ไตรลักษณ์ในเบญจขันธ์ หลวงปู่ลี จิตธัมโม

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 5 ธันวาคม 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ลําดับต่อไปนี้อาตมาจะได้แสดงธรรม เรื่อง ไตรลักษณ์ในเบญจขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ทุกๆ คนตั้งจิตมั่นเป็นสมาธิมองเข้ามาภายในเราก็เห็นจิตเห็นใจของเรา ถ้าดูภายนอกก็ไม่เห็น ก็เห็นแต่อารมณ์ตามไป ทำให้เป็นโอปนยิโกน้อมเข้ามา มันจะเกิด ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ก็รู้ได้เฉพาะตัว คนอื่นรู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ เห็นหน้าคนอื่นยังมาบอกเล่าว่า ให้เรารู้ว่าความสุขขณะนี้น่ะคนไม่รู้ว่าจะเอาความสุขที่เขาบอกเล่าก็ไม่ได้

    นั่นละความสุขมันสัมผัสกันอยู่ที่ใจ

    ใจมันจะสุขเพราะใจตัดขาดจากอารมณ์ อารมณ์นั้นมันก็มีอยู่ อารมณ์ดีอารมณ์ร้าย ความดีและร้ายมันก็เกิดมาแต่อดีตก็มี ซึ่งมันแก้ไม่ได้ ปลดไม่ได้ ปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ ทุกข์มาเมื่อใดก็เป็นอารมณ์กวนใจ ทำให้ใจกังวล ใจก็เป็นภาระอยู่กับอารมณ์นั้น ส่วนกายก็มีความแก่นำไป ความเจ็บไข้บีบคั้น ความชราอาศัยสิ่งที่ตามไป แต่อารมณ์ของใจสิ่งที่มันแสวงหาอยู่ว่าจะให้มันเกิดอย่างนั้นให้มันมีอย่างนี้มันไม่มีพอ

    เพราะฉะนั้นท่านจึงให้ทำอยู่ในปัจจุบัน อารมณ์ในอดีตมีอยู่ก็ปล่อยไป อารมณ์ในอนาคตซึ่งมีความคิดว่า อนาคตจะไม่รู้ว่าสุขทุกข์จะเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่ได้คิดไปถึงความทุกข์ แต่อยากจะมีความสุขอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็ทุกข์อยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นก็ยังไม่ได้มาปรากฏ เพียงแต่มองภาพพจน์ของคนอื่นว่าคนนั้นเขามีอย่างนั้นเขามีอย่างนี้ เราก็อยากจะมีกับเขาอยากจะเป็นกับเขา แต่ครั้งแล้วสิ่งที่เป็นไปตามใจคิดใจนึก ไม่มีใครสุข ไม่มีใครสมหวัง มันก็มีสมหวังกับความไม่สมหวัง มันมีเป็นคู่กันอยู่ มันจึงไม่มีใครทำความสมหวังให้เกิดขึ้นแก่ตัวได้

    สิ่งเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทำคลี่คลายปัญหาต่างๆ ได้ ท่านจึงเป็นโลกวิทูบุคคล

    [​IMG]

    แม้แต่อารมณ์เป็นส่วนหยาบ อารมณ์ส่วนละเอียด พระองค์เอาตัวปัญญานั้นแหละเข้าไปตามรู้ ตามพิจารณาส่วนที่ทำลายได้ก็ทำลายออกไป ส่วนที่ยังทำลายไม่ได้ก็พยายามต่อ สุดท้ายก็เรียกว่าทำเอาจริงเอาจัง ก็ไม่ใช่ใช้เวลาน้อยๆ ใช้เวลานาน ถ้านับแต่การบรรพชาอุปสมบทเข้ามาสู่พระธรรมวินัย ในพระพุทธศาสนา ตั้งใจเอากายกับใจออกมา ไม่ได้เอาสมบัติอะไรออกมา สมบัติภายนอกมีเงินทองข้าวของ ยศฐาบรรดาศักดิ์ก็มีให้ แต่ก็ไม่ได้เอาอะไรมา คิดว่าตัดขาดออกมา ลูกเมียก็ตัดขาดออกมา ก็นึกว่ายังเหลืออยู่เพียงอารมณ์ของใจว่า อยู่ในบ้านในเรือนในยศในครอบครัว ก็มีแต่ทางวุ่นวาย มันใกล้ไฟ เหมือนคนอยู่ใกล้ไฟไม่ร้อนมาก ก็ร้อนน้อย ฉะนั้นเราใกล้กับมลทินเหมือนฝุ่นละออง

