ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต วัดกุฎีทอง อยุธยา

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 5 สิงหาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
  2. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    เล่าขานตำนานสยาม ตอน ความเป็นมาการตักบาตรเทโว
    [​IMG]
    วันเทโวโรหณะ หมายถึง วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสำคัญ วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง กล่าวคือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย
    กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง
    วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังออกพรรษาเราเรียกว่า ตักบาตรเทโว
    ตามประวัติกล่าวว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ หลังจากที่เสด็จไปเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาในดาวดึงส์พิภพ ครั้นจวนถึงวันออกพรรษาเหล่ามหาชนผู้เฝ้าคอยรับเสด็จทราบจาก พระโมคคัลลานะเถระ เมื่อครั้งแสดงฤทธิ์เหาะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ดาวดึงส์พิภพว่าพระบรมศาสดาจะเสด็จสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมือง สังกัสสะนคร อันเป็นเมืองที่พระสารีบุตรเถระจำพรรษาอยู่ มหาชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันออกเดินทางไปสู่เมืองดังกล่าว ฝ่ายท้าวสักเทวราช (พระอินทร์) เมื่อทราบพุทธประสงค์ดังนั้น จึงนิรมิตบันไดทิพย์ทั้ง ๓ คือ บันไดแก้ว ให้อยู่ตรงกลาง สำหรับส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าลงจากดาวดึงส์ เบื้องขวาเป็นบันไดทองสำหรับท้าวสักกเทวราช และ เทพยดาทั้งหลาย เบื้องซ้ายเป็นบันไดเงินสำหรับหมู่พรหมทั้งหลายที่ตามส่งเสด็จ เชิงบันได้ทิพย์ทั้ง ๓ นี้ได้ทอดจาก ยอดเขาสิเนรุราช หรือ เขาพระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงสู่เมืองสังกัสสะนคร เมื่อได้เวลาเสด็จพระบรม ศาสดาทรงประทับยืนท่ามกลางหมู่เทพยดา พระอินทร์ และพรหมทั้งหลาย แล้วทรงทำ “โลกวิวรณปาฏิหาริย์” คือ “ทรงเปิดโลก” ทั้ง ๓ อันได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษย์โลก ให้มองเห็นถึงกันหมด ด้วยพุทธานุภาพ โดย ทอดพระเนตรไปในทิศต่าง ๆ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง ทั้ง ๑๐ ทิศ พร้อมกับเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ๖ ประการ (รัศมีที่ออกมาจากพระวรกาย)
    ในเวลานั้น ทุกหนทุกแห่งสามารถมองทะลุเห็นกันได้โดยตลอด เหล่าเทพยดาในสวรรค์มองเห็นมนุษย์และสัตว์นรก มนุษย์มองเห็นเทพยดาและสัตว์นรก สัตว์นรกมองเห็นเทพยดาและมนุษย์ เมื่อทรงทำปาฏิหาริย์เปิดโลกแล้ว พระบรมศาสดาจึงเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์สู่เมืองสังกัสสะนคร ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ และในการเสด็จลงจาก เทวโลกในวันนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเทวดาและมนุษย์ โดยตลอด เวลานั้นทรงตรัสถามปัญหาแก่ บุคคลตั้งแต่ภูมิชั้นต้น ชั้นต่ำ จนถึงภูมิชั้นสูง เมื่อทรงตั้งปัญหาถามในภูมิชั้นใด บุคคลผู้ได้ภูมิชั้นนั้นก็
    ตอบปัญหานั้นได้ แต่ก็ไม่อาจจะตอบปัญหาที่สูงกว่าภูมิของตนได้ ได้ตรัสถามเรื่อยมาจนถึงภูมิของพระอัครสาวกเบื้องขวาคือพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ตอบได้ แต่เมื่อทรงได้ตั้งปัญหาถามในชั้นพุทธภูมิที่สูงกว่าภูมิของพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ตอบไม่ได้ ที่ตอบไม่ได้นั้น ก็เพราะไม่ทราบพระพุทธอัธยาศัยว่า จะมีพุทธอัธยาศัยให้ตอบโดยนัยไหน
