู้อะไรบ้าง ทั้งสิ่งที่เคยรู้เคยเห็น ทั้งสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น มิใช่รู้อยู่กับสิ่งที่รู้ ยังสอดส่ายไปตามอาการตลอดถึงคนอื่น สัตว์อื่น ทีแรกจริงบ้างไม่จริงบ้าง นานๆ เข้าก็เหลว

    ปีติ ทำให้อิ่มใจจนลืมตัว

    ปัสสัทธิ ทำให้สงบจากอารมณ์ภายนอก กลับเข้ามายุ่งอยู่กับอารมณ์ภายในจนไม่เป็นอันกินอันนอน เมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า ธาตุย่อมกำเริบ จิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ

    สุข ทำให้สบายอยู่ด้วยอาการทั้งหลายดังกล่าวมา ถึงกับไม่ต้องรับประทานข้าวน้ำก็มี

    อธิโมกข์ ทำให้เกิดจิตน้อมเชื่อไปในนิมิตและแสงสว่าง ความรู้มีมากเท่าไร อุปกิเลสทั้ง ๑๐ ก็ยิ่งมีกำลังรุนแรงทวีขึ้น

    ปัคคาหะ ทำให้เพียรกล้าไม่หยุดหย่อนท้อถอย มีญาณความรู้คอยกระซิบตักเตือนให้ทำอยู่เสมอ

    อุปัฏฐาน ช่วยให้สติแข็งแกร่งอยู่เฉพาะในอารมณ์นั้น แต่ขาดสัมปชัญญะ ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร

    ถ้าอุปกิเลสทั้ง ๘ ตัวดังกล่าวมาหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งยังเกิดมีอยู่ อุเบกขา(ในวิปัสสนูปกิเลส)ก็จะไม่เกิด ถ้าทั้ง ๘ นั้นสงบลงแม้ชั่วขณะหนึ่ง อุเบกขา และ นิกันติ จึงจะเกิดขึ้น

    อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ มุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้วก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก เมื่อมีเรื่องวิปลาสเกิดขึ้นเช่นนั้น ผู้รู้เท่าและเคยผ่านมาแล้วจึงจะแก้ได้

    วิธีแก้วิปลาส​
    อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้นสำหรับนิสัยของบางคน แต่บางคนก็ไม่มีเลย(หมายถึงปฏิบัติมาอย่างถูกต้อง - ผู้เขียน) ถ้ามันเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

    ๑. เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่เป็นอุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา และอุปกิเลสนี้เกิดจากฌานหาใช่อริยมรรคไม่ ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ แปดข้อเบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตามด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน ฌานก็เป็นโลกิยะ อุปกิเลสก็เป็นโลกิยะ โลกิยะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าแก้อย่างนั้นด้วยตนเองไม่ได้ผล คนอื่นช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้เป็นหลงเข้าไปยึดมั่นสำคัญเอาเป็นจริงเป็นจังเสียแล้ว บางทีจนทำให้ซึมเซ่อมึนงงไปหมดก็ดี จึงควรใช้วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย

    ๒. เมื่อรู้เท่าทันและเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว จงคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม(เป็นสมาธิหรือฌานได้ - webmaster) แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย (แต่ไม่ควรเป็นแบบซ้ำซ้อนและต่อเนื่อง - webmaster) แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์ หรือไม่เคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้ว ก็ยากที่จะแก้เขาได้ ฉะนั้น จึงควรใช้...

    วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย คือใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดเอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำความเข้าใจกันใหม่ วิธีสุดท้ายนี้ โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ

    ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก............

