ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ไม่ทราบว่าจะขอความช่วยเหลือจากใครได้บ้างเอ่ย

    คือเป็นสิ่งที่ค้นหามานานแล้ว กล่าวคือเจดีย์องค์เล็กสุด

    ที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ)นั้น มีใครทราบบ้างว่าผู้ใด หรือ

    พระองค์ใดเป็นผู้นำพระอัฐิของพระนางรัตนมณี หรือแม้แต่

    พระนางมณีจันทร์ (ในกรณีที่มีอัฐิจริง เพราะตอนนี้เป็นเพียง

    มีการสัมผัสว่ามีพระอัฐิเท่านั้น)

    ถ้าสามารถหาพงศาวดารในเรื่องนี้ได้

    จะเป็นพระคุณอย่างสูงต่อทางสายธาตุค่ะ

    ขออนุโมทนาล่วงหน้าค่ะ

    อ้าว ความเห็นข้างบนยังอยู่ ตอนแรกหายไป จึงเขียนใหม่อีกความเห็น
    ขอโทษนะคะ อาจจะเนื้อหาซ้ำกันบางส่วนนะคะ


    เรื่องราวของรูปปั้นเจ้าหญิงอยุธยา อ่านเจอข้อมูลในเว็ปไซด์ วิชาการดอทคอม น่าสนใจ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  2. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ในชั้นต้นจะไม่ลองสอบถามจากท่านผู้รู้ ณ ที่นั้นดูก่อนเล่าครับ
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ย้อนรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา

    คัดมาจากหนังสือ .. "ย้อนรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา"
    .. เขียนโดย หลวงปู่โง่น โสรโย (หน้า 1-6)


    พระตำนานของพระนางสุพรรณกัลยา


    [​IMG]

    อันเรื่องราวที่กล่าวถึงพระประวัติของพระนางสุพรรณกัลยาที่จะบรรยายต่อไปนี้ เป็นเรื่องข้าพเจ้าได้สัมผัส มาจากทางฝันโดยบังเอิญ และจากเกร็ดพงศาวดารที่คนต่างชาติ คือ พม่าเขาเขียนเอาไว้ก็ไม่มากนัก น้ำหนักก็อยู่ที่เรื่อง พระนางเลี้ยงน้อง และปกครองคนไทย เอาใจใส่พวกชาติเดียวกันเท่านั้นท่านผู้อ่าน ท่านผู้ฟัง ถ้าท่านไม่ทำใจให้เปิดกว้างพอ พอที่จะรับฟังเหตุผล ก็คงจะนึกว่าเรื่องนี้มันเป็น impossible หรือ unbelievable นี่หว่า แต่เรื่องนี้มันก็เป็นไปแล้ว และก็น่าเชื่อถือ เพราะหลักฐานที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ก็ได้มาปรากฏ ดังที่จะได้กล่าวต่อไป


    เมื่อปี พ.ศ. 2490ประเทศสหภาพพม่า ได้รับการปลดปล่อย จากการเป็นเมืองขึ้น ของมหาอำนาจตะวันตก เขายกพม่าให้ปกครองตัวเอง เป็นเอกราช ข้าพเจ้าได้ถูกเชิญ (ถูกนิมนต์) จาก ท่านมหาปีตะโกภิกษุ ท่านเป็นพระมหาเถระ ที่คงแก่เรียนทางธรรม ท่านเรียนจบพระไตรปิฏกทางโลก ท่านจบมหาบัณฑิต สาขา Philosophy จากอ๊อกฟอร์ดลอนดอน ในสมัยที่เราอยู่ร่วมกัน ที่ประเทศอังกฤษ บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน อยู่ที่เมืองหงสาวดีคือ เมืองพะโค อยู่ทางทิศเหนือของกรุงแรงกุน (เมืองย่างกุ้ง) ท่านได้นิมนต์ให้ข้าพเจ้าไปช่วยงาน ด้านปติมากรรม คือเป็นช่างเขียนฝาผนัง
    ซ่อมแซมรูปลายฝาผนังที่ชำรุดให้ดีขึ้น อันการปรารภเรื่องติดต่อกันในต่างประเทศ ข้าพเจ้าเองก็แบ่งรับแบ่งสู้ อย่างไรก็ขอให้ได้กลับเมืองไทยก่อน



    [​IMG]


    พอมาถึงเมืองไทย ได้รับความดลใจ ในคำสั่งของตุ๊เจ้าครูบาศรีวิชัยในทางฝันจึงได้ออกเดินทางไป ดังที่จะกล่าวไว้ในตอนตามรอยกรรม ในระยะที่ข้าพเจ้าไปอยู่นั้นก็เกิดเรื่อง ที่พระภิกษุสงฆ์ในประเทศพม่าซึ่งประกาศไม่พอใจ ในนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวเรื่องสมณศักดิ์ คือเขาจะยกฐานะห้พระสงฆ์พม่า มีสมณศักดิ์เหมือนพระสงฆ์ไทย พระสงฆ์ทั่วระเทศไม่พอใจ ในเรื่องลาภยศ จึงก่อเหตุเดินขบวนต่อต้าน ฐจึงจำเป็นต้องยกธงขาวยอมแพ้ อนุโลมตามความต้องการ องพระสงฆ์ทุกอย่างเรื่องก็จบ เท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยเห็นมา
    ก็มีพระสงฆ์อยู่สองประเทศ คือ พระสงฆ์พม่า และศรีลังกา
    พระคุณท่านมีอำนาจในทางการเมือง เล่นการเมืองได้ สมัครเป็นผู้แทนได้ เข้าไปนั่งประชุมในสภาได้ เพราะพระคุณท่านไม่ยี่หระ ที่จะยอมรับเงินรับสินบน ค่าเงินเดือน เป็นค่าจ้าง เป็นพระลูกจ้าง อันเป็นค่านิยพัต ค่าตาลปัตพัดยศจากรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นลูกจ้างจากทางรัฐ เขาไม่ยี่หระเหมือนพระสงฆ์ไทย อันเรื่องที่พระหม่องเดินขบวน ก็จบลงไปแล้ว
    แต่ข้าพเจ้าสิ โดนข้อกล่าวหาอย่างหนักว่า ความวุ่นวาย
    ของพระสงฆ์เมียนม่าที่ผ่านมานั้น มีข้าพเจ้าอยู่เบื้องหลัง
    เพราะข้าพเจ้าไปเดินกับเขาด้วย และเป็นนายทุนสนับสนุน
    ในเรื่องค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เราใช้ทรัพย์ส่วนตัวไปราวห้าหมื่น

    แต่ก็ยังโชคดีที่ระยะนั้น มหาอำนาจตะวันตก ผู้ปกครองเขายังไม่ว่า อันเรื่องพระสงฆ์องค์เจ้า อังกฤษเขาไม่เอามายุ่งด้วย และผู้หลักผู้ใหญ่ของอังกฤษ ก็รู้จักกับเราดี เขาจึงเพียงกักสถานที่ ให้เราอยู่ในบริเวณ ของกระท่อมของเรานั้นเอง ซึ่งก็มีเพื่อนรักคือ อ้ายเจ้าเก่ง ภาษาพม่าเขาเรียกสุนัขว่า คย คย ข้าพเจ้าก็ได้ถูกเรียกเป็น พ๊งจีคย คำว่าพระภิกษุภาษาพม่าเขาเรียกว่า พ๊งจี จึงเป็นพ๊งจีคยมาตลอด เพราะมีสุนัขเป็นเพื่อน เขากักขังบริเวณ ไว้สอบสวน 15 วัน และอาศัยพระสงฆ์ คือพ๊งจีของพม่าช่วยไว้ ชีวิตหนอชีวิต อันการตกเป็นผู้ต้องหาทางการเมืองนั้น ในชีวิตการบวชของข้าพเจ้า ได้ประสบมาแล้วหลายครั้ง และครั้งนี้เป็นครั้งที่สี่แล้ว จึงไม่วิตกกังวลอะไรเป็นไรเป็นกัน ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2482 ถูกทหารลาวจับ อยู่เวียงจันทร์เมืองหลวงของลาว


    <TABLE class=ncode_imageresizer_warning id=ncode_imageresizer_warning_1 width=248><TBODY><TR><TD class=td1 width=20>[​IMG]</TD><TD class=td2 unselectable="on">กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]



    เขาจับในข้อหาว่า ข้าพเจ้าเป็นพระสงฆ์ไทย เข้าไปสืบความลับทางราชการ เป็นแนวที่ห้ามาจากเมืองไทย มันถามเป็นภาษาไทยว่า ท่านเป็นคนไทยหรือ ตอบมันว่าใช่ อาตมาเป็นพระสงฆ์ไทย เกิดเมืองไทย เป็นคนไทย เพราะระยะนั้น
    สมัยนั้นสงครามมหาเอเซียบูรพากำลังก่อตัวขึ้น อ้ายลาวไม่ไว้ใจใครทั้งนั้น มันจับขังใส่คุกขี้ไก่ไว้สิบห้าวัน (มันแท้ๆ)
    คุกขี้ไก่คือไก่อยู่ข้างบน คนอยู่ข้างล่าง แต่ก็ยังโชคดีที่ระยะนั้น รัฐบาลไทย ได้ประกาศตัวเป็นกลาง ไม่ขึ้นกับฝ่ายใด
    ไม่เป็นศัตรูกับใคร เขาจึงปล่อยออกมา เมื่อข้ามมาฝั่งไทย
    ตำรวจไทยเห็นเข้า ถามเป็นภาษาลาวว่า (เจ้าหัวมาแต่ไส)
    ตอบมันว่า อาตมามาแต่ฝั่งซ้าย สำเนียงลาวแท้ๆ เขาเข้าใจว่าเป็นพระลาว มาสืบความลับจับเข้าอีก ขังไว้โรงพักสองวัน
    แก้ตัวออกมาได้ เพราะเรามีหลักฐาน ทางหนังสือสุทธิ

    และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2486 สงครามเอเซียบูรพาสงบ
    ทหารไทยได้ตีเมืองพระตะบอง เสียมราช ศรีโสภณ กำปงโสม ของเขมร คณะสงฆ์ไทย จะเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในประเทศเขมร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสโส (อ้วน) ท่านเป็นมหาสังฆนายกองค์แรก ในสมัยนั้น ท่านให้ข้าพเจ้าไปด้วย เพราะเป็นคนที่พูดภาษาเขมร และภาษาฝรั่งเศสได้ เพราะเขมรเคยเป็นเมืองขึ้น ของฝรั่งเศสมาก่อน เมื่อขบวนท่านเสด็จกลับ ข้าพเจ้ายังไม่กลับ เพราะมีธุระหลายอย่าง คือ ต้องการเรียนภาษาเขมรให้แตกฉาน จึงเดินทาง เข้าไปเมืองพนมเปญ โดนทหารเขมรจับเข้าอีก ตั้งข้อหาว่า ข้าพเจ้าเป็นตัวการ ที่นำทหารไทยไปตีเอาบ้านเอาเมืองของมัน แก้ตัวออกมาได้เพราะ อาศัยบารมีของ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์


    และหลังจากนั้นมาอีกหกปี คือปี พ.ศ. 2490 โดนอ้ายหม่องพม่าจับเข้าอีก ครั้งนี้เป็นครั้งที่สี่แล้ว จึงไม่วิตกกังวล
    ไม่สะทกสะท้าน ในเหตุการณ์แม้แต่น้อย เพราะเรื่องอย่างนี้
    เคยโดนมาครั้งแล้วครั้งเล่า อันการติดคุกขี้ไก่ในประเทศลาวนั้น เท่าที่สืบดูในจำนวน พระสงฆ์ไทยก็มีอยู่สองท่าน คือตัวข้าพเจ้าเองติดก่อน ติดอยู่ถึง 15 วัน ท่านที่สองคือ พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม แต่ท่านสมชายติดทีหลัง ติดกี่วันไม่ได้ถามท่าน ติดเรื่องเดียวกัน ที่เขาถือว่าเป็นแนวที่ห้า
    แต่คนละวาระคนละแห่ง ทุกครั้งที่ถูกจับกุมคุมขังนั้น เราไปช่วยเขา เราไปทำประโยชน์ให้เขา เราขนเอาเงินทองของส่วนตัวทั้งนั้น ไปช่วยเขาไปให้เขา พอเรามีเรื่องขึ้นมาจะหาใครๆ ช่วยเหลือไม่มีเลย นี้แหละหนา สัจจะธรรมกรรมแท้ๆ จึงได้คิดเป็นโคลงกลอนสอนใจตัวเองว่า(เมื่อมั่งมี ผีผอมตอมกันแดก เมื่อโลงแตก ผีอ้วนชวนกันหนี เมื่อมั่งมีมากมาย มิตรหมายมอง เมื่อมัวหมอง มิตรมอง เหมือนหมูหมา เมื่อไม่มีมวลมิตรไม่มองมา เมื่อมอดม้วย แม้หมูหมาไม่มามอง)
    จะมีก็แต่เจ้าเก่งที่แสนรู้คู่บุญ ที่ติดตามมาเท่านั้นเอง ที่ไม่ยอมห่าง มันนอนขวางทาง ทำท่าตาเขม็งเบ่งใส่ คนที่มันไม่ใว้ใจทุกคน จนพวกพม่ามันเรียกข้าพเจ้าว่า พ๊งจีคย (พระหมา) จึงได้ความคิดติดใจมาตลอดว่าเลี้ยงหมาดีกว่าเลี้ยงคน



    [​IMG]


    อันสถานที่ที่เขาให้อยู่ และกักบริเวณ เขาก็ให้อยู่ในสถานที่เดิม คือกระท่อมที่เขาจัดสร้างให้เอง แต่ก็อากาศดี มีสถานที่อยู่กว้างขวาง ไม่ได้ถูกผูกมัดพันธนาการอะไร มันให้อยู่ในบริเวณขอบเขต ที่มันกำหนดให้ เราก็สบาย ทุกๆ วันมันก็ให้ เจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาสอบ สอบแล้วสอบอีก เราทำเป็นไม่ยอมพูดกับมัน เพราะมันจะ บีบคั้นเอาแต่เงิน เงินลูกเดียว ถ้าเราไม่ให้มัน มันจะปล่อยให้ อดข้าวตาย ก็จะเอาอะไรมาให้ มันยึดเอาไปหมดแล้ว และยังจะมาบีบเอาอะไรอีก บ้าจริงๆ เสร็จแล้วมันก็หายไป

    วันหลังก็เปลี่ยนคนใหม่มาเฝ้า มาสังเกตุการณ์ ตอนนี้เองข้าพเจ้าจึงมาถามตัวเองว่า เอาอย่างไรกันดี เราจะหันหน้าไปพึ่งใครไม่ได้อีกแล้ว (คนหนอคน) ยามอับจนคนเคียดแค้นชิงชัง ยามมั่งคั่ง คนประดังนอบน้อม ชีวิตหนอชีวิตคิดดูเถิด ตั้งแต่เกิดถึงตายกลายเป็นผี จะประสบทั้งซวยโชคโศกโศกี ตามวิถีของบุญกรรมที่ทำมา จึงได้ปรัชญาของชีวิตว่า (อันชีวิตที่ไม่เคยเจอกับความทุกข์ เป็นชีวิตที่โง่) ความโง่คือ ความที่จิตติดอยู่กับสุข ที่ติดยึดอยู่กับสุข ที่เป็นโลกียะ
    ผู้ฉลาดย่อมนำเอาความทุกข์ ที่ประสบมาเป็นบทเรียน

    ในบทปฐมเทศนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนให้รู้จักทุกข์ ทุกข์มันเป็นผลของสมุทัย คือความสมมุติของคน ความสมมุติสังคมของโลก จึงมาพบกับหลักสัจจะธรรมข้อหนึ่งว่า ในขณะที่ชีวิตประสบ กับภาวะที่วิกฤตอย่างรุนแรงนั้น ชีวิตจะมีความเข้มแข็งขึ้น อีกหลายเท่าตัว


    [​IMG]


    ดังนั้นข้าพเจ้า จึงได้สอนตัวเองว่า เราจงสร้างจิตตานุภาพไว้ให้มากๆ เพราะจิตตานุภาพที่เราสร้างไว้นั้น จะช่วยเหลือเราได้ในยามยาก ชีวิตที่ไม่มีการต่อสู้ เป็นชีวิตที่อ่อนแอ บุคคลที่ไม่เคยมีศัตรู จะเป็นคนเข้มแข็งได้ยาก เหล็กที่ผ่านการตี การทุบ ทุบจนแท่งเหล็กเป็นมีดเป็นพร้าขึ้นมา แล้วผ่านน้ำผ่านไฟมาแล้ว จึงกลายเป็นเหล็กแข็ง และเหนียวใช้การได้ดี ชีวิตเราก็เหมือนกัน ถ้าชีวิตใดที่ผ่านความสมบุก สัมบัน ผ่านความทุกข์ความลำเค็ญ ผ่านเย็นร้อนอ่อนแข็งมาแล้ว เป็นชีวิตที่มีบทเรียนมามาก มีความรู้มาก อันความรู้ มันมีอยู่สองอย่างคือ ความรู้จำ กับความรู้จริง อันความรู้จำนั้น เกิดขึ้นจากการเรียน เรียนจากครู จากตำรา รู้มาเรียนมาไม่ถึงใจ เพราะไม่รู้ว่า รสชาติธาตุแท้ของชีวิตนั้น มันเป็นอย่างไร แต่ความรู้จริงนั้น คือรู้จากประสบการณ์ ที่เกิดจากชีวิตจริงของเราเอง มันมีรสชาติธาตุแท้แห่งความทรงจำ ไปอีกนานเท่า นานเชียวล่ะ และเป็นรากฐาน ในการที่จะได้ปรับปรุงวิถีชีวิตของตนเอง ให้เข้มแข็งขึ้นอีก


    อันการที่ข้าพเจ้าถูกอ้ายหม่องเล่นงานคราวนั้น มันเป็นผลดีที่ทำให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึงและเข้าใจ ในชีวิตของตัวเองอย่างถ่องแท้ วิธีแก้ของเราก็คือ สอนและเตือนตัวเองว่า
    ผู้ฉลาด มีปัญญา ย่อมไม่สร้างความทุกข์ให้แก่ใจ ในสิ่งที่สุดทางแก้ จึงตั้งอธิษฐานจิต ทำความเพียรทางจิต แบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ตายเป็นตาย จิตวิญญาณหลังตาย สบายกว่ามีชีวิตอยู่ จะอยู่ไปทำไม ตายดีกว่าจะได้สบาย จึงค้นคิดว่าความตายคืออะไร แล้วตอบเองว่าความตายคือ การหมดความรู้สึกนึกคิด ชีวิตอินทรีย์ขาดจากกัน หัวใจหยุดเต้น มันสมองหยุดสั่งงาน จิตวิญญาณออกจากร่าง อยู่ที่ความว่างเปล่า สักครู่จิตวิญญาณก็ลอยละล่องไปสู่ภพใหม่ นั่นแหละคือความตายที่รู้กันทั่วไป


    จึงสนใจขึ้นมาว่า อันภาวะเช่นนั้น มันเป็นอย่างไรกันแน่

    จึงอยากตั้งหน้าฝึกจิต ฝึกใจให้รู้จักวิธีตายก่อนตาย อันภาวะของความตายนั้น ตามหลักของกายวิภาควิทยาว่า หัวใจหยุดเต้น ลมหายใจไม่มีคือตาย แต่เราจะยังไม่ตายอย่างนั้น
    เราไม่ต้องไปยุ่งกับมัน มันจะเต้นหรือไม่เต้น ก็เป็นเรื่องของมัน เรามาจับจดอยู่ที่ลมหายใจดีกว่า เที่ยวทัวร์ทางลม เอาลมเป็นไกด์ ลมหายใจเข้า หายใจออกนี้เอง เป็นเครื่องจูงจิต เอาความวิกฤตของชีวิต ที่กำลังประสบอยู่ มาเป็นผู้สอน
    สอนว่า ตาย ตาย ตาย ลมหายใจเข้าก็ว่าตาย ลมออกก็ว่าตาย เป็นอุบายสกดจิตตัวเอง ให้เข้าสู่สภาวะแห่งความหลับ
    (หลับทางจิต) จับเอาตัวนิมิต คือตัวฝันนั่นเอง มาสร้างเป็นตัวแฝง พลังแฝงขึ้นตามคำแนะนำ ของพระผู้เฒ่าหลวงปู่โลกอุดร สอนให้สมัยที่ถูกฝังตัวอยู่ในหิมะ เพราะมันถล่มมาทับ ที่ภูเขาหิมาลัยโน้น ท่านสอนเตือนว่า



    <TABLE class=ncode_imageresizer_warning id=ncode_imageresizer_warning_11 width=222><TBODY><TR><TD class=td1 width=20>[​IMG]</TD><TD class=td2 unselectable="on">กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]


    ตัวเรามันมีอยู่ 3 ตัวคือ ตัวจริง ตัวเป็น และ ตัวแฝง
    ทั้งสองตัวแรกนั้น อย่ายึดมั่นในมัน รีบสละละทิ้งให้หมด กำหนดเอาตัวแฝง คือตัวพลังภายในจิตใจเท่านั้น เพราะตัวจริงยิ่งใช้ยิ่งโทรม ส่วนตัวเป็นยิ่งใช้ยิ่งยุ่งยิ่งทุกข์ แต่ตัวแฝง
    พลังแฝงนั้นยิ่งใช้ยิ่งดี มีพลังจะกำบังความทุกข์ ให้เกิดความปิติสุขที่ใจ


    เราจำคำสอนของท่านคำนี้ไว้แล้ว เอาสติเป็นนายเวรคอยจ้องดูลมเข้าลมออก อย่างไม่ลดละ ทีแรกจะรู้สึกว่า อันเจ้าลมที่เข้าๆ ออกๆ นั้นมันหยาบ แล้วมันจะค่อยละเอียดลงๆ แผ่วเบาลง ละเอียดลงๆ จนเกิดความรู้สึกว่าไม่มีอะไร ไม่รู้สึกอะไรอีกแล้ว ดวงจิตมันจะผ่องแผ้วสงบเย็น ในดวงจิตมันจะเข้าสู่มิติหนึ่ง อีกโลกหนี่งเป็นสภาวะที่มีความสงบที่สุด ที่เรียกว่าปิติ ความสุขทางใจละเอียดที่สุด อันสภาวะอย่างนี้ ไม่สามารถที่จะสรรหาภาษามนุษย์ มาอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้เลย มันเป็นภาษาของจิตวิญญาณ ภาษาของโลกทิพย์ แบบรู้เองเห็นเอง เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตนเท่านั้น

    อันการที่ถูกเจ้าหม่องเล่นงานอย่างสาหัสากรรจ์
    แบบข้าวไม่ให้ฉัน น้ำไม่ให้ดื่ม ในครั้งกระนั้นเอง ที่ทำให้ข้าพเจ้า ต้องตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ก็จะสมัครเข้าสำมะโนครัว ร่วมเป็นสมาชิกของยมบาล โดยไม่คาดฝัน นึกภาวนาเสมอ ทุกลมหายใจเข้าออกว่า ตาย ตาย อันกลอุบายนี้เอง ที่ทำให้ข้าพเจ้าได้ไต่เต้า เข้าถึงกระแสวิญญาณ ของพวกโอปาติกะตลอดลอดได้ ลอดเข้าถึงด่านของทวยเทพเทวา คือ พระวิญญาณของพระสุพรรณกัลยา ตลอดได้สัมผัสกับสรรพวิญญาณต่างๆ ดังที่จะพรรณาต่อไป
    การทำความเพียรทางใจคราวนี้ เราเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ตายเป็นตาย ข้าวไม่กิน น้ำไม่ดื่ม ก็จะฉันจะดื่มได้อย่างไร เพราะไม่มีจะดื่มจะฉัน อันหนทางที่เราจะเข้าสู่โลกวิญญาณนั้น เรากรุยไว้แล้ว รู้แล้วว่าต้องไปทางไหน ที่รู้ทางใจ ดังในระยะที่กล่าวไว้นั่นเอง ก็คือไปกับลม เที่ยวโลกวิญญาณด้วยลม หายใจให้สติคือผู้รู้ รู้ตัว จ้องลมที่เข้าๆ ออกๆ เมื่อมันละเอียดเข้าจริงๆ มันก็หลุดเข้าไปสู่สภาวะอันโล่งแจ้ง เห็นเป็นแสงสว่าง เหมือนแก้วลูกโต โตเอามากๆ แล้วลูกแก้วนั้นก็เล็กลงๆ เล็กลง แล้วโตขึ้นๆ อีก เห็นเป็นแสงสว่างจ้า เหมือนแก้วลูกโตๆ โตเอามากๆ แล้วลูกแก้วนั้นก็เล็กลงๆ เล็กลงแล้วก็โตขึ้นๆ อีก เป็นอย่างนี้อยู่หลายครั้ง แล้วเจ้าลูกแก้วนั้นก็ลอยเข้ามา ลอยเข้ามา มาอยู่ใกล้ๆ เฉพาะหน้า แล้วก็มาห่อหุ้มเอาตัวเราไว้


    อันลูกแก้วนั้นเรามีเอาไว้แล้ว ถือติดตัวไปเพื่อเพ่งกสิณ

    เพื่อจูงใจไปไหนเอาไปด้วย เดี๋ยวนี้ก็ยังใช้มันอยู่ ลูกแก้วลูก
    เราได้มาแต่ประเทศยูโกสลาเวีย ขอซื้อจากหมอดูทางลูกแก้วและเราก็ได้เห็นอะไรๆ หลายๆ เรื่องกับลูกแก้วลูกนี้เอง ในขณะที่เข้าไปอยู่ในลูกแก้ว เป็นเกราะหุ้มไว้ ตัวเราอยู่ข้างในแล้วมองออกไปข้างนอก จะเห็นฉากต่างๆ อะไรสลับซับซ้อนและเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม บางฉากก็เห็นปราสาทราชมณเฑียรมีวัดเวียงวัง เจดีย์วิหารดูตระการตาน่าชมและบางฉากก็เห็นฝูงชนจำนวนมากเดินไปมาขวักไขว่ ในจำนวนผู้คนเหล่านั้นทุกคนรู้สึกว่าเขาจะมีแต่ความสุขสันต์กัน เพราะแต่ละคนมีแต่ความยิ้มความแย้ม หรรษาร่าเริงเบิกบาน มีหน้าตาสวยงามผิวพรรณผุดผ่องยิ้มย่อง ประดับประดาด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์หลากสี สวยสดงดงามมาก.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2009
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ย้อนรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา

    คัดมาจากหนังสือ .. "ย้อนรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา"
    เขียนโดย หลวงปู่โง่น โสรโย (หน้า 13-25)


    กลับบ้านเกิดเมืองนอนครั้งแรก
    กล่าวย้อนไปถึงการเดินทางกลับ อำลาท่านผู้บังเกิดเกล้า ที่เมืองอยุธยา จำเดิมแต่ได้พลัดพราก จากบ้านเกิดเมืองนอน มาเป็นเวลาร่วมสิบปี มีครั้งเดียวเท่านี้ ที่ฉันได้กลับไปเห็นหน้าบิดา มารดา ตลอดทั้งพระประยูรญาติ เมื่อได้ทำพิธีอำลา ท่านผู้บังเกิดเกล้าแล้ว เจ้าบุเรงนองก็พากลับ และให้กลับทุกคน แม้แต่พระอนุชาของฉัน เพราะเจ้าบุเรงนอง มันใช้อำนาจบาทใหญ่ พระราชบิดาของฉัน จะร้องขออะไรมันก็ไม่ยอม แม้แต่ท่านจะขอกำลังทหารไทย ไว้ป้องกันประเทศ มันก็ด่าว่าเอา มันบอกว่าไม่จำเป็น ไม่เห็นใครที่ไหนจะใหญ่ จะมีกำลังเหนือมัน มันเคี่ยวเข็ญ เย็นค่ำ ร่ำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย พระราชบิดาของฉัน ก็กลัวมันยิ่งกว่าเสือ


    เหลือร้ายจริงอ้ายบุเรงนอง เมื่อกลับถึงถิ่นเมืองหงสาวดีแล้ว พิธีการการอภิเษกสมรส ระหว่างฉันกับเจ้าบุเรงนองก็เกิดขึ้น ฉันก็ตกเป็นของเจ้าบุเรงนอง ตามประเพณีของเขา แต่น้องชายของฉันสิเหงา เพราะดูกิริยาท่าทางของเขา เศร้าสร้อยหงอยเหงาจริงๆ เพราะเขาเคยอยู่กับฉัน เราอยู่ด้วยกันมาตั้งแต่เกิดก็ว่าได้ ฉันฟูมฟักเลี้ยงดูเขามาด้วยมือ เลี้ยงเขามาแต่เล็กๆ ฉันสงสารน้องชายที่ว้าเหว่


    ฉันจึงวางเล่ห์กลอุบาย กับเจ้าบุเรงนองว่า ท่านเจ้าขา อันพระอนุชาทั้งสองของฉันนั้น เขาได้เติบใหญ่เป็นหนุ่มเป็นแน่นรักษาตัวได้และเอาตัวรอดได้แล้ว ฉันจึงอยากจะขอร้องให้น้องชายทั้งสองคน กลับไปช่วยราชการ ของพระราชบิดาที่เมืองไทย เพราะได้รับข่าวว่า พญาละแวก คือพวกขอม (เขมร) ได้ยาตราทัพอันเกรียงไกร มาประชิดติดแดนไทยแล้ว และก็ตีได้แล้วหลายเมือง ทางทิศตะวันออกของไทย ถ้าเราช้าไปจะต้องเสียใจ เพราะเมืองไทย ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพญาละแวก เราจะสูญเสียประเทศราชของเราไปอีก


    ฉันเชื่อแน่ว่า พระน้องยาเธอของฉันทั้งสอง เขาจะเอาชนะพญาละแวกได้ เพราะไพร่พลคนไทย ก็จะมีกำลังใจ ในอันที่จะต่อสู้ กับพญาละแวกได้ เมื่อเจ้าบุเรงนองได้ฟัง มันก็เชื่ออย่างสนิทใจ มันจึงปล่อยให้เจ้าองค์ดำพี่ชาย กับเจ้าองค์ขาวกลับเมืองไทย พร้อมด้วยบริวารอีกจำนวนหนึ่ง

