ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    [​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล


    วัดป่าบ้านคุ้ม
    ต.โคกสว่าง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี



    ๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    “หลวง ปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล” เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรมสายท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ฝ่ายมหานิกาย ที่มีอาจาระงดงาม ไม่ติดที่ไม่ติดวัด สมณะสันโดษเป็นที่สุด ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวกับหลวงปู่ทองรัตน์ ครั้งหนึ่งว่า “จิตท่านเท่ากับจิตเราแล้ว จงไปเทศนาอบรมสั่งสอนได้” ด้วยเห็นว่าหลวงปู่เป็นพระแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว เป็นพระแท้จริง ท่านพระอาจารย์มั่นจึงไม่ญัตติให้เป็นธรรมยุตดังลูกศิษย์รูปอื่นๆ หลวงปู่ทองรัตน์จึงเป็นพระภิกษุผู้ประสานติดต่อภิกษุสงฆ์มหานิกายให้เป็นพระ ป่า ยึดธรรมปฏิบัติตามบูรพาจารย์ท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น

    หลวง ปู่ทองรัตน์ มีนามเดิมว่า ทองรัตน์ บรรพบุรุษของตระกูลเป็นชาวบ้านชี้ทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี แล้วอพยพย้ายถิ่นฐานครอบครัวไปอยู่บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีวันชัย หรืออำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ท่านเกิดที่บ้านสามผงหรือบ้านชี้ทวน ยังไม่ทราบแน่ชัด เมื่อปี พ.ศ. 2431 ซึ่งเป็นบ้านเดียวกับท่านพระอาจารย์กิ่ง และท่านพระอาจารย์วัง แห่งภูลังกา ท่านมีพี่ชายคนหนึ่ง เป็นกำนันของตำบลนี้คือกำนันศรีทัศน์ บิดาเป็นคหบดีคนมั่งคั่งในหมู่บ้าน และมีหน้าที่เก็บส่วย

    ในวัย เด็ก ท่านเป็นคนค่อนข้างจะหัวดื้อ นิสัยออกจะนักเลง ในงานบุญประจำปีหรือเทศกาลของหมู่บ้าน ช่วงวัยเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มชอบไปทางนักเลงสุรา สะพายบั้งทิงเหล้าหรือกระบอกสุราเหมือนนักเลงเหล้า พระอาจารย์หลวงพ่อกิ ธมฺมุตฺตโม แห่งวัดสนามชัย บ้านสนามชัย อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งของหลวงปู่ทองรัตน์เล่าถึงภูมิหลังของท่าน

    การศึกษามูลฐาน ท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนบ้านเกิด


    ๏ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    จาก ชีวิตคฤหัสถ์ที่สนุกสนานคึกคะนอง ค่อนไปทางนักเลงสุรากลางบ้าน พูดจาโผงผาง พูดขำขันตลกขบขัน และช่วยบิดามารดาทำมาหากินอย่างขยันขันแข็ง จนล่วงเลยวัยเบญจเพศชีวิตของท่านจึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

    เหตุ ที่จูงใจที่ทำให้หลวงปู่ทองรัตน์ตัดสินใจออกบวชก็คือ มีสาวชาวบ้านคนหนึ่งมารักถึงขั้นจะหนีตาม ท่านเคยเล่าให้ศิษย์ฟังว่า “บวชหนีผู้สาว” (บวชหนีหญิงสาว) แต่เมื่อหลวงปู่ได้บวชแล้วซาบซึ้งในรสพระธรรม จึงไม่ยอมลาสิกขา หลวงปู่ทองรัตน์ได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วลาสิกขาเป็นเซียงทองรัตน์ มีชีวิตเสพสุขสนุกสนานและช่วยงานการบิดามารดา จนประมาณว่าหลวงปู่อุปสมบทอีกครั้งราวอายุ 26 ปี โดยบวชที่บ้านสามผง มีเจ้าอาวาสวัดบ้านสามผงเป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เกิ่ง และพระอาจารย์อุ่น เป็นพระกรรมวาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “กนฺตสีโล” หลวงปู่สนใจและตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย ปริยัติธรรม ด้วยความเอาใจใส่โดยอยู่ในสายพระวัดบ้านนานถึง 5 พรรษา จึงเป็นพระปาฏิโมกข์ ที่แตกฉานในการสวดปาติโมกข์

    ในพรรษาที่ 6 หลวงปู่เริ่มเบื่อหน่ายต่อการศึกษาปริยัติธรรม นึกเปรียบเทียบการปฏิบัติกับพระธรรมวินัยของตนแล้วดูจะห่างไกลกันมาก ยิ่งมีความสงสัยในการประพฤติปฏิบัติว่าจะไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง อีกทั้งได้ยินข่าวครูบาอาจารย์ในทางวิปัสสนากรรมฐานที่สกลนคร คือ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส และวัดป่าในละแวกเขตอำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ว่าเป็นผู้มีคุณธรรมสูง ชำนาญด้านวิปัสสนาธุระ มีประชาชนเคารพเลื่อมใสศรัทธามาก

    ดังนั้น ในพรรษาที่ 6 หลวงปู่ทองรัตน์ได้เดินทางไปจังหวัดสกลนคร เข้านมัสการและขอโอกาสถามปัญหาในข้อวัตรปฏิบัติ ปกิณกะธรรม และวิสุทธิมรรค แล้วขอฝากตัวเป็นศิษย์

    พระอาจารย์อวน ปคุโณ (สิริรวมอายุได้ 66 ปี 46 พรรษา) แห่งวัดจันทิยาวาส บ้านนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ทองรัตน์รูปหนึ่ง ได้เล่าถึงการไปศึกษาธรรมของหลวงปู่ทองรัตน์กับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไว้ว่า ขั้นแรกของการศึกษา หลวงปู่ทองรัตน์ไม่รู้สึกอะไร ภาวนาตามธรรมดา ท่านพระอาจารย์มั่นได้แนะนำว่า รู้ไม่รู้ไม่สำคัญ ขอให้ทำจิตใจให้รู้จักจิตว่าสงบหรือไม่สงบ หลวงปู่ทองรัตน์ได้ออกวิเวกเที่ยวธุดงค์ไปแล้วกลับมาถามท่านพระอาจารย์มั่น อีก โดยถามว่าจิตสงบเป็นอย่างไร ท่านพระอาจารย์มั่นถาม “เท่าที่ทองรัตน์ปฏิบัติทุกวันนี้รู้สึกว่าเป็นแบบใด”

    หลวง ปู่ทองรัตน์ ตอบว่า “มีเหตุหนักกายหนักใจ ใจฝืดเคืองนัก” ท่านพระอาจารย์มั่นแนะนำว่า “เรื่องที่หนักกายหนักใจนั่น ไม่ใช่เพราะการบำเพ็ญภาวนา แสดงว่ามีความเชื่อมั่นศรัทธาอยู่ในการปฏิบัติอยากทำ แต่ไม่รู้จักวิธีการปฏิบัติให้รักษาจิต รักษาระเบียบวินัย กิจวัตร ข้อวัตรวินัยต้องเข้มงวด ปฏิบัติถึงแล้วก็จะเกิดเมตตา มีเมตตาแล้วแสดงว่ามีศีลบริสุทธิ์ มีศีลบริสุทธิ์แล้วจิตก็สงบ จิตสงบแล้วจะเกิดสมาธิ”

    หลวงปู่ทองรัตน์ได้อุบายธรรมปฏิบัติแล้ว ได้กราบนมัสการลาออกหาวิเวกธุดงค์ จนกระทั่งรู้จักสมาธิแล้ว จึงมาหาท่านพระอาจารย์มั่น และได้เล่าให้ท่านฟังว่า “ผมรู้จักแล้วสมาธิ” ท่านพระอาจารย์มั่นจึงถามว่าที่ว่ารู้จักนั้น รู้จักแบบไหน หลวงปู่ทองรัตน์ ตอบว่า “รู้จักเมื่อเป็นสมาธิแล้วก็เบากาย เบาจิต” ท่านพระอาจารย์มั่นได้แนะนำต่อว่า จิตสงบแล้วก็ให้พิจารณาขันธ์ 5 ให้รู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หลวงปู่ทองรัตน์จึงได้ออกวิเวกธุดงค์ไปตามหุบห้วยภูผาป่าช้าต่างๆ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระผู้เป็นบูรพาจารย์ เช่น ห้ามเทศน์เด็ดขาด ให้ระวังสำรวม ให้อยู่ตามต้นไม้ อยู่ป่า สหธรรมิกที่มีอุปนิสัยต้องกันในระหว่างจำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น คือ พระอาจารย์มี ญาณมุนี แห่งวัดป่าสูงเนิน อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

    หลวงพ่อกิ ธมฺมุตฺตโม เล่าถึงหลวงปู่ทองรัตน์ไว้ว่า นอกจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต แล้ว หลวงปู่ทองรัตน์ท่านเคารพนับถือท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นอาจารย์อีกรูปหนึ่ง ซึ่งท่านกล่าวถึงมากที่สุดเมื่อออกธุดงค์ใหม่ๆ ในพรรษาที่ 7 กับพระอาจารย์มี ได้มีญาติโยมมาสนทนาธรรมและขอฟังเทศน์จากท่าน หลวงปู่ก็มักจะบ่ายเบี่ยงว่าเราบวชน้อย อายุพรรษาไม่มาก ครูบาอาจารย์ยังไม่ให้เทศน์

    หลวงปู่ทองรัตน์ท่านเป็นผู้เคร่ง ครัดในข้อวัตรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ และปฏิบัติมาก ถือการอยู่ป่าตามโคนต้นไม้ บางทีท่านเอาศรีษะหนุนโคนต้นไม้ บางทีนอนหนุนกิ่งไม้มัดรวมกับใบไม้หรือบางทีก็เอาฟางข้าวญาติโยมมัดเป็นหมอน หนุน บางครั้งนั่งสมาธิกลางป่าไม่มีมุ้ง บางทีได้กระบอกน้ำก็สะพายปลีกตัวขึ้นไปอยู่รูปเดียวหลังภูเขา พยายามพากเพียรภาวนาอยู่อย่างสม่ำเสมอ

    ความมักน้อย และเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ไม่ใช้สิ่งของที่เขาไม่ถวาย และไม่ออกปากขอเพราะถือว่าเขาไม่ใช่ญาติโยม เมื่อไม่มีด้ายและผ้าเอามาปะชุนผ้าจีวร ท่านได้หาหนามและไม้ป่ามาเย็บสอดยึดส่วนที่ขาดเอาไว้ ครั้งหนึ่งผ้าจีวรขาดจนไม่สามารถหาอะไรมายึดไว้ได้ หลังจากกลับจากธุดงค์ท่านเข้าไปนมัสการพระอาจารย์มั่น ขอลากลับบ้านสามผง จะไปขอผ้ามาทำจีวร พระอาจารย์มั่นทรมานจิตของท่านโดยกล่าวว่า “อยากจะได้ธรรมไม่ใช่เหรอจึงมาบวช จะแสวงหาธรรมะมันไม่ใช่ของง่าย” และท่านยังพูดต่ออีกว่า “ไม่ใช่คิดถึงบ้านหรือ ถ้ามัวมาคิดถึงบ้านจะไปถึงไหน ทำความเพียรให้มาก จะได้เห็นธรรมเร็วขึ้น”

    พระอาจารย์มั่นแนะนำให้ไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำพระบทว่าจะสำเร็จเร็วขึ้น

    หลวง ปู่ทองรัตน์ เรียนว่า ถ้ำพระบทนั้นได้ยินว่า พระรูปใดไปแล้วมีแต่ตายกับตายไม่เคยกลับมา ที่กลับมามีแต่เป็นล่อย ล่อย (เป็นห้อย) ทั้งนั้น

    ต่อมา ท่านได้เดินทางไปถ้ำพระบท ซึ่งขึ้นชื่อว่าเจ้าที่แรง โดยไปบำเพ็ญภาวนาจำพรรษาอยู่รูปเดียว ในเดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ หลวงปู่ได้นั่งสมาธิสงบนิ่งอยู่ในถ้ำ ในกลางดึกได้ยินเสียงอึกทึกครึกโครมเหมือนเสียงฝูงสัตว์และคนจำนวนมากวิ่ง อยู่บนภูเขาทั้งลูกเหนือน้ำ ภูเขาทั้งลูกสั่นสะเทือนไปทั่ว มีเสียงหวีดร้องคล้ายสัตว์และคน

    หลวงปู่เล่าให้ศิษย์ฟังว่า หลวงปู่ขนลุก ผมบนศรีษะตั้งอยู่หลายวัน ตั้งใจอยากจะออกไปดู แต่ก็นั่งเป็นสมาธิสงบระงับอยู่อย่างนั้น และความคิดหนึ่งก็โต้แย้งว่า ไม่ใช่ธุระอะไรของเรา เรื่องของเขาจะเป็นอะไรก็อยู่ต่างหาก เรื่องของเราเราก็อยู่ต่างหาก เมื่อตั้งสติได้มั่นแล้ว ทำให้เกิดความสงบเยือกเย็น เบิกบาน ไม่มีความกลัวใดๆ และความกลัวตอนแรกๆ หายไปหมดสิ้น มีความรู้สึกใหม่เกิดขึ้นคือ อยากเทศน์อยากจะโปรดสัตว์ทั้งหลาย มันเหมือนว่าแม้จะมีด้ายมาเย็บปากไว้ด้ายก็จะขาด มันอยากจะเทศน์โปรดคนทั้งโลก อยากไปเทศน์ประเทศใกล้เคียงทั้งพม่า มาลายู จึงนั่งเทศน์อยู่คนเดียว เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ไม่ได้อยู่ไม่ได้นอน ญาติโยมที่อยู่หมู่บ้านใกล้ภูเขาเห็นท่านไม่ไปบิณฑบาตหลายวัน คิดว่าคงมีอะไรเกิดขึ้นกับท่าน และได้ขึ้นมาดู ท่านจึงรู้สึกตัว

    วัน ต่อมาหลังจากรู้สึกตัว หลวงปู่ท่านได้ลงไปบิณฑบาต เนื่องจากไม่ได้นอน 7 วัน 7 คืน ตาจึงแดงก่ำไปหมดทั้ง 2 ตา โยมทักว่า อาจารย์ป่วยหรือ ตาจึงแดง ท่านตอบโยมไปว่า สบายดี โยมถามต่อไปว่า ท่านฉันอาหารได้ดีอยู่หรือ ท่านตอบว่า ฉันได้ดีอยู่ แต่พอถึงเวลาฉันเนื่องจากไม่ได้ฉันมาหลายวัน ร่างกายไม่รับอาหาร ฉันได้ 2-3 คำ จึงได้รู้สึกตัวว่าได้โกหกญาติโยมไปแล้ว จึงได้ตั้งสติใหม่ และตั้งจิตให้มั่นคงจิตจึงได้กลับเป็นปกติและเกิดความสงบเยือกเย็นเบิกบาน

    เมื่อ ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ได้เดินทางกลับไปนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น และได้เล่าเหตุการณ์ให้พระอาจารย์ฟัง ท่านพระอาจารย์มั่นบอกว่า จิตท่านกับจิตเราเท่ากันแล้ว ต่อไปท่านอยากจะเทศน์ก็เทศน์

    หลวง ปู่ทองรัตน์ท่านเป็นพระที่ไม่ยึดติดในเสนาะสนะ ชอบสันโดษ จำพรรษาแต่ละแห่งไม่นานมักจะย้ายวัด หรือออกธุดงค์ตามป่าเขาเป็นส่วนใหญ่ ในพรรษาต่อๆ มา ท่านได้ธุดงค์ไปถึงประเทศพม่ากับพระอาจารย์มี นอกจากนี้ก็ยังธุดงค์ไปทั่วภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง

    [​IMG]
    พระอาจารย์ชา สุภทฺโท


    ด้าน อุปนิสัยของหลวงปู่ทองรัตน์ ท่านเป็นผู้มีอารมณ์ขัน พูดจาโผงผาง เสียงดังกังวาน ลูกศิษย์ลูกหายำเกรง ท่านมีนิสัยทำอะไรแผลงๆ แปลกๆ พระอาจารย์ชา สุภทฺโท ซึ่งนับถือหลวงปู่ทองรัตน์เป็นพระอาจารย์ของท่านรูปหนึ่ง เคยเล่าให้ศิษย์ฟังถึงหลวงปู่ทองรัตน์เสมอในความเคารพที่ท่านมีต่อพระ อาจารย์ ความชื่นชอบปฏิปทาที่ห้าวหาญ อีกทั้งปัญญาบารมี และอารมณ์ขันของท่าน เป็นต้นว่า เมื่อไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ท่านไปหยุดยืนที่หน้าบ้านหลังหนึ่ง เมื่อเจ้าของบ้านเหลือบมาเห็นพระ ก็ร้องว่า “ข้าวยังไม่สุก”

    แทนที่หลวงปู่ทองรัตน์จะเดินทาง จากไป ท่านกลับร้องบอกว่า “บ่เป็นหยังดอกลูก พ่อสิท่า ฟ่าวๆ เร่งไฟเข้าเด้อ” (ไม่เป็นไรลูก พ่อจะคอย เร่งไฟเข้าเถอะ)

    ระหว่าง พำนักอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น และไม่ค่อยได้ฟังเทศน์ หลวงปู่ทองรัตน์ก็มีอุบายหลายอย่างที่ทำให้ท่านพระอาจารย์มั่นต้องแสดงธรรม ให้ฟังจนได้ อย่างเช่นครั้งหนึ่ง ไปบิณฑบาต ท่านก็เดินแซงหน้าท่านพระอาจารย์มั่น แล้วก็ควักเอาแตงกวาจากบาตรออกมากัดดังกร้วมๆ และอีกครั้งหนึ่งท่านไปส่งเสียงเหมือนกำลังชกมวย เตะถึงต้นเสาอยู่อย่างอุตลุดใต้ถุนกุฏิท่านพระอาจารย์มั่นนั่นเอง ในขณะที่เพื่อนสหธรรมิกต่างก็กลัวกันหัวหด ผลก็คือ ตกกลางคืน ลูกศิษย์ลูกหาต่างก็ได้ฟังเสียงท่านพระอาจารย์มั่นอบรมด้วยเทศน์กัณฑ์ใหญ่ ทั้ง 2 ครั้ง

    หลวงพ่อชา เล่าว่า หลวงปู่ทองรัตน์เป็นผู้อยู่อย่างผ่อนแผ่จนกระทั่งวาระสุดท้าย เมื่อท่านมรณภาพนั้น ท่านมีสมบัติในย่ามคือมีดโกนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น

    [​IMG]
    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย


    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ศิษย์ต้นรูปแบบผู้ใกล้ชิดที่สุด ได้เล่าถึงหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ว่า เป็นพระอาจารย์ผู้เฒ่าที่มีปฏิปทาสูงยิ่ง ท่านมีความรู้ความสามารถเก่งกาจเฉพาะตัว เป็นนายทัพธรรมที่พระอาจารย์มั่นท่านไว้วางใจที่สุด นิสัยของหลวงปู่ทองรัตน์นี้ท่านมีความห้าวหาญและน่าเกรงกลัวยิ่งนัก ซึ่งในบางครั้งกิริยาท่าทางออกจะดุดัน วาจาก้าวร้าว แต่ภายในจิตใจจริงๆ ของท่านนั้นไม่มีอะไร

    หลวงปู่กินรี กล่าวต่อไปว่า มีอยู่คราวหนึ่งในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์สานุศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งก็มีหลวงปู่ทองรัตน์รวมอยู่ในที่นั้นด้วย ท่านพระอาจารย์มั่นมองดูหลวงปู่ทองรัตน์แล้วเรียกขึ้นว่า “ทองรัตน์” หลวงปู่ทองรัตน์ประนมมือแล้วขานรับอย่างนอบน้อมว่า “โดย” (คำว่า “โดย” เป็นภาษาอีสาน ซึ่งแปลว่า “ขอรับกระผม” เป็นคำสุภาพอ่อนน้อมที่สุดสำหรับคฤหัสถ์และพระผู้น้อยนิยมใช้พูดกับพระภิกษุ หรือพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งมักจะใช้กิริยาประนมมือไหว้ระหว่างอกควบคู่ไปด้วย)

    ท่านพระ อาจารย์มั่น จึงพูดต่อไปว่า “เดี๋ยวนี้พระเราไม่เหมือนกับเมื่อก่อนนะ เครื่องใช้ไม้สอย สบู่ ผงซักฟอกอะไรๆ มันหอมฟุ้งไปหมดแล้วนะ !” หลวงปู่ทองรัตน์ประนมมือรับแล้วกล่าวตอบอีกว่า “โดย” (ขอรับกระผม) ต่อมาขณะที่หลวงปู่ทองรัตน์นั่งอยู่ที่แห่งหนึ่ง มีกลุ่มพระภิกษุ 2-3 รูป เดินผ่านท่านไป หลวงปู่ทองรัตน์จึงร้องตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า “โอ๊ย...หอมผู้บ่าวโว้ย !” (ผู้บ่าว แปลว่า ชายหนุ่ม บ่าวเป็นคำไทยแท้ ภาษาอีสาน นิยมเรียกว่า “ผู้บ่าว”) ในที่นี้เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของหลวงปู่ทองรัตน์ที่ใช้สำหรับสั่งสอน สานุศิษย์ของท่าน

    หลวงปู่กินรี ได้เล่าต่อว่า คราวใดที่หลวงปู่ทองรัตน์ไปกราบฟังธรรมท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่ามกลางหมู่สงฆ์ ท่านพระอาจารย์มั่นมักชอบเอ่ยชื่อและยกตัวอย่างท่านให้พระเณรฟังบ่อย และมีบางครั้งท่านได้รับคำสั่งให้ตรวจดูพฤติกรรมของพระเณรที่นอกลู่นอกทาง พระธรรมวินัย จึงเป็นเหตุให้พระเณรเกลียดชังท่าน หลวงปู่ทองรัตน์เป็นคนไม่เกรงกลัวใคร ตรงไปตรงมาตามธรรมวินัยสม่ำเสมอ

