ใครกันหนอบอกว่าการกินเนื้อสัตว์นั้นไม่บาปทั้งที่พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย เนตรอิศวร, 2 พฤษภาคม 2011.

  1. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    ดูก่อนท่านทั้งหลาย
    .....กระทู้ในบทความที่ผู้น้อยนั้นได้แสดงความเริ่มขึ้นมานี้นั้น วันนี้ก็เป็นวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๐.๐๑ พอดี ซึ่งตรงกับวันพระ ผู้นั้นจึงขอถือ วันนี้เป็นวันที่ระลึกคุณพระรัตนตรัยมงคลเหมาะแก่การที่จะกล่าวบทความนี้เสียเลย เพื่อให้ท่านั้งหลายได้คลายสงสัยกันเสียที เพื่อที่จะได้เข้าใจในหลักธรรมคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ถูกต้อง และตรงตามพระประสงค์แห่งพระองค์ที่ทรงสอนถึงหนทางแห่งการหลุดพ้น

    .....แต่เนื่องด้วยผู้น้อยนั้นได้พยายามศึกษาและวิเคราะห์หลักคำสอนของพระองค์ในเรื่องนี้โดยเฉพาะเรื่องการกินเนื้อสัตว์นั้นว่ามันเป็นบาปกรรมหรือไม่ และสุดท้ายผู้น้อยนั้นก็ได้คำตอบที่แท้จริง และหลักการขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงปฏิบัติ ซึ่งท่านทั้งหลายสามารถวิเคราะห์เหตุผลนี้ได้ตามผู้น้อยทุกประการ และเป็นสิ่งสมเหตุสมผล แล้วท่านจะรู้ว่าแท้จริงแล้วองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนเราทั้งหลายเช่นใด เพื่อที่ท่านทั้งหลายจะได้เห็นแจ้งชัดเจนกันเสียที ซึ่งกระทู้บทความนี้นั้นผู้น้อยนั้นก็ยินดีที่จะขอคำชี้แนะจากท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะองค์พระภิกษุสงฆ์ทุกประโยคชั้น ซึ่งพระคุณท่านก็สามารถแถลงชี้แจงเพื่อชี้แนะในบทความที่ผู้น้อยจะนำเสนอต่อไปได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดแห่งการบำเพ็ญบุญกุศลของพุทธบริษัทสืบต่อไป
    .....ก่อนอื่นในเนื้อความของกระทู้นี้ ผู้น้อยนั้นจะยังไม่แสดงบทวิเคราะห์อย่างละเอียดนำมาแสดงในคราวเดียวเพราะ บทวิเคราะห์นั้นต้องประกอบไปด้วยพระวินัยของสงฆ์เข้ามาประกอบ๑ คำกล่าวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพุทธประวัติเข้ามาประกอบ๑ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพระสาวกนำมาประกอบ๑ และต้องเอาบทบัญญัติของศีลมาประกอบด้วย๑ จึงจะสามารถรู้หลักการสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงสอนอย่างแท้จริงได้อย่างชัดเจน
    .....ด้วยเหตุแห่งว่า ผู้น้อยนั้นเกิดมีความสงสัยมาช้านาน ถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์ของมนุษย์ว่าแท้จริงแล้วมันจะมีความผิดบาป และเกิดกรรมหรือไม ด้วยเหตุนี้นั้นผู้น้อยจึงพยายามศึกษาและวิเคราะห์มาเรื่อยๆ จนมาแปลกใจถึง พุทธศาสนา ๒ นิกาย คือ นิกายมหายาน๑ และนิกายหินยาน๑ ซึ่งด้วยเหตุที่ว่าสืบสายมาจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวกัน แล้วทำไมจึงสอนถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์นั้นไม่เหมือนกัน จนในที่สุดผู้น้อยนั้นก็เกิดปัญญาจนหาคำตอบได้ในตอนที่ผู้น้อยได้บวชเป็นภิกษุและได้ศึกษาพระวินัยสงฆ์ และหลักคำสอนบางตอนในพุทธประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และบทบางตอนที่กล่าวถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดสอนสรรพสัตว์ ผู้น้อยจึงได้รู้ว่าแท้จริงแล้วองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงมิเคยตรัสสอนว่าการกินเนื้อสัตว์นั้นไม่เกิดบาปหรือไม่เกิดโทษกรรม แต่พระองค์ทรงกล่าวสอนในศีลว่า ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นพื้นฐาน ส่วนเรื่องการกินเนื้อสัตว์นั้นพระองค์ทรงสอนวิธีมาเฉพาะในหมู่ภิกษุ แต่ด้วยความที่มนุษย์เห็นภิกษุฉันท์เนื้อสัตว์ได้ จึงคิดไปเองว่าการฆ่าสัตว์มากิน และการกินเนื้อสัตว์นั้นไม่เกิดบาปกรรมซึ่งแท้จริงแล้วมันมิใช่เป็นอย่างที่ท่านทั้งหลายคิด
    .....ฉะนั้นผู้น้อยจึงตั้งใจจะแสดงกระทู้ธรรมนี้เพื่อให้เพื่อนธรรมทั้งหลายเห็นแจ้งในหลักคำสอนที่แท้จริงแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเรื่องของการกินเนื้อสัตว์เสียที จะได้ไม่ต้องอ้างกันอีกต่อไปว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่ามนุษย์กินเนื้อสัตว์แล้วจะไม่มีความผิดบาป เพราะแท้ที่จริงแล้วพระองค์ไม่เคยสอนว่ากินเนื้อสัตว์แล้วจะไม่บาป แต่พระองค์ทรงสอนหมู่ภิกษุเท่านั้นถึงวิธีการฉันท์เนื้อแล้วไม่บาป ฉะนั้นจงอย่าไปคิดรวมกันว่าจะไม่ผิดบาปเหมือนกัน
    .....ในเนื้อความนี้ ยังไม่ใช่เนื้อความแท้จริงของผู้น้อย เป็นเพียงเนื้อความเบื้องต้น เพราะผู้น้อยตั้งใจว่าจะบรรยายในต่อจากนี้ไปอีกสามวัน คือยากให้ท่านทั้งหลายนั้นลองไปเตรียมเหตุผลมาไว้เพื่อขัดแย่งกันเพื่อให้เกิดปัญญา ผู้น้อยจึงจะทิ้งความสงสัยนี้ไว้ให้ท่านทั้งหลายเกิดความสนใจและติดตาม เพื่อความเข้าใจในหลักคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริงสืบไป และผู้น้อยก็ขอกล่าวเสียเลยว่า กระทู้ธรรมบทความเรื่องการกินเนื้อสัตว์นั้นทุกท่านจะเกิดปัญญาเห็นแจ้างอย่างแน่นอน.
    ...................สาธุ....ขอนุโมทนาบุญ มาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2012
  2. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    หากผู้น้อยนั้นได้พิมพ์ผิดพลาด ตกหล่น เกินไปบ้างประการใด อันเป็นเหตุให้ท่านทั้งหลายเข้าใจในความหมายคลาดเคลื่อนผู้น้อยนั้นก็ต้องขออภัยมาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล
    ...........สาธุ.......ขออนุโมทนาบุญ มาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล...
     