    ท่านขา ตอนที่น้องทั้งสองของฉันที่ฉันได้ทนุถนอม กล่อมเกลี้ยงเขามาแต่แบเบาะ มีเคราะห์กรรมอะไรหนอ ที่จะมาพรากให้ฉันต้องอยู่เดียวดาย ในขณะที่น้องชายของฉันจากไปนั้น ฉันมีความรู้สึกสังหรณ์ใจว่า จากนี้ไปภายหน้าตลอดชีวิต ฉันจะไม่ได้เห็นน้องชายทั้งสองของฉันอีกแล้ว จึงได้ยินแต่สั่งคำเดียวว่า ไปนะแม่ ไปนะแม่ น้องทั้งสองจะจดจำคำว่า แม่ แม่ แม่ ไว้ในห้วงแห่งดวงใจตลอดไป


    ท่านขา ในคราวนั้นเองฉันรู้สึกว่าดวงตา ดวงใจของฉัน มันหลุดลอยออกจากร่าง มันทำให้จิตใจเวิ้งว้าง ว้าเหว่ ไม่มีฟ้าไม่มีดิน ได้ยินแต่เสียงน้องสั่งว่า ไปนะแม่ ไปนะแม่ ถึงเขาจะออกเดินไปแลัว จนสุดสายตา แต่เสียงสั่งลาของน้อง ก็ยังก้อง อยู่ในโสตประสาทของฉัน ไม่มีวันลืมเลือน ฉันจึงยืนขึ้นเอามือขวาค้ำสะเอว ส่งกระแสจิตให้รุนแรงว่า ไปดีเน้อน้อง ไปดีเน้อน้อง มันเป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่งนะท่าน ที่พระราชบิดาของฉัน สอนเอาไว้ว่า

    ถ้าจะอวยชัยให้พรใคร เมื่อเขาจากไป ถ้าเป็นผู้หญิงให้ใช้มือซ้าย ถ้าเป็นผู้ชายให้ใช้มือขวา ถ้าเป็นทั้งหญิงทั้งชาย ให้ใช้ทั้งสองมือ

    ดูแต่คราวที่พวกคณะเราจะจากท่านมา ทั้งสองครั้ง ท่านก็ใช้พระหัตถ์ ทั้งสองข้างของท่านค้ำสะเอว เราจึงไปมาอย่างปลอดภัย เมื่อเขากลับไปแล้ว ได้ตั้งตัวเป็นหัวหน้าทัพ แล้วเปลี่ยนคำว่า หัวหน้าใหญ่ ให้เป็นแม่ทัพ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ...



    [​IMG]


    แล้วประกาศเป็นพระราชอาญาว่า หากมันผู้ใดมันอุตริ เปลี่ยนชื่อแม่ทัพ ให้เป็นศัพท์อื่นๆ นามอื่นขอให้บุคคลผู้นั้น มันถึงซึ่งความวิบัติ ฉิบหายวายวอดเถิด นี่แหละท่านน้องที่กตัญญู เขาเอาชื่อแม่ที่เขารัก และมีพระคุณกับเขา ไปตั้งเป็นแม่ แม่ แม่ อยู่กับตัวเขาตลอดไป (กองทัพไทยเราจึงมีแม่ทัพ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา)


    และกาลต่อมาภายหลัง เมื่อน้องชายฉันกลับไปแล้ว ได้ตั้งตัวเป็นแม่ทัพ ได้รวบรวมสรรพกำลังให้เกรียงไกร แล้วขับไล่กองทัพ ของพญาละแวก ให้แตกกระเจิง แล้วรวบรวมไพร่พล ของพญาละแวก เข้าเป็นกำลังเสริม ร่วมกันเล่นงานกองทัพอ้ายหม่อง ให้ม่องเท่งไปไม่เป็นกระบวน แต่การเอาชนะกับเจ้าหม่องนั้น ล่าช้ามากๆ

    ส่วนน้องชายฉันเขารู้ รู้ว่าเจ้าหม่อง มันส่งชายฉกรรจ์ แต่งตัวปลอมตัวเป็นพระ มาสืบความลับว่า จุดอ่อน จุดแข็งของกองทัพไทย อยู่ตรงไหน เจ้าพวกแต่งตัวเป็นพระนี้เอง คนไทยไม่รู้ว่าเป็นพระพม่า หรือพระไทย เพราะเหมือนกันหมด ดูไม่ออกว่าพระพม่า หรือพระไทย

    พอน้องชายทั้งสองของฉันกลับไป ก็ขอร้องให้ท่านพระพลรัตน์ วัดป่าแก้ว ที่สอนคาถาปราบศึกให้ สั่งให้พระสงฆ์ไทยทั้งประเทศ โกนคิ้วทิ้งให้หมด เพื่อให้คนไทยรู้ว่า พระพม่า หรือพระสงฆ์ไทย องค์ไหนไม่โกนคิ้ว องค์นั้นเป็นพระหม่อง ขับออกไปจากเมืองไทยให้หมด คนไทยกำหนดรู้ รู้กันโกนคิ้วไม่โกนคิ้วนี่เอง

    ฉันเห็นท่านมาวันนี้ ท่านโกนคิ้วจึงรู้ว่า ท่านเป็นพระสงฆ์ไทย พอเขาแก้ไขได้ทุกอย่างแล้ว ก็จะหวนกลับมา ตีเอาเมืองหงสาวดี และปริมณฑล เพื่อยึดเอาตัวฉันกลับไป ท่านขา พอเจ้าบุเรงนองมันสืบรู้ว่า เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น มีฉันเป็นผู้วางแผน ในระยะนั้น ก็มีความไม่สงบเกิดขึ้น เพราะตัวพระคุณเจ้าเอง วางแผนให้เจ้าบุเรงนอง ผู้ครองความเป็นใหญ่ อันเจ้านันทบุเรงนั้น มันมักมากในกามคุณ มีเมียมากนับไม่ถ้วน แต่มีคนหนี่งชื่อ สุวนันทา เป็นภรรยาคนที่สาม ชาวไทยใหญ่ เป็นคนสวย


    เจ้านันทบุเรง ก็หลงใหลมันมาก มันอยากเป็นราชินี จึงบังคับให้สามี วางแผนแย่งอำนาจ แย่งสมบัติจากพระราชบิดา มาเป็นใหญ่เสียเอง เจ้าบุเรงนองผู้บิดา จึงทรงตรอมพระทัย ในที่สุดก็ขาดใจตายดังกล่าวแล้ว ให้ทะเลาะกันกับเจ้ามังไชยสิงหะราช ผู้เป็นลูกชาย เลยเกิดโรคหัวใจวายตายไป อย่างกระทันหัน มันคือเจ้ามังไชยสิงหะราช ผู้เป็นอุปราชขึ้นครองเมือง ชื่อเจ้านันทบุเรง มันได้ครองราชย์เป็นใหญ่ และเป็นระยะที่เขาเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ ความวุ่นวายมีอยู่ทั่วไป กอปรกับมารู้ข่าวว่า กองทัพของไทย ขึ้นไปประชิดที่เมืองอังวะไว้แล้ว

    เจ้ามังไชยสิงหะราช (นันทบุเรง) จึงสั่งจับจำจองแม่เลี้ยงของมัน คือฉันเอง ให้ลงโทษทัณฑ์อย่างหนัก มันสั่งให้คนจับฉัน มัดมือ มัดเท้า แล้วลงมือชก ต่อย ตบ ตี เตะ ถีบ โบยด้วยแส้หวาย โบยแล้วโบยอีก แล้วปล่อยให้ฉันอดข้าว อดน้ำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส (มันเลวยิ่งกว่าหมาเพราะธรรมดาแล้วหมาตัวผู้จะไม่กัดหมาตัวเมีย อันคนจำพวกที่ชอบรังแกหญิง เอาเปรียบผู้หญิง ซึ่งเป็นเพศตัวเมียนั้น จึงเป็นบุคคล จำพวกที่มีสันดานเลวยิ่งกว่าหมาเสียอีก)


    ท่านขา เมื่อมันเห็นว่าฉัน อ่อนเปลี้ยเพลียแรงแล้ว มันก็ฟันฉันด้วยดาบเล่มนี้ (และขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ) แล้วฉันก็ตายไป พร้อมกับลูก อยู่ในท้องแปดเดือน แล้วมันก็ให้หมอผี มาทำพิธีทางไสยศาสตร์ ด้วยการผูกรัดรึง ตรึงฉันด้วยไม้กางเขน ตรากระสัง ให้วิญญาณของฉัน ไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องวนเวียนอยู่ในละแวกนี้เท่านั้น ฉันขอขอบใจท่านมาก ที่ท่านได้มาช่วย แก้เครื่องพันธนาการออกให้ฉัน อันเรื่องนี้เอง ก็เป็นวิบากกรรม ที่ทำให้ข้าพเจ้า ต้องไปรับรู้รับเห็น เรื่องของเจ้าหญิงทุกอย่าง


    และท่านกล่าวว่า ในกาลต่อไปข้างหน้า ฉันตั้งปณิธานไว้ว่า (ฉันจะไปอุบัติบังเกิด ช่วยบ้านเมืองในสตรีเพศ เมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน แต่จะไปอุบัติ ในสกุลสุขุมาลย์ชาติ ในวงศ์สกุลกษัตริย์ไทย และจะไม่เยื่อใยในการมีคู่ครอง) ฉันจะสร้างบารมีทำแต่ความดี ให้นั่งอยู่บนหัวใจ ของคนไทยทั้งประเทศ เพื่อแก้ลำที่คนไทยลืมฉัน โดยจะไม่สนใจใยดี กับการที่จะอภิเษกสมรสเลย เพราะฉันเข็ดแล้วเข็ดอีกเรื่องผู้ชาย แต่นี่ฉันก็เป็นอิสระแล้ว เมื่อท่านกลับไปเมืองไทย ฉันจะไปด้วย ฉันจะไปช่วยงานท่าน ท่านมีธุรกิจอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ ศาสนกษัตริย์แล้ว บอกฉัน และฉันขอฝากรูปลักษณ์ของฉัน ที่อยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของท่าน ออกเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ที่อยากรู้อยากเห็นฉัน ให้เป็นแบบรูปธรรมขึ้นมา ให้เขาได้เห็นฉันด้วย แต่ฉันเชื่อแน่ว่า คนไทยทั้งประเทศ เขาคงจำฉันได้ไม่กี่คน เพราะประวัติจริงๆ ที่พระน้องยาเธอ ของฉันจารึกไว้ ก็คงจะสลายหายสูญ ไปกับกรุงแตกครั้งหลังสุดแล้ว


    ขอให้ท่านหวนจิต คิดย้อนกลับไปดูภาวะของฉันที่ได้กำเนิดเกิดมา เป็นธิดาองค์ใหญ่ ในวงศ์สุดท้ายของวงศ์สุโขทัย พระราชบิดา ได้ไปครองเมืองอยุธยา ได้รับสมญาว่า เจ้าฟ้าหญิงพระสุพรรณกัลยา มีความสุขจากทรัพย์โภคา อย่างล้นเหลือ มีข้าทาสบริวารนับไม่ถ้วน นับว่าฉันเองได้สถิต อยู่ในมไหยสมบัติ อยู่ในดินแดนเมืองมนุษย์ มีความสุขสุดที่จะพรรณา แต่ต่อมา พม่าตีเมืองได้ ฉันกับน้องชาย ต้องตกเป็นเชลย ที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นขี้ข้าเขา แล้วได้มาเป็นเมียบุเรงนอง แล้วถูกจำจอง ด้วยเครื่องพันธนาการ

    ฉันเองได้รับแต่ความทุกข์ทรมาน ทั้งกายและจิตใจตลอดมา จำเดิมแต่ได้พลัดพราก จากบ้านเมืองพ่อแม่มา ข้ามภูผาที่กันดารยังมาทุกข์ทรมานในการจำจากน้องทั้งสอง อันเป็นที่รักที่สุด ดุจกับว่าดวงตา ดวงใจ มันหลุดลอยออกไปจากร่างออกไป สุดท้ายก็มาถูกเจ้านันทบุเรง บุตรบุญธรรมของฉันนั้นเอง เฆี่ยนตีทำโทษ จนถึงแก่ความตายอย่างทรมานที่สุด ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดๆจะเหมือนฉัน แต่ฉันก็กระทำไปเพื่อความอยู่รอด ของประเทศชาติบ้านเมือง ฉันเสียใจที่คนไทยลืมฉัน ฉันจะหาที่เกิดเป็นกุลสตรี ที่ได้นั่งอยู่บนหัวใจของคนทั้งชาติ โดยปราศจากการมีครอบครัว แล้วฉันก็จะเป็นคนหมดเวรภัย ไปสู่สถานที่ ที่ไม่มีการเกิด การตายอีกแล้ว

    แต่เรื่องนั้นจะมีขึ้นได้จริง ก็ต้องพึ่งพิงอาศัยกระแสดวงใจของคนจำนวนมากช่วยค้ำจุนหนุนส่งให้ ดังนั้น จึงอยากจะขอร้องท่าน ช่วยเอารูปลักษณ์ของฉัน ออกให้ปรากฏแก่สายตาของคนทั่วไป ที่เขาอยากรู้ อยากเห็นด้วย นี้แหละท่านอันชีวิตคนเราทุกๆ คน จะคละเคล้าไปด้วยสุข และทุกข์ เสียงหัวเราะและน้ำตา เสียงสนุกเฮฮา และร้องไห้โหยหวน ชวนให้คิดว่า นี่แหละโลก นี่แหละชีวิตคิดดูเถิด ตั้งแต่เกิดถึงตายกลายเป็นผี ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ทุกชีวิตก็ตกเป็นทาส เพราะตกอยู่ใต้อำนาจ ของความปรารถนา ชีวิตที่ถูกความโง่เขลา ปลูกสร้างขึ้นมา แล้วก็ยึดถือหวงแหนไว้ ด้วยความเข้าใจผิด คิดว่าเป็นของกู ตัวกูไปทุกสิ่ง ได้ครอบครองสิ่งใดแล้ว ก็ชื่นชมยินดี เทิดทูน และผูกติดกับสิ่งนั้น ไว้ด้วยความหลงผิด หารู้ไม่ว่าตัวเองกำลังบ้า แบกภาระอันหนักหน่วง เอาไว้ไม่รู้จักวาง ทางออกที่ดีก็คือ การไม่เกิดแล้วก็ไม่ตาย และท่านกล่าวต่อไปว่า อันความยึดมั่นถือมั่น ในตัวกูของกูนี่เอง ที่ทำให้คนเราโง่ ทำให้คนโง่เขลา พากันมัวเมาหลงผิด คิดว่าเป็นของตัวเองทุกอย่างไป ดวงใจมันก็ได้รับแต่ความทุกข์

    <TABLE class=ncode_imageresizer_warning id=ncode_imageresizer_warning_3 width=262><TBODY><TR><TD class=td1 width=20></TD><TD class=td2 unselectable="on">กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิม</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]