    พระอาจารย์อวน ปคุโณ ได้เล่าต่อว่า หลวงปู่ทองรัตน์เตือนสติพระเณรผู้กำลังจะพลั้งเผลอต่อพระธรรมวินัย ซึ่งผลที่จะตามมาคือความเศร้าหมองเอง แต่ละองค์ละท่านอยากฟังพระธรรมเทศนาเป็นแนวปฏิบัติแต่องค์ท่านพระอาจารย์ มั่น ท่านก็ทรมานพระเณรด้วยการไม่อบรมไม่เทศนา จนพระเณรทนไม่ไหว จึงไปกราบเรียนหลวงปู่ทองรัตน์ ทำอย่างไรถึงจะได้ฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นสักที

    “อยากฟังอีหลีบ้อ” (อยากฟังจริงๆ หรือ)

    “พวก ขะน้อยมาปฏิบัติกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ตั้งดนตั้งนาน แต่บ่เห็นครูบาจารย์เพิ่นสอนอีหยัง จนขะน้อยสิใจออกหนี เมื่อแหล่วไล้ขะน้อย” (พวกกระผมปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์มั่นตั้งนานนมแล้ว ยังไม่เห็นองค์ท่านเทศน์สอนข้าน้อยเลย กระผมคิดเปลี่ยนใจลากลับแล้ว ขอรับกระผม)

    “บ่ยากตั๋ว เดี๋ยวมื่อแลงกะได้ฟังเทศน์เพิ่น” (ไม่ยาก เดี๋ยวตอนเย็นก็ได้ฟังท่านเทศน์)

    หลวง ปู่ทองรัตน์รับปาก หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลาออกรับบิณฑบาต และวันนี้มีโยมนำแตงกวามาใส่บาตร ขณะเดินตามท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้ล้วงแตงกวามากัดเคี้ยวกินเฉย เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นหันมาดูก็ปิดปากไว้ เมื่อท่านหันกลับก็เคี้ยวต่อ ผลตอนเย็นท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ให้พระเณรฟังสมปรารถนา

    [​IMG]
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)


    อยู่ มาวันหนึ่ง หลวงปู่ทองรัตน์ได้เป็นปัจฉาสมณะ (สมณะผู้ตามหลังคือพระผู้น้อยที่ไปกับพระผู้มีอาวุโสกว่า) ท่านได้ติดตามไปกับพระมหาเถระรูปหนึ่งในการเที่ยวภิกขาจารบิณฑบาต จะเป็นท่านพระอาจารย์มั่นหรือ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) องค์ใดนั้นไม่ทราบชัด พร้อมด้วยพระภิกษุ-สามเณรอีกหลายรูป ในเส้นทางที่เดินไปนั้น ท่านพระมหาเถระเดินหน้าพระภิกษุทั้งหลายเดินหลัง เผอิญมาถึงที่แห่งหนึ่ง ก็มีวัวตัวผู้ตัวหนึ่งปราดเข้ามาต่อหน้าท่านพระมหาเถระ ท่าทางของมันบอกให้รู้ว่าไม่เป็นมิตรกับใคร

    ท่านพระมหาเถระจึง สำรวมจิตหยุดอยู่กับที่ โดยที่ไม่มีใครคาดฝันมาก่อน หลวงปู่ทองรัตน์ก็เดินรี่เข้าเตะวัวตัวนั้นอย่างแรงทีหนึ่ง พร้อมกับพูดด้วยเสียงอันดังว่า “สู้พ่อ*********รึ !” วัวตัวนั้นตกใจได้วิ่งหลบหนีไปในทันที ท่านพระมหาเถระซึ่งดูเหมือนจะเป็นท่านพระอาจารย์มั่นจึงพูดขึ้นว่า “เออ ! ทองรัตน์...ไม่มีใครเขาจะคิดป้องกันเราหรอก”

    [​IMG]
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล


    อีก ครั้งหนึ่งเกี่ยวกับปฏิปทาในการสอนศิษย์ของหลวงปู่ทองรัตน์ เรื่องมีอยู่ว่า เวลากลางคืนคืนหนึ่ง พระผู้ชรารูปหนึ่งกำลังนั่งทำสมาธิภาวนาอยู่นั้น “อุคหนิมิต” ได้เกิดขึ้นแก่พระชรารูปนั้น เมื่อเกิดอุคหนิมิตขึ้น ปรากฏว่าพระภิกษุชรารูปนั้นก็ได้เห็นร่างของท่านในนิมิตกลายเป็นบ่างตัวขนาด เขื่องเลยทีเดียว (บ่าง คือ สัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่งตัวคล้ายกระรอก โตเกือบเท่าค่างอยู่ตามโพรงไม้ สีข้างทั้งสองมีหนังเป็นพืดคล้ายๆ ปีก ไผไปมาได้ไกลๆ) บ่างนั้นได้โผบินไปมาระหว่างต้นมะพร้าวในสวนแห่งหนึ่ง มันเป็นอาการอย่างนั้นอยู่ตลอดคืน

    พระชรารูปนั้นทำสมาธิเกิด อุคหนิมิตอยู่ จนอรุณรุ่งอาการเหล่านั้นมันยังติดตามติดใจไม่หาย แม้จะลุกออกจากที่ไปเที่ยวบิณฑบาตแล้วก็ตาม ทำให้เกิดปิติพร้อมๆ กับความสงสัยในอาการแห่งนิมิตเหล่านั้น เดินบิณฑบาตไปใจก็ยังครุ่นคิดถึงเรื่องนั้นอยู่ตลอดเวลา และก็ยังไม่ได้เล่าให้ใครฟังทั้งนั้น ตั้งใจว่าวันนี้ฉันข้าวเสร็จแล้วจึงจะเข้าไปให้ท่านครูบาจารย์ทองรัตน์แนะนำ พอพระบิณฑบาตมาถึงวัด ก็เดินไปที่โรงฉันอันเป็นที่ซึ่งพระเณรจะมาฉันภัตตาหารรวมกันที่นี่ทุกเช้า พอเดินมาถึงโรงฉันเท่านั้น ก็พลันได้ยินท่านครูบาจารย์ทองรัตน์ร้องตะโกนใส่ท่านทันทีด้วยเสียงอันดัง ฟังชัดว่า “เฮ้ยบ่างใหญ่มาแล้วโว้ย !”

    นิมิต คือ เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐานหรือภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐานมี 3 อย่าง คือ

    1. บริกรรมนิมิต คือ นิมิตในการกำหนด (บริกรรม) คือ การที่ภิกษุเพ่งดูวัตถุหรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ในการภาวนา สิ่งที่เพ่งนั้น เรียกว่า บริกรรมนิมิต

    2. อุคหนิมิต แปล ว่า นิมิตเจนใจ คือ ภิกษุเพ่งดูวัตถุใด หรือกสิณใดเป็นอารมณ์ดังกล่าวมาแล้ว จะสามารถทำได้จนเจนใจ แม้จะหลับตาลงก็ยังสามารถมองเห็นวัตถุหรือกสิณนั้นได้ติดตา ภาพที่ติดตาติดใจนั้นเรียกว่า อุคหนิมิต

    3. ปฏิภาคนิมิต แปลว่า นิมิตเทียบเคียง คือ เมื่อภิกษุเพ่งในนิมิตที่สองคืออุคหนิมิตดังกล่าวแล้ว สามารถปรุงแต่งดัดแปลงให้นิมิตนั้นใหญ่เล็กก็ได้ตามปรารถนานิมิตอย่างนี้ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต

    ยังมีเรื่องที่ค่อนข้างจะขบขันอีกหลาย เรื่อง ที่เกี่ยวกับปฏิปทาของหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงปู่กินรี จนฺทิโย ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งหลวงปู่ทองรัตน์พำนักอยู่ที่ป่าช้าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านส่วนมากเป็นมิจฉาทิฏฐิ (มีความเห็นผิด) แต่คนที่ดีก็มีอยู่ พวกที่เห็นผิดส่วนมากมักจะเข้าใจว่าท่านเป็นบ้า และจงเกลียดจงชังท่านด้วย เพราะเหตุว่าวิธีการสอนธรรมะของท่านค่อนข้างจะดุเดือดเผ็ดร้อน ประกอบกับท่านมักจะเน้นหนักคำสอนไปในเรื่องการให้ทาน ซึ่งชาวบ้านพวกที่ชอบการกินเล่นสนุกเฮฮาและประพฤติผิดศีลธรรมทั้งหลาย ขัดอกขัดใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

    ดังนั้น ในตอนเช้าวันหนึ่งขณะที่หลวงปู่ทองรัตน์เที่ยวบิณฑบาต มีคนหลายคนใส่บาตร ซึ่งของที่ใส่นั้นก็มีข้าวเหนียวนึ่งเป็นหลัก นอกนั้นก็มีห่อหมกที่ห่อด้วยใบตองและผลไม้พื้นบ้านอีกบ้างต่างๆ กันไป เมื่อกลับมาถึงวัดเข้าสู่โรงฉัน สามเณรก็ประเคนบาตรให้ท่าน พอหลวงปู่ทองรัตน์หยิบห่อหมกห่อหนึ่งออกมาแกะดู ปรากฏว่ามีกบเป็นๆ ตัวใหญ่ตัวหนึ่งกระโดดจากข้างในบาตรของท่านทันที หลวงปู่ทองรัตน์ถึงกับร้องออกมาอย่างดังทันทีเหมือนกันว่า “เฮ้ย...เกือบไหมละอ้ายหนู เขาเกือบฆ่าเอ็งมาใส่บาตรข้าเสียแล้ว” เสียงร้องและสีหน้าของท่านปราศจากแววบึ้งตึง ท่านกลับหัวเราะชอบใจอีกเสียด้วยซ้ำ

    [​IMG]

    ถ้า จะเปรียบไปแล้ว แนวทางและวิธีการสอนธรรมของหลวงปู่ทองรัตน์นี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับพระอาจารย์เซ็นผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย เช่น มาสเตอร์ฮวงโป ผู้ชอบใช้ไม้เท้าตีศิษย์อยู่เป็นอาจิณ เป็นต้น

    มีเรื่องที่ค่อนข้าง ดุอยู่เรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในขณะการเที่ยวโคจรบิณฑบาตอีกเหมือนกัน มีโยมคนหนึ่งนิมนต์หลวงปู่ทองรัตน์ให้หยุดรอเพื่อจะใส่บาตร หลวงปู่ทองรัตน์ก็หยุด สักครู่โยมคนนั้นก็มาใส่บาตร ของที่ใส่คือข้าวเหนียวอย่างเดียว ไม่มีแกงกับ ทันทีที่ใส่แล้วหลวงปู่ทองรัตน์ก็พูดออกมาด้วยน้ำเสียงที่ค่อนข้างดุว่า “บ๊ะ...เห็นแต่หมาหรอกวะกินแต่ข้าวในดอก” ว่าแล้วท่านก็เดินต่อไป “ข้าวในดอก” เป็นคำพูดตรงๆ อ้างถึงเมล็ดข้าวที่ยังอยู่ในดอกในรวง เป็นสำนวนพูดทางอีสานหมายถึง ข้าวเปล่าๆ อย่างเดียวไม่มีแกงหรือกับ

    คน นั้นก็บันดาลโทสะถึงขนาดกล่าวคำผรุสวาทแก่ท่าน แต่ท่านครูบาจารย์ผู้เฒ่า หลวงปู่ทองรัตน์หาได้สนใจไม่ กลับเดินต่อไปเฉยๆ เสียอย่างนั้นเอง คนนั้นเดือดดาลมาก กลับขึ้นเรือนแล้วก็ยังไม่หายโกรธ อารมณ์โกรธลงจากเรือนฉวยได้คันไถแล้วรีบไปนา เที่ยงวันทำงานหนักก็หิวข้าว จึงพักงานไถไว้แล้วจะมากินข้าว ครั้นหยิบกระติบข้าว ก็พอนึกขึ้นได้ว่าลืมเอากับข้าวมาด้วย ครั้นจะกลับไปเอารึบ้านก็ไกล จึงจำเป็นจำยอมต้องกินข้าวเปล่าๆ ที่หลวงปู่ทองรัตน์ท่านเรียกว่า “ข้าวหมา” นั่นแหละ พอถึงตอนนี้แกจึงสว่างโพล่งขึ้นในใจ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ มันเหมือนหมาจริงๆ ข้าวเปล่านี้มันไม่มีรสชาติเอาเสียเลย เราเป็นหมาเสียแล้ววันนี้ นับตั้งแต่วันนั้นมา คนนั้นก็เรียกหลวงปู่ทองรัตน์ได้เต็มปากเต็มคำว่า “พระอาจารย์ผู้วิเศษ” จึงได้กราบเท้าขอขามลาโทษท่าน และได้เป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดของท่านคนหนึ่งในเวลาต่อมา

    เรื่องของหลวงปู่ทองรัตน์ ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงปู่กินรีนี้ ยังมีอยู่อีกมากมายนัก เช่น ในคราวหนึ่ง ซึ่งเป็นขณะที่ พระอาจารย์ชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเดินธุดงค์รอนแรมไปตามป่าเขาในเขตจังหวัดต่างๆ อยู่นั้น พอพระอาจารย์ชาได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงปู่ทองรัตน์ จึงตั้งใจจะไปกราบคารวะและรับโอวาทธรรมจากท่าน ขณะอยู่ที่วัดป่าบ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน อีกทั้งยังไม่เคยเห็นจะได้เห็นท่าน เมื่อพระอาจารย์ชาได้เดินทางมาถึงวัดของหลวงปู่ทองรัตน์ จึงได้ปลดบาตร ย่าม และลดจีวรลง แล้วถอดรองเท้าเดินเข้าไปในอารามตามธรรมเนียมในอาคันตุกวัตรทุกประการ พระอาจารย์ชาได้พบกับพระภิกษุรูปหนึ่งที่หลวงปู่ทองรัตน์บอกให้มาต้อนรับ จึงถามว่า “ครูบาจารย์ผู้เฒ่าอยู่ไหน ?”

    พระรูปนั้นได้ชี้นิ้วไป อีกทางหนึ่งเป็นเครื่องหมายว่าหลวงปู่ทองรัตน์อยู่ที่โน่น พระอาจารย์ชาจึงวางบริขารแล้วเดินตรงไปหา ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่ทองรัตน์กำลังยืนเอามือถือไม้กวาดอยู่ พอไปถึง กำลังจะคุกเขาก้มลงกราบ หลวงปู่ทองรัตน์ก็เหลียวมามองหน้า พร้อมกับชิงถามขึ้นก่อนว่า “ชามาแล้วหรือ ?” ทำเอาพระอาจารย์ชารู้สึกแปลกใจที่ท่านกล่าวเรียกชื่อได้ถูกต้องทั้งที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน

    หลวง ปู่ทองรัตน์เที่ยวธุดงค์สู่ประเทศลาวบ่อยๆ ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์อวน ปคุโณ ได้ธุดงค์ติดตามไปกับหลวงปู่กินรี เพื่อกราบคารวะที่บริเวณดอนพระเจ้า บ้านบุ่งแมง ใกล้บ้านแพงริมฝั่งโขง ซึ่งหลวงปู่ทองรัตน์ได้มาพำนักปฏิบัติธรรมที่นี่มากกว่า 7 วันแล้ว จึงทราบเรื่องอัศจรรย์ของหลวงปู่ว่า มีนายฮ้อยช้างได้นำช้างโขลงหนึ่ง 16 ตัว เดินทางผ่านจะไปเวียงจันทน์ เมื่อมาถึงป่าบริเวณดอนพระเจ้า ให้ช่วยทำพิธีขอขมากราบคารวะพวกภูมิภูตผีต่างๆ ในโขงเขตนี้ โขลงช้างก็ยังใช้งวงกอดรัดต้นไม้อยู่เหมือนเดิม

    ชาวบ้านจึงแนะนำ ให้นายฮ้อยช้างไปกราบคารวะหลวงปู่ทองรัตน์ หลวงปู่กล่าวว่าไม่ใช่เรื่องของพ่อ แต่ว่าช้างมันหิว นายฮ้อยช้างตอบว่าพวกกระผมเพิ่งให้พักและเลี้ยงอาหารมาอิ่มใหม่ๆ ขอได้กราบนมัสการหลวงปู่แล้วยกขันธ์ 5 นมัสการ เมื่อเดินทางไปยังโขลงช้าง เห็นช้างกินใบไม้อยู่ตามปกติ ลูกศิษย์จึงนมัสการถามหลวงปู่กินรี ท่านบอกว่าเป็นอภินิหารของหลวงปู่ทองรัตน์เพราะเคยเห็นเคยรู้จักมาหลายครั้ง ที่เดินธุดงค์ร่วมกันมากว่า 5 ปี

    [​IMG]
    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต


    หลวง ปู่กินรี กล่าวตอบว่า หลวงปู่ทองรัตน์อยู่คนเดียว ก็มีการแสดงธรรมโดยส่วนมากจะเป็นเวลากลางดึกที่สานุศิษย์ได้พักผ่อนจำวัด แล้ว แต่ท่านยังมีการเทศน์มีเสียงการถามการตอบปัญหาคล้ายกับมีคนไปถามปัญหาตอบ ปัญหา หลวงปู่กินรีคิดว่าท่านมีอะไรสำคัญอยู่กับตัวท่านคล้ายกับมีเทวดามาถามปัญหา จึงแสดงธรรมแก้ปัญหาข้อธรรมคำถามต่างๆ

    พระอาจารย์อวน ปคุโณ ได้เล่าถึงหลวงปู่ทองรัตน์ไว้ว่า ไม่มีวัดอยู่ อยู่ร่มไม้ กระท่อมไม้ตลอด เป็นกุฏิกระต๊อบเพียงเพื่ออาศัยอยู่สัปดาห์เดียว เพราะท่านรักการเดินธุดงค์บริขารบาตรใบเดียวตั้งแต่บวชจนมรณภาพ สันโดษมักน้อยที่สุด นิสัยอย่างหนึ่งคือไม่ยอมให้ลูกศิษย์ติดตามหรืออยู่ใกล้ พบศึกษาข้อธรรมแล้วให้แยกหนี

    กุฏิที่ชาวบ้านศรัทธาสร้างให้สวยๆ จะไม่ฉลองศรัทธา ซึ่งยังตำหนิว่าคนไม่มีปัญญา ชอบกุฏิที่สร้างวันเดียวเสร็จ ไม่รักสวยรักงามให้ทำง่ายๆ เพราะไม่นานก็ธุดงค์ไป หลวงปู่เคยจำพรรษาระหว่างฝั่งโขง-บ้านสามผง บ้านพงพะเนา บ้านศิริวันชัย อำเภอศรีสงคราม นครพนม บ้านดงชน บ้านดงมะเกลือ และบ้านไผ่ล้อม บ้านโนนหอม อำเภอเมือง สกลนคร อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี แขวงจำปาศักดิ์ และเขมรตอนบน

    พระอาจารย์อวน ได้เล่าต่อว่า ที่วัดป่าผาศรีคุณ อำเภอนาแก มีคนเอากบมีชีวิต ไก่มีชีวิต แม้กระทั่งขี้ควายใส่บาตรท่าน ด้วยสำคัญผิดคิดว่าท่านเป็นพระมักได้ ชาวอำเภอนาแกบางคนไม่ชอบทำบุญ หลวงปู่ทองรัตน์มีเมตตาสูงส่งอยากให้ได้บุญ จึงตะแคงบาตรรับบิณฑบาตของญาติโยม แหล่งชุมชนที่ไม่ชอบให้ทานไม่อยากทาน ยิ่งชอบไปโปรดมากๆ แม้ผ้ากฐินที่ท่านนำมาเย็บเป็นจีวร ยังถูกทำลายฉีกทิ้งขณะที่ไปบิณฑบาต ญาติโยมบางคนเกลียดชังท่าน ท่านพูดคล้ายดุแต่ใจไม่ดุ

    พระอาจารย์คำดี พระผู้น้องของหลวงปู่มี แห่งอำเภอหนองไผ่-วีเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เป็นชาวยโสธรผู้อยู่ร่วมและปรนนิบัติหลวงปู่ทองรัตน์ ตั้งแต่ครั้งอยู่จังหวัดสกลนครเรื่อยมาจนถึงอุบลราชธานี ท่านได้เล่าให้ฟังว่า อุปนิสัยของท่านครูบาจารย์น่าเกรงกลัวมาก กิริยาท่าทางดุ วาจาโผงผาง เสียงดัง ลูกศิษย์อยู่ด้วยได้ไม่นาน ยิ่งผู้ปฏิบัติหย่อนยาน ไม่ซื่อตรงต่อตนเอง หลอกลวงตัวเอง มีภูมิจิตภูมิธรรมไม่ก้าวหน้า ปฏิบัติธรรมฝึกจิตบางขณะเวลา ต้องโดนเล่นภูมิจิต โดนทดสอบอารมณ์ ตรวจสอบอารมณ์อยู่ตลอดเวลาว่า ยินดียินร้ายในรูปรสกลิ่นเสียงหรือไม่ ลูกศิษย์เกือบทุกคนจึงกลัวท่านครูบาจารย์ทองรัตน์มาก

    ท่านอาจารย์คำดี เล่าต่อว่า ท่านครูบาจารย์ทองรัตน์มักใช้คำว่า “พ่อ” กับลูกศิษย์ การที่จะอยู่กับท่านครูบาจารย์ได้นานนั้น จิตต้องภาวนาอยู่ตลอดเวลา จดจ่อต่อธรรมะ จิตส่ายออกทางโลกธรรมไม่ได้ เพราะท่านเฝ้าตรวจสอบการปฏิบัติจิตของลูกศิษย์อยู่เสมอ พอท่านเรียกจิตเราจะต้องรู้ความประสงค์ของท่านแล้วปฏิบัติถวายท่าน พระอาจารย์คำดีคือท่านที่อยู่ป่าช้านาป่าคอง อำเภอนาแก ที่พระอาจารย์ชาได้ไปสนทนาธรรม ขออุบายธรรม การปฏิบัติธรรมอยู่ป่าช้า ซึ่งเป็นนิสัยปกติของพระอาจารย์คำดี (ซึ่งในประวัติของพระอาจารย์ชา ผู้เขียนบางท่านคิดว่าเป็นพระอาจารย์คำดี ปภาโส แต่ความจริงแล้วไม่ใช่) ครั้งไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์มั่นยังพูดว่า “อ่อ ได้ยินเขาว่าห้าวหาญไม่กลัวผี กลัวภัย กลัวตาย ไม่ใช่รึ” ท่านเป็นชาวบ้านทรายมูล จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นพระปฏิบัติธรรมมหานิกายรูปหนึ่ง ณ ป่าช้าแห่งหนึ่ง