    ท่านยกตัวอย่างปัญหา ที่ถามในพุทธภูมิว่า “บุคคลผู้ที่มีธรรมะอันนับ คือพิจารณารู้ตลอดแล้ว (หมายถึงพระอเสขบุคคล คือพระอรหันต์) กับบุคคลผู้ที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องศึกษา หมายถึง ท่านผู้บรรลุภูมิพระโสดาบันขึ้นมา จนถึงภูมิของพระอนาคามี) บุคคลสองจำพวกนี้มีความประพฤติเป็นอย่างไรปัญหานี้พระสารีบุตรไม่ทราบพระพุทธอัธยาศัยว่า มุ่งจะให้ตอบในนัยไหน แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทานนัย มุ่งจะให้ ตอบในนัยขันธ์ พระสารีบุตรก็เกิดปฏิภาณขึ้นจึงตอบได้ ในการตอบปัญหานั้นจำจะต้องรู้ นัย คือ ความประสงค์ของปัญหา หรือของผู้ถาม เมื่อตอบให้ถูกตามประสงค์ก็เป็นอันใช้ได้ ดั่งปัญหาธรรมะว่า
    คนดีคือคนอย่างไร ก็กว้างมาก ถ้าจะตอบ ยกเอาธรรมะในนวโกวาทมาก็ได้เกือบจะทุกข้อ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องพิจารณาให้รู้ความประสงค์ของผู้ถามหรือของปัญหา ว่า มุ่งจะให้ยกเอาธรรมข้อไหนขึ้นมาตอบ และเมื่อตอบให้ถูกความประสงค์ได้ก็เป็นอันใช้ได้ ตอบนิดเดียวก็ใช้ได้ แต่ถ้า ตอบผอดความประสงค์ยกเอาธรรมะมาตอบทั้งเล่มบางทีก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเมื่อมาถึงปัญหาที่เป็นพุทธภูมิ พระสารีบุตรก็จำจะต้องได้นัย และเมื่อได้นัยแล้วก็ตอบได้ทางบันไดสวรรค์ที่ลงสู่ประตูเมืองสังกัสสะนคร ที่ตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี และสถานที่นั้นประชาชนถือว่าเป็น
    ศุภนิมิต จึึงสร้าง พระเจดีย์ขึ้นเป็น “พุทธบูชานุสาวรีย์” เรียกว่า “อจลเจดีย์”
    ในวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์พิภพนั้น พุทธบริษัทจึงพร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระพุทธองค์ พร้อมทั้งพระสงฆ์ทั้งหมดที่อยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งพุทธบริษัทที่มาร่วมในพิธีดังกล่าว ก็ไม่ได้นัดหมายกันก่อนล่วงหน้า แต่ปรากฏว่าการใส่บาตร ในวันนั้นเนืองแน่นไปด้วยผู้คน ผู้คนเข้าไม่ถึงพระที่มารับบิณฑบาต ประชาชนจึงนำเอาข้าวสาลีของตนห่อ หรือทำเป็นปั้นๆ แล้วโยนเข้าไปถวายพระ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยน ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโรหณะ และเป็นประเพณีสืบต่อมา เพื่อรักษาจารีตที่ปรากฏขึ้นในวันนั้น พุทธบริษัทในภายหลังจึงนิยมสืบ ๆ กันมา จนเป็นประเพณี ว่าถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ควรทำบุญตักบาตร ให้เหมือนครั้งดั้งเดิม ซึ่งเรียกกันว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ” จนทุกวันนี้
    สำหรับพิธีตักบาตรเทโวโรหณะที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ นิยมจัดทำขึ้นในวัด และถือเป็นหน้าที่ของทางวัดนั้น ๆ และทายก ทายิการ่วมกันจัดการตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่อง ต่อกันมาเป็นประเพณี จนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมายนิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว ด้วยเหตุนี้ วันเทโวโรหณะจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันตักบาตรเทโว ซึ่งคำว่า "เทโว" ย่อมาจาก "เทโวโรหณะ" แปลว่า การเสด็จจากเทวโลก การตักบาตรเทโวจึงเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทย ก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เท่านั้น
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/
     