    แต่ฉันเองรู้สึกเสียใจมาก ที่บ้านเมืองของเราหลายๆ แห่ง ได้ถูกกองทัพเจ้าพม่า มันฆ่าทารุณผู้คน ขนมาเมืองมัน จนไม่เหลืออะไรแล้ว มันก็สั่งให้คนไทย จุดไฟเผาบ้านเรือนตลอดพระราชฐาน วัดวาอารามที่สวยๆ งามๆ ให้เหลือแต่ซากปลักหักพัง พินาศสันตะโร แต่กรุงศรีอยุธยายังไม่สิ้นคนดี ก็มีพระยาตากมากู้เอาไว้ ท่านองค์นี้มีสายตาไกล ท่านไม่ยอมเอาเมืองหลวงเก่าเป็นราชธานี ท่านกลัวว่ามวลหมู่ ผีร้ายๆ จะก่อกวน จึงชักชวนพวกอพยพ ไปตั้งราชธานีที่เมืองบางกอก แต่พวกพม่านั้น มันก็ได้รับผลกรรม ตอบแทนอย่างคุ้มค่า เรียกว่ากรรมตามทัน ทำให้มันต้องรบราฆ่าฟันกัน เพื่อแย่งชิงอำนาจกัน ไม่มีเวลาสิ้นสุด แต่การรบราฆ่าฟันกันนั้น จะติ หรือใส่ร้าย แต่พวกพม่าก็ไม่ได้ ส่วนมากก็คนไทยนั่นแหละ เป็นไส้ศึกเป็นตัวการ ช่วยเผาผลาญ บ้านเมืองตัวเองให้พินาศ เพราะจิตใจคิดอาฆาต ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แล้วแบ่งพรรคแบ่งพวก จนเจ้าเหนือหัวคือ พระมหินทราธิราช พระราชบิดาของฉัน มาเป็นมหาอุปราช


    ผลสุดท้าย ของพระราชบิดาของฉัน ก็ได้ครองราชแทน เพราะพระเจ้ามหินทราธิราช ได้มาสิ้นพระชนม์ชีพที่เมืองอังวะ ก็พระคุณท่านนั่นเองแหละ ได้รวบรวมหมู่เชลยไทย ช่วยกันถวายพระเพลิงศพท่าน แล้วเอาพระอัฐิท่านมาไว้ที่โน้น อันการเกิดกุลียุค เผาผลาญบ้านเมืองในคราวนั้น ผู้ลงมือเอง ส่วนมากคือคนไทยเอง ที่เขาเคืองแค้น ไม่ได้รับความเป็นธรรม จากผู้เป็นใหญ่ผู้มีอำนาจ ที่หลงอำนาจ บ้ายศ หลงตัว ถือตัว มหาภัยยุคเข็ญ มันก็ต้องเกิด ดังนี้ จะหาโทษพม่าเป็นคนทำลาย ไม่ถูกหรอก ท่านจงให้ความเป็นธรรมกับเขาบ้าง ก็คนไทยนั่นแหละ เป็นตัวการเผาผลาญบ้านเมืองตัวเอง เขาเผาเพราะความแค้น


    ส่วนพญาละแวก คือพวกขอม ขะแม มันก็ตัวศัตรูคู่แค้น คู่อริกับคนไทยมาตลอด จิตใจมันมืดบอด ไม่เห็นบาปกรรม ที่มันทำลายล้างผลาญ สังหารคนไทย นับครั้งไม่ถ้วน การที่มันกระทำนั้นเอง จึงเป็นมรดกตกทอด มาถึงลูกหลานของมัน และมันก็เข่นฆ่าทารุณกันเอง เพื่อแย่งชิงอำนาจ ก่อความวินาศฉิบหาย จนสูญสิ้นชาติขอม มาเป็นขะแม สิ้นขะแมมาเป็นเขมร เขมรก็รบกัน เหลือแต่หัวกะโหลกกองไว้ ให้ชาวโลกได้เย้ยหยัน นี่แหละคือผลของความบ้าอำนาจ บ้ายศ จำไว้เน้อ ผู้มีอำนาจทั้งหลาย อย่าบ้านัก และอย่าลืมตัว


    ส่วนเมืองสยามไทย ไทยเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ให้คนไทยทั้งชาติ ตกอยู่ในยุคทั้งสิบ แบ่งเป็นยุคละยี่สิบปี คือยุคพระกาฬ พานยักษ์ รักบัณฑิต สถิตธรรม จำแขนขาด ราชโจน นนทุกข์ ยุคทมิฬ ถิ่นตาขาว ยุคชาววิไล ขอให้ท่านดูไปก็แล้วกัน

    แต่ดีอย่างหนึ่ง ที่คนไทยไม่เคยเป็นศัตรูกับใคร ชอบจะเป็นมิตรกับคนทุกชาติ แต่เสียอย่างเดียว ที่คนไทยมีนิสัย ไม่ผิดกับหมาไทย คือถ้ามีใครมารังแก มันจะไม่ยอมแพ้ มันจะแห่กันเล่นงานทันที แต่ยามไม่มีใครมาเข่นฆ่าราวี มันก็ตีกันเอง คือพวกบ้าอำนาจ บ้ายศ บ้าจี้ มันนึกว่ามันดีกว่าทุกคน เมื่อถึงยุคราชโจน อาจจะมีนักปกครองปัญญาอ่อน แต่บ้าอำนาจ จะเอาบ้านเอาเมืองไปขายกิน ก็อาจจะเกิดมีได้ดูไปเถอะ แต่กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่สิ้นคนดี คนไทยเขาคงไม่ยอมแน่ เพราะเขามีพระดี หลวงพ่อดี หลวงพ่อองค์นั้นก็คือท่าน ผู้ประทับอยู่บนหัวใจ ของคนไทยทั้งชาติ คงจะเป็นพระยาธรรมมิกราช คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง


    แต่อยากถามว่า พระคุณเจ้าจะกลับเมืองไทยเมื่อไหร่ ฉันจะตามไปด้วย ไปช่วยสร้างบารมี มุณีทั้งหลาย ท่านจึงหาทางออกจากวัฏสงสาร ด้วยการทำความดีแก่ตน และสั่งสมให้มากที่สุด ที่จะมากได้ แล้วท่านจึงตรัสถามข้าพเจ้าว่า เมื่อพระคุณเจ้าถูกจับกุม ในข้อหาที่หนักๆ ทางการเมืองมาตั้งหลายครั้ง หลายคราวนั้น ท่านมีทุกข์ใจมากไหม เพราะเท่าที่ฉันรู้มาว่า ท่านโดนเขาเล่นงานมาถึงสี่ครั้งแล้ว ก็ตอบท่านว่า ทุกครั้งที่อาตมาเจอกับความทุกข์ เราจะไม่ยอมแพ้มัน คือเรารู้จักวิธีฝึก ให้จิตอยู่เหนือความทุกข์ ไม่ให้ความทุกข์อยู่เหนือจิต สร้างความรู้สึกนึกคิด ประดิษฐ์สิ่งที่ร้าย ให้เป็นสิ่งที่ดีเอาไว้ (เราเอ๋ยเรา) อดรนทนไว้เถิด นานๆ ไปมันจะชินไปเอง

    ผู้มีความฉลาด มีปัญญา ย่อมไม่สร้าง ทุกขเวทนาให้แก่ใจ ในสิ่งที่สุดทางแก้ ฉันก็ดี โยมก็ดี ก็มีทุกข์ไม่แพ้กัน แต่ตัวฉันนี้เอง เป็นคนที่มีความขยันที่สุด ที่ฉันจะล่วงรู้อะไรได้ ก็เพราะได้มาเจอท่าน ท่านหญิงเป็นมัคคุเทศก์ อย่างวิเศษในดวงใจ และดวงตาของฉัน ที่ได้นำพาให้ฉัน กลับไปรู้ไปเห็นว่า ฉันเคยเป็นอะไร อยู่ที่ไหน ทำอะไร ที่บอกท่านว่า เป็นคนขยันนั้นคือ ขยันเกิด แล้วก็ขยันตาย ท่านหญิงยังสบาย เสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมาน อันแสนจะสำราญอยู่ที่นี้ ที่โลกทิพย์นี่ สองสามราตรีเท่านั้นในพิภพนี้ แต่โลกมนุษย์ ปาเข้าไปห้าร้อยปีแล้ว ตัวอาตมาเองได้ดับชีวี จากเมืองผีไปเมืองคน วนเวียนอยู่หลายชาติแล้ว
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เกร็ดพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

    <!-- Main -->[SIZE=-1][​IMG][/SIZE]


    [SIZE=-1]หากเรานึกถึงประวัติศาสตร์ ภาพเด่นที่ลอยออกมาก็คือการรบกับพม่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]เราเองจินตนาการไปว่า ไทยแทบจะไม่เคยยกไปรุกรานพม่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]แต่พม่าเองกลับชอบที่จะแผ่อำนาจมารบกับไทย [/SIZE]
    [SIZE=-1]สอดคล้องกับ คำที่ว่า ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด[/SIZE]


    [SIZE=-1]แต่หากมองจากมุมมองของประเทศเพื่อนบ้าน ลาว เขมร ล้านนา [/SIZE]
    [SIZE=-1]หรือ มลายู แม้แต่จากมุมมองพม่า ไทยเราก็ใช่ย่อย [/SIZE]
    [SIZE=-1]นั่นเพราะเราลืมไปว่า อยุธยาไม่ใช่อาณาจักรที่เพียงปลูกข้าว จับปลา [/SIZE]
    [SIZE=-1]แต่เป็นเมืองท่าที่รุ่งเรืองด้วยการซื้อขาย อะไรที่เป็นไปเพื่อควบคุมการค้านั่น[/SIZE]
    [SIZE=-1]เป็นสิ่งที่เราต้องทำ แม้กระทั่งการรุกรานเพื่อนบ้านก็ตามที[/SIZE]


    [SIZE=-1]ไทยเสียกรุงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.ใด ? [/SIZE]



    [SIZE=-1]เสียกรุงครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2112 เสียกรุงครั้งที่สอง พ.ศ. 2310[/SIZE]

    [SIZE=-1]แต่หากมีใครสักคนหนึ่งพูดว่า เราเป็นประเทศราชของพม่าตั้งแต่ปี 2106[/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะกษัตริย์ถูกปลด ราชวงศ์ถูกนำไปเป็นตัวประกัน[/SIZE][SIZE=-1]และสาเหตุส่วนหนึ่งนั้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]ก็เพื่อมาทวงค่าปรับจากสงครามที่สยามรบแพ้พม่าในศึกคราสูญเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย [/SIZE]
    [SIZE=-1]ที่สยามต้องส่งช้างให้พม่าปีละ 30 เชือก เงินค่าปรับ และอากรทั้งหมดที่เก็บได้จากเมืองมะริด [/SIZE]
    [SIZE=-1]หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบงชเวตี้ [/SIZE][SIZE=-1]ปี 2112 นั้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]บุเรงนองยกมาเพื่อปราบกบฏที่แข็งเมือง[/SIZE]



    [SIZE=-1]พงศาวดารฉบับที่ร่วมสมัย ล้วนบันทึกเเต่เหตุการณ์ที่สำคัญ ไม่มีรายละเอียด [/SIZE][SIZE=-1]และไม่สามารถจะบันทึก[/SIZE]
    [SIZE=-1]เหมือนเหตการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ทั้งหมด [/SIZE][SIZE=-1]เพราะผู้บันทึก[/SIZE][SIZE=-1]ต้องเขียนตามที่ผู้มีอำนาจต้องการให้เป็น[/SIZE][SIZE=-1]จึง[/SIZE]
    [SIZE=-1]มีการชำระออกมาเป็น พงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา[/SIZE][SIZE=-1]โดยผ่านสายตาของคนยุครัตนโกสินทร์ที่มองกลับไป [/SIZE]
    [SIZE=-1]มีการใส่ชื่อ คำพูด ความคิดเห็น แม้กระทั่งแต่งเรื่องเสริมลงไป [/SIZE]
    [SIZE=-1]เพื่อให้มีรายละเอียดครบถ้วน ง่ายต่อการศึกษา[/SIZE]


    ข้อความข้างต้นเป็นคำนำของหนังสือ น่าสนใจดีจึงสั่งซื้อไปแล้ว ช่วงนี้มีเวลาค่ะจึงตามรายละเอียดได้มาก

    อ่านแล้วมีอะไรดีๆที่เกี่ยวข้องกับช่วงนี้ จะมาเล่าสู่กันฟังนะคะ รอร้านหนังสือเขาส่งมาให้ก่อน

    อีกเรื่องหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ไทยอาจจะมองข้ามไป เรื่องของช่างฝีมือต่างๆ หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1
    ช่างฝีมือถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีเกือบสิ้น งานถักทองอันปราณีตวิจิตรดั่งเทพนิรมิตร จึงขาดช่วงไป
    เป็นไปได้ไหมว่างานฝีมือด้านนี้จึงด้อยลงไปจนทำให้งานสร้างพระมาลาทองคำ
    ไม่วิจิตรบรรจงเท่าที่เคยสร้างกันมาก่อนหน้านี้ จนทำให้แปลกใจว่า ทำไมฝีมือช่างทองตกไปมาก
    หรือจะทำเทียมเลียนแบบเก่ากันแน่ ก็น่าคิดว่าช่างฝีมือขาดช่วงไปเพราะไปเป็นเชลยเสียมาก เหลือแต่ช่างต่างชาติและช่างหัดใหม่

    วิเคราะห์แบบนี้ โชคดีที่เป็นคนไม่อ่านนิยายประวัติศาสตร์ แต่ชอบสืบค้นจากต้นตำรับเลย เท่าที่จะหาอ่านได้

    ก่อนหน้านี้ไม่สนใจประวัติศาสตร์ช่วงนี้เลย ดูละครประวัติศาสตร์ก็ค่อยเข้าใจความสัมพันธ์ของตัวละคะ

    อ่านแต่หนังสือแนวปรัชญาฝรั่ง แต่แปลกค่ะ ปีนี้เป็นปีอ่านพงศาวดารและประวัติศาสตร์ไทยของทางสายธาตุ

    ไม่รู้ว่าเพื่อนๆในกระทู้หายไปไหนกันน้อ กลับมาทักทายกันบ้าง มีกันอยู่แค่ 4-5 คนเองน๊า อิอิ
     
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    อนุโมทนาครับ ติดตามอยู่ครับ ขอสะสมข้อมูลจากคุณทางสายธาตุไปก่อน
    นะครับ ได้ไปร่วมพิธีหล่อพระบรมรูปของสมเด็จท่านที่เวียงเชียงรุ้งมาครับ
    ยังหารูปมาลงตามที่รับปากไว้ไม่ได้เลยครับ สรุปได้สั้นๆก่อนครับว่าพิธีการ
    เรียบร้อยและสมบูรณ์มากเท่าที่ได้เคยเห็นมาจากงานต่างๆที่ไม่ใช่งานพระราช
    พิธี เพราะทางเจ้าภาพได้เชิญท่านพราหมณ์ขจร (รองหัวหน้าพราหมณ์ )
    ไปจาก กทม.ไปเป็นเจ้าพิธีครับ
     
  7. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ".....อีกเรื่องหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ไทยอาจจะมองข้ามไป เรื่องของช่างฝีมือต่างๆ หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1
    ช่างฝีมือถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีเกือบสิ้น งานถักทองอันปราณีตวิจิตรดั่งเทพนิรมิตร จึงขาดช่วงไป
    เป็นไปได้ไหมว่างานฝีมือด้านนี้จึงด้อยลงไปจนทำให้งานสร้างพระมาลาทองคำ
    ไม่วิจิตรบรรจงเท่าที่เคยสร้างกันมาก่อนหน้านี้ จนทำให้แปลกใจว่า ทำไมฝีมือช่างทองตกไปมาก
    หรือจะทำเทียมเลียนแบบเก่ากันแน่ ก็น่าคิดว่าช่างฝีมือขาดช่วงไปเพราะไปเป็นเชลยเสียมาก เหลือแต่ช่างต่างชาติและช่างหัดใหม่

    วิเคราะห์แบบนี้ โชคดีที่เป็นคนไม่อ่านนิยายประวัติศาสตร์ แต่ชอบสืบค้นจากต้นตำรับเลย เท่าที่จะหาอ่านได้ ...."