    ฝุ่นละอองทั้งหลายแหล่นั้นก็ปลิวมาจากทุกทิศทุกทาง อารมณ์ของใจก็ปลิวมาจากทุกทิศทุกทางเรียกว่า จิตไม่มีเวลาจะว่าง ถ้าเรานั่งอยู่ใกล้ นอนอยู่ใกล้ ตื่นขึ้นก็เห็น หลับตาอยู่ก็เห็น อย่างนี้จะเป็นไปในการสั่งสอนหรือสอนใจของตัวเองยาก ดังนั้น พระองค์จึงทำเหมือนว่าให้ตัวเป็นคนยากจน หรือว่าไม่มีสมบัติอะไร กำหนดเอาแต่สมบัติภายในคือ กายกับใจ

    กายกับใจนี้ทุกคนได้มา ส่วนสมบัติภายนอกเรามาหากันทีหลัง
    แล้วอารมณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมันก็เกิดขึ้นทีหลัง ที่มันเกิดมาแล้ว จริงๆ แล้วก็เรียกว่ามันเป็นผล เป็นผลที่ในส่วนที่ดีคือ เกิดมาก็ได้เป็นคน มีลูก มีหลานอันสมบูรณ์ ไม่พิกลพิการในทางจิต ไม่พิกลพิการในทางกายเรียกว่า เป็นมนุษย์ ผู้สมบูรณ์แบบ แต่ว่าเกิดมาอย่างนี้ก็เรียกว่ามันเป็นโชค เป็นวาสนา เป็นบารมี จึงได้เกิดอย่างนี้ การที่จะเกิดอย่างนี้ได้ มันก็เรียกว่าเราทำศีลของเรามาแล้วคือ ศีลของเรามีมาแล้ว จึงสร้างหัวสร้างขาของเราให้ครบถ้วนเรียกว่า อาการ 5 หัว 1 แขน 2 ขา 2 เทียบกับศีลข้อที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 นั่นเอง

    ฉะนั้นการที่ได้เกิดเป็นคนอีกต่อไปนี้ ได้มาเป็นคนก็อาศัยศีลเหล่านี้เอง ไม่มีอย่างอื่นที่จะสร้างคนให้สมบูรณ์ได้

    ฉะนั้นการที่เรามารักษาศีลก็เพื่อจะรักษาสมบัติความเป็นคนของเราที่มีมาแล้วคือ เรามีอาการ 5 เราจะไม่ทำลายสมบัติที่เราหามาได้ด้วยยาก ที่เราจะเห็นว่ามันยากมันง่ายนั้น เราเห็นเพื่อนที่เกิดอยู่ในโลกนี้ ทั้งที่เป็นคน ทั้งที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานก็ไม่ใช่ประเภทเดียวกันหลายประเภท แต่เขาเหล่านั้นถ้าพูดแล้วก็มีจิตใจเหมือนกัน แล้วแต่จิตใจนั้นมันไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดเป็นคนเป็นมนุษย์ได้ ก็อาศัยร่างเล็กๆ เป็นมดเป็นปลวกก็อาศัยร่างเล็กๆ นั้นเคลื่อนไหวไปมา เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็แสวงหาสมบัติแสวงหาความเป็นอยู่ แสวงหาความสุข ไม่มีสัตว์ตัวใดที่จะนิ่งอยู่เพราะอาศัยกายเกิดขึ้นแล้ว มันก็ต้องอาศัยอาหาร คนเรายิ่งเป็นผู้เหนือเขาเหล่านั้นคือ แสวงหาความสุขให้เกิดแก่ตัวเองได้

    ฉะนั้นว่าสัตว์ทั้งปวงที่เกิดอยู่ในโลกจำนวนมากมายนั้น ไพศาล ตีเสียว่า เขาเหล่านั้นมีความทุกข์ไม่มีทางแก้ตัว

    เป็นสุนัขก็นึกว่าตัวเองเป็นสุนัข แล้วจะแก้ตัวในขณะที่เป็นสุนัขนั้นก็แก้ไม่ได้ เป็นมดเป็นปลวกเป็นสัตว์ต่างๆ เนี่ยแก้ตัวไม่ได้