    พระอาจารย์ชาจึงได้พบสหธรรมมิกที่ต่อมาได้ร่วมทางธุดงค์ด้วยกันคือ พระอาจารย์ปุ่น ฉนฺทาโร วัดป่าฉันทาราม บ้านคำแดง จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นมหานิกายเช่นเดียวกัน ท่านพระอาจารย์ทองดีและพระอาจารย์อวนเล่าตรงกันว่า ลูกศิษย์ที่ภาวนาไม่ถึงปฏิบัติไม่จริง จะถูกหลวงปู่ทองรัตน์เรียกหาบ่อย ถ้าไม่ปฏิบัติไม่รู้จักนิสัยจะอยู่ไม่ได้ ใครเห็นผิดมีทิฏฐิมานะ ปฏิบัติผิด ทุกเช้าช่วงฉันอาหารท่านจะอบรมสั่งสอนทันที ทำไม่ดีอยู่ไม่ได้ ท่านชอบทดสอบลูกศิษย์เป็นประจำ ชักชวนให้ลูกศิษย์ทำผิดถ้าใครทำตามท่านจะว่าคนไม่มีปัญญา พระอาจารย์ปุ่นมักจะเล่าหรือยกตัวอย่างท่านครูบาจารย์ทองรัตน์อยู่เสมอ โดยเฉพาะความสันโดษ ไม่สะสมสิ่งใดๆ ชีวิตเรียบง่าย ประหยัด กุฏิก็อยู่หลังเก่าๆ เล็กๆ มุงหญ้าคาหญ้าแฝก ยกพื้นขึ้นนิดพอดีนั่งถึง ไม่ต้องขึ้นบันได ใครมาสร้างกุฏิหลังใหม่ให้ก็ไม่อยู่ชอบอยู่กุฏิเดิมเช่นเดียวกับบูรพาจารย์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น

    บางคนไม่เข้าใจ อุบายที่ท่านกระทำเพื่อให้ญาติโยมได้ทำบุญตักบาตร ท่านใช้อารมณ์ขันแม้เวลาไปบิณฑบาต บางคนอาจมองว่าพระอะไรไม่สำรวม ข้าวไม่สุกก็ยืนคอยจนข้าวสุก หลวงปู่ทองรัตน์จะบิณฑบาตไม่เคยขาดแม้ในวัยชรา ท่านจะไปทุกหลังคาเรือน ถามว่าข้าวสุกหรือยัง มาตักบาตรพ่อด้วย แม้ฝนตกท่านก็บอกว่าเดี๋ยวจะเปียกไม่ต้องออกมาและท่านจะเดินเข้าไปถึงบันได บ้าน

    เนื่องจากชาวบ้านคุ้มเป็นบ้านป่าไม่คุ้นเคยกับพระและการ ทำบุญตักบาตร ท่านจึงฝึกหัดและออกอุบายให้ชาวบ้านตักบาตรทุกวัน จนต่อมาทุกครัวเรือนก็ทำบุญตักบาตรและเข้าวัดฟังธรรม

    เมื่อ ครั้งครูบาจารย์ทองรัตน์พำนักที่บ้านดอนหอม จังหวัดสกลนคร ท่านพระอาจารย์อวนเล่าว่า วันหนึ่งท่านครูบาจารย์ไปบิณฑบาตได้แต่ข้าวเปล่าๆ ท่านจึงพูดว่า บ้านโนนหอมใส่บาตรมีแต่ให้หมากินไม่มีข้าวให้คนกิน ไม่เหมือนบ้านสามผง ชาวบ้านโนนหอมโกรธมาก หลายปีต่อมาชาวบ้านถือข้าวไปทำไร่ ลืมเอากับข้าว นั่งกินข้าวเปล่าๆ เหมือนกับที่เคยโยนก้อนข้าวเหนียวให้หมากิน จึงนึกถึงคำพูดของหลวงปู่

    ด้วยการที่ไม่ติดในเสนาสนะและ สันโดษของหลวงปู่ทองรัตน์ ท่านจึงจำพรรษาอยู่ที่ใดไม่นานก็ย้ายที่ไปเรื่อยๆ หลวงพ่อกิ ธมฺมุตฺตโม ศิษย์คนหนึ่งของท่านเล่าว่า ท่านเคารพนับถือพระอาจารย์เสาร์มาก และมีสัญญากับพระอาจารย์เสาร์ในการมาสร้างวัดที่บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณปี พ.ศ. 2480-2481 พระอาจารย์เสาร์ได้ลาพระอาจารย์มั่น เดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างและขยายวัดทางจังหวัดอุบลราชธานีที่ท่านเคยพำนักและเป็นบ้านเกิด มาก่อนให้เจริญรุ่งเรือง

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้ให้หลวงปู่ทองรัตน์ไปสร้าง วัดป่าบ้านชีทวน ขึ้น และพระอาจารย์เสาร์เองได้ไปสร้างวัดที่บ้านป่าโคม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ติดต่อระหว่างอำเภอเขื่องในกับอำเภอเมือง อุบลราชธานี หลวงปู่ทองรัตน์ได้จำพรรษาและพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านชีทวนนานถึง 9 ปี เมื่อท่านพระอาจารย์เสาร์ได้มรณภาพลงที่นครจำปาศักดิ์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลวงปู่ทองรัตน์ก็ได้ธุดงค์ต่อไป แม้ชาวบ้านทัดทานอย่างไร ท่านก็ยังจากไป

    ในปีหนึ่งท่านได้ธุดงค์ ไปถึงบ้านคุ้ม ตำบลหนองไฮ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบัน บ้านคุ้มขึ้นอยู่กับตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง) ซึ่งเป็นหมู่บ้านชนบท ห่างจากบ้านนาส่วง อำเภอเดชอุดม ประมาณ 17 กิโลเมตร ในสมัยนั้นไม่มีทางรถยนต์เข้าหมู่บ้านมีแต่ทางเกวียน ชาวบ้านยังไม่มีวัด บางคนก็นับถือผี อุปนิสัยคนในหมู่บ้านซึ่งเป็นชาวส่วยเป็นลาวเป็นผู้ไม่คุ้นเคยกับพระและวัด หมู่บ้านนี้ยังไม่เจริญทั้งห่างไกลที่ตั้งอำเภอประมาณ 30 กว่ากิโลเมตร เป็นหมู่บ้านกันดาร

    พ่อใหญ่เขียน ศรีสุธรรม ชาวบ้านคุ้มซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากคนสำคัญ ได้เล่าว่า ครั้งแรกที่ท่านหลวงปู่มาถึงบ้านคุ้มไม่ทราบว่าท่านมาทางไหนอย่างไร มาถามชาวบ้านว่าป่าช้าหมู่บ้านอยู่ตรงไหน ชาวบ้านก็ชี้มือไปทางใต้หมู่บ้าน คืนแรกที่มาถึงหลวงปู่ได้ไปบำเพ็ญภาวนาและปักกดที่กลางป่าใต้หมู่บ้าน ซึ่งกลางป่าแห่งนี้มีเนินดินบริเวณกว้างประมาณ 6 ไร่ เนินแห่งนี้เดิมรกทึบมากมีเถาวัลย์ขึ้นเต็ม และชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปในเนินนี้เพราะเชื่อว่าเจ้าที่แรง ใครไปเก็บลูกสบ้าจากเนินนี้มาก็จะมีอันเป็นไปเป็นไข้ตายบ้างหรืออื่นๆ ชาวบ้านจึงกลัวมาก

    หลวงปู่ทองรัตน์ได้ไปอาศัยโคนไม้ในดงนี้ เป็นที่บำเพ็ญภาวนา มีชาวบ้านศรัทธาในปฏิปทาของท่าน เข้าไปกราบนมัสการ คอยช่วยเหลือและรับใช้ท่านหลายคน ต่อมาหลวงปู่ได้ตัดสินใจสร้างเป็นวัด แต่ระยะแรกก็เพียงถากป่าให้โล่ง ปลูกศาลา และกุฏิมุงหญ้า พอได้อาศัยนานวันเข้าก็มีผู้เลื่อมใสมาเป็นศิษย์มากขึ้น แม้จะสร้างเป็นวัดหลายปีมีพระเณรลูกศิษย์มาฝากตัวจำพรรษา พำนักอยู่ด้วยปีละ 20 กว่ารูป หลวงปู่ทองรัตน์ก็ไม่ได้สร้างวัดใหญ่โต คงให้ญาติโยมสร้างพอได้อาศัยให้พอแก่พระเณร

    ท่านได้ปรารภกับลูกศิษย์ว่า ท่านจะไม่ไปไหนจะตายที่นี้ พ่อใหญ่สอน นามฮุม ศิษย์อีกคนที่เคยบวชกับหลวงปู่แม้เพียง 1 พรรษา ก็ยังซาบซึ้งในตัวหลวงปู่ และเล่าว่าหลวงปู่ไปๆ มาๆ ออกพรรษาแล้วจะธุดงค์ไปครั้งละนานๆ เมื่อเข้าพรรษาจึงกลับมาวัด ท่านพำนักอยู่ที่ วัดป่าบ้านคุ้ม นานประมาณ 10 ปีกว่า จึงนับเป็นวัดอีกวัดหนึ่งที่หลวงปู่ทองรัตน์จำพรรษาอยู่นาน หลังจากออกจากสำนักท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว

    [​IMG]
    (บนขวา) หลวงปู่กินรี จนฺทิโย, (ซ้ายล่าง) หลวงพ่อชา สุภัทโท,
    (หลังซ้าย) หลวงพ่ออวน ปคุโณ



    ๏ ธรรมโอวาท

    พ่อใหญ่สอน นามฮุง ได้เล่าถึงการสั่งสอนศิษย์และญาติโยมว่า หลวงปู่เอาใจใส่เคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ ถือธุดงค์วัตรสม่ำเสมอ ท่านพูดน้อยทำมาก และเอาใจใส่ลูกศิษย์ทุกคน และสั่งสอนให้เอาตัวอย่างท่านในการปฏิบัติ ลูกศิษย์เคารพยำเกรงท่านมาก ไม่มีใครกล้าทำผิด การฉันจะฉันครั้งเดียว ฉันในบาตร ไม่ออกปากขอหากมิใช่ญาติ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ถึงแม้ท่านจะอารมณ์ขัน บางคนหาว่าท่านไม่สำรวม แต่จริงๆ แล้วท่านสำรวมระวังและสั่งสอนพระเณรให้สำรวมระวังอย่างยิ่ง ข้าวที่ท่านฉัน ท่านจะแยกเอาไว้จากที่เขาเจตนาตักบาตร ส่วนที่ท่านออกอุบายให้เขาตักบาตร ท่านจะแยกไว้ต่างหากและให้ทานแก่ญาติโยม

    พระอาจารย์ปุ่น ฉนฺทาโร เล่าให้ฟังว่า การแสดงธรรมอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ของท่านครูบาจารย์ใหญ่ทองรัตน์นั้นสูงมาก กิริยาวาจาดุดันรุนแรง แต่จิตใจจริงๆ ไม่มีอะไร ครั้งหนึ่งมีศิษย์ไปถามเรื่องวิธีการปฏิบัติธรรม ท่านครูบาจารย์พูดเสียงดังมากพร้อมกับชี้ไปที่ตอไม้ใหญ่ใกล้ๆ กุฏิของท่านว่าเห็นตอไม้ไหม ทำอย่างตอไม้นั่นละ

    ครั้งหนึ่งพระ อาจารย์ปุ่นและสานุศิษย์ได้ติดตามธุดงค์ ระหว่างทาง ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีหญิงชาวบ้าน มาร้องห่มร้องไห้คร่ำครวญกับท่านครูบาจารย์ทองรัตน์ที่ลูกชายได้ตายจากไป ให้ช่วยชีวิตคืน ท่านครูบาอาจารย์จึงพูดขึ้นว่า “ให้มันตาย ให้มันตายหมดโคตร หมดเชื้อหมดแนวมัน หมดพ่อ หมดแม่มัน” หญิงคนนั้นหยุดร้องไห้ฟูมฟายทันที แล้วท่านจึงเทศนาโปรดอบรมให้คลายทุกข์คลายโศกร่ำพรรณนา ให้เข้าใจรู้เท่าทันวัฏสังขาร

    อีกครั้งหนึ่ง ขณะพักธุดงค์ระหว่างทางการแสวงหาที่วิเวก ชาวบ้านหามไก่มาหลายตัวทั้งตัวผู้ตัวเมีย ท่านครูบาจารย์ทองรัตน์จึงถามคณะลูกศิษย์ที่ติดตามว่า “เขาหามอะไรนี่” บางรูปก็ว่าไก่ตัวผู้ บางรูปก็ว่าไก่ตัวเมีย บางรูปก็ว่าไก่ตัวผู้ตัวเมีย ถกเถียงกัน ท่านครูบาจารย์จึงตะโกนดังๆ ว่า “มันสิไก่ตัวผู้ตัวเมียได้อย่างไร มันไม่ใช่ตัวผู้ตัวเมีย ไม่ใช่ไก่ เป็นสิ่งสมมติทั้งนั้นละ” อย่าติดสมมติ

    พระอาจารย์อวน ปคุโณ ลูกศิษย์ที่ได้ศึกษาธรรมในช่วงตอนหลายชีวิตของท่านครูบาจารย์ทองรัตน์ ได้เล่าว่า ธรรมโอวาทที่ท่านครูบาจารย์ย้ำเตือนอยู่เสมอ คือ พระวินัยและศีล ใช้แนะนำปฏิบัติเบื้องต้นจะแนะนำวินัย มีวินัยเป็นวัตรวินัยจะทำให้เกิดศีลบริสุทธิ์ ทำศีลให้บริสุทธิ์ ศีลจะนำไปสู่การเป็นสมาธิ เกิดสมาธิจะนำไปสู่การเกิดปัญญา ปัญญาจะเกิดขึ้นเอง รักษาวินัยให้แน่วแน่ตั้งจิตให้เป็นหนึ่ง พิจารณาขันธ์ 5 ท่านครูบาจารย์จะไม่เทศน์พรรณนาอย่างกว้างขวางหรือแยบยล แต่ให้ปฏิบัติ

    โอวาทที่ท่านเน้นในการสอนญาติโยม ก็คือ เน้นการให้ทาน การรักษาศีล และสมาธิ

    สำหรับ การสอนพระเณร หลวงปู่เน้นข้อวัตรปฏิบัติธรรมวินัย ให้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ให้สำรวมระวังรวมทั้งธุดงควัตร การปฏิบัติภาวนา การมีสติ เป็นคนมักน้อยสันโดษ

    พ่อใหญ่สอน นามฮุง เล่าว่าหลวงปู่เป็นผู้มีฌานที่น่าประหลาดและหลายครั้งที่ท่านได้ประสบ ท่านสามารถหยั่งรู้จิตคน บางคนไม่เคยไปหาท่านเลย เมื่อพบหน้าท่านก็เรียกชื่อถูก ครั้งหนึ่งมีโยมเอากล้วยมาถวาย และซ่อนกล้วยไว้ก่อนเข้าวัด เมื่อไปถึงถวายกล้วย ท่านก็ทักขึ้นว่า “โยมเสี่ยงกล้วยไว้ดีบ่ละ ญ่านลิงมันเอาไปกินก่อนเด้” (โยมซ่อนกล้วยไว้ดีไหมละ กลัวลิงมันจะเอาไปกินก่อนนะ) จนผู้ถวายกล้วยอาย และยอมรับกับหลวงปู่

    แม้แต่วาระสุดท้ายที่ท่านจะมรณภาพ คณะศิษย์ทั้งหลายก็เชื่อว่าท่านรู้ล่วงหน้าเป็นที่น่าอัศจรรย์ พ่อใหญ่เขียนและพ่อใหญ่สอน ช่วยกันเล่าว่าในปีที่ท่านจะมรณภาพ ท่านบอกให้ญาติโยมรวมทั้งพ่อใหญ่ทั้งสองช่วยกันหาฟืนมาไว้เต็มโรงครัวถึง 4 ห้อง ท่านบอกว่าปีนี้จะมีการใช้ฟืนมาก ในต้นเดือนกันยายน ท่านให้ทำประตูโขงเข้าวัดจะมีรถยนต์มามาก ชาวบ้านแปลกใจมาก เพราะตั้งแต่เกิดไม่เคยมีรถยนต์เข้ามาถึงหมู่บ้านเลย เหมือนกับว่าท่านจะรู้วันมรณภาพและปลงสังขารไว้ก่อน

    เหตุการณ์ ทุกอย่างเป็นจริงประมาณกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 หลวงปู่ทองรัตน์ ได้ปวดท้องกระทันหัน ทั้งที่ท่านสุขภาพดีอยู่ ญาติโยมจะไปตามหมอท่านก็บอกว่า “ไม่เป็นอะไรมาก” ชาวบ้านได้พากันไปตามเจ้าหน้าที่อนามัยที่บ้านโคกสว่าง มาดูอาการท่านในวันที่สองของการอาพาธ แต่หมอยังมาไม่ถึง ท่านก็ได้มรณภาพไปก่อนด้วยอาการสงบ ก่อนมรณภาพท่านได้สั่งไว้ว่าให้นำศพท่านไปเผาริมห้วย ขี้เถ้าและกระดูกให้โปรยลงน้ำให้หมด ท่านบอกว่า “ต่อไปมันซิเอากระดูกพ่อไปขาย” (ต่อไปคนจะเอากระดูกพ่อไปขาย)

    ก่อนหน้าที่หลวงปู่ทองรัตน์จะมรณภาพ ศิษย์คนสำคัญคือ พระอาจารย์บุญมาก ฐิตปญฺโญ แห่งวัดภูมะโรง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ได้เดินทางจากประเทศลาวมากราบนมัสการหลวงปู่กลางพรรษา และได้เป็นประธานในการจัดการศพหลวงปู่ทองรัตน์ เหตุที่ได้เดินทางมาทันงานศพเนื่องจากเกิดนิมิต วัดภูมะโรสั่นสะเทือน 3 ครั้ง จึงคิดถึงอาจารย์มากและคิดว่าน่าจะมีเหตุร้าย จึงเดินทางมาอย่างรีบด่วน โดยไม่มีใครแจ้งข่าว หลวงปู่ทองรัตน์เคยพำนักอยู่วัดภูมิโรกับบูรพาจารย์ท่านพระอาจารย์เสาร์

    หลัง หลวงปู่ทองรัตน์มรณภาพ คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และสาธุชนโดยทั่วไป ตลอดจนยานพาหนะต่างๆ ต่างก็เข้ามายังบ้านคุ้มเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ชาวบ้านไม่เคยเห็นรถยนต์เลยก็ได้เห็น

    หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล (ครูบาจารย์เฒ่า) ได้ละสังขารจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2499 ณ วัดป่าบ้านคุ้ม ตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี สิริอายุรวมได้ 68 ปี พรรษา 42 คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และสาธุชนโดยทั่วไปที่เคารพรักท่าน ได้ร่วมกันฌาปนกิจศพท่านหลังจากมรณภาพไม่นาน แต่ก็ไม่ได้ฌาปนกิจศพตามที่ท่านสั่งไว้ ศิษย์บางคนได้อัฐิท่านไปไว้สักการะ โดยอัฐิของท่านส่วนหนึ่งชาวบ้านคุ้มได้บรรจุไว้ในเจดีย์ที่สร้างไว้กลางเนิน วัดป่าบ้านคุ้ม เพื่อไว้เคารพสักการะมาจนถึงบัดนี้

    [​IMG]
    หลวงปู่มี ญาณมุนี วัดป่าสูงเนิน จ.นครราชสีมา

    [​IMG]
    หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา


    ๏ ปัจฉิมบท

    หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล (ครูบาจารย์เฒ่า) เป็นบูรพาจารย์พระกรรมฐานฝ่ายมหานิกายระดับแนวหน้าของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต แต่เพียงผู้เดียว ท่านพระอาจารย์มั่นให้เหตุผลว่า

    “ถ้าพากันมาญัตติเป็นพระธรรมยุตหมดเสียแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครแนะนำการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกายหรอก แต่มรรคผลขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรละ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละทางดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพาน บรรดาศิษย์ฝ่ายมหานิกายที่ท่านได้อนุญาตให้ญัตติตอนนั้นมีหลายรูป และที่ท่านไม่อนุญาต มีท่านพระอาจารย์ทองรัตน์เป็นต้น”

    เรื่อง ระหว่างธรรมยุติกับมหานิกาย เป็นเรื่องที่ยกขึ้นมาพูดหลังพุทธปรินิพพานนานแล้ว ทำให้ผู้ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ดีพอ ต้องไขว้เขวไปด้วย จนเกิดเรื่องเกิดราวกันมานับไม่ถ้วน

    ในสมัยครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ ต้องมีเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ บางรูปก็ว่าครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ไม่ได้ญัตติ ไม่น่าให้ร่วมสังฆกรรมด้วย บางรูปก็ว่าในเมื่อมีข้อวัตรปฏิบัติเหมือนกัน แถมยังเป็นลูกศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์เดียวกัน ควรที่จะให้ร่วมสังฆกรรมด้วย

    ก่อน ถึงวันลงอุโบสถ พระเณรกำลังกังวลกันในเรื่องนี้มาก กลัวว่าเมื่อรวมสังฆกรรมแล้วจะไม่เกิดผลดีต่อคณะสงฆ์ศิษย์ทั้งสองฝ่าย เพราะเหตุเคลือบแคลงสงสัยในสังฆกรรมนั้น ท่านพระ อาจารย์มั่นได้หาอุบายเพื่อให้พระเณรคลายสงสัย ท่านพระอาจารย์มั่นจึงถามครูบาจารย์เฒ่าในท่ามกลางสงฆ์ที่รวมฉันน้ำปานะด้วย กันว่า “ท่านทองรัตน์สงสัยในสังฆกรรมอยู่บ้อ”

    ครูบาจารย์เฒ่ากราบเรียนพร้อมกับพนมมือ

    “โดยข้าน้อย ข้าน้อยบ่สงสัยดอกข้าน้อย” (ครับกระผม กระผมไม่สงสัยหรอกขอรับ)

    “เออ..บ่สงสัยกะดีแล้ว ให้มาลงอุโบสถนำกันเด้อ” (เออ..ไม่สงสัยก็ดี ให้มาลงอุโบสถร่วมกันนะ)

