โอวาทปาฏิโมกข์ พระธรรมเทศนา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 28 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>กัณฑ์ที่ ๔๕
    โอวาทปาฏิโมกข์
    ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๗



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส ฯ


    ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตติ. ฯ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD class=setcek height=20 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา ซึ่งมีมาใน โอวาาทปาฏิโมกข์ บ้าง ในที่อื่นๆ บ้าง มาหลายแห่งด้วยกัน แต่ที่มาในโอวาทปาฏิโมกขคาถานั้น พระศาสดายกข้อสำคัญของพระพุทธศาสนาขึ้นประกาศแก่พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งเป็นปุราณกชฎิล ท่านเหล่านั้นที่จะประกาศพระศาสนาสืบต่อไป พระจอมไตรยกข้อสำคัญขึ้นให้ท่านที่มาประชุมนั้นเข้าเนื้อเข้าใจชัดเจน ว่าทางปฏิบัติหลีกลัดโดยตรงแต่คนละคน ไม่เชือนแชผิดทางไปได้ พระจอมไตรรับสั่งด้วยพระองค์เองว่า
    ขนฺตี ปรมํ
    ความอดทน ขันติ อันว่าความอดทน
    ตีติกฺขา
    กล่าวคือความอดใจ อดทนคืออดใจนั่นเอง
    ตโป
    เป็นความเพียร เครื่องแผดเผา
    ปรมํ
    อย่างยิ่ง
    ความอดทนคืออดใจเป็นความแผดเผาอย่างยิ่ง
    นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งความอดทนนั้นว่าเป็นเครื่องดับ ไม่มีเครื่องดับอื่นยิ่งไปกว่าเป็นเครื่องดับอย่างยิ่ง ว่าความอดทนนั้นเป็นเครื่องดับอย่างยิ่งความอดทนนั้นเป็นนิพพานอย่างยิ่ง

    บาทที่หนึ่งและบาทที่สองรวมกันเข้าได้ความชัดอย่างนี้
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
    การเข้าไปฆ่าซึ่งสัตว์อื่น การเข้าไปฆ่าผู้อื่นสัตว์อื่น เรียกว่าเป็นบรรพชิตไม่ได้ หาเป็นบรรพชิตได้ไม่

    สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต
    การเบียดเบียนสัตว์อื่น จะชื่อว่าเป็นสมณะก็ไม่ได้เหมือนกัน ถ้าเป็นบรรพชิตแล้วไม่เข้าไปฆ่าสัตว์อื่น ถ้าเป็นสมณะแล้วไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น จึงเป็นบรรพชิตได้ เป็นสมณะได้ ถ้ายังเบียดเบียนยังฆ่าสัตว์อื่นอยู่ เป็นบรรพชิตไม่ได้ เป็นสมณะไม่ได้ พวกเราเหล่านักบวชเป็นภิกษุสามเณร เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็เว้นขาดแล้วจากการเข้าไปฆ่า หรือการเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่นไม่มีแก่เราแล้ว จึงเป็นนักบวชได้ เป็นสมณะได้ ถ้าว่ายังมีข้าไปฆ่า เข้าไปเบียดเบียนอยู่ เป็นนักบวชเป็นสมณะไม่ได้ นี่ต้องจำเป็นตำรับตำราทีเดียว ข้อตายตัวทีเดียว ข้อสั้นที่สุดว่ายที่สุด ฟังแล้วไม่มีพิรุธละ เอาเป็นข้อวัตรปฏิบัติได้ทีเดียว

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ขนฺตี แปลว่า ความอดทน อดทนอะไร อดทนต่อความโลภที่เกิดขึ้น อดทนต่อความโกรธที่เกิดขึ้น อดทนต่อความหลงที่เกิดขึ้น

    นี้ไม่ใช่ของง่าย อดทนต่อความโลภ ความอยากได้สมบัติของคนอื่นมาเป็นของๆตัว อดทนต่อ อภิชฌา คือความเพ่งอยากได้สมบัติของคนอื่นมาเป็นของตัว ไกลออกไปจากความโลภ อยากออกไปจากความโลภอีก อยากหนักออกไป อดทนต่อความโลภหนักละเอียดเข้าไป อภิชฌา มันเป็นธรรมของมนุษย์ ความเพ่งอยากได้สมบัติของคนอื่นมาเป็นของๆ ตัว




    อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ มันเป็นธรรมของมนุษย์ พยาบาท