  3. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    อนุโมทนาครับ
    เเต่ถ้าจะให้ชัดอยากให้ท่านช่วยอ้างถึงพระไตรปิฏกด้วยครับ เพราะว่าพระไตรปิฏกเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าอ้างเเล้วจะเถียงไม่ได้เลย ถ้าพูดลอยๆก็ยากที่จะเชื่อได้ เเต่ต้องเป็นพระไตรปิฏกเถรวาทนะครับ เพราะมหายานนั้นผมไม่เชื่อ
     
  4. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    ใน อามคันธสูตร อรรถกถาก็ได้เล่าถึงดาบสพวกหนึ่งที่ถือว่า ปลาและเนื้อ<WBR>เป็น<WBR>กลิ่น<WBR>ดิบ ไม่ควรบริโภค แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปลาและเนื้อไม่ใช่กลิ่นดิบ แต่<WBR>กิเลส<WBR>ทั้ง<WBR>ปวง<WBR>ที่เป็นบาปเป็นอกุศลต่างหาก ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบ
    สรุปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้ามการฉันปลาและเนื้อ ทั้งพระองค์และภิกษุก็ฉันปลาและเนื้อที่เป็นกัปปิยะ คือไม่ผิดวินัยบัญญัติ เป็นของสมควรบริโภค อันได้แก่ปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม อันได้กล่าวมาแล้ว กับไม่ฉันเนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ ชนิด เว้นจากนี้แล้วก็ฉันได้ ไม่มีข้อขัดข้องประการใด

    ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสป ด้วยคาถาความว่า
    สัตบุรุษทั้งหลายบริโภคข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเขียว ใบ
    ไม้ เหง้ามัน และผลไม้ที่ได้แล้วโดยธรรม หาปรารถนา
    กามกล่าวคำเหลาะแหละไม่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคพระ
    นามว่ากัสสป พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใดที่ผู้อื่นทำสำเร็จ
    ดีแล้ว ตบแต่งไว้ถวายอย่างประณีต เมื่อเสวยข้าวสุก
    แห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่าย่อมเสวยกลิ่นดิบ ข้าแต่พระองค์
    ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่น
    ดิบย่อมไม่ควรแก่เรา แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลีกับ
    เนื้อนกที่บุคคลปรุงดีแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคพระนาม
    ว่ากัสสป ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะพระองค์ว่า
    กลิ่นดิบของพระองค์มีประการอย่างไร ฯ​


    พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
    การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การจองจำ การลัก การพูด-
    เท็จ การกระทำด้วยความหวัง การหลอกลวง การ
    เรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยาผู้อื่น นี้
    ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย
    เลย
    การไม่กินปลาและเนื้อ ความเป็นคนประพฤติเปลือย ความเป็นคนโล้น
    การเกล้าชฎา ความ
    เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี การครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ
    การบำเรอไฟ หรือแม้ว่าความเศร้าหมองในกายที่เป็นไป
    ด้วยความปรารถนา ความเป็นเทวดา การย่างกิเลสเป็นอัน
    มากในโลก มนต์และการเซ่นสรวง ยัญและการซ่อง-
    เสพฤดู ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ไม่ข้ามพ้นความสงสัยให้หมดจด
    ได้ ผู้ใด คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหกเหล่านั้น รู้แจ้งอินทรีย์
    แล้ว ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความเป็นคนตรงและอ่อน
    โยน ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด
    ผู้นั้นเป็นนักปราชญ์ ไม่ติดอยู่ในธรรมที่เห็นแล้ว และ
    ฟังแล้ว ฯ​

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

    จริงๆไม่กินก็ดี เเต่ใครถ้าจะกินก็ได้ไม่ถือว่าบาป (เเต่ไม่ควรติดในรสเนื้อมากเกินไปถึงขนาดขาดไม่ได้เพราะมันจะกลายเป็นความ หลง)
    เเต่ถ้ามีความคิดว่าการกินเนื้อสัตว์เเล้วบาปนั้น
    ผมขอให้ช่วยนำคำสอนของพระพุทธองค์มากอ้างด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2011
  5. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    เนื้อหาส่วนที่ว่าพระเทวทัตเป็นผู้ขอไม่ให้ทานเนื้อสัตว์อยู่ในพระไตรปิกเล่มที่ 1 ข้อ 591 ดังรายละเอียดต่อไปนี้(และมีคำตอบของพระพุทธเจ้าอยู่ด้วยครับ)
    [๕๙๑] ครั้งนั้น พระเทวทัตต์พร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี
    พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ
    ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย
    อเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ
    ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก
    ปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่า
    ตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาต
    ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุล
    ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้
    ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลา
    และเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
    พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่ป่า ภิกษุใด
    ปรารถนา ก็จงอยู่บ้าน ภิกษุใดปรารถนา ก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีการ
    นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีผ้าคหบดี ดูกรเทวทัตต์
    เราอนุญาตรุกขมูลเสนาสนะตลอด ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ
    ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ

    ต่อมา พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว
    ประกาศให้ประชาชนเข้าใจวัตถุ ๕ ประการว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาเข้าไปเฝ้า
    พระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณ
    แห่งความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า
    วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร
    โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่
    ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลาย
    ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ วัตถุ
    ๕ ประการนี้ พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาต แต่พวกอาตมาสมาทานประพฤติตาม
    วัตถุ ๕ ประการนี้ ฯ
    [๓๘๖] บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญากล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา(หมายถึงเทวทัต)



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗


    จุลวรรค ภาค ๒</CENTER><CENTER></CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2011
  6. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    ท่านใดสามารถอ้างถึงพระดำรัสของพระพุทธเจ้าว่าทานเนื้อสัตว์เเล้วบาปช่วยนำมาลงด้วยครับ จะเป็นบุญอย่างมากเพราะผมก็รู้ไม่มาก รู้เท่านี้จริงๆ ขอเป็นของเถรวาทนะครับ

    วิธีปฏิบัติให้พ้นทุกข์คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อบรมสามอย่างนี้เท่านั้นสามารถ หลุดพ้นได้ ส่วนกินหรือไม่กินเนื้อไม่ใช่เเก่นเลย กินก็หลุดพ้นได้ ไม่ใช่กินเนื้อเเล้วไม่สามารถหลุดพ้นได้

    ศีล ไม่มีข้อไหนว่า ห้ามกินเนื้อ
    สมาธิ คือ การเจริญวิปัสสนา(ไม่ใช่การพิจารณาว่า กินเนื้อบาปหรือไม่)
    ปัญญา คือ ปัญญาญาณชำเเหละกิเลส(ไม่ใช่ปัญญาทางโลก เช่น กินเนื้อบาปหรือไม่บาป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2011
  7. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->เพชรกร<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4657996", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jun 2010
    ข้อความ: 258
    พลังการให้คะแนน: 100 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
    .....สาธุ ท่านผู้เจริญ
    .....อันคำกล่าวที่ท่านยกมาอ้างนั้นประเสริฐแท้ ด้วยเหตุท่านนั้นกล่าวด้วยปัญญา ด้วยความเพียร ผู้น้อยนั้นจึงขออนุโมทนา คำที่ท่านั้นกล่าวมาถูกต้องทุกประการ สมดังจุดประสงค์ของผู้น้อยที่รอรั้งเงลาไว้อีกสามวัน เพื่อที่ให้ท่านทั้งหลายคายความรู้ที่ยึดมั่นนั้นออกมา ด้วยเหตุแห่งว่าการพิจารณาด้วยปัญญานั้นจำเป็นจะต้องใช้ความเห็นของท่านทั้งหลายนั้นเข้ามาประกอบ เพื่อความเห็นแจ้งในสัจจะธรรมของพระพุทธองค์
    .....ด้วยเหตุนี้นั้นผู้น้อยจึงของสรรเสริญท่าน ด้วยความใจบริสุทธิ์ว่าท่านนั้นเป็นผู้คงแก่ปัญญา และความเพียรโดยแท้ หากท่านนั้นจะยกบทพระสูตรใดในพระไตรปิฏกร์มาเพื่อถ่วงดุลหรือเพื่อความชอบธรรม ขอท่านนั้นโปรดจงเร่งแสดงมาเถิด เพื่อกุศลแห่งบุญร่วมกันในกาลนี้.
    ................สาธุผู้น้อยขออนุโมทนาบุญมาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล.
     
  8. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    การกินเนื้อสัตว์นั้นไม่บาปเเต่ถ้าละได้ก็ควรละ(ถ้าไม่เป็นอุปสรรค์ต่อการปฏิบัติธรรม) เพราะบางท่านกินเนื้อเเล้วจิตรวมยาก บางท่านกินพืชจะได้สารอาหารน้อยทำให้จิตรวมยากอีก อันนี้เเหละที่บางคนไม่เข้าใจ คิดว่าทุกคนต้องกินพืชถึงจะดี เเต่จริงๆร่างกายบางคนระบบย่อยอาหารดีเกินไปกินพืชเเล้วย่อยเร็ว เวลาภาวนาเเล้วสังขารมันไม่เอื้อจิตรวมยาก เช่น พระบางรูปฉันมื้อเดียวดี บางรูปฉันสองมื้อดี อย่างผมวันพระถืออุโบสถกิน2มื้อตอนกลางคืนภาวนาจิตรวมยาก

