(๕) มรดกธรรมของพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 25 มิถุนายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ครั้งที่ ๑๑๓
    บรรยายวันจันทร์ที่ ๒๖ พศจิกายน ๒๕๐๕
    เรื่อง


    มหาสติปัฏฐาน
    (ข้อว่า ภิกฺขเว ภิกฺขุ)

    วันนี้จะได้บรรยายเรื่อง มหาสติปัฏฐาน ข้อที่ว่า ภิกฺข ภิกฺขุ สืบต่อไป

    ถ. คำว่า ภิกฺขเว หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า เป็นคำร้องเรียกบุคคลผู้จะรับเอาพระธรรมมาปฏิบัติตาม

    ถ. บุคคลผู้จะรับเอาพระธรรมมาปฏิบัติตามในที่นี้ ได้แก่ใคร?
    ต. ได้แก่บริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

    ถ. ธรรมที่จะนำมาปฏิบัติตามนั้น ได้แก่อะไร?
    ต. ในที่นี้ ได้แก่ สติปัฏฐานทั้ง ๔

    ถ. คำว่า ภิกฺขุ แปลและหมายความว่าอย่างไร
    ต. แปลและหมายความได้หลายอย่าง คือ
    ๑. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร หมายความว่า ภัย คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้น มีอยู่ในสงสารทั้ง ๓ คือ สงสารเบื้องต่ำ ได้แก่ อบาย ๔ สงสารเบื้องกลาง ได้แก่ มนุษย์กับเทวดา สงสารเบื้องบน ได้แก่พรหมโลก ผู้ที่พิจารณาเห็นว่า สงสารทั้ง ๓ นี้ เต็มไปด้วยภัยดังกล่าวมานั้น จึงพยายามหาทางหลุดพ้น เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า ภิกฺขุ ดังหลักฐานว่า
    สํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ
    ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุเพราะเห็นภัยในวัฏฏสงสาร ดังนี้

    ๒. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ทำลายอกุศลธรรมอันลามก ดังหลักฐานว่่า
    ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ภินฺทตีติ ภิกฺขุ
    ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลาย อกุศลธรรม อันลามก
    ๓. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ละกิเลสทั้งหลาย โดยเจาะจง หลักฐานว่า
    โอธิโส กิเสลานํ ปหานา ภิกฺขุ
    ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสโดยเจาะจง
    หมายความว่า ถ้าเป็นภิกษุแล้วมีหน้าที่อยู่โดยเฉพาะเจาะจงลงไปทีเดียวว่า ต้องศึกษาปฏิบัติกำจัดกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความริษยากันและกัน ความตระหนี่ ความไม่ละอายบาป ความไม่กลัวบาป อวิชชา วิจิกิจฉา เป็นต้น

    ๔. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้กำจัดธรรมที่เป็นอกุศลอันลามก ดังหลักฐานว่า
    ภินฺนตา ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ ภิกฺขุ
    ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำจัดอกุศลธรรมอันลามก

    หมายความว่า กำจัดอกุศลจิต ๑๒ ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ กับเจตสิกฝ่ายอกุศลที่เกิดร่วมกับจิตนี้อีก ๒๗


    ๕. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ ดังหลักฐานว่า
    เสกฺโข ภิกฺขุ ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่ ชื่อว่า ภิกษุ

    หมายความว่า ผู้ที่กำลังศึกษาเพื่อให้ได้บรรลุโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค ทั้ง ๗ จำพวกนี้ เรียกว่า เสกขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษาอยู่

    ๖. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษา ดังหลักฐานว่า
    อเสกฺโข ภิกฺขุ ผู้ที่ไม่ต้องศึกษา ชื่อว่า ภิกษุ

    หมายความว่า ผู้นี้เจริญวิปัสสนาจนได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว เรียกว่า อเสกขะ เพราะไม่จำเป็นต้องศึกษาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อไปอีกแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เสร็จกิจแล้วกิเลสนี้สิ้นไปหมดแล้ว ภพชาติสิ้นแล้ว บุญบาปละได้หมดแล้ว

    ๗. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้เลิศ ดังหลักฐานว่า
    อคฺโค ภิกฺขุ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เลิศ

    หมายความว่า ผู้ที่เลิศด้วยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ชื่อว่า ภิกษุ

    ๘. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้เจริญ ดังหลักฐานว่า
    ภทฺทโร ภิกฺขุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้เจริญ

