การปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อเข้าถึงความเป็นพุทธะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พลน้อย, 11 กรกฎาคม 2009.

  1. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    วิปัสสนานำสมถะ เป็นหลักการปฏิบัติของพุทธภูมิ หรือพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้วนั้น วิปัสสนากับสมถะเกิดพร้อมกันหรือร่วมกัน ไม่สามารถแยกอย่างใดอย่างหนึ่งได้
    การจะเข้าถึงพุทธะต้องสมบูรณ์ 3 อย่าง คือ
    ศีลสมบูรณ์ สมาธิสมบูรณ์(อุเบกขา) ปัญญาสมบูรณ์ (สติสัมปชัญญะ)

    ขอบคุณครับ
     
  2. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ขอยกคำอธิบายที่อธิบายในกระทู้ท่านธรรมภูต มารวมอยู่ในกระทู้เดียวกันนี้ เพราะหากว่าวันหนึ่งผมไม่ได้อยู่อธิบายที่นี่ ท่านผู้อ่านจะได้อ่านกระทู้นี้กระทู้เดียว ธรรมะที่ผมอธิบายเป็นธรรมะที่สมบูรณ์ ยากยิ่งที่จะหาผู้เข้าถึงได้ เมื่ออ่านแล้วขอให้นำไปปฏิบัติ ส่วนมากที่เข้าไม่ถึงเพราะไม่ปฏิบัติกันจริงจัง ถ้าปฏิบัติจริงจังแล้วต้องเห็นผลไม่มากก็น้อย ผมมาอธิบายตรงนี้แล้วอย่าให้ความรู้ที่ผมอธิบายผ่านมาแล้วก็ผ่านไปแบบไม่ได้อะไรเลย ขอบคุณครับ
    ขออนุญาตอธิบายเรื่องสติครับ
    สติ ธรรมดาของปุถุชนทั่วไป สติ ยังสามารถปนอยู่กับความคิดฟุ่งซ่านและอารมณ์ได้ ถ้าปุถุชนมีสติดี สติสามารถรู้เท่าทันความคิดฟุ่งซ่านและอารมณ์ได้ ก็จะสามารถวางความคิดฟุ่งซ่านและอารมณ์ ทันทีเมื่อมีสติ แต่จิตปุถุชนทั่วไป ก็ไม่สามารถรู้ได้เท่าทันตลอดทุกเวลา ทำให้เกิดความคิดฟุ่งซ่านและอารมณ์ได้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สติ ธรรมดาของปุถุชนทั่วไป จึงไม่ใช่สติที่สมบูรณ์ ถ้าหลงเข้าใจว่า เป็น สติที่สมบูรณ์ แล้วจะเข้าไม่ถึง สติที่สมบูรณ์แท้จริง
    <O:p</O:p<O:p
    แต่สติที่สมบูรณ์ เรียกอีกอย่างว่า "มหาสติ" เป็นสติที่ปราศจากความคิดฟุ่งซ่านและอารมณ์ เป็นสติจากรู้ที่บริสุทธิ์ของจิต <O:p
    รู้ที่บริสุทธิ์ของจิต คือ รู้จากจิตเดิมที่ปราศจากความคิดฟุ่งและอารมณ์ใดๆ อยู่เหนือความคิดฟุ่งและอารมณ์ โดยฐานของจิตเดิมอยู่ที่ฌานที่ 4 เมื่อจิตวางอุเบกขา จึงจะสามารถเข้าถึงจิตได้ชัดและเห็นจิตได้ชัดเจน<O:p</O:p<O:p
    ขอบคุณครับ
     
  3. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    มีเพียงความรู้อันเดียวที่เด่นชัด
    ไม่มีอารมณ์อย่างอื่นมาปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่มีแต่ความว่าง ไม่มีรูปไม่มีนาม
    มีแต่สว่างโพล้งไม่มีประมาณ
    จิตเป็นอุเบกขาและมีสติเป็นเพียงผู้รู้ ไม่มีรูปร่างลักษณะ
    ร่างกายตัวตนหายไป
    เวทนาต่างๆ ดับไป ทั้งเวทนาทางจิตและเวทนาทางกาย
    มีแต่ความโปร่งเบาเย็นสบาย..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2009
  4. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    ขอเรียนถามคุณทอสอบ 1

