Angels & Demonsกับความคิดเห็นในมุมมองใหม่ที่เปลี่ยนไปของนักฟิสิกส์คนหนึ่ง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย datedoctor, 22 มิถุนายน 2009.

  1. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    ก็นี่เป็นความคิดใหม่ที่อ้างอิงของเดิม ของตาแก่อย่างผมครับฮิอิฮิก็ไม่ได้มีจุดประสงอะไรทั้งนั้น แค่คิดและเขียนเล่นๆ คราวนี้ผมจะทิ้งทุกอย่างเอาไว้ก่อนทั้งอาชีพนักวิทยาศาสตร์ของผมอันเป็นผลผลิตมาจากลัทธิทุนนิยม และระบบการศึกษาแบบบริโภคนิยม ทั้งศาสนาของผม ทั้งจุดกำเนิดของชีวิตผมที่เป็นผลพวงมาจากกระบวณการวิวัฒนาการทางเคมีของโมเลกุลเล็กจนกลายไปเป็นสิ่งมีชีวิตเผ่าพันธ์โฮโม เซเปรียนส์แบบผม ทั้งบิดาผมคือสสาร มารดาผมคือพลังงาน
    หรือคุณจะเรียกพวกท่านว่าอวิชชากับกิเลสก็ได้ครับ หรือในบางแง่มุมพวกท่านก็คือพระเจ้า( ความรัก) กับจิตวิณญาณ

    แต่ไม่ว่าพวกท่านและตัวผมจะเป็นใครหรืออะไรก็ตามทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นทั้งสมมติและปรมัตถ์ในเวลาเดียวกัน
    ทั้งแนวคิดแบบเดิมๆที่ว่าอะไรก็ตามที่สามารถสรุปให้เหลือเพียงสมการคณิตฯศาสตร์นั้นแหละที่เป็นจริง
    ....................................................................................

    เอาล่ะครับเมื่อผมลองนึกดูลองศึกษาใหม่ดูว่าศาสนาเกิดขึ้นมาทำไม? และเพราะอะไร? ตามที่มีคนแนะนำไว้มากมายก็ขอบคุณนะครับถ้าผิดก็ให้คำแนะนำด้วยนะครับแบบว่าความรู้น้อยนะครับ

    ก่อนอื่นผมจะไม่ตั้งคำถามไปที่ศาสนาคืออะไรนะครับเพราะมันจะนำเราไปสุ่ปัณหาเชิงปรัชญาที่เอาเข้าจริงๆก็ไม่มีใครอธิบายได้หรอกครับว่ามันคืออะไร ถึงแม้ว่าตอนมีคนถามพวกเขาจะไม่รู้แต่ฬนตอนที่ไม่มีใครถามพวกเขาอาจจะรู้ก็ได้นะครับ

    ผมว่าคิดดูแล้วมนุษย์เราก็สร้างศาสนาขึ้นมาเพราะพวกเขาปรารถณาความสุขว่าไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นนิพพาน การกลับไปหาพระเป็นเจ้าอีกครั้ง ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับที่พวกเขาสร้างวิทยาศาสตร์ขึ้นมา

    ซึ่งก็เป็นความสุขทั้ง2ด้านเหมือนกันคือทั้งกายและใจ

    ที่พูดเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่าวิทยาศาสตร์เองก็สนใจในด้านอารมณ์ ความรู้สึก และอีกมากมายๆเหมือนศาสนาเพียงแต่ใช้วิธีการที่ดูต่างกันแต่ในความเป็นจริงก็เหมือนๆกันก็คล้ายกลศาสตร์คลื่นกับกลศาสตร์เมทริซ์ที่เอาเข้าจริงก็เหมือนกันในมุมมองทางคณิตศาสตร์ ทั้งที่อันหนึ่งทำให้เรามองเห็นภาพ ได้ แต่อีกอันหนึ่งไม่ให้ภาพอะไรเลยกับเรา แต่ดันให้คำตอบเหมือนกัน

    ทั้งหมดความจริงล้วนคล้ายคลึงกันทั้งสมมติและปรมันถ์ในเวลาเดียวกัน

    เพียงแต่เริ่มต้นในแง่มุมที่ต่างกัน
    เช่นศาสนาเน้นที่ใจก่อนวัตถุ(กายสัมผัส) วิทยาศาสตร์ วัตถุ(กายสัมผัส)ก่อนใจ
    [​IMG]
    ในวิทยาศาสตร์อย่างควอนตัมฟิสิกส์เองทั้ง

    กลศาสตร์คลื่นเน้นที่การใช้สมการบรรยายพฤติกรรมของคลื่นเดอบรอยในเวลาใดก่อน ในขณะที่กลศาสตร์เมทริซ์เองก็เน้นที่สมการบรรยายพฤติกรรมระบบของอนุภาคอิสระในเวลาใดก่อน(ยังคงถือว่าเวลาไหลอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าเวลาจะคืออะไรก็ตาม)
    แต่ทั้งหมดก็คือคำอธิบายในธรรมชาติเหมือนๆกัน
    เหมือนวิทยาศาสตร์เองธรรมะเองทั้งหมดก็คือ คำอธิบายในธรรมชาติเหมือนๆกัน

    แสวงหาเป้าหมายเดียวกันคือ ความสุขของมนุษย์ไม่ว่าจะในรูปแบบไหนก็ตาม
    ทั้ง2ด้านเหมือนกันคือใจกับวัตถุ(กายสัมผัส)


    ผมว่าความสุขทั้ง2ด้านทั้งกายและใจมันต้องมาคู่กัน ถ้ากายไม่มีความสุข แล้วใจมันจะไปสุขตามได้ไง ในทางกลับกันถ้าใจมันไม่มีความสุขกายมันก็สุขไปไม่ได้เพราะทั้งหมดมันต้องไปด้วยกันล้วนคล้ายคลึงกันทั้งสมมติและปรมัตถ์
    เป็นส่วนเติมเต็มของกันและกัน ในขณะที่การสังเกตุของผู้สังเกตุทำให้เราเองมีตัวตนขึ้นมาดังคำที่ว่าสรรพสิ่งไม่มีจริง ถ้าเราไม่ไปสังเกตุมันThere is no reality in the absence of observation

    และการสังเกตของมนุษย์สร้างความจริงที่รู้จักขึ้นมา (Obseravation created worldly reality)

    ดังที่เฟรด อลัน วูลฟ์ กล่าวว่า “เราเองต่างหากที่สร้างสรรพสิ่งต่างๆ ที่เราเชื่อว่าเป็นความจริงนั้นๆ ขึ้นมา”

    ดังนั้นเราเองก็คือเป็นสมมติและปรมัตถ์ที่ซ้อนทับกัน เมื่อตายลงเราเองก็จะเป็นเพียงปรมัตถ์ สมมุติก็จะหายไป
    แต่ถ้าในใจของคนอื่นเรายังคงมีตัวตนไม่ได้ตายจากไปสำหรับเขา เราเองก็เป็นสมมุติขึ้นมาอีกครั้งคือมีตัวตน ทั้งที่ความจริงแล้วเราเป็นเพียงปรมัตถ์


    แต่ถ้ามองดูดีๆแล้วเราเองก็เป็นทั้งสมมติและปรมันถ์ในเวลาเดียวกัน
    ดังการตีความว่าความเป็นสิ่งเดียวกันที่แยกออกจากกันไม่ได้ (Reality is undivisable wholeness)เพราะในความจริงแล้วโดยพื้นฐานหลักของความจริงแท้ก็คือการที่สภาพของการติดต่อเชื่อมโยงของสรรพสิ่งในจักรวาลที่ระดับของควอนตัมซึ่งแยกจากกันไม่ได้นั้นเอง

    นี่คือหลักสัจจะในพระพุทธศาสนา(สมมติและปรมันถ์)ถ้าผมเข้าใจถูกนะครับ มันก็เหมือนกายเนื้อ วิณณาญในศาสนาอื่นนั้นแหละ คล้ายกับหลักการตีความในทฤษฏีสนามควอนตัมของปัณหาทวิภาคของคลื่นและอนุภาคนั้นแหละ ที่สมการของดิเรกบอกกับเราว่าผู้สังเกตุเองนั้นเเหละที่เป็นผู้กำหนดสถานะทางควอนตัมที่แน่นอน

    ดังคำของไฮเซนเบริก์ที่ว่า
    "only phenomena are real, the world beneath phenomena is not real"
    มาดูจักรวาลบ้างจักรวาลมีตัวตนสำหรับผมเพราะผมยังมีตัวตนยังคงไม่ตายแต่เมื่อผมตายมันก็ไม่มีตัวตนสำหรับผมอีกต่อไป แต่มันยังคงมีตัวตนสำหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเขาเองก็เป็นเหมือนๆผมคือจักรวาลมีตัวตนสำหรับเขาเพราะเขายังมีตัวตนยังคงไม่ตายแต่เมื่อเขาตายมันก็ไม่มีตัวตนสำหรับเขาอีกต่อไป ว่าไปก็คล้ายคนนอนหรับที่ในขณะนั้นจักรวาลก็ไม่มีตัวตน(โลกภายนอกนะครับทั้งที่ผู้คนในโลกยังคงใช้ชีวิตของเขาไปเรื่อยๆ)

    กลับมาที่ศาสนาและวิทยาศาสตร์กันบ้างทั้ง2อย่างเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการความสุข(นั้นก็เป็นมูลเหตุให้ทั้งศาสนาและวิทยาศาสตร์เกิดขึ้น)มา
    ดังนั้นจึ่งต้องมีคนขวนขวายหาทางสร้างความสุขด้วยวิธีการต่างๆ

    ไม่ว่าจะเป็นศาสดาอย่าง ท่านมหาวีระ พระเยซู ขงจื่อ ท่านโซโรอัสเตอร์ นักปรัญญา อย่างชอง แปรเรง คาร์ล มากซ์ ฟรีดิช นิเซ่ นักวิทยาศาสตร์อย่าง นิวตัน แม็กซ์แวลล์ ไอสน์ไตน์ ให้เกิดขึ้นมา
    เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ และสังคม
    ด้วยจุดประสงค์เดียวกันคือ ให้มนุษย์ละกิเลส และหลุดพ้นจากอวิชชา และค้นพบความสุข บางคนอาจถามว่าแล้ววิทยาศาสตร์มันเกี่ยวอะไรกับตรงนี้อะ มันก็ทำให้เราเข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้วมนุษย์เราเองกระจ้อยร่อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับธรรมชาติ หรือจักรวาลไงครับ
    [​IMG]
    ทั้งพระเจ้า(ความรักในมุมมองของผมพระองค์คือสิ่งนี้) พระจิตเองก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือให้บุตรของพระองค์หรือมนุษย์ นั้นมีความสุขจากความดี
    ดังข้อความที่ว่าซึ่งพระเจ้าทรงประทานแก่มนุษย์ มี 2 อย่างคือ ทางด้านภายนอกที่ มองเห็นได้คือ พระคัมภีร์ และทาง ด้านภายในที่มองไม่ เห็นคือ พระวิญญาณบริสุทธิ์
    แม้ว่าจะออกมาในทำนองที่ว่า ผู้ติดตามองค์พระเยซูเจ้าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ การบังเกิดใหม่ ด้วยความเชื่อ โดยพระคุณของพระเจ้า ซึ่งเขาสามารถจะชื่นชมยินดีในความรอดของเขา แม้แต่ทูตสวรรค์ยังไม่มีโอกาสเช่นนั้น พระเจ้าทรงรักพวกเขามากทรงพิสูจน์ความรักของพระองค์ที่มีต่อมนุษย์โดยความตายของพระเยซูเจ้าบนกางเขน ดังนั้นเราจึงสามารถมีความปิติยินดีในพระเจ้า พลังอำนาจ ทางจิตวิญญาณของพระเจ้าอยู่กับเรา เมื่อเรามีความปิติยินดีในพระองค์ พระเจ้าทรงประทานความปรารถนาดีในจิตใจ ซึ่งแน่นอนทีเดียวว่าทำให้จิตใจเราเต็มไปด้วยความหวังและความชื่นชมยินดี การมีความปิติยินดีในพระเจ้าหมายถึงเรารักพระองค์ ทำให้เป็นที่พอพระทัยต่อพระองค์ และมีความปรารถนาที่จะอยู่เพื่อรับใช้และสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า
    ก้ตามแต่หัวใจหลักก็ยังคงเป็นสิ่งเดียวกันกับทุกศาสนาทั้งเทวนิยม(เอกเทวนิยม หรือพวกพหุเทวนิยม) และอเทวนิยมคือต้องการให้มนุษย์ทุกคนมีความสุขจากความดี
    นักวิทยาศาสตร์เองก็ต้องการให้คนรุ่นหลังมีความสุข และต่อยอดความสุขนั้นไปจากคบเพลิงที่พวกท่านจุดไว้ (ให้พวกเขานำแนวคิดของพวกท่านไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคม)
    ผมมีความคิดว่าเนื่องจากระบบของสังคม(ไม่ว่าจะเป็นทุนนิยม ประชานิยมและอีกมากมาย) ทำให้คนเราเป็นคนดีไม่ได้ทั้งที่เราเองก็ล้วนเหมือนๆกันคือ ประกอบมาจากสิ่งเดียวกันคืออะตอม เป็นโฮโม เซเปรียนส์ เหมือนๆกัน แต่สังคม กฏระเบียนต่างๆที่เป็นสมมุติของสังคมนั้นได้สร้างโซ่ตรวนขึ้นมา
    ในสังคมเราถ้ามีคนดี1คน แต่ถ้าทุกคนไม่เอาด้วยไม่เป็นคนดีด้วย ถึงเราจะเป็นคนดีคนเดียวมันก็อยู่ไม่ได้ เพราะเราก็จะถูกเอาเปรียบจนตาย หรือไม่ก็ถูกโซ่ตรวนทางสังคมบีบบังคับให้เราต้องเป็นเช่นเดียวกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วจึ่งไม่มีคนดีอย่างที่สุดที่จะมาสั่งสอนเราได้ เพราะคนเราก็เลวคล้ายกัน
    ดังนั้น“ตรรกะที่เป็นสากลอุดมการณ์ที่เราสร้างกันขึ้นมานั้นมันก็ผิดมาตั้งแต่ต้น”
    ตรรกะของธรรมชาติที่เป็นสากลอุดมการณ์ที่อาศัยการแข่งขันกันเพื่อมีชีวิตรอดเพื่อหาลักษณะที่เหมาะสมที่สุด ตามทฤษฏีการคัดสรรทางธรรมชาติ นั้นมันก็ผิดมาตั้งแต่ต้น

