กรดกัดแก้ว หน้าล่าสุด

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 พฤศจิกายน 2018.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    HTB1AjLCIVXXXXXfaXXXq6xXFXXX0.jpg
    วิธีการนำน้ำแก้วสุกที่หลอมสุกแล้วขึ้นมาใช้มีหลายวิธี ได้แก่
    1. การม้วนด้วยไม้เหล็กซาง
    2. การตักด้วยช้อนเหล็กขนาดเล็ก, กลาง และใหญ่หรือยักษ์
    3. การเทออกทางปากเบ้าลงสู่แม่พิมพ์เหล็กหรือแม่พิมพ์ทราย
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    26.jpg
    3. วิธีนำน้ำแก้วสุกด้วยวิธีเทออกจากปากเบ้า วิธีนี้ต้องหลอมแก้วในเบ้าแยกที่เรียกว่า เบ้าเทโดยเฉพาะ ในรูปนี้กำลังเทลงแม่พิมพ์ปูนทนความร้อนให้เป็นโต๊ะสนาม โดยเทเป็นชิ้นงานเนื้อแก้วตันๆ
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    25.jpg
    2. การตักด้วยช้อนเหล็กขนาดต่างๆ ในภาพนี้น่าจะขนาดน้ำหนักสิบกว่ากิโลกรัม

    27.jpg 2. ภาพนี้เป็นการใช้ช้อนยักษ์ตักน้ำแก้วโบโรซิลิเกตไปเทลงในแม่พิมพ์เหล็กขนาดใหญ่เพื่อสร้างเป็นเลนส์ของกล้องส่องดูดาวฮับเบิ้ลในยุคแรกๆ สร้างในอเมริกา
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    Horseshoe-Flame-Glass-Melting-Furnace-for-Ceramic-Frit.jpg
    ภาพนี้เป็นภาพเตาหลอมแก้วชนิดเตาแท๊งค์น้ำแก้วใหญ่เตาเดียวขนาดหลายสิบตัน ไม่มีเรื่องแก้วสีต่างๆ เพราะมีตัวเตาเป็นเบ้าเบ้าเดียว ขนาดเตามักหลายสิบตัน ผมแอบนึกในใจว่า หากต่อไปในอนาคต อาจใช้เตาลักษณะและขนาดประมาณนี้ในการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากๆ เช่นขนาดหน้าตัก 69 นิ้ว หรือใหญ่กว่านั้น
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ani 0001.gif
    1.1 การม้วนน้ำแก้วด้วยไม้ซางเหล็ก เมื่อไม้ซางเหล็กม้วนน้ำแก้วมาถึงแม่พิมพ์เหล็ก ช่างก็ตัดแก้วให้ได้ปริมาณพอดี ขึ้นรูปแก้วด้วยเทคนิควิธี Pressed Glass ช่างแก้วไทยเรียกว่าแก้วปั๊ม ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีเดียวกับที่ผมเคยสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษที่ผมมักพูดเสมอว่า นาทีละ 1 องค์ต่อ 1 แท่นเครื่อง แต่ละโรงงานก็มีหลายแท่นเครื่อง เฉพาะที่ผมเคยควบคุมการสร้างปี พ.ศ. 2516 - 2520 เราสร้าง 2 แท่นเครื่องเสมอๆ ดังนั้นพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษคือจุดเกิดของผม โดยเฉพาะโพรงอากาศขนาดใหญ่ในฐานพระแก้วถึงหน้าอกหรือบางรุ่นถึงคอ เป็นจุดที่ทำให้ผมอยากสร้างพระแก้วให้สวยยิ่งๆขึ้น กระทั่งในที่สุด ผมได้สร้างให้ใหญ่กว่าพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษที่หน้าตักจาก 5 นิ้วขึ้นมาเป็นหน้าตัก 9 นิ้ว และสวยสมดังที่ใจได้ฝันไว้ในอดีต
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    b01.jpg b02.jpg b03.jpg b04.jpg user236095_pic41002_12554798311212.jpg
    ภาพการสร้างพระแก้วคริสตัลที่ฝรั่งเศสหลอมแก้วจากทรายและเคมีภัณฑ์ ( ไม่ใช่หลอมจากก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อ ) ที่อุณหภูมิ 1,480C นานกว่า 48 ชั่วโมง รอกระทั่งน้ำแก้วได้ปลดปล่อยฟองอากาศออกเกือบหมดสิ้นแล้ว จึงให้ช่างม้วนน้ำแก้วให้เป็นก้อนทรงกระบอก ( ช่างม้วนก้อนแก้วเฉพาะกิจนี้ต้องฝึกนาน 7 ปี ) แล้วนำก้อนแก้วทรงกระบอกเข้าแม่พิมพ์เหล็ก สร้างพระแก้วหน้าตัก 8 นิ้วเศษ ราคาองค์ละประมาณ 4 แสนกว่าบาท