    หมายมาดให้เขาถึงความวิบัติพลัดพรากทีเดียว ไม่ให้ดีกว่าตัว ไม่ให้เกินตัวไปได้ ถ้าดีกว่าตัว เกินตัว ก็ให้วิบัติพลัดพรากไปเสีย โดยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเหลี่ยมโกงอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นจากความพยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เห็นผิดจากความจริงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทสวตฺถุกา มีวัตถุสิบ ให้ทานไม่มีผล บูชาใหญ่ ไม่มีผล บูชาน้อยไม่มีผล เหล่านี้เป็นต้น นี่เป็นมิจฉาทิฏฐิ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี่แหละ เป็นตัวสำคัญนัก ถ้าเกิดขึ้นกับหญิงชายผู้ใดแล้ว คำว่าหญิงชายนั้น เป็นที่อิดฉาระอาใจของคนอื่นทีเดียว เกลียดชังทีเดียว ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากคบค้าสมาคม นี่ต้องคอยกระมิดกระเมี้ยนให้ดีนะ อภิชฌา อย่าให้โผล่เข้ามาในใจได้ ถ้าโผล่เข้ามาก็น่าเกลียดนักเชียว มันเป็นตัวขโมย พยาบาทก็เหมือนกัน ถ้าโผล่ขึ้นในสันดานของบุคคลผู้ใดละก็คอยระวังนะ โผล่ขึ้นมาแล้ว ไม่เอาออกเขาเกลียดทีเดียว ให้มันสิงอยู่ไม่ได้ มิจฉาทิฏฐิเห็นผิดจากคลองธรรมก็สำคัญ ถ้าโผล่ขึ้นก็ให้รีบเอาออกเสียทีเดียว อย่าให้นอนแรงอยู่ได้ ถ้านอนอยู่ในใจละก็เสียผู้เสียคนทีเดียวนะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี่เป็นธรรมของมนุษย์แท้ๆ เราก็โผล่บ่อยเสียด้วย หญิงชายผู้ใดไม่ว่า โผล่บ่อยด้วย อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐินะสำคัญนักทีเดียว


    อภิชฌา คือความเพ่งอยากได้สมบัติของบคนอื่นมาเป็นสมบัติของตัว โดยเราเพ่งว่าขอให้ถูกล๊อตเตอรี่ให้รวยสักทีเถอะ ให้ถูกล๊อตเตอรี่สักทีเราจะรวยยกใหญ่หละ นี่เพ่งอยากได้สมบัติของคนอื่นมาเป็นของตัวอย่างนี้ นี่ก็เป็นอภิชฌาเหมือนกัน เพ่งอยากได้สมบัติก้อนใหญ่มาเป็นของตัว ได้มาลอยๆ ด้วยนี่แหละอภิชฌาแท้ๆ เชียว ไม่ให้ใครหละ พยาบาทละ ขออย่าให้คนอื่นถูกล๊อตเตอรี่เบอร์หนึ่งเสีย ให้เราถูกคนเดียวเถอะ นั่นแน่พยาบาท พออยากจะได้สมบัติก้อนใหญ่ก็เข้าป้องกันสมบัตินั้นทีเดียว คนอื่นอย่าให้ถูก ให้ถูกเราคนเดียว นั่นแน่ นี่พยาบาทให้คนอื่นตกจากสมบัติเสีย ให้ถึงความวิบัติพลัดพรากเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้เป็นอย่างไร อ้ายนั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดนี่ นั่นแหละมิจฉาทิฏฐิ ก็เห็นอย่างนั้นแหละจริงๆ ไม่ใช่ผิดเล่นๆ เห็นชัดทีเดียว นี่ให้พึงรู้ว่า อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างนี้ อภิชฌาอยากได้สมบัติของคนอื่น อยากได้อะไร ทำสวนใกล้กันก็คิดจะรุกรานนาเจ้า ค้าขายใกล้กันก็คิดจะเขม็ดแขม่ให้วงของเจ้าแคบเข้ามา ให้วงของเรากว้างออกไป ท่วมทับเข้าเสีย ค้าขายรุกกันอย่างนี้หนา ไม่ใช่รุกกันพอดีพอร้าย ทำนาค้าขายรุกกันอย่างนี้ ข้าราชการก็แก้ไขอีกเหมือนกัน ให้เราสูงขึ้น ให้เขาต่ำลง ให้เราดีกว่าเขาไว้ นี่พวกอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น


    อภิชฌาเพ่งถ้าเราสูงขึ้นก็จะให้ได้สมบัติกว่ายศฐาดีกว่าเขา พยาบาทเข้าแทรกแซงคอยป้องกันไว้ ไม่ให้เขาสูงกว่าเราได้ มิจฉาทิฏฐิ คือเห็นอย่างนั้นเป็นตัวมิจฉาทิฏฐิแท้ๆ นี่อยู่ในวงราชการ ที่นี้ในวงการที่เราเข้ามาบวชเป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เอาอีกเหมือนกัน อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เข้ามาอีกเหมือนกัน อภิชฌา เพ่ง เรารักษาศีลขอให้ดีกว่าเขา คนอื่นสู้ไม่ได้ ถ้าว่าคนไหนจะเหลื่อมล้ำดีกว่าเรา เราออกความพยาบาทเข้าใส่หาอุบายให้ตกไปฝ่ายชั่วกว่าเราเสีย นี่ก็พยาบาทเหมือนกัน คิดเช่นนั้น เห็นเช่นนั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิเห็นผิดจากคลองธรรม ผิดเหมือนกันในเรื่องรักษาศีล แก้ไขอย่างนี้ก็ตกอยู่อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ





     
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ทางพระพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านมุ่งอย่างไร ถ้าไม่มีอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ แล้ว โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ กามราคานุสัย ไม่มีในท่านแล้ว ไม่มีแก่ท่านแล้ว ท่านจะเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้า ท่านได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้บรรลุ ธรรมกาย เข้าถึงโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด โสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด สกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด อนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด อรหัตต์ทั้งหยาบทั้งละเอียด เข้าถูกเมื่อเข้าถึงแล้วพระองค์ท่านก็ทรงปริวิตกทีเดียว ว่าทำไฉนหนอ ธรรมะที่ลึกซึ้งยากที่บุคคลจะถึง ทำไฉนเราจึงจะได้แสดงเปิดเผยให้กว้างออกไป ให้มนุษย์ได้รู้เห็นเหมือนกับเราอย่างนี้ เราจะแก้ไขให้มนุษย์รู้เหมือนเรามากหมดทั้งชมพูทวีปหนา เราจะได้ช่วยมนุษย์ให้ตื่นจากหลับ พ้นจากอบายภูมิทั้งหมด พ้นจากภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่ต้องวนเวียนว่ายกันในวัฎฎะ คือ กรรมวัฎฎ์ วิปากวัฎฎ์ กิเลสวัฎฎ์ มีนิพพานเป็นที่ไปเบื้องหน้าทีเดียว พระองค์ก็สอดส่องพระทัยทีเดียว พระองค์ก็ทำตัวพระองค์เป็นตัวอย่าง เวลาเช้านำหมู่พระภิกษุสามเณร แสวงหาอาหารบิณฑบาต เอาข้าวปากหม้อ เลี้ยงชีพเสียคนละอิ่ม ที่ยังไม่ได้ ก็ทำไป ที่ได้บรรลุแล้วก็ช่วยกันสั่งสอนต่อไป แทนพระองค์ไปที่ยังไม่ได้ก็ทำไป ได้แล้วเที่ยวสั่งสอนต่อไป ยังไม่ถึงที่สุดก็ทำไป พอเวลาเช้านำออกอีก ไปบิณฑบาตขอฝากท้องแก่พลเมืองเสีย ขออาหารอิ่มเดียวไม่ทำอะไร ไม่ทำอะไรใครด้วย ทำลายแต่กิเลสภายในเท่านั้นแหละ และแก้ไขให้คนอื่นทำลายกิเลสเหมือนท่านบ้าง ไม่ต้องการอะไร ถ้าได้สำเร็จมรรคผลแล้ว พระองค์จะไปได้ดิบได้ดีอะไร เปล่า ไม่ได้เลย ได้ก็ได้ของตัวเอง ตามเสด็จพระพุทธเจ้า พอรู้สำเร็จก็รู้จักพระพุทธเจ้าทีเดียว อ้อ พระบรมศาสดาฉลาดอย่างนี้ เราไม่เสียทีเกิดมาเป็นมนุษย์ มาพบพระบรมศาสดา พบพระพุทธเจ้าทีเดียว ผู้สำเร็จก็เห็นอย่างนั้นด้วยตัวของตัวเอง


    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row1><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>เวลาเช้าพระองค์ก็ทรงแสวงหาอาหารบิณฑบาต นำหมู่พระภิกษุสามเณรเป็นประมุขทีเดียว
    เวลาพลบค่ำแสดงธรรมไม่หยุด หมู่พระภิกษุสามเณรมาประพฤติปฏิบัติ จะได้สอนให้ปฏิบัติเป็นเหมือนพระองค์ ถ้าว่ามรรยาทสูงนัก สอนให้ลดลงเสียนหน่อย ต่ำนักขยับให้ขึ้นหน่อย ให้ได้อันดับกันดี ให้ถูกช่องกลางให้ดี ให้เป็นมัชฌิมาปฏิปทาให้ดี และพลบค่ำให้โอวาท เวลาพลบค่ำให้โอวาท ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้โอวาทนั่น หมายความว่าสูงให้ลดลง ต่ำให้สูงขึ้น ให้โอวาทพอเหมาะพอเจาะพอดี

    ในเวลาเที่ยงคืนเงียบสงัด พระองค์เข้าสมาบัติ แก้ปัญหาเทพยดามนุษย์มาทูลถามเศรษฐี คหบดี เสร็จกิจการของการงานที่ยุ่งยากมากมาย ติดขัดอะไรก็มาทูลถามพระองค์ พระองค์ก็แก้ไขให้ความสะดวกทุกประการแก่ เศรษฐี คฤหบดี