    ทั้งที่จักรวาลและมนุษย์(โฮโม เซเปรียนส์)เองก็ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุพื้นฐานเหมือนกันทั้งหมด
    แต่ทว่าจิตวิญญาณเองนั้นแหละ

    ที่สร้างความจริงแท้ (Consciousness creates reality) ต่างๆขึ้นมา

    อันนี้ก็เป็นวิทญาศาสตร์ที่อยากจะเล่าให้ฟังยกตัวอย่างConsciousness creates reality
    ที่พูดถึงว่าทำไมเราจึงไม่สามารถตรวจจับวัดทิศทางหรือการเคลื่อนไหว หรือทำนายคุณสมบัติของคลื่น-อนุภาคไปพร้อมๆ กันได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ก็เพราะว่าเครื่องมือที่ว่านั้นๆ เป็นเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นตามกฎของฟิสิกส์คลาสสิก
    แต่หากว่าเราใช้เครื่องมือที่เป็นธรรมชาติเช่นสมองและจิตวิญญาณ ความจริงแท้ก็จะปรากฏ

    ดังยูจีน วิกเน่อร์ นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลได้กล่าวไว้ว่า “มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจและนำเอากฏทางฟิสิกส์ธรรมดามาใช้กับควอนตัมเมคานิกส์ นอกจากเราจะนำเอาจิตวิญญาณเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย"

    สำหรับชีวิตนั้นมันก็มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดการของมันด้วยกระบวนการที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง กระบวนการนี้ไม่อาจบรรยายเป็นส่วนๆหรือเป็นขั้นเป็นตอนได้ มันเกิดในสายใยแห่งความสัมพันธ์ที่พันกันไปมาที่เรียกว่า เครือข่าย เป็นลักษณะเฉพาะของทุกระบบชีวิต ไม่มีขั้นบันไดหรือวงจรความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลที่เขียนออกมาได้โดยง่าย การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ไม่สามารถมองเห็นได้ ถูกซ่อนอยู่ในความแน่นทึบของเครือข่าย

    ถ้าองค์กรทางศาสนาหรือองค์กรทางวิทยาศาสตร์นั้นทำตัวเหมือนระบบชีวิตล่ะ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของมันก็คงจะเป็นไปอย่างนี้
    คือมีจุดประสงค์ขององค์กรคือเพื่อให้คนล่ะวางทุกอย่างไม่เก็บงำ ฟุ้งเฟ้อ ไม่มีทรัพย์สิน

    เช่นในศาสนาพุทธก็มีพระธรรมวินัย ศาสนาอื่นเองก็มีกฏข้อห้ามในลักษณะเดียวกันในการควบคุมความประพฤติ เช่นบัณญติ10ประการในศาสนาคริสต์ ยูดาย
    วิทยาศาสตร์เองก็มีหลักการของมันเช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นองค์ความรู้แบบสากลไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งเป็นต้น
    หากผู้ใดปฏิบัติได้ดังนี้ก็ได้รับคำสรรเสริญ เช่น ไอน์สไตน์ มารี คูรี ท่านนักบุณเปโตร พระอรหนัต์ เป็นต้น

    เพราะทั้งศาสนาและสังคมนักวิทยาศาสตร์เองมันก็เป็นองค์กรดังนั้นมันจึ่งต้อง
    เริ่มต้นจากบางส่วนของระบบ มีการสังเกตเห็นบางสิ่ง มีการบันทึกข้อความ การเสนอความเห็นออกมา การรายงานใหม่ ระบบเลือกที่จะถูกรบกวนจากสิ่งนั้น คำว่า เลือก เป็นคำสำคัญ

    ไม่มีใครบอกให้ระบบชีวิตว่าอะไรที่ควรจะรบกวนมันได้ ถ้าระบบเลือกที่จะถูกรบกวน มันจะรับเอาข่าวสารและแพร่ข่าวสารไปทั่วทั้งเครือข่ายอย่างรวดเร็ว เมื่อข่าวสารหมุนเวียนไปนั้น คนอื่นๆในระบบรับข่าวสารนั้นและขยายความมัน ข่าวสารเติบโต เปลี่ยนแปลง ถูกบิดเบือนไปจากเดิม แต่มันกำลังรวบรวมความหมายอยู่ตลอดเวลา ในที่สุด ข่าวสารนั้นมีความสำคัญจนระบบไม่สามารถรับมือกับมันได้อีก เมื่อถึงเวลานั้นระบบจึงจะเริ่มเปลี่ยน มันถูกบังคับจากแรงเบียดของการให้ความหมายต่อข่าวสารนั้น ในการที่จะปล่อยวางความเชื่อ โครงสร้าง แบบแผน และการให้คุณค่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระบบไม่สามารถใช้อดีตของตัวเองสร้างความเข้าใจในข่าวสารใหม่ มันต้องปล่อยวางอย่างแท้จริง กระโจนเข้าสู่สถานะที่สับสนและไม่แน่ใจ รู้สึกโกลาหล เป็นสถานะที่มักรู้สึกน่าหวาดหวั่น

    เมื่อถอดรื้อ และปล่อยวางตัวตนในอดีต ระบบในเวลานี้จึงจะเปิดโอกาสให้การเปลี่ยนแปลง มันจะปรับองค์กรโดยใช้การแปลความหมายใหม่ ความเข้าใจใหม่ว่าอะไรที่เป็นจริง และอะไรที่สำคัญ ระบบเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพราะมันเข้าใจโลกแตกต่างออกไปจากเดิม และสิ่งที่ขัดแย้งกัน ทว่าเป็นจริงในทุกระบบชีวิตคือ มันเปลี่ยนไปเพราะมันเป็นหนทางเดียวที่จะรักษาตัวเองไว้ได้
    ดังนั้นศาสนาเองจึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเพื่อให้องค์กรอยู่ได้ ไม่ใช่หลักคำสอนที่เปลี่ยนแปลไป

    กลับมาที่ทำไมวิทยาศาสตร์จึ่งต้องเน้นการศึกษาที่วัตถุก่อนและทำไมศาสนาต้องเน้นที่การศึกษาทางจิตก่อน

    มาดูจักรวาลก่อน จักรวาลนั้นปรากฏกับเราในรูปแบบปรากฏการณ์ที่เกิดจาดกลูกโซ่ของเหตุการณ์ที่อยู่ภายใต้กฏเกนณ์ของธรรมชาติไม่ว่ากฏนั้นจะเป็นเช่นไร มีหน้าตาเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับตัวแปรอะไร ที่ดูมีข้อมูลในเรื่องนี้(จักรวาลวิทยา)ทางวิทยาศาสตร์ อยู่มากกว่าศาสนา แต่เนื่องจากหลักการและวิธีการของวิทยาศาสตร์ต้องจำกัดตัวเองโดยการพิสูจน์ในห้องทดลองและ/หรือสนับสนุนด้วยสูตรและสมการทางคณิตศาสตร์ผ่านประสาทสัมผัสภายนอกที่รับรู้เพราะปริมาณทางวิทยาสาสตร์มาจากการวัดที่แม่น และเที่ยง

    ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงพยายามที่จะต้องยกเรื่องของconsciousnessออกไปก่อน หรืออย่างดี สามารถแตะได้เพียงบางส่วนบางตอน (ของ mental pathway) ที่เล็กน้อยเท่านั้น

    ทำให้เรื่องของจิตส่วนใหญ่โดยเฉพาะเรื่องจิตวิญญาณเองก็ดูจะดำรงอยู่นอกวิทยาศาสตร์

    ในขณะที่ศาสนา อธิบายเรื่องของจิตจากประสบการณ์ภายในของผู้ปฏิบัติศาสนาและพวกท่านจำเป็นต้องศึกษาเรื่อวงพวกนี้ก่อนเพื่อบำบัดความต้องการทางใจให้กับมนุษย์
    โดยประสบการณ์ที่สาธารณชนคนทั่วไปจะเป็นตัวเลือกเองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อฉะนั้นเอง

    สำหรับเรื่องของจิตนั้นที่ประกอบกันเป็นความคิด มโนทัศน์ทั้งหลายทั้งปวงที่ส่วนหนึ่งวิทยาศาสตร์เองนั้น ก็พยายามที่จะศึกษาหรืออธิบายดังที่กล่าวมาข้างบนผ่าน วิชากลศาสตร์ควอนตัม ชีววิทยาของระบบสมอง พันธุศาสตร์ เป็นต้น

    ไปจนถึงวิชาจิตวิทยาหรือศาสนาเอง ที่ศึกษาเรื่องของจิตไร้สำนึก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก หรือเป็นเรื่องจิตเหนือสำนึก อย่างที่เป็นธรรมจิต

    จึงเป็นประสบการณ์ที่ดูจะมีข้อมูลได้จากเส้นทางภายใน หรือศาสนาและวิชาจิตวิทยามากกว่านั้นเอง

    ก็ต้องบอกว่า นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยยึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคลหรือทฤษฏีใดๆเลย เพราะหากมันไม่สอดคล้องกับธรรมชาติมันก็ผิด

    [​IMG]
    มันก็คล้ายกับหลักกาลามสูตร10ในการตัดสินว่าจะเชื่อหรือไม่อย่างไร นั้นแหละที่ไม่ให้เชื่อจนกว่าจะได้คิดหรือพิสูตรแล้วว่าเป็นสัจจะ
    วิทยาศาสตร์เองก็ เป็นเรื่องของการใช้ความคิดเกิดเป็นทฤษฎีก่อน แล้วจึงทำการพิสูจน์
    ด้วยการทดลองจากความน่าจะเป็น อันนี้ยอมรับครับ
    แต่ที่ว่าพุทธศาสตร์ เป็นเรื่องของการฝึกอบรมให้เกิดปัญญาความรู้ ที่อยู่เหนือความคิดอันนี้ไม่ยอมรับ
    เพราะพุทธศาสตร์เองก็เป็นเช่นวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการใช้ความคิดเกิดเป็นทฤษฎีก่อน แล้วจึงทำการพิสูจน์ เช่นหลักอริยสัจ4คุณรู้ได้ไงว่ามันใช้ได้จริง นั้นไงครับคุณก็ต้องพิสูตรคือนำมันไปใช้เห็นไหม ในวิทยาสาสตร์เองก็เหมือนศาสนาพุทธคือ เป็นเรื่องของการใช้จินตนาการความคิดเชิงตรรกะ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในการค้นหาปัญญาความรู้(ความจริงของธรรมชาติ)

    เห็นไหมครับว่าทั้งพุทธศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    มันมีอะไรร่วมกัน? มีอะไรเป็นแรงผลักดัน? มีอะไรเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้คงอยู่และเติบโตได้?