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    เล่าขานตำนานสยาม ตอน มนต์ตราแห่งคำสาบ "เวียงโยนกนาคพันธุ์"
    [​IMG]
    ปลาไหลเผือกปรากฏขึ้นในนครโยนก
    เกินกว่าพันปีมาแล้ว เมืองนาคพันธ์ สิงหนวัตร หรือ นครโยนก เกิดจาก การใช้กฎ กลอุบายความโหดร้ายของพระราชา ที่ไม่นับถือธรรมเนียมปฏิบัติ หลังจากนั้นหลายศตวรรษ ของการปกครองที่ดีแผ่นดินก็เต็มไปด้วยโรคระบาดและปัญหาต่างๆวันหนึ่งผู้ติดตามพระราชาจับปลาไหลเผือกตัวใหญ่ได้ในแม่น้ำกกและได้ถวายต่อกษัตริย์ของพวกเขา พระราชารู้สึกประหลาดใจว่า มันไม่เพียงแต่เป็นสีขาว แต่มันยังตัวใหญ่เหมือนกับ ลำตัวของ ปาล์มใบพัด พระองค์ได้รับสั่งให้ผู้ติดตามฆ่าปลาไหลและแบ่งปันให้บริวารในวังพวกเขาต่างกินและดื่มน้ำเมากันอย่างสนุกสนานในค่ำนั้น ต่อมาท้องฟ้าเริ่มมืดครึ้ม และฝนเริ่มตกหนัก ฟ้าร้องดังสนั่น และสว่างไสว อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จากนั้นความเงียบเริ่มย่างกลายเข้ามา จนถึงเที่ยงคืน ตอนนั้นพายุเริ่มขึ้นอีกครั้ง เกิดขึ้นรุนแรงกว่าครั้งแรก แต่พอเริ่มสว่าง เหตุการณ์ต่างๆ ก็เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ จากนั้นพายุก็เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เกิดแผ่นดินไหวฟ้าผ่า เวลาแห่งความโหดร้ายเกิดขึ้นยาวนาน เมืองเริ่มพังทลายลงมาและน้ำท่วม จนถึงเช้าอีกวันหนึ่ง เมื่อพระอาทิตย์ เริ่มทอแสงอีกครั้ง ทุกอย่างก็หายไป และพังทลายหายไปใต้น้ำหมด เว้นแต่กระท่อมหญ้าหลังเล็กหลังหนึ่ง มีแม่ม่ายสูงวัยอาศัยอยู่ เมื่อชาวบ้านจากเมืองอื่น มาเห็นต่างรู้สึกสงสารผู้ที่หายสาบสูญจากนครโยนก ชาวบ้านได้ถามหญิงม่ายแก่ว่าเกิดอะไรขึ้น นางได้บอกว่า หลังจากเกิดพายุรอบแรก มีชายหนุ่มหน้าตาดีคนหนึ่งมาหาเธอ แล้วกล่าวกับนางว่า นางจะไม่เป็นอะไรเพราะ นางไม่ได้กินปลาไหลยักษ์ นางก็บอกว่าเมื่อตอนที่แบ่งเนื้อปลาไหลกินกันนั้น นางยังไม่กินสักนิด เพราะนางไม่กินเนื้อสัตว์ทุกประเภท แล้วชายหนุ่มคนนั้นก็บอกว่า ดีแล้ว คืนนี้ได้ยินเสียงดัง หรือ เห็นฟ้าผ่า ไม่ต้องกลัว จะปลอดภัยถ้าอยู่ในกระท่อม อย่าออกไปข้างนอกเด็ดขาด จากนั้น ชายหนุ่มก็เดินกลับไปข้างนอก แล้วเดินหายไป จากนั้นไม่นานความรุนแรงของพายุก็พัดโหมกระหน่ำอีกครั้งหญิงม่ายแก่รู้สึกตกใจเป็นอย่างมากและรู้สึกกลัว นางต้องการเปิดประตูเพื่อ มองดูข้างนอก แต่ก็ไม่กล้า เพราะคำแนะนำของชายหนุ่มคนนั้น และเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนคำพูดของเขาทั้งหมด นางอยู่ในกระท่อมจนสว่าง ต่อจากนั้นเมื่อนางได้เปิดประตูออกมานางก็ตกใจต่อภาพเบื้องหน้า ที่เป็นบึงใหญ่บริเวณกว้าง แทนที่เมืองหลวงของนครโยนก นางได้บอกกับชาวบ้านว่าผู้ที่เข้ามาครอบครอง บริหารเมืองนี้ โดยไม่มีศีลธรรมเป็นเหตุให้เกิดความหายนะ ดังตังอย่างกษัตริย์ ผู้ที่หายสาบสูญ ได้สังหารเอามงกุฎจ้าชาย เพื่อต้องการ ยกตำแหน่งของตนเองขึ้น การฆาตกรรมที่ไตร่ตรองล่วงหน้านี้เป็นผลให้ตนเองต้องจบชีวิตลง จากนั้น นางก็ได้เปิดเผยว่า กษัตริย์ของพวกเขา ผู้ที่ชาวบ้านคิดว่าสิ้นพระชนม์แล้วแต่ก็ไม่เป็นอะไร คนที่ถูกฆ่าตายเป็นลูกของนาง ตอนนี้เธอได้เป็นผู้นำชุมชน โดยชอบธรรมอยู่ไม่ไกลจากบ้านชุมชนชาวบ้านที่อาศัยรอบๆ ได้สร้างเมืองใหม่แห่งหนึ่ง ห่างไปประมาณ 5 กิโลเมตร และขนานนามที่แห่งนี้ว่า “เวียงพฤกษา “ ที่ที่ผู้สืบทอดอย่างถูกต้อง ขึ้นครองบัลลังก์ตามหน้าที่
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/
     
