115 ปีมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์ธรรมยุต

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Mr.Kim, 28 กันยายน 2008.

  1. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    115 ปีมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์ธรรมยุต

    คอลัมน์ สกู๊ปข่าวสด
    วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6513 ข่าวสดรายวัน

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) เดิมชื่อ "มหามกุฏราชวิทยาลัย" ตั้งอยู่ในวัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "มหามกุฏราชวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการทางพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณร และเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งได้ดำเนินการมาโดยลำดับ

    ต่อมา พระพรหมมุนี (ผิน สุวจเถระ) ประธานกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ในฐานะเป็นผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย พร้อมด้วยคณะมีความประสงค์ให้มหามกุฏราชวิทยาลัยดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 5 และตามพระประสงค์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงได้ประชุมกันและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ควรตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

    จึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งนายกมหามกุฏราชวิทยาลัยด้วย พระองค์ไม่ทรงขัดข้อง จึงได้ประทานอนุมัติและลงพระนามตั้งสถานศึกษาชั้นสูง เรียกว่า "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา" เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2488 โดยมีวัตถุประสงค์ 7 ประการ คือ

    1. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม

    2. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาของชาวไทยและชาวต่างชาติ

    3. เพื่อให้เป็นสถานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ

    4. เพื่อให้พระภิกษุสามเณร มีความรู้ความสามารถในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

    5. เพื่อให้ภิกษุสามเณร มีความรู้ความสามารถในการค้นคว้า โต้ตอบ หรืออภิปรายธรรมได้อย่างกว้างขวางแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    6. เพื่อให้ภิกษุสามเณร ได้เป็นกำลังสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะแก่กาลสมัย

    7. เพื่อความเจริญก้าวหน้า และคงอยู่ตลอดกาลนานของพระพุทธศาสนา
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี เรียกว่า "ศาสนศาสตรบัณฑิต" (ศน.บ.) เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2489 มี 4 คณะ คือ

    1. คณะศาสนาและปรัชญา

    2. คณะมนุษยศาสตร์

    3. คณะสังคมศาสตร์

    4. คณะศึกษาศาสตร์

    ปริญญาโท ได้เปิดระดับปริญญาโท เรียกว่า "ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต" (ศน.ม.) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2530 มี 2 สาขาวิชา คือ

    1. สาขาพุทธศาสน์ศึกษา

    2. สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา

    ปริญญาเอก ได้เปิดระดับปริญญาเอก เรียกว่า "ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต" (ศน.ด.) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2548 มี 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

    การจัดการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติรับรองวิทยฐานะให้มีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนกับมหาวิทยาลัยทั่วไป และตราพระราชบัญญัติ "มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ยกฐานะให้เป็น "มหาวิทยาลัยของรัฐ" ซึ่งจะเปิดรับบรรพชิตและคฤหัสถ์เข้าศึกษา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก

    นโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย ในช่วงปี พ.ศ.2540-2544

    1. กระจายโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร เพื่อให้มีโอกาสศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามากขึ้น

    2. พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ

    3. พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ

    4. เร่งพัฒนาปรับปรุงโครงสร้าง ระบบการบริหารมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ

    5. ปรับปรุงระบบการบริการสารสนเทศและระบบห้องสมุดให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

    6. เพิ่มบทบาทของมหาวิทยาลัย ในด้านการให้บริการทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของประชาชน

    7. เร่งพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ และทักษะในการปฏิบัติงานด้านบริหารและวิชาการเพิ่มมากขึ้น
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ส่วนการดำเนินงานปัจจุบันมหาวิทยาลัย ได้ขยายการศึกษาออกไปในส่วนภูมิภาค 7 วิทยาเขต ใน 7 จังหวัด คือ

    1. วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    2. วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม

    3. วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น

    4. วิทยาเขตล้านนา จังหวัดเชียงใหม่

    5. วิทยาเขตร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

    6. วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย

    7. วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

    นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้ดำเนินการในด้านบริการสังคม การเผยแผ่ การบรรยายธรรมในสถานที่ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ ฯลฯ และการจัดหน่วยพระธรรมวิทยากรของพระนักศึกษาไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนต่างๆ ทั้งระดับประถมศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษา ปีละไม่น้อยกว่า 50 แห่ง

    ทั้งนี้ พระนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรภาคทฤษฎีแล้ว จะต้องปฏิบัติศาสนกิจ (ทำงานให้พระพุทธศาสนา) ถ้าปฏิบัติศาสนกิจในกรุงเทพฯ และปริมณฑลใช้เวลา 2 ปี ถ้าปฏิบัติศาสนกิจในต่างจังหวัดใช้เวลา 1 ปี จึงจะมีสิทธิ์ได้รับปริญญา ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

    "พระเทพปริยัติวิมล" อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในฐานะมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาแห่งแรกของประเทศไทย เปิดจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2489 ครบปีที่ 62 ภายหลังจากการสถาปนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม โดยได้บริหารจัดการการศึกษามาโดยลำดับ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2540 มหาวิทยาลัยมีภารกิจที่สำคัญ 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การผลิตงานวิจัย การให้บริการสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

    นับตั้งแต่ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี-โท จนกระทั่งขณะนี้ เป็นระยะเวลา 55 ปี มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว จำนวน 2,429 รูป ในจำนวนบัณฑิตเหล่านี้ที่ยังครองสมณเพศอยู่ มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระพุทธศาสนา เป็นนักปกครองของวงการคณะสงฆ์ ส่วนท่านที่ได้ลาสิกขาไปแล้ว ก็ได้เป็นครูอาจารย์นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา ตามวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอนุศาสนาจารย์ประจำ 3 เหล่าทัพ และทัณฑสถานทั่วประเทศ

    ถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาและประเทศชาติต่อไป

    กำหนดการงานพิธีคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ 115

    วันพุธที่ 1 ตุลาคม 2551

    ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู กรุงเทพมหานคร

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "มหามกุฏราชวิทยาลัย" ขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 (ร.ศ.112) และเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบรมราชชนก

    สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยจึงได้มีมติให้วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย โดยกำหนดจัดงานพิธีคล้ายวันสถาปนา และการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบุรพาจารย์ผู้มีพระราชคุณูปการ พระคุณูปการ คุณูปการแก่มหาวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี

    วันพุธที่ 1 ตุลาคม 2551

    เวลา 12.00 น. พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์

    เวลา 13.00 น. พระสงฆ์ 20 รูป สดับปกรณ์

    เวลา 16.00 น. สวดมนต์ อุทิศถวายบุรพาจารย์

    เวลา 17.00 น. ถวายสักการะสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นเสร็จพิธี

    หมายเหตุ พระภิกษุห่มเฉวียงบ่า-สังฆาฏิ คณาจารย์แต่งเครื่องแบบปกติ หรือชุดสุภาพสากล และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย แต่งเครื่องแบบปกติ

    โทร. 0-2282-8303 โทรสาร 0-2281-0294
    ....................................................​


    ขอขอบคุณ : [​IMG]

    ที่มาจาก : http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdPUzB5T0E9PQ==​
     
  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,434
    เป็นโรงเรียนพระที่เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...