    มาดูเรื่องกรรมกันบ้างเอาเป็รนว่าเราจะไม่สนใจอดีตชาติว่ามีจริงหรือไม่แต่เราจะมองในแง่มุมที่ว่าเรามีชีวิตเดียวเกิดครั้งเดียวตายครั้งเดียว

    ผมมองว่าอดีตมันก็คือสิ่งที่เกิดในชาติขึ้นนี้แหละ(ผมไม่เชื่อเรื่องชาติภพนะครับ)

    เพราะคุณนิสัยไม่ดีทำไม่ดีกับแฟนคุณ(อดีต) ตอนนี้แฟนคุณเลยบอกเลิก(ปัจจุบัน) พรุ่งนี้คุณก็เลยอาจจะต้องอยู่คนเดียว(อนาคต)

    เพราะทุกปรากฏการณ์ธรรมชาติย่อมมีอะไรลึกๆอยู่ในเบื่องหลัง เช่นวัตถุเคลื่อนที่ในรูปแบบนี้มันเพราะอะไรนะ
    ครับแต่ถ้ามองดูเราจะพบว่าลึกแล้วธรรมชาติเองก็ดันไม่เคารพการเรียงลำคับของเหตุผลสักเท่าไร
    อย่างในฟิสิกส์ควอนตัมไงก็เกิดขึ้น
    ที่เกิดขึ้นมาโดยไม่ค่อยเคารพกฏของเหตุและผลเท่าไร
    บางทีนะครับธรรมชาติเองก็เป็นนักพนันตัวยงที่ได้แต่คอยหมุนรูเล็ตจักรวาลแล้วทอดเต๋าให้กับจักรวาล
    เราไม่สามารถบอกได้ว่าธรรมชาติมีตัวแปรซ่อนเร้นที่ปกปิดต่อผู้สังเกตุมันทุกคนภายใต้กรอบของหลักความไม่แน่นอน
    ยกเว้นพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าที่จะทรงทราบตัวแปรซ่อนเร้น เพราะพระองค์เองก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
    ไม่สามารถที่จะละเมิดมันได้ครับ
    ก็ตอบตามความรู้พื้นๆของผมนะครับ555<!-- google_ad_section_end -->
    ก่อนอื่นพวกเรานักวิทยาศาสตร์(ถ้าเขาเป็นจริงนะไม่ใช่ไอ้พวกจอมปลอมฮา...เอ้ย...โฮ!ที่ดันปฏิบัติธรรมจน "บรรลุ" แต่กลับเพี้ยนเรื่องตรงไปตรงมาอย่างไม่น่าเชื่อ
    แต่ถูกจับได้ว่า "มั่วข้อมูล" ก็ให้ผู้บริหารของตนในเครืออมรินท์ทำทีขอความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์แต่ที่จริงก็ไม่ได้ทำอะไรเลย)ต้องบอกก่อนว่าทฤษฏีทางวิทยาศาตร์ไม่ได้ยอมรับแค่สิ่งที่ตนเองพิสูจน์ได้ด้วยกติกาของตนเท่านั้น หรือถ้าพิสูจน์ไม่ได้ก็ปฎิเสธทั้งๆ

    เพราะในบางทฤษฏีทางวิทยาศาตร์เองก็แทบจะไม่ได้มีหลักฐานใดๆยืนยันตรงเลยเลย แต่ถ้ามันมีความสอดคล้องกับทฤษฏีทางวิทยาศาตร์บางทฤษฏีก่อนหน้านี้ที่ได้รับการทดสอบแล้ว

    เราก็จะเชื่อมันแต่ก็ไม่100เปอร์เซ็นนะ เพราะหากมันไม่สอดคล้องกับธรรมชาติมันก็ผิด
    ดังนั้นธรรมชาติจึ่งเป็นตัวตัดสินทุกๆสิ่งครับ

    ศาสนาบอกสิ่งหนึ่งที่วิทยาศาสตร์สามารถนำไปปรับใช้ได้ สิ่งที่บอกคือวิธีคิด
    ควรจะ ใช้วิธีคิดแบบไหนเช่นลองค่อยๆใช้สติคิดพิจารณาปัณหาดูสิ(จะเรียกสมาธิก็ได้)

    ศาสนาเองก็เป็นอภิปรัชญาแบบหนึ่ง



    มีองค์ประกอบคือ(มีผู้รู้บอกไว้ผมเป็นนักฟิสิกส์เลยไปลอกเขามาเลย)
    1. สิ่งเคารพสูงสุด เช่น พระเจ้าของศาสนาอิสลามคืออัลเลาะอ์
    2. ศาสดา เช่น ศาสนาพุทธคือพระพุทธเจ้า
    3. คัมภีร์ เช่น ศาสนาอิสลามคืออัลกุระอ่าน
    4. ผู้สืบทอด เช่น ศาสนายิวคือนักบวช และชาวยิว(ผู้นับถือศาสนายิว)ทุกคน
    5. ศาสนสถาน เช่น ศาสนาซิกข์คือสุวรรณวิหาร
    6. สัญลักษณ์ เช่น ศาสนาคริสต์ คือไม้กางเขน
    7. พิธีกรรมเช่น ศาสนาฮินดูคือการอาบน้ำล้างบาปที่แม่น้ำคงคา )หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นมันก็แนวคิดนั้นแหละครับ
    คำถามของผมต่อมาก็คือปรัชญาคืออะไรกันนะ
    ถ้าคิดดีๆตามรากศัพท์คุณจะพบว่ามันก็คือการรักในความรู้นั้นเอง
    แล้วความรู้เกี่ยวกับอะไรล่ะก็ธรรมชาติไงครับ วิทยาศาสตร์เองก็เป็นปรัชญาแบบหนึ่งครับ เราเรียกมันว่าปรัชญาธรรมชาตินั้นเอง
    ครับแต่ในมุมมองของผม ผมเองไม่เชื่อเรื่องจิตหยั่งรู้ วิณญาญ พิธีกรรมอีกมากมายนะคราบเพราะมันไม่ต่างอะไรกับเรื่องพวกเอาศาสนามาหากิน แม่ชีกายสิทธิ์ ที่ชอบดูกรรม แก้กรรม ให้ดาราเป็นส่วนใหญ่ ชายอีกคนซึ่งปฏิบัติธรรมจน "บรรลุ" แต่กลับเพี้ยนเรื่องตรงไปตรงมาอย่างน่าเชื่อ
    แต่พอถูกจับได้ว่า "มั่วข้อมูล" ก็ให้ผู้บริหารของตนในเครืออมรินท์ทำทีขอความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์


    -หญิงอีกคนที่นั่งสมาธิเห็นภัยพิบัติล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ครั้ง และให้สัมภาษณ์สื่ออย่างชัดเจนแต่พอไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็บอกว่าสื่อลงข่าวผิด...
    หมอดูที่เที่ยว ฟันธง/confirm ผิดๆ ถูกๆรายหนึ่ง พอทายผิด บอกว่า คนที่ถุกทายเกิดต่างประเทศ ทายยาก เสือสีแ....งจะชนะอีกคนไปทายคนอื่นท้องเสียหาย เลยถูกฟ้อง ชายที่อ้างว่า x-ray กรรมคนอื่นๆ มองเห็นผีได้หญิงอีกคนก็อ้างว่า scan กรรมคนอื่นๆ ได้
    ผมว่าสักวัน มันจะต้องมีอีกคนที่ทำ MRI, PET กรรม ได้...ไฮเทคกว่า x-ray และ scan เยอะเลย...อิอิ
    ใครของจริง? ใครของปลอม?หรือว่ามันจะเป็นจริงเท็จแบบมีเงื่อนไข? สมมติสัจจะ ทั้งนั้น....คิดดูดีๆสิครับตามหลักกาลามสูตร10ของพวกคุณนั้นแหละ ทั้งหมดนี้มันมีอะไรร่วมกัน? มีอะไรเป็นแรงผลักดัน? มีอะไรเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้คงอยู่และเติบโตได้?
    พระดีไปไหนหมดครับทำไมคุณไม่ไปมองหากันนะครับ

    ก็นี่เป็นแค่ความเชื่อส่วนบุคคลนะครับ

    กลับมาที่ทำไมเราต้องศึกษาวิทยาศาสตร์ เพราะมนุษย์เรามีความอยากรู้อยากเห็นว่าจักรวาลมีกฏอะไรบ้างทำไมมันจึ่งเป็นเช่นนั้นเช่น สมมติมีวัตถุตกลงมาผมถามคุณนะครับว่าณเวลาใดๆก็ตามมันจะมีพฤติกรรมแบบไหน และเพราะอะไรว่าทำไมหว่า............ทำไมมันจึ่งเป็นเช่นนั้น
    สิ่งที่บอกคือเวลาคิด
    ควรจะ ใช้วิธีคิดแบบไหนเช่นลองค่อยๆใช้สติคิดพิจารณาปัณหาดูสิ(จะเรียกสมาธิก็ได้)นั้นไงครับเหตุผลบางครั้งผมว่าแนวความคิดที่โบราณบางอย่างของศาสนาก็ควรจะปรับตัวเข้าหาวิทยาศาสตร์บ้างนะครับในขณะเดียวกันพวกคุณก็มักจะชอบพูดว่าวิทยาศาสตร์พิสูจน์ในเรื่องรูปธรรม พวกผมเป็นพวกวัตถุนิยม

    แต่ผมขอถามกลับคุณแน่ใจหรือ จุดมุ่งหมายจริงของการศึกษาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์คืออะไร ก็ทำความเข้าใจมันไงครับ ศึกษาความงดงามของการสอดประสานกันของธรรมชาติ อยู่ร่วมกับมันไงครับ ไม่ใช่ค้นหาแนวทางในการเอาชนะธรรมชาติ แล้ศาสนาและครับค้นหาอะไร นั้นไงก็ความเข้าใจในธรรม หรือ ธรรมชาติ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เพียงแต่เราใช้วิธีที่ต่างกัน เริ่มจากจุดที่ต่างกันสู่ปัณหาเดียวกัน

    ที่ผมกล้าพูดแบบนี้เพราะมาจากความเชื่อที่ว่าศาสนานั้นเกิดมาจากความต้องการเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ นับแต่อดีดมนุษย์จะสงสัยว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทำไมต้องเกิดขึ้น จะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เปลี่ยนแปลงแล้วจะเกิดผลอะไรต่อมาอีก จนนำมาสู่การค้นหาแนวทางต่างๆเพื่อตอบปัญหาเหล่านี้ จนนำมาเป็นความเชื่อและเลื่อมใส ตัวอย่างเช่นศาสนาพุทธ เกิดจากเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นความทุกข์ จึงทรงหาแนวทางให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ด้วยวิธีการต่างๆนานา จนทรงค้นพบอริยสัจ 4 ด้วยวิธีที่เรียกว่าทางสายกลาง เป็นการฝึกจิตด้วยสมาธิจนถึงซึ่งความรู้แจ้ง และความดับความทุกข์ ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับสิ้นซึ่งกิเลส ทรงสอนให้มนุษย์ ให้ทำบุญ รักษาศีล และภาวนา เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการพ้นทุกข์ของมหาชน อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาในปัจจุบัน คำอธิบายของการเกิดขึ้นและพัฒนาการของศาสนา สามารถแบ่งได้เป็นสี่กลุ่ม


    • ศาสนาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความกลัว ในธรรมชาติที่ตนเองไม่รู้ จนต้องวิงวอนและร้องขอในสิ่งที่อยากได้
    • ศาสนาเกิดจากความไม่รู้สงสัย ในอภิปรัชญาว่าโลกและเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะเป็นเช่นไรต่อไป
    • ศาสนาเกิดจากความต้องการที่จะสร้างความเชื่อขึ้นมา เพื่อช่วยในการปกครองของผู้ปกครอง ให้สังคมสงบสุข
    • ศาสนาเกิดจากความต้องการที่จะพ้นจากความทุกข์