    -ผมมองว่าคุณทางสายธาตุวิเคราะห์ได้ถูกต้องและตรงประเด็น สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ พระองค์ท่านจึงทรงสนพระทัยและทรงสนับสนุน
    งานช่างฝีมือ อย่างเช่นโครงการศิลปาชีพเป็นต้น ถ้าคุณทางสายธาตุได้เคย
    ไปที่พนมเปญ ลองเข้าไปเยี่ยมชมพระบรมราชวังดูสิครับ จะเข้าทางที่คุณได้
    วิเคราะห์ไว้ในครั้งนี้
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
  9. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    ;aa6



    -อนุโมทนาครับ

     
  10. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488


    อนุโมทนาสาธุการขอรับ
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ศิลปะการก่อสร้างเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ

    วัดที่สร้าง(สร้างใหม่ ไม่ใช่บูรณะของเดิม)ในสมัยพระเอกาทศรถ ควรจะมีศิลปะใด ควรจะเป็นทรงระฆังคว่ำแบบเดียว

    หรือจะมีแบบย่อมุมไม้ยี่สิบดั่งสมัยอยุธยาตอนต้นมาผสมผสานด้วยหนอ

    วัดวรเชษฐ์ไหนควรจะเป็นวัดที่พระเอกาทศรถสร้าง จะเอาเกณฑ์เรื่องของศิลปะการสร้างวัดมาใช้ได้ไหม น่าสนใจ

    รูปแรก เจดีย์วัดเจ้าชาย

    รูปที่สอง เจดีย์วัดเชษฐาราม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2010
  12. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    อนุโมทนาครับ เคยได้ยินเรื่องคล้ายๆกันนี้จากพระอาจารย์ สิงห์ทน ครับ

    ท่านยังกรุณาชี้ให้ดูแนวถนนใหญ่ที่ใช้อัญเชิญพระบรมศพมายังจุดที่ถวาย

    พระเพลิง อีกด้วย
     
  13. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    ควรลองหาโอกาสสนทนาธรรมและสอบถามจากพระอาจารย์ ดร.

    สิงห์ทน ท่านดูนะครับ
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
    กำลังคิดจะไปวัดค่ะ เข้าพรรษานี้

    จะลองไปถามท่านดูนะคะ

    ตอนนี้ยังไม่กระจ่างอยู่ เรื่องใครสร้าง วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ)

    บางท่านก็บอกว่า สร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทอง เดิมชื่อวัดป่าแก้ว

    แต่บางท่านบอกว่า สมเด็จพระเอกาทศรถสร้าง เวลาต่างกันเกือบ200ปี

    งงเลยค่ะ
     
  15. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ใครสร้างวัดวรเชษฐ ดูจะเป็นที่ถกเถียงกันมานานช้า แต่เท่าที่ผมได้เคยอ่าน

    เหตุผลจากหลักฐานเอกสารบางส่วนของท่าน พล.ต.วิจิตร ขจรกล่ำ แล้ว

    ผมเห็นด้วยกับตรรกของท่านครับ
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สาธุค่ะ เรื่องนี้คงจะหาข้อสรุปยากจริงๆ
    สิ่งที่เห็นว่าเป็นไปได้และน่าเชื่อเกี่ยวกับวัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ)

    1. ความเป็นวัดป่าแก้ว ตามนิยามว่าจะต้องอยู่ทิศตะวันตกของวัง

    2. กว้างขวางใหญ่โต สมกับที่จะจัดพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระศพ

    3. วัดนี้น่าจะสร้างมานานแล้ว โดยมีศิลปะนิยมแบบกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

    4. ถนนโบราณนี้ เป็นถนนเดียวที่สร้างนอกกำแพงเมืองในสมัยนั้น ต้องเพื่อพระราชพิธีสำคัญๆแน่ และอาจบรรจุพระบรมอัฐิที่ปรางค์ประธาน (ผู้มีสัมผัสยืนยันหลายคนว่ามีพระบรมอัฐิอยู่จริง) แต่จะไปค้านพงศาวดารที่ว่าวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้าง จะเป็นวัดที่บรรจุพระบรมอัฐิ

    5. (คาดเดาเอง) สมัยที่พระมหาเถรคันฉ่องได้มาจำวัดในกรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2127 นั้น ต้องมีวัดที่สร้างไว้แล้วให้ท่านได้จำวัด ถ้าบอกว่าบูรณะวัดป่าแก้ว อันสงบร่มรื่นนี้ และอยู่ห่างไกลผู้คน เพราะท่านเป็นพระฝ่ายอรัญวาสี (ฝ่ายปฎิบัติ) คงนิยมอยู่วิเวก เป็นไปได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรเจ้าท่าน จะทรงเป็นผู้บูรณะในครานั้น เพื่อถวายให้พระอาจารย์ของท่านได้ใช้และให้สมกับสมณศักดิ์ที่เจ้าท่านทรงตั้งพระมหาเถรคันฉ่องขึ้นเป็นสมเด็จพระพนรัตน์ วัดของพระพนรัตน์ต้องกว้างขวางและเหมาะกับการปฎิบัติ ที่วัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ)นี้เหมาะสมดี


    สิ่งที่ยังคลางแคลง

    วัดนี้สร้างโดยสมเด็จพระเอกาทศรถหรือไม่
    ----------------------------------------------------------------------------------
    เรื่องพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวรนั้น ก็ยังเป็นประเด็นอีก

    ประเด็นแรก ถ้าเชื่อตามพงศาวดารว่าวัดที่พระเอกาทศรถสร้างถวายจะเป็นวัดที่บรรจุพระบรมอัฐิด้วย ก็ขัดแย้งว่าวัดนี้น่าจะสร้างโดยพระเจ้าอู่ทอง

    ประเด็นที่สอง ถ้าไม่เชื่อพงศาวดาร แล้วคิดว่าวัดนี้ สมเด็จพระนเรศวรเจ้าท่าน มักจะมาฝึกพระกรรมฐานกับสมเด็จพระพนรัตน์สม่ำเสมอ จึงทรงน่าจะผูกพันที่นี่โดยถือว่าที่นี่ (วัดวรเชษฐ์) เป็นวัดประจำรัชกาลด้วย เหตุที่ท่านทรงกรำศึก จึงไม่ได้ทรงสร้างวัดใหม่จึงถือเอาวัดนี้เป็นวัดประจำรัชกาล สมเด็จพระเอกาทศรถจึงเห็นสมควรบรรจุพระบรมอัฐิไว้ที่นี่


    พูดกันไปมาพอมึนๆ คงสรุปยากเหมือนกัน ทางสายธาตุอาจใช้วิถีการคิดแบบนักวิทยาศาสตร์มากไปนิดเพราะเรียนมาทางนั้น จึงมักไม่ตัดประเด็นที่น่าจะเป็นอะไรๆออกไปทั้งสิ้น
    ส่วนที่ไม่รู้ก็ค้างไว้ก่อน หาข้อมูลกันต่อไป ^^

    แต่บทสวดมนต์ของหลวงพ่อสิงห์ทน แจ๋วจริงๆนะ จะบอกให้ ^^
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><!--Last Update : 30 กันยายน 2551 23:40:35 น.-->สมัยอยุธยา

    <!-- Main -->[SIZE=-1]ประวัติศาสตร์อยุธยาโดยสังเขป[/SIZE]

    [SIZE=-1]........กรุงศรีอยุธยา หรือกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ได้รับการสถาปนาเป็นราชธานีในดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเมื่อพ.ศ. ๑๘๙๓ โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง และนับแต่นั้นมา กรุงศรีอยุธยาได้แผ่อำนาจออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมชุมชนบ้านเมืองอื่นๆ โดยรอบทั้งทางตอนเหนือ ทางใต้ และทางอีสาน กลายเป็นราชธานีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่เป็นที่ยอมรับของประเทศใกล้เคียงและชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น ๓๓ พระองค์ มี ๕ ราชวงศ์ รวมระยะเวลาถึง ๔๑๗ ปี จึงสูญเสียเอกราชและล่มสลายลง[/SIZE]


    [SIZE=-1]........สุพรรณภูมิ-อโยธยา ก่อนการสถาปนาอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามิได้กำเนิดขึ้นเอง แต่เป็นพัฒนาการของชุมชนบ้านเมืองเดิมที่เคยอยู่กันมาก่อนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะกลุ่มเมืองสำคัญคือ เมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองสุพรรณภูมิ(สุพรรณบุรี และบริเวณอำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาถ) และเมืองอโยธยา(ชุมชนฝั่งตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา) เมืองเหล่านี้มีชุมชนใหญ่ที่เจริญอยู่มาก่อนนานแล้วตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมทวารวดี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) และต่อมาเมื่อขอมเรืองอำนาจจึงเข้าสู่สมัยวัฒนธรรมลพบุรี(ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘) จนราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ จึงกลายเป็นสุพรรณภูมิ-อโยธยา หรือ สมัยอู่ทอง[/SIZE]


    [SIZE=-1]........ปัจจุบันเรายังไม่สามารถทราบประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ที่แน่ชัด การศึกษาที่ผ่านมามักมุ่งเน้นไปที่แบบศิลปกรรมมากกว่า ด้วยพบโบราณสถานวัตถุที่น่าสนใจหลายแห่ง โดยมากมักเป็นพระปรางค์ เจดีย์และพระพุทธรูปที่แสดงลักษณะการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเก่าที่มีอยู่ก่อน คือ วัฒนธรรมทวารวดีตอนปลาย และวัฒนธรรมลพบุรี รวมทั้งรับรูปแบบศิลปกรรมจากลังกาตลอดจนสุโขทัยและศรีวิชัยที่ร่วมสมัยกัน จนเกิดลักษณะเด่นเฉพาะขึ้นที่เรียกกันทั่วไปว่าศิลปะแบบอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ-อโยธยา เช่น ถ้าเป็นพระปรางค์ก็จะมีทรวดทรงชลูดขึ้นแบบฝักข้าวโพดเตี้ย และมีลวดลายประดับลักษณะแบบไทย[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1](ลวดลายจากฐานสูงขึ้นไปเกือบระดับของทับหลังมุขปรางค์) เช่น พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี พระปรางค์วัดพระศรีฯเมืองสุพรรณบุรี และเมืองราชบุรี ซึ่งได้เป็นต้นเค้าของปรางค์แบบไทยต่อไป หรือหากเป็นเจดีย์ทรงกลมก็จะมีเจดีย์มุมที่ฐาน หรือมีช้างล้อมแบบสุโขทัย เช่นเจดีย์ที่วัดใหญ่ชัยมงคล และเจดีย์ที่วัดธรรมิกราช จังหวัดอยุธยา หรือเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมมีซุ้มพระแบบลพบุรีที่บึงพระราม หรือเป็นเจดีย์ที่ฐานแบ่งเป็นช่องๆแบบทวารวดีเช่นเจดีย์ที่วัดขุนเมืองใจ จังหวัดอยุธยา เป็นต้น [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........นอกจากนี้หลักฐานสำคัญของสุพรรณภูมิ-อโยธยาก่อนการสถาปนาอยุธยาก็คือหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงที่สร้างก่อนการสถาปนาถึง ๒๖ ปี และพระพุทธรูปสำริดฐานกระดานแอ่นเข้าที่เรียกว่าแบบอู่ทองอีกจำนวนมาก ซึ่งศิลปกรรมเหล่านี้ต่อมาได้มีอิทธิพลต่อศิลปกรรมอยุธยาในช่วงแรกด้วย[/SIZE]


    [SIZE=-1]ศิลปกรรมสมัยอยุธยา[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ศิลปกรรมอยุธยาส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องในศาสนาเช่นเดียวกับศิลปกรรมในอดีตทั้งหลาย แต่สมัยนี้ก็ได้ปรากฏศิลปกรรมเนื่องในพระราชสำนักด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะบรรดาปราสาทราชวังต่างๆที่เริ่มมีพระราชนิยมให้ก่อสร้างด้วยอิฐเช่นเดียวกับโบสถ์ วิหาร แต่น่าเสียดายผลของสงครามได้ทำลายอาคารเหล่านี้ไปเสียมาก แต่เราก็ยังสามารถทราบรายละเอียดต่างๆได้บ้างโดยอาศัยบันทึกเอกสารทั้งของไทยและต่างชาติ และจากซากโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ศิลปกรรมอยุธยาสามารถแบ่งได้เป็น ๓ หรือ ๔ สมัยด้วยกันคือ[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...สมัยที่ ๑ หรือสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)ถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๐๓๑) สมัยนี้อิทธิพลศิลปะแบบสุพรรณภูมิ-อโยธยาหรืออู่ทองก่อนหน้านี้ยังคงมีอิทธิพลอยู่ ที่เห็นเด่นชัดคือนิยมสร้างพระปรางค์เป็นประธานของวัด เป็นต้นว่าวัดพุทไธสวรรค์ วัดพระราม วัดราชบูรณะ เป็นต้น นอกจากนี้พระพุทธรูปแบบที่เรียกว่าอู่ทองก็ปรากฏอยู่มากเช่นกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...สมัยที่ ๒ หรือสมัยอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยพระเจ้าทรงธรรม(พ.ศ. ๒๐๐๖-๒๑๗๑) อาจเริ่มนับตั้งแต่เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกเมื่อพ.ศ. ๒๐๐๖ และอิทธิพลศิลปะสุโขทัยก็ได้แพร่ลงมายังอยุธยาอย่างมาก พระสถูปเปลี่ยนเป็นสร้างเป็นทรงลังกาตามแบบสุโขทัย เช่นพระเจดีย์สามองค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นต้น รวมทั้งพระพุทธรูปก็มีลักษณะปนสุโขทัย[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...สมัยที่ ๓ หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองถึงสมัยเสียกรุง(พ.ศ. ๒๑๗๓-๒๓๑๐) พระเจ้าปราสาททองทรงปราบได้ประเทศกัมพูชาจึงเกิดพระราชนิยมสร้างปรางค์และแผนผังอาคารตามแบบสถาปัตยกรรมขอม เช่นพระปรางค์วัดชัยวัฒนาราม และพระนครหลวง นอกจากนี้ยังนิยมสร้างเจดีย์รูปแบบใหม่ซึ่งพัฒนามาจากเจดีย์เพิ่มมุมในสมัยที่ ๒ คือเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสลักด้วยศิลาทรายสีแดงและนิยมพระพุทธรูปทรงเครื่องด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...สมัยที่ ๔ นับเป็นสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน โดยแบ่งจากสมัยที่ ๓ นับแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจนถึงเสียกรุง(พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๑๐) เป็นสมัยที่นิยมสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอย่างมากจนเป็นลักษณะเด่น นอกจากนี้บรรดาโบสถ์ วิหารจะมีลักษณะพิเศษคือ มักทำฐานและหลังคาเป็นเส้นอ่อนโค้ง ซึ่งยังคงปรากฏต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น[/SIZE]