    ขอขอบคุณภาพของลาลีคและบัคคาฮ่าฝรั่งเศส
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    111111111111111111111111111111111111111111111114.jpg
    ลาลีคฝรั่งเศสสร้างพระแก้วหน้าตัก 8 นิ้วเศษ ( องค์กลาง ) ราคาองค์ละสี่แสนบาทเศษในประเทศที่ไม่มีภาษี และองค์หน้าตัก 4 นิ้ว ( องค์ขวา ) ราคาประมาณ 4 หมื่นบาทเศษ ในซีรีย์เดียวกันก็อาจเป็นพระสังกัจจายน์หน้าตัก 3 นิ้วเศษ ( องค์ซ้าย ) [ พระสังกัจจายน์อาจไม่ใช่ซีรีย์เดียวกันก็ได้นะครับ ]

    ส่วนตัวผมจัดให้พระแก้วของลาลีคโดยเฉพาะองค์หน้าตัก 8 นิ้วเศษนี้ ถือเป็นสุดยอดที่สุดของทั้งฝีมือและวัสดุทางวิชาแก้ว แต่เนื่องจากต้องใช้เวลาฝึกพัฒนาฝีมือนานถึง 7 ปี ผมจึงหันมาใช้วิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้เวลานานขนาดนั้น
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    000000000011112.jpg
    พระแก้วลาลีคหน้าตัก 8 นิ้วเศษสร้างสีเหลืองอำพันด้วย นอกจากสีขาวฝ้า