    ค่อนรุ่งส่องดูอุปนิสัยสัตว์ด้วยญาณ ใครจะได้บรรลุมรรคผลทางธรรมปฏิบัติเหมือนอย่างพระองค์บ้าง สองส่องไปๆ ถ้าว่าอยู่ใกล้ไกลไม่ว่า เห็นเข้าแล้วก็ต้องเสด็จไปให้บรรลุธรรมเหมือนพระองค์
    ไม่ได้เอาอะไรแก่สัตว์เลย อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ไม่เอาไปใช้ ใช้แต่เมตตาพรหมวิหาร



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row1><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>


     
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    เมตตา รักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข กรุณา สงสารคิดช่วยจะให้พ้นทุกข์ มุทิตา พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีแล้ว อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อเข้าถึงความวิบัติพลัดพรากอย่างหนึ่งอย่างใด ที่ถึงความตาย หรือความแตกดับ หรือว่าภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น พระองค์ก็สมควรวางอุเบกขาเฉยไว้

    นี่พระพุทธเจ้าเป็นตำรับตำราเป็นประมุขของเราที่เราไหว้เรากราบอยู่สร้างพระพุทธรูปบูชาปรากฏอยู่จนกระทั่งบัดนี้ เป็นของสำคัญอย่างนี้ เมื่อรู้แล้วว่าเป็นของสำคัญอย่างนี้ เราต้องตั้งใจแบบเดียวกับพระพุทธเจ้า ท่านตั้งอย่างไรท่านสอนอย่างไร ท่านทำอย่างไร ท่านก็สอนว่า ท่านสอนพวกเราให้อดใจ ให้อดทน คืออดใจ อดใจเวลาความโลภหรืออภิชฌาเกิดขึ้น หยุดนิ่งเสีย รู้นี่รสชาติอภิชฌา อยากจะได้สมบัติของคนอื่น เป็นของๆตน อยากกว้างขวางใหญ่โต ไปข้างหน้า ต้องหยุดเสีย อดทนหรืออดใจเสีย ประเดี๋ยวก็ดับไป อ้ายความอยากนั้นดับไป ดับไปด้วยอะไร
    ด้วยความอดทน คืออดใจนั่นแหละ ความโกรธ ประทุษร้ายเกิดขึ้น นิ่งเสีย อดเสียไม่ให้หลุดออกมาได้ ให้อยู่ในใจของตัวเอง ไม่ให้คนได้ยิน ไม่ให้คนอื่นรู้กิริยาท่าทางทีเดียว ไม่แสดงกิริยามรรยาทให้ทะเลิกทะลัก แปลกประหลาด อย่างผีเข้าสิงทีเดียว ไม่รู้ทีเดียว นิ่งเสียกะเดี๋ยวหนึ่ง ความโกรธ ประทุษร้ายหายไป ดับไป พยาบาทนั้นหายไป มิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้น มิจฉาทิฏฐินั้นแปลว่าเห็นผิดละ รู้อะไรไม่จริงสักอย่าง เลอะๆเทอะๆเกิดขึ้น หยุดเสีย ไม่ช้าเท่าไรกะเดี๋ยวดับไป
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row1><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>นั่นแหละความโลภเกิดขึ้น อภิชฌาเกิดขึ้นให้ดับไปได้ อภิชฌาเกิดขึ้นชั่วขณะ อดเสียให้ดับไปได้ ฆ่าอภิชฌาตายครั้งหนึ่ง นั่นเป็นนิพพานปัจจัยเชียว จะถึงพระนิพพานโดยตรงทีเดียว ความพยาบาทเกิดขึ้น ให้ดับลงไปเสียได้ ไม่ให้ออก ไม่ให้ทะลุลวงออกมาทางกายทางวาจา
    ให้ดับไปเสียทางใจนั่นดับไป ให้ดับไปได้คราวใด คราวนั้นได้ชื่อว่าเป็นนิพพานปัจจัยเชียวหนา สูงนัก กุศลนี้สูง จะบำเพ็ญกุศลอื่นสู้ไม่ได้ทีเดียว

    ความหลงเกิดขึ้น มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เมื่อเห็นผิดเกิดขึ้น ทำใจหยุดนิ่งเสีย หยุดนิ่งเสีย ไม่ช้าเท่าไร ประเดี๋ยวเท่านั้น ความเห็นผิดดับไป นั่น เป็นนิพพานปัจจัยทีเดียว นี่ติดอยู่กับขอบนิพพานเชียวหนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row1><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ความอดทนติดอยู่กับขอบนิพพาน



    ความอดทนอันนี้แหละ ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มีละก็ ไม่มีในพระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็เป็นด้วยความอดทน นี่จะไปนิพพานได้ก็ไปด้วยความอดทนนี้ ถ้าอดทนไม่มีไปนิพพานไม่ได้