  4. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
  5. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    เล่าขานตำนานสยาม ตอน ถ้ำตับเตากับตำนานพระธาตุ๕๐๐อรหันต์
    [​IMG]
    สมัยแห่ง พระพุทธเจ้ากัสสปะ ได้มีค้างคาวหนู 500 ตัว ห้อยอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง วันหนึ่งได้มีพระเถระ 2 รูปเข้ามาบำเพ็ญสมณธรรมและสวดมนต์ (อภิธรรม) ค้างคาวหนูทั้ง 500 ตัวก็ได้ฟังเสียงสวดมนต์ด้วยความดื่มด่ำเพลิดเพลิน ถึงแม้ว่าจะไม่เข้าใจในความหมายแห่งบทสวดมนต์นั้นๆ ด้วยอานิสงส์นี้ ค้างคาวหนูทั้ง 500 ตัวจึงได้ไปเกิดเป็นเทวบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นานถึง 1 พุทธันดร เมื่อจุติจากสวรรค์ก็ได้มาเกิดในโลกมนุษย์ ในกรุงสาวัตถีสมัยพระพุทธเจ้ายุคปัจจุบัน
    .............ในพรรษาที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดง ยมกปาฏิหาริย์ โปรดพระมารดาที่ชั้นดาวดึงส์ด้วย พระพุทธนิรมิต จนกว่าจะกลับ แต่พระวรกายจริงกลับเสด็จไปยังป่าหิมพานต์ แล้วโปรดพระสารีบุตรกับศิษย์กุลบุตร 500 คน (ค้างคาวหนูทั้ง 500 ตัวที่มาเกิด) กุลบุตรทั้ง 500 คนเลื่อมใสใน ยมกปาฏิหาริย์ จึงได้บวชกับพระสารีบุตร พระพุทธองค์ก็ทรงเสด็จกลับเทวโลก พระสงฆ์ทั้ง 500 องค์ได้เป็นผู้ชำนาญใน ปกรณ์ทั้ง 7 และ บำเพ็ญจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด 500 องค์ และได้พักจำพรรษาอยู่ ณ ถ้ำแห่งหนึ่ง
    .............ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ได้ทรงแวะทำภัตกิจ ณ ถ้ำแห่งนี้ พร้อมกับทรงประชวรเนื่องจากทรงเสวยเนื้อสุกร จึงได้ประทับในถ้ำเป็นเวลาพอสมควร ก่อนหน้าที่หมอชีวกโกมารภัจจ์จะติดตามมาทัน ดังนั้นจึงได้มีการสร้าง พระพุทธไสยาสน์ ประทับบนแท่นที่พระพุทธองค์เคยประทับมาก่อนเพื่อเป็นพุทธานุสรณ์ว่า พระพุทธองค์ได้เคยเสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้ก่อนเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
    .............เมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ 500 องค์ ซึ่งยังคงอยู่ที่ถ้ำแห่งนั้นก็ได้นิพพานในเวลาที่ใกล้เคียงกับพระพุทธองค์ ส่วนพระอินทร์เมื่อทราบว่า พระอรหันต์ 500 องค์ นิพพานแล้วก็ได้เนรมิตไฟมาถวายเพลิง ไฟที่เผาไหม้ได้ร้อนไปถึงเมืองบาดาล พญานาคจึงขึ้นมาพ่นน้ำดับไฟจนเหลือแต่เถ้า จึงเรียกว่า ถ้ำดับเถ้า ตอนหลังเพี้ยนเป็น ถ้ำตับเต่า
    .............ปัจจุบันรูที่เกิดจากพญานาคผุดขึ้นมาจากเมืองบาดาล ก็ยังคงสภาพเดิมอยู่อย่างนั้น เนื่องจากไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้ เพราะกลัวพญานาค และน้ำที่ผุดขึ้นมาค่อนข้างจะน่ากลัวเพราะเกิดจากแรงดันจากใต้บาดาล ทำให้น้ำไหลเชี่ยวและแยกเป็นหลายลำธารไม่เคยขาดสายตลอดปี สามารถนำมาใช้อาบและต้มดื่มกินได้ และยังมีความศักดิ์สิทธิ์สามารถดับพิษไฟได้อีกด้วย
    .............ส่วน เถ้าอังคาร ที่จมอยู่ในน้ำตามลำธารใกล้ถ้ำดังกล่าวได้จับตัวรวมกันเป็นพระธาตุมีหลายขนาด และหลากสีสันวรรณะ เราจึงเรียกพระธาตุเหล่านั้นว่า พระธาตุพระอรหันต์ 500 หรือ พระธาตุ 500 อรหันต์
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/[/
     