    .........พระศาสดาได้เสด็จอุบัติขึ้นในภพในขันธ์ และสาวกก็เช่นนั้นเหมือนกัน แต่คำสอนของพระองค์สอนให้ละภพละขันธ์อันเป็นโลกิยะจนเข้าถึงโลกุตตระ ดังนั้นธรรมอุบายที่จะให้ละจึงมีทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ แม้ปัญญาซึ่งเกิดแต่การฝึกหัดนั้นก็มีทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระเหมือนกัน จึงเป็นการยากแก่ผู้ที่มีภูมิ (คือฌานและสมาธิ) ไม่เพียงพอ ปัญญาไม่ละเอียดพอ จะเฟ้นเอาสาระประโยชน์จากชีวิตอันนี้ได้ ถ้าหลงเข้าใจผิดยึดเอาสิ่งที่มิใช่สาระว่าเป็นสาระแล้ว ก็ลงเอวังกันเลย

    ผู้ปฏิบัติพึงระลึกเสมอว่า ภพกายหลงง่ายละยาก ภพจิตหลงยากละยาก นิมิตและญาณที่เกิดแต่ฌานก็หลงง่ายละยาก แต่ที่เกิดแต่สมาธิหลงยากละง่าย เพราะเกิดแต่สมาธิเป็นอุบายของปัญญาเพื่อให้ละถอนอุปธิเข้าถึงสารธรรมโดยตรง


    http://www.nkgen.com/tess805.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2013
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    วิปัสสนูปกิเลส
    อุปกิเลส ๑๐ ที่เกิดจากการวิปัสสนา คือ กิเลสที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมถวิปัสสนา
    ที่มักมาจากการปฏิบัติสมถสมาธิหรือฌานแต่ฝ่ายเดียว (ดูรายละเอียดในบทวิปัสสนูปกิเลส)
    อุปกิเลสแห่งวิปัสสนาในหัวข้อทั้ง ๑๐ ดูจากชื่อแล้ว น่าเป็นสภาพที่น่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษ
    กล่าวคือ ให้ผลที่ไม่ถูกต้องกับข้อธรรมนั้นๆ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา
    ซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า ตนบรรลุมรรคผลขั้นใดแล้ว
    ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ และยังก่อโทษก่อภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติอย่างร้ายแรงได้

    มี ๑๐ คือ
    ๑.โอภาส แสงสว่าง,นิมิตแล้วงมงายอย่างเพลิดเพลินหรือติดเพลิน(นันทิ)
    ๒.ปีติ ความอิ่มเอิบใจ แต่อย่างติดเพลิน
    ๓.ญาณ ความรู้ แต่อย่างเข้าใจผิดหรือมิจฉาญาณ
    ๔.ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต แต่อย่างแช่นิ่งอยู่ภายในอย่างขาดสัมปชัญญะ
    ๕.สุข ความสบายกายสบายจิต แต่อย่างติดเพลิน
    ๖.อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อแต่อย่างขาดเหตุผลหรือปัญญา
    ๗.ปัคคาหะ ความเพียรที่เกินพอดี
    ๘.อุปัฏฐาน สติชัดเกินพอดี
    ๙.อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลางแต่แบบอวิชชา
    ๑๐.นิกันติ ความพึงพอใจอย่างงมงายหรือลุ่มหลง ในผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ


    http://www.nkgen.com/ex3.htm#วิปัสสนูปกิเลส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2013
  17. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    [​IMG]

    พระอานนท์...หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด

    เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔




    โสดาบัน แปลว่าบรรลุถึงกระแสของธรรมที่จะไม่เกิดไม่ตาย อย่างช้าไม่เลย ๗ ชาติ ผู้นี้ตีตราไว้แล้ว พวกสำเร็จพระโสดานี้อย่างอ่อนมาเกิดมาตายอยู่ในมนุษย์นี้ ๗ ชาติ แต่ไม่ตกนรก ท่านบอกไว้ชัดเจนมาก จะขึ้นสวรรค์ลงมาแดนมนุษย์ ๆ อย่างมากไม่เลย ๗ ชาติ อย่างกลาง ๓ ชาติ อย่างอุกฤษฏ์ก็ชาติเดียว

    ๑)มาเกิดในชาติเป็นมนุษย์แล้ว ตายแล้วไปสวรรค์ พอกลับมาเกิดอีกบรรลุถึงพระนิพพาน ตีความหมายได้สองนัย