    ส่วนพระแก้วลาลีคหน้าตัก 4 นิ้วสร้าง 3 หรือ 4 สี มีขาวฝ้า เหลืองอำพัน และอีกสีที่ออกใหม่ และยังมีอีกรุ่นในรุ่นเดียวกันที่ศิลปินชาวฮ่องกงสั่งสร้างสีขาวฝ้าจำนวน 388 องค์แล้วไปเพ้นส์สีทองเป็นลายจีวรจีนด้วยสีทองพิเศษที่ทนนานหลายสิบปี
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    10572100.jpg
    สีพิเศษที่สร้างในรุ่นหน้าตัก 4 นิ้วของลาลีค
    art-buddha.jpg รุ่นหน้าตัก 4 นิ้วสีขาวฝ้า ศิลปินชาวฮ่องกงสั่งลาลีคสร้าง 388 องค์ แล้วศิลปินชาวฮ่องกงเพ้นส์สีทองเป็นลายจีวรจีน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2018
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    mdet.jpg
    136.jpg
    135.jpg
    138.jpg
    145.jpg
    องค์นี้เป็นปางคันธารราฐที่ผมให้ช่างปั้นของสิบหมู่ กรมศิลปากรปั้นหุ่นต้นแบบ และสร้างด้วยหลายวิธีหลายเทคนิค เฉพาะที่มีธรรมจักรบนฝ่ามือและที่มีอุณาโลมนั้น ผมสร้างด้วยเทคนิค Lost Wax Glass ซึ่งไม่ต้องฝึกพัฒนาฝีมือนานถึง 7 ปี แต่กลับสามารถสร้างได้ง่าย สร้างได้ทันที โดยไม่ต้องมีโรงหลอมแก้ว เพราะวิธีนี้ใช้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อ ง่ายต่อการสร้างมาก ไม่ต้องใช้ช่างจำนวนมาก ไม่ต้องมีเตาหลอมเลย
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    140217103505.jpg
    106423.jpg 123012.jpg 4829630561_a21dd3c55e_b.jpg
    ผมขอให้โรงงานแก้วเจษฏาสร้างพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วปางเดียวกันกับด้านบน แต่ไม่มีอุณาโลม ไม่มีธรรมจักรในฝ่าพระหัตถ์ ช่างเป่าแก้วด้วยปอดได้รับการฝึกพัฒนาฝีมือในการปั้นลูกโป่งนานประมาณ 1 - 2 เดือนเท่านั้น สร้างจำนวน 500 องค์ ทั้งหมดได้แจกจ่ายและน้อมถวายไว้ในพระพุทธศาสนาแล้ว
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ม้วนแก้ว0002.jpg
    กว่าทรายและเคมีภัณฑ์จะกลายมาเป็นน้ำแก้วสุกให้ช่างม้วนแก้วได้ม้วนน้ำแก้วขึ้นมาใช้งานได้แบบนี้ และก่อนที่เราจะไปถึงวิชา Lost Wax Glass ซึ่งในวิชา Lost Wax Glass นี้เราจะไม่มีทางได้เห็นน้ำแก้วในลักษณะนี้ แต่เราก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของน้ำแก้วให้ถ่องแท้ก่อน จึงจะสามารถ " ดับเครื่องชน " แต่ผมจะไม่ใช้คำว่า " ดับเครื่องชน " จะใช้คำว่า " ปิดฝาลุย " เพราะจนกว่างานจะเสร็จเราจะไม่เห็นอะไรเลย ต้องใช้จินตนาการที่เข้าใจอย่างถ่องแท้เพียงอย่างเดียว

    ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องให้เข้าใจธรรมชาติของที่มาที่ไปของน้ำแก้วและทุกขั้นตอนของการคลายความเครียดออกจากเนื้อแก้วขณะอยู่ในโหมดอบนั่นเอง
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ต่อไปนี้คือวิธีการหลอมทรายและเคมีภัณฑ์ให้กลายเป็นน้ำแก้วสุกในเบ้าหลอมแก้ว

    เมื่อถึงเวลาประมาณบ่าย 3 หรืออย่างช้าสุดคือบ่าย 5 โมงเย็นของทุกวัน น้ำแก้วสุกในเบ้าหลอมของแต่ละโรงหลอมแก้วจะถูกนำไปใช้จนหมดสิ้น ช่างหลอมแก้วมีหน้าที่ล้างก้นเบ้าหลอมด้วยการนำช้อนเหล็กยาว 2 เมตร เลือกหัวตักน้ำแก้วกลางที่สามารถตักน้ำแก้วได้เพียง 6 - 10 kg ก็เพียงพอ ช่างหลอมต้องนำช้อนนี้ล้วงลงไปในก้นเบ้าหลอม ใช้ด้านหลังของช้อนนี้ ดันน้ำแก้วที่เหลืออยู่น้อยนั้นในลักษณะกวนก้นเบ้า จุดประสงค์เพื่อทำความสะอาดก้นเบ้าหลอมให้สะอาดก่อนที่จะตักน้ำแก้วก้นเบ้าเหล่านี้ออกทิ้งนอกเบ้าหลอม