    หมายความว่า ผู้ใดเจริญด้วยคุณธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ผู้นั้นชื่อว่า ภิกษุ

    ๙. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ผ่องใส ดังหลักฐานว่า
    มฑฺโฑ ภิฺกฺขุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ผ่องใส

    หมายความว่า กาย วาจา ใจ ของท่านไม่มีกิเลสหยาบ ไม่มีกิเลสกลาง ไม่มีกิเลสละเอียด คือ อนุสัยเข้ามานอนดองอยู่ ถูกกำจัดออกไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว ไม่มีอวิชชามาห่อหุ้ม เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็นผู้ผ่องใส

    ๑๐. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้มีสาระธรรม ดังหลักฐานว่า
    สาโรภ ภิกฺขุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้มีสารธรรม

    หมายความว่า สารธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นแก่นสาร มีอยู่ ๖ ประการ คือลีลสาระ สาระคือ ศีล ๑ สมาธิสาระ สาระ คือสมาธิ๑ ปัญญาสาระ สาระคือปัญญา ๑ วิมุตติสาร สาระคือ วิมุติ๑ วิมุตติญาณทัสสนสาระ สาระ คือวิมุติญาณทัสสะ ๑ ปรมัตถสาระ สาระคือ ธรรมที่มีประโยชน์อย่างยอดเยี่ยม ได้แก่ นิพพาน๑

    ๑๑. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้อุปสมทบแล้วจากสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ดังหลักฐานว่า
    สมคฺเคน สงฺเฆน ญตฺติจตุตฺเถน กมฺเมน อกุปฺเปน ฐานารเทน
    ชื่อว่า ภิกษุ เพราะได้อุปสมบทมาดีแล้ว แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันด้วยญัติจตุตตกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ

    หมายความว่า อันกุลบุตรผู้ที่จะได้นามว่า เป็นภิกษุนั้น ต้องอุปสมบทคือ บวชในท่ามกลางสงฆ์ตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไป เว้นไว้แต่ปัจจันตประเทศ คือ ประเทศที่หาพระยาก ๕ รูปก็ใช้ได้ และสงฆ์เหล่านี้นก็ต้องพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน จะมีผู้หนึ่งผู้้ใดคัดค้านขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ก็ไม่ได้ และต้องสวดด้วยญัตติจตุตตถกรรม จึงจะเป็นภิกษุได้

    ๑๒. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ทำลายกิเลส ดังหลักฐานว่า
    กิเลเส ภินฺทตีติ ภิกฺขุ
    ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทำลายกิเลสทั้งหลาย

    หมายความว่า กิเลสนั่นมีมาก เช่น กิเลส ๓ กิเลส ๑๐ กิเลส ๑๕๐๐ ถ้าผู้ใดปฏิบัติเพื่อทำลายกิเลสดังกล่าวมานี้ ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุ

    ๑๓. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสังขาร ดังหลักฐานว่า
    สงฺขารา ภยํ อกฺขตีติ ภิกฺขุ
    ผู้เห็นภัยในสังขารชื่อว่า ภิกษุ

    หมายความว่า สังขารนั้น คือ สกลกายของแต่ละบุคคล ย่นให้สั้นได้แก่รูป กับนาม สัตว์โลกพากันเดือดร้อนอยู่ในโลกทุกวันนี้ ก็เพราะมีรูปกับนาม คือสังขาร ถ้าไม่มีสังขารเสียแล้ว ภัยต่างๆ เช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศกเสียใจ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ก็ไม่มีเป็นอันขาด ผู้ที่พิจารณาเห็นว่า รูปนามเป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลก แล้วพยายามหาทางหลุดพ้นชื่อว่า ภิกษุ

    ๑๔. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้สำรวม ดังหลักฐานว่า
    หตฺถสญฺญโต ปาทสญฺญโต
    วาจาย สญฺญโต สญฺญตฺตโม
    อชฺฌตฺตรโต สมาหิโต
    เอโก สนฺตุสิโต ตมาหุ ภิฺกขุ

    ผู้ที่สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในการเจริญกรรมฐาน มีใจตั้งมั่น อยู่คนเดียว ยินดีด้วยอธิคมของตน นับตั้งแต่กัลยณปุถุชนจนกระทั่งถึง พระเสขบุคคล ๗ จำพวก ชื่อว่า ผู้ยินดีด้วยอธิคมทั้งนั้น เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นภิกษุ ดังนี้