    ๒) เมื่อบรรลุพระโสดาแล้ว บำเพ็ญเพียรในเวลานั้นบรรลุธรรมในชาตินั้นเลย ยกตัวอย่างเช่น พระอานนท์เป็นต้น เวลาพระพุทธเจ้าปรินิพพานพระอานนท์ก็สำเร็จพระโสดา ยังไม่ขึ้นถึงอรหันต์ พระองค์ก็ทรงทำนายไว้แล้ว ที่พระอานนท์ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า เสียใจร้องห่มร้องไห้ว่าพระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุแล้ว นั่นคำขาดเห็นไหม บอกว่าจากนี้ไปอีก ๓ เดือนเราจะตาย เดือน ๓ เพ็ญทรงปลงพระชนมายุ ลั่นพระวาจาว่าจากนี้ไปอีก ๓ เดือน เราจะตาย พอเดือน ๖ เพ็ญ ก็เสด็จไปเมืองกุสินาราไปนิพพานที่นั่นวันนั้น ผิดไหมล่ะ

    นี่ก็ทรงทำนายพระอานนท์ว่า อานนท์ วันสังคายนานั่นแหละ นั่นเห็นไหมล่ะท่านก็ยังไม่ตาย สังคายนายังไม่มีท่านทรงทำนายไว้แล้ว วันทำสังคายนานั่นแหละวันที่เธอจะสิ้นภพสิ้นชาติ เป็นอรหัตบุคคลขึ้นมาในวันนั้น หลังจากเราตถาคตตายไปแล้ว ๓ เดือน แน่ะ บอกชัดเจน พอพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว ๓ เดือนท่านก็ประชุมสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัย พระอานนท์ก็เลยเอาสัญญาอารมณ์นั้นดีใจปีติยินดีว่า เราจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น ๆ พอถึงวันนั้นเข้ามาพระอานนท์ก็ทำความเพียรฟาดเสียจนตลอดรุ่ง คือจะให้สำเร็จดังที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้

    ทีนี้เวลาจะสำเร็จจิตไม่ได้อยู่ในปัจจุบันที่จะแก้กิเลส เอาแต่ตามความคาดหมายที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้แล้วว่า วันจะทำสังคายนานี้เป็นวันที่พระอานนท์จะสำเร็จอรหันต์ พระอานนท์ก็เอาอันนี้มาเป็นสัญญาอารมณ์อยู่ ว่าเราจะสำเร็จอรหันต์ในวันนี้ ๆ เลยลืมทำงานเสีย งานแก้กิเลส มีแต่จะสำเร็จ ๆ จนกระทั่งจะสว่างแล้ว อ้าว ยังไงกัน สว่างแล้ววันนี้ท่านก็จะทำสังคายนา เราก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าพอแล้วจะทำไง ว่าจะสำเร็จพระอรหันต์ก็ไม่สำเร็จ ทีนี้หดย่นเข้ามาละนะ จิตที่ไขว่คว้าหาสัญญาอารมณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้นั้น คว้าอยู่ตลอด ทีนี้จิตนั้นเกิดทอดอาลัยถอยเข้ามาแล้ว ความหวังนั้นหวังนี้ซึ่งเรียกว่าตะครุบเงาก็ปล่อยเข้ามา ๆ นี่ก็จวนสว่างแล้วเราเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเต็มที พักสักหน่อย นั่นละที่นี่จิตทอดอาลัยเข้ามาแล้ว

    คือจิตมันส่ายแส่ตามความหวังที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้นั้น ไม่เข้ามาจุดปัจจุบันซึ่งเป็นจุดบรรลุนะ ทีนี้พอถึงเวลาแล้วเหนื่อยมากแล้ว ความหวังทั้งหลายก็เลยลดตัวลง หดเข้ามา ไม่เอาละความหมายว่างั้นถ้าภาษาเรานะ นี่จวนสว่างแล้วเราจะพักสักหน่อย จิตมันก็หดจากความหวังทั้งหลายที่เป็นลม ๆ แล้ง ๆ เข้ามา ๆ พอมานั่งปั๊บทอดกายลงไปจะหลับนอนเท่านั้น นั่นท่านจึงว่าพระอานนท์บรรลุธรรมในอิริยาบถ ๔ คือ นั่งก็ไม่เชิง จะนอนก็ไม่เชิง จะอะไรก็ไม่เชิง พอเอนลงไปศีรษะยังไม่ถึงหมอนบรรลุธรรมปึ๋งเลย เรียกว่า พระอานนท์บรรลุธรรมในอิริยาบถ ๔ จะยืนก็ไม่ใช่ จะนั่งก็ไม่เชิง จะนอนก็ไม่ใช่ เอนลงไปยังไม่ถึงหมอนสำเร็จปึ๋งขึ้นมา พอสำเร็จปึ๋งขึ้นมาก็รู้ทันที