    เมื่อก้นเบ้าสะอาดเรียบร้อยแล้ว ไม่มีน้ำแก้วตกค้างเหลืออยู่เลย จากนั้น ช่างหลอมแก้วจะให้ช่างหลอมแก้วเวรกะหัวค่ำคือประมาณ บ่าย 5 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน กะหนึ่ง ค่อยๆตักทรายที่ผสมคลุกเคล้ากับเคมีภัณฑ์และเศษแก้วที่ช่างหลอมแก้วเวรกะกลางวันที่กะกลางวันเขาจะทำงาน 8 โมงเช้าถึงบ่าย 5 โมงเย็น เขาจะผสมคลุกเคล้าไว้เรียบร้อยแล้ว และแยกสี แยกกลุ่ม แยกชนิดของแก้วไว้เรียบร้อยแล้ว ช่างหลอมกะหัวค่ำจะค่อยๆตักด้วยพลั่วใส่เข้าปากเบ้าทีละน้อย ทีละน้อย เมื่อใส่เข้าไปได้เพียงไม่มากก็ต้องหยุดรอ เพราะถ้าหากตักให้เต็มขึ้นมาถึงปากเบ้าทัน การหลอมจะไม่สำเร็จ เตาหลอมจะทำหน้าที่หนักเกินไปในทันที จึงต้องทราบว่า ต้องค่อยๆใส่เข้าไป ใช้เวลาใส่เข้าไปเบ้านานถึง 7 ชั่วโมง

    หลังจากช่างหลอมแก้วกะเวรหัวค่ำเสร็จสิ้นงานของเขาเมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนแล้ว ก็ต้องส่งงานต่อให้ช่างหลอมแก้วกะเวรดึก ที่จะรับงานต่อตั้งแต่เที่ยงคืนไปถึงเช้า 8 โมง ช่างหลอมแก้วกะเวรดึกนี้ อาจเป็นคนเดียวกันกับช่างเฝ้าเตาก็ได้ หรือจะแยกคนก็ได้ ขึ้นอยู่กับงานมากหรือน้อย เช่นโรงหลอมแก้วที่มีเตาหลอมขนาด 6 - 8 เบ้าที่มี 2 เตาหลอม รวมแล้วประมาณ 14 - 16 เบ้าหลอม ก็มีความจำเป็นต้องมี 2 คน เพราะงานเฝ้าเตานั้นไม่ใช่นั่งเฝ้า นอนเฝ้า แต่ก็มีงานที่ต้องทำกับเตากับอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับเตาแทบจะตลอดคืน

    เมื่อถึงเวลาประมาณ 8 โมงเช้า น้ำแก้วมักสุกพร้อมใช้งานแล้ว และก็เป็นหน้าที่ของช่างแก้วสาขาวิชาต่างๆที่จะนำน้ำแก้วไปขึ้นรูปชิ้นงานแก้วต่างๆ ซึ่งช่างแก้วในกะกลางวันนั้นจะมีจำนวนมาก ประมาณ 6 - 8 คนต่อเบ้า มีกี่เบ้าก็คูณจำนวนช่างแก้วทุกสาขาเข้าไปครับ

    ทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นกะกลางวันหรือกะกลางคืน ภายในบริเวณโรงหลอมแก้ว ผมพูดถึงโรงหลอมของคุณพ่อผมก็แล้วกัน ว่า เราไม่ได้ปล่อยให้ช่างหลอมอยู่กะเวรละคนสองคนเท่านั้น แต่เรายังต้องมีบ้านพักของหัวหน้าช่าง รองหัวหน้าช่าง และบางที่ก็มีบ้านพักของเจ้าของโรงหลอมอยู่ในบริเวณนั้นด้วย เพราะบางครั้งหากเกิดกรณีที่ช่างหลอมอาจขอความช่วยเหลือหรือการตัดสินใจใดๆ หัวหน้า และรองหัวหน้า รวมทั้งเจ้าของจะได้มาถึงหน้าเตาได้ทันที ในสมัยผมก็เป็นเช่นนี้ ดังนั้น งานหลอมแก้วจึงเป็นงานหนักมาก และทำต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงปีละ 365 วัน ตัวเตาดับไฟไม่ได้เลย ดังนั้นเตาจึงต้องติดไฟไว้ตลอดเวลา วันหยุดสามารถมีได้ด้วยการไม่บรรจุน้ำแก้วในเบ้า และลดอุณหภูมิเตาหลอมให้เหลือ 650C เพื่อไม่ให้เตาลดอุณหภูมิเกินไป เตาจะแตกได้
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ต่อจากนี้เป็นการอธิบายช่วงระยะเวลาการหลอมแก้วตั้งแต่บ่าย 5 โมงเย็น ไปถึงเช้า 8 โมง จะได้อธิบายว่า เกิดอะไรขึ้นในเบ้าหลอม ในเตาหลอม กว่าทรายกับเคมีภัณฑ์และเศษแก้วจะกลายมาเป็นน้ำแก้วสุกพร้อมใช้งาน

    บ่าย 5 โมงเย็น ช่างหลอมแก้วกะหัวค่ำถึงเที่ยงคืนจะค่อยๆเติมทรายกับเคมีภัณฑ์และเศษแก้วที่คลุกเคล้าดีแล้ว อุณหภูมิในระหว่างนี้อาจยังไม่ต้องถึง 1,400C และหากบางโรงหลอมเลือกใช้สูตร 1,300C บางโรงหลอมอาจเลือกใช้สูตร 1,200C เราเลือกใช้อุณหภูมิที่ประมาณ 800C 900C หรือ 1,000C ก่อนระยะหนึ่งเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน แล้วแต่ว่าโรงหลอมจะใช้เชื้อเพลิงชนิดใด บางโรงหลอมเลือกใช้แก๊ส LPG บางโรงหลอมอาจเลือกใช้น้ำมันเตา แต่ในปัจจุบันปี พ.ศ. 2561 หรือ ค.ศ. 2018 โดยเฉพาะสตูดิโอแก้วซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่าโรงหลอมแก้วมาก มีขนาดแค่เบ้าหลอมเดียว หรือหากเป็นสตูดิโอในเทคนิค Lost Wax Glass ซึ่งไม่ต้องมีเตาหลอมเลย ส่วนมากเลือกใช้ไฟฟ้าเกือบทั้งสิ้น