    ๑๕. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้มีภาษิตอันไพเราะ อ่อนหวาน ดังหลักฐาน
    โย มุขสญฺญโต ภิกฺขุ มนฺตภาณี อนุทฺธโต
    อตฺถํ ธมฺมญฺจ ทีเปติ มธุรนฺตสฺส ภาสิตํ
    ผู้ใดสำรวมปาก ไม่พูดมาก พูดแต่พอประมาณ ไม่ฟุ้งซ่าน สงบระงับ ดับกิเลสได้ แสดงไขแต่อรรถธรรม ภาษิตของผู้นั้นอ่อนหวาน ผู้นั้นแหละ ชื่อว่า เป็นภิกษุ

    ๑๖. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ยินดีในธรรม ผู้ไม่ห่างเหินจากธรรม ดังหลักฐานรับรองไว้ว่า
    ธมฺมาราโม ธมฺมรโต ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ
    ธมฺมํ อนุสฺสรํ ภิกฺขุ สทฺธมฺมา ปหิยติ

    ผู้ใดมีธรรม คือ สมถะและวิปัสสนาเป็นที่มายินดี ยินดีแต่ในธรรม คือสมถะและวิปัสสนา ระลึกถึงอยู่เนืองๆ ซึ่งธรรมทั้ง ๒ นั้น อนุสรณ์ถึงธรรมทั้ง ๒ นั้นบ่อยๆ ย่ิอมไม่เหินห่างจากโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และโลกุตตระรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ผู้นั้น ชื่อว่า ภิกษุ

    ๑๗. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ไม่ยึดมั่นในรูปนาม ดังหลักฐานรับรองไว้ว่า
    สพฺพโส นามรูปสฺมึ ยสฺส นตฺถิ มมายิตํ
    อสตา จ น โสจติ สโว ภิกฺขูติ วุจฺจติ

    ผู้ใดไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม โดยประการทั้งปวง ถึงรูปนามนั้นจะแตกดับไปไม่มีอยู่ ก็มีความเศร้าโศก ผู้นั้นแล เราเรียกว่า เป็นภิกษุ ดังนี้

    ๑๘. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้สงบกาย วาจา ใจ ดังพระบาลีว่า
    สนฺตกาโย สนฺตวาโจ สนฺตมโน สุสมาหิโต
    วนฺตโลกามิโส ภิกฺขุ อุปสนฺโตติ วุจฺจติ

    ผู้ใดมีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ มีสมาธิดี คลายอามิสเสียได้ด้วยมรรค ๔ ผู้นั้น สงบระงับแล้ว เพราะภายในไม่มีกิเลส เราเรียกว่าเป็นภิกษุ

    ๑๙. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้เตือนตน ดังพุทธนิพนธ์ว่า
    อตฺนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํ เสวมตฺตนา
    โส อตฺตคุตฺโต สติมา สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิ

    ผู้ใดตักเตือนตนด้วยตนเอง พิจารณาตนด้วยตนเอง ผู้นั้นมีสติตั้งมั่น ปกครองตนด้วยตนเอง จักอยู่เป็นสุขทุกอิริยาบถ ผู้เช่นนี้แหละ เรียกว่ ภิกษุ

    ๒๐. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ถึงสันติบท ดังพุทธพจน์ปรากฎอยู่ว่า
    ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน
    อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารูปสมํ สุขํ

    ผู้ที่มากด้วยความปราโมทย์ คือ ปิติอย่างอ่อน เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พึงถึงพระนิพพานอันได้นามว่า สันติบทเป็นที่สงบระงับดังรูปนาม เป็นสุขอย่างยิ่ง ผู้นั้น ชื่อว่า ภิกษุ

    ๒๑. ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ยังโลกนี้ให้สว่าง ดังหลักฐานว่า
    โย หเว ทหโร ภิกฺขุ ยุญฺชติ พุทฺธสาสเน
    โลมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต จนฺทิมา

    ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งที่มีสังขารหนุ่นแน่นอยู่ ก็รีบประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา ผู้นี้ย่อมยังโลกนี้ มีขันธโลก เป็นต้น ให้สว่างไสวได้ด้วยอรหัตตมรรคญาณของตน ดุจพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆหมอก ส่องท้องฟ้า และพื้นพสุธาให้ส่วางจ้าอยู่ ฉะนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติตนเช่นนี้แหละ ชื่อว่า ภิกษุ