    [SIZE=-1]โบราณสถานสมัยอยุธยา[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]๑. สถูปเจดีย์ [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1].........ความสำคัญของสถูปเจดีย์ที่เคยเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดของวัดในสมัยก่อนนั้นค่อยๆลดความสำคัญลง คือสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลางยังคงเป็นประธานของวัดอยู่ แต่สมัยอยุธยาตอนปลายความสำคัญได้เปลี่ยนเป็นวิหารและเปลี่ยนเป็นโบสถ์ต่อมา เป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดของวัดแทน สถูปเจดีย์สมัยอยุธยามีด้วยกัน ๓ รูปแบบใหญ่ และแต่ละรูปแบบนิยมสร้างต่างช่วงสมัยกัน คือ[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...๑.๑ พระปรางค์ นิยมสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานะเป็นประธานของวัด มีรูปทรงที่สืบทอดจากแบบพระปรางค์สมัยสุพรรณภูมิ-อโยธยาซึ่งสืบจากแบบสมัยลพบุรีหรือแบบเขมรอีกทีหนึ่ง แต่มีวิวัฒนการมากขึ้น คือรูปทรงที่สูงเพรียวทุกส่วนตั้งแต่ส่วนฐาน เรือนธาตุและยอดปรางค์หรือส่วนหลังคา และมณฑปทางด้านหน้าของปราสาทที่เคยยื่นยาวแบบเขมรก็ถูกลดขนาดลงไปกว่าสมัยสุพรรณภูมิ-อโยธยกลายเป็นตรีมุขด้านหน้าปรางค์ไป [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........นอกจากนี้กาบขนุนยอดปรางค์ยังทำแนบชิดเรียงขึ้นไปจนมีลักษณะคล้ายฝักข้าวโพดดูสูงขึ้นกลายเป็นลักษณะเฉพาะของปรางค์ไทย พระปรางค์จะตั้งอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยระเบียงคด มีวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และอุโบสถทางทิศตะวันตก [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........พระเจ้าอู่ทองซึ่งเสด็จมาจากทางเหนือได้นำเอาระบบการสร้างปรางค์หลักของวัดจากละโว้ ลงมาด้วย ที่จริงคติการสร้างปรางค์เป็นหลักของวัดซึ่งมีแผนผังพิเศษ คือ พระปรางค์หันสู่ทิศตะวันออก มีซุ้ม ปรางค์ด้านหน้าและมี บันไดทอดขึ้นองค์ปรางค์ คติเช่นนี้ได้นิยมสร้างกันมากสมัยอู่ทองและลพบุรี และมักนิยมสร้างเฉพาะวัดสำคัญอันเป็นหลักของนคร ดังปรากฏที่วัดมหาธาตุและวัดอรัญญิกราชบุรี วัดมหาธาตุเพชรบุรี วัดมหาธาตุสุพรรณบุรี วัดมหาธาตุลพบุรีและวัดมหาธาตุอยุธยาเป็นต้น เข้าใจว่า คติเช่นนี้ เป็นการนิยมฟื้นกลับเข้าสู่ศิลปะลพบุรีสมัยต้น โดยทำขึ้นสมัยอโยธยาตอนปลาย อันเป็น เหตุให้อยุธยารับช่างมาอีกต่อหนึ่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1].........องค์ประกอบของปรางค์มักประกอบด้วยฐานเขียงและฐานปัทม์หรือฐานบัวลูกฟักเพิ่มมุมเพื่อให้รับกับองค์เรือนธาตุ ผังเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุมและออกเก็จในแต่ละด้าน ด้านตะวันออกมีมุขยื่นออกมาเป็นทางเข้าสู่คูหาปรางค์ มีทางเข้าสามทางทั้งด้านหน้าและด้านข้างเรียกว่าตรีมุขแบบปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี บนหลังคาตรีมุขประดับด้วยเจดีย์ด้วยเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเรียกว่าเจดีย์ยอด เช่น ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ หรือ เป็นรูปปรางค์จำลองเช่นปรางค์ประธานวัดพระราม เป็นต้น ยอดปรางค์หรือหลังคาประกอบด้วยชั้นรัดประคด ซุ้มบัญชร กาบขนุนและมักประดับด้วยรูปครุฑหรือยักษ์ [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ปลายสมัยอยุธยาตอนต้นปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลกในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแสดงรูปทรงที่สูงชลูดขึ้นอีก มุขปรางค์ด้านหน้าหดสั้นลง ยอดปรางค์สูงมีขนาดประมาณสองส่วนของเรือนธาตุ [/SIZE]

    [SIZE=-1]........ความนิยมสร้างปรางค์เริ่มหายไปตั้งแต่รัชกาลพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๗) เป็นเวลากว่าร้อยปี (นิยมสร้างเจดีย์ทรงกลมเป็นประธานของวัดตามแบบสุโขทัยแทน) ปรางค์ปรากฏอีกครั้งในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองที่วัดไชยวัฒนาราม สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๑๘๓ เป็นปรางค์ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมจัตุรัส ปรางค์ประธานมีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน มุขด้านหน้าหดสั้นจนมีลักษณะเป็นซุ้ม เรือนธาตุดูมีขนาดสั้นลง ยอดปรางค์แหลมสูงสอบเข้าตอนบน กาบขนุนมีขนาดไล่เลี่ยกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรางค์มีขนาดเล็ก ความสำคัญก็มิใช่ประธานของวัดแล้ว ประกอบด้วยฐานสิงห์สลับกับฐานบัว เรือนธาตุบางครั้งมีการย่อมุมถี่ เช่นวัดโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ส่วนยอดสูงชลูดเป็นแท่งตรงไม่ได้สัดส่วน[/SIZE]

    [SIZE=-1]...๑.๒ เจดีย์ทรงกลม ในสมัยอยุธยาตอนต้นก็ปรากฏมีอยู่บ้างแล้ว เช่นเจดีย์ช้างล้อมที่วัดมเหยงคณ์ สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) เจดีย์นี้คงได้รับแบบอย่างมาจากเจดีย์ช้างล้อมที่นิยมกันในสมัยสุโขทัย ด้วยทั้งสองอาณาจักรมีความเกี่ยวข้องกันอยู่ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) และโดยเฉพาะสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงมีพระชายาเป็นชาวสุโขทัยและได้เคยเสด็จเมืองสุโขทัยด้วย [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ต่อมาเจดีย์ทรงกลมนิยมสร้างมากขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เป็นต้นมา ด้วยพระองค์ประสูติและเจริญพระชันษาที่เมืองพิษณุโลกอันเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือของกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น ทรงมีพระราชนิยมในศิลปกรรมแบบสุโขทัยมาก เจดีย์ทรงกลมได้กลายเป็นประธานของวัดแทนที่ปรางค์ ดังเช่น เจดีย์ทรงกลมที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งพระองค์โปรดให้สร้างขึ้นสององค์ เพี่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชบิดาและพระบรมอัฐิพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พระเชษฐา ส่วนองค์สุดท้ายสร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระราชบิดา[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1].........ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม ๓ องค์เรียงกัน มีมณฑปเชื่อม ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดขึ้นมุขทั้งสี่ด้าน หลังคามุขประดับด้วยเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็ก มุขตะวันออกเป็นทางเข้าสู่คูหาขององค์เจดีย์ ส่วนมุขอื่นใช้เป็นคูหาประดิษฐานพระพุทธรูป เหนือองค์ระฆังซึ่งสูงชลูดกว่าสุโขทัยเป็นบัลลังค์กับบัวฝาละมี เหนือขึ้นไปเป็นปล้องไฉน ปลีและเม็ดน้ำค้าง ลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงกลมอยุธยาอีกอย่างหนึ่งคือ มาลัยเถาทำเป็นมาลัยลูกแก้ว ผิดกับสุโขทัยซึ่งมักทำเป็นบัวถลา[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........เจดีย์ทรงกลมยังคงมีการสร้างต่อมา แต่ความสำคัญได้ลดลง นิยมการสร้างเจดีย์รูปแบบใหม่ที่เริ่มเกิดขึ้นในสมัยอยุธยานี้คือเจดีย์เพิ่มมุมและเจดีย์ย่อมุม[/SIZE]

    [SIZE=-1]...๑.๓ เจดีย์เพิ่มมุมและเจดีย์ย่อมุม การเพิ่มมุมหมายถึง การเพิ่มเนื้อที่แนวขนานที่ด้านทั้งสี่ของผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส และเนื่องจากเนื้อที่ที่เพิ่มมีขนาดสั้นกว่าเนื้อที่เดิมของแต่ละด้าน จึงได้เกิดมุมขึ้น มุมที่เกิดจากการเพิ่มด้านจะมีขนาดเล็กกว่ามุมประธานซึ่งเป็นมุมเดิมของผังสี่เหลี่ยม[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ส่วนการย่อมุมหมายถึง การแตกมุมใหญ่ของผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสออกเป็นมุมย่อยๆและมุมทุกมุมมีขนาดเท่ากัน [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........เจดีย์เพิ่มมุมปรากฏครั้งแรกในสมัยอยุธยาตอนกลางเช่น เจดีย์ศรีสุริโยทัยภายในวัดสวนหลวงสบสวรรค์ซึ่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัยเมื่อพ.ศ. ๒๐๙๑ [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........รูปแบบของเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณสี่เหลี่ยมจตุรัสเพิ่มมุม ฐานเจดีย์เหนือลานประทักษิณก็มังสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุมและออกเก็จตามมะมทิศ รับกับมุขที้งสี่ที่ยื่นยาวออกมาจากเรือนธาตุที่อยู่เหนือขึ้นไป บนหลังคามุขประดับเจดีย์ยอด เหนือเรือนธาตุเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วอกไก่สามชั้น เหนือขี้นไปเป็นองค์ระฆังและบัลลังก์ซึ่งมีผังเพิ่มมุมรับกันมาตั้งแต่ฐาน เหนือบัลลังก์มีเสาหารรองรับปล้องไฉน ปลีและเม็ดน้ำค้างในผังกลม[/SIZE]
    [SIZE=-1]ต่อมาเรือนธาตุและมุมทิศหมดความสำคัญลง มุขทิศหดสั้นกลายเป็นซุ้มทิศ ไม่มีการประดับด้วยเจดีย์และฐานบัวลูกแก้วอกไก่ เหนือเรือนธาตุกลายเป็นมาลัยเถาไป[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ในช่วงอยุธยาตอนปลาย เจดีย์เพิ่มมุมได้วิวัฒนาการกลายเป็นเจดีย์ย่อมุมอย่างแท้จริงเช่นเจดีย์ย่อมุมสององค์ที่วัดชัยวัฒนาราม และวัดชุมพลนิกายารามสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เป็นเจดีย์ไม่มีเรือนธาตุ จึงไม่ต้องอาศัยการเพิ่มมุม ผังของเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มุมทั้งสี่เเตกมุมใหญ่ออกเป็นมุมย่อยขนาดเท่าๆกัน ฐานเจดีย์เป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ เหนือขึ้นไปเป็นมาลัยเถา เป็นบัวปากระฆังและองค์ระฆัง เหนือองค์ระฆังเป็นบัลลังก์ ทั้งหมดย่อมุมรับกันตลอด ส่วนปล้องไฉน ปลี เม็ดน้ำค้างอยู่ในผังกลมแต่ยืดสูงขึ้น[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........สมัยนี้ยังนิยมสร้างเจดีย์ทรงเครื่อง หรือเจดีย์ที่ประดับประดาด้วยลวดลายปูนปั้น ลักษณะสำคัญคือประกอบด้วยฐานบัวลูกแก้วรองรับฐานสิงห์สามชั้น มีบัวกลุ่มรับองค์ระฆัง เหนือองค์ระฆังเป็นบัวกลุ่มเรียงซ้อนลดหลั่นขึ้นไปแทนปล้องไฉน ซึ่งเจดีย์ลักษณะนี้สืบต่อไปยังสมัยต้นรัตนโกสินทร์[/SIZE]

    [SIZE=-1]๒. วิหารและโบสถ์[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ก่อนหน้าสมัยอยุธยาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ในดินแดนสุพรรณภูมิ-อโยธยา วิหารยังคงมีความสำคัญควบคู่กับสถูปเจดีย์เช่นแต่ก่อน มักตั้งด้านหน้าสถูปเจดีย์ทรงปรางค์ เช่นวัดพระราม วัดมหาธาตุ จังหวัดอยุธยา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ในสมัยอยุธยาตอนต้น วิหารมีความสำคัญมากขึ้น ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือพระประธานของวัด นอกจากนี้ยังใช้ประกอบศาสนากิจพิธีต่างๆ ส่วนโบสถ์ยังคงความสำคัญน้อยกว่าตามเดิมจึงมีขนาดเล็ก แต่ต่อมาวิหารเริ่มถูกลดความสำคัญลง เห็นได้ชัดตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) พระองค์เสด็จออกบวชระยะหนึ่งจึงเกิดประเพณีว่าลูกชายต้องบวชเรียนทำให้พระสงฆ์เพิ่มมากขึ้น โบสถ์กลายเป็นอาคารสำคัญแทน และสมัยอยุธยาตอนปลาย โบสถ์จึงมีความสำคัญแทนที่อย่างแท้จริง สืบจนมาถึงปัจจุบัน[/SIZE]

    [SIZE=-1]........โบสถ์และวิหารสมัยอยุธยา มีรูปแบบทั่วไปคล้ายกัน สามารถแบ่งเป็น๓ สมัยคือ[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...สมัยที่ ๑ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๐๓๑) จัดเป็นสมัยอยุธยาตอนต้น โบสถ์เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูน ฐานสูงเล็กน้อย มีประตูเข้าทางด้านหน้าทางเดียว ผนังด้านข้างเจาะเป็นช่องให้แสงสว่างเข้าเลียนแบบอาคารสมัยสุโขทัย เช่นผนังโบสถ์วัดหน้าพระเมรุ วัดมหาธาตุ จังหวัดอยุธยา หลังคาจั่งลดชั้น ไม่นิยมสร้างชายคายื่นมาก มุมกระเบื้องดินเผากาบกล้วย หน้าบันจำหลักลาย ภายในอาคารมีเสาสองแถว ชายคาด้านนอกมีพาไลรอบ สามารถเดินประทักษิณได้โดยรอบตามแบบสุโขทัย[/SIZE]