    ช่างหลอมแก้วกะเวรหัวค่ำจะค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิทีละน้อย ค่อยๆเติมทรายกับเคมีภัณฑ์และเศษแก้วทีละน้อยๆ และจะเพิ่มอุณหภูมิถึงขีดสุดที่จำกัดของแต่ละโรงหลอมตั้งแต่เวลาประมาณ 3 - 4 ทุ่ม แล้วแต่ปริมาณที่เขาเติมเร็วหรือช้า หากเติมเร็วก็เร่งถึงขีดสุด 3 ทุ่ม หากเติมช้าก็เร่งสุดตอน 4 ทุ่ม และเติมเต็มถึงปากเบ้าเวลาประมาณเที่ยงคืน ( ยกเว้นแก้วชนิดพิเศษหรือสีพิเศษที่อาจมีเทคนิคการเติมที่ต่างๆกันออกไป แก้วบางชนิดมีเทคนิคการเติมไปถึงเช้าตี 4 ตี 5 ก็มี )
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    เมื่อทรายกับเคมีภัณฑ์และเศษแก้วค่อยๆถูกเติมลงก้นเบ้า เขาจะค่อยๆละลายกลายเป็นน้ำแก้วที่มีความเหนียวเหมือนกับแตงเมอยู่ภายในเบ้า ยังมีความหนืดสูง เศษแก้วจะเป็นตัวช่วยให้เกิดความสม่ำเสมอของอุณหภูมิภายในก้อนแตงเมหนืดนั้น ปฏิกิริยาทางเคมีของเคมีภัณฑ์จะทำปฏิกิริยาหลายอย่าง บางตัวมีหน้าที่เพิ่มอุณหภูมิในก้อนแตงเม บางตัวมีหน้าละลายตัวมันเองและทราย และเมื่อทรายกับเคมีภัณฑ์เริ่มหลอมเหลว ก็จะมีการผสมผสานกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือบางสูตรก็อาจไม่ใช่ค่อยเป็นค่อยไป อาจเป็นไปได้อย่างรวดเร็วก็ได้ การผสมผสานกันระหว่างทรายซึ่งมีโครงสร้างแบบหนึ่ง กับเคมีภัณฑ์บางอย่างก็มีโครงสร้างอีกแบบหนึ่ง จะผสานเข้าด้วยกันเป็นหนึ่ง เพราะเราคลุกเคล้าจัดวางเขาไว้ทั่ว การคลุกเคล้านี้จึงจำเป็นและสำคัญมาก ไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของทรายที่แยกห่างจากเคมีภัณฑ์และเศษแก้ว เพราะ 3 ปัจจัยนี้อยู่ห่างกันไม่ได้เลย
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    หลังจาก 3 ทุ่มที่ถือว่าเป็นเวลาที่ช่างหลอมแก้วจะเร่งอุณหภูมิเตาหลอมขึ้นมาถึงขีดสุด โรงหลอมที่เลือกใช้สูตรใด เช่นสูตร 1,200C 1,300C หรือ 1,400C หรือที่ฝรั่งเศสบางโรงหลอมเลือกใช้ 1,480C อุณหภูมิจะถูกยกให้สูงสุดประมาณหลัง 3 ทุ่มเป็นต้นไป ทรายกับเคมีภัณฑ์และเศษแก้วที่ละลายเป็นก้อนแตงเมหนืดในเบ้าก็จะค่อยๆหลอมละลายอย่างทั่วถึง เหตุเพราะอุณหภูมิที่ถูกยกขึ้นสูงสุดตามสูตร และยกสูงต่อเนื่องตั้งแต่ 3 ทุ่มไปถึงบ่าย 3 หรือบ่าย 5 โมงเย็นของอีกวันหนึ่ง ระยะเวลาที่ก้อนแตงเมหนืดถูกความร้อนสูงสุดคือ 10 - 11 ชั่วโมง ( ยกเว้นบางสูตรอย่างฝรั่งเศสในกรณีที่ลาลีคเปิดเผยว่า แก้วที่สร้างพระแก้วหน้าตัก 8 นิ้วเศษ เขาเลือกหลอมต่อเนื่อง 48 ชั่วโมง ) แต่ส่วนมากในไทยหรือในประเทศที่ยังไม่เอาจริงเอาจังขนาดฝรั่งเศส เราเลือก 10 - 12 ชั่วโมงเท่านั้น จากก้อนแตงเมหนืดก็จะกลายเป็นน้ำแก้วใสที่ไม่หนืดมากนักแล้ว และพร้อมใช้งานขึ้นรูปเป็นชิ้นงานแก้วที่ราคาไม่แพงนัก เช่น ถ้วย ชาม ภาชนะต่างๆ แจกัน โคมไฟและอื่นๆที่ราคาไม่ถือว่าสูงนัก ซึ่งต่างจากพระแก้วหน้าตัก 8 นิ้วเศษของลาลีคฝรั่งเศสที่เขายกระดับคุณภาพสูงสุด แต่ราคาก็สูงเช่นกัน องค์พระแก้วหน้าตัก 8 นิ้วเศษแต่ละองค์ราคาองค์ละ 4 แสนกว่าบาท ถือว่า ได้ราคา แต่ก็เพราะความพากเพียรอย่างยิ่งถึงขีดสุดของโลกนั่นเอง
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ตั้งแต่เที่ยงคืน น้ำแก้วที่เอ่อเต็มปากเบ้ายังมีสภาพเป็นแตงเมหนืดอยู่ในเบ้า เต็มเบ้า ช่างหลอมแก้วกะหลังเที่ยงคืนจะทำการปิดฝาเบ้าและลงน้ำดิน ปิดฝาเบ้าเหมือนกับที่คนไทยเราหุงข้าวในสมัยอดีตที่ใช้ไม้ขัดฝาหม้อข้าว แต่ช่างหลอมแก้วไม่ใช้ไม้ขัด เราใช้น้ำดินเป็นตัวอุดรอยห่างทั้งหมด เราอุดทิ้งทุกจุดที่จะทำให้อุณหภูมิรั่วไหลออก โดยช่างหลอมจะทำการอุดเบ้าหลักๆที่อุดได้ทั้งหมด ( อาจมีเบ้าที่อุดไม่ได้เพราะเป็นเทคนิคพิเศษ อาจเป็นเบ้าทดสอบทดลองสีหรือชนิดของแก้วที่อาจไม่อุดเพราะเหตุผลบางประการ ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษของแก้วแต่ละสีและแต่ละชนิด )