    อดทนต้องมีท่านะ

    อดทนเหลวไหลๆ เลอะๆเทอะๆ ก็ใช้ไม่ได้

    อดทนต้องมีท่า ถ้าอดทนมีท่าจะต้องอดทนอย่างไร

    เราทำสวนใกล้กันเป็นชาวสวนทำสวนใกล้กัน เขาก็ทำสวน เราก็ทำสวน แต่มันพอๆกันเสมอๆกัน เราก็อยากให้มันดีกว่าเขานะ ให้เขาแพ้เราให้ได้ อยากได้ดีกว่าเขา ให้เขาแพ้เราให้ได้ นั่นคืออภิชฌา อยากจะรุกเจ้าเสียมั่ง อยากจะทอนกำลังเจ้าเสียมั่ง ให้เรามีสมบัติดีกว่า คุณสมบัติดีกว่า เกิดขึ้นแล้ว

    ถ้าว่าจิตขยับขึ้นเช่นนี้ คิดท่านี้ อยากจะให้ดีกว่าเขานี้เป็นอภิชฌาแล้ว ที่นี้ก็มีพยาบาทอยู่ทีเดียว มีพยาบาทอยู่แล้ว มีพยาบาทแข่งอยู่แล้ว แข่งก็ยังสู้ไม่ได้ หาอุบายแล้ว พยาบาท หาอุบายแก้ไขให้เขาลดกำลังเสียให้ได้ นี่มีพยาบาทเข้าสนับสนุนแล้ว รักษาไอ้การงานของตัว ที่เรียกว่า อภิชฌา พยาบาท นั่นแหละให้หายไป คุมไว้เสมอ คุมไว้ นั้นมิจฉาทิฏฐิแท้ๆ เมื่อทำสวนใกล้กัน ไม่มีพยาบาทอภิชฌาก็ไม่มี พยาบาทไม่มี มิจฉาทิฏฐิก็ไม่มี

    เราอยากเจริญฉันใดให้เขาเจริญฉันนั้น เรารุ่งเรืองอย่างไรก็ให้เขารุ่งเรืองอย่างนั้น มี เมตตา รักใคร่ ปรารถนาอยากจะให้เขาเป็นสุข กรุณา อยากจะให้เขาทำงานน้อยๆ ให้ได้ผลมากๆ ให้เขาได้พ้นจากทุกข์ หากเขาได้ผลมากก็ยินดีเหมือนตัวได้ อย่างนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้ได้ชื่อว่าประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา

    เมื่อเขาถึงความวิบัติพลัดพรากอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ไม่สมน้ำหน้าว่าขอให้เขาอย่างวิบัติพลัดพรากเลย นึกในใจอยู่อย่างนี้ นี้เรียกว่า พรหมวิหาร

    เมื่อตั้งอยู่ในพรหมวิหารเช่นนี้แล้ว ได้ชื่อว่า ไม่มีอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิเข้าแทรกแซง ได้ชื่อว่าดำเนินตามร่องรอยของพระพุทธเจ้า พระอรหัตต์แล้ว แล้วที่ยังมีอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิอยู่ นั่นดำเนินตามร่องรอยพญามารแล้ว นี่ไม่ใช่ทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ นี่เป็นทางไปของมารเสียแล้ว อย่างนั้น คนอย่างชนิดนั้นรวยไม่ได้ มั่งมีไม่ได้ คนจะรวยได้จะมีได้ต้องประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ดังกล่าวแล้ว นั่นแหละเป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เป็นทางไปของพระแท้ๆ นี่เป็นภิกษุสามเณร จะทำกิจการอันใด ทำนา ทำสวน ทำราชการงานเดือน เล่าเรียนศึกษาใดๆ ต้องมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่อย่างนี้นะ รักษาตัวเพื่อจะกีดกันเสียซึ่ง อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ให้มันหมดสิ้นไปเสีย ถ้าไม่ ฉะนั้น ถ้าไม่ใช้อุบายทางใดทางหนึ่ง มันจะท่วมทับเราให้ได้ ต้องใช้ความอดทน อดทนต่ออภิชฌา อดทนต่อพยาบาท อดทนต่อมิจฉาทิฏฐิ อดทนต่ออภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ เป็นการตั้งอยู่ในขันติโดยปริยายอดทนต่อความโกรธที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน ระงับให้อยู่ในอำนาจเสียได้ นั่นได้ชื่อว่าขันติโดยตรงทีเดียว