    นี่พระพุทธเจ้าทำนายไว้ผิดไปไหนเห็นไหมล่ะ ก็บอกวันนั้น แต่พระอานนท์ไปงมเงาเฉย ๆ หวังเอาความสำเร็จจากความสำคัญของตนที่ทรงทำนายไว้แล้ว ก็ไม่สำเร็จล่ะซี พอถอนจากความสำคัญมั่นหมายนั้นเข้ามาสู่วงปัจจุบัน ทอดอาลัยละที่นี่ ทีนี้จิตก็เข้าวงปัจจุบัน พอเข้าปัจจุบันปั๊บบรรลุปึ๋งเลย เพราะบรรลุธรรมต้องบรรลุในปัจจุบันนะ คิดนั้นคิดนี้อยู่ไม่ได้ไม่บรรลุ พอว่าอย่างนั้นรู้ทันที ไม่ได้คุย อย่างนั้นละ จิตนี้เวลาจะผ่านพ้นของมันไปโดยสิ้นเชิงนี้จะไม่มีงานอะไรเลย จะจดจ่อกับสิ่งใดก็ไม่ใช่ เรียกว่ากลางสุดยอดเลย อุเปกขาสุดยอด มุ่งอะไรอยู่นี่จิตยังทำงาน ต่อเมื่อจิตได้รวมมาเป็นปัจจุบัน คือไม่ยุ่งกับอะไรเลยนี้เป็นปัจจุบัน ควรแล้วแก่การบรรลุธรรม พระอานนท์ก็บรรลุผึงขึ้นเลย นั่นคำทำนายของพระพุทธเจ้าเป็นยังไง ผิดไหมล่ะ ท่านก็เลยสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา

    แล้วท่านแสดงฤทธิ์ให้บรรดาพระสงฆ์เห็นเสียด้วยเวลาที่จะเข้าประชุม คือพระ ๕๐๐ องค์ จัดพระไว้ ๔๙๙ องค์ องค์ที่ห้าร้อยไว้สำหรับพระอานนท์ จัดอาสน์สงฆ์ไว้เรียบร้อย พระอานนท์จะมาที่นี่และจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ในวันนี้ พระสงฆ์ทั้งหลายก็ทราบจากพระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้แล้ว พอถึงวันเวลาแล้วอาสน์สงฆ์ที่จัดไว้สำหรับพระอานนท์ พระอานนท์ก็ผุดขึ้นที่นั่นเลยทันที พระสงฆ์ทั้งหลายทราบทั่วกันหมดเลยว่านี่สำเร็จแล้วไม่ต้องไปถามละ อาสน์สงฆ์อยู่ที่นั่น มาได้ยังไงพระอานนท์ ผึงเดียวเลย

    นั่นเราจะคาดได้ยังไง คาดเรื่องธรรมพระพุทธเจ้า อย่าไปคาดนะ เป็นไปไม่ได้อย่างนั้น ๆ ไอ้พวกหูหนวกตาบอดแต่มันเห่าเก่ง มันไม่กัดนะมันเห่าเฉย ๆ เห่าแว้ก ๆ แล้วก็วิ่งเหมือนไอ้หยอง ตะกี้นี้เห่าแว้ก ๆ เขาจับขังแล้ว พวกนี้มันพวกเห่าแว้ก ๆ มันไม่ได้สำเร็จ ธรรมนี้คาดไม่ได้นะ ไม่มีอะไรจะไปคาดได้ ธรรมเหนือทุกอย่าง ฟังแต่ว่าเหนือทุกอย่าง สิ่งที่คาดที่หมายอยู่ในวงของสมมุติทั้งหมด ธรรมชาตินั้นเหนือแล้วคาดไม่ได้ ผางเดียวเท่านั้น
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้าค่ะ
     