    ช่างหลอมแก้วกะหลังเที่ยงคืนอาจอุดอยู่นานเท่าใด ขึ้นอยู่กับเหตุผลของแต่ละท่าน แต่ส่วนมากมักอุดอยู่ถึงตี 3 หรืออย่างช้าไม่เกินตี 4 ก็ต้องเปิดออกเพื่อปาดฟองอากาศที่จะลอยอยู่บนผิวน้ำแก้วปากเบ้า เมื่อปาดฟองอากาศออกด้วยไม้ซางเหล็กเฉพาะกิจเสร็จแล้ว ก็จะปิดและอุดกลับไม่ให้มีช่องว่าง และจะเปิดฝาเบ้าออกเพื่อปาดฟองอากาศที่ผิวบนของน้ำแก้วทุกๆชั่วโมงหรือทุกๆครึ่งชั่วโมงแล้วแต่ฟองอากาศมากหรือน้อยและแล้วแต่สูตรเคมีภัณฑ์ที่ทำให้เกิดฟองอากาศว่าเป็นสูตรใด บางสูตรก็แทบไม่มีฟองอากาศเลยก็เป็นไปได้ แต่บางสูตรฟองอากาศมากถึงขนาดต้องปาดแทบจะทุกครึ่งชั่วโมง
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ถึงจุดที่สำคัญที่ผมต้องการเน้นเป็นพิเศษ เพื่อท่านที่ต้องการเป็นศิลปินหรือช่างหลอมแก้วจากก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อ ซึ่งจะไม่มีทางได้เห็นปฏิกิริยาใดๆด้วยสายตา ทันทีที่ปิดฝาเตาอบก็ต้องรอเพียงอย่างเดียว รอจนครบเวลาก็เปิดฝาเตา ท่านจะนึกไม่ออกว่า ภายในนั้นกำลังเกิดอะไรขึ้น ผมจึงนำสิ่งนี้มาให้ท่านจินตนาการตามได้ เผื่อว่าวันหนึ่งท่านจะได้กล้าตัดสินใจมาเป็นศิลปินหรือช่างหลอมแก้วด้วยเทคนิค Lost Wax Glass ท่านจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