    ท่านพระ อาจารย์มั่นพูดด้วย ครูบาจารย์เฒ่าก็ไม่อยากให้ครูบาอาจารย์ต้องลำบากใจจึงพูดไปว่า “โดยข้าน้อย บ่เป็นหยังดอก ข้าน้อย ข้าน้อยขอโอกาสไปลงทางหน้าพู้นดอกข้าน้อย” ครูบาจารย์ตอบพร้อมกับพนมมือรับ

    และ ต่อๆ มาเมื่อมีพระมหานิกายที่ไปกราบขอศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์ เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น ที่ยังไม่ญัตติหรือไม่ประสงค์จะญัตติ ท่านก็บอกให้ไปศึกษากับครูบาจารย์ทองรัตน์ตลอด พระสงฆ์ที่ไปขอศึกษาประพฤติปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น ที่ไม่ได้ญัตติ บางรูปถึงแม้จะไปขอญัตติท่านก็ไม่ญัตติให้ โดยท่านให้เหตุผลว่า “ถ้าพากันมาญัตติหมดจะทำให้พระสงฆ์เกิดการแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่ามากกว่าที่เป็นอยู่” ซึ่งท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น พยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะคืนนิกายทั้งสองนั้นให้เป็นอันเดียวกัน

    พระสุปฏิปันโนที่เป็นสหธรรมมิกและสานุศิษย์ของหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล (ครูบาจารย์เฒ่า) สายมหานิกาย ที่ไม่ญัตติเป็นธรรมยุตติกนิกาย ตามกำหนดของพระบูรพาจารย์ใหญ่ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อาทิเช่น

    ๑. พระครูญาณโสภิต (หลวงปู่มี ญาณมุนี) วัดป่าสูงเนิน อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

    ๒. หลวงปู่สีเทา บ้านแวง จังหวัดยโสธร

    ๓. หลวงปู่พรม บ้านโคกก่อง จังหวัดยโสธร

    ๔. หลวงพ่อบุญมาก ฐิตปญฺโญ วัดภูมะโรง (วัดสาลวัน) เมืองจำปาศักดิ์ ประเทศลาว

    ๕. หลวงปู่กินรี จนฺทิโย วัดกันตศิลาวาส อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

    ๖. พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

    ๗. หลวงพ่อกิ ธมฺมุตฺตโม วัดสนามชัย อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี (ภายหลังจึงญัตติ)

    ๘. หลวงพ่อพรม กุดน้ำเขียว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

    ๙. พระครูภาวนานุศาสตร์ (หลวงพ่อสาย จารุวณฺโณ) วัดป่าหนองยาว อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

    ๑๐. หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

    ๑๑. หลวงพ่อปุ่น ฉนฺทาโร วัดป่าฉันทาราม บ้านคำแดง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

    ๑๒. หลวงพ่อพร สจฺจวโร วัดบ้านแก่งยาง อำเภอบุณทริก จังหวัดอุบลราชธานี

    ๑๓. หลวงพ่อกองแก้ว ธนปญฺโญ วัดป่าเทพบุรมย์ บ้านแก่งยาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

    ๑๔. หลวงพ่ออวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส บ้านนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เป็นต้น

    ขอ เมตตาบารมีแห่งภูมิจิตภูมิธรรมของหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล จงบันดาลแผ่ซ่านสู่จิตใจของสรรพสัตว์ผู้ทนทุกข์ทรมานในห้วงแห่งสังสารวัฏ ได้แก่นธรรมเห็นธรรม เกิดธรรมจักษุที่เป็นแก่นพุทธธรรมแทนเปลือกแทนกระพี้ พิธีพราหมณ์ และพุทธพาณิชย์ด้วยเทอญ



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    หนังสือแก้วมณีอีสาน
    <!-- m -->Dhamma and Life - Manager Online
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    มีเกร็ดเล่าให้ฟังเกี่ยวกับท่านทั้งหลายที่ชอบพระเครื่อง และเผอิญเข้ามาดูในกระทู้นี้สำหรับในเรื่องฤทธิ์เดชนั้น ในสายของพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงพ่อชานั้นถือได้ว่าไม่เบาทีเดียว แต่ด้วยวัตรปฏิบัติที่เข้มงวด แม้กระทั่งวัดสาขา ก็ห้ามมิให้คนภายนอกรู้ในเรื่องเหล่านี้เพราะถือว่ามิใช่กิจของสมณะที่พึงแสดงและพึงโอ้อวด คงมีเพียงรู้กันเป็นกลุ่มเงียบๆ ในพระเณรหรือลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเป็นวงใน ในแต่ละวัดเท่านั้น เมื่อราวเกือบยี่สิบปีมาแล้ว ผมเคยไปกราบท่านอาจารย์ทูล จตฺตสัลโล (อายุปัจจุบัน 67 ปี พรรษา 47 อายุพรรษาเท่ากับหลวงพ่อเลี่ยม ประธานสงฆ์แห่งวัดหนองป่าพง จ.อบลฯ ในปัจจุบัน) แห่งวัดถ้ำแสงเพชร จ.อำนาจเจริญ ซึ่งเป็นวัดสาขาที่ 5 ของหนองป่าพง ไปนอนค้างภายในวัดท่าน 2 คืน ท่านได้แสดงอภินิหารให้ชมจนตะลึงในเรื่องการถ่ายรูปท่านไม่ติดจนกล้องใช้งานไม่ได้มาแล้ว ก่อนกลับ ได้ถามท่านว่า ในบรรดาพ่อแม่ครูอาจารย์ในสายนี้นอกจากหลวงปู่กินรี และหลวงปู่ชาแล้ว ท่านองค์ใดที่มีฤทธิ์เต็มภูมิที่สุด ท่านบอกโดยไม่ต้องคิดเลยว่า ท่านอาจารย์อวน ปคุโณ จ.นครพนม ถือว่าเยี่ยมที่สุด ดุที่สุดถอดแบบมาจากท่านอาจารย์กินรีมาทุกอย่าง ท่านเป็นคนผู้ไท (ภูไท) รูปร่างใหญ่โต ปกติไม่พูดกับใคร โดยท่านแนะนำให้กราบเพราะถือว่าเมื่อหลวงปู่ชาไม่อยู่แล้ว ท่านถือว่าอาวุโสที่สุด จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ไปกราบท่าน ตราบจนท่านมรณภาพไปเมื่อปี 2547 พระเครื่องของท่านก็ไม่เคยมีวาสนาจะได้ แม้กระทั่งของหลวงปู่กินรีก็เช่นกัน ทั้งที่ราคาถูก ดังนั้น หากใครมีพระเครื่องพ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งสองท่านแล้วก็ขอเก็บไว้ให้ดี ขนาดท่าน อ.ทูลฯ ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ชายังมีกระแสจิตที่แรงกล้าสามารถหยุดกล้องได้สบายๆ นับประสาอะไรกับท่านอาจารย์อวนฯ ที่ท่านแนะนำให้ไปกราบจิตท่านจะไม่ล้ำลึกมากกว่านี้อีกรึลองไปหาพระเครื่องหรือพระพิมพ์ของท่านดูกันครับ...
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    มีข่าวประชาสัมพันธ์สำหรับกิจกรรมของทุนนิธิฯ ในสัปดาห์นี้ โดยรายละเอียดของกิจกรรมในเดือนนี้ทั้งหมดคณะ กรรมการฯ ทุกคน จะได้ไปประชุมกันในวันพรุ่งนี้ ที่บ้าน อ.ประถม อาจสาคร ที่ จ.ชลบุรี พร้อมกับแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมาให้กลุ่มลูกศิษย์รุ่นใหญ่ของ อ.ประถมฯ ได้รับทราบ และถือเป็นการแสดงมุทิตาจิตต่ออาจารย์ และเป็นวันพบปะสังสรรค์ของลูกศิษย์ในกลุ่มนี้ ในวันเกิดของท่านเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาประจำปี 2552 นี้ด้วย โดยวาระการประชุมหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงน่าจะเป็นดังนี้

    1. กำหนดการทำกิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ประจำเดือนนี้ โดยในเบื้องต้นคาดว่ามีขึ้นในวันอาทิตย์หน้า (22/11/52)

    2. เรื่องการบริจาคสำหรับโรงพยาบาลปัตตานี ในส่วนของภาคใต้ตอนล่าง ตามแผนงานประจำปี 2552 ที่ได้รับการตอบรับบริจาคมาแล้วอย่างไม่เป็นทางการจากหัวหน้าหอผู้ป่วยอายุรกรรมแจ้งมาให้ทราบ

    3. เรื่องการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมต่อหลวงปู่เยี่ยม วัดประดู่ฯ จ.อยุธยา และหลวงปู่ครูบาดวงดี จ.เชียงใหม่ ฯลฯ

    4. กำหนดวงเงินการช่วยเหลือตาม รพ.ต่างๆ ประจำเดือนนี้

    จึงขอประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบในเบื้องต้น ซึ่งหลังจากการประชุมเสร็จแล้ว จะนำผลการประชุมมาแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปอีกครั้ง ช่วงนี้มีฝนหลงฤดูมาเยอะ รักษาตัวกันด้วย เป็นห่วงทุกคนครับ

    พันวฤทธิ์
    14/11/52

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    <table class="contentpaneopen"><tbody><tr><td class="contentheading" width="100%">เหรียญ หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส รุ่นแรก </td> <td class="buttonheading" align="right" width="100%">
    </td> <td class="buttonheading" align="right" width="100%">
    </td> <td class="buttonheading" align="right" width="100%">
    </td> </tr> </tbody></table> เหรียญ หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส รุ่นแรก

    "หลวงปู่อวน ปคุโณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทิยาวาส ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นคร พนม เป็นศิษย์สืบสายธรรมจาก หลวงปู่กินรี จันทิโย พระป่าสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลวงปู่อวน เคยท่องธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร จากทิศเหนือสุดจรดถึงเขตประเทศพม่า ล่องภาคใต้สุดเขตถึงเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย และย้อนเดินทางกลับมาในประเทศลาว
    [​IMG]ก่อนร่วมก่อตั้งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี กับ หลวงปู่ชา สุภัทโท เมื่อปีพ.ศ. 2494 ในอดีต วัดจันทิยาวาส ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม ที่ท่านได้อยู่จำพรรษาเป็นพื้นที่สีแดง ชาวบ้านย้ายบ้านหลบหนีกันไปหมด แต่ท่านไม่ยอมย้ายออกนอกพื้นที่
    จวบกระทั่งวาระสุดท้าย หลวงปู่อวนได้ละสังขารอย่างสงบ ด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2547 สิริอายุ 76 ปี พรรษา 56
    ด้วยความเป็นพระกัมมัฏฐานที่มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติวิปัสสนา ทำให้หลวงปู่อวนไม่นิยมในการจัดสร้างวัตถุมงคล ทำให้พระเครื่องวัตถุมงคลของท่านมีจำนวนน้อยจนนับรุ่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่คณะศิษยานุศิษย์จัดสร้างถวายในวาระพิเศษต่างๆ เท่านั้น
    แต่วัตถุมงคลที่มีความโดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น "เหรียญหลวงปู่อวน รุ่นแรก" ที่จัดสร้างในโอกาสวันคล้ายวันเกิดครบ 5 รอบ 60 ปี หลวงปู่อวน เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2531 มีวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้รับจากการเช่าหาสมทบทุนนำเงินรายได้บำรุงวัดจันทิยาวาส
    เหรียญหลวงปู่อวน รุ่นแรก เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง เนื้อเงินเฉพาะกรรมการ 500 เหรียญ เนื้อทองแดง 2,000 เหรียญ และเนื้อทองแดงรมดำ 2,000 เหรียญ
    ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่อวนครึ่งองค์ ด้านข้างสลักตัวหนังสือนูน "หลวงพ่ออวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส อ.ปลาปาก จ.นครพนม" ด้านล่างใต้รูปเหมือนหลวงปู่ เขียนคำว่า "รุ่น ๑" ด้านหลังเหรียญ เป็นชุดอัฐบริขาร ประ กอบด้วย ร่ม บาตร กาน้ำ (เซียนพระเรียกเหรียญรุ่นหลังบาตร) ด้านล่างระบุ "ที่ระลึกครบ ๕ รอบ ๑๙ ส.ค. ๓๑" ขอบเหรียญสลักยันต์อักขระมงคลของหลวงปู่อวน
    เหรียญรุ่นนี้ได้ตอกโค้ดหยดน้ำไว้ที่บริเวณจีวร ส่วนเนื้อเงินจะตอกโค้ดไว้ใต้ตัวหนังสือ เหรียญหลวงปู่อวน รุ่นแรก ได้ผ่านการประกอบพิธีพุทธาภิเษกภายในอุโบสถวัดจันทิยาวาส โดยมีหลวงปู่อวนเข้าร่วมพิธี
    ทำให้เหรียญดังกล่าวมีพุทธคุณเข้มขลัง ผู้มีไว้ในครอบครองล้วนเชื่อว่ามากด้วยพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน และแคล้วคลาดปลอดภัย ที่ผ่านมาลูกศิษย์ของท่านส่วนใหญ่ที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ จะต้องแวะมานมัสการท่าน
    ปัจจุบัน ราคาเช่าหาเหรียญที่สวยๆ ขยับขึ้นเป็นห้าร้อยถึงหลักพันต้นๆ เหรียญหลวงปู่อวน รุ่นแรก จึงกลายเป็นเหรียญยอดนิยม ด้วยนับวันเหรียญรุ่นนี้จะหายากและเป็นที่ต้องการของนักสะสมไปแล้ว
    แหล่งข่าวจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด[​IMG]
    คอลัมม์นี้ไม่มีวัตถุมงคลให้เช่าบูชา
     
  5. temmeko

    temmeko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +271
    ด้วยความยินดีค่ะ... เนื่องด้วยมีพี่ที่รู้จักกันเค้าทำข่าวเกี่ยวกับด้านนี้อยู่ เลยมีข่าวมาแจ้งให้ทราบอยู่เรื่อยๆค่ะ ถ้ามีข่าวอื่นๆอีกก็จะนำมาแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันนะค่ะ เพราะบางครั้งก็จะเป็นแค่เนื้อข่าว กับภาพของการไปกราบและเยี่ยมอาการของพระเกจิอาจารย์หลายๆรูปที่อาพาธอยู่ค่ะ...

    ถ้ามีสิ่งใดที่ดิฉันพอจะช่วยเหลือทางมูลนิธิได้อีก นอกเหนือจากการร่วมบริจาก ดิฉันยินดีนะค่ะ
     
  6. temmeko

    temmeko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +271
    งั้นวันนี้ขอเอาภาพกับข่าวเก่าที่ได้มาเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 52 มาให่สมาชิกชาวเว๊ปพลังจิตที่เคยติดตามข่าวของ 3 เกจิอาจารย์ที่พึ่งกลับมาจากการรักษาตัวที่โรงพยาบาลนะค่ะ

    -------------------
    Subject: ก๊วนกราบเกจิ ลุ่มน้ำนครชัยศรี
    Date: Mon, 9 Nov 2009 14:14:46 +0700

    คราวนี้ ไปกราบ 3 เกจิดังผู้สืบทอดตำนานความขลังอันลือลั่นสายนครปฐม
    เริ่มจากหลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม อายุ 95 ปี ผู้สืบทอดตำนานการสร้างกุมารทองจากหลวงพ่อเต๋ คงทอง ผู้เป็นอาจารย์
    ในภาพหลวงปู่กำลังบริกรรมอาคม เจิมเบิกเนตรกุมารทอง (ภาพสุดท้าย มีแสงวาบขึ้นในเฟรมด้วย อัศจรรย์มาก)

    17.30 น. ไปกราบหลวงพ่ออั๊บ วัดท้องไทร อายุ 88 ปี ผู้เป็นตำนานการสร้างนางพิมพา มหาเสน่ห์
    ท่านเพิ่งกลับมาพักที่วัด จากการรักษาตัวที่รพ. ศิริราช นานนับเดือน
    หลวงพ่อใจดีมาก เดินเข้าไปหยิบวัตถุมงคลให้คนละองค์ แถมจารให้อีกเพียบ

    สุดท้ายเกือบ 1 ทุ่ม เราแวะไปกราบหลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว อายุ 85 ปี ผู้สืบทอดตำนานเบี้ยแก้ ล้างอาถรรพ์ จากหลวงปู่บุญ
    ท่านเมตตาจารเบี้ยแก้เนื้อเงินให้ ทั้งนี้หลวงปู่เองก็พึ่งกลับมาจากการรักษาตัวที่ รพ.วิชัยยุทร

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  7. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    วันนี้คณะศิษย์รุ่นใหญ่ รุ่นเก่าๆ และคณะกรรมการทุนนิธิฯ ได้ร่วมกันแสดงมุทิตาจิตแด่อาจารย์ประถม อาจสาคร เนื่องในวันคล้ายวันเกิดที่จะจัดกันเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤศจิกายน มาชมภาพกันครับ

    [​IMG]

    ปู่ประถมในอริยาบทสบายๆ ในวัยใกล้90ปี
    [​IMG]

    คณะกรรมการทุนนิธิฯ มอบกระเช้าแด่ปู่ประถม

     
  8. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]

    [​IMG]

    บรรยากาศสบายๆ จับกลุ่มคุยกันตามเรื่องที่ชอบ บางท่านดูพระ บางกลุ่มคุยธรรมะ และสิ่งที่ปู่ชอบมากคือ มวยครับ วันนี้มีถ่ายทอดสดมวยปาเกียวเลยได้แบ่งกลุ่มชมมวยกับปู่กันอย่างสนุกครับ
     
  9. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]

    จากหลังจากรับประทานอาหารเที่ยงแล้วคณะศิษย์ทั้งหมดได้นำปัจจัยจำนวนหนึ่งมอบให้ปู่ประถมไว้ใช้หรือไว้ทำบุญต่างๆตามแต่ปู่จะเห็นสมควร
    [​IMG]

    คณะศิษย์รุ่นใหญ่รุ่นเก่ารวมถ่ายภาพกับปู่ประถม
    [​IMG]

    จากนั้นก็เป็นการถ่ายภาพหมู่ครับ
     
  10. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]

    จากนั้นก็เป็นคิวคณะผู้ก่อตั้งทุนนิธิฯและคณะกรรมการดำเนินงานของทุนนิธิฯ

    [​IMG]

    หลังจากนั้นปู่ประถมให้พรกับลูกหลานให้มีความสุขความเจริญกันทั่วหน้าครับ

    วันนี้ได้รวมศิษย์หลายรุ่นของปู่ประถมทางทุนนิธิฯจึงถือโอกาสประชุมประจำเดือนพฤศจิกายนโดยการประชุมได้ข้อสรุปว่าจะทำบุญที่โรงพยาบาลสงฆ์ในวันอาทิตย์ที่ 22 และมีความเห็นว่าควรนำเงินทำบุญให้กับหลวงปู่เยี่ยม วัดประดู่ทรงธรรม ที่ป่วยเป็นอัมพาธ 10000 บาท และ หลวงปู่ครูบาดวงดี 10000 บาท และบริจาคโรงพยาบาลอีก 9 โรงพยาบาล และ อื่นๆอีกมากไว้ให้พี่พันวฤทธิ์มาแจงอีกทีครับ
     
  11. BD

    BD เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +419


    ร่วมทำบุญกับท่านไปแล้ว 500บาท
    โมทนาบุญกับทุกท่าน ครับ
     
  12. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ผมขอกราบแสดงมุทิตาจิตแด่อาจารย์ประถม อาจสาคร เนื่องในวันคล้ายวันเกิดเช่นกันนะครับ ยังไม่มีโอกาสได้ลงไปสักทีเลยครับ ได้แต่กราบท่านทางไกลแทนนะครับ
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    ขอสรุปประเด็นการประชุมของคณะกรรมการทุนนิธิฯ ในวันแสดงมุทิตาจิตต่อท่าน อ.ประถม อาจสาคร พร้อมกับลูกศิษย์รุ่นใหญ่โดยผมได้ชี้แจงและทำความเข้าใจให้ทุกท่านที่ได้ร่วมงานเมื่อวานนี้ได้ืทราบถึงผลงานการช่วยเหลือที่ได้รับบริจาคจากทุกท่านที่มีจิตใจใฝ่ในบุญกุศล และจากทานมัยที่ช่วยสงเคราะห์สงฆ์อาพาธในรอบปีที่ผ่านมา โดยขอประชาสัมพันธ์มาให้ผู้ที่บริจาค และผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมในกระทู้นี้ทราบดังนี้

    1. กำหนดจัดกิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ในเดือนนี้ เป็นไปตามกำหนดการเดิมคือในวันอาทิตย์ที่ 22/11/52

    2. เรื่องการบริจาคให้ รพ.ปัตตานี จ.ปัตตานี ที่เป็น รพ.แห่งที่ 9 ของทุนนิธิฯ นั้น ให้เริ่มบริจาคได้ในทันทีที่ได้รับหมายเลขบัญชีจาก รพ. โดยมีผู้ประสานงานคือคุณวันทนา คุมพะสาโน หัวหน้าตึกอายุรกรรม เป็นผู้ดำเนินการให้ และในเบื้องต้น ให้บริจาคได้เดือนละ 5,000.-บาท โดยมีเงื่อนไข เช่นเดียวกันกับ รพ.ภูมิภาคอื่นๆ อีก 7 แห่ง

    3. เรื่องการบริจาคช่วยเหลืออริยสงฆ์ทั้ง 2 รูป คือท่านหลวงปู่เยี่ยม ที่ทุนนิธิฯ เคยช่วยเหลือท่านไปแล้ว 1 ครั้ง แต่อาการท่านยังไม่ดีขึ้น และท่านครูบาดวงดี ซึ่งในขณะนี้มีอาการอาพาธที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการทุนนิธิฯ จึงได้พิจารณาจัดให้มีการช่วยเหลือในส่วนของค่ารักษาพยาบาลของท่านทั้ง 2 รูปนี้ รูปละ 10,000.-บาท รวมเป็น 20,000.-บาทถ้วน

    4. เพิ่มวงเงินช่วยเหลือให้แก่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ที่ในขณะนี้เป็นศูนย์กลางของการช่วยเหลือพ่อแม่ครูอาจารย์ในส่วนของพระกรรมฐานที่มีค่อนข้างมากในแถบ จ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี จ.สกลนคร และ จ.ชัยภูมิ หรือแม้แต่ จ.นครราชสีมาตอนบน จากเดิม 5,000.-บาท เป็น 8,000.-บาท