    มีบางอย่างที่อยากจะบอกครับผิดถูกหรือไม่ดูเองนะครับ ขอยกตัวอย่าง
    ข้อสังเกตเพื่อขยายความข้อเท็จจริงทางควอนตัมบางอย่างนะครับที่มักจะถูกนำมาโยงเรื่อยๆ
    ที่ว่า
    สรรพสิ่งไม่มีจริงถ้าไม่มีผู้สังเกต และการสังเกตของมนุษย์สร้างความจริง(พื้นฐาน) ที่รู้จักขึ้นมา ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ผู้เขียนคิดว่าไม่อาจแบ่งแยกการอธิบายออกจากกันได้เลย และขอยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจดังนี้ การที่นายก. ไปยืนสังเกตสายรุ้งกับนายข. ทั้งที่ยืนอยู่ใกล้เคียงกัน ก็ไม่อาจจะเห็นรุ้งสายเดียวกัน เพราะทั้งสองคนไม่สามารถยืนอยู่ ณ จุดเดียวกัน (ที่หมายถึงจุดซึ่งแสงทำมุมสะท้อนกับละอองน้ำและตกมากระทบตา) พอดีได้ และอาจจะไม่ต้องพูดถึงนายค. ที่ยืนอยู่ห่างไกลออกไปและไม่อาจได้มองเห็นสายรุ้งกับเขาเลย รุ้งคนละสายของ ก. และ ข. ไม่มีอยู่จริงสำหรับ ค. ด้วยซ้ำไป
    สายรุ้งที่เป็นเพียงปรากฏการณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างแสงแดดและละอองน้ำ ผู้สังเกตคือนาย ก. และ นาย ข. รับรู้ได้ต่างกัน ขณะที่ตำแหน่งยืนของนาย ค. สายรุ้งไม่มีอยู่จริง

    ทีนี้ผมก็จะนำมันไปเชื่อมโยงกับศรีมัทภควัทคีตา หรือเพลงแห่งชีวิต: กฤษณะไทวปายวยาส ที่ว่า

    “สิ่งใดสิ่งหนึ่งตรึงคงที่หรือเคลื่อนที่เกิดขึ้น
    ท่านจงรู้เถิดว่าสิ่งนั้นเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกับเกษตรชญะ

    เป็นทั้งภายนอกและภายในของสิ่งทั้งหลาย
    เป็นทั้งคงที่และเคลื่อนที่
    เป็นสิ่งอันใครๆ ไม่รู้ เพราะสุขุมและมันอยู่ทั้งไกลและใกล้
    ทั้งเป็นสิ่งที่แยกไม่ได้ในวัตถุทั้งหลาย ทั้งดำรงอยู่เสมือนสิ่งที่แยกได้
    เป็นผู้หล่อเลี้ยงภูตทั้งหลาย
    เป็นที่อาศัยของสรรพสิ่งในเวลาโลกประลัย
    และเป็นแดนเกิดของสรรพสิ่งในเวลาโลกอุบัติ นี่แหละเป็นเชญยะ

    นั่นเป็นแสงสว่าง แม้แห่งสิ่งซึ่งมีแสงสว่างทั้งหลาย กล่าวได้ว่านั่นอยู่เหนือความมืด
    นั่นเป็นชญาณ นั่นเป็นเชญยะ นั่นเป็นภาวะอันบุคคลหยั่งถึงด้วยญาณ
    และนั่นดำรงอยู่ในดวงใจของภูตทั้งปวง

    ผมก็จะบอกว่าเห็นไหมตรงแปะ นี่แหละเขียนมาตั้งหลายหลาย1000ปีและก่อนพุทธกาลเสียอีก
    ยกตัวอย่าง
    ถ้าเป็นศาสนาคริสต์เข้ามาในคัมภีร์เจเนซิส
    ก็มีความเชื่อว่านับแค่ปฐมการพระวิณญาญของพระเจ้าทรงปกคลุมอยู่ เมื่อพระเจ้าทรงตรัสให้มีจักรวาลขึ้นมา จักรวาลก็เกิดขึ้นจากความว่างเปล่า
    จักรวาลก็เกิดขึ้น
    ทีนี้ผมก็จะบอกคุณว่าเห็นไหมจักรวาลมีจุดกำเนิดดังนั้นมันต้องมีพระผู้สร้าง
    อย่างที่บิ๊กแบ็งเคยกล่าวว่ากาลอวกาศ4มิติที่ม้วนตัวอยู่คลายตัวออกไปยังพื้นที่ที่เคยว่งาเปล่าอีก6มิติหดตัวอยู่เหลือขนาดความยาวพลังค์ดังนั้นมันมันต้องมีสาเหตุ
    ไบเบิลกล่าวไว้ถูกแล้วแปะ

    ทีนี้ฝรั่งเขาก็จะบอกว่าพวกยูชาวพุทธพวกยูไม่นับถือพระเจ้า ไม่ได้รู้อะไรเลยนะว่าศาสนาไอนะวิทยาศาสตร์สุดๆถ้าไอสน์ไตน์นับถือก็คงเข้าใจจักรวาลมากกว่านี้
    เห็นไหมครับคุณก็จะบอกว่าเพราะฝรั่งไม่เคยศึกษาพระไตรปิฏก เลยไม่รู้ ฝรั่งก็จะบอกว่าพวกยูชาวพุทธก็ไม่เคยอ่านคำภีร์ศาสนาพุทธเหมือนกัน เลยไม่รู้
    นั้นไงครับเพราะอย่างนี้เราเลยไปวิจารณ์เขาไม่ได้ถ้าเราไม่เคยลองศึกษามันมาก่อน
    บางทีผมก็ไม่อยากวิจารณ์นะครับ
    ผมว่าดูเหมือนผู้เผยศาสนาบ้านเราบางคน(พวกจอมปลอม) จะชอบบอกว่าศาสนาพุทธเนี่ยทันสมัยสุดๆไม่เหมือนศาสนาอื่นที่ยังมีพระเจ้า มีแนวคิดเกี่ยวกับจักรวาลแบบผิดๆ
    มันก็คล้ายกับเรื่องที่ผมเล่าไป
    ผมว่าผู้เผยแพร่ศาสนาบ้านบางคน(พวกจอมปลอม)เราดู
    จะโบราณกว่าผู้เพยแพร่ศาสนาอื่นๆอีกนะครับ
    ยกตัวอย่างศาสนาคริสต์นะครับ
    จะเห็นได้ว่าคริสตจักรก็พยามปรับตัวเข้าหาวิทยาศาสตร์นะครับ คุณอาจจะบอกว่าศาสนาคริสต์ไม่ใช่วิทยาศาสตร์แบบพุทธนี่ คุณแน่ใจหรือ พวกเขาเองก็สงสัยธรรมชาติเหมือนกันพยามหาคำตอบ
    เพียงแต่ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป
    เราจะพบว่าเขาจะเชิญนักจักรวาลวิทยาให้ไปให้ความรู้เรื่องจักรวาล
    ที่วาติกันเลยเช่นในปี1981ซึ่งเป็นการเพิ่มความรู้ให้
    แก่พระ ซึ่งก็รวมไปถึงพระสันตปาปาเองด้วย
    ท่านพวกนี้มักจะนึกว่ากูรู้ทุกอย่างเรื่องไรต้องไปเรียนเพิ่มยังคงยึดติดแต่แบบเดิมๆครับ
    แล้วจะมาสอนอะไรคนอื่นเขาครับ (แต่บางท่านที่รู้จริงท่านสนใจนะครับท่านเอาไปรวมกับคำสแอนของท่านเลย ลูกศิษย์เลยได้แบบทูอินวัน)
    เอ้านี่ถ้าเป็นสมัยนิวตันผมก็คงโดนแขวนคอไปแล้วแต่เราต้องพูดนะครับไม่ใช่เอาแต่งึมงำ
    คราวนี้มาเรื่องลึกลับเช่นจิตวิณญาณกันบ้างทำไมคนเราถึงชอบกันนักชอบเอาไปรวมกับทุกๆเรื่องสินะ เพราะมันดูลึกลับน่าค้นหาไงแต่ถ้าผมบอกคุณว่า
    มันเกิดจากการทำงานของสมอง ทำให้เรา
    สามารถคิด จินตนาการลึกซึ้งถึงเรื่องปรัชญาหรือคณิตศาสตร์ได้นั้นเป็นผลมาจากรหัสคำสั่งต่างๆ เป็นล้านๆ คำสั่งต่อวินาทีซึ่งสั่งให้เซลสมองปฏิบัตินั้น เป็นผลของกลไกการทำงานควอนตัมของคลื่นอนุภาค
    [​IMG]
    เซลล์สมองและสร้างเป็นโค๊ตหรือสัญญาณให้แต่ละเซลล์ทำงานแตกต่างกันด้วยความเร็วสูงสุด ซึ่งถ้าเราศึกษารายละเอียดภายในเซลล์
    โดยสร้างรูปจำลองของไมโครทุบูลส์ที่เคยคิดกันว่าเป็นเพียงโครงสร้างภายในเซลนั้น แท้จริงมีการเรียงตัวที่เปลี่ยนแปลงจากการสั่นสะเทือนตลอดเวลา และยังพบว่าไมโครทุบูลส์ที่เป็นหลอดซึ่งมีรูกลวงตลอดนั้นบุด้วยโมเลกุลของโปรตีนเช่นกำแพงหรือฝาผนังแต่มีช่องว่างหรือร่องเป็นระยะๆ ทำให้อิเล็กตรอนจำนวนมากสามารถวิ่งอย่างเป็นระเบียบรอดร่องเหล่านั้นและมีสภาพเป็นอิสระที่จะทำงานตามกลไกควอนตัมได้ ทำให้หลอดสั่นสะเทือนในความถี่ต่างกันด้วยpatterns ต่างกัน แต่ละกลุ่มการสั่นไหวก็เป็นสัญญาณชนิดหนึ่ง สัญญาณจะถูกส่งผ่านไปตามหลอดจำนวนมากทั่วทั้งเซลสมองและเซลต่างๆ ของสมองอย่างโดยรวดเร็วนับเป็นร้อยเป็นพันไมล์ต่อวินาที เป็นคำสั่งติดต่อให้เซลต่างๆ ของสมองทำงานตามรูปแบบของคำสั่งเป็นล้านๆ คำสั่งต่อวินาที
    ถึงตรงนี้ก็ยังมีปัญหาต่อไปอีกว่า ใครคือผู้ออกแบบคำสั่งนั้น หรือข้อมูลที่คำสั่งนำมาผสมกันอย่างไร จึงทำให้งานเป็นรูปธรรมได้ และข้อมูลเป็นหมื่นล้านแสนล้านข้อมูลจะอยู่ที่ไหนในเซล คำตอบต่อคำถามเหล่านี้น่าจะตอบได้ที่ตัวอิเล็กตรอน คลื่นอนุภาคที่เป็นสมบัติสากลอยู่ในจักรวาลที่เคลื่อนไหว เชื่อมโยง ไม่ว่าด้วยตัวของมันหรือสิ่งที่มันให้ออกมาหรือattributes ซึ่งประสานเชื่อมโยงทั่วไปในจักรวาล เป็นหนึ่งเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ หรือกำหนดสถานที่และเวลาไม่ได้ ดังที่พิสูจน์โดย
    David Bohm’s และคลื่นอนุภาคความจำในสนามพลังงานแห่งจักรวาลในสภาพการณ์หนึ่ง อาจแปลเป็นสนามพลังของรูปร่างหรือฟอร์มเช่นRupert Sheldrake’s Marphogenetic Field ที่เป็นตัวกำหนดรูปร่าง โครงสร้างของสรรพสิ่งและชีวิตที่อยู่เบื้องหลังกฏแห่งพันธุกรรมและการทำงานของดีเอ็นเออีกทีหนึ่ง”
    ทีนี้ความสนใจของคุณก็จะหายไปเพราะมันดูไม่ลึกลับอะไรเลย
    บางทีคุณอาจะบอกว่าโหรายเนี่ยมึนว่ะ