  6. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    เล่าขานตำนานสยาม ตอน ศาลลูกศร ตำนานแห่งศรพระรามกับชาวเมืองลพบุรี
    [​IMG]
    ศาลศาลหลักเมืองลพบุรีลูกศร หรือ ลูกศรพระราม ตั้งอยู่ใกล้ๆบริเวณตลาดลพบุรี ด้านหน้าใกล้ทางแยกไปวัดสามจีน(วัดพรหมมาสตร์) ทางไปอำเภอไชโย (ถนนสายบ้านเบิก) ใกล้แม่น้ำลพบุรี ด้านหลังติดกับ วัดปืน ซึ่งใกล้กับบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ศาลลูกศร เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองลพบุรี และสถานที่แห่งนี้อาจจะเป็นศาลหลักเมืองลพบุรีก็ได้ ซึ่งภายในศาลแห่งนี้ จะมีหินสีดำ ที่แช่ในน้ำไว้ตลอด ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นศรของพระรามที่ตกลงมา ซึ่งก้อนหินนี้ เมื่อน้ำที่อยู่รอบก้อนหินนี้แห้งไป ก็จะเกิดไฟไหม้ในลพบุรี
    ตำนาน เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาช้านาน มีกมีเนื้อหาเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาร วีรกรรมของบรรพบุรุษ อันเป็นที่มาของวัตถุหรือสถานที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น ลพบุรีเป็นดินแดนที่สะสมเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ และสะสมประสบการณ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ มีซากปรักหักพังทางโบราณสถานโบราณวัตถุ ยังคงมีร่องรอยหลักฐานที่สำคัญ ดังนั้นมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเป็นเรื่อง ๆ ทั้งสถานที่และบุคล ที่น่าสนใจหลากหลาย
    เมื่อครั้งพระรามรบชนะทศกัณฑ์แล้ว พระองค์ ปูนบำเน็จรางวัลต่าง ๆ ให้แก่แม่ทัพนายกอง และบรรดาพลพรรคทั้งหลายที่ช่วยกันทำศึกทุกคน ส่วนกำแหงหนุมานผู้เป็นยอดทหารเอก มีความดีความชอบมาก พระองค์จึงประทานเมืองอโยธยาให้กึ่งหนึ่ง แต่หนุมานไม่สามารถตีเสมอเจ้านายได้เมื่อขึ้นบัลลังก์ก็ปวดเศียรเวียนเกล้า คิดได้จึงถวายเมืองคืน พระรามจึงคิดสร้างเมืองใหม่โดยยิงศรพรหมมาสตร์เสี่ยงทายหาที่ตั้งเมือง แล้วให้หนุมานเหาะตามไป ลูกศรตกที่ใด ให้หนุมานนั้นใช้เป็นที่ตั้งเมือง เมื่อพระรามแผลงศรไป ศรได้ไปถูกภูเขา เก้ายอด แตกกระจาย และตกยังพื้นอันเป็นเมืองลพบุรี ด้วยความแรงของลูกศร ทำให้ดินบริเวณนั้น แตกกระจาย กลายเป็นทุ่งพรหมมาสตร์ ตามชื่อศร ปัจจุบันคือ บ้านท่าหิน แล้วหนุมานก็จัดการเอาหางกวาดดิน ที่แตกกระจาย ทำเป็นกำแพงเมือง ปัจจุบัน กลายเป็นเขาสามยอด ตอนที่ศรตกลงดินใหม่ ๆ ด้วยอำนาจของศรทำให้ดินบริเวณนั้นร้อนระอุกลายเป็นสีขาว ต่อมาได้นำมาทำเป็นดินสอพอง ศรของพระรามมีอาถรรพ์มาก เมื่อปักลงแล้วเปรียบเสมือนเป็นเสาหลักบ้านหลักของลพบุรี ลูกศรนี้ต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงให้ขังเปียกอยู่ตลอดเวลา ถ้าปล่อยจนแห้งลูกศรจะร้อนและลุกเป็นไฟ แล้วเกิดเพลิงเผาผลาญบ้านเรือนของชาวลพบุรี โดยเหตุนี้เอง ชาวตลาดลพบุรี จึงได้สร้างศาลครอบคลุมศรไว้ ให้ชื่อว่า ศาลลูกศร เมื่อสร้างเมืองใหม่เสร็จแล้วจึงประทานนามเมืองว่า นพบุรี เพราะแผลงศร ไปถูกภูเขาเก้ายอด ต่อมาเพี้ยนเป็น ลพบุรี
     
