(๔) ว่าด้วยสิ่งที่เลิศ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 15 กันยายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


    อรรถกถาอัคคัญญสูตร


    ว่าด้วยการเกิดง้วนดิน

    คำว่า กลายเป็นน้ำไปหมด (เอโกทกีภูตํ) ความว่า จักรวาลทั้งหมดเป็นที่ที่มีน้ำเชื่อมถึงกัน. คำว่ มีความมืด (อนฺธกาโร) แปลว่า ความมืด. คำว่า มองไม่เห็น (อนฺธกรติมิสา) ความว่า ความมืดมิดที่ทำให้เกิดความมืดจนมองไม่เห็น

    คำว่า ลอยอยู่ (สมนฺตานิ) ความว่า ดำรงอยู่ คือ แผ่ไปรอบ. คำว่า น้ำนมสด (ปยตตฺตสฺส) แปลว่า น้ำนมที่เคี่ยวให้งวด. คำว่า สมบูรณ์ด้วยสี (วณฺณสมฺปนฺนา) ความว่า ถึงพร้อมด้วยสี. ก็สีของง้วนดินนั้นเป็นเหมือนดอกกรรณิการ์. คำว่า สมบูรณ์ด้วยกลิ่น (คนฺธสมฺปนฺนา) ความว่า ถึงพร้อมด้วยกลิ่น คือ กลิ่นอันเป็นทิพย์ย่อมฟุ้งไป. คำว่า สมบูรณ์ด้วยรส (รสสมฺปนฺนา) ความว่า ถึงพร้อมด้วยรส เหมือนใส่โอชาทิพย์ลงไปฉะนั้น. คำว่า น้ำผึ้งมิ้ม (ขุทฺทมธุ ํ) ความว่า น้ำผึ้งอันแมลงผึ้งตัวเล็กๆ ทำไว้. คำว่า อันปราศจากโทษ (อเนฬกํ) ความว่า มีความโลภเป็นสภาพ. แม้นในกัปถัดไป ที่ล่วงไปแล้วก็มีความโลภเหมือนกัน เกิดอัศจรรย์จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ (อมฺโภ) ดังนี้. คำว่า ส่ิงที่ลอยอยู่จักเป็นอะไร (กิเมวิหํ ภวิสฺสติ) ความว่า สีก็ดี กลิ่นก็ดี ของง้วนดินนั้น น่าชอบใจ แต่รสของง้วนดินนั้นจักเป็นอย่างไรหนอ ผู้ที่เกิดความโลภในง้วนดินนั้นก็เอานิ้วมือจับง้วนดินนั้นมาชิมดู ครั้นเอามือจับแล้วก็เอาไว้ที่ลิ้น.

    คำว่า ได้ซ่านไปทั่ว (อจฺฉาเทสิ) ความว่า ง้วนดินนั้นพอเขาเอามาวางไว้ที่ปลายลิ้นก็แผ่ซ่านไปทั้วเส้นเอ็นรับรสอาหาร ๗,๐๐๐ เส้น ทำให้รู้สึกอร่อย. ข้อว่า เขาจึงเกิดความอยากขึ้น (ตณฺหา จสฺส โอกฺกมิ) ความว่า ความติดใจในรสง้วนดินก็เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความโลภนั้น

    ว่าด้วยการเกิดดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้น

    ข้อว่า ให้เป็นคำๆ เพื่อบริโภค (อาลุปฺปการกํ อุปกฺกมึสุ ปริภุญชิตุ ํ) ความว่า เขาปั้นเป็นคำ คือแบ่งออกเป็นก้อน แล้วเริ่มต้นที่จะบริโภค. ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ชื่อว่า จนฺทิมสุริยา คำว่า ปรากฎขึ้นมา (ปาตุรเหสุํ) แปลว่า ปรากฏขึ้น

    ก็บรรดาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น อะไรขึ้นก่อน อยู่ที่ไหน มีขนาดเท่าไร อะไรอยู่สูงกว่า อะไรหมุนเร็วกว่า วิถีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นเป็นอย่างไร โคจรไปได้อย่างไร ส่องแสงสว่างในที่มีประมาณเท่าใด

    ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ ไม่ขึ้นพร้อมกัน. ดวงอาทิตย์ขึ้นก่อน. ก็เมื่อรัศมีเฉพาะตัวของสัตว์เหล่านั้นได้หายไป ความมืดมนได้มีขึ้น สัตว์เหล่านั้นทั้งกลัวทั้งสะดุ้งคิดกันว่า คงจะดีหนอ ถ้าเกิดแสงสว่างขึ้นมา ต่อแต่นั้นดวงอาทิตย์จึงเกิดขึ้นทำให้มหาชนเกิดความกล้าด้วยเหตุนั้นดวงอาทิตย์นั้นจึงได้นามว่า สุริโย เมื่อดวงอาทิตย์นั้นส่องแสงตลอดวันแล้วก็อัสดงคตไป ความมืดมนก็กลับมีขึ้นอีก . สัตว์เหล่านั้นพากันคิดว่ คงจะเป็นการดีหนอ ถ้าหากว่าพึงมีแสงสว่างอย่างอื่นเกิดขึ้น. ทีนี้ดวงจันทร์รู้ว่าสัตว์พอใจ (เช่นนั้น) จึงเกิดขึ้นมา ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ดวงจันทร์จึงได้นามว่า จนฺโท ดังนี้

    บรรดาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น ดวงจันทร์อยู่ในวิมานภายในล้วนแล้วด้วยแก้วมณี วิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยเงิน ทั้งภายในและภายนอกนั้นเย็นสนิท. ดวงอาทิตย์อยู่ในวิมานภายในล้วนแล้วด้วยทอง วิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยแก้วผลึก ทั้งภายในและภายนอกร้อนจัด

    ว่าโดยประมาณ ดวงจันทร์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๙ โยชน์ เส้นรอบวงยาว ๑๔๗ โยชน์. ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ โยชน์ เส้นรอบวงยาว ๑๕๐ โยชน์

    ดวงจันทร์อยู่ข้างล่าง ดวงอาทิตย์อยู่ข้างบน. ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นอยู่ห่างกันโยชน์หนึ่ง. จากส่วนล่างของดวงจันทร์ถึงส่วนบนของดวงอาทิตย์มีระยะ ๑๐๐ โยชน์

    ดวงจันทร์หมุนไปทางด้านตรงช้า แต่หมุนไปทางด้านขวางเร็ว หมู่ดาวนักษัตรก็หมุนไปในสองด้าน ดวงจันทร์หมุนไปใกล้หมู่ดาวนั้นๆ เหมือนแม่โคเข้าไปหาลูกโคฉะนั้น. ส่วนหมู่ดาวไม่จากที่อยู่ของตน. การหมุนไปของดวงอาทิตย์ทางตรงเร็ว ไปทางขวางช้า. ดวงอาทิตย์นี้โคจรกห่างดวงจันทร์แสนโยชน์ ในวันปาฏิบทจากวันอุโบสถกาฬปักษ์. เวลานั้นดวงจันทร์ปรากฎเหมือนรอยเขียนฉะนั้น. ดวงอาทิตย์โคจรห่างไปเป็นระยะแสนโยชน์ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์ได้โคจรห่างไป ดังที่กล่าวแล้วนี้เป็นระยะแสนๆ โยชน์ จนถึงวันอุโบสถ. ลำดับนั้น ดวงจันทร์ก็ใหญ่ขึ้นโดยลำดับ ไปเต็มดวงในวันอุโบสถ. โคจรห่างออกไปแสนโยชน์ในวันปาฏิบทอีก. โคจรห่างออกไปเป็นระยะแสนโยชน์ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์โคจรไปด้งกล่าวแล้วนี้เป็นระยะแสนๆ โยชน์จนถึงวันอุโบสถ. ทีนั้นดวงจันทร์อับแสงลงโดยลำดับแล้วไม่ปรากฎทั้งดวงในวันอุโบสถ. ดวงอาทิตย์ลอยอยู่เบื้องบนทให้ดวงจันทร์อยู่เบื้องล่างย่อมปกปิดดวงจันทร์ไว้ได้ เหมือนภาชนะเล็กถูกถาดใหญ่ปิดไว้ฉะนั้น. เงาของดวงจันทร์ไม่ปรากฎเหมือนเงาเรือนไม่ปรากฎในเวลาเที่ยง. ดวงอาทิตย์นั้นเมื่อเงาไม่ปรากฎ แม้ตัวเอาก็ไม่ปรากฎ เหมือนประทีปในเวลากลางวันไม่ปรากฎแก่หมู่ชนผู้ยืนอยู่ไกลฉะนั้น

    ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิถีของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นอย่างไร. วิถีมีดังต่อไปนี้ คือ วิถีแพะ วิถีช้าง วิถีโค. บรรดาวิถีเหล่านั้นน้ำเป็นของปฏิกูลสำหรับแพะทั้งหลาย แต่น้ำนั้นเป็นที่ชอบใจของช้างทั้งหลาย เป็นที่ผาสุกของฝูงโค เพราะมีความเย็นและความร้อนเสมอกัน. ฉะนั้น ในเวลาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของแพะ เวลานั้นฝนไม่ตกเลยแม้สักเม็ดเดียว เมื่อใดดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีช้าง เมื่อนั้นฝนจะตกหนักเหมือนท้องฟ้ารั่ว. เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีโค เมื่อนั้นฤดูก็มีความสม่ำเสมอ. (ฝนตกตามฤดูกาล ไม่หนาว ไม่ร้อน)

    ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โคจรอยู่ภายนอกภูเขาสิเนรุเป็นเวลา ๖ เดือน และโคจรอยู่ภายในอีก ๖ เดือน. ความจริงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นย่อมโคจรไปใกล้ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘ แต่นั้นเคลื่อนออกไปโคจรอยู่ในภายนอก ๒ เดือน แล้วเคลื่อนไปโคจรอยู่โดยท่ามกลางเขาสิเนุในต้นเดือน ๑๒. แต่นั้นเคลื่อนมุ่งหน้าต่อจักรวาลแล้วโคจรอยู่ใกล้ๆ จักรวาลเป็นเวลา ๓ เดือน แล้เคลื่อนออกห่างมาอีก ไปอยู่ตรงกลางจักรวาลในเดือน ๕ ต่อแต่นั้นในเดือนอื่นก็เคลื่อนมุ่งหน้าต่อภูเขาสิเนุ แล้วไปโคจรอยู่ใกล้ๆ ภูเขาสิเนรุในเดืนอ ๘ อีก

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องแสงสว่างในที่ประมาณเท่าไร ดังต่อไปนี้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมส่องแสงสว่างในทวีปทั้ง ๓ โดยพร้อมกัน. กระทำได้อย่างๆ? ก็เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นในทวีปนี้ เป็นเวลาเที่ยงในปุพพวิเทหทวีป เวลาที่ดวงอาทิตย์ตกในอุตตรกุรุทวีป เป็นมัชฺฌิมยามในอมรโคยานทวีป. เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในปุพพวิเทหทวีป เป็นเวลาเที่ยงในอุตตรกุรุทวีป เวลาที่ดวงอาทิตย์ตกในอมรโคยานทวีป เป็นมัชฌิมยามในทวีปนี้. เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในอุตตรกุรุทวีป เป็นเวลาเที่ยงในอมรโคยานทวีป เวลาที่ดวงอาทิตย์ตกในทวีปนี้ เป็นเวลามัชฌิมยามในปุพพวิเทหทวีป. เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในอมรโคยานทวีป เป็นเวลาเที่ยงในทวีปนี้ เวลาที่ดวงอาทิตย์ตกในปุพพวิเทหทวีป เป็นเวลามัชฌิมยามในอุตตรกุรุทวีป ฉะนี้แล

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า หมู่ดาวนักษัตรก็ปรากฎ (นกฺขตฺตนิ ตารกรูปานิ) ต่อไป ดาวนักษัตรมีดาวลูกไก่เป็นต้น และหมู่ดาวทั้งหลายที่เหลือย่อมปรากฎ พร้อมทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. คำว่า กลางคืนและกลางวัน (รตฺตินฺทิวา) ความว่า ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกจนถึงอรุณขึ้นเป็นเวลากลางคืน ตั้งแต่เวลาอรุณขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกจัดเป็นเวลากลางวัน กลางคืนและกลางวันย่อมปรากฏดังกล่าวมานี้ ต่อแต่นั้น๑๕ ราตรี จัดเป็นกึ่งเดือน ๒ กึ่งเดือนเป็น ๑ เดือน กึ่งเดือนและเดือนหนึ่งเป็นไปดังกล่าวมานี้ ทีนั้น ๔ เดือนเป็น ๑ ฤดู ๓ ฤดูเป็น ๑ ปี ฤดูและปีเกิดมาอย่างนี้