    เห็นไหมครับมันดูไม่น่าสนดูงงคุณก็เลยปฏิเสธเพราะ ความลึกลับมันดูหายไป แต่ทำไมคุณไม่ลองคิดดูล่ะครับว่า
    มันจะไม่เป็นการดีหรือที่วิทยาศาสตร์จะก้าวเข้ามาเผยความงามของความลึกลับเกินกว่า ที่ผู้รู้ในอดีตจะเคยจินตนาการไว้ นั้นก็คือความจริงของธรรมชาติ การสอดประสานของมัน
    มาที่ยูดาย คริสต์ และอิสลามบ้าง ทั้งหมดมีพระเจ้าองค์เดียวกันแต่
    มีผู้นำต่างกัน (ทางศาสนา) เลยเกิดการแย่งชิงอำนาจผลประโยชน์กันกลายเป็น

    ผู้นำของกูนี่แหละที่ถูก พวกอื่นนอกรีดต้องตกนรกเอ...ตกลงใครเป็นพระเจ้ากันว้าพวกผู้นำศาสนาหรือพระเจ้าของบรรพบุรุษของพวกเขา
    เหมือนกับว่าพระเจ้าที่นับถือเป็นคนล่ะองค์กันเลย


    มาที่วิทญาสาสตร์บางครั้งวิทยาศาสตร์เองก็สอนให้ไม่เคยที่จะมนุษย์ยึดติดอยู่ที่การใช้ประสาทสัมผัสเหมือนอย่างศาสนานะครับยกตัวอย่าง


    ตัวอย่าง...​


    ในปี พ.ศ. 0 ดาว ก. ให้กำเนิดแสง(ปัจจุบัน ณ ดาว ก.) และหมดในปี พ.ศ. 2000​

    ในปี พ.ศ. 1000 ชาวโลกได้ยลแสงแรกจากดาว ก. (ปัจจุบัย ณ โลก, อนาคตจากดาว ก.) และไม่เห็นดาว ก. อีกในปี พ.ศ. 3000
    หลังจากได้ทราบกันแล้วว่าแสงนั้นต้องเดินทางเหมือนกันเพราะแสงนั้นมีอนุภาค และมีมวล ดังนั้น แสงจึงถึงแรงดึงดูดกระทำได้เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เอง แสงจึงเกิดการหักเหได้ เช่น ดาวลูกไก่ อยู่เยื้องไปทางซ้ายของโลก แต่ระหว่างทางที่แสงเดินทางมายังโลก กลับเจอพระอาทิตย์เป็นอุปสรรค พระอาทิตย์มีแรงดึงดูดมาก จึงดูดแสงนั้นให้เข้าหา เมื่อแสงโดนขื่นให้ขมใจเช่นนั้นแล้วก็จำยอมเลี้ยวตัวเข้าหา และมาถึงโลกในอีกเส้นทางหนึ่ง ดังนั้น คนบนโลกจึงไม่เห็นว่าดาวลูกไก่อยู่เยื้องไปทางซ้าย แต่กลับเห็นว่า ดาวลูกไก่อยู่ตรงหน้า นี่นเพราะดวงอาทิตย์ล่อลวงไปแล้วนั่นเอง(ยิ่งอธิบายยิ่งติดเรทอ่ะ เหอ เหอ)
    อันนี้บ่นแทนเพื่อนนักคณิตศาสตร์บริสุทธ์
    ก็มีคนบอกว่าคนที่บอกว่าคนที่หลงรัก คณิตศาสตร์ ก็เป็นเพียงคนหลงติดอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    การคิดหาคำตอบโจทย์ที่ยากๆ ที่คนอื่นตอบยังหาคำตอบไม่ได้
    ก็เป็นเพียงการทำเพื่อตอบสนองตัณหาของตนเองอะไรประมาณนี้คล้ายกับฝึกสมถะในทางพุทธรึเปล่าผมก็ไม่รู้หรอกแต่ไม่ยอมรับครับ
    ผมไม่ใช่นักคณิตศาสตร์นะครับเลยไม่รู้ว่าพวกเขาคิดอย่างไร แต่ถ้าเป็นเรื่องชื่อเสียงนั้นไม่ใช่แน่ๆถ้าคุณคิดว่าการใช้เหตุผลเชิงตรรกะบริสุทธิ์ของพวกเขาเป็นเช่นนั้นมันก็เท่ากับว่าตัวคุรเองไม่ได้มีความชื่นชมยินดีในความงดงามของธรรมชาติเลยแค่มีชีวิตอยู่ไปวันๆเท่านั้น
    เพราะถ้าสังเกตุส่วนใหญ่นักคณิตศาสตร์จะจน555
    แต่เป็นเพราะพวกเขาเห็นความงามในธรรมชาติ ในสมการ ในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะบริสุทธิ์ ​

    โดยส่วนตัวเท่าที่ผมคลุกคลีมาพวกเขาบางคนจะไม่คอยชอบให้พวกเรานักวิทยาศาสตร์สาขาอื่นนำคณิตศาสตร์ไปใช้สักเท่าไร
    เพราะพวกเขามองว่าคณิตศาสตร์มีอยู่ในธรรมชาติมนุษย์แค่ไปค้นพบมันจึ่งไม่ใช่เครื่องมือของมนุษย์ แต่เป็นความงามของธรรมชาติ
    พวกเขามองว่ามันทำให้ความงดงามของการใช้เหตุผลบริสุทธิ์ถูกบดบังไปด้วยเรื่องราวทางกายภาพ
    ยกตัวอย่างคณิตศาสตร์ใกล้ตัวที่แสนสนุกนะครับ
    เช่นถ้าสมมติว่านำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน ผสมน้ำพอประมาณ (กะเอาเองและกัน)อาจจะเติมน้ำตาลนิดหน่อย เพื่อให้ฟิล์มสบู่คงทน(เพิ่มความตึงผิว)จากนั้นก็ทำกรอบแบบต่างๆ จุ่มแล้วยก สมมตุว่าเป็นกรอบลูกบาศก์...อาจได้ลูกบาศก์อันเล็กซ้อนอยู่ในอันใหญ่นักคณิตศาสตร์เรียกว่า ไฮเปอร์คิวบ์ (hypercube) ครับแต่อาจจะมีแบบอื่นๆ ได้อีกนับสิบแบบ! เช่นกรอบทรงเหลี่ยมสี่หน้า (tetrahedron)ได้ผลลัพธ์ที่มีลักษณะคล้ายสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า Radiolarian ในทะเล!
    จะเห็นได้ว่านักคณิตศาสตร์มีทั้งจินตนาการ ศิลป์อยู่ในตัว ไม่ใช่พวกเพี้ยนที่เอาแต่พิสูตรโจทย์ที่มันยากๆเพื่อสนอมตัณหา
    ทั้งความเชื่อ สังคม มนุษย์ และธรรมชาติ
    ต่อมาก็เรื่องปาฏิหารย์ต่างๆ ในพุทธประวัติ ประวัติของศาสดา พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ฯลฯ
    อันนำไปสู่ความเชื่อแบบผิดๆวัตถุมงคลรุ่นแคล้วคลาดแต่ดันตายทุกราย อะไรทำนองนี้ ที่บดบังความงามของแนวคิดทางศาสนา
    ที่ผ่านมาคนเราถูกหลอกให้สับสน โดยศาสนาพุทธแบบไทยๆ ผสมพราหญ์
    ก็ไม่แปลก เพราะเราก็ไปรับของลังกาเขามา
    เรามาดูชนชาติอื่นก็ล้วนแล้วแต่มีศาสนารวมทั้งเรื่องเล่าปรัมปราของธรรมชาติไม่เว้นแม้แต่ศาสนาพุธ ทั้งหมดก็อาจจะเป็นการจูงใจ หรือเป็นคำตอบต่อปัณหาที่หาคำตอบไม่ได้ พอเรามาดู
    ตรงที่ พอมีผู้รู้มาเฉลย เรื่องพวกนี้ มูลเหตุแห่งความกลัวธรรมชาติก็จะหายไปเราก็จะพบว่าเออ มันก็แค่นิทานปรัมปรานั้นแหละ
    เทวดาไทย ก็หน้าไทย ฝรั่ง ก็หน้าฝรั่ง แล้วทำไมมันจึ่งสอดคล้องกัน ก็คุณเป็นมนุษย์เหมือนกัน เป็นโฮโมซาเปรียส์ ซาเปรียส์ เหมือนกันพวกเราล้วนคล้ายคลึ่งกันจึ่งไม่แปลกที่จะคิดอะไรเหมือนกันหรือคล้ายกัน
    มาดูมนุษย์บรรพบุรุษของเราบ้างพวกวิวัฒนาการมาเป็นเราเห็นไหมครับว่า​

    ไม่ใช่การกระโดดข้ามภพภูมิตามบาปบุณ จากมนุษย์ไปเป็น เปรต เทพอะไรทำนองนี้(อันนี้ก็เป็นความเชื่อส่วนบุคคล)​

    จนถึงเดี่ยวนี้ผมสงสัยนะครับว่ามนุษย์บรรพบุรุษของเราบ้างพวกวิวัฒนาการมาเป็นเราพวกเขาเวลาทำอะไรไม่ดี
    ต้องรับกรรมรึเปล่า พระเจ้าจะลงโทษพวกเขาหรือเปล่า แล้วชาวต่างดาวล่ะถ้าเขามีอยู่จริงรึเปล่า
    ต้องตกนรก ขึ้นสวรรค์หรือนิพานได้รึเปล่า หรือมีความเชื่อเหมือนเราหรือเปล่า มีพระเจ้าหรือเปล่า แล้วเป็นองค์เดียวกับเราหรือเปล่า
    แต่ที่แน่ทั้งหมดเหมือนกันตรงที่ตายได้ ขยายเผ่าพันธ์ได้และอีกมากมายเพราะก็เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนๆกัน​


    มาดูกันว่าสังคมวิทยาอธิบายมันว่าอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ การติดต่อสื่อสารทำให้สังคมมนุษย์พัฒนาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันเช่น พุทธแบบจีนก็จะไปรวมกับเต๋า ของเราก็จะไปรวมกับพรามณ์กลมกลืนกันเพื่อให้คนที่เคยมีความเชื่อเดิมยอมรับมันได้ วัฒนธรรมจึ่งมีแต่เพิ่มพูนไม่ใช่ลดทอนลง
    อันมาจากเหตุเพราะคนเรามักจะไม่ยอมเชื่ออะไรที่มันดูขัดกับความเชื่อเดิมๆ ค่านิยมเดิมที่เคยได้รับการขัดเกลาทางสังคมมา
    ทำไมเราจึ่งไม่มองไปที่แก่นจริงว่าพวกศาสดาต้องการจะบอกอะไรกับเรามากกว่าจะมามองและเชื่อแบบงมงายในกุสโลบายในการสอนของพวกเขา​

    สำหรับมนุษย์เรา​

    เรามักนึกไปว่า ปราฏิหาริย์ ก็คือเรื่องในทำนองที่ว่า พระเจ้าทรงแยกแม่น้ำให้ชนชาติอิสราเอลข้ามไป การพื้นจากความตายของพระเยซู การที่ตอนพระพุทธเจ้าประสูติแล้วก้าวเดินมีดอกบัวมารองรับ และอีกมากมาย

    ถ้าผมจะบอกว่าเรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นแค่การเล่นกลกระจอกๆเท่านั้นที่แสนจะไร้สาระ

    คุณจะเชื่อผมไหม
    [​IMG]
    ผมอยากจะบอกคุณว่านี่สิครับถึงจะเป็นปราฏิหาริย์ วัยรุ่นปฏิเสธยาเสพติด คนหนุ่มจูงชายตาบอดที่ไม่รู้จักข้ามถนน แม่ที่ไม่เคยมีเวลาให้กับลูกเลยกลับสามารถสละเวลามาเพื่อพวกเขาได้

    เด็กตาบอดคนหนึ่งสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ด้วยความมุ่มมั้นของตัวเขาเอง

    คนพิการกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งเทียบเท่าไอสน์ไตน์

    และอีกมากมาย

    คุณจะเชื่อผมไหม

    มนุษย์เรามักเฝ้ารอคอยปราฏิหาริย์ จากพระเจ้า ผู้วิเศษ พระพุทธรูป หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างนาๆ