  7. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    เล่าขานตำนานสยาม ตอน ที่มาแห่งกฐิน
    การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง
    [​IMG]
    คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)
    ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้นการทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน
    แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษะรับไว้ก่อนได้
    การที่มีประเพณีทอดกฐินมีเรื่องว่า ในครั้งพุทธกาล พระภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน ๓๐ รูป เดินทางไกลไปไม่ทันเข้าพรรษา เหลือทางอีกหกโยชน์จะถึงนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เชตวันมหาวิหารนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลน และเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนกรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ ห้าประการคือ
    ๑) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
    ๒) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
    ๓) ฉันคณะโภชน์ได้
    ๔) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
    ๕) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกาแปด คือการกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน

    ฉะนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

    การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ

    จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น

    มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัด คือทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคี

    การทอดกฐินในเมืองไทย แบ่งออกตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือพระอารามหลวง ผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ไปพระราชทาน เครื่องกฐินทานนี้จัดด้วยพระราชทรัพย์ของพระองค์เอง เรียกว่า กฐินหลวง บางทีก็เสด็จไปพระราชทานยังวัดราษฎร์ด้วย นิยมเรียกว่า กฐินต้น ผ้ากฐินทานนอกจากที่ได้รับกฐินของหลวงโดยตรงแล้ว พระอารามหลวงอื่น ๆ จะได้รับ กฐินพระราชทาน ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้ากฐินทาน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หรือเอกชนให้ไปทอด โดยรัฐบาลโดยกรมศาสนาจัดผ้าพระกฐินทาน และเครื่องกฐินถวายไป ผู้ได้รับพระราชทานอาจจะถวายจตุปัจจัย หรือเงินทำบุญที่วัดนั้นโดยเสด็จในกฐินพระราชทานได้