    ถูกต้องหรือไม่..เรื่อง จิตเดิม

    และคำว่า..มีเพียงความรู้เอันดียวที่เด่นชัด ช่วยอธิบายด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2009
  5. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    ขอยอมรับในประโยคที่ว่า..จิตปุถุชนทั่วไป ก็ไม่สามารถรู้ได้เท่าทันตลอดทุกเวลา
    แต่การฝึกจนจิตถึงสภาวะตทังควิมุตติ..จิตรวมใหญ่.ถึงจะเป็นครั้งคราว
    สภาวะแห่งความสงบมีกำลังมาก หลังออกจากสมาธิจิตก็ยังสงบอยู่ด้วยกำลังสมาธิเป็นวันเป้นคืน
    กำลังแห่งความสงบนี้....มันเป็นกำลังของสมาธิที่หนุนกำลังปัญญา
    ทำให้จิตรุ้รสแห่งความสุขสงบไม่เร่าร้อนไปตามอำนาจกิเลส..มิใช่หรือ
     
  6. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    สภาวะจิตที่ถามผมนี้เป็น สภาวะรู้ของจิตเดิม โดยมีเพียงความรู้อันเดียวที่เด่นชัด มิใช่สภาวะจิตเดิม ท่านเข้าถึงรู้ในจิตเดิมได้เพราะอาศัยกำลังฌานที่ 4 อาการที่ได้จึงเป็นแบบนี้ และที่ปฏิบัติมาได้แบบนี้มาถูกทางแล้ว ท่านกำหนด รู้ของจิตนี้ ให้ต่อเนื่องอย่าให้ขาดสายท่านจะเข้าถึงสภาวะจิตเดิม โดยอาศัยรู้ของจิตเดิมที่มีกำลัง
    จิตเดิม มิใช่จะมีเฉพาะแต่รู้ที่บริสุทธิ์อย่างเดียว แต่เพราะอาศัยรู้ที่บริสุทธิ์ที่ชัดเจน นั้นจิตจะสามารถเข้าถึงจิตเดิมได้
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านวิสุทโธ ให้อธิบาย “มีเพียงความรู้อันเดียวที่เด่นชัด” คำตอบอยู่ด้านบนนี้<O:p</O:p
     
  7. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    การจะเข้าให้ถึงพุทธะ นั้น จิตต้องมี กำลังทั้ง สมาธิ(อุเบกขาฌานที่ 4 ) และกำลังสติสัมปชัญญะ(ปัญญา) จึงจะเกิดปัญญาทางพระพุทธะศาสนา เรียกว่า ปัญญาญาณ ขึ้น<O:p
    ดังนั้น จิตรวมใหญ่ ที่ท่านยกมาก อาศัยกำลังสมาธิที่จิตวางเป็นอุเบกขา หนุนกำลังสติที่ยังมีน้อย แต่สามารถครอบคลุมจิตได้ อาการของสมาธิจึงบังเกิดขึ้นมาก มากกว่ากำลังสติ ทำให้มีอาการ สงบ เป็นหลัก และความคงที่ของจิตนี้ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ถือว่าจิตรวมใหญ่ นี้เป็นที่สุด เป็นเพียงทางผ่านพื้นฐานเท่านั้นเอง <O:p</O:p
    <O:p
    ท่านวิสุทโธ ลองสังเกต สภาวะจิตมหาสติ ที่ผมอธิบาย กับ สภาวะจิตรวมใหญ่ นี้ต่างกัน<O:p
    <O:p
    อาจตอบคำถามช้า แต่คำตอบที่ตอบไปนั้น ถูกต้องแน่นอน ผมปฏิบัติผ่านมาแล้วมิได้อธิบายมั่วๆ จากการคาดเดาหรือนำตำรามาวิเคราะห์ไม่ ท่านวิสุทโธมีอะไรถามอีกหรือไม่ ถ้ามีถามได้เลยนะครับ เพราะไม่นานผมอาจจะหยุดอธิบายไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน ว่างๆนานๆอาจจะมาอธิบายใหม่หรือไม่ก็ได้
    <O:pขอบคุณครับ<O:p</O:p
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอ็งนั่นแหละ ควรถามวิสุทโธ เขามากกว่า
     
  9. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    คำว่า..มหาสติ นั้น

    ผมเองยังห่างไกลนัก...

    ทราบเพียงว่า..ความเพียรและสติเป็นอัตโนมัติ

    มีเพียงพระอรหัตมรรคเท่านั้นขึ้นไปจะทำได้.
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านทดสอบ๑ครับ ฐานที่ตั้งสติของท่านอยู่ที่ไหนครับ?
    แล้วฐานที่ตั้งสติมีไว้เพื่ออะไรครับ?
    การที่จะเป็นมหาสติได้นั้น ต้องมีฐานที่ตั้งเพื่อฝึกฝนมั้ยครับ?