    โดยหลงลืมไปว่าพวกเขานั้นมีความสามารถพอที่จะสร้างปราฏิหาริย์ให้เกิดขึ้นได้ด้วยหัวใจที่เชื่อมั้น

    พวกคุณยังเป็นคนหนุ่มสาว ยังมีพลังพอที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้จริงหรือไม่ครับ คุณจะยอมให้อนาคตของพวกคุณของลูกหลานของคุณในอนาคตเป็นอย่างที่มันเป็นเช่นนั้นหรือ

    มันมีทางหรือไม่ที่มันจะดีกว่าที่เป็น

    ผมจะบอกให้นะครับว่าถ้าคุณอยากที่จะเห็นปราฏิหาริย์นั้น จงอย่ารอคอยปราฏิหาริย์

    แต่คุณจงเป็นปราฏิหาริย์


    คราวนี้เรามาดูความเห็นของผมบ้าง
    พระพุทธองค์ได้ทรงสอนเรามาตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว หรือว่าคือความสมดุลพอดีหรือซิมเมตรีของสรรพสิ่งสรรพปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวงของจักรวาล ก็คล้ายกับแนวคิดของเต๋า หรือ
    วิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั้นแหละ
    คราวนี้เรามาดูกันว่าอะไรเป็นสิ่งที่​

    ต้องการมากที่สุดในชีวิต-ซึ่งอาจเป็นสิ่งเดียวกันกับที่มนุษย์ทุกคนต้องการเมื่อสถานการณ์พร้อม เมื่อมีความสงสัยลังเลใจต่อความจริงทางโลกที่ประสบกับความรู้สึกรับรู้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่ว่าในวัยใดก็วัยหนึ่งโดยไม่มีใครยกเว้น ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นอัจฉริยะ หรือเป็นอีเดียตมอรอลที่เกิดในวัฏสงสาร หรือจักรวาล แห่งนี้ แสวงหาหรือเดินทางเพื่อแสวงหาที่หลายๆ คนอาจจะ ไม่รู้ว่าตนแสวงหาอะไร? เหมือนปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำ แต่ไม่รู้ว่าน้ำคืออะไรและอยู่ที่ไหน? หรือยิ่งกว่านั้น ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนที่มีชีวิตอยู่ในโลกเขาอยู่เพื่ออะไรกัน? คนเหล่านี้หลายคนจึงมีชีวิตด้วยการแสวงหาแต่สิ่งโดยเฉพาะวัตถุที่อยู่ภายนอก จากการกระตุ้นเร่งเร้าด้วยเวทนา สัญญาและอารมณ์ที่ภายใน ด้วยการซื้อหาด้วย "เงิน"

    นี่ต่างหากพวกวัตถุนิยมที่แท้จริง
    ประหนึ่งเป็นโซ่ตรวนที่มัดตัวเอง ​

    ทำไมเราจึ่งต้องศึกษาวิทยาศาสตร์ หรือศาสนาศึกษาไปแล้วได้อะไร บางทีมันก็อาจจะเปลืองเม็มโมรี่ในสมองแบบที่โน๊ต อุดมบอกนั้นแหละ
    แต่อยากให้รู้ว่าทั้งศาสนาและวิทยาศาสตร์ ไม่มีใครตามหลังใครไม่มีใครอยู่เหนือใคร
    ทั้งหมดล้วนเหมือนกันมาจากรากฐานเดียวกันคือ ธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ไม่ใช่เอาชนะธรรมชาติ ไม่ใช่เอาชนะความตายเพราะทุกสรรพสิ่งล้วนมาจากความว่างเปล่าเกิดแล้วดับไป
    พระศาสดานักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา นักคิดท่านอื่นๆเองไม่ว่าจะเป็นพระเยซู ขงจื่อ มหาวีระ ท่านโซโรอัสเตอร์ คุรุ พระเยซู นิวตัน ชอง แปรเรง นิชเช่ วอลแตร์ และท่านอื่นๆ​

    ก็เป็นมนุษย์เดินดินธรรมดา เฉกเช่นเรา ไม่ใช่มนุษย์กายสิทธิ์จริงหรือไม่ลองคิดเอานะครับ แต่พวกท่านมีความกล้าครับกล้าที่จะหาคำตอบให้กับธรรมชาติ กล้าที่จะคิด และทำสิ่งที่ดีต่อโลกสังคม มนุษย์
    ไม่ว่ารูปแบบวิธีคิดจะแตกต่างกันเพียงใด​

    สิ่งหนึ่งที่ได้มาก็ล้วนคล้ายคลึงกัน
    คือสติปัญญา ความชื่นชมยินดีกับการมีชีวิตอยู่
    ไม่ใช่ความฉลาดเฉลียวเพื่อเอาตัวรอด (intelligence) หรืองานกับเงินที่ยังไกลแสนไกลจากปัญญาและความจริงแท้ (wisdom)


    แม้ว่าในความเป็นจริงสิ่งที่เราเรียกว่าวิทยาศาสตร์(หรือแม้แต่องค์กรอย่างศาสนาและปรัชญา) เองอาจจะยังก้าวไม่ถึงความจริงสูงสุด ทำได้แค่ เลียนแบบความจริง(ในวิทยาศาสตร์คือการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์)
    ด้วยการคิดเอาแล้วพิสูจน์ความคิดอีกที ถ้าถูกก็เป็นความจริง ถ้าผิดกับธรรมชาติกหรือไม่สอดคล้องก็บอกว่าความคิดนั้น
    ไม่จริง แต่ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมนุษย์เรามีขีดจำกัดอยู่มากทางกายภาพ
    แม้ว่าบางทีในการค้นหาอาจที่จะทำให้เรามีชะตากรรมเฉกเช่น
    Prometheusที่ถูกตรึงตรึงกับเทือกเขาคอเคซัสและถูกนกอินทรีย์จิกกินตับ เพราะดันไปขโมยไฟจากเทพซุสมาให้มนุษย์​




    [​IMG]





    แต่ผมก็ยังคงเชื่อนะครับว่าเราเองก็มีสติปัญญาพอที่จะค้นหาความจริงของธรรมชาติได้ ​



    ดังคำที่ว่า "ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าอาจถูกตีตราในเปลือกนัทและถือว่าตนเป็นกษัตริย์แห่งจักรวาลไม่มีที่สิ้นสุด" ในแฮมเล็ตของWilliam Shakespeare<!-- google_ad_section_end -->​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2009
  2. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    ผมอ่านมาดูเกือบทั้งหมดแล้วเห็นได้ชัดเลยว่า คุณมีข้อมูลเยอะมาก เยอะจนเีรียกว่าท่วมหัวผสมปนเป ซะจนเอาอะไรดีไม่ได้ซักอย่าง และในที่สุดมันก็ทำให้คุณเข้าสู่ความตีบตันวิ่งวนอยู่ในอ่างแห่งข้อมูล ความรู้ของคุณ ต้องยอมรับครับว่า คุณมีภูมิความรู้ดีมาก แต่สำหรับผมแล้วเท่าที่อ่านมาเห็นได้ชัดเลยว่า ไม่ได้เรื่อง ทำประโยชน์อะไรให้ใครไม่ได้เลย คนอ่านก็ไม่รู้ว่าได้ประโยชน์อะไรจากบทความนี้ ตัวคนเขียนเองได้รับอะไรบ้าง ถ้าคุณสงสัยเรื่องศาสนาพุทธนะครับ ผมว่าคุณต้องถอยออกมาจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของคุณก่อน แล้วก็ตั้งคำถามที่ถูกต้องในแบบชาวพุทธที่ดีก่อน ว่าคุณต้องการดับความทุกช์ทั้งปวงของคุณต้องทำยังไง แล้วจากนั้นจึงเริ่มศึกษาว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนถึงวิธีดับทุกข์ไว้ว่าอย่างไร ทำเหมือนคนโง่น่ะครับ ไม่ต้องอวดฉลาด ทำตามที่พระพุทธองค์บอกไว้เป็นขั้นเป็นตอนไป แล้วเมื่อถึงจุดๆนึง คุณก็จะร้องอ๋อเอง ว่าไอ้ที่คุณสงสัยทั้งหมดมันคืออะไร แต่ถ้าคุณศึกษา อย่างพวกน้ำเต็มแก้ว คุณก็จะไม่ได้อะไรเลย ผมเสียดายนะครับ คนมีความรู้ดีเช่นนี้ แต่ใช้ไม่เป็น เหมือนคนมีรถสปอร์ต แต่ขับไม่เป็น มันเสียดายรถน่ะครับ
     
  3. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    แต่ถ้าคุณจะนำเสนอบทความทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยไม่ต้องมาเปรียบกับศาสนาต่างๆ ผมว่า ก็เข้าท่าเหมือนกันนะครับ และจะเป็นประโยชน์อีกด้วยครับ ผมเองก็ชอบอ่านบทความหรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์เหมือนกันครับ
     
  4. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    อย่างเรื่องมิติทั้ง 11 นี่ผมเองก็สนใจ เรื่องทฤษฎีสตริงนี่ ก็น่าสนใจมากเหมือนกัน ถ้าคุณมีความรู้ดีด้านนี้ จะช่วยเขียนบทความเรื่องยากๆพวกนี้ ช่วยย่อยด้วยถ้อยคำ การเปรียบเทียบที่ทำให้ชาวบ้านรับรู้ได้ง่าย นี่จะเป็นประโยชน์ เป็นพระคุณอย่างสูงเลยครับ และคุณอาจมีส่วนในการสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อไปด้วย จากบทความของคุณ อันนี้แหละจึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นใช้ความรู้ที่มีเพื่อสร้างสรรค์สังคมเรา ใครจะไปรู้ล่ะครับว่านักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต อาจจะได้รับแรงบันดาลใจจากบทความของคุณจริงมั้ยครับ
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความคิดมันเป็นเรื่องแปลก สำหรับเรานะ
    ถ้าคลื่นรบกวนมาก เช่นมีจิตไม่บริสุทธิ์ มีกิเลส มีนิวรณ์สูง
    มันก็บดบังทำให้ความคิดตีบตัน ทำให้การใช้ความคิดมีขีดจำกัด
    เหมือนคนที่ใส่แว่นที่สกปรก มันก็มองอะไรไม่ชัด
    จิตใจก็มัวซัวไปด้วย พาให้ความคิดตื้นเขิน

    วิทยาศาตร์เป็นเรื่องของการใช้ความคิด ค้นคว้าวิจัยแสวงหา
    ศาสนาจะเน้นสอนให้คน มีสติรู้ดีรู้ชั่ว ขัดเกลาจิตใจตนเอง ฝึกจิตให้มีใจสูง เสียสละ
    ฝึกจิตใจให้มีความสงบเป็นนิจขจัดนิวรณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน จิตมีสมาธิจดจ่อตั้งมั่นได้นาน

    คนที่รู้จักใช้ประโยชน์ของศาสตร์ทั้ง2ได้สูงสุด ย่อมมีความสมดุลย์
    และทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ในทุกเรื่อง และทำได้มากกว่าคนอื่น

    บางคนเกิดมาก็มีทั้ง2อย่าง จึงได้ชื่อว่า อัจฉริยะโดยกำเนิด
    แต่ถ้าเรารู้ศาสตร์แห่งการพัฒนาตน เราก็ฝึกเพื่อทำสิ่งที่พ้นขีดจำกัดของตนเองได้

    ถ้าไม่ตรงประเด็นของกระทู้ ก็ขออภัยด้วย พอดีเราสนใจประวัติชีวิต การดำเนินชีวิต
    ของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย แต่ผลงานของพวกท่าน เราเข้าไม่ถึงอ่านไม่เข้าใจ
    ใช้ประโยชน์ไม่เป็น ก็เลยสนใจแต่เรื่องที่เข้าใจได้เท่านั้น ชีวิตของพวกเขา ก็แปลกดีนะ
    มีมุมมอง ต่อสังคมแตกต่างกัน บางคนชอบเก็บตัว บางคนชอบสังคม แต่มีนิสัยช่าง
    สังเกต แล้วก็คิดเก่ง เหมือนๆกัน
     
  6. Jaturongktpm

    Jaturongktpm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +181
  7. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะครับ ก็ตัดต่อใหม่แล้วครับคราวที่แล้วก็รีบพิมพ์ไปหน่อยเลยดูงง ก็ไม่ได้มีจุดประสงค์อะไรทั้งนั้นก็แค่คิดไปเรื่อยเปลื่อยนะครับ