    5. ประมา๊ณการช่วยเหลือประจำเดือน พฤศจิกายน 2552 แยกตามแต่ละ รพ. เป็นดังนี้

    5.1 รพ.สงฆ์
    - ถวายค่าสังฆทานอาหาร 5,000.-
    - ถวายค่าเวชภัณฑ์ส่วนกลาง 5,000.-
    - ถวายค่าโลหิต 5,000.-

    5.2 รพ.ภูมิภาค
    - รพ.แม่สอด จ.ตาก 6,000.-
    - รพ.สมเด็จพระยุพราช (ปัว) 8,000.-
    จ.น่าน
    - รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย 5,000.-
    จ.เลย
    - รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ 5,000.-
    - รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น 8,000.-(เดิม 5,000.-)
    - รพ.50 พรรษาฯ จ.อุบล 5,000.-
    - รพ.สงขลา จ.สงขลา 8,000.-
    - รพ.ปัตตานี จ.ปัตตานี 5,000.-
    รวมเป็นเงินในข้อ 5.1+5.2 = 65,000.-

    5.3 ช่วยเหลือสงฆ์อาพาธ
    - หลวงปู่เยี่ยม วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา 10,000.-
    - หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่ 10,000.-
    รวมเป็นเงิน 20,000.-

    รวมเป็นเงินประมาณการ การบริจาคของทุนนิธิฯ ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและถวายสังฆทานอาหารประจำเดือน พฤศจิกายน 2552 เป็นเงินทั้งสิ้น 85,000.-บาท (แปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

    โดยเมื่อวานนี้ ผมและนายสติได้เบิกเงินจากบัญชีของทุนนิธิฯ มาเรียบร้อยแล้ว และจะได้ทยอยส่งเงินช่วยเหลือไปยัง รพ.ต่างๆ ต่อไป สำหรับเงินช่วยเหลือของ หลวงปู่เยี่ยมนั้น คุณโสระ รับไปดำเนินการที่จะไปมอบให้ท่านที่วัดซึ่งในขณะนี้ทราบว่า ลูกสาวของท่านซึ่งได้บวชเป็นแม่ชี เพื่อมาคอยปรนนิบัติท่านน่าจะเป็นผู้ดำเนินการให้ครับ และในส่วนของท่านครูบาดวงดีนั้น จากลิงค์ของคุณ
    temmeko ได้ลงเลขที่บัญชีบริจาคไว้แล้ว ผมจะได้รีบดำเนินการโอนเงินบริจาคให้ท่านโดยด่วนต่อไป และทั้งหมดผมจะได้นำหลักฐานการบริจาคมาลงในกระทู้ให้ทุกท่านได้อนุโมทนากันให้ทราบอีกครั้งเมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นครบถ้วนทุกแห่งแล้ว

    ในส่วนของผ้าห่มหนาว ผ้าสำหรับตัดจีวร อังสะ ผ้าปูที่นอนฯ ที่ทุนนิธิฯ มอบไปตาม รพ.ภูมิภาคต่างๆ ทุกปี ขณะนี้กำลังรวบรวมอยู่ โดยได้ข้อมูลมาแล้ว 2 แห่งคือ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น และรพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ ยังขาดที่ จ.น่าน จ.เลย และ จ.ตาก คงต้องรออีกสักหน่อยถึงจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบครับ

    พันวฤทธิ์
    16/11/52
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    เมื่อวานในวันแสดงมุทิตาจิตนั้น หลังจากที่ท่าน อ.ประถมฯ ท่านรับมอบเงินที่กลุ่มลูกศิษย์ที่มีทั้งทนาย ผู้พิพากษา เจ้าของโรงน้ำแข็งฯ ได้ช่วยกันรวบรวมและมอบให้ท่านไว้ใช้จ่ายส่วนตัวแล้ว ท่านได้เมตตามอบเงินส่งคืนมายังผมเพื่อเข้าบัญชีของทุนนิธิฯ ในทันที 1,000.-บาท และในงานมีผู้บริจาคเข้ามาเพิ่มเติมอีกหกพันกว่าบาท คณะกรรมการฯ จึงขออนุโมทนาและแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันด้วยครับ
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    รู้ไว้ใช่ว่า ใ่ส่บ่าแบกหาม สำหรับชนชาวพระเครื่อง ผู้ที่ไม่ยึดติดในมาตรฐานพุทธพาณิชย์ โรงงานวัดระฆัง โรงงานวัดบางขุนพรหม ฯ

    ขอขอบคุณ
    พระเครื่องเมืองสยาม ศูนย์รวมพระเครื่อง พระสมเด็จวัดระฆัง พระพิมพ์ขุนแผน และอื่นๆ

    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"><tbody><tr><td style="padding: 5px;" align="left" bgcolor="#014990">พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์เจ้าเงาะ(1242)

    </td> </tr> <tr><td>
    </td></tr> <tr><td class="txtNormal"> ในลำดับต่อไปนี้ จะเป็นตำราเพื่อเป็นจุดสังเกตุ เพื่อดูลักษณะเด่นของพระพิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งท่านได้เข้ามาแกะพิมพ์พระสมเด็จในยุคหลัง (รุ่นสุดท้าย)
    1. เนื้อพระ จะเป็นหินเปลือกหอยดิบ หรือที่เรียกว่าปูนเปลือกหอยดิบเนื้อพระจะแน่นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ไม่มีรอยแตกให้เห็น ผิวเนื้อพระจะมีสีขาวอมเหลือง หรือสีน้ำตาลอ่อน มีคราบตังอิ๊วเป็นสีน้ำตาลติดอยู่ตามผิวพระ หรือตามรอยแยกหดตัวของพระจะมีตังอิ๊วอุดอยู่ที่เราเรียกว่ารอยหนอนด้นบางคน เรียกว่ารอยปูไต่ ด้านข้างองค์ที่มีมวลสารมากๆจะหดตัวมองเป็นร่องช่องโหว่เข้าไป เนื้อพระจะมีทั้งเนื้อแน่นละเอียด และแบบหลวมหยาบเพราะมีมวลสารมาก
    2. พื้นผิวพระ สีจะออกขาวอมเหลืองหรืออมน้ำตาล ผิวจะย่นด้านหน้า เพราะเนื้อจะยุบหดตัวตรงที่มีมวลสารพระหัก มีเศษพระหัก มีพระธาตุ มีอัญมณี จะเป็นรอยยุบโบ๋ลงไปมองเห็นก้อนมวลสารนั้นได้ ถ้ามวลสารนั้นเป็นอินทรีย์สารพวกว่านไม้มงคลที่ผุพังได้ ก็จะเห็นรอยเป็นหลุมไม่มีมวลสารที่เรียกว่าหลุมโลกพระจันทร์รอยรูเข็ม ผิวพระองค์ที่สมบูรณ์จะมีรอยคราบสีขาวฝังอยู่ตามผิวพระที่เรียกว่า คราบแป้งรองพิมพ์ติดฝังอยู่ในพื้นผิวจะไม่หลุดถ้าไม่ไปขัดล้างพื้นผิวจะเป็น 3 มิติลดหลั่นกันจากนอกซุ้ม ในซุ้ม ซอกแขนและรักแร้จะเป็นสามมิติ
    ด้านหลังพระพื้นผิวจะเรียบก็ มี เป็นรอยขรุขระก็มี เป็นรอยเส้นนูนก็มี หรือที่เรียกว่ารอยกาบหมากหรือรอยกระดาน รอยกาบหมาก หรือรอยกระดานจะมีเพียงบางองค์เท่านั้น คือเกิดจากตอนที่อัดเนื้อพระลงแม่พิมพ์ เขาใช้กาบหมากหรือแผ่นกระดานปิดทับ หลังพระบนแม่พิมพ์แล้วเอาค้อนยางตอก ถ้าองค์ไหนตอกเสมอพอดีก็จะมีรอยเส้นกาบหมากเส้นเสี้ยนไม้กระดานติดอยู่ ถ้าองค์ไหนตัดไม่ลงเนื้อเกินก็จะปาดออก จะมีรอยปาดเป็นเส้นเป็นขยักที่เรียกว่ารอยขั้นบันได ด้านหลังริมขอบพระจะมีรอยแยกปริมีตังอิ๊วมาอุดอยู่ที่เรียกว่ารอยหนอนด้น บางคนเรียกรอยปูไต่ ความจริงแล้วรอยปูไต่จะเป็นหลุมเล็กๆ เป็นแนวเส้นโค้งตามด้านหลังพระ เกิดจากการปาดหลังพระก่อนถอดพิมพ์ เหมือนรอยตีนปูเวลามันเดิน รอยตีนจะเรียงเป็นเส้นโค้ง บางองค์จะมีรอยพรุนเท่ารูเข็มเรียกว่ารอยตีนปูอยู่ถ้าพระองค์นั้นใส่ อินทรีย์สารไปด้วย
    ขอบข้างพระ องค์ที่เนื้อแน่นจะมีรอยร่องยุบตัวเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีก็ได้ ส่วนองค์เนื้อหยาบมีมวลสารด้านข้างจะมีรอยยุบตัวเป็นร่อง เป็นหลุมลึก เห็นเม็ดมวลสารชัดเจน บางองค์ที่ลงลักปิดทองหรือลงเทือกชาด พอรักร่อนจะเห็นลักอุดอยู่ในร่องที่แยกออกลักษณะเหมือนหนอนด้น พระสมัยหลวงวิจารณ์ที่ลงลักไว้ผิวจะไม่แตกลายงา ลายสังคโลก
    3. ซุ้มและองค์พระ เส้นซุ้มจะหนาใหญ่ส่วนบนแคบกว่าส่วนล่าง เป็นรูประฆังคว่ำ ขอบเส้นซุ้มด้านนอกจะเอียงลาด ด้านในจะตั้งมากกว่า องค์พระพิมพ์ใหญ่จะเหมือนพระสมัยสุโขทัย พิมพ์เจดีย์จะเหมือนพระแก้วมรกต พิมพ์ฐานแซมจะเหมือนพระอู่ทองอกร่องผอมบาง พิมพ์เกศบัวตูมจะเหมือนพระเชียงแสน
    4. ตำหนิที่ซ่อนเร้น
    พิมพ์ใหญ่ มีเส้นผ้าทิพย์บางๆ ซ่อนอยู่ใต้เข่า มีหูพระลางๆ มีขอบสังฆาฏิรักแร้ขวาบางๆ หัวไหล่ขวามน หัวไหล่ซ้ายตัดเอียง ช่องรักแร้ซ้ายสูงกว่าช่องรักแร้ขวา ใต้รักแร้ขวามีรอยเข็มขีด ฐานชั้นกลางบางคนมีฐานสิงห์ชัดข้างไม่ชัดข้าง ฐานล่างหนา ตรงกลางยุบลงมองดูเป็นขอบฐาน ขอบจะชี้เข้ามุมเส้นซุ้ม
    พิมพ์เจดีย์ มีขอบสังฆาฏิขวาลากลงมาถึงท้องพระ มีหูลางๆ เกศขยักเป็นตุ่ม ขาซ้อนขัดสมาธิเพชรเห็นหัวแม่เท้า แขนท่อนบนใหญ่กว่าท่อนล่างมาก ฐานชั้นที่ 1 หัวแหลมทางด้านขวา มุมฐานล่างด้านขวาจะมีเส้นเล็กๆชี้ไปเข้ามุมซุ้ม ฐานชั้นแรกจะมีฐานแหลมข้างขวา
    พิมพ์ฐานแซม นั่งขัดสมาธิเพชร มีรอยสังฆาฏิจากองค์พระถึงเอว หูยานเกือบถึงบ่า มีเส้นแซมฐาน 1 - 2ชั้น มีทั้งอกนูนและอกร่องขอบสังฆาฏิ
    พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์แรกเส้นแซมบนมีรอยขาดเป็น2ท่อน พิมพ์ที่สองมีเนื้อเกินใต้แขนขวา
    พระสมเด็จวัดระฆังองค์นี้ สำคัญนัก เป็นพิมพ์นิยมขอยืมหลวงปู่มาให้บรรดาศิษย์สมเด็จทั้งหลายที่เคารพนับถือท่าน ได้ชมกันในอีกสภาวะหนึ่ง นั้นก็คือสภาวะที่สมบูรณ์แบบคือเห็นแม้กระทั่งพระกรรณ์ ทั้งที่ยังคงมีแป้งรองพิมพ์จับหนาดูเหมือนพระใหม่ แล้วเราจะดูอย่างไรกับพระสมเด็จองค์นี้ว่าเป็นพระดี พระแท้ ความแปลกประหลาดของพระองค์นี้ก็คือผิวพระน่าจะดูว่าใหม่ หรือเป็นพระใหม่ก็ได้เลยไม่มีใครต่อว่า ตอนที่ผมได้ท่านมาก็ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรเพราะก็คิดว่าเป็นพระใหม่เนื้อไม่ ถึงยุคแน่นอน ก็วางเอาไว้ดูองค์อื่นๆไปเรื่อยๆ ครั้นพอตกดึกเข้าก็เหลือบมองไปมองมาผ่านพระสมเด็จองค์นี้มองผ่านทีไรก็สะดุด ตา ก็เลยหยิบขึ้นมาพิจารณาดูเห็นขอบด้านหลังซ้ายบนเป็นสีเหลืองเหมือนน้ำมันตัง อิ้ว เลยลองใช้น้ำอุ่นลูบดูทั้งหน้าแลหลังก็เลยกระจ่างพระสมเด็จองค์นี้หากล้าง แป้งรองพิมพ์ออกแล้วละก็ผมรับรองได้เลยว่า สีของผิวพระจะเหมือนอำพันเลยละครับ คือสีของเนื้อพระจะสุกเหลืองแบบมุมบนซ้ายตลอดทั่วทั้งองค์ ส่วนด้านหลังเมื่อลูบน้ำอุ่นแล้วแลเห็นรอยแตกปริบริเวณขอบหลังของพระ การย่นยุบก็เป็นคลื่นๆธรรมชาติมาก โดยส่วนตัวแล้วอยากจะล้างเนื้อพระองค์นี้เป็นอย่างมาก เพราะรู้อยู่แก่ใจเลยละครับว่าท่านจะเป็นพระที่มีผิวสวยสุกปลั่งแบบอำพัน เพราะบริเวณหน้าอกของท่านผมลองเอามือลูบดู สีก็ออกมาเหลืองหนำซ้ำยังเห็นน้ำมันตังอิ้วออกมาเป็นสีน้ำตาลด้วย จากประสพการณ์ที่ดูมาเยอะเห็นมาแยะนี่บอกได้เลยว่าเก๊ไม่เป็นพระเนื้ออย่าง นี้ เท่านั้นแหละครับผมยกมือท่วมหัวลำลึกถึงสมเด็จโตเลย ปลื้มปิติมาก (ไม่ได้ปลื้มปิติเพราะได้พระที่มีราคาแพงๆมาครอบครองเพื่อจะได้เปลี่ยนเป็น เงินนะครับ) ดีใจที่สมเด็จท่านประทานพระพิมพ์นิยมมาให้เพื่อที่ผมจะลงเวปมาประกอบการแนะ นำ ให้ผู้ศึกษาชมกัน ว่าเออนี่ไม่ธรรมดานะองค์สวยๆเขาก็มีให้มันดูน่าเชื่อ มั่นหน่อย สำหรับพระสมเด็จองค์นี้ให้ชมในสภาพที่มีแป้งรองพิมพ์นี้เพียงชั่วระยะเดียว นะครับ ผมจะล้างผิวพระออกเพราะผมหลงไหลในสีที่สุกปลั่งเหมือนอำพันนั้น รีบๆชมกันซะต่อไปผมจะชมบ้าง
    </td></tr> <tr><td>
    </td></tr> <tr><td><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="620"><tbody><tr><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td></tr><tr><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td></tr><tr><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td></tr><tr><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]</td><td style="padding: 5px;" align="left" valign="top" width="155">[​IMG]


    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  16. โอลีฟ

    โอลีฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +257
    ดิฉันและคุณ ธิติ ขอร่วมทำบุญกับทุนนิธิฯ จำนวน 200 บาท
    และเพื่อนฝากทำบุญอีก 200 บาท
    รวมเป็น 400 บาท

    เงินจะเข้าบัญชีทุนนิธิ วันที่ 19 พย. ช่วงเย็นค่ะ

    โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณคณะกรรมการที่ได้หยิบยื่นโอกาสให้พวกเราได้ร่วมทำบุญกันอย่างต่อเนื่องด้วยค่ะ

    อ่านรายการทำบุญประจำเดือน พ.ย. แล้วชื่นใจค่ะ

    อนุโมทนากับทุก ๆ ท่านค่ะ
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    วัีนหยุดทั้งยาวและไม่ยาว บางทีก็ไปเที่ยวกันซะไกลๆ หรือใกล้บ้างๆ ตามอารมณ์ แต่อย่าเพิ่งโทร.มาหาเราตอนนี้ ท่านจำได้หรือไม่ว่า ครั้งสุดท้ายที่ท่านไปเที่ยววัดพระแก้ว และพระบรมมหาราชวังนั้นเมื่อไร ติ๊กต่อกๆ ๆ ๆ คิดไม่ออกใช่ม่ะ ไปดูกันดีกว่า

    วัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง

    <ins style="border: medium none ; margin: 0pt; padding: 0pt; display: inline-table; height: 60px; position: relative; visibility: visible; width: 468px;"><ins style="border: medium none ; margin: 0pt; padding: 0pt; display: block; height: 60px; position: relative; visibility: visible; width: 468px;"><iframe allowtransparency="true" hspace="0" id="google_ads_frame1" marginheight="0" marginwidth="0" name="google_ads_frame" src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-1412737151780114&output=html&h=60&slotname=8592939415&w=468&lmt=1258470793&flash=10.0.32&url=http%3A%2F%2Fwww.thaiweekender.com%2Findex.php%2Fwatphrakaew.html&dt=1258470796576&correlator=1258470796581&frm=0&ga_vid=242776511.1258470705&ga_sid=1258470705&ga_hid=744744863&ga_fc=1&u_tz=420&u_his=24&u_java=1&u_h=1024&u_w=1280&u_ah=990&u_aw=1280&u_cd=32&u_nplug=20&u_nmime=109&biw=1280&bih=818&ref=http%3A%2F%2Fwww.thaiweekender.com%2Findex.php%2Fwatphrakaew%2FPage-2.html&fu=0&ifi=1&dtd=57&xpc=FAMnTjZa0i&p=http%3A//www.thaiweekender.com" style="left: 0pt; position: absolute; top: 0pt;" vspace="0" frameborder="0" height="60" scrolling="no" width="468"></iframe></ins></ins> <!-- google_ad_section_start --> [​IMG]หาก มีใครสักคนมาถามว่า มากรุงเทพครั้งแรกจะไปเที่ยวที่ไหนดี คำตอบเห็นจะไม่พ้น "วัดพระแก้ว" เป็นแน่ เพราะความที่วัดพระแก้วรวมไปถึงพระบรมมหาราชวัง เปรียบเสมือนเป็นหัวใจแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่ยังคงความยิ่งใหญ่และงด งาม อวดให้ใครได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของราชอาณาจักรแห่งนี้


    ทริปนี้จะพาไปชมวัดพระแก้วแล้วก็พระบรมมหาราชวังกัน อาจจะดูเบสิกไปหน่อยเพราะเชื่อได้เลยว่าใคร ๆ ก็เคยไปมาแล้วทั้งนั้น แต่ก็เชื่ออีกเหมือนกันว่าส่วนมากก็จะไปไหว้พระแก้วกับถ่ายรูปกันตรงมุมนั้น มุมนี้เก็บไว้เป็นที่ระลึกกันเท่านั้น แต่พอวันดีคืนดีต้องพาเพื่อนฝรั่งต่างชาติเข้าไปเดินเที่ยว ถึงจะอยากอวดมรดกล้ำค่าของเมืองไทยแต่ก็ไม่มีข้อมูลเรื่องราวจะเล่าอะไรให้ เขาฟังสักเท่าไหร่ เรียกว่าอึ้งกันไปเลยทีเดียว
    หลายคนอาจจะมีอาการอย่างที่ว่ามา เพราะงั้นก็เลยอาสากางตำราพาไปเที่ยวชมกันสักรอบ ตามประสามือใหม่หัดเที่ยววัดพระแก้วคนหนึ่งเหมือนกัน
    ลองมาชมกันเลยดีกว่า

    <hr>
    [​IMG]
    ถ้าจะไปวัดพระแก้ว เห็นจะต้องมาแวะสักการะ หลักเมือง กัน เสียก่อน ไม่ใช่เพียงเพราะว่าอยู่ใกล้กันเท่านั้นแต่เป็นโอกาสที่จะได้ย้อนระลึกถึง กำเนิดเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์กันเลยทีเดียว เพราะเมื่อตอนที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้ย้ายเมืองข้ามมาจากทางฝั่งธนฯ ก่อนจะมีการสร้างพระราชวังและวัดพระแก้ว ก็มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองก่อนเป็นปฐม
    ที่เป็นอย่างนี้ก็คงเป็นเชิงสัญลักษณ์ที่จะบำรุงขวัญพสกนิกรด้วยว่า คนไทยเราจะลงหลักปักฐานอยู่กันที่นี่ไม่หนีศัตรูไปไหนอีกแล้ว ตัวเสาหลักเมืองเองก็ยังเลือกทำจาก "ไม้ชัยพฤกษ์" ที่มีชื่อเป็นมงคล ส่วนที่หัวเสาก็บรรจุดวงเมืองเอาไว้ด้วย