    ฉะนั้นพวกเหล่านี้ท่านจึงว่าตกอยู่ในอบายภูมิคือ มันหาความสุขไม่ได้ เมื่อหาความสุขไม่ได้ก็เรียกว่า นรกภูมิ เสวยวิบากอยู่ในนรก เป็นสัตว์เดรัจฉานก็เรียกว่า หาภูมิที่หาความสุขไม่ได้ เพราะปัญญามีน้อย เพียงแต่หาให้กินไปวันๆ ได้กินไปวันๆ เหมือนกัน แล้วก็อาศัยสิ่งที่มากระทบ เขาก็จึงแสวงว่า สัตว์ประเภทหนึ่ง ก็เรียกว่าหลบซ่อนอยู่ในใต้ดินทำรูทำรังพาลูกพาหลาน อย่างปลวกเนี่ยเขาก็ทำจอมปลวกอยู่ มีลูกมีหลานเกิดในที่นั่นเรียกว่า มันเกิดขึ้นมาแล้วก็ต่อสู้กับชีวิต แต่เรามาคิดแล้วว่า เขาพอหรือไม่พอ สุขหรือไม่สุข คิดแล้วมันเทียบกับเราไม่ได้ เรานี้...ทำที่อยู่ก็ทำได้ ทำให้มีความสุขความสบายให้แก่ตัวเองก็ได้เรียกว่า มันแก้ได้

    เพราะฉะนั้นการที่เราผ่านขั้นตอนเหล่านี้มา ไม่ได้เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นความอย่างสมบูรณ์ แต่เราก็รักษาสมบัติอันนี้ที่มันได้มาแล้วนี้ ไว้ให้อยู่อย่างเดิมไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปจากนี้ ฉะนั้นจึงเอาอันดับแรกว่าเรารักษาศีล เพื่อให้สมบัติอันนี้ยังเหลือ ยังมี คือจะไม่ให้เปลี่ยนแปลงอันนี้กำหนดเอาความเกิด แต่ทีนี้ด้านจิตใจนั้นเรียกว่า โดยธรรมชาตินั้นแล้วก็เรียกว่า มันไม่หยุดนิ่งคือ มันมีสิ่งที่มากระทบเพราะมันรู้สิ่งที่มากระทบพอใจอาการของจิตก็เป็นอย่างหนึ่งกระทบที่ไม่พอใจก็มีอาการอย่างหนึ่ง หรือจิตมีความปรารถนาในสิ่งใดก็ทำไปตามสิ่งที่คิดที่ปรารถนาในสิ่งนั้น พยายามในสิ่งนั้น แต่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นจะเป็นไปในลักษณะที่ให้เกิดความสุขสมบูรณ์ หรือเกิดความสุขในภพในชาติเป็นกุศลกรรม กรรมที่ส่วนเป็นฝ่ายดี ก็ขึ้นอยู่กับปัญญา แต่หากว่าปล่อยตามธรรมชาติแล้วเนี่ย จิตนี่มันก็เกิดอาศัยกิเลสมันเกิดมาร่างกายทั้งหมดก็สร้างกันมาด้วยกิเลส แล้วจิตมีอารมณ์อยู่ ปัจจุบันก็รูปแบบหนึ่งก็โกรธ รูปแบบที่สองก็โลภ รูปแบบที่สามก็หลง

    สิ่งเหล่านี้เรียกว่า โลภมูล โทสมูล โมหมูล นี่มันเกิดมาจากความโลภ เกิดก็เกิดมาจากความโลภ เกิดมาจากความโกรธ เกิดมาจากความไม่รู้ ที่ว่ามันไม่รู้เนี่ย เราเกิดมาแล้วว่าเป็นมนุษย์นี่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นความสุขเสียทั้งหมด เพราะเป็นทุกข์เพราะความเกิด ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะรูปก็ไม่เที่ยง เรียกว่า รูปํ อนิจฺจํ รูปไม่เที่ยง เวทนา อนิจฺจา ความปรุงแต่งขึ้นในสิ่งทั้งหลายปรุงแต่งขึ้นมา บางอย่างก็เรียกว่าไม่มีใจครอง เช่น บ้านเรือนก็ไม่มีใจครอง แต่อาศัยปรุงแต่งขึ้นมา อันนี้ก็ไม่เที่ยง วิญญาณํ อนิจจํ วิญญาณคือ ตัวรู้ วิญญาณเรียกว่าตัวรู้

    ถ้าพูดในขันธ์ 5 แล้ววิญญาณคือ ตัวรู้ พูดในที่อื่น ก็เรียกว่าจิตใจ ฉะนั้นว่า มาย่นส่วนที่เป็นรูปและไม่เป็นรูปมันก็มีอยู่ 2 คือ รูปก็คงเป็นรูปเหมือนเดิม เหมือนเรานั่งอยู่นี่ก็ยังเรียกว่า เป็นรูปหญิงรูปชายตามสมมติตามบัญญัติเรียกว่า เป็นรูป ส่วนเวทนามันเป็นนาม ตัวตนมันไม่รู้ว่าเป็นยังไง