    คำว่า ความมีผิวพรรณแตกต่างกัน (วณฺณเววณฺณตา จ) ได้แก่ ความีผิวพรรณต่างกัน. คำว่า เพราะการดูหมิ่นผิวพรรณเป็นปัจจัย (เตสํ วณฺณาติมานปจฺจยา) ความว่า เพราะการถือตัวจัดซึ่งเกิดขึ้นเพราะปรารภวรรณะของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นปัจจัย. คำว่า มีมานะเกิดขึ้น (มานาติมานชาิตกานํ) ความว่า ผู้มีมานะและอติมานะเกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นสภาพ. คำว่า เมื่อง้วนดิน (รสปฐวิยา) ความว่า แผ่นดินอันได้นามว่ารส เพราะสมบูรณ์ด้วยรส. คำว่า ทอดถอนใจ (อนุตฺถุนึสุ) ความว่า พากันบ่นถึง. คำว่า รสดี (อโห รสํ) ความว่า โอ รสอร่อยมีแก่พวกเรา. คำว่า อักขระที่รู้กันว่าเป็นของเลิศ (อคฺคญฺยํ อกฺขรํ) นี้เป็นคำกล่าวถึงวงศ์ซึ่งบังเกิดขึ้นในโลก. คำว่า อนุสรณ์ถึง (อนุปทนฺติ) ความว่าย่อมไปตาม

    คำว่า ปรากฏเหมือน( เอวเม ปาตุรโหสิ) ความว่า ได้เป็นเช่นนี้ตั้งขึ้น และได้ตั้งขึ้นเหมือนพื้นเปือกตมแห้งเกิดขึ้น ในเมื่อน้ำภายในสระแห้งไปฉะนั้น

    ว่าด้วยการเกิดกระบิดิน เป็นต้น

    เครืออันเจริญมีรสหวานอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เครือดิน (ปทาลตา). คำว่า ผักบุ้ง (กลมฺมพกา) ได้แก่ เถาผักบุ้ง. คำว่า ได้มีแก่เราหนอ (อนุวต โน) ความว่า เครือดินมีรสหวานได้มีแก่เราทั้งหลายแล้วหนอ. คำว่าได้สูญหายไปแล้วหนอ (อหายิ วต โน) ความว่า เครือดินนั้นของพวกเราได้หายไปแล้วในบัดนี้

    คำว่า บังเกิดขึ้นในที่ที่ไม่ต้องไถ (อกุฏฐปาโก) ความว่า เกิดขึ้นในภูมิภาคซึ่งไม่ได้ไถเลย. คำว่า ไม่มีรำ (อกโณ) แปลว่า ไม่มีรำเจือปน. คำว่า อถุโส แปลว่า ไม่มีแกลบ. คำว่า มีกลิ่นหอม (สุคนฺโธ) ความว่า กลิ่นทิพย์ย่อมฟุ้งขจายไป. คำว่า มีเมล็ดเป็นข้าวสาร (ตณฺฑุลปฺผโล) ความว่า ย่อมผลิตผลเป็นเมล็ดข้าวสารขาวบริสุทธิ์. คำว่า ก็สุกงอกขึ้นมาแทน (ปกฺกํ ปฏิวิรุฬฺหํ) ความว่า ที่ที่เขาเก็บในเวลาเย็น ก็ได้สุกแทนในตอนเช้า งอกงามขึ้นตามปกติอีก ที่ที่เขาเก็บไปหาปรากฎไม่. คำว่า ความบกพร่องหาได้ปรากฏไม่ (นาปทานํ ปญฺญายติ) ความว่า ย่อมปรากฏเป็นพืชที่ไม่ถูกเก็บเกี่ยว ไม่มีบกพร่องเลย



    พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล
    พระสุตตันตปิฎก
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    ภาค ๓ เล่ม ๑
    ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
    เล่ม ๑๕
    หน้า๑๗๓-๑๗๘
     

แชร์หน้านี้

Loading...