    ส่วนวัดราษฎร์ทั่วไป คณะบุคคลจะไปทอดโดยการจองล่วงหน้าไว้ก่อนตั้งแต่ในพรรษา ก่อนจะเข้าเทศกาลกฐินถ้าวัดใดไม่มีผู้จอง เมื่อใกล้เทศกาลกฐิน ประชาชนทายกทายิกาของวัดนั้น ก็จะรวบรวมกันจัดการทอดกฐิน ณ วัดนั้นในเทศกาลกฐิน
    การจองกฐิน
    วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทำเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการเผดียงสงฆ์ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้

    สำหรับการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา เพื่อขึ้นบัญชีไว้กราบบังคมทูลและแจ้งให้วัดทราบ ในทางปฏิบัติผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในรายละเอียดต่าง ๆ จนก่อนถึงวันกำหนดวันทอด จึงมารับผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินพระราชทานจากกรมศาสนา
    การนำกฐินไปทอด
    ทำได้สองอย่าง อย่างหนึ่งคือนำผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน พอถึงวันกำหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจ้าของกฐิน หรือรับพระราชทานผ้ากฐินทานมาจึงพากันไปยังวัดเพื่อทำพิธีถวาย อีกอย่างหนึ่ง ตามคติที่ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทานพิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จำพรรษาครบไตรมาส นับว่าได้กุศลแรง จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนำไปวัดเป็นงานใหญ่ มีการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวายพระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี พอถึงกำหนดวันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัดที่จะทอด มีเครื่องบรรเลงมีการฟ้อนรำนำขบวนตามประเพณีนิยม
    การถวายกฐิน
    นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นำเข้าไป พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์
    กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง
    การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

    พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาง ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้เตรียมการ ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผุ้มาในการกฐิน
    ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร)
    วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่นอนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพลการถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผาไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้
    พิธีกรานกฐิน
    พิธิกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะคือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร
    เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม 3 จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้
    ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายสงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสัมฆาฎินี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ต้องว่าคำแปลนี้) 3 จบถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าจ้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ 3 จบถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันครวาสกนี้ 3 จบลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ 3 หนเสร้จแล้ว ตั้งนโมพร้อมกัน 3 จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงษ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กราบแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)คำว่า อาวุโส นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษามากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม ให้เปลี่ยนเป็น ภนฺเตต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ ว่า "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินฺ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุมอนุโมทนา(ถ้าผู้อนุโมทนา มีพรรษาแก่กว่าสงฆ์ทั่งปวง ให้เปลี่ยนคำว่า ภนฺเต เป็น อาวุโส)ในการว่าคำอนุโมทนานี้พึงนั่งคุกเข่าประนมมือเสร้จแล้วจึงนั่งพับเพียงลงเมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก 3 จบ แต่ให้เปลี่ยนคำว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโมทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่งต่อแต่นั้นกราบพระ 3 หน นั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐิน
    อานิสงส์กฐินสำหรับพระในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ 5 คือ
    1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
    2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
    3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
    4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
    5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น
    อนิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด

    โดยทั่วไปผู้เขียนเองและแม้ผู้รู้บางท่านก็ยังไม่เคยพบในพระบาลีที่ระบุไว้โดยตรง แต่ว่าการทอดกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียวในปีหนึ่ง ๆ ต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ เพราะเราเองบริจาค ได้ทั่งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรใหมาร่วมการกุศล กาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทางพระวินัย
    หมายเหตุ
    ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ
    จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว
    "วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)
    ที่มาhttp://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/
     
  8. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440

แชร์หน้านี้

Loading...