    ถ. คนอื่นๆ เช่น เทวดา มนุษย์ ผู้ยังข้อปฏิบัติให้ถึงพร้อมอยู่ จะได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ หรือไม่?
    ต. ชื่อว่า เป็นภิกษุได้

    ถ. เพราะเหตุไร?
    ต. เพราะเหตุ ๒ ประการ คือ
    ๑. เสฏฐตฺตา เพราะความเป็นผู้ประเสริฐด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
    ๒. ปฏิปตฺติยา ภิกฺขุภาวทสฺสนโต เพราะชี้ให้เห็นว่า เป็นภิกษุด้วยการปฏิบัติ
    ถ. อะไร เป็นหลักอ้าง จึงตอบเช่นนี้?
    ต. มีหลักอ้างอันปรากฎอยู่ใน อรรถกถามหาสติปัฏฐาน ว่า
    เสฏฺฐตฺตา ปน ปฏิปตฺติยา ภิกฺขภาวทสฺสนโน จ ภิกฺขูติ อาห

    จะเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม ถ้ายังข้อปฏิบัติให้เกิดขึ้นอยู่ ผู้นั้นกล่าวได้ว่า เรียกได้ว่า เป็นภิกษุ เพราะเป็นผู้ประเสริฐ และแสดงความเป็นภิกษุด้วยข้อปฏิบัติดังนี้

    ถ. บรรดาบริษัท ๔ นั้น บริษัทไหนเป็นผู้ที่จะรับโอวาททานุสาสนีขององค์สมเด็จพระชีนสีห์ได้ดีที่สุด? เพราะเหตุไร?
    ต. ภิกษุบริษัท เป็นผู้ที่จะรับโอวาทานุสาสนีของสมเด็จพระชินสีห์ได้ดีที่สุด เพราะเหตุ ๖ ประการ คือ
    ประการที่ ๑ เพราะท่่านเป็นอุตตมเพศ เป็นเพศที่สูงส่งอยู่แล้ว
    ประการที่ ๒ เพราะท่านเป็นผู้ประเสริฐ เป็นภาชนะแห่งอนุาสนีของพระพุทธองค์ทุกประการ
    ประการที่ ๓ เพราะเมื่อท่านรับเอาโอวาทานุสาสนีมาปฏิบัติตามแล้ว บริษํททั้ง ๓ ที่เหลือ ก็จะได้ถือเอาเป็นทิฏฐานุคติต่อๆ ไป โดยไม่ยาก
    ประัการที่ ๔ เพราะมีหน้าที่โดยตรงในการที่จะธำรงไว้ซึ่งอนุสาสนี อันเป็นมรดกของพระพุทธองค์ที่ทรงประทานไว้แก่เหล่าพุทธสาวก
    ประการที่ ๕ เพราะสละเพศของฆราวาสอันคับแคบมาสู่ของสมณะอันสงบ มีโอกาสที่จะศึกษาปริยัติ ลงมือปฏิบัติ ให้เกิดปฏิเวธได้ดีที่สุด
    ประการที่ ๖ เพราะมีภาระและมีปลิโพธิกังวลอันตัดออกมากแล้ว เครื่องผูกต่างๆ เช่น บุตร ภรรยา ไม่มี
    เพราะเหตุดังนี้ ภิกษุบริษัท จึงถือว่า เป็นบริษัทที่เลิศที่ประเสริฐสุด ในพระพุทธศาสนา สามารถรับโอวาทานุสสนี เป็นศาสนทายาท สืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญวัฒนาสถาพรสืบๆ ไป ตลอดกัลปาวสานต์

    ถ. ผู้ที่ไม่มีโอกาสได้บวชเป็นภิกษุ ในพระพุทธศาสนา จะทำอย่างไร จึงจะได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ?
    ต. ต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ คือมหาสติปัฏฐาน ๔ นี้ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นภิกษุ

    ถ. ที่ตอบมานี้มีอะไรเป็นหลักหรือค้นเดาเอาเอง?
    ต. มิได้ค้นเอาเอาเองเลย มีหลักฐานปรากฏยืนยันอยู่ คือ ในอรรถกถามหาสติปัฏฐาน หน้า ๔๗๑ บรรทัดที่ ๓ ท่านกล่าวไว้ว่า
    โย จ อิมํ ปฏิปตฺตึ ปฏิปชฺชติ โส ภิกฺขุ นาม โหติ

    จริงอยู่ ท่านผู้ใด ลงมือปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ คือมหาสติปัฏฐานนี้ ท่านผู้นั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุ

    ถ. ถ้าถือตามนี้ได้ความว่า จะเป็นใครๆ ก็ตาม เช่น เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม ถ้าได้ปฏิบัติมหาสติปัฏฐานนี้ นับว่าเป็นภิกษุได้ทั้งนั้น ใช่หรือไม่?
    ต. ใช่แล้ว นับว่าเป็นภิกษุเหมือนกัน

    ถ. ที่ตอบเช่นนั้น มีอะไรเป็นหลักฐานอ้างอิงบ้างหรือไม่?
    ต. มีหลักฐานปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก และอรรถกถา เช่น ในอรรถกถามหาสติปัฏฐาน หน้า ๗๑ บรรทัดที่ ๔ ที่ ๕ ว่า
    ปฏิปนฺนโก หิ เทโว วา โหตุ มนุสฺโส วา ภิกฺขูติ สํขยํ คจฺฉติเยว

    จริงอยู่ ผู้ที่ได้ปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐาน ๔ นี้แล้ว จะเป็นเทวดาก็ตาม จะเป็นมนุษย์ก็ตาม ถึงการนับว่า เป็นภิกษุได้เหมือนกัน ดังนี้

    ถ. ขอให้ยกตัวอย่างมาประกอบอธิบายว่า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ที่ไหนบ้าง เพื่อจะได้เป็นสักขีพยาน สืบต่อไป?
    ต. ตัวอย่างที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้มีอยู่มาก เฉพาะในที่นี้จะได้นำมาแสดงเป็นตัวอย่างสักเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องสันตติมหาอำมาตย์ ความว่า

    สันตติมหาอำมาตย์นั้น ได้ลงมือปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐาน ๔ ทั้งๆ ที่ประดับตกแต่งด้วยเครื่องแบบของนายทหารอย่างเต็มยศ ก็ปรากฏว่า ได้บรรรลุพระอรหัตตมรรค อรหัตตผล ในที่เฉพาะพักตร์ของสมเด็จพระทศพลและภิกษุสงฆ์พร้อมทั้งบริวารชนเป็นอันมาก แล้วก็ปรินิพพานบนอากาศ

    ภิกษุทั้งหลายจึงประชุมสนทนากันว่า จะเรียกสันตติมหาอำมาตย์ว่าสมณะ หรือพราหมณ์หอน จึงจะถูก จึงจะควร ดังนี้

    ในทันทีทันใดนั้น สมเด็จพระจอมไตรก็ได้เสด็จมาตรัสถามว่า พวกเธอสนทนากันเรื่องอะไร? เมื่อทราบเรื่องนั้นแล้วจึงตรัส ว่า
    "สมโณปิ วตฺตุ ํ วฏฺฏติ พฺราหฺมโนปิ วตฺตุํ ํ วฏฺฏติเยว" จะเรียกว่า สมณะก็ได้ จะเรียกว่าพราหมณ์ก็ได้ แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นหลักฐานไว้ ซึ่งปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ และธรรมบทภาค ๕ ว่า

    อลงฺกโต เจปิ สมญฺจเรยฺย
    สนฺโต ทนฺดต นิยโต พฺรหฺมจารี
    สพฺพเพสุ ภูเตสุ นิะาย ทณฺฑํ
    โส พฺราหฺรโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ


    ถึงแม้ว่า บุคคลจะประดับตกแต่งเครื่องแบบอย่างเต็มยศ แต่ปรากฎว่ามีความประพฟติทางกาย วาจา ใจ สุภาพ เรียบร้อยดีเป็นผู้สงบ ฝึกตนดีแล้ว เที่ยวต่อมรรค ๔ ประพฤติประเสริญ วางอาชญาในสัตว์ทุกๆ หมุ่เหล่า ผู้นั้นเรียกว่าพรหมณ์ก็ได้ เพราะลอยบาปได้แล้ว เรียกว่า สมณะก็ได้ เพราะบาปสงบแล้ว เรียกว่า ภิกษุก็ได้ เพราะทำลายกิเลสหมดแล้ว ดังนี้

    วันนี้ได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน เฉพาะคำว่า ภิกฺขเว กับภิกฺขุ มาก็นับว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติไว้เพียงเท่านี้.


    thx1

    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)

    คำบรรยาย: วิปัสสนากรรมฐาน เล่ม ๗
    หน้า ๔๑-๕๐



     

แชร์หน้านี้

Loading...