    นี่ก็เป็นความสงสัยเล็กๆของผมนะครับมันก็แค่แนวความคิดหนึ่ง ในหลายแง่มุมแม้ในสถานกราณ์ที่ดูจะเลวร้ายแค่ไหนมันก็อาจจะมีแง่มุมดีอยู่นะครับ

    ผมเองก็มีข้อสงสัยนะครับว่าอยากเรียนถามคุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->อภิภู<!-- google_ad_section_end --> ก็ไม่ค่อยรู้เท่าไรถ้ามั่วก็ต้องขออภัย
    ในเมื่อนะครับ พระพุทธศาสนาสอนว่าทุกสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า เป็นเพียงสมมุติและปรมัตถ์ที่เราเองล้วนสร้างขึ้นมาเท่านั้นตามหลักสัจจะ ผมก็ว่างเปล่า คุณอภิภูก็ว่างเปล่า ศาสนาใดๆก็ล้วนว่างเปล่า วิทยาศาสตร์เองก็ล้วนว่างเปล่า สรรพสื่งก็ล้วนว่างเปล่าเหมือนๆกัน

    แล้วทำไมเราจะนำมันมาศึกษาไปพร้อมกันไม่ได้ ในเมื่อมันก็คือเรื่องเดียวกันคือความว่างเปล่า

    ที่มนุษย์กำหนดทั้งสมมุติและปรมัตถ์ให้กับมัน

    เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นศาสนาพุทธ เป็นศาสนาอื่นๆ เป็นอย่างนู้นเป็นอย่างนี้จากความว่างเปล่า ทำไมเราต้องตัวกู ของกู ศาสนากู สงสัยในตัวกูก้ต้องเริ่มที่ตัวกู ทำไมไม่มองว่าสงสัยในตัวกู แล้วคนอื่นคิดถึงกูอย่างไร คิดเหมือนหรือแตกต่างจากกู ด้วยครับ

    ทำไมเราจะนำมันมาเชื่อมโยงกันแล้วค่อยจัดระเบียบความคิดให้กับมันไม่ได้

    ทำไมเราต้องแยกนี่วิทยาศาสตร์ นี่ศาสนา นี่ศาสนาพุทธ อื่นหาจุดลงตัวที่สมดุล ทั้งที่มันก็คือความว่างเปล่าเหมือนๆกัน

    ทำไมเราไม่มองว่าทั้งหมดล้วนแล้วแต่ค้นหาสิ่งเดียวกันคือ ธรรมะ คือกฏของธรรมชาติ คือสัจจะ มีจุดกำเนิดเดียวกันคือความว่างเปล่า

    เพราะอะไรเราจึ่งแน่ใจว่าศาสนาเราคิดถูกแล้ว แต่ศาสนาอื่นคิดผิด หรือวิทยาสาสตร์คิดผิด หรือผมคิดผิด แต่คุณคิดถูกถ้าเราไม่ลองเปรียบเทียบดูก่อน

    เพราะอะไรครับช่วยตอบผมที

    <SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2204456", true); </SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2009
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เหมือนเล่นกลเลยเนอะ

    สรรพสิ่ง ล้วนเกิดมาจากความว่างเปล่า เกิดจากความไม่มีอะไร

    แต่เราก็ชอบความคิดนี้มากเลยนะ และเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ สูงมากๆ
     
  9. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    อันนี้ก็มาพูดเล่นนะครับเกี่ยวกับหลักการ Anthropic principle ที่บอกว่า ธรรมชาติเป็นอย่างที่มันเป็น เพราะว่ามีเรากำเนิดอยู่ หรือพูดอีกทีก็คือ เราเกิดขึ้นมาเพื่อเห็นโลกอย่างที่เราเป็นอยู่ ถ้าโลกไม่เป็นอย่างที่มันเป็นอยู่
    ก็ไม่มีเรา ... อะไรทำนองนี้ ซึ่งถ้าจะว่าไปก็คงไม่ต้องกับความเห็นที่ว่าเราเป็นของจำลองที่มีผู้สร้าง...
    ซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้? ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้มองเห็นโลกแบบที่มันเป็นอยู่
    ถ้าเราพอใจกับคำตอบเหล่านี้ ก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาฟิสิกส์ หรือวิทยาศาสตร์

    ในฟิสิกส์เราสนใจว่าธรรมชาติทำงานอย่างไร ทฤษฎีต่างๆสร้างขึ้น เพื่ออธิบายว่า ธรรมชาติมีกลไกอย่างไร ทำงานอย่างไร มีหลักอะไร ทฤษฎีเหล่านี้นั่นเอง ที่จะมาแทน Anthropic principle ฟิสิกส์ก็เหมือนกับวิทยาศาสตร์อื่นๆทั่วไป ที่พยายามจะบอกว่า เราไม่ได้มีอะไรพิเศษ เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อที่จะให้เห็นธรรมชาติแบบนี้ แต่เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เกิดขึ้นมาจากกลไกที่เป็นสากล ไม่ว่าเราจะเกิด หรือไม่เกิด จะมีเราหรือไม่มีเรา ธรรมชาติก็ดำเนินไปแบบนี้ เราแค่บังเอิญเกิดขึ้นมาในเอกภพนี้เท่านั้นเอง ...

    แค่นี้ดีกว่าครับเดี๋ยวจะออกนอกประเด็นกระทู้เกินไป
    อีกอย่างหนึ่งจากประสบการณ์แล้ว เวลาคุยเรื่องนี้กันทีไรกับเพื่อนของผม เราก็มักจะ คุยๆกันไปมักจะเลยออกนอกกรอบวิทยาศาสตร์
    บางทีจะพลอยออกนอกไปทางไสยศาสตร์ เรื่องลึกลับ ซึ่งไม่ใช่วิชาการ เป็นอวิชชาไป ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะชอบ แต่ถ้ามากไปก็ไม่คอยดี เสียเวลาเปล่า ผมว่าเรามาคุยเรื่องที่อธิบายได้ก่อน น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า
    ( อืม... หรือจะเปิดอีกบอร์ดหนึ่งดี

    เห็นผมชอบพูดแต่เรื่องวิทยาศาสตร์เอาไปเปรียบเทียบกับความเชื่อส่วนตัว แล้วก็ปากหมาวิจราณ์ไปเรื่อยๆ บางคนก็บอกว่าผมเป็นพวกมิจฉาทิฐ

    ก็น้อมรับครับฮิฮิฮิ แต่ผมเองก็สนเกี่ยวกับเรื่องลึกลับพิสูจน์ไม่ได้เหมือนกันนะ

    ก็ว่าจะตั้งกระทู้เป็นเจ้าลัทธิเองเลย เอาชื่อเป็นไสยศาสตร์ดอทคอม หรือ "อวิชชาพลังจิตดอทคอม" ดี ... ฮ่าๆๆ อันนี้ล้อเล่นนะครับ อย่าคิดจริงจัง ... )

    ไว้มีเวลาจะมาขยายกระทู้เพิ่มนะครับ
     
  10. ^ ^

    ^ ^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +1,279
    "พระพุทธศาสนาสอนว่าทุกสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า เป็นเพียงสมมุติและปรมัตถ์ที่เราเองล้วนสร้างขึ้นมาเท่านั้น"


    สมมุติ เราเป็นคนสร้างขึ้นมา แต่ปรมัตถ์เราไม่ได้เป็นคนสร้างครับ


    ปรมัตถ์ คือ สิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในระดับพื้นฐานที่สุด
    ไม่มีใครสร้างมันขึ้นมาครับ ปรมัตถ์ (หรือ ปรมัตถธรรม) ได้แก่


    1.จิต (เป็น สังขตธรรม)

    2.เจตสิก (เป็น สังขตธรรม)

    3.รูป (เป็น สังขตธรรม)

    4.นิพพาน (เป็น "อสังขตธรรม")


    ในปรมัตถ์ทั้ง 4 อย่างนี้ มี นิพพาน อันเดียวที่เป็น อสังขตธรรม
    นอกนั้นเป็นสังขตธรรมทั้งหมด


    จิต+เจตสิก บางทีเราก็เรียกรวมๆ กันไปว่าจิต มีอาการเกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลา
    ในคน 1 คน ณ.ช่วงเวลาเพียงเสี้ยววินาที มีจิตเกิดดับ นับล้านๆ ดวงครับ

    (คุณคิดว่า ณ.เวลาขณะใดขณะหนึ่ง เซลประสาทนับล้านๆ เซลในตัวเราส่งข้อมูลไปสมองเท่าไรดีครับ อิอิ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2009
  11. Pelagia

    Pelagia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,198
    แนวความคิดตรงนี้ คิดคล้ายๆ กันเลยนะ เคยคิดว่า บางทีบางเรื่องที่ทะเลาะกันแทบเป็นแทบตาย บางทีก็อาจจะเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ แต่เราตั้งชื่อ(สมมติ) มันต่างกัน เช่นบางคนเรียก สิ่งที่มีไว้สำหรับนั่งว่าเก้าอี้ อีกคนก็เรียกว่า chair แล้วก็มาทะเลาะกันว่าไอ้เก้าอี้กะ chair มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เรียกต่างกัน และรูปร่างก็ต่างกันด้วย แต่จริงๆ แล้วมันก็เป็นสิ่งเดียวกันนั่นแหล่ะ เก้าอี้มันก็มีได้หลายรูปทรง

    บางครั้งบางหลักการอย่างเช่นในคริสต์ที่สอนไว้ว่า จงรักคนอื่นเหมือนรักตัวเอง ก็เป็นหลักการในพรหมวิหาร 4 เช่นกัน ที่ให้เมตตาคนอื่น แต่ใช้คำต่างกัน

    เรื่องราวหลักการต่างๆ ในธรรมชาติเช่นกัน จะบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ มันก็แค่ว่าใช้หลักการตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่ใช้วิธีอื่นหา หรือค้นพบได้มั๊ย ก็ได้ อย่างเช่นการคิดหาตัวยารักษาตามแบบแพทย์แผนโบราณ สมัยนั้นคนไทยก็ยังไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังมีวิธีศึกษาตำรับยากันเลย เพียงแต่ว่ามีป้ายแปะว่าเป็นแพทย์แผนโบราณ เลยไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ ทั้งๆ ที่การค้นคว้าในสมัยก่อนก็อาจจะค้นคว้าตามหลักวิทยาศาสตร์ก็ได้

    รู้สึกว่าไปไกลล่ะ เดี๋ยวอ่านแล้วจะงงไปกันใหญ่ สรุปว่าที่เขียนมาและโดนใจและก็คิดคล้ายๆ กันคือประโยคนี้ครับ

    ทำไมเราไม่มองว่าทั้งหมดล้วนแล้วแต่ค้นหาสิ่งเดียวกันคือ ธรรมะ คือกฏของธรรมชาติ คือสัจจะ มีจุดกำเนิดเดียวกันคือความว่างเปล่า

    เพราะอะไรเราจึ่งแน่ใจว่าศาสนาเราคิดถูกแล้ว แต่ศาสนาอื่นคิดผิด หรือวิทยาสาสตร์คิดผิด หรือผมคิดผิด แต่คุณคิดถูกถ้าเราไม่ลองเปรียบเทียบดูก่อน
     
  12. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    ถ้าเจ้าของกระทู้คิดในแบบที่ถามผมมาก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าจะเข้าถึงความว่างเปล่าอย่างที่เจ้าของกระทู้ว่ามา คุณก็ต้องทำจิตให้ว่างเสียก่อนสิครับ ให้จิตรับรู้ด้วยตัวจิตเองว่าความว่างเปล่ามันเป็นยังไง ไม่ใช่ด้วยการคิดหาเหตุผลแบบตรรกะ แล้วมันจะไปเข้าถึงความว่างได้ยังไง หัวสมองเต็มไปด้วยความคิดยุ่งเหยิงไปหมด คุณลองใคร่ครวญในสิ่งที่ผมบอกให้ดีนะครับ ไม่ต้องคิดอะไรให้มันสลับซับซ้อนหรอกครับ เมื่อเข้าถึงความว่างได้ด้วยจิตแล้วคำตอบมันก็จะออกมาเองว่าอะไรเป็นอะไร
     