    เหมือนพระเวสสันดรให้ทานสองกุมารไปแล้ว เป็นปุตตบริจาคไปแล้ว ชูชกแกมาตีลูกหน้าที่นั่งเข้าให้แล้ว พระองค์ก็ทรงขยับพระแสง ที่อยู่ข้างที่นั่งนั้นออกมาเป็นกอง แต่พระองค์ทรงสอดส่องด้วยพระปรีชาญาณ จนกระทั่งพระแสงที่ขยับออกมานั่นเข้าไปอยู่ที่เก่าเสียได้ หดกลับเข้าไป หดเข้าไปเสียอย่างเก่า ไม่เอาหละ ปล่อยกันที นี่มันหน้าที่ของเขา ไม่ใช่หน้ าที่ของเรา หน้าที่ของเรา ปุตตบริจาคของเราสำเร็จแล้ว นี่มันทำลายปุตตบริจาคของเรา เรายอมไม่ได้ ก็หดพระแสงกลับเข้าไปเสีย ไม่เป็นอันตรายแก่ชูชกแม้แต่นิดเดียว นี้ฉันใดก็ดี พระองค์ทรงอดกลั้นต่อความโกรธที่บังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เรียกว่า ขันติ โดยตรงทีเดียว ขันตินี่แหละเป็นตัวสำคัญนะ จะเป็นภิกษุ สามเณรที่ดีได้ก็ด้วยขันตินี่แหละ จะเป็นอุบาสกอุบาสิกาที่ดีได้ในธรรมวินัยของพระศาสดาก็ด้วยขันติความอดทนนี่แหละ รักษาเข้าไว้เถิด เลิศล้นพ้นประมาณทีเดียว เมื่อรักษาเอาไว้ได้แล้ว นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงรับสั่งว่า เป็นนิพพานอย่างยิ่ง ว่านิพพานนั่นแหละเป็นอย่างยิ่งทีเดียว นี่แหละขันตินี่เป็นตัวนิพพานหละ อดทนไม่ได้ไปนิพพานไม่ได้ อดทนได้ไปนิพพานได้

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    นิพพานนะอยู่อย่างไรกัน อยู่ที่ไหน เขาว่านิพพานอยู่ในใจ

    คำว่านิพพานนะ นิกฺขนฺตํ นิพฺพานํ

    ใจของเราออกจากกิเลสเครื่องร้อนได้เป็นตัวนิพพาน

    นี่นิพพานไม่อยู่กับใจเสียแล้ว ใจออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัดไปเสียแล้ว ใจออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัดไป ตัวใจที่ออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัดนั่นหรือตัวนิพพาน กิเลสเข้าไปเย็บร้อยอยู่นั่น หลุดออกเสียจากกิเลส ขาดออกไปเสียจากกิเลส นั่นหรือเป็นตัวนิพพาน นั่นเป็นตัวออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัด เมื่อออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว จึงจะไปสู่นิพพานอีกครั้งหนึ่ง
    นิพพานแยกออกเป็นสอง
    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


    นิพพานแยกออกเป็นสอง
    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    เหมือนพระพุทธเจ้า ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ว่า ขันธปัญจก ยังปรากฏอยู่ สั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่ ๔๕ ปี ในระหว่างนั้นเป็นสอุปาทิเสสนิพพานธาตุทั้งนั้น เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน



    ส่วน อนุปาทิเสสนิพพานละ
    เมื่อพระพุทธเจ้าครบอายุ ๘๐ พรรษาแล้ว ที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เดินสมาบัติทีเดียว ถึงกำหนดแล้วเข้าปรินิพพาน เดินสมาบัติ ปฐมฌาน...รูปฌาน...อรูปฌาน เดินถอยไปถอยมา นับครั้งนับหนไม่ถ้วน เมื่อสมควร ธรรมกายของท่านละเอียด สมควรแล้วก็ตกศูนย์มุบ พอตกศูนย์มุบ อายตนิพพานดึงดูดแล้ว เดี๋ยวโน่นธรรมกายของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ธรรม หายไปอยู่ในนิพพาน ศูนย์นั่นเข้าถึงกำเนิดนิพพาน กำเนิดนิพพานในกำเนิดนั้นมีว่าง ศูนย์เข้าไปตกอยู่ในนั้น กลับเป็นธรรมกายใหญ่มโหฬาร หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูมใส จะว่าเป็นธรรมกายที่โปรดสัตว์อยู่นี่หรือ ที่ไปนิพพานนั่นนะที่เข้านิพพานไปแล้ว นิพพานอยู่ข้างบน สูงจากภพสามนี่ขึ้นไปสามเท่าภพสาม โตเท่ากันกับภพสามนี่ สว่างเป็นแก้วไปหมดทั้งนั้น งดงาม โตเท่ากับภพสามนี่ แต่ว่า ตรงกลางนิพพานนะมีกำเนิด กำเนิดเหมือนกับกำเนิดของมนุษย์ ที่เดินสมาบัติเข้าไป เข้าไปถึงกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด รูปพรหม รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็นชั้นๆเข้าไป