    [SIZE=-1]...สมัยที่ ๒ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ถึงสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๑๗๑) สมัยอยุธยาตอนกลาง รูปทรงทั่วไปคล้ายสมัยแรก แต่ที่เปลี่ยนไปบ้างคือพาไลหายไป ใช้ทวยรับน้ำหนักชายคาปีกนกแทน เช่นวัดกษัตริยาราม หรือก่อผนังหนาไม่มีเสาภายใน ผนังข้างเจาะหน้าต่างเล็กๆตอนกลาง ๑-๓ บาน[/SIZE]

    [SIZE=-1]...สมัยที่ ๓ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองถึงสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย โบสถ์มีความสำคัญแทนที่วิหาร(บางวัดไม่มีวิหาร) รูปแบบเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม เช่นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เสาภายในอาคารกลับมาใช้อีกแต่เปลี่ยนเป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รูปแบบโบสถ์มีอิทธิพลยุโรปเช่น มีอาคารตึกสองชั้น เจาะผนังหน้าต่างโค้งแหลม ผนังด้านตัดด้านหน้าและด้านหลัง(ผนังหุ้มกลอง)ก่ออิฐถึงอกไก่ หน้าบันปั้นปูนเป็นลวดลาย เป็นต้น สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ อาคารขยายกว้าง หลังคาลาด ด้านหน้าหรือทั้งด้านหน้าด้านหลังลักษณะคล้ายเพิงลาดลงมาเรียกว่าจั่นหับ เสารับจั่นหับเป็นเสาย่อมุมไม้สิบสอง หัวเสาเป็นบัวกลุ่มหรือบัวกลีบยาว เป็นต้น[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........นอกจากสมัยนิยมดังกล่าวนี้ โบสถ์สมัยอยุธยาตอนปลายก็มีลักษณะเฉพาะที่เหมือนกันเป็นเอกลักษณ์คือ มีฐานสิงห์และฐานปัทม์ที่แอ่นโค้งแบบท้องเรือสำเภา หน้าเชิด ตัวอาคารดูสูงชลูดสอบขึ้นข้างบน มีลวดลายตามส่วนต่างๆมากและดูอ่อนช้อย[/SIZE]

    [SIZE=-1]๓. พระราชวัง [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........หลักฐานเกี่ยวกับพระราชวังในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปัจจุบันคงเหลือเพียงซากของฐานอาคาร นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะได้จากเอกสาร เช่น คำให้การของขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม บันทึกของนายนิโกลาส์แชร์แวส์ รวมถึงหนังสือเรื่องกรุงเก่า พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ และพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ฯลฯ ทำให้ทราบถึงที่ตั้งและสภาพโดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........พระราชวังในกรุงศรีอยุธยามีอยู่ ๓ แห่งคือ พระราชวังหลวงซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ วังจันทรเกษม เป็นวังหน้า และวังสวนหลวงเป็นวังหลัง[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...๓.๑ พระราชวังหลวง[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]..........พระราชวังในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ปรากฏหลักฐานตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดฯ ให้สร้างที่ประทับขึ้นบริเวณกลางเมืองค่อนไปทางทิศเหนือ เนื่องจากเป็นที่ดอนล้อมรอบด้วยที่ลุ่มและบึง พระราชวังหลวงมีลำน้ำลพบุรีอยู่ทางเหนือ มีวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ทางใต้พระราชวังหันหน้าไปทางตะวันออกสู่สนามหลวงซึ่งเรียกกันว่า หน้าจักรวรรดิ เนื่องจากเป็นด้านหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท ภายในพระราชวังประกอบด้วยพระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท และพระที่นั่งมังคลาภิเษก[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........นอกจากพระที่นั่งที่ปรากฏซากให้เห็นแล้ว ยังปรากฏชื่อพระที่นั่งในเอกสาร เช่น ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ได้ปรากฏชื่อพระที่นั่งตรีมุขซึ่งได้เกิดเพลิงไหม้เมื่อปี พ.ศ.๑๙๘๔ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏชื่อพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท และพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้โปรดให้สร้างพระที่นั่งศิริยโสธรมหาพิมานบรรยงค์ ต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็นพระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์มหาปราสาท ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ขึ้น ตรงที่เคยเป็นพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1].........พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท พระที่นั่งองค์นี้สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้นรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมามีการปรับปรุงเครื่องบนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระที่นั่งสำคัญ พระที่นั่งมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นปราสาท มีมุขโถงออกจากปราสาททำหลังคาคลุมซ้อนสามชั้น มุขข้างเป็นมุขสั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........พระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บนบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี จากเอกสารเก่าระบุว่า มียอดเป็นพรหมพักตร์ มีฉัตรปิดทอง ๕ ชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดีบุก เป็นอาคารจตุรมุข ๒ ชั้น พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระศพของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรดที่จะมาประทับที่นี่ ปัจจุบันคงเหลือแต่ฐาน[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........พระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ตั้งอยู่ทางเหนือของบริเวณพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งบริเวณนี้มีพระที่นั่งเรียงกันอยู่ ๓ องค์ คือ พระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ทางตอนเหนือ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาทตอนกลาง และพระที่นั่งวิหารสมเด็จอยู่ทางใต้ ภายในบริเวณจะมีโรงพิไชยราชรถ ศาลาลูกขุน พระตำหนัก โรงแสง คลัง หอพระภูษามาลาอยู่ทั่วไป และภายในพระราชวังยังเป็นที่ตั้งของวัดซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถบนพื้นที่พระราชวังถึงวัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดคู่กับพระราชวัง[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........พระที่นั่งวิหารสมเด็จ สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแทนที่พระที่นั่งมังคลาภิเษกซึ่งถูกไฟไหม้ในปีพ.ศ.๒๑๗๙ เป็นอาคารจตุรมุข มีมุขหน้าและหลังยาว ส่วนมุขข้างทั้งสองข้างสั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1]พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ สมเด็จพระเพทราชาโปรดฯให้สร้างขึ้นในปี เป็นอาคารจตุรมุขอยู่บนเกาะมีสระน้ำล้อมรอบ เป็นปราสาทก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท เป็นพระที่นั่งซึ่งพระเจ้าปราสาททองโปรดฯ ให้สร้างขึ้น ในปี พ.ศ.๒๑๗๕ เดิมพระนามว่าพระที่นั่งศิริยโสธรมหาพิมานบรรยงค์ ต่อมาจึงเปลี่ยนพระนาม พระที่นั่งองค์นี้สร้างขึ้นให้มีมุขยื่นไปบนกำแพงเมืองสันนิษฐานว่าใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรการฝึกทหาร การประลองกำลังพล ขบวนแห่ทางสถลมารค และพระราชพิธีที่จัดขึ้นในสนามหลวง ปัจจุบันคงเหลือแต่ซากศิลาแลงและอิฐประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปครุฑยุดนาค[/SIZE]

    [SIZE=-1]...๓.๒ วังจันทร์เกษม[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1].......วังจันทร์เกษม หรือวังหน้าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๒๐ เพื่อให้สมเด็จพระนเรศวร ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราชครองเมืองพิษณุโลก ใช้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จลงมาเฝ้าพระราชบิดา หลังจากนั้นยังถูกใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ เช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ฯลฯ ต่อมาเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พระราชวังแห่งนี้ได้ถูกไฟไหม้และทิ้งร้างจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้สร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นที่ประทับ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เมื่อสร้างพระราชวังบางปะอินแล้วเสร็จ จึงพระราชทานวังจันทรเกษมให้เป็นที่ว่าการมณฑลอยุธยา อาคารสถานที่ต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว แต่สร้างขึ้นตามแผนผังเดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวังจันทรเกษมประกอบด้วย ประตูกำแพงวัง พลับปลาจตุรมุข พระที่นั่งพิมานรัถยา และพระที่นั่งพิสัยศัลยลักษณ์[/SIZE]

    [SIZE=-1]...๓.๓ วังสวนหลวง[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........วังสวนหลวงหรือวังหลังตั้งอยู่ริมกำแพงพระนครด้านทิศตะวันตก แต่เดิมเป็นสวนหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดฯ ให้สร้างวังขึ้นเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเอกาทศรถ ปัจจุบันไม่หลงเหลือสิ่งใดให้เห็นเป็นหลักฐาน[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........นอกจากพระราชวังในกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๓ แห่งนี้แล้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียังมีการสร้างพระราชวังนอกกรุงศรีอยุธยา คือ พระนารายณ์ราชนิเวศที่จังหวัดลพบุรี [/SIZE]

    [SIZE=-1]...๓.๔ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ [/SIZE]
    [SIZE=-1]สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วยพระที่นั่งจันทพิศาลทางด้านทิศเหนือ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทางด้านทิศใต้ และพระราชมณเฑียรองค์กลาง (พระที่นั่งธัญญมหาปราสาท) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์พระนารายณ์ราชนิเวศน์ และสร้างพระที่นั่งขึ้นเป็นที่ประทับเพิ่มเติม คือพระที่นั่งพิมาน มงกุฏ พระที่นั่งสุทธวินิจฉัย พระที่นั่งไชยศาสตรากร และพระที่นั่งอักษรศาสตรานาม[/SIZE]

    [SIZE=-1]โบราณวัตถุ[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...๑. ประติมากรรม แบ่งได้เป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้ดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...๑.๑ ยุคแรก จะนิยมทำตามแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๒ และ ๓ ซึ่งยังแพร่หลายอยู่ในภูมิภาคนี้ และแพร่หลายต่อมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑ -๒๐๓๑ ตัวอย่าง เช่น พระพุทธรูปที่ขุดได้ในกรุวัดราชบูรณะซึ่งสร้างครั้งสมเด็จเจ้าสามพระยา ก็ล้วนแต่เป็นแบบอู่ทองรุ่น ๓ จนกระทั่งในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงสร้างแบบอยุธยาขึ้นโดยผสมผสานระหว่างศิลปะลพบุรี อู่ทอง และสุโขทัย[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...๑.๒ ยุคที่ ๒ หลังจากที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไปครองเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. ๒๐๐๖ ศิลปะสุโขทัยได้แพร่หลายเข้ามามาก ประติมากรรมจะมีลักษณะอิทธิพลของสุโขทัยมากขึ้นกว่ายุคแรก[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...๑.๓ ในรัชสมัยของพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ได้ปราบปรามเขมรได้ราบคาบ จึงเกิดค่านิยมในการสร้างพระพุทธรูปหินทรายตามอย่างเขมร ซึ่งมักจะมีพระโอษฐเป็นขอบ ๒ ชั้นหรือพระมัสสุบาง ๆ เหนือพระโอษฐ[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...๑.๔ ในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมทำพระพุทธรูปทรงเครื่องมีทั้งแบบทรงเครื่องใหญ่ และแบบทรงเครื่องน้อย ทำปางประทานอภัยทั้ง ๒ พระหัตถ์ เป็นปางห้ามสมุทร(หรือปางประทานอภัยทั้ง ๒ พระหัตถ์) ถ้าประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ซ้ายเรียกว่าปางห้ามพระแก่นจันทน์ ถ้าประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ขวาเรียกว่าปางห้ามญาติ)[/SIZE]
    [SIZE=-1]นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังมีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์ซึ่งมักจะทำรูปพระศรีอริยเมตไตรย และมีการทำเทวรูปตามอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน[/SIZE]

    [SIZE=-1]๓. จิตรกรรม [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........มักจะเป็นภาพเล่าเรื่องในพระพุทธศาสนาตามแบบที่เคยมีการสลักภาพชาดกในแผ่นหินหรือโลหะตั้งแต่ครั้นกรุงสุโขทัย จิตรกรรมในระยะแรกมักจะแข็งและหนักตามอิทธิพลศิลปะสุโขทัยซึ่งเป็นภาพแกะสลัก และใช้สีดำ ขาว และแดงเท่านั้น ต่อมาจึงทำเป็นภาพหลายสี และบางครั้งมีอิทธิพลศิลปะจีน นอกจากจิตรกรรมฝาผนังแล้ว ยังมีการเขียนภาพลงในสมุดข่อย[/SIZE]

    [SIZE=-1]๔. ประณีตศิลป์ [/SIZE]
    [SIZE=-1]มักจะเป็นงานไม้ เช่น ประตู หน้าต่าง ธรรมมาสน์ ตู้พระไตรปิฏก หีบใส่หนังสือ[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........นอกจากนี้ในการขุดกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะได้พบงานประณีตศิลป์เป็นงานเครื่องทองเป็นจำนวนมาก[/SIZE]

    [SIZE=-1]๕. เครื่องถ้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ที่สำคัญคือ เครื่องเบญจรงค์ ซึ่งเป็นเครื่องเคลือบดินขาว ตกแต่งโดยลงยา ๓, ๕ หรือ ๘ สี ได้แก่สีแดง เหลือง ขาว ดำ เขียว และน้ำเงิน บางครั้งเพิ่มสีทองเป็นเครื่องถ้วยลายน้ำทอง เครื่องเบญจรงค์นี้นิยมสั่งจากจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์หมิงในพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นต้นมาโดยส่งลายไทยไปเป็นแบบ และกำหนดสี จึงทำให้ในบางครั้งแม้จะเป็นลวดลายแบบไทย แต่ก็มีอิทธิพลจีนปะปนอยู่[/SIZE]

    [SIZE=-1]อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา[/SIZE]
    [SIZE=-1]ความเป็นมา[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาซึ่งเคยเป็นราชธานีเดิมของไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๓ ต่อจากกรุงสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ นับตั้งแต่นั้นมากรุงศรีอยุธยาก็เปฯราชธานีมาตลอด ๔๑๗ ปี ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ ๓๓ พระองค์จาก ๕ ราชวงศ์ จนกระทั่งเสียกรุงในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ จากนั้นจึงย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรีและกรุงเทพ[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........กรุงศรีอยุธยามีลักษณะเป็นเกาะมีแม่น้ำล้อมรอบ ๓ สาย มีกำแพงเมืองล้อมรอบยาวกว่า ๑๒ กิโลเมตร บนกำแพงมีป้อม ๑๖ ป้อม ประตูเมืองประตูเล็กและประตูน้ำทั้งสิ้น ๙๙ ประตู ภายในเมืองแบ่งเป็นเขตพระราชวัง เขตวัง เขตวัด และเขตที่อยู่อาศัย มีการขุดคูคลองเชื่อมแม่น้ำเข้ามาในเมืองมากกว่า ๑๐ สาย สร้างถนนขนานกับแนวคูคลอง และทำสะพานขามคูคลองเชื่อมถนนกว่า ๓๐ สะพาน[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........จากการที่เป็นเมืองหลวงเก่าในอดีต มีโบราณสถานมากมายทั้งภายในตัวเมืองและพื้นที่โดยรอบกว่า ๒๐๐ แห่ง บนเนื้อที่กว่า ๑,๘๐๐ ไร่ กรุงศรีอยุธยาจึงได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง อนุรักษ์ และพัฒนาขึ้นเป็นนครประวัติศาสตร์ และจะเป็นนครประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย[/SIZE]