    เวทนาก็มีอยู่ 2 สุขเวทนา สุขตั้งแต่ไม่มีโรคมีภัยเบียดเบียน ก็เรียกว่ามีความสุข เรียกว่าสุขเวทนา ทุกเวทนา เพราะร่างกายนี้มันก็เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง มันก็เกิดทุกข์เกิดสุขสลับกันไปอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นว่าสิ่งที่นามนี้แหละ เวทนาก็เป็นนามไม่มีตัวมีตนแต่ทุกข์ได้ ร้องไห้ได้เมื่อเกิดขึ้น สัญญาความจำเรียกว่าความจำ เรียกว่า สิ่งที่เราจำได้ในอดีต เช่น คนแก่ๆ เล่านิทานก็เรียกว่าจำได้ในอดีต เรื่องเก่าๆ จำในอดีต แต่ที่มันเป็นอนิจจาหรืออนิจจังไม่เที่ยงนั้น เมื่อแก่แล้วมันก็จำหลงๆ ลืมๆ ขาดๆ วิ่นๆ เพราะประสาทมันทำงานไม่ค่อยคล่องตัว

    มันมีความเสื่อมเหมือนวัตถุอื่นๆ เหมือนบ้านเมื่อปลูกขึ้นมาใหม่ๆ ทุกอย่างก็แข็งแรง ดูสวยงาม เมื่อนานไปๆ แล้วก็เรียกว่า มันก็เสื่อม แต่ส่วนวิญญาณคือความจำเนี่ย บางทีก็จำได้ไม่ได้ เหมือนกับคนแก่จำลูกจำหลานไม่ได้ จากไปเดี๋ยวก็จำไม่ได้ นอกจากจำตัวเขาไม่ได้ จำชื่อเขาก็ไม่ได้ด้วย อันนี้เรียกว่ามันไม่มีอะไรแน่นอน มันเป็นอนิจจังไม่เที่ยง

    อย่างนี้สังขารที่ปรุงแต่งขึ้นมาจะเป็นรูปที่มีจิตใจคือ ตัวเราหรือสัตว์ที่มีจิตใจครองอยู่ในร่าง นี่เรียกว่าสังขารเหล่านี้ก็มีอายุกาล เช่น เราทำด้วยไม้ มุงด้วยหญ้าก็มีอายุการใช้งาน แต่เดี๋ยวก็พังก็ทำใหม่ ที่พังมากกว่านั้นแข็งแรง มีเหล็กมีปูนมีก็มีการพัง กำหนดว่า อยู่แน่นอนชั่วกัปชั่วกัลป์ไม่ได้แล้ว นอกจากจะเป็นไป เสื่อมโทรมไปหมดทั้งทุกอย่างแล้วนั้นก็เรียกว่า มันก็ทรุดทีละเล็กละน้อยไปก่อน บางทีก็หลังคารั่ว บางทีก็ปลวกกิน เหล่านี้เป็นต้น

    นี่สังขาร แต่ว่าเขาก็ไม่ได้เกิดความทุกข์เสาต้นหนึ่งเมื่อปลวกกินเขาก็ไม่ได้บ่น อะไรพังลงมาเขาก็ไม่ได้บ่นไม่มีตัวรับผิดชอบก็คือ จิตไม่มี แต่มันพังก็พังไป แต่คนที่สร้างก็จะไปยึดถือเอาตรงนั้นว่าบ้านหลังนี้เป็นของเรา ไฟไหม้ก็เป็นทุกข์ ลมพัดพังลงไปก็เป็นทุกข์ ปลวกกิน หรือชำรุดไปตามสภาพกาลเวลา เราเป็นเจ้าของก็เป็นทุกข์

    ไตรลักษณ์ในเบญจขันธ์ หลวงปู่ลี จิตธัมโม - โพสต์ทูเดย์ ข่าวธรรมะ-จิตใจ
     
  2. pummuq

    pummuq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +352
    พระคุณเจ้าในรูปนี้คือ ธรรมลีหรือ หลวงปู่ลี กุสลธโร

    วัดป่าเกษรศีลคุณธรรมเจดีย์ (ภูผาแดง)
    อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

    มิใช่เหรอ
    แล้วนี่หนังสือพิมพ์ไปเขียนชื่อหลวงพ่อหนึ่งแล้วเอารูปอีกองค์มาลงหรือว่า รูปถูกแล้วแต่เขียนชื่อท่านผิด ตรวจสอบด้วย ลูกศิตย์พระป่าหรือป่าวเนี่ย
     

แชร์หน้านี้

Loading...