    ;aa24
     
  11. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    ผมเองก็ดูท่าทีมาพอสมควร ไม่ได้โต้แย้งดุเดือดรุนแรง
    เพราะเห็นว่า เป็นคนดีและเป็นผู้ปฏิบัติที่ตั้งใจท่านหนึ่ง
    ทั้งๆที่ผมเองพิจารณาในการแสดงธรรมของท่านฯ ยังไม่ถูกต้องครบถ้วน
    เนื้อหาหนักไปทางเน้นผลการปฏิบัติของตน
    แต่ไม่มีวิธีดำเนินจิตให้ถึงคำว่า มหาสติ ที่เป็นสติและความเพียรอัตโนมัติทุกอริยาบถ

    ดังนั้นการครองธรรมที่เป็นมหาสติย่อมไม่ใช่วิสัยของคนทั่วไป
    เพราะฆราวาสเป็นที่คับแคบในการปฏิบัติ ทั้งในการครองเรือน หน้าที่การงาน
    เหมาะกับผู้ไม่มีเรือนอนาคาริกมุนี เพศสมณะสงฆ์ ผมจึงขอถามด้วยความไม่ประมาทว่า..
    ท่านทดสอบ1 เป็นพระและเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดุลย์หรือเปล่า..

    เพราะการครองธรรมที่เป็นมหาสติหรือพุทธภูมิ
    ทัสนะภูมิธรรมที่แสดงยังห่างไกลจากธรรมอันละเอียดปราณีตประเภทนี้
    กรรมฐานสำคัญเรื่องการพิจารณากายหรืออาณาปณสติก็ไม่มีการพูดถึง
    เรื่องพุทธภูมิก็ไม่มีการพุทธพยากรณ์ ยกขึ้นมาอ้างลอยๆ...แล้วก็ขู่ผู้ที่ไม่เชื่อ...
    ห้ามลบหลู่ไม่ยังงั้นจะมีกรรมหนักภาวนาไม่ได้

    ถ้าเป็นพระโพธิสัตว์หรือพระอริยะเจ้าที่มีภูมิธรรมสูง
    จะมีเมตตาธรรมแต่ไม่แสดงแบบนี้

    ท่านจะพิจารณาด้วยใจที่เป็นธรรมเห็นว่า...
    ถ้าโปรดผู้นั้นไม่ได้ก็ไม่สอน เพื่อไม่ให้เขามีกรรมหนัก
    และจะหลีกหนีกับหมู่คณะฯที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่มาล่วงเกิน
    จึงเป็นเมตตาธรรมประกอบด้วยอุเบกขา
    มิใช่แบบที่ท่านทดสอบ1ทำอยู่…
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2009
  12. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    อย่างไรก็ดี..ผมก็ขออนุโมทนากับธรรมปฏิบัติของท่านทดสอบ1 ด้วยใจจริง...

    และขอให้ท่านทดสอบ1 ไปกราบเรียนธรรมปฏิบัติของท่านฯเอง

    กับพระอริยสงฆ์ที่เป็นครูบาอาจารย์ที่ถึงศีลถึงธรรม

    เพื่อสอบทานผลการปฏิบัติของตนเองถูกต้องครบถ้วนหรือไม่..

    เพื่อถึงความเจริญในธรรมยิ่งขึ้นต่อไป.

    หากท่านทดสอบ1 ไม่ทราบจะไปกราบเรียนสอบถามกับพระอริยสงฆ์ท่านใด
    ส่งข้อความมาที่ผมก็ได้ครับ..
     
  13. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ใช่
     
  14. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ตั้งมั่นนั้นรู้แล้ว หลงจนจิตเิกิดก็รู้แล้ว เริ่มหลงตอนไหน อย่างไร สติตามรู้เท่าทันและเข้าใจอาการของเขาจริง ๆ แล้วหรือยัง ปัญญาตัวจริงจะเกิด ก็เกิดจากการเห็นและเข้าใจตรงจุดนี้เป็นต้นไป...
     
  15. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ท่านทดสอบ 1 ผ่านการสอบจากสมาชิกอย่างทรหดน่าดู.........ผมขออนุโมทนากับท่านด้วย ที่ท่านไม่เผลอ หลุด ออกมาด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย แล้วท่านสมาชิก หลาย ๆ ท่านก็เก่งมาก มีความรู้ดี พยายามต้อน แต่ท่านทดสอบก็ไม่จนมุม ทุกท่านเป็นผู้มีความรู้ดี ครับ

    ทำให้ผู้อ่านได้กุศลไปด้วย ไม่ต้องไปหาอ่านที่อื่น ผิดถูกอย่างไร ว่าทีหลัง สงสัยอยู่ข้อความหนึ่งครับ ตรง ขันธ์ 5