    [SIZE=-1]โบราณสถานโบราณสถานก่อนกรุงศรีอยุธยา[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........บริเวณที่ตั้งกรุงศรีอยุธยาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนเมืองมาก่อน ผู้รู้หลายท่านเรียกเมืองนี้ว่า อโยธยา เจ้าของศิลปกรรมที่เรียกว่าศิลปะอู่ทอง ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่มีอิทธิพลศิลปะขอมกับศิลปะอื่นๆตลอดจนศิลปะพื้นเมืองที่แพร่หลายในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนหน้าที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตัวอย่างโบราณสถานสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ก็คือ[/SIZE]
    [SIZE=-1]วัดธรรมิกราช ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวัง สร้างขึ้นโดยพระยาธรรมิกราช พระราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้งแห่งอโยธยา สิ่งสำคัญคือเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังที่ฐานมีสิงห์ล้อมรอบ ด้านหน้าเป็นวิหารหลวง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปในศิลปะอู่ทอง เรียกกันว่าพระธรรมิกราช[/SIZE]

    [SIZE=-1]โบราณสถานสมัยอยุธยาตอนต้น [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........เริ่มต้นตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง) จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙–๒๑ สถาปัตยกรรมในช่วงนี้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมขอมที่แพร่หลายอยู่ในบริเวณนี้มาก่อน จึงนิยมสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ พระอุโบสถเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ลักษณะคล้ายกันกับวิหารคือเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานสูงประดับลวดบัว มีประตูเข้าด้านหน้าด้านเดียว ผนังเจาะเป็นช่องแสง บางครั้งทำลูกกรงเป็นลูกมะหวดตามแบบขอม หลังคาหน้าจั่วลดชั้นไม่มีชายคายื่นออกมามาก มุงหลังคาด้วยกระเบื้องกากล้วย โบราณสถานที่สำคัญในช่วงนี้ก็คือพระราชวังซึ่งได้กล่าวไปแล้วข้างต้น นอกจากนี้ก็เป็นวัดต่างๆ ซึ่งทั้งวังและวัดเหล่านี้ปรากฏหลักฐานว่ามีการซ่อมแซมบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างเพิ่มเติมในสมัยหลัง จนบางครั้งจะพบว่ามีลักษณะแตกต่างออกไปจากที่นิยมทำกันในช่วงสมัย ตัวอย่างวัดในสมัยอยุธยาตอนต้นได้แก่ [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]...วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่กลางกรุง สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช สิ่งสำคัญคือเจดีย์[/SIZE][SIZE=-1]พระมหาธาตุซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ทรงสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๑๗ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ มีเจดีย์บริวาร ระเบียงคดล้อมรอบ ด้านหน้าระเบียงคดเป็นวิหาร ด้านหลังเป็นพระอุโบสถ ภายในปรางค์ประธานขุดพบพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ภายใน[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]วัดพระราม ตั้งอยู่ใกล้กับบึงพระราม สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ต่อมามีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สิ่งสำคัญคือเจดีย์ประธานและเจดีย์บริวารด้านทิศเหนือและใต้ ทั้ง ๓ องค์เป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ที่มุมยังมีเจดีย์มุม มีระเบียงคดล้อมรอบ ด้านหน้าเป็นวิหาร ด้านหลังเป็นโบสถ์[/SIZE]

    [SIZE=-1]...วัดราชบูรณะ ปรากฏชื่อในพงศาวดารว่าวัดราชบุณ สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งพระราชบิดา สิ่งสำคัญคือเจดีย์ประธานมีลักษณะเป็นปรางค์ มีเจดีย์มุม ล้อมรอบด้วยระเบียงคด ด้านหน้าเป็นวิหารด้านหลังเป็นโบสถ์ ภายในปรางค์ประธานได้ขุดพบกรุเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค เครื่องบรรณาการ พระพุทธรูป และเทวรูป ส่วนใหญ่ทำด้วยทองคำเชื่อว่าสร้างขึ้นอุทิศแกเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา พระเชษฐา[/SIZE]

    [SIZE=-1]...วัดมเหยงค์ สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ภายใต้อิทธิพลสถาปัตยกรรมสุโขทัย สิ่งสำคัญคือเจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงกลมฐานสูง ที่ฐานมีช้างล้อมรอบ ด้านหน้าของเจดีย์เป็นวิหาร มีเจดีย์รายล้อมรอบ[/SIZE]

    [SIZE=-1]โบราณสถานสมัยอยุธยาตอนกลาง[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ จนถึงสมเด็จพระอาทิตยวงศ์หรือสิ้นราชวงศ์พระร่วง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑–๒๒ จากความสัมพันธ์กับสุโขทัยทำให้อิทธิพลสถาปัตยกรรมสุโขทัยเข้ามาสู่สถาปัตยกรรมในช่วงนี้มากขึ้น เจดีย์ทรงกลม หรือทรงระฆัง หรือทรงลังกา แพร่หลายมากในช่วงนี้และเป็นองค์ประธานของวัดแทนที่ปรางค์ ซึ่งลักษณะนี้ได้เริ่มปรากฏมาก่อนหน้านี้แล้วที่วัดมเหยงค์ และมีวิวัฒนาการต่อมาเป็นการเพิ่มมุมหรือย่อมุมตามแบบปรางค์แสดงให้เห็นการผสมผสาน ส่วนโบสถ์และวิหารยังคงเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนต้น แต่มีการปรับเปลี่ยนและตกแต่งเพิ่มเติมขึ้น ตัวอย่างวัดที่สำคัญ ได้แก่[/SIZE]

    [SIZE=-1]วัดพระศรีสรรเพชญ์ [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........เป็นวัดในพระราชวังคล้ายกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ สิ่งสำคัญของวัดนี้คือเจดีย์ทรงกลม ๓ องค์ โดย ๒ องค์แรกสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดา และพระอัฐิของพระเชษฐา ต่อมาสมเด็นพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (พระหน่อพุทธางกูร) ได้สร้างเจดีย์องค์ที่ ๓ ทางทิศตะวันตกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ระหว่างองค์เจดีย์ทั้ง ๓ มีการสร้างมณฑปคั่นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ด้านหน้าเจดีย์เป็นวิหารหลวงซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน หุ้มด้วยทองคำ พระนามว่าพระศรีสรรเพชญ์ แต่เมื่อเสียกรุงได้ถูกพม่าทำลายเอาไฟสุมลอกทองไปหมด[/SIZE]

    [SIZE=-1]โบราณสถานสมัยอยุธยาตอนปลาย[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]........เริ่มตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์หรือเมื่อเสียกรุง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๒–๒๓ จากการที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงปราบปรามเขมรไว้ได้ ทำให้อิทธิพลสถาปัตยกรรมเขมรได้เข้ามาอีกครั้ง เจดีย์ย่อมุมเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและมีวิวัฒนาการมากขึ้น เช่นที่วัดภูเขาทอง วัดไชยวัฒนาราม วัดชุมพลนิกายาราม ฯลฯ รูปแบบของโบสถ์และวิหารเปลี่ยนแปลงไปตามคตินิยมและอิทธิพลจากตะวันตก มีการทำเป็นอาคาร ๒ ชั้น ทำช่องหน้าต่างโค้งแหลม ไม่มีซุ้มหน้าต่าง ขนาดของอาคารกว้างมากขึ้น ซึ่งพัฒนาไปเป็นอาคารกว้างเตี้ย ผนังอาคารประดับลายปูนปั้นมากขึ้น และลักษณะเฉพาะคือการทำฐานอาคารตกท้องช้างหรือแอ่นโค้งสำเภา เช่นที่วัดธรรมาราม วัดเตว็จ วัดตึก ฯลฯ ตัวอย่างวัดสำคัญในช่วงนี้ ได้แก่[/SIZE]

    [SIZE=-1]...วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา นอกกรุงศรีอยุธยา วัดนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. ๒๑๗๓ ในบริเวณที่เป็นบ้านเกิดของพระองค์เพื่ออุทิศแกพระราชชนนี สิ่งสำคัญคือเจดีย์ประธานทรงปรางค์ มีปรางค์บริวารทั้ง ๔ มุม ล้อมรอบด้วยระเบียงคด ตามแนวระเบียงมีเจดีย์ทรงปราสาทตามทิศทั้ง ๘ ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่นอกระเบียงคด[/SIZE]


    <!-- End main-->

    </TD></TR></TBODY></TABLE>อ่านแล้วหลับสบาย เพราะเรื่องชวนหลับแท้ๆทีเดียว ไปหลับก่อนนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2009
  18. ศรัทธา_พิสุทธิ์

    ศรัทธา_พิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +205
    ขออนุโมทนาด้วยค่ะ เรื่องทางวิทยาศาสตร์ควรจะต้องเป็นหลักนะคะ ยิ่งในสมัยปัจจุบันมีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
    หลายๆชนิดสามารถช่วยพิสูจน์หลักฐานหลายๆอย่างได้ แต่
    ก็อาจมีความจำเป็นในบางครั้งที่อาจต้องใช้ทางด้านอื่น
    เช่นการนั่งทางใน การเข้าทรงฯลฯ เข้ามาเป็นส่วนประกอบ
    อาจเพื่อเป็นเบาะแส หรือเหตุผลทางด้านจิตวิทยาก็ได้ค่ะ
    ส่วนหลักฐานทางด้านพงศาวดาร การเสียกรุงทั้งสองครั้ง
    เชื่อว่าหลักฐานเท่าที่มีอยู่ต้องสูญหายและถูกทำลายไป
    ทั้งหมดหรือเกือบหมด เพราะผู้ชนะย่อมต้องทำลายหลัก
    ฐานทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติที่พ่ายแพ้
    เป็นธรรมดา ดังนั้นพงศาวดารจึงน่าจะมาเขียนกันในภาย
    หลังและเขียนกันตามคำเล่าขานเสียมาก ทำนองเล่าลือ
    หรือคาดว่าหรือเดาว่าประมาณนั้นนะคะ ผู้ที่รู้จริงได้ล้มหายตายจากไปเสียมาก ถูกกวาดต้อนไปก็ไม่น้อย ลองจินตนาการดูแล้วยังนึกภาพไม่ออกว่าจะไปหาข้อมูลจากใคร
    ได้ แม้กระทั่งฉบับวันวลิตก็ยังมาเขียนในภายหลังหลายสิบ
    ปีแล้วเป็นชาวต่างชาติอีกเนื้อหาสาระก็ยิ่งน่าจะเพี้ยนไปอีก
    ไม่น้อยทีเดียวค่ะ
     
  19. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    ปกติการเขียนประวัติศาสตร์ก็มาเขียนกันภายหลัง โดยค้นคว้าจากหลักฐานที่มีผู้บันทึกไว้ จากพยานหลักฐานสิ่งแวด
    ล้อมที่ปรากฎหลงเหลืออยู่ หรือจากบันทึกของชาวต่างชาติ
    หรือจากบันทึกประวัติศาสตร์ของชาติอื่น แต่กรณีประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาในยุคต้นๆและยุคกลางๆต่อยุคสุดท้าย
    น่าจะสูญหายและถูกทำลายไปเกือบหมด คงจะจำกันได้ดี
    ว่าการเสียกรุงครั้งสุดท้าย พม่าได้เผาทำลายกรุงศรีอยุธยา
    พินาศเสียจน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตระหนัก
    พระทัยว่ายากที่จะฟื้นฟูทำนุบำรุง ถึงได้ตัดสินพระทัยเลือก
    กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ประวัติศาสตร์ถึงได้มีหลากหลาย
    ฉบับ เช่นคำให้การของชาวกรุงเก่า ฉบับโน้นฉบับนี้ จึงจำเป็นที่ชนรุ่นหลังจะต้องค้นคว้านะครับโดยอาศัยแนวทางและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือการคิดที่เป็นเหตุผลที่สามารถใช้หลักฐานนำมาพิสูจน์ได้ ถ้าท่านใดได้เคยอ่าน
    หนังสือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ท่านมุ้ยได้นิพนธ์ไว้
    จะเห็นว่าท่านมุ้ยได้อาศัยตรรกทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่
    มากทีเดียวนะครับ
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,896
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อนุโมทนาค่ะ คุณศรัทธา พิสุทธ์

    นึกถึงเรื่องหนึ่งขึ้นมาได้ เป็นเรื่องเล่าลือ ทางสายธาตุไป

    ทำบุญและทำสังฆทานที่วัดแห่งหนึ่งในอยุธยาที่เพื่อตาม

    หาข้อมูลบางอย่าง ได้พบพระ3 รูปที่จำพรรษาและดูแล

    โบสถ์โบราณนี้ พระท่านโปรดญาติโยมโดยเล่าเรื่องของพระเจ้า

    ปราสาททองทั้งเรื่องในตำนานและเรื่องที่พระองค์ได้นำพระบรมอัฐิของ


    สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถบางส่วน

    มาบรรจุที่พระปรางค์ย่อมุมไม้สิบสอง องค์คู่หน้าพระอุโบสถ

    ก็ยังสงสัยอยู่ว่าจะจริงหรือไม่ เพราะไม่มีสัมผัสพิเศษ

    แต่พระเจ้าแผ่นดินสมัยอยุธยา ถ้าท่านจะทรงทำอะไรแบบนี้

    ก็คงจะเป็นไปได้ เพราะมีพระราชอำนาจอยู่เต็ม


    แต่สิ่งที่น่าจะจริงเพราะมีการบันทึกไว้ชัดเจนก็คือ พระเจ้าปราสาททอง

    แบ่งอัฐิพระมารดาของพระองค์บรรจุไว้ อย่างน้อย 2 แห่ง คือ

    เจดีย์เล็กในบริเวณโบสถ์ วัดชุมพลนิกายาราม

    กับ ในปรางค์ประธานวัดไชยวัฒนาราม

    ธรรมเนียมการแบ่งอัฐิบรรจุในเจดีย์หรือปรางค์ต่างๆ

    จะถือปฎิบัติกันเป็นปกติหรือไม่ก็ไม่ทราบค่ะ สำหรับ

    พระมหากษัตริย์ท่านจะถือเช่นนี้ด้วยหรือไม่

    พระรูปที่เล่าให้ฟังท่านบอกว่า คนสมัยก่อนจะกลัวเรื่อง

    วิชาคุณไสย ดังนั้น พระมหากษัตริย์จะต้องกันไม่ให้ใคร

    นำพระบรมอัฐิของพระองค์ไปทำในสิ่งที่ไม่บังควรได้

    ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะไม่เก็บพระบรมอัฐิของบูรพกษัตริย์

    ไว้ในสถานที่ใดเพียงแห่งเดียว



    อย่างที่ทุกท่านกล่าวนั่นแหละค่ะ

    หลักฐานถูกเผาทำลายสิ้นแล้ว

    ตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่สอง

    จะหาอะไรเป็นหลักเป็นฐาน

    เป็นมั่นเป็นเหมาะคงจะยากนะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...