    นั่นมี อายตนะ ทั้งนั้น
    มีอายตนะรองรับเป็นขั้นๆๆ เข้าไป จนกระทั่งถึงอรูปพรหมถึงธรรมกาย ธรรมกายก็มีอายตนะรองรับเป็นชั้นๆๆไป จนกระทั่งถึงธรรมกายละเอียด โสดา โสดาละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด มีอายตนะรองรับเป็นชั้นๆขึ้นไปทั้งนั้น มีอายตนะรองรับทั้งนั้นเป็นขั้นๆขึ้นไป ถึงธรรมกายอรหัตต์ อรหัตต์ละเอียดนั่นแหละ ในอาตนะของพระอรหัตต์ นั่นแหละ บริสุทธิ์ฉันใด นิพพานบริสุทธิ์ยิ่งกว่านั้น เป็นอายตนะอย่างนั้นพอไปถึงนิพพานก็เป็นธรรมกาย

    ธรรมกายที่เข้านิพพานไปนะ ธรรมกายองค์นี้ใช่ไหม ธรรมกายตกศูนย์แล้ว ดับไปแล้ว ตรงศูนย์นั้น ตกถึงศูนย์อายตนนิพพานก็กลับเป็ยธรรมกายใหญ่ยี่สิบวา สูงยี่สิบวา เกตุดอกบัวตูมใสนั่น จะเป็นธรรมกายใหม่ ไม่ใช่ธรรมกายเก่าหรือ ก็ถูก เป็นธรรมกายใหม่หรือ ก็ถูก ไม่ผิด ก็เอาธรรมกายเก่าไปไว้ที่ไหนเล่า ธรรมกายเก่าตกศูนย์เสียแล้ว ดับเสียแล้ว ตกศูนย์ดับธรรมกายเสียแล้ว กลับเป็นธรรมกายอีก ละเอียดกว่า สวยกว่าธรรมกายเก่านับเท่าไม่ถ้วน นั่นนิพพานอยู่โน่นนั่นเรียกว่า เมื่อพระพุทธเจ้าถึงอายตนนิพพานนั่นแล้ว อยู่ในนิพพานแล้วขณะใด ขณะนั้นเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน เข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพานเสียแล้ว ไม่ใช่สอุปาทิเสสนิพพานเป็นอนุปาทิเสสนิพพานทีเดียว เข้าไปอยู่ในอายตนนิพพานนั้น



    อายตนนิพพานนั้น เมื่อธรรมกายของพระพุทธเจ้ายังไม่ได้เข้าไปมีอยู่ไหมละ มีอยู่เรียกว่า อายตนนิพพาน บาลีบริหารตำรับตำราไว้ว่า อตฺถิภิกฺขเว ตทายตนํ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานเป็นอายตนะมีอยู่อันหนึ่ง แต่ว่า พระพุทธเจ้ายังไม่ได้เข้านิพพาน พระอรหันต์ยังไม่ได้เข้านิพพาน ก็เป็นอายตนะคอยรองรับอยู่ เหมือนอย่างกับตาของเรามีอยู่ ยังมิเห็นรูป รูปมันยังไม่มาถึง ตายังไม่มาถึงรูป รูปยังไม่ถึงตา ก็ไม่เห็นกัน ก็มีอายตนะอยู่แล้ว อายตนนิพพาน อายตนะคือหู เสียงมันยังไม่มาถึงก็ไม่ได้ยินกัน พอเสียงมาถึงก็ได้ยินกัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มีอายตนะเครื่องรับทั้งนั้น นี่เป็นอายตนะของโลกเขา


    อายตนนิพพานเป็นของละเอียด ละเอียดทีเดียว นั่นแหละ นิพพานที่พระพุทธเจ้าเข้าถึง ที่เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เข้าไปแล้วไม่กลับมานั่นแหละ นิพพานนั่นแหละได้ชื่อว่าเป็นอายตนะ อยู่อันหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เฉยๆ ไม่เรียกว่า พระนิพพาน ธรรมกาย ของพระสีธาตุราชกุมาร เข้าไปอยู่ในนิพพานนั้น เรียกว่า พระนิพพาน ธรรมกายนั่นเรียกว่า พระนิพพาน แต่ว่า นิพพานที่ยังเป็นเครื่องรองรับนั้น เรียกว่า อายตนนิพพาน หรือเรียกว่า นิพพาน เฉยๆ พระนิพพาน คือ พระเข้านิพพาน ให้รู้จักหลักอย่างนี้นะ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 8path.gif
      8path.gif
      ขนาดไฟล์:
      103.1 KB
      เปิดดู:
      76
    • 097.gif
      097.gif
      ขนาดไฟล์:
      38 KB
      เปิดดู:
      83
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้ ที่พระองค์รับสั่งว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งนิพพานว่าอย่างยิ่งอย่างนี้ พอไปถึงพระนิพพานเข้าแล้ว ด้วยความอดทน ด้วยความนิ่ง ด้วยความหยุด ด้วยความอดใจ นั่นแหละจึงเข้านิพพานได้ ถ้าไม่มีความอดทน ไม่มีความหยุด ไม่มีความนิ่งอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว เข้านิพพานไม่ได้ เข้านิพพานได้ ไปนิพพานได้ก็เพราะอาศัยความอดทน คืออดใจนั่นเอง เป็นความแผดเผาอย่างยิ่ง ชั่วไม่ได้เข้าไปเจือปน