    <hr>
    [​IMG]
    ถ้าเข้าไปในศาลหลักเมืองก็อาจจะแปลกใจ ทำไมมีเสาหลักเมืองอยู่ 2 ต้น ????
    ตอนแรกก็มีอยู่ต้นเดียวนี่แหละ แต่พอมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็โปรดฯ ให้ยกเสาหลักเมืองใหม่ ความที่พระองค์ทรงเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์อยู่ด้วย คงจะทรงเห็นว่าดวงเมืองเดิมไม่เหมาะก็เลยทรงแก้เสียใหม่ แล้วก็เลยมีเสาหลักเมืองอยู่สองต้นอย่างที่เราเห็นกันอยู่
    เรียกว่ารัชกาลที่ 4 นั้นไม่เพียงแต่จะทรงพระปรีชาในทางดาราศาสตร์ จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำทำเอาฝรั่งทึ่งไปตาม ๆ กัน แม้วิชาทางโหราศาสตร์พระองค์ท่านก็มีพระปรีชาไม่ยิ่งหย่อนไปเลย
    ส่วนหลักเมืองต้นสูงที่เห็นนั่นเป็นต้นที่ยกสมัยรัชกาลที่ 1 ต้นที่เตี้ยกว่าก็เป็นต้นน้องใหม่สมัยรัชกาลที่ 4

    <hr>
    [​IMG]
    ด้านข้างอาคารศาลหลักเมืองยังมี ศาลเทพารักษ์ อยู่ด้วย ซึ่งประดิษฐานเทพารักษ์อยู่ 5 องค์ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬชัยศรี เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง
    พระเสื้อเมือง นี่เรียกว่าเป็นฝ่ายบู๊ ระดับคุมกำลังคอยป้องกันอริราชศัตรู ส่วนพระทรงเมืองจัดเป็นพวกบุ๋น คือดูแลเรื่องการปกครอง ดูแลประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข
    เล่าเป็นตัวอย่างไว้สักสององค์ ส่วนองค์อื่น ๆ องค์ไหนเป็นองค์ไหน แนะนำให้ไปอ่านกันต่อที่ป้ายหน้าศาลจะดีกว่า

    <hr>
    [​IMG]
    ส่วนใครที่ต้องการจะสักการะหลักเมือง ทางองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกซึ่งเป็นผู้ดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เขาก็จัด เอาไว้ให้เป็นชุด ราคาชุดละ 30 บาท

    <hr>
    [​IMG]
    สถานที่บูชา จะจัดไว้ให้ต่างหากด้านนอก​

    <hr>
    [​IMG]
    ตรงข้างศาลหลักเมืองแต่ก่อนเป็นต้นสายรถรางที่วิ่งไปปากน้ำ ลองออกมาถนนด้านที่อยู่ระหว่างศาลหลักเมืองกับกระทรวงกลาโหมเราจะยังเห็นราง รถรางอยู่เลย

    <hr>
    [​IMG]
    ส่วนตัวรถรางจะเป็นยังไง คงพอดูเป็นตัวอย่างจากรถนำเที่ยวของ กทม. ที่แล่นให้บริการเที่ยวชมสถานที่สำคัญในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่ทำหน้าตาให้เหมือนกับรถรางสมัยก่อน

    <hr>
    [​IMG]
    จากศาลหลักเมืองเดี๋ยวเราจะไปเที่ยววัดพระแก้วกันต่อ
    จากหน้าศาลเราก็ข้ามถนนแล้วเดินเลียบกำแพงวังมา ด้านขวามือจะเป็นสนามหลวง ถนนด้านนี้เรียกกว่าถนนหน้าพระลาน เป็นเพราะเป็นถนนที่อยู่บริเวณลานหน้าพระราชวังนั่นเอง
    ถนนสายนี้มีเรื่องเล่าที่น่าสนใจว่า ในช่วงปลายรัชกาลที่ 1 พระองค์โปรดฯ จะให้มีพระใหญ่ไว้ในพระนคร เหมือนอย่างที่อยุธยามีพระใหญ่อยู่ที่วัดพนัญเชิง (ถ้าบอกว่าคือ พระซำเปากง คงร้องอ๋อกัน)
    ก็เลยโปรดฯ ให้ชะลอองค์พระมาจากวัดมหาธาตุ ที่เมืองสุโขทัย พอมาขึ้นที่ท่าช้างแล้วก็ชักพระผ่านมาทางถนนสายนี้
    และที่สำคัญคือ รัชกาลที่ 1 แม้ขณะนั้นจะทรงพระชราภาพอีกทั้งยังทรงพระประชวรอยู่ด้วย ก็ยังทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเปล่านำการชักพระครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของพระองค์ท่านเป็น อย่างยิ่ง

    <hr>
    [​IMG]
    ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่ชะลอมานั้นก็คือ พระศรีศากยมุนี พระประธานในวิหารหลวงที่ วัดสุทัศน์ นี่เอง ที่สมัยรัชกาลที่ 1 เพียงแต่เชิญองค์พระมาตั้งไว้ ยังไม่ทันได้สร้างเป็นวัดดีก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน

    <hr>
    [​IMG]
    การจะเข้าไปชมพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานทั้งยังเป็นสถานที่สำคัญยิ่งของชาติด้วย จึงมีข้อกำหนดเรื่องการแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ แต่ก็อาจทำให้หลายคนเกร็ง ๆ กันอยู่เวลาจะเข้าไปเที่ยวชมกัน ก็เลยขอให้ข้อมูลเรื่องการแต่งกายไว้หน่อยว่า
    เสื้อ จะต้องเป็นเสื้อที่มีแขน ประเภทสายเดี่ยวหรือเสื้อแขนกุดนี่ไม่ได้เลย เนื้อผ้าก็อย่าให้บางเบาจนเกินไป
    ส่วน กางเกง จะต้องเป็นกางเกงยาวคลุมตาตุ่ม จะเป็นกางเกงยีนส์ก็ได้ ที่ไม่ได้จะเป็นพวกกางเกงสามส่วน กางเกงกระโปรง หรือกางเกงเล ส่วนคุณผู้หญิงจะสวมกางเกงก็ได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าจะเป็นกระโปรงก็ต้องเป็นกระโปรงที่ไม่สั้นจนเกินไป
    รองเท้า นี่ถ้าเป็นชาวต่างประเทศเขาต้องให้เป็นรองเท้าหุ้มส้นเท่านั้น แต่เท่าที่เห็นรองเท้าที่มีสายรัดส้นก็ใช้ได้แล้ว สำหรับคนไทยยังอนุโลมเรื่องรองเท้าแตะ แต่เขาวงเล็บไว้ว่า (สำหรับผู้ที่มาจากต่างจังหวัด)

    <hr>
    [​IMG]
    แต่ถ้าเครื่องแต่งกายไม่ถูกต้องยังไง ทางสำนักพระราชวังเขาก็จัดเสื้อผ้าให้ยืมฟรี ตรงประตูวิเศษไชยศรี แต่ต้องวางเงินประกันชิ้นละ 100 บาทกับบัตรประชาชนเอาไว้ ซึ่งก็ยุ่งยากเสียเวลาเหมือนกันเพราะจะมีคนต่างชาติมาใช้บริการกันตลอด
    ยังไงแต่งตัวให้เรียบร้อยมาเลยดีกว่า ยิ่งแต่งผ้าไทยมาถ่ายรูปที่นี่ สวยอย่าบอกใครเชียว

    <hr>
    [​IMG]
    พอผ่านประตูพิมานไชยศรีที่เป็นประตูทางเข้าหลัก อยู่เยื้อง ๆ กับหัวมุมสนามหลวง เดินตรงเข้ามาจะมีห้องจำหน่ายบัตรเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ ค่าบัตรคนละ 250 บาท

    <hr>
    [​IMG]
    บัตรนี้สามารถเลือกใช้เข้าชมพระที่นั่งวิมานเมฆ หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม หรือพระราชวังสนามจันทร์ที่นครปฐม ได้ด้วย แต่ไม่ต้องรีบบึ่งไปวันเดียวกันก็ได้ เพราะสามารถใช้ได้ภายใน 7 วัน

    <hr>
    [​IMG]
    ส่วนคนไทยไม่ต้องเสียค่าเข้าชม
    ตรงซุ้มตรวจบัตรเข้าชมจะมีช่องเฉพาะสำหรับคนไทยอยู่ทางซ้าย ส่วนใครที่เป็นคนไทยแต่หน้าตากระเดียดไปทางจีนหรือญี่ปุ่นสักหน่อย อาจจะต้องร้องเพลงชาติให้เจ้าหน้าที่ฟังก่อนสักรอบ ล้อเล่นน่ะ เพียงแต่ส่งยิ้มแล้วบอกว่าเป็นคนไทยก็เรียบร้อย
    <hr>

    [​IMG]
    ถ้าใครพาเพื่อนต่างชาติไปแล้วบรรยายไม่ถูก ไม่ต้องห่วงที่นี่มีตัวช่วย ให้ไปเช่าเครื่อง PAG หรือ Personal Audio Guide ที่สำนักพระราชวังเขาก็มีจัดไว้ให้ก็ได้ ค่าเช่า 200 บาทต่อ 2 ชั่วโมง อยู่ถัดจากซุ้มขายบัตรมานิดเดียว​
    เจ้าเครื่องที่ว่าจะมาพร้อมแผนที่ที่มีเบอร์ ของสถานที่สำคัญแต่ละที่ในวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง พอไปอยู่ตรงไหนก็กดปุ่มตัวเลขบนเครื่องให้ตรงกัน ก็จะได้ฟังคำบรรยายนำชมสถานที่นั้นแล้ว ง่าย ๆ แค่นี้เอง​
    ส่วนภาษาที่มีให้เลือกกันก็มี อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีนกลาง รัสเซีย สเปน และที่สำคัญ ภาษาไทยเราก็มีด้วย
    หรือถ้าชอบให้มีคนพาเดินพาชม อาจจะใช้บริการไกด์เอกชนที่มารอให้บริการกันอยู่ตรงตรงหน้าประตูทางเข้า ใกล้ๆ กับที่มีเจ้าหน้าที่ยืนตรวจตราเครื่องแต่งกายก็ได้​

    <hr>

    [​IMG]
    ผ่านประตูเข้ามาปุ๊บ เราก็จะเจอท่านฤาษีนั่งยิ้มเผล่รอต้อนรับอยู่
    ทำเป็นเล่นไป รูปฤาษีนี้คือหมอประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า หรือท่าน "ชีวก โกมารทัจน์" เชียว ท่านเป็นที่นับถือของผู้ที่ศึกษาทางด้านการแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งผู้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็มักจะมาขอพรจากท่านกัน
    ส่วนตรงมุมล่างซ้ายของภาพ จะมีแท่งหินอยู่แท่งนึง บางคนอาจจะสงสัยว่าเป็นอะไร เห็นคนเอาดอกไม้ไปบูชาเสียด้วย ขอเฉลยว่าเป็นหินบดยานี่เอง ว่าแต่ยังหาครกที่จะใช้คู่กับหินบดยาไม่ยักเจอ

    <hr>
    [​IMG]
    เดินเลี้ยวซ้ายมาหน่อย เราจะพบกับ ยักษ์ทวารบาล ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาภายในบริเวณวัด
    ทั้งหมดมีอยู่ 6 คู่ด้วยกัน แต่คู่ที่อยู่ตรงนี้น่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะคือทศกัณฐ์ซึ่งเรารู้จักกันดีว่าเป็นตัวผู้ร้ายในเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนตนข้าง ๆ คือสหัสเดชะซึ่งเป็นญาติกันกับทศกัณฐ์
    ยักษ์ทั้งสองตนนี้รวมทั้งตนอื่น ๆ ด้วยที่มารับหน้าที่ทวารบาล ต่างก็เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์เดชชั้นเซียนกันทั้งนั้น ส่วนจะมีชื่ออะไรก็บ้างก็สามารถดูได้จากป้ายชื่อที่ติดเอาไว้ให้เรียบร้อย
    ส่วนรูปประกอบอาจจะดูแปลก ๆ หน่อย เพราะเห็นว่าคงได้ดูรูปหน้ายักษ์กันมาเยอะแล้ว เลยขอเปลี่ยนมุมมาชมด้านหลังกันบ้าง

    <hr>
    [​IMG]
    เดินผ่านศาลารายมา เดี๋ยวเราจะเข้าไปที่พระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่เรียกกันสามัญว่าพระแก้วมรกตกัน ส่วนใครที่ต้องการจะจุดธูปเทียนบูชาพระแก้วมรกต ทางวัดจัดสถานที่ตรงลานหน้าพระอุโบสถเอาไว้ให้

    <hr>
    [​IMG]
    เข้ามาภายในพระอุโบสถแล้วเนี่ย เขาไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป ก็เลยมีแต่ภาพที่ซูมจากด้านนอกเข้าไป คุณภาพภาพจะแย่สักหน่อย
    เอาเป็นว่ามีแต่ความอิ่มอกอิ่มใจที่ได้กราบพระคู่บ้านคู่เมืองมาฝากกัน
    ว่าแต่คุณจะเคยสังเกตกันไหมหนอว่า คำว่า "โกสินทร์" แปลว่า พระ ส่วน "รัตนะ" ก็แปลว่า แก้ว เพราะงั้น ถ้าถอดเครื่องประดับรุงรังของคำว่า "กรุงรัตนโกสินทร์" เราก็จะได้เจอตัวจริงที่ชื่อ "เมืองพระแก้ว" นั่นเอง
    กราบพระเสร็จ สายตาเริ่มซอกแซก ถ้าคุณได้มาดูเองคงต้องยอมรับว่า ภายในพระอุโบสถเต็มไปด้วยงานศิลป์อันวิจิตรทั้งนั้น ก็แหมเป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง ก็ต้องระดมช่างฝีมืออย่าเอกอุในแผ่นดินมาฝากฝีมือเอาไว้ เห็นแล้วก็อดภาคภูมิใจในมรดกที่บรรพบุรุษได้ฝากเอาไว้ให้ เป็นสมบัติชาติที่อวดใคร ๆ ไปได้ทั่วโลกเลยทีเดียว

    <hr>
    [​IMG]
    ก่อนออกจากพระอุโบสถ อยากชี้ชวนให้ชมพระพุทธรูปที่พิเศษสักหน่อย
    ถ้าลองสังเกตดูจะเห็นด้านหน้าสุด จะมีพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องกษัตริย์สององค์อยู่ซ้ายขวา องค์ทางซ้ายมือของเราคือ "พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" ส่วนองค์ทางขวาคือ "พระพุทธเลิศหล้านภาลัย" เป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้สร้างขึ้น
    ฟังชื่อคุ้น ๆ ใช่มั้ย เพราะเหมือนกับพระนามของรัชกาลที่ 1 และที่ 2
    เรื่องก็มีว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นชาวบ้านมักจะเรียกสมัยรัชกาลที่ 1 ว่า "แผ่นดินต้น" และเรียกสมัยรัชกาลที่ 2 ว่า "แผ่นดินกลาง" รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าหากให้เรียกแผ่นดินพระองค์ว่า ไแผ่นดินปลาย" ก็จะเป็นอัปมงคล ก็เลยโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธรูปขึ้น 2 องค์ ถวายพระนามพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ แล้วก็โปรดให้เรียกชื่อรัชกาลที่ 1 และ 2 ตามพระนามพระพุทธรูปนี้ ซึ่งก็คือ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นั่นเอง
    ด้วยเหตุนี้ทั้งพระนามของทั้งสองรัชกาลนี้ จึงมีคำว่า "พระพุทธ" อยู่ด้วย
    บางคนอาจแปลกใจว่าทำไมต้องสร้างเป็นพระพุทธรูป ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะไทยเราไม่มีธรรมเนียมสร้างพระบรมรูปกันในสมัยนั้น แต่พอหลัง ๆ มาเมื่อเราเริ่มรับธรรมเนียมอย่างฝรั่งเข้ามา ก็เริ่มมีการสร้างพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ในแต่ละรัชกาลขึ้นมา

    <hr>
    [​IMG]
    กราบลาพระแก้วมรกตกันแล้ว ก่อนก้าวออกมาน่าจะได้หันไปชื่นชมกับบานประตูพระอุโบสถ เป็นบานประตูประดับมุกซึ่งยกย่องกันว่าเป็นงานศิลปะที่งามมาก สร้างโดยช่างในสมัยรัชกาลที่ 1 ดูเองแล้วกันว่างานละเอียดวิจิตรขนาดไหน
    แต่จะว่าไปแล้วช่างในยุคต้นรัตนโกสินทร์ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่ก็คือ ช่างอยุธยา นี่เอง

    <hr>
    [​IMG]
    เมื่อลงจากตัวพระอุโบสถมาตรงเชิงบันไดจะมีอ่างน้ำมนต์ตั้งอยู่ เรามักนิยมเอาดอกบัวไปจุ่มน้ำมนต์มาประพรมเป็นสิริมงคล เพราะน้ำมนต์นี้เป็นน้ำที่ได้จากการสรงพระแก้วมรกตให้แต่ละครั้งที่มีการ เปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดู

    <hr>
    [​IMG]
    มาเดินเที่ยวรอบ ๆ พระอุโบสถกันต่อ
    ไทยเรารับเอาคติมาจากขอมนับ ตั้งแต่สมัยอยุธยามาแล้วว่า พระมหากษัตริย์นั้นทรงเป็นพระนารายณ์อวตารลงมา เพราะงั้นก็จะมีการออกพระนามพระมหากษัตริย์ว่า สมเด็จพระรามาธิบดี เพราะ พระราม เป็นอวตารหนึ่งของพระนารายณ์ที่เป็นมนุษย์
    ส่วนพระนารายณ์นั้นจะทรงครุฑเป็นพาหนะ มีตำนานเล่าว่าพระนารายณ์กับครุฑเคยรบกัน ต่างฝ่ายต่างไม่เพลี่ยงพล้ำ เรียกว่าเก่งพอ ๆ กัน สุดท้ายก็เลยต้องตกลงทำสนธิสัญญาสงบศึกกัน โดยตกลงกันว่า ถ้าพระนารายณ์จะไปไหนครุฑจะยอมเป็นพาหนะให้ แต่ถ้าพระนารายณ์ประทับที่ไหนครุฑจะขออยู่สูงกว่า เพระงั้นจึงไม่แปลกที่มีธงครุฑติดบนรถยนต์พระที่นั่ง และถ้าพระมหากษัตริย์ประทับที่ใดก็จะมีการชักธงครุฑขึ้นไว้
    ด้วยเหตุนี้เราจึงมักพบรูปนารายณ์ ทรงครุฑ หรือรูปครุฑในงานศิลปะต่าง ๆ ของไทยเราที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์เสมอ รวมทั้งที่หน้าบันของพระอุโบสถวัดพระแก้วนี้ด้วย

    <hr>
    [​IMG]
    ส่วน ทำไมครุฑถึงต้องยุดหรือจับนาค นั้น
    ตามตำนานก็ว่าครุฑนั้นกินนาคเป็นอาหาร โดยครุฑนั้นมีกำลังมากสามารถใช้ปีกโบกจนน้ำในมหาสมุทรแตกเป็นวงแล้วโฉบลงไป จับนาคกินได้ นาคก็กลัวถูกจับไปกินก็เลยกินก้อนหินถ่วงไว้ที่ท้อง คงกะจะให้ครุฑบินไม่ขึ้น ครุฑก็เลยต้องจับนาคห้อยหัวให้คายก้อนหินออกมาเสียก่อน
    นั่นก็เป็นเรื่องในตำนาน ถ้าเป็นอีกแนวหนึ่งก็ว่า มีชนกลุ่มหนึ่งนับถือนาคหรืองู แต่ต่อมาได้ถูกชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งนับถือเทพอื่นรวมถึงครุฑด้วยนั้นสามารถมี ชัยยึดครองดินแดนของพวกที่นับถือนาคได้ พวกที่ชนะก็เลยทำรูปครุฑที่ตนนับถือนั้นจับนาคไว้เสมือนเป็นสัญลักษณ์แสดง ความเหนือกว่าเอาไว้ เรียกว่าข่มกันเห็น ๆ

    <hr>
    [​IMG]
    จากพระอุโบสถเราจะไปชมบนฐานไพที หรือฐานที่ยกสูงที่อยู่ข้างพระอุโบสถกัน บนนั้นมีของที่น่าดูน่าชมเยอะไปหมด
    เดิมเมื่อแรกสร้างวัดนั้นบนฐานไพทีนี้ จะมีเพียงพระมณฑปกับสุวรรณเจดีย์เท่านั้น ซึ่ง พระมณฑป ที่เห็นในรูปนั้นใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้โปรดฯ ให้มีการชำระขึ้นใหม่

    <hr>
    [​IMG]

    ส่วน สุวรรณเจดีย์ เป็นเจดีย์เพิ่มมุม 12 มีรูปลิงและยักษ์แบก
    เจดีย์นี้รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระชนกชนนี ซึ่งเป็นตามธรรมเนียมการสร้างวัดที่จะสร้างเจดีย์คู่ไว้หน้าวัด เป็นการอุทิศแก่บิดามารดาของผู้สร้าง ที่ฐานเจดีย์เป็นรูปยักษ์กับกระบี่ (ลิง) แบกเจดีย์
    ตัวไหนเป็นยักษ์ ตัวไหนเป็นลิง สังเกตได้อย่างหนึ่งง่าย ๆ คือ ลิงไม่ใส่รองเท้าจ้า

    <hr>
    [​IMG]
    "สู้โว้ย" แบกมา 200 กว่าปีแล้ว ถึงจะเหนื่อยแต่ยังสู้อยู่​

    <hr>
    [​IMG]
    ส่วนเจดีย์องค์นี้สร้างเพิ่มเติมขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า พระศรีรัตนเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงระฆังซึ่งถ่ายแบบมาจากเจดีย์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ที่กรุงเก่ามาสร้าง ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    ว่ากันว่าเจดีย์ทรงระฆังอย่างนี้เป็นรูปแบบที่รัชกาลที่ 4 ทรงโปรด เพราะงั้นเจดีย์ตามวัดที่รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างก็มักจะเป็นเจดีย์ทรงนี้ทั้งนั้น อย่างที่วัดบวรนิเวศฯ นั่นก็ใช่ด้วยเหมือนกัน ถ้าใครได้ไปก็ลองสังเกตดู

    <hr>
    [​IMG]
    สมัยรัชกาลที่ 4 ยังได้โปรดฯ ให้สร้าง ปราสาทพระเทพบิดร ขึ้นด้วย เดิมเรียกว่า พุทธปรางค์ปราสาท สังเกตุว่าส่วนยอดจะเป็นปรางค์