  18. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าท่านจะเป็นผู้สั่งสอนสาวกท่านโดยการอบรมด้วยพระโอษฐ์ของท่านเอง...และผู้ได้ยินได้ฟังจึงบรรลุธรรมได้ง่ายเพราะท่านเป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงคือท่านได้บรรลุธรรมแล้วท่านจึงได้สอนเพราะผู้ปฏิบัติธรรมที่บรรลุธรรมนั้นการสั่งสอนก็จะได้ผลเหมือนหลวงปู่หลวงตาที่ท่านเป็นพระอรหันต์ เพราะธรรมะที่แท้จริงก็คือธรรมชาติของสังขารร่างกายไม่มีใครที่จะบังคับได้ถ้าท่านเข้าใจในธรรมชาตินั้นแหละก็จะเห็นธรรมชาติ เพราะธรรมชาติของคนไม่มีใครห้ามแก่ห้ามเจ็บได้และห้ามตายได้...การปฏิบัติก็เพื่อการยอมรับความเป็นจริงของชีวิตที่หลีกหนีไม่ได้...ก็ต้องทําให้เห็นจริงก่อนหรือเข้าใจในหลักคําสอนของพระพุทธเจ้า คืออริสัจ ๔ ก่อนนั้นเองให้รู้ตามเห็นตามความเป็นจริงผู้ปฏิบัติเท่านั้นจะเป็นผู้รู้ผู้เห็นเองได้เพราะธรรมอยู่ที่ตัวเราเอง...ธรรมก็เหมือนนํ้าที่มีอยู่ว่าแต่เราจะเอามาดื่มมาอาบเมื่อไหร่นั้นเอง..
     
  19. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    จิตตวิเวก คือ จิตสงบเมื่อจิตสงบแล้วก็จะเห็นกิเลสพอเห็นกิเลสเราแล้วก็จะทําให้กิเลสมันสงบตัวลงไปได้...เพราะเราเริ่มเห็นตัวมันแล้ว เมื่อกิเลสสงบความโลภความโกรธความหลงก็จะลดน้อยลงไป เพราะจิตใจของเราจะว่างจากตัวกูของกูคือ"การปล่อยวางนั้นเอง" ผู้จะปล่อยวางได้นั้นก็ต้องมีความเข้าใจหรือมีความสงบก่อนแล้วก็จะมีความฉลาดในธรรมก็จะปล่อยวางได้คือไม่ยึดไม่ติดในความเป็นจริง...เพราะการปฏิบัติที่ทุกๆคนต้องการก็เพื่อความสุขเพราะการได้ความสุขจากการปฏิบัตินั้นเป็นสุขที่แท้จริงไม่ใช่สุขที่เป็นความจอมปลอมที่เป็นสุขชั่วคราวอย่างโลกๆนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องทําความสงบให้ได้โดยการมองสิ่งรอบตัวเป็นสิ่งทีมีอยู่เป็นธรรมดาและธรรมชาติของเขาอยู่แล้ว...แต่ผู้จะเห็นได้ต้องเห็นได้ด้วยปัญญาเพราะปัญญาเท่านั้นเป็นตัวที่ผู้ปฏิบัติที่จะนําออกใช้เหมือนเรามีมีดแล้วพอเราจะประกอบอาหารก็ใช้มีดที่เรามีตัดเนื้อ ผัก ปลา หรืออะไรที่เราต้องการจะใช้นั้นเอง...
     
  20. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    เมื่อสิ่งนี้มี....สิ่งนี้ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นในสิ่งนี้....สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี....สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะการดับไป....สิ่งนี้ๆจึงดับไป. ขอผู้ปฏิบัตดี ปฏิบัติชอบจงเจริญทางธรรมยิ่งไปเทอญ. โมทนาสาธุๆๆค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...