  13. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    เรื่องของภาษาคำพูด มันอธิบายกันได้ไม่รู้จบ มีแต่ต้องสัมผัสด้วยจิตของตัวเองเท่านั้น เมื่อจิตท่านเข้าถึงได้ด้วยตัวเอง ก็จะไม่ต้องมานั่งสงสัยว่าอะไร ยังไง เพราะคำตอบประจักษ์ชัดอยู่ในใจของตัวเองอยู่แล้ว
     
  14. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    ความจริงคำถามที่คุณถามผมมา ก็มีคำตอบอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว แต่ดูเหมือนคุณจะยังยึดติดที่จะหาคำอธิบายในรูปแบบที่คุณต้องการ จึงทำให้คุณเอาคำถามที่มีคำตอบอยู่ในตัวเองอยู่แล้วมาถามผม ผมว่าคุณต้องถามใจตัวเองดีกว่าครับ ว่าต้องการแค่คำอธิบายในคำตอบ หรือ ต้องการเข้าให้ถึงคำตอบ
     
  15. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    เมื่อคุณต้องการคำอธิบายในคำตอบ คุณก็จะไม่มีวันเข้าถึงคำตอบ และคำอธิบายนั้นก็จะไม่ใช่คำอธิบายคำตอบที่ถูกต้องด้วย เพราะคุณยังเข้าไม่ถึงด้วยตัวเอง แต่ถ้าคุณต้องการเข้าให้ถึงคำตอบ คุณก็จะไม่มัวมานั่งหาคำอธิบายในคำตอบที่คุณต้องการ เพราะคำตอบมันประจักษ์ชัดในใจคุณแล้ว เอ จะว่าไป มันคล้ายๆหลักความไม่แน่นอน ของ ไฮเซนเบอร์ก รึเปล่าเนี่ย
     
  16. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    อ้อแล้วผมให้แง่คิดง่ายๆอีกอย่างนึงนะครับ จะเข้าถึงความว่างต้องเอาออกครับ ต้องสละออกครับ แก้วที่มีน้ำบรรจุอยู่ จะให้มันว่าง ต้องยกแก้วเทน้ำทิ้งครับ แล้วจากนั้นก็ปาแก้วทิ้งไปอีกที ทีนี้ก็จะเข้าถึงความว่างที่แท้จริง คำอธิบายเรื่องกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 3 คำนี้คุณลองไปใคร่ครวญ ให้ดี เข้าถึงมันด้วยใจ แล้วคำตอบทุกอย่างก็จะพรั่งพรูออกมาเอง แม้จะเข้าไปไม่ถึงที่สุด แต่อย่างน้อยก็ไม่หลงทางแหละครับ 3 คำนี้แหละคือพระพุทธศาสนาที่แท้จริง สงสัยอะไรก็พิจารณา 3 คำนี้ พิจารณามันได้ในทุกสพรรพสิ่งลองดูครับ จะเป็นกำลังใจให้ครับ
     
  17. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    ไหนๆพูดมาถึงตรงนี้แล้วขอต่ออีกนิดนึงครับ เรื่องกฎไตรลักษณ์นี่ ขั้นแรก คุณต้องรู้ความหมายของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก่อน (แต่ผมว่าอย่างคุณเข้าใจอยู่แล้ว) จากนั้นก็เริ่มพิจารณากฎนี้ในทุกสรรพสิ่ง ถ้าคุณจะสละเวลานั่งคิดโน่น คิดนี่ ลองมาคิดแบบนี้ดูสักนิดนึง เริ่มจากวัตถุใดๆก็ได้่ก่อน อาจจะเป็น ทีวี รถยนต์ หรือ ที่ดีที่สุด ก็ตัวเราเอง ดูว่า ทกวันนี้เราแก่ลงไปทุกวัน มีความเหี่ยวย่น ย่นขึ้นทุกวัน เป็นไปตามกฎ อนิจจัง ร่างกายเราไม่สามารถคงสภาพความเป็นหนุ่มเป็นสาวไว้ได้ ตามกฏ ทุกข์ขัง ส่วนที่พิจารณายากคือ อนัตตานี่แหละครับ ซึ่งอนัตตาเราจะเข้าถึงได้ ต้องพิจารณาในส่วนอื่นตามหลัก อนิจจัง ทุกข์ขัง จนทะลุปรุโปร่งก่อน เช่นอาจจะพิจารณาร่างกายเราเองละเอียดลงไปเรื่อย ไปจนถึงระดับเซลล์ นิวเครียส โครโมโซม ดีเอ็นเอ หรืออะไรย่อยลงไปเรื่อยๆ จนโปรตรอน อิเล็กตรอน เป็น ควากซ์ เป็นพลังงาน จนสุดปัญญาที่เรารู้จักในรูปธรรม แล้วจากนั้น ก็พิจารณาในส่วนนามธรรมต่อ เช่น ความคิดที่เรากำลังใครครวญ อยู่นี้ แท้จริง มันก็อยู่ในกฎไตรลักษณ์ ตอนนี้เราคิดอย่างนี้อยู่ ซักพักก็เปลี่ยนความคิดไป เป็นอนิจจัง พอจะกลับมาคิดในเรื่องเดิมอีกครั้ง ไม่ช้า ไม่นาน ความคิดเราก็จะไปคิดถึงเรื่องอื่นๆอีก เป็นทุกข์ขัง คือทนอยู่ไม่ได้ แล้วเมื่อใคร่ครวญ ทั้งในรูปธรรม และนามธรรม จนเข้าใจแจ่มชัดแล้ว ความเข้าใจในอนัตตา ก็จะรับรู้ได้ด้วยจิตเอง และถ้าเข้าใจเรื่อง อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ด้วยจิตได้แล้ว ความเข้าใจต่างๆที่มีต่อธรรมชาติ ก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง แล้วการพิจารณาในกฎไตรลักษณ์ในส่วน นามธรรม นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งยิ่งนัก ความรู้สึกทุกอย่าง สามารถนำมาพิจารณาได้ทั้งนั้น ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความเบื่อหน่าย ความ... แต่พยายามพิจารณา อารมณ์ ปัจจุบัน ที่คุณรู้สึก เมื่อจิตรับรู้กฎอนัตตาได้ด้วยตัวเองเมื่อไหร่ สิ่งต่างๆ ที่คุณสงสัย คุณก็จะพบคำตอบเอง
    อันนี้บอกเล่าสู่กันฟังนะครับ ใครคนอื่นอาจจะมีวิธีการอื่นที่แตกต่างออกไป แต่สำหรับนักคิดวิเคราะห์อย่างคุณ อย่างนี้น่าจะเหมาะกับคุณนะครับ
     
  18. โอซารัน

    โอซารัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +91
    สุดยอดครับพี่หมอ
    เดวเอาไว้พิมมาอ่านดีกว่า


    ดูเรื่องนี้แล้วจะอินไปกับปรัชญาของพี่ได้
     
  19. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    อันนี้งงครับ

    ในเมื่อทุกสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า แล้วทำไมจริงมี ปรมัตถ์ เกิดขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติเช่นนั้นหรือ

    ในเมื่อมันมีอยู่มันก็ต้องมีเหตุผลว่าทำไมจึ่งมีอยู่

    เพราะอะไรจึ่งมีอยู่

    และเพราะอะไรปรมัตถ์จึ่งเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่ มิได้เป็นในรูปแบบอื่นๆ

    เป็นไปได้หรือไม่ว่ามันมีพระผู้สร้างเพียงแต่เราไม่รู้จักพระองค์เลยคิดไปว่ามันมีอยู่เองโดยธรรมชาติ



    อันนี้ก็ความคิดของผม งั้นปรมัตถ์มันก็คล้ายกลับ หลักทางวิทยาศาสตร์นะสิ(หลักกับกฏต่างกันนะครับเพราะกฏเราจะอธิบายได้ว่ามันเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร ยกตัวอย่างกฏความโน้มถ่วง เราอธิบายได้ว่าเพราะความโค้งของอวกาศและเวลา) ที่เป็นกติกาที่ธรรมชาติ เป็นข้อเท็จจริงทางธรรมชาติ

    เช่นหลักอนุรักษ์พลังงานไม่ใช่กฏนะครับคนเราชอบเรียกผิด แม้จะเป็นในหมู่พวกผู้รู้ก็เถอะครับ

    ที่ไม่มีใครอธิบายได้ว่ามันเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร เพราะธรรมชาติกำหนดมาให้มันเป็นเช่นนี้


    มันก็คลายกลับว่าเราเกิดมาได้อย่างไร และทำไม หรือเพื่ออะไร
    ตัวเราเองที่รู้ดีที่สุดใยต้องถาม


    ชีวิตคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร
    ตัวเราเองที่รู้ดีที่สุดใยต้องถาม

    ตายแล้วไปไหนหรือกลายเป็นอะไร
    ตัวเราเองที่รู้ดีที่สุดใยต้องถาม

    พระเจ้าหรือพุทธองค์ก็ได้ มีจริงหรือไม่
    ตัวเราเองที่รู้ดีที่สุดใยต้องถาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2009
  20. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    ก็ถึงคุณอภิภูนะครับ

    สมมตินะครับสมมติทุกสรรพสิ่งในจักรวาลเคารพกฏของเหตุและผล

    ทุกเหตุกราณ์ล้วนมี

    เหตุผลลึกๆอยู่ในตัว

    นั้นก็หมายความว่าทุกคำตอบต้องมีคำอธิบาย ยกตัวอย่างนะครับเอาศาสนาพุทธนี่แหละ

    ก็อย่าพึ่งไปบัว4เหล่านะครับ
    ลองคิดตามนะครับ
    เวลาพระพุทธเจ้าสอนพุทธสาวกพระองค์ให้คำตอบเลยรึเปล่า
    เปล่าครับพระองค์ทรงเปิดให้ซักถามและอธิบายให้เข้าใจ(เข้าใจเร็วช้าขึ้นอยู่กับสติปัญญาของแต่ล่ะบุคคล)

    เพราะอะไร เพราะทุกคำตอบ ทุกธรรมล้วนมีคำอธิบาย ใช่ไหมครับ

    มาดูที่ครุบ้างเวลาท่านสอนนักเรียนท่านให้คำตอบต่อปัณหานั้นเลยหรือเปล่าแน่นอนว่าไม่ท่านให้คำอธิบายที่นำนักเรียนของท่านไปสู่คำตอบครับ

    ถ้าเรามองในมุมมองนี้จะเห็นได้ว่าการรู้คำตอบโดยปราศจากคำอธิบายนั้นใช้ไม่ได้เพราะมันจะไม่ทำให้เราได้อะไรเลย
    เปรียบเหมือนถ้าผมบอกคุณว่า อีเท่ากับเอ็มซีสแควร์

    คุณรู้อะไรรึเปล่าแน่นอนว่าไม่

    คุณก็จะสงสัยว่าอีคืออะไร เอ็มคืออะไร

    คิดมาได้อย่างไร เพราะอะไรอีจึ่งเท่ากับเอ็มซีสแควร์

    เห็นไหมครับงั้นจะมีไตรสิกขาขึ้นมาทำไม เราใช้สมาธิเพื่อหาเหตุผล หาคำอธิบาย หาคำตอบ หรือก็คือเป็นบันไดไปสู่ปัญญาใช่ไหมครับ

    มาเรื่องน้ำเต็มแก้วบ้าง ผมคิดแบบนี้นะครับ(ถ้าไม่ถูกก็ช่วยแนะนำด้วยนะครับ)

    ผมว่าจะเทออกสักครึ่งแก้วฮิฮิฮิ

    เพราะถ้าเราเอาออกหมดแน่นอนว่ามันว่างเปล่า แต่มันจะว่างจนเราไม่เหลืออะไรเลย

    แม้แต่ปัณหาเริ่มต้น แนวทางไปสู่ปัณหา

    ยกตัวอย่าง ถ้าพระพุทธองค์เอาออกหมด ปัณหาที่พระองค์ทรงพบคือ การเกิด ดับ ชรา ตาย ล้วนเป็นทุกข์ก็จะหายไป

    สิ่งที่เพราะองค์ทรงพบคือ ทางสายกลางนี่เหละดีที่สุดในการนำไปสู่คำตอบก็จะหายไปแล้วพระองค์จะคิดอะไรได้ล่ะครับ

    โปรดช่วยพิจารณาและติดชมด้วย

    สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...