    สรุป วิธีอะไรก็ได้ที่ทำให้จิตเอื้อต่อวิปัสสนาเเละไม่ก่อให้เกิด อุปทาน ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ยังไงถ้าใครจะเเก้ตรงไหนก็จะดีครับเพราะบางทีผมก็อาจจะผิดก็ได้
     
  9. jake009

    jake009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +285
    ภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ (ถ้าผู้ขอ มีกฏเกณฑ์ มากมาย ป่านนี้คงหาดูพระภิกษุยากมาก หรือไม่มี ความคิดของผมนะ)
    ที่นี้ผู้ให้(ทาน) ให้ทาน ด้วยการทำลายชีวิตอีกชีวิตหนึ่ง ผลของทาน กับ ผลของการทำร้ายชีวิตแยกกัน ไม่ได้รวมกัน ฉะนั้น อันไหน แรงกว่า( ผลของทานกับผลของการทำร้ายชีวติ) ก็พูดยาก เพราะยังมี ตัวแปรอีกมากมายมาประกอบกัน
     
  10. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->หริชน<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4658737", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Oct 2005
    ข้อความ: 166
    พลังการให้คะแนน: 105 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    ...................................................................................................
    สาธุ....ดูก่อนท่านผู้เจริญ
    ......คำกล่าวของท่านนั้นประเสริฐแท้ ผู้น้อยนั้นเห็นความด้วยตามนั้น ผู้น้อยจึงได้ตั้งกระทู้นี้มาเพื่อบรรยายธรรมในข้อนี้ หากท่านทั้งกล่าวพิจารณาความในกระทู้แล้วจะเห็นว่า ผู้น้อยนั้นได้แยกไว้ ว่ากรณีของภิกษุฉันท์เนื้อ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงแสดงวิธีในการฉันท์ไว้เพื่อไม่ให้เกิดบาป แต่สำหรับชนทั่วไปแล้วนั้นต่างกันเพราะไม่เข้าข่ายของกฎเกณฑ์พระภิกษุ จึงไม่สำควรไปคิดรวมกันว่าการกินเนื้อสัตว์แล้วจะไม่บาปเพราะวิธีการกินนั้นต่างกัน
    .....ท่านผู้ตอบบทความนี้ท่านนั้นคงจะเห็นจุดกระทู้ธรรมในข้อนี้ของผู้น้อยแล้ว เพราะผู้น้อยนั้นจะกล่าวเพียงการกินของปุถุชน แต่ผู้น้อยจะยกพระวินัยสงฆ์มาประกอบเพื่อที่จะแยกให้เห็นว่า ทำไมภิกษุฉันท์เนื้อแล้วไม่เกิดบาปแต่อาจจะเกิดกรรม แต่หากเป็นปุถุชนกินเนื้อแล้วอาจจะต้องเกิดทั้งาปและทั้งกรรมนั่นเอง
    .....ขอให้ท่านโปรดจงรอพิจารณาบทความกระทู้ธรรมของผู้น้อยอีกสองวันข้างหน้านั้นเถิด
    ............สาธุ ขออนุโมทนามาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล.
     
  11. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    อาจารผมบอกว่าไม่ผิด เเต่ควรเป็นคนมีพรหมวิหาร4ด้วยการพิจารณา
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา(ไม่รู้สะกดถูกเปล่า) เเล้วก็เเผ่เมตตาให้กับเนื้อสัตว์ทั้งหลาย
    ที่เราได้กินไปด้วย เเละก็ขอให้เนื้อของเธอที่เรากินไปนี้จงเป็นประโยชน์เเก่ร่างกาย
    ของเราให้มีร่างกายเเข็งเเรง ไม่เจ็บไม่ป่วยประมาณนี้ ให้ขอเเบบนี้ไปด้วย

    ส่วนเรื่องเนื้อกับการปฏิบัติธรรม ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ใหญ่ๆไม่ควรกินมื้อเย็น เพราะว่า
    จะย่อยยาก ให้เปลี่ยนเป็นเนื้อไก่ กุ้ง ปลา อะไรประมาณนี้จะย่อยง่ายกว่า
    เเละก็เลือดสัตว์ก็ไม่ควรกินเลยเพราะเป็นเเหล่งรวมความเจ็บปวดทรมานของสัตว์
     