    <hr>
    [​IMG]
    แรกทีเดียวมีพระราชประสงค์จะย้าย พระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่นี่ เนื่องจากทรงเห็นว่าพระมณฑปซึ่งประดิษฐานพระไตรปิฎก หรือถือว่าเป็นพระธรรมนั้นสูงกว่าพระแก้วมรกตที่ถือว่าเป็นพระพุทธที่อยู่ใน พระอุโบสถ
    จึงโปรดฯ ให้สร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นสูงเท่ากับพระมณฑปคือสูง 1 เส้น แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วเห็นว่าสถานที่คับแคบไม่เหมาะแก่การพระราชพิธีจึงไม่ ได้ย้ายพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่นี่
    ต่อมารัชกาลที่ 6 ได้โปรดให้ตั้งพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ในรัชกาลก่อน ๆ ไว้ ปัจจุบันประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 1-8 และเปิดให้ประชาชนเข้าไปถวายบังคมได้ในวันจักรี สำหรับตัวปราสาทเป็นทรงจตุรมุขคือมีมุขออกมาสี่ด้าน ตรงกลางเป็นยอดปรางค์ซึ่งนับเป็นปราสาทยอดปรางค์เพียงองค์เดียว

    <hr>
    [​IMG]
    ตามคติของขอมที่ไทยเรารับเอามา ถือว่าเขาพระสุเมรุนั้นถือเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งจะรายรอบไปด้วยป่าหิมพานต์
    ราสาทพระเทพบิดรที่มียอดเป็น ปรางค์ ก็ถูกเปรียบเสมือนเป็นตัวเขาพระสุเมรุ ดังนั้นบริเวณลานด้านหน้าปราสาทพระเทพบิดร ก็เลยมีรูปกินนร กินนรี และสัตว์หิมพานต์อื่น ๆ มาประดับโดยรอบ

    <hr>
    [​IMG]
    ตราประจำรัชกาลและช้างเผือก สำหรับรัชกาลที่ 1 เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ รัชกาลที่ 2 เป็นรูปครุฑยุดนาค ส่วนตราสำหรับรัชกาลอื่น ๆ ฝากให้คุณไปชมกันต่อ

    <hr>
    [​IMG]
    ใครอยากไปชมนครวัตสักครั้งในชีวิต แต่ยังไม่มีโอกาสได้ไปสักที ลองมาชมที่ มินินครวัต หรือ นครวัตจำลอง ที่รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้ไปถ่ายแบบมาจากนครวัด เนื่องจากทรงเห็นว่าเป็นของแปลกมหัศจรรย์ แล้วในขณะนั้นกัมพูชายังเป็นประเทศราชของไทยอยู่

    <hr>

    [​IMG]
    พระพุทธรูปหิน มีอยู่ 4 องค์ตั้งอยู่แต่ละมุมของพระมณฑปเรียกว่า พระธยานิพุทธศิลา องค์พระเป็นสีดำ เนื้อผิวเป็นรูพรุณ เนื่องจากทำจากหินภูเขาไฟ เป็นศิลปะศรีวิชัยสกุลช่างชวาภาคกลางหรือที่เรียกว่า บุโรพุทโธ (ฟังชื่อแล้วคงคุ้นกันดี) ได้มาในคราวที่รัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนชวา โดยในระหว่างที่เสด็จเยือนนั้นได้ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับโบราณวัตถุต่าง ๆ รัฐบาลฮอลันดาซึ่งปกครองชวาอยู่ในขณะนั้นจึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปนี้มา
    แต่องค์ที่เห็นอยู่ปัจจุบันเป็นของจำลองที่หล่อขึ้นใหม่ ส่วนองค์จริงนั้นเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วยังมีพระพุทธรูปแบบเดียวกันนี้อีกองค์หนึ่งซึ่งได้มาในครั้งเดียวกัน ประดิษฐานอยู่ข้างพระอุโบสถวัดบวรนิเวศด้วย

    <hr>
    [​IMG]
    ถัดจากบนฐานไพฑีลงไปเราจะเห็นหอพระนากอยู่ด้านซ้ายมือ ตรงกลางคือพระวิหารยอด และขวามือคือหอพระมณเฑียรธรรม
    ส่วน หอพระนาก ใช้เป็นที่เก็บพระอัฐิของพระราชวงศ์

    <hr>
    [​IMG]
    พระวิหารยอด ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระนาก ซึ่งคงจะย้ายมาจากหอพระนากอีกที แต่จะเป็นด้วยเหตุใดก็ไม่มีหลักฐานบอกไว้
    ตัวพระวิหารทำด้วยกระเบื้องเคลือบซึ่งเป็นศิลปะที่เป็นพระราชนิยมในสมัย รัชกาลที่ 3 ถ้าเห็นงานแบบนี้ที่ไหนก็บอกได้เลยว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 (อย่างหอไตรที่วัดโพธิ์นี่ก็ใช่ หรือแม้แต่พระปรางค์วัดอรุณถ้าไปดูใกล้ๆ ก็จะเห็นกระเบื้องเคลือบเต็มไปหมด)

    <hr>
    [​IMG]
    หอพระมณเฑียรธรรม สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อแรกสร้างวัดพระแก้ว ด้วยฝีมือช่างวังหน้าซึ่งมาช่วยสร้างวัด ใช้สำหรับเก็บพระคัมภีร์ที่เหลือจากที่จะเก็บไว้ได้ในพระมณฑป ส่วนปัจจุบันจะนิมนต์พระมาแสดงพระธรรมเทศนากันที่นี่ทุกวันพระ แทนที่จะเป็นในพระอุโบสถที่ค่อนข้างพลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยว
    ถ้าได้ไปยืนเล็ง ๆ ดู จะรู้สึกได้เลยว่าลวดลายของ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน คันทวย ที่ประดับอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรม นี่ดูทั้งงดงามอ่อนหวานแต่ก็แฝงความเข้มแข็งเด็ดขาดไว้ในที ที่ว่ากันว่าเป็นเอกลักษณ์ของงานช่างวังหน้าเลยทีเดียว น่ามาชมมาก
    ที่จริงแต่ก่อนยังมีของดีอีกอย่างคือ บานประตู ที่เป็นบานมุกฝีมือเลิศมาก เป็นของเก่าสร้างมาแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศฯ สำหรับไว้ที่วัดบรมพุทธารามที่อยุธยา แต่ปัจจุบันถูกถอดไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแล้ว

    <hr>
    [​IMG]
    มาถึงวัดพระแก้วแล้ว ถ้าไม่ได้มาเดินดูจิตรกรรมฝาผนังด้วยแล้ว ต้องถือว่ายังมาไม่ถึงวัดพระแก้ว แล้วถ้าอยากจะดูภาพตอนแรกจากทั้งหมด 178 ตอน ก็ต้องมาเริ่มดูตรงหลังพระวิหารยอดนี่เอง

    <hr>
    [​IMG]
    ยกตอนสนุก ๆ มาให้ดูสักตอน
    ภาพนี้เป็นตอนหนึ่งในเรื่อง รามเกียรติ์ คือตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ด้วยความที่ทศกัณฐ์ส่งญาติพี่น้องออกไปรบทีไรก็พากันแพ้ ถูกทหารพระรามฆ่าตายหมด ก็เลยกะจะอาศัยท้าวมาลีวราชซึ่งเป็นพระพรหมแล้วก็เป็นพระญาติกันกับแกมาช่วย ตัดสินให้ยกนางสีดาให้แก
    ประมาณว่ากะจะให้ซูเอี๋ยเพราะเห็นว่าเป็นญาติกัน แต่ท้าวมาลีวราชเป็นเทพที่เที่ยงธรรมไม่เห็นแก่ความเป็นญาติพี่น้อง ตัดสินอย่างตรงไปตรงมาให้ทศกัณฐ์ต้องคืนนางสีดาให้พระราม
    ที่ว่าสนุก ก็เพราะเป็นภาพที่จะได้เห็นว่าทศกัณฑ์นี่แกก็เอาเรื่องเลยทีเดียว พระราม สีดา ต้องลงมานั่งเฝ้าท้าวมาลีวราช ส่วนตัวทศกัณฐ์กลับนั่งกร่างอยู่บนราชรถ
    เรื่องรามเกียรติ์ที่จริงมีที่มา เริ่มต้นกันตั้งแต่บนสวรรค์ ที่อสูรตนหนึ่งชื่อ "นนทุก" ที่มีหน้าที่ล้างเท้าให้เทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร แกก็เกิดไปฟ้องพระอิศวรว่าแกเจ็บช้ำน้ำใจเหลือเกินที่ถูกพวกเทวดาที่มาเข้า เฝ้า หยอกแกล้งลูบหัวลูบหูจนแกถึงกับหัวล้านไปหมด
    พระอิศวรก็เป็นเทพใจป้ำ ประมาณว่าพี่นี้มีแต่ให้ ใครขออะไรให้แหลก ท่านก็เลยประทานนิ้วเพชรไปให้ นิ้วอะไรก็ไม่รู้ ชี้ใครเป็นตายหมด
    พอ อสูรนนทุก ได้ไปก็เลยสนุกสนานใหญ่ เที่ยวไล่ชี้เทวดาบนสวรรค์ตายกันระเนระนาด ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องมาปราบ ด้วยการแปลงกายเป็นนางอัปสรมาหลอกให้ อสูรนนทุก ฟ้อนรำตามจนเผลอชี้นิ้วเข้าตัวเองเข้าให้ แต่ก่อนจะสิ้นใจตาย ก็เห็นนางอัปสรก็คืนร่างเป็นพระนารายณ์มีสี่แขนสี่มือ เจ้าอสูรนนทุกก็เลยรู้ว่าเป็นพระนารายณ์แปลงมา
    แต่ก็ยังไม่วายปรามาสว่าพระ นารายณ์มีตั้งสี่แขนสี่มือ ใครมันจะไปสู้ได้ พระนารายณ์ก็เลยบอกสบายมากน้อง ยอมให้มีนัดล้างตา แถมต่อให้ อสูรนนทุก แกมียี่สิบแขนยี่สิบมือ เดี๋ยวจะเป็นแค่มนุษย์มีแต่สองมือนี่แหละไปปราบให้ดูเป็นขวัญตา แล้วก็เลยเป็นเรื่องรามเกียรติ์ยาวเหยียดว่าด้วยการอวตารของพระนารายณ์มา ปราบยักษ์ทศกัณฐ์

    <hr>
    [​IMG]
    การที่เลือกเรื่องรามเกียรติ์มาวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นวัดในพระบรมมหาราชวังนี่ก็มีที่มาที่ไปเหมือนกัน
    เพราะจากความเชื่อของเราที่ว่าพระมหากษัตริย์นั้น ทรงเป็นพระนารายณ์อวตารลงมาปราบทุกข์เข็ญอย่างเดียวกับพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ เพราะงั้นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องของใครอื่น แต่เป็นเรื่องราวพระราชประวัติของพระมหากษัตริย์นั่นเอง

    <hr>
    [​IMG]
    ระหว่างเดินดูภาพจิตรกรรม ตามซุ้มประตูทางเข้าออกที่เดินผ่าน จะวาดภาพยักษ์และสัตว์หิมพานต์พร้อมระบุชื่อเอาไว้ด้วย ฉะนั้นใครสนใจว่าเจ้าสัตว์หิมพานต์ที่อยู่บนฐานไพทีที่เพิ่งไปชมมามีชื่อ เสียงเรียงนามอะไรกันบ้างก็มาเดินดูเฉลยได้

    <hr>
    [​IMG]
    ถ้าเราเดินชมภาพรามเกียรติ์ตอนแรกไล่มาเรื่อย ๆ สักหน่อยเราจะเห็นพระปรางค์ตั้งอยู่ พระปรางค์นี้มีอยู่ทั้งสิ้น 8 องค์ บางองค์อยู่ภายในระเบียงคด แต่บางองค์ก็อยู่ด้านนอกต้องเดินออกประตูไปชม
    พระปรางค์เหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยโปรดฯ ให้สร้างขึ้นอุทิศถวายแด่ปูชนียบุคคลและวัตถุในพุทธศาสนา ถ้าไล่ตามลำดับจากด้านทิศเหนือไปใต้ หรือเริ่มจากด้านที่ใกล้กับสนามหลวงลงไป ก็คือ
    1. พระสัมมาสัมพุทธมหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระพุทธองค์
    2. พระสัมธัมปริยัติวรามหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระธรรม
    3. พระอริยสงคสาวกมหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระสงฆ์
    4. พระอริยสาวิกภิกสุนีสังคมมหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระภิกษุณี
    5. พระปัจเจกโพธิสัมพุทธมหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระปัจเจกโพธิ คือบรรดาพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วแต่ไม่มีอุปนิสัยที่จะสั่งสอนผู้อื่น
    6. บรมจักรวรรดิราชามหาเจดีย์ อุทิศถวายพระมหาจักรพรรดิ์
    7. พระโพธิสัตวกฤาฎามหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่บรรดาพระโพธิสัตว์
    8. พระศรีอริยเมตตะมหาเจดีย์ อุทิศถวายแด่พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย ผู้จะลงมาตรัสรู้ในอนาคต

    <hr>
    [​IMG]
    เมื่อเดินต่อมาเราจะพบ หอพระคันธารราฐ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางคันธารราฐหรือที่เรียกว่าปางขอฝน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวายกเสมอพระอุระเป็นกิริยากวักเรียกเม็ดฝน พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเพลา (ตัก) แบหงายรับน้ำฝน พระพุทธรูปนี้จะนำออกมาในพระราชพิธีแรกนาขวัญและพิธีพิรุณศาสตร์
    เหตุที่เรียกปางนี้ว่าคันธารราฐ ก็เพราะเป็นปางที่สร้างขึ้นในเมืองคันธาระ ราว พ.ศ. 600 ซึ่งที่นี่นับเป็นที่แรกที่มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะชาวกรีกที่มาในกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้มายึดเมืองนี้เอาไว้ แล้วต่อมาได้หันมานับถือพุทธศาสนา ก็เลยคิดทำพระพุทธรูปขึ้นมาเหมือนกับที่ตัวเคยมีเทวรูปของบรรดาเทพเจ้ากรี กไว้บูชา

    <hr>
    [​IMG]
    รู้จักวัดระฆังกันใช่มั้ยเอ่ย นี่แหละที่มาของชื่อวัดระฆัง เอ๊ะ เที่ยววัดพระแก้วอยู่ดี ๆ เอาไปปนกับวัดระฆังได้ไง
    หอระฆัง ที่เห็นนี้แขวนระฆังซึ่งขุดพบที่วัดระฆังใน สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นระฆังที่มีเสียงไพเราะมาก วัดระฆังก็เลยได้ชื่อตามระฆังที่ขุดพบนี้ เมื่อรัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้นำมาไว้ที่วัดพระแก้ว ก็เลยพระราชทานระฆังอื่น 5 ใบไปแทนซึ่งเราจะยังเห็นอยู่ที่หอระฆังวัดระฆัง




     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    พักเหนื่อยแล้วมาเที่ยวต่อซะดีๆ

    [​IMG]
    เอาล่ะ มาถึงนี่แล้วเรียกว่าเราชมวัดพระแก้วกันครบรอบแล้วก็ครบถ้วนแล้ว
    เมื่อเดินออกจากส่วนของวัดพระแก้วแล้ว พอพ้นประตูออกมาทางด้านซ้ายมือเราจะพบ พระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่ 6) สำหรับใช้เป็นที่ประทับเมื่อจบการศึกษาจากอังกฤษ
    ในสมัยต่อมาทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 8 ก็ได้มาประทับที่พระที่นั่งองค์นี้ในเวลาก่อนที่จะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ด้วย
    ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้โปรดฯ ให้จัดเป็นที่พักรับรองแก่พระราชอาคันตุกะระดับประมุขของประเทศหรือเป็นพระ ราชวงศ์ชั้นสูง ซึ่งสมเด็จพระราชินีอาลิซาเบทที่ 2 แห่งอังกฤษ ในคราวที่เสด็จฯ เยือนประเทศไทยก็ได้ประทับที่พระที่นั่งบรมพิมานแห่งนี้

    <hr>
    [​IMG]
    ก่อนจะไปไหนกันต่อ เดินมากันเหนื่อยแล้วตรงนี้มีซุ้มขายเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นน้ำผลไม้โครงการหลวงเย็น ๆ ให้เราได้แวะดื่มเพื่อเรียกความสดชื่น สำหรับจะเดินเที่ยวชมพระบรมมหาราชวังกันต่อ สนนราคาขวดละ 20 บาท
    <hr>
    [​IMG]
    ดื่มน้ำพอหายเหนื่อยกันแล้ว เดินมาต่อทางด้านซ้ายมือเราจะพบ หมู่พระมหามณเฑียร ซึ่งเป็นหมู่พระที่นั่งที่มีความสำคัญและน่าสนใจมาก เพราะเป็นหมู่พระที่นั่งที่สร้างขึ้นตั้งแต่ที่เริ่มการสร้างพระราชวัง และเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายรัชกาลต่อมา

    <hr>
    [​IMG]
    แม้ปัจจุบันพระบรมมหาราชวังจะไม่ได้ใช้เป็นที่ประทับ แต่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าอยู่หัวนั้น จะทรงประทับค้างอย่างน้อย 1 คืนในพระมหามณเฑียรนี้ ที่เรียกกันว่า พระราชพิธีเฉลิมพระมณเฑียร
    ที่เรียกว่า "หมู่พระมหามณเฑียร" ก็เพราะประกอบไปด้วยพระที่นั่ง 7 องค์ด้วยกัน แต่มีที่สำคัญที่จะเล่าให้ฟังก็มีอยู่ 3 องค์คือพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย
    โดยพระที่นั่งทั้ง 3 องค์นี้จะสร้างต่อเนื่องเชื่อมกัน โดยองค์ในสุดเป็น พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ซึ่งเป็นเป็นที่บรรทมของพระมหากษัตริย์และที่เก็บเครื่องราชกกุธภัณฑ์ หรือถ้าจะเรียกอย่างสามัญแล้วพระที่นั่งองค์นี้ก็คือส่วนของห้องนอน
    ตอนกลางจะเป็น พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นโถงยาวซึ่งเปรียบได้กับห้องนั่งเล่น สำหรับทรงใช้สำราญพระอิริยาบทกับให้ฝ่ายในได้เข้าเฝ้า นอกจากนั้นภายในพระที่นั่งองค์นี้ยังประดิษฐาน พระสยามเทวาธิราช ซึ่ง เป็นเทวรูปที่รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างขึ้นสำหรับบูชา เนื่องจากทรงเห็นว่าสยามได้แคล้วคลาดจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ มาหลายครั้งชะรอยจะมีเทวดาคอยปกปักคุ้มครองอยู่
    สำหรับพระที่นั่งองค์นอกสุดคือ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นห้องรับแขก เพราะเป็นท้องพระโรงซึ่งพระมหากษัตริย์จะเสด็จออกว่าราชการที่นี่ และเป็นพระที่นั่งองค์เดียวในหมู่พระมหามณเฑียรที่เราสามารถเข้าไปชมได้ แต่ก็เปิดเฉพาะในวันราชการเท่านั้น ถ้ามาวันเสาร์อาทิตย์ก็คงจะอดชมกัน
    ด้านในของพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยเนี่ย ถึงจะได้เข้าแต่ก็ไม่มีรูปมาฝากเพราะเขาห้ามถ่ายรูป แต่เล่าไว้เผื่อใครจะได้เข้าไปดู คือความที่เป็นท้องพระโรงก็จะเป็นห้องโถงโล่ง ด้านในจะมีพระราชบัลลังค์ที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จออกว่าราชการ ซึ่งเดี๋ยวนี้มีอยู่สององค์ด้วยกัน ถ้าเป็นสมัยรัชกาลที่ 1 และที่ 2 เสด็จออก พระที่นั่งบุษบกมาลา ที่เดี๋ยวนี้จะทอดอยู่ทางด้านหลัง ส่วนด้านหน้าจะเป็นพระราชบัลลังค์อีกองค์หนึ่งคือ พระแท่นเศวตฉัตร ซึ่ง ถ้าเราได้เห็นคงคุ้นตากันจากพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ขณะประทับ ณ พระแท่นเศวตฉัตรนี้ในคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอยู่ด้วย
    ปัจจุบันพระที่นั่งองค์นี้ยังใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ อย่างพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ
    ส่วนนี้ถึงจะเล่ามายาวมากแล้ว แต่อดเล่าต่ออีกนิดไม่ได้ว่า ถ้ามีโอกาสอยากให้ได้แวะไปชม พระที่นั่งบุษบกมาลา อีกองค์หนึ่งที่เป็นฝีมือของช่างวังหน้า พระที่นั่งองค์นี้งามนักงามหนา และถึงจะเป็นงานไม้แกะสลักแต่ไปจ้องดูสักพักก็เห็นเหมือนเป็นเปลวไฟกำลัง เต้นระยิบเลยทีเดียว พระที่นั่งองค์ที่ว่านี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ที่จริงก็คือวังหน้าเดิมนั่นแหละ)

    <hr>
    [​IMG]
    ออกจากพระที่นั่งมาแล้วอย่าเพิ่งเดินตรงออกไปที่เดิมครับ ให้เลี้ยวซ้ายมาทางลานด้านข้างก่อน ตรงมุขกระสันระหว่างพระที่นั่งไพศาลทักษิณกับหอพระธาตุมณเฑียร มีช่องพระบัญชร (หน้าต่าง) เรียกว่า สีหบัญชร
    ที่สีหบัญชรนี้เองที่รัชกาลที่ 1 ได้ทรงใช้สำหรับออกขุนนางว่าราชการอยู่ในช่วงปลายรัชกาล ที่พระองค์ทรงพระประชวรกับทรงพระชราภาพแล้ว แต่ยังทรงห่วงใยราชการบ้านเมืองอยู่ จึงได้ทรงย้ายมาประทับที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณซึ่งเป็นพระที่นั่งตอนกลาง และเสด็จออกขุนนางที่สีหบัญชรนี้แทน จนเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณนี้เอง
    ส่วนในรัชกาลอื่น ๆ ก็อาจใช้เสด็จออกสำหรับกรณีฉุกเฉินในยามวิกาลบ้าง