    "จิตจึงไม่ใช่ขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต
    แต่จิตรู้ว่าขันธ์ ๕ เกิดขึ้นที่จิต และขันธ์ ๕ ดับไปจากจิต

    เปรียบเหมือน คนอาศัยอยู่ในบ้าน คนไม่ใช่บ้านและบ้านไม่ใช่คน"


    ตามที่ผมเข้าใจว่า ร่างกายมนุษย์ มีส่วนประกอบ 5 อย่าง คือ

    1.ร่างกาย 2.ความรู้สึก 3.ความทรงจำ 4.ความคิด 5.จิตใจ ภาษาพระก็คือ ขันธ์ 5

    แล้วที่ว่า "จิตจึงไม่ใช่ขันธ์ 5 และขันธ์ 5 ไม่ใช่จิต แต่จิตรู้ว่าขันธ์ 5 เกิดขึ้นที่จิตและขันธ์ 5 ดับไปจากจิต..........ฯ " ความหมายมันคือ มีจิตอาศัยอยู่ในร่างกายนี้อีก

    ถ้าอย่างนี้ ร่างกายก็ไม่ใช่ ขันธ์ 5 เพราะมี จิต อีก 1 ในร่างกายนี้ ใช่ใหม ? ครับ ใครตอบก็ได้ หลาย ๆ คนยิ่งดี จะเปรียบเทียบ คำตอบได้หลายมุม.
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แล้วแต่มุมครับ

    คนที่เล่นรูปฌาณแจ่มๆ นั้น การเห็นขันธ์5 จะมีวิถีการเห็นไปรวมเอาตรงที่ รูปขันธ์

    แล้วบังเอิญว่า รูปขันธ์ ซึ่งเป็น มหาภูตรูป หรือ ธาตุ4 ดิน น้ำ ลม ไฟ นี่ มันประกอบ
    อยู่ที่กายเราเด่นชัดที่สุด กายคนอื่นนั้นไม่ชัดเท่า ดีไม่ดีทำให้เกิดกิเลสด้วยซ้ำ

    ด้วยความสัมพันธ์ที่ธาตุ4 นั้นมันประกอบเป็นกายเนื้อ ดังนั้น นักเล่นรูปฌาณจึง
    ไม่ต้องทำอะไรมาก ยุบการเห็นลงไปที่กายได้เลย

    แต่ไม่ใช่ว่าเห็นตื้นๆแค่ว่า กายเนื้อนี้ตายไปไม่แคร์ แล้วหมายเอาแค่นั้น ถือว่าละ
    ขันธ์5 ได้

    สิ่งที่ต้องเห็นลงไปที่กาย ต้องมีเนื้อหาสาระเห็นเป็น ธาตุ4 เห็นให้ได้เต็มหัวจิตหัวใจ
    ก่อน แล้วยังต้องยกขึ้นเห็นจิตที่ยึดมั่นธาตุ(กสิณ)เหล่านั้นเป็นของลวงไม่เที่ยง เป็น
    ทุกข์

    ก็จะทำให้จิตมันคลายออกจากการยึดธาตุ4 ข้อเท็จจริงที่ จิตมันต้องอิงอาศัยธาตุนั้น
    ก็จะถูกเปิดเผยออกมา ....ทุกข์สัจจที่จิตมันต้องอิงอาศัยธาตุเป็นคูหา หรืออาศัย
    รูปขันธ์เป็นคูหาก็ปรากฏ และเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จิตจะอยู่โดยลำพังโดยไม่ครองคูหา

    หากมองไม่ถึงอริยสัจจนี้ก็จะละทิ้งคูหาไม่เป็น พอไม่ทิ้งคูหา...ก็จะกลับไปสนุกกับ
    การสร้างคูหา สร้างบ้านแปลงเมืองต่างๆนานา.........
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รู้สึกเหมือนว่า จะมีจิตหนึ่ง บางทีเรียก จิตผู้รู้ บางทีเรียกว่าใจ
    ถ้าแยกตัวนี้ออกมาจากขันธ์5ได้ เรียกว่า แยกรูปแยกนามได้
    พอแยกใจออกมา ดูขันธ์5ทำงานได้ จะมีโอกาสเห็นไตรลักษณ์ตามจริง (ไม่ได้ใช้คิดนึก)
    ก็เข้าภูมิสู่วิปัสสนา เรียกว่าเพิ่งจะเริ่มต้นรู้ความจริงของขันธ์5 พิจารณาความไม่เที่ยงของขันธ์5
    จะมีทัสนะเห็นว่าขันธ์5 ไม่ใช่เรา แต่ยังละสักายทิฏฐิไม่ได้ เพราะยังไม่เห็นไตรลักษณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...