7 ชั้นพิมพ์ใหญ่เกศไชโย

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 2 มิถุนายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b8b4e0b8a1e0b89ee0b98ce0b983e0b8abe0b88de0b988e0b980e0b881e0b8a8e0b984e0b88ae0b982e0b8a2-e0b984.jpg

    ช่วงเวลานั้นยังไม่มีการเรียกพิมพ์ A หรือพิมพ์ B หรือเจ็ดชั้นพิมพ์อื่นๆที่ละม้าย… อย่างสมัยนี้

    วงการพระถ้าให้เริ่มจากวัดมหาธาตุ ก่อนไปท่าพระจันทร์ สมัยแรกๆยอมรับพิมพ์ใหญ่เจ็ดชั้น และพิมพ์ 6 ชั้นอกตัน พิมพ์ 6 ชั้นอกตลอด…เป็นพิมพ์มาตรฐาน พิมพ์นอกนั้น เรียก “พิมพ์ตลก”

    พิมพ์เหล่านี้ แม้เส้นสายลายพิมพ์ดี เนื้อหาเก่าถึงอายุ แต่ก็เล่นกันราคาไม่แพง ดูตาเปล่าจากแผง ก็ซื้อกันได้ง่ายๆ เพราะยังไม่มีของปลอม

    จนกระทั่ง หนังสือสมเด็จวัดเกศไชโย เล่มที่ คุณอ้า สุพรรณ กับเพื่อนอีกคนที่อ่างทอง พิมพ์ออกมา พิมพ์ตลกที่ว่า ก็ไม่ตลกอีกต่อไป


    ลองไล่เรียง เฉพาะเจ็ดชั้น มีพิมพ์หูประบ่า พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์ไหล่ตรง พิมพ์ต้อ รวมทั้งพิมพ์อื่น ตั้งแต่เจ็ดชั้น หกชั้น ห้าชั้น ไปถึงสามชั้น รวมๆแล้วกว่า 20 แม่พิมพ์

    ทุกพิมพ์เริ่มมีราคาแพง ของปลอมก็ออกตามมา ดูตาเปล่าซื้อไม่แพง จากแผงพระไม่ได้อีกต่อไป

    เฉพาะพิมพ์ใหญ่เจ็ดชั้น ที่วันนี้เรียกพิมพ์ A องค์สวยๆเคยทำราคาขึ้นกว่าล้าน พิมพ์อื่นๆ ก็ไล่หลังตาม พร้อมๆกับพระปลอมฝีมือพัฒนาใกล้เคียง…

    บางพิมพ์เช่น พิมพ์ 6 ชั้นอกตลอด เซียนใหญ่ด้วยกัน ยังเถียงกันแรงๆ อีกคนว่าแท้ อีกคนว่าปลอม

    พระปลอมฝีมือถึงขนาดนี้ คนรักพระนอกสนาม ก็ยิ่งครั่นคร้าม จะซื้อเองตาเดียวแต่ละองค์ หายใจไม่ทั่วท้อง

    ลดความเสี่ยง ไปซื้อพระเซียน มาตรฐานวงการ ราคาก็แพงจับใจ

    หันมาคุยกันถึงองค์เจ็ดชั้นพิมพ์ใหญ่องค์ในคอลัมน์ ข้อแปลกตา ก็คือคราบเปื้อนสีน้ำตาลเข้ม

    ถ้าเป็นพระสมเด็จวัดระฆังคราบเปื้อนนี้ ก็คือฝ้ารักสีเลือดหมู ที่จับหนา แต่ถ้าเป็นวัดเกศไชโย เมื่อไม่ใช้ฝ้ารัก ก็ต้องเป็นคราบฝ้าจากน้ำมันตังอิ๊ว ส่วนผสมหลักกับปูนเปลือกหอย…ที่ถูกความร้อนในกรุ (องค์พระหลวงพ่อพุทธพิมพ์ วัดไชโย) ขับเน้นออกมา

    เอาไปเทียบกับเจ็ดชั้นพิมพ์ใหญ่ หลายองค์เนื้อละเอียดขาว…แต่หลายองค์ก็มีคราบฝ้ารักสีเหลืองอ่อน น้อยองค์ ที่ออกสีแดงเข้ม พอจับทางได้ เป็นคราบฝ้าชุดเดียวกัน

    เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย มีทั้งละเอียดขาว…น้ำตาลอ่อน ไปถึงน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ ไม่มีมวลสาร

    แต่คนที่ดูพระสมเด็จวัดเกศไชโย มากองค์ ต่างสภาพ ก็จะพบมวลสารหลากหลาย ต่างสีสัน เพียงแต่ขนาดมวลสารจะย่อมเยากว่าเนื้อวัดระฆัง

    เจ็ดชั้นพิมพ์ใหญ่องค์นี้ ทั้งคราบน้ำตาล ทั้งผิวพระขาวละเอียด ปกคลุมไว้ไม่เห็นมวลสาร

    ข้อที่เด่น เป็นเส้นสายลายพิมพ์ คมชัดถูกที่ถูกทาง ทุกตำแหน่ง…กระทั่งเส้นตรงเล็กๆ บางๆ ระหว่างปลายเส้นซุ้ม และเส้นกรอบกระจกด้านซ้าย (ขององค์พระ) เส้นนี้ก็เป็นตำหนิลับ ที่บางเซียนตั้งใจชี้

    เรื่องตำหนิ จุดนี้หรือจุดไหนๆ ดูจากพระแท้แล้วจำไว้…ถ้ามีก็ถือว่าดี เป็นคะแนนช่วย แต่ถ้าไม่มีก็อย่าเพิ่งวาง ตำหนิพิมพ์เส้นเล็กๆ บางๆ หรือตุ่มติ่งนิดน้อย มีก็ได้ไม่มีก็ได้

    ดูภาพรวมเนื้อพระ ผิวฝ้า และความเก่า ให้ถึงอายุเอาไว้ก่อน

    ตัวช่วยสำคัญขององค์นี้คือด้านหลัง… นอกจากเห็นรอยขัดขอบข้างกลมมน พื้นผนังด้านหลังส่วนใหญ่ มีรอยนิ้วมือ…รอยนิ้วมือ พระสมเด็จวัดเกศไชโยแท้…มีจำนวนน้อยองค์ ถ้ามีก็ถือว่าดี

    สะสมบ่มเพาะความรู้ จากการดูพระแท้เอาไว้…ดูให้มากๆจนคุ้นตา วันหนึ่งข้างหน้า ท่านก็มาโปรดเองสักองค์.

    OพลายชุมพลO


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/society/1581778
     
  2. Ratree0424

    Ratree0424 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2014
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +158
    สาธุค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...