    <hr>
    [​IMG]
    พระที่นั่งองค์ที่เห็นอยู่ถัดมานั้นเรียกได้ว่าแทบไม่ต้องแนะนำกันว่าคือ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเพราะ ดูเหมือนใครต่อใครก็จะรู้จักพระที่นั่งองค์นี้กัน อาจเป็นเพราะมีสถาปัตยกรรมที่แปลกตา ทั้งยังตั้งอยู่ในทำเลที่ดี มีลานด้านหน้าพระที่นั่งที่ยิ่งทำให้พระที่นั่งดูโอ่อ่าสง่างาม และแน่นอนว่าใครที่ได้มีโอกาสมาชมเป็นต้องชักภาพไว้เป็นที่ระลึกคู่กับพระ ที่นั่งองค์นี้กันทั้งนั้น
    พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเป็นอาคารแบบยุโรปสมัยสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย ส่วนหลังคาสร้างตามแบบไทยมียอดปราสาท 3 ยอด ว่ากันว่าเมื่อแรกสร้างนั้นมีขุนนางไทยเข้ามาเห็นถึงกับอุทานว่า "ฝรั่งใส่ชฏา" แต่ก็เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปะแบบยุโรปกับไทยได้อย่างสวยงาม
    โดยเฉพาะถ้าคำนึงว่าในสมัยรัชกาล ที่ 5 เป็นยุคที่อิทธิพลฝรั่งตะวันตกที่ออกแสวงหาอาณานิคมนั้นแรงมาก ดังนั้นการพัฒนาบ้านเมืองและแบบแผนประเพณีต่าง ๆ ให้ทันสมัยขึ้น รวมไปถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมขององค์พระที่นั่งที่สร้างขึ้นใหม่นั้น ก็น่าจะเป็นประโยชน์ที่สะท้อนให้ฝรั่งต่างชาติได้เห็นว่าไทยเราเป็นประเทศ ที่เจริญและมีอารยธรรม
    หากจะทำสนธิสัญญาตกลงกันอย่างใดแล้วก็ควรทำอย่างประเทศที่เจริญแล้วทำต่อกัน ไม่ใช่จะมากดขี่ด้วยเห็นว่าเราเป็นประเทศล้าหลัง
    ซึ่งตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ท่านก็เคยโปรดให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ไว้สำหรับจัดเก็บ โบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทยซึ่งนับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไทย เมื่อมีทูตานุทูตจากต่างประเทศเข้ามาก็มักจะโปรดนำชมพิพิธภัณฑ์นี้ สำหรับจะให้เห็นว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเก่าแก่มีความเจริญมาช้านานแล้ว

    <hr>
    [​IMG]
    สำหรับพระที่นั่งจักรีฯ นี้ชั้นบนสุดใช้สำหรับประดิษฐานพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 4 มาจนถึงรัชกาลที่ 8 ตลอดจนพระอัฐิของพระมเหสีและพระบรมวงศานุวงศ์อื่น ส่วนชั้นกลางเป็นท้องพระโรงและห้องสำหรับรับแขก

    <hr>
    [​IMG]
    สำหรับชั้นล่างนี้ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องศาตราวุธต่าง ๆ ที่เราสามารถเข้าไปชมได้

    <hr>
    [​IMG]
    มาถึงตรงนี้แล้วส่วนมากก็มักจะเลี้ยวออกประตูที่อยู่หน้าพระที่นั่ง จักรีฯ กลับกันแล้ว แต่ขอบอกว่าอย่าเพิ่งกลับเพราะยังมีของดีให้ดูกันต่ออีก
    เดินถัดมาจากพระที่นั่งจักรีฯ มาจะมีพระที่นั่งองค์ย่อมอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท เป็นพระที่นั่งสำหรับประทับทรงพระราชยาน หน้าบันมีรูปพระอินทร์ประทับยืนเหนือพระแท่น
    พระที่นั่งองค์นี้สำหรับผู้รู้ ศิลปะไทย จะกล่าวยกย่องว่ามีทรวดทรงได้ส่วนงดงามมาก ถึงกับมีการจำลองไปสร้างไว้ที่พระราชวังบางปะอินอีกองค์หนึ่งด้วย ถ้าเราไปเห็นพระที่นั่งกลางน้ำที่พระราชวังบางปะอินก็ลองเทียบดูว่าเหมือนกันหรือไม่

    <hr>
    [​IMG]
    เดินออกประตูมาเราจะพบพระที่นั่งที่สำคัญอีกองค์หนึ่งคือ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งใครได้มีโอกาสไปถวายบังคมพระบรมศพสมเด็จย่าก็คงจะได้เคยเข้าไปในพระที่ นั่งนี้กันมาแล้ว แต่ถ้าใครอยากจะเข้าไปชมคงจะต้องมาในวันธรรมดาที่จะเปิดให้เข้าชมได้
    ภายในมีศิลปะวัตถุชิ้นเอกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 คือพระแท่นราชบัลลังก์ประทับมุก และพระแท่นบรรจถรณ์ประดับมุก แต่สำหรับใครที่มาในวันเสาร์อาทิตย์ก็คงได้ชมเฉพาะภายนอกแต่แค่ภายนอกก็งามนักแล้ว
    พระที่นั่งองค์นี้สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่ไม่ใช่ปราสาทองค์แรกที่สร้างขึ้น เพราะปราสาทองค์แรกนั้นชื่อ พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของรัชกาลที่ 1 โดยถอดแบบมาจากพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทในพระราชวังกรุงเก่า
    แต่ต่อมา พระที่นั่งอมรินทราภิเษกฯ ถูกฟ้าผ่าไฟไหม้หมดทั้งองค์ รัชกาลที่ 1 จึงได้โปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในที่เดิมแต่เปลี่ยนแบบไปเป็นทรงจตุรมุข คือที่มุขทั้ง 4 ด้านที่ยาวเท่ากันหมด ต่างจากพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทที่จะมีมุขด้านหนึ่งยาวออกไป บางคนอาจจะได้เคยเห็นว่าพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทเป็นยังไง เพราะที่เมืองโบราณมีสร้างจำลองไว้

    <hr>
    [​IMG]
    กลับมาที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท หน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ที่แปลกคือหางหงส์ทำเป็นนาค 3 เศียรซ้อนติดกันเป็นแผง เรียกว่า นาคเบือน

    <hr>
    [​IMG]
    มุขด้านหน้าทางทิศเหนือมี มุขเด็จ ซึ่งประดิษฐานพระที่ นั่งบุษบกมาลา สำหรับออกมหาสมาคมหรือให้ประชาชนเฝ้าฯ ซึ่งในครั้งหลังสุดนั้นรัชกาลที่ 6 เมื่อบรมราชาภิเษกได้เสด็จออกประทับที่มุขเด็จนี้ ให้เจ้าเมืองประเทศราช ทูตานุทูต ข้าราชการต่าง ๆ ได้เฝ้าฯ

    <hr>
    [​IMG]
    เดินถัดมาจากพระที่นั่งดุสิตฯ ผ่านประตูมาแล้ว เลี้ยวขวามาจะเจอร้านเครื่องดื่มอีกที่ ใครเหนื่อยจะแวะนั่งพักดื่มน้ำดื่มท่าเข้าห้องน้ำได้ที่นี่ เห็นมีโต๊ะเก้าอี้อย่างดีไม่ต้องกลัวว่าจะแพง น้ำดื่มขวดละ 10 บาท กาแฟเย็นแก้วละ 15 บาทเท่านั้น ส่วนห้องน้ำคนละ 5 บาท แต่ไอศกรีมเจ้าหรูเห็นราคาแล้วต้องขอบาย

    <hr>
    [​IMG]
    พักหายเหนื่อยแล้วจะได้เข้าไปดู พิพิธภัณฑ์วัดพระแก้ว ที่อยู่ติดกันนี่ต่อ
    ภายในพิพิธภัณฑ์วัดพระแก้วได้เก็บโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในวัดพระแก้ว ซึ่งอาจจะชำรุดทรุดโทรมไปและได้ทำของใหม่ขึ้นแทนแล้ว ก็รวบรวมมาเก็บไว้ในที่เดียวกันนี้
    ซึ่งก็เป็นพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ที่ได้ทรงเป็นแม่กองในการบูรณะวัดพระแก้วเมื่อคราวฉลองกรุงเทพฯ ครบ 200 ปี ที่จะให้คนรุ่นต่อ ๆ ไปได้ชื่นชมกับของศิลปะวัตถุโบราณเก่าแก่ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้
    รวมทั้งใครที่อยากรู้ว่าที่เรียกกันว่าช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าตาเป็นอย่างไรก็มาดูได้ที่นี่ด้วย

    <hr>
    [​IMG]
    เอาล่ะทริปของเราคงจบแค่นี้ ถ้าใครจะถือโอกาสวันหยุดไหนมาชมวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง ก็สามารถมาได้ตั้งแต่ 8.00 - 16.00 น. สำหรับคนไทย และ 8.30 - 15.30 น. สำหรับชาวต่างประเทศ ส่วนที่ศาลหลักเมืองก็เปิดตั้งแต่ 05.30 - 19.30 น.
    ส่วนใครที่กลัวร้อนก็แนะนำว่าให้มาตั้งแต่เช้าเลย ก่อนที่จะมีทัวร์มากันเพียบซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการถ่ายรูปไปด้วย แต่ถ้าเป็นช่วงบ่ายคนจะน้อยหน่อย สะดวกแก่การถ่ายรูป แต่อุณหภูมิของอากาศก็อาจทำให้เหนื่อยอ่อนไปทีเดียว ทางที่ดีไม่ว่ามาช่วงไหนเตรียมหมวกเตรียมร่มมาหน่อยก็ดี


    เดิน เที่ยวกันมาเหนื่อยอ่อนแล้ว ต้องหาที่เติมพลังกันเสียหน่อย ย่านหน้าพระลานกับท่าช้างที่อยู่ใกล้ๆ ก็อุดมไปด้วยร้านอาหาร บรรยากาศหน้าตาเป็นยังไงลองมาชมกันดู

    [​IMG]
    ร้านแรกนี่เดินข้ามถนนหน้าพระลานมาก็เจอเลย เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาที่ไปชิมมาแล้วใช้ได้เลย ราคาก็ปกติทั่วไป แต่ที่ชอบมากคือบรรยากาศแบบร้านคนจีนเก่าแก่เลย

    <hr>
    [​IMG]
    ถัดออกไปหน่อยเดียว เหมาะสำหรับใครที่อยากจิบเบียร์เย็น ๆ คลายร้อน ส่วนราคาอาหารจานเดียวตกอยู่จานละ 45 บาท ในบรรยากาศห้องแอร์เย็นสบาย ถ้ามาช่วงเย็น ๆ ล่ะก้อจะมีโต๊ะกางให้นั่งรับลมจิบเบียร์กันบนฟุตบาทเลยทีเดียว

    <hr>
    [​IMG]
    ส่วนอีกร้านใกล้ ๆ กันคือร้านมิ่งหลี ซึ่งมีชื่อเสียงเก่าแก่มานานโดยเฉพาะสำหรับชาวศิลปากร

    <hr>
    [​IMG]
    หรือถ้าเดินมาแถว ๆ ท่าช้างก็จะมีร้านอาหารให้เลือกอีกเยอะ และหลายร้านก็ติดตราเชลล์ชวนชิมเอาไว้ด้วย

    <hr>
    [​IMG]
    ใครชอบบรรยากาศโล่งโปร่งสบายได้สัมผัสสายลมแสงแดด ร้านบนลานหน้าท่าช้างก็มีเปิดให้บริการหลายต่อหลายร้าน

    <hr>
    [​IMG]
    ส่วนบรรยากาศหรูในห้องแอร์เย็นสบายก็หาได้ที่ร้านศรีประดู่ติดกับท่าช้างนั่นเอง เป็นร้านของทางสโมสรทหารเรือเขา

    <hr>
    [​IMG]
    ถ้าอยากรับลมริมแม่น้ำเขาก็มีส่วนของร้านริมแม่น้ำเอาไว้ด้วย ถึงจะเป็นสโมสรของทหารเรือเขาแต่ก็ยินดีต้อนรับประชาชนทั่วไปด้วย เพียงแต่ขอให้แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นชุดที่แต่งไปชมพระบรมมหาราชวังได้ก็รับรองว่าไม่มีปัญหา

    <hr>
    การเดินทาง
    รถยนต์
    ในย่านนี้หาที่จอดรถยากไม่แนะนำให้ใช้รถส่วนตัว ใช้บริการสาธารณะมาจะสะดวกที่สุด แต่ถ้าเอารถมาก็มีบริการที่จอดรถอยู่ แต่ต้องเผื่อใจหากที่จอดเต็ม

    • วัดมหาธาตุ ค่าจอดรถชั่วโมงละ 20 บาท
    • ท่ามหาราช ค่าจอดรถชั่วโมงละ 30 บาท
    • ข้างศาลหลักเมือง
    รถเมล์
    หารถเมล์นั่งมาลงที่สนามหลวงแล้วเดินมาที่ศาลหลักเมืองได้เลย สนามหลวงเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของสายรถเมล์มีรถเมล์ผ่านหลายสายมาก
    ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมลองสอบถามเส้นทางรถเมล์ได้จาก โทร. 184
    เรือด่วนเจ้าพระยา

    [​IMG]
    มาแถวสนามหลวงอย่างนี้ แนะนำว่าน่าจะมาด้วยเรือด่วนเจ้าพระยาเพราะไม่ต้องเบื่อกับการจราจรที่ติด ขัด แล้วยังไม่ต้องพะวงกับการหาที่จอดรถที่หาได้ค่อนข้างยากในย่านนี้ แถมยังได้นั่งกินลมชมวิวสองข้างแม่น้ำมาเสียด้วย เรียกว่าเริ่มเที่ยวได้ตั้งแต่ออกเดินทาง

    [​IMG]
    วิธีมาใช้เรือด่วนก็สะดวกมาก สำหรับใครที่ไม่คุ้นอาจจะอาศัยรถไฟฟ้าบีทีเอสมาที่สถานีสะพานตากสินจากนั้นก็ใช้ทางออกหมายเลข 2 มาลงเรือที่ท่าเรือสาทร ใช้เรือด่วนที่หันหัวไปทางขวามือ แล้วไปขึ้นที่ท่าช้าง
    ค่าโดยสารถึงท่าช้างก็คนละ 11 บาท แต่ถ้าเป็นเรือติดธงสีส้มจะจอดเฉพาะท่าใหญ่ ๆ ซึ่งรวมถึงท่าช้างด้วย ค่าโดยสารจะ 13 บาทตลอดสาย ส่วนเรือติดธงฟ้า เป็นเรือท่องเที่ยว ค่าโดยสาร 18 บาท เป็นเรือขนาดใหญ่นั่งสบาย คนไม่เยอะ ต้นทางจะออกจากท่าสาทรทุกครึ่งชั่วโมงตั้งแต่ 09.30 - 15.00 น. แล่นไปสุดสายที่ท่าบางลำพู​

    [​IMG]
    ขึ้นจากเรือที่ท่าช้างแล้วเดินตรงมาอีกหน่อยก็ถึงแล้ว


    อ่านแล้ว ดูรูปแล้ว อย่าลืมมาเี่ที่ยวกันบ้างล่ะ แล้วอย่าลืมพวงมาลัยดอกมะลิอุบะร้อยด้วยดอกจำปี นำมาไหว้องค์พระแก้วมรกตด้วย มีคนตาดีบอกว่าท่านชอบมาก ใครใช้พวงมาลัยดอกมะลิที่มีอุบะเป็นดอกจำปีท่านจะโปรดมากกว่าคนอื่นๆ แบบว่าขออะไรก็ถูกใจแล้วนี่ น่าจะสมหวังมากกว่าผิดหวัง บางทีตอนกราบท่าน ๆ อาจจะมายืนอยู่ข้างๆ เราแล้วก็ได้นา... จะบอกให้



    ขอขอบคุณ
    www.thaiweekender.com


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2009
  19. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ธรรม ดีๆ จาก พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทฺธิเถร ป.ธ.๙)

    พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทฺธิเถร ป.ธ.๙) ชุดที่ 4 (February 22, 2009)


    <TABLE class=fileFormats id=ff2 style="WIDTH: 640px"><TBODY><TR class=odd><TD class=ttl>001 วิปัสสนาต่างจากสมถะตรงไหน</TD><TD></TD><TD>12 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>002 คำว่า (หนอ) มาจากไหน</TD><TD></TD><TD>10 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>003 ไขปัญหาได้ยินหนอไม่มีโยนิโสมนสิการ</TD><TD></TD><TD>13 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>004 สอนเดินจงกรม 6 ระยะ</TD><TD></TD><TD>10 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>005 สติปัฏฐาน 4</TD><TD></TD><TD>11 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>006 อริยะสัจจ์ 4</TD><TD></TD><TD>9.46 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>007 โพชฌงค์ 7</TD><TD></TD><TD>11 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>008 ปฏิจจสมุปบาท</TD><TD></TD><TD>13 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>009 สิ่งที่ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง</TD><TD></TD><TD>13 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>010 เทศน์ลำดับญาณ 1 - 1</TD><TD></TD><TD>14 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>011 เทศน์ลำดับญาณ 1 - 2</TD><TD></TD><TD>12 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>012 เทศน์ลำดับญาณ 1 - 3</TD><TD></TD><TD>2.92 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>013 เทศน์ลำดับญาณ 2 - 1</TD><TD></TD><TD>2.66 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>014 เทศน์ลำดับญาณ 2 - 2</TD><TD></TD><TD>11 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>015 เทศน์ลำดับญาณ 2 - 3</TD><TD></TD><TD>13 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>016 เทศน์ลำดับญาณ 2 - 4</TD><TD></TD><TD>8.35 MB</TD><TD></TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>001 วิปัสสนาต่างจากสมถะตรงไหน</TD><TD></TD><TD></TD><TD>23 MB</TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>002 คำว่า (หนอ) มาจากไหน</TD><TD></TD><TD></TD><TD>21 MB</TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>003 ไขปัญหาได้ยินหนอไม่มีโยนิโสมนสิการ</TD><TD></TD><TD></TD><TD>25 MB</TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>004 สอนเดินจงกรม 6 ระยะ</TD><TD></TD><TD></TD><TD>21 MB</TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>005 สติปัฏฐาน 4</TD><TD></TD><TD></TD><TD>23 MB</TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>006 อริยะสัจจ์ 4</TD><TD></TD><TD></TD><TD>19 MB</TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>007 โพชฌงค์ 7</TD><TD></TD><TD></TD><TD>22 MB</TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>008 ปฏิจจสมุปบาท</TD><TD></TD><TD></TD><TD>26 MB</TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>009 สิ่งที่ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง</TD><TD></TD><TD></TD><TD>25 MB</TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>010 เทศน์ลำดับญาณ 1 - 1</TD><TD></TD><TD></TD><TD>27 MB</TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>011 เทศน์ลำดับญาณ 1 - 2</TD><TD></TD><TD></TD><TD>24 MB</TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>012 เทศน์ลำดับญาณ 1 - 3</TD><TD></TD><TD></TD><TD>5.84 MB</TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>013 เทศน์ลำดับญาณ 2 - 1</TD><TD></TD><TD></TD><TD>5.31 MB</TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>014 เทศน์ลำดับญาณ 2 - 2</TD><TD></TD><TD></TD><TD>22 MB</TD></TR><TR class=odd><TD class=ttl>015 เทศน์ลำดับญาณ 2 - 3</TD><TD></TD><TD></TD><TD>27 MB</TD></TR><TR class=eve><TD class=ttl>016 เทศน์ลำดับญาณ 2 - 4</TD><TD></TD><TD></TD><TD>17 MB</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอบขอบคุณ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    --------------------------------------

    Internet Archive: Free Download: พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทฺธิเถร ป.ธ.๙) ชุดที่ 4

    อัพโหลดแปลงไฟล์
    โจโฉ

    ได้แผ่นมาจาก
    คุณปริญญา บุญกิจสมบัติ

    อนุโมทนาด้วยครับ
    --------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2009
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    เมื่อวานได้ดำเนินการทยอยโอนเงินผ่านทางบัญชีธนาคาร และส่งไปรษณีย์ธนาณัติไปบางส่วนแล้ว จึงขอนำหลักฐานการโอนมาประชาสัมพันธ์ให้ทราบดังนี้

    1. ไปรษณีย์ธนาณัติ
    - รพ.ยุพราชปัว 8,000.-
    - รพ.50 พรรษาฯ 5,000.-

    2. โอนผ่านบัญชีธนาคาร
    - รพ.แม่สอด ผ่านธ.กรุงไทย 6,000.-
    - รพ.มหาราช ผ่าน ธ.ไทยพาณิชย์ 5,000.-
    - รพ.สงขลา ผ่าน ธ.ไทยพาณิชย์ 8,000.-
    - รพ.ศรีนครินทร์ โอนเข้ากองทุนหลวงปู่เทสก์
    ผ่าน ธ.ไทยพาณิชย์ 8,000.-
    - รพ.ยุพราชด่านซ้าย ผ่าน ธ.กสิกรไทย 5,000.-

    จึงขอแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน ส่วนของ รพ.ปัตตานี เนื่องจากในช่วงนี้ ผอ.รพ. ติดราชการ ยังไม่ได้ลงนามอนุมัติการเปิดบัญชีสำหรับทุนนิธิฯ ไว้ให้ แต่คาดว่าหลังจากท่านกลับจากราชการในสัปดาห์หน้าแล้ว จะได้เลขบัญชีมา ผมถึงจะโอนเงินให้ ส่วนการบริจาคเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลอาการอาพาธของหลวงปู่ครูบาดวงดีนั้น หลังจากเสร็จงานกิจกรรมประจำเดือนนี้ ที่ รพ.สงฆ์แล้ว ในช่วงเวลาประมาณ 10.30 น.ผมและคณะกรรมการทุนนิธิฯ จะถือโอกาสไปกราบเยี่ยมหลวงปู่ฯ และมอบเงินช่วยเหลือให้แก่พระอุปัฏฐากท่านที่ รพ.บำรุงราษฏร์ด้วยตนเอง และจะได้ถ่ายรูปมาให้พวกเราได้อนุโมทนาและสาธุบุญกันครับ

    พันวฤทธิ์
    18/11/52


    [​IMG]

    รพ.ยุพราชปัวและรพ.50 พรรษาฯ

    [​IMG]

    รพ.สงขลาและรพ.ศรีนครินทร์ (โอนเข้ากองทุนหลวงปู่เทสก์)

    [​IMG]

    รพ.มหาราชและรพ.แม่สอด

    [​IMG]


    รพ.ยุพราชด่านซ้าย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...