42-085 ปัญหาวาร625-640 จบ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Siranya, 27 เมษายน 2011.

  1. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    <CENTER>ปัญหาวาร
    </CENTER>[๖๒๕] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ นิวรณสัมปยุตตธรรม
    โดยเหตุปัจจัย
    คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต
    ขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย


    <CENTER>พึงถามถึงมูล
    </CENTER>เหตุทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
    ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย เหตุทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่
    สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยเหตุปัจจัย
    คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต
    ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ
    [๖๒๖] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดย
    อารัมมณปัจจัย
    คือ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งราคะ เพราะปรารภราคะนั้น
    ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น
    บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งทิฏฐิ เพราะปรารภทิฏฐินั้น ราคะ
    ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น
    เพราะปรารภวิจิกิจฉา วิจิกิจฉา ทิฏฐิ อุทธัจจะ โทมนัส เพราะปรารภ
    อุทธัจจะ อุทธัจจะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา เกิดขึ้น เพราะปรารภโทมนัส
    โทมนัส เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ เกิดขึ้น
    นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยอารัมมณ-
    *ปัจจัย
    คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม
    พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน
    บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม โดยความ
    เป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
    บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม
    โดยเจโตปริยญาณ
    ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
    เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
    แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรมเป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
    คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว พิจารณากุศล-
    *กรรมนั้น
    กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
    ออกจากฌาน ฌาน ฯลฯ
    พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค มรรค ฯลฯ พิจารณาผล นิพพาน ฯลฯ
    นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่
    อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย
    จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณ
    วิปปยุตตธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
    บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ตลอดถึงอาวัชชนะ
    นีวรณวิปปยุตตธรรมเป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
    คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
    กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
    จากฌาน ฯลฯ
    จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง
    ซึ่งขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะ
    ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น
    [๖๒๗] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดย
    อธิปติปัจจัย
    มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ
    ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลกระทำราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
    แน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำความยินดีนั้นให้เป็นอารมณ์
    อย่างหนักแน่น ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
    ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็น
    ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรมโดยอธิปติปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรมโดยอธิปติปัจจัย
    มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตต-
    *ธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย


    <CENTER>พึงถามถึงมูล
    </CENTER>อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
    จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยอธิปติปัจจัย
    มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ
    ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม
    ฯลฯ แล้ว กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา
    กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
    ออกจากฌาน ฌาน ฯลฯ
    พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
    แน่น ฯลฯ ผล ฯลฯ นิพพาน ฯลฯ
    นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดยอธิปติปัจจัย
    ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม เป็น
    ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดยอธิปติปัจจัย
    มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ
    กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
    ฌาน ฯลฯ
    จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปป-
    *ยุตตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ
    กระทำจักขุเป็นต้นนั้นให้หนักแน่น ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
    [๖๒๘] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม
    โดยอนันตรปัจจัย
    คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย
    แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย


    <CENTER>พึงถามถึงมูล
    </CENTER>ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดย
    อนันตรปัจจัย
    ในที่นี้ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ ไม่มี


    <CENTER>พึงถามถึงมูล
    </CENTER>ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่
    ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม
    เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดยอนันตร-
    *ปัจจัย
    คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม
    โดยอนันตรปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดยสมนันตร
    ปัจจัย
    ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
    ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย
    ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย
    [๖๒๙] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดย
    อุปนิสสยปัจจัย
    มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
    ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยราคะแล้ว ฆ่าสัตว์
    ฯลฯ ทำลายสงฆ์
    บุคคลเข้าไปอาศัยโทสะ ฯลฯ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนา
    แล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์
    ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา
    โดยอุปนิสสยปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยอุปนิสสย
    ปัจจัย
    มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
    ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยราคะแล้ว ให้ทาน
    ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ยังฌาน วิปัสสนา มรรค อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้
    เกิดขึ้น
    บุคคลเข้าไปอาศัยโทสะ ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ
    ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
    ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่
    สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยอุปนิสสย
    ปัจจัย
    มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
    ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้
    ทาน รักษาศีล ฯลฯ ยังมรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น
    บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ เสนาสนะ แล้วให้ทาน
    ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
    ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่
    มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดยอุปนิสสย
    ปัจจัย
    มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
    ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ
    ถือทิฏฐิ
    บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ
    แล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์
    ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะ แก่โทสะ แก่โมหะ
    แก่มานะ แก่ทิฏฐิ แก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
    [๖๓๐] นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดย
    ปุเรชาตปัจจัย
    มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต
    ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่จักขุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นหทัยวัตถุ
    โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
    บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
    รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่
    กายวิญญาณ
    ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
    กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
    นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย
    มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต
    ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อม
    เพลิดเพลินยิ่งซึ่งหทัยวัตถุ เพราะปรารภความยินดีนั้น ราคะ โทสะ โมหะ
    เกิดขึ้น
    ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
    นีวรณสัมปยุตตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย
    [๖๓๑] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม
    โดยปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ นัย
    ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี ๒ นัย
    [๖๓๒] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม
    โดยกัมมปัจจัย เจตนาที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
    ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย


    <CENTER>พึงกระทำมูล
    </CENTER>มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก
    ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่
    จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย
    ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัย
    แก่วิบากขันธ์ และ กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย
    เจตนาที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
    จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยกัมมปัจจัย
    มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ฯลฯ
    ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิปากปัจจัย มี ๑ นัย
    [๖๓๓] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม
    โดยอาหารปัจจัย
    ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย
    ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย
    ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย
    ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ นัย
    [๖๓๔] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดย
    วิปปยุตตปัจจัย
    มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยวิปปยุตต-
    *ปัจจัย
    มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดยวิปปยุตต-
    *ปัจจัย
    มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย
    ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย
    [๖๓๕] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดย
    อัตถิปัจจัย
    คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย
    อัตถิปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย
    มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต
    ที่เป็นสหชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัย
    แก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย
    ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็น
    ปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม และนีวรณ-
    *วิปปยุตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย
    คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ
    จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดย
    อัตถิปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยอัตถิ
    ปัจจัย
    มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ฯลฯ
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดย
    อัตถิปัจจัย
    มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อม
    เพลิดเพลินยิ่งซึ่งหทัยวัตถุ เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
    อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณ
    สัมปยุตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม และนีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณ-
    *สัมปยุตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย
    มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต
    ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม และหทัยวัตถุ
    เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่
    ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม และนีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณ-
    *วิปปยุตตธรรม โดยอัตถิปัจจัย
    มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์
    ที่เป็นสหชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม และ
    มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย
    ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม และ
    กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย
    ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม และ
    รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย
    [๖๓๖] ในเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔
    ในอารัมมณปัจจัย มี " ๔
    ในอธิปติปัจจัย มี " ๕
    ในอนันตรปัจจัย มี " ๔
    ในสมนันตรปัจจัย มี " ๔
    ในสหชาตปัจจัย มี " ๕
    ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๒
    ในนิสสยปัจจัย มี " ๗
    ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๔
    ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๒
    ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๒
    ในอาเสวนปัจจัย มี " ๒
    ในกัมมปัจจัย มี " ๔
    ในวิปากปัจจัย มี " ๑
    ในอาหารปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔
    ในอินทริยปัจจัย มี " ๔
    ในฌานปัจจัย มี " ๔
    ในมัคคปัจจัย มี " ๔
    ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๒
    ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๓
    ในอัตถิปัจจัย มี " ๗
    ในนัตถิปัจจัย มี " ๔
    ในวิคตปัจจัย มี " ๔
    ในอวิคตปัจจัย มี " ๗
    [๖๓๗] นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม
    โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยอารัมมณ-
    *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย
    โดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม และนีวรณ-
    *วิปปยุตตธรรม โดยสหชาตปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม โดยอารัมมณ-
    *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย
    โดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย
    เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย
    นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม โดยอารัมมณ-
    *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม และนีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณ-
    *สัมปยุตตธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย
    นีวรณสัมปยุตตธรรม และนีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณ-
    *วิปปยุตตธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัย
    โดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย
    [๖๓๘] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๗
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๗
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๗
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๗
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๗
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่สหชาตปัจจัย มี " ๕
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มี " ๕
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่นิสสยปัจจัย มี " ๕
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๗
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๖
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๗
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๕
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๔
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๔
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๗
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๗
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๔
    [๖๓๙] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย
    กับเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย
    กับ ฯลฯ มี " ๔
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย
    กับ ฯลฯ มีหัวข้อปัจจัย ๔
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย
    กับ ฯลฯ มี " ๔
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย
    กับ ฯลฯ มี " ๒
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย
    กับ ฯลฯ มี " ๔
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย
    กับ ฯลฯ มี " ๔
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย
    กับ ฯลฯ มี " ๒
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย
    กับ ฯลฯ มี " ๒
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย
    กับ ฯลฯ มี " ๔
    ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย
    กับ ฯลฯ มี " ๔
    [๖๔๐] ในอารัมมณปัจจัย
    กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔
    ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕


    <CENTER>พึงกระทำการนับโดยอนุโลม
    </CENTER>ในอวิคตปัจจัย
    กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มี " ๗

    นีวรณสัมปยุตตทุกะ จบ​

    (f)(f)
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1469129/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    ขอผลบุญของข้าพเจ้าทั้งหลายได้ทำมานี้ ขอนำมาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสเถิด
    ขอผลบุญนี้ จงเป็นพลวปัจจัยให้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ให้ได้บรรลุ มรรค ผลนิพพานเถิด

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่สัตว์ทั้งหลายทุกตัวตน
    ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้กระทำบำเพ็ญมาแล้วนี้ ขอถวายให้พระอุปัชฌาย์ ผู้มีพระคุณยิ่ง อาจารย์ ผู้มีอุปการะก็ดี มารดาและบิดา ญาติทั้งหลายก็ดี พระอาทิตย์ก็ดี พระจันทร์ก็ดี พระราชาก็ดี บุคคลทุกคน ผู้มีคุณทั้งหลายก็ดี มารพรหม พระอินทร์ทั้งหลายก็ดี ท้าวโลกบาล และเทวดาทั้งหลายก็ดี พระยายมก็ดี มนุษย์ทั้งหลายผู้ผูกเวรกันก็ดี สัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขเถิด
    ขอบุญทั้งหลายที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้วนี้ จงให้ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความสุข ๓ ประการ คือ สุขในมนุษย์ สุขในสวรรค์ สุขในพระนิพพาน โดยเร็วพลันเถิด
    ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญไว้นี้ก็ดี ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้อุทิศให้ผู้อื่นก็ดี ขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย จงได้ตัดขาดจากตัณหา และอุปาทานโดยเร็วพลันเถิด
    บาปกรรมทั้งหลายเหล่าใด ที่ต่ำช้าลามกมีอยู่ในขันธสันดานของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบาปกรรมที่ลามกทั้งหลายเหล่านั้น จงสูญสิ้นไป จากสันดานของข้าพเจ้าทั้งหลายในกาลทุกเมื่อ ตราบเท่าถึงพระนิพพานเถิด
    ข้าพเจ้าเกิดแล้วในภพใด ขอให้มีความชื่อตรง มีสติปัญญา มีความมักน้อย มีความเพียรในภพนั้นๆ ขอมารทั้งหลายผู้ลามก จงอย่าได้โอกาส กระทำอันตรายในกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เพียรบำเพ็ญมาแล้วนี้เลย
    พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ และสูงสุดของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เหล่านั้น ขอมารทั้งหลายจงอย่าได้โอกาสมาแผ้วพานข้าพเจ้าทั้งหลายเลยข้าพเจ้าทั้งหลายได้กระทำบำเพ็ญ กุศลมาแล้วนี้ ขอจงได้เป็นพลวปัจจัย อำนวยสุขส่งเสริมให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย จงถึงสุข ถึงสุข ทุกเมื่อเทอญ<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. กสิน9

    กสิน9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +270
    626 บุคคล(ที่)พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลาย อ่านผิดครับ

    627 กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
    แน่น(แล้ว) ฯลฯ ผล ฯลฯ นิพพาน ฯลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2011
  4. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    อนุโมทนากับน้องวีและคุณกสิน9 ด้วยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...