  12. Worapot Intomya

    Worapot Intomya สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์ล้วนรักชีวิตรักตัวกลัวตายไม่ต่างกันคนร้องไห้ได้สัตว์ก็ร้องไห้ได้เช่นกันคนโกรธแค้นได้สัตว์ก็โกรธแค้นได้เช่นเดียวกันพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้พ้นแล้วซึ่งอาสวกิเลสอันเป็นบ่อเกิดแห่งสังสารวัฏย่อมมีความเมตากรุณาต่อสรรพชีวิตเสมอเหมือนกันไม่มีแบ่งแยกเพราะภายในร่างกายที่มองเห็นอันแบ่งตามชาติกำเนิดของสัตว์แต่ละชนิดนั้นคือจิตวิญญาณที่ล้วนมีจิตเดิมแท้แห่งพุทธภาวะอยู่ภายใน แต่ต้องผ่านการเวียนว่ายตายเกิดมานานแสนนาน ไม่แน่ว่าสัตว์ที่ท่านรับประทานไปนั้นอาจเคยเป็นญาติพี่น้องเราอาจเคยเป็นบิดามารดาของเรามาก่อน ดังนั้นควรหรือที่เราจะกล่าวว่าสัตว์เกิดมาให้คนกิน ทั้งที่ลักษณะทางกายภาพของคนเราที่ธรรมชาติสร้างมาก็เพื่อให้เหมาะแก่การทานพืชพันธุ์ธัญญาหารและผลไม้ (คนเรามีฟันทู่ และลำไส้ยาว)
    ฉะนั้นแล้วจงใช้จิตใต้สำนึกไตร่ตรองโดยปราศจากการยึดถือมั่นในตำรับตำราตัวอักษรใด ๆ เหมือนน้ำเต็มแก้วที่พร้อมจะล้นโดยปิดหูปิดตาไม่เปิดใจให้กว้างเพื่อรับการพิจารณาใด ๆ ในเมื่อพระตถาคตมีความปรารถนาจะให้สรรพสัตว์ได้พ้นทุกข์ เหตุใดผู้ที่ได้ชื่อว่าศิษย์พระตถาคต (ในบริบทของคนทั่วไป) จึงยินดีในการสร้างความทุกข์ให้เกิดมีกับสรรพสัตว์ก่อเกิดหนี้สินเวรกรรมอย่างไม่รู้จบสิ้นเป็นอนันตกาลเล่า
     
  13. wayokasin

    wayokasin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +277
    กินเนื้อ เขาไปแล้ว ก็อุทิศบุญกุศลไปให้เขาด้วยครับ จะได้ไม่รู้สักติดค้างกัน เขาก็ชีวิต เราก็ชีวิต ที่เกิดเป็นสัตว์ ก็เพราะ ก็ เพราะบุพกรรม ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นอาหารใคร เราก็เคยเป็นสัตว์ เขาก็เคยเกิดเป็นคน เวียนวนในวัตฏะ พระท่านฉันอาหารไป ก็ พิจารณาเป็นปฏิสังขาโย เป็นสิ่งปฏิกูล เพื่อเลี้ยงธาตุขัน ไม่ได้ยึดว่าเป็นเนื้ออะไร ไม่ได้บริโภคตามกิเลส
    แต่เมื่อบำเพ็ญ โพธิญาณ พระโพธิสัตว์จ้าว ท่านเมตตา จะช่วยสรรพสัตว์ท่านจึงไม่ฉันเนื้อเพื่อไม่ก่อทุกข์ใ ห้เหล่าสรรพสัตว์ :'(​
     
  14. Worapot Intomya

    Worapot Intomya สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ที่ผู้น้อยได้ร่วมศึกษาไปนั้นเป็นบริบทของคนทั่วไปครับไม่เกี่ยวกับพระสงฆ์องค์เจ้าเลยครับ เพราะท่านไม่รู้ไม่เห็นด้วยว่าอาหารที่ทำมาต้องผ่านอะไรมาบ้าง จะว่าไปเรื่องนี้ต้องพูดกันค่อนข้างมากครับพื้นที่แค่ไม่กี่บรรทัดคงทำให้แจ่มแจ้งไม่ได้
     