    จุดสำคัญที่จะกล่าวคือ ท่านลองนึกลองจินตนาการตามผมนะครับ ตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึง 3 หรือ 4 ทุ่ม ช่วงนั้นยังอยู่ที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติเล็กน้อย เราไม่นับ มานับตั้งแต่ประมาณ 4 ทุ่มที่เริ่มเร่งความร้อนสูงสุด และปริมาณทรายกับเคมีภัณฑ์และเศษแก้วเริ่มจะเต็มปากเบ้านั้น ปฏิกิริยาการหลอมละลายในสูตรน้ำแก้วส่วนใหญ่ ( ไม่รวมสีพิเศษและแก้วชนิดพิเศษ ) น้ำแก้วส่วนใหญ่เริ่มกลายเป็นก้อนเหนียวๆหนืดๆเหมือนแตงเมที่ภายในก้อนนั้น ยังมีการหลอมละลายได้ไม่ดีเต็มที่ ยังมองเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน หรือมองเห็นอะไรที่ละลายได้ไม่เต็มที่ ( ขอเตือนว่า อย่าไปมองภายในเบ้าหลอมแก้วเหมือนผมในอดีตนะครับ ผมมองภายในเบ้านานและเป็นการฝึกเพ่งกสิณไปในตัว สายตาและลูกตาของท่านอาจมีปัญหาได้นะครับ ) ผมผิดพลาดไปแล้ว ไม่อยากให้ใครพลาดตาม เอาแต่ประสบการณ์และความเข้าใจที่จะสามารถจินตนาการตามได้เท่านั้นเป็นพอครับ อย่าไปยืนมองนานๆนะครับ ตาเสียจะโทษใคร
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ในวิชาหลอมแก้วด้วยเทคนิค Lost Wax Glass เราหลอมแก้วจากก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อ ไม่ใช่หลอมจากทราย ดังนั้น จึงไม่ยากเหมือนการหลอมจากทราย เพราะเหมือนเขาหุงข้าวสารเป็นข้าวสวยไว้เรียบร้อยแล้ว

    เมื่อก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อยังเป็นก้อน ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นก้อนกลมแบนก็มี เป็นก้อนเหมือนอะโวคาโดผ่าครึ่งก็มี แล้วแต่แต่ละยี่ห้อ หรือบางเทคนิคเขาจะเอาก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อมาทุบให้เป็นก้อนเล็กๆเหมือนเม็ดข้าวโพดก็มี แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน

    เมื่อนำก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อที่เตรียมไว้แล้วมาใส่ในกระถางดินที่วางอยู่ด้านบนของแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนความร้อน และเมื่อเราเปิดอุณหภูมิสูงสุดเท่าที่ทางผู้ผลิตเขาจะกำหนดมา และเขาจะมีตารางกำหนดมาให้ เช่น บางยี่ห้อเขาต้องการความร้อนสูงสุดที่ 800C ในขณะที่บางยี่ห้ออาจต้องการ 900C แต่ที่น่าทึ่งก็คือ บางยี่ห้ออาจต้องการความร้อนสูงสุดเพียงแค่ 450C ซึ่งนั่นหมายถึงว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุคที่ใช้ความร้อนต่ำในการหลอมแก้ว

    บางยี่ห้อให้คงอุณหภูมิสูงสุดเพียงแค่ 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเขาจะให้ลดอุณหภูมิลงเหลือเท่าใด เขาก็จะกำหนดมาให้ด้วย และจะให้เราลดอย่างไร ตลอดช่วงระยะเวลาจนกว่าจะเปิดฝาเตาได้นั้น เขาจะกำหนดมาให้เสร็จๆ ดังนั้น งานหลอมแก้วด้วยเทคนิคนี้จึงง่ายเหมือนกับปลอกกล้วยเข้าปากนั่นเอง
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    a05.jpg
    ภาพนี้ลูกน้องช่างแก้วผมทำการหลอมหลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ ระยองปางนั่งหน้าตัก 5 นิ้วจำนวนหนึ่ง และพระยืนสูง 70 ซ.ม. 2 องค์ ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากจีน ราคาขายปลีกกิโลกรัมละ 5 หยวน โลละ 25.- บาท ( ซึ่งหากซื้อจำนวนมากในราคาพิเศษอาจเหลือกิโลกรัมละแค่ 2 หยวน โลละ 10.- บาท )
     

แชร์หน้านี้

Loading...