    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต
    ยังเข้าไปฆ่าผู้อื่นอยู่ ยังเข้าไปฆ่าสัตว์อื่นอยู่เป็นนักบวชไม่ได้ ไม่เป็นนักบวชกับเขา เป็นบรรพชิตไม่ได้ ไม่เป็นบรรพชิตกับเขา ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่เป็นสมณะไม่ได้ เพราะยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ที่เป็นนักบวชได้เพราะไม่เข้าไปฆ่าผู้อื่น ที่เป็นสมณะได้เพราะไม่เบียดเบียนผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ นี่ท่านบอกตรงทีเดียว บอกตรงๆถ้าอยากเดินตรงๆ แล้วก็ง่ายนิดเดียว ทางพุทธศาสนาไม่มีเบียดเบียนเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าเลิกเบียดเบียนแล้ว นิหตสตฺถา นิหตทณฺฑา ไม่มีท่อนไม้ศัสตราในมือแล้ว ผู้ที่ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ถ้ายังมีปืนพก มีดพก ยังมีอาวุธติดมืออยู่แล้วก็ไม่ได้การ ไว้ใจไม่ได้ ((ตะกวด)sensor)ก็ไม่ไว้ใจ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    มีท่านดาบสผู้หนึ่ง แกได้ไปบิณฑบาตในบ้าน แกเหาะเหินเดินอากาศได้ วันหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ชาวบ้านเขาใส่แกงเหี้ ยมาถ้วยหนึ่ง มาฉันเข้ามันเอร็ดอร่อยจริง รุ่งขึ้นเช้าเอาชามไปส่งเขา ถามเขาว่าแกงอะไร แกงเหี้ย ว้า!หมายตัวจะฆ่าให้ตาย ไอ้เหี้ ยใหญ่ปฏิบัติเราอยู่ตัวหนึ่ง เราจะแกงกินได้ หลายวัน จะต้องฆ่าไอ้เหี้ยนั่นแกงกินเสีย ดาบสก็เอากระบองเหน็บไว้ในจีวรคลุมๆ เข้าไว้ เหี้ ยเข้ามาจะต้องตีให้ตายทีเดียวเพื่อแกงกิน เอาแล้วเหี้ ยออกมาจากปลวก มาดูกิริยามารยาทของพระผู้เป็นเจ้า ดูไม่ได้ วันนี้ปูตากิริยาแปลกประหลาดเหมือนอะไรเข้าสิงในตัว ไม่ไว้ใจตาดาบสเสียแล้ว ดูหน้าดูหลังเสียแล้วดาบสก็ทำหน้าตาปะหลับปะเหลือกอยู่ มองซ้ายมองขวา มันผิดปกติอยู่แล้วนี่ นี่สัตว์มันรู้นะ สัตว์ฉลาดมันรู้เทียวว่ามนุษย์จะมีกิริยาท่าทางอย่างไร มนุษย์มันมีผิด นี่ผิดปกติ กิริยาท่าทางเราก็รู้เหมือนกันแหละ แต่ทว่าไหวพริบชนิดนี้ มนุษย์ที่เข้ามาอยู่ด้วย มนุษย์พาลมนุษย์ขโมยก็รู้ มนุษย์คนซื่อก็รู้ ดูตานั่นแหละรู้ ตามันบอก ใจมันซื่อมันก็บอกว่ามันซื่อ คดมันก็บอกมันคด ดูเถอะตามันนั่นแหละ ไอ้ซื่อมันมองลูกตามันตรงกันมันไม่หลบหลีกกันหรอก มันไม่หลบตากัน ไอ้นั่นซื่อหละ ซื่อตรงๆ ซื่อๆ ถ้าตามันคอยหลบอยู่ละไม่ได้ ไอ้นี่ตอแหล ปะหลับปะเหลือกอยู่แล้วไม่ได้การหละ ตามันไม่ตรงกับเราไอ้ชนิดนี้ ถ้าเหลี่ยมโกงมีตาก็ไม่ตรงกันเสียแล้ว ชนิดนั้นต้องออกห่างนะ ถ้าตามองไม่ตรงกันละก็ ออกห่างเทียว ถ้าจะอยู่ใกล้กันแล้วตาต้องตรงกัน ถ้าตาปะหลับปะเหลือกมัวซ่อนตาอยู่ไม่ได้หละ เพลี่ยงพล้ำมันขโมยป่นปี ้นะ นั่นควรระวังไว้นะ

    นี่เมื่อจับหลักตรงนี้ได้แล้วก็นั่นแหละ มหาโคธา เห็นตาดาบส ว่าไม่ได้การทีเดียว กิริยามารยาทตาปะหลับปะเหลือกทีเดียว ผิดปกติ เหี้ยคอยระวังตัว พอเพลี่ยงพล้ำ ไอ้