  15. bamrung

    bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    834
    ค่าพลัง:
    +1,524
    การกินเนื้อเป็นสิ่งที่ควรเลี่ยง ด้วยเหตุผลหลายๆประการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2011
  16. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    สาธุ...ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
    .....เหลือเวลาอีกไม่เท่าใดนักจะครบกำหนดสามวันแล้ว หากท่านใดนั้นจะอ้างอิงสิ่งใดโปรดจงเร่งแสดงมาเถิด
    .....ขออนุโมทนามาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล สาธุ.
     
  17. Thanks-Epi

    Thanks-Epi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    984
    ค่าพลัง:
    +2,950
    คุณนับถือ ลัทธิอนุตตรธรรมหรือเปล่า
    ใช้คำว่า "ผู้น้อย"

    ขอถามแค่นี้ค่ะ แล้วจะรอคำตอบค่ะ

    ส่วนตัวเรานั้น ปัจจุบัน กินเนื้อสัตว์แทบไม่ได้ เพราะเหม็น ต้องกลั้นหายใจกิน หรือ

    ต้องกิน อาหารกลิ่นแรงเพื่อดับกลิ่นเนื้อสัตว์

    แต่ยืนยันว่า เราเป็นพุทธศาสนิกชนเต็มตัว ไม่ได้เป็นอย่างอื่นไป ยัง ยึดมั่น ใน ศีล

    สมาธิ ปัญญา
     
  18. deity

    deity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +1,645

    ถ้าเราทำตามคำสอนพระพุทธเจ้าด้วย

    และก็กินเจด้วยมันก็น่าจะดีนะครับ

    ความจริงแล้ว

    ผมว่า

    มันน่าจะถูกทั้งหมด

    หมายถึง

    มีใจใสปราศจากกิเลสด้วย

    กินเจด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2011
  19. deity

    deity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +1,645

    ศาสนาพุทธของเราแม้จะแบ่งเปนมหายานและเถรวาทก็จริง

    แต่ทั้งสองนิกายนั้นก็ไม่เคยจะมาแตกกัน

    อย่างเห็นเด่นชัด

    เลยนะครับ

    เพราะแม้รายละเอียดในการปฏิบัติธรรมแตกต่างกัน

    แต่ทั้งสองนิกายก็มีหลักยึดร่วมกันในหลายๆส่วน

    มันรวมถึงนิกาย1บอกอีกนิกาย 1 ว่า

    ไม่ขอโจมตีนะแต่ขออนุญาตคิดต่างได้ไหม

    แม้แต่ศาสนาอื่น

    ชาวพุทธเรายังไม่เคยทำลายเลย

    แม้แต่ในใจก็ไม่คิด

    นับประสาอะไร

    จะมาแตกกัน

    เพียงแค่ต่างนิกาย

    ชาวพุทธเราไม่ว่าจะมาจากนิกายไหน

    ก็เข้าวัดทุกๆนิกายได้

    ไหว้พระของทุกนิกายได้

    แม้แต่

    ปฏิบัติธรรมแบบจับฉ่ายก็ยังได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2011
  20. เอ-นก

    เอ-นก สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +3
    นานาจิตตัง ถ้าสบายใจก็กิน ไม่สบายใจก็อย่ากิน ไม่เห็นเป็นเรื่องยาก...จะมาบอกว่าพระพุทธเจ้าห้ามจำเพาะภิกษุ อยากให้อ่านพระไตรปิฎกว่าสอนใครเพราะสอนหมด เทวดา มาร หรหม คน พระ ไม่จำแนกว่าสอนใครแต่สิ่งที่สอนคือแนวทางแห่งการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่พระนิพพาน...ถ้าสอนพระ คนไม่ต้องทำ ใช่อย่างนั้นหรือ สอนมาร เทวดาไม่ต้องทำใช่หรือไม่...เหมือนสอนพี่ น้องไม่ต้องเชื่อ............ใช่อย่างนั้นหรือ
     

แชร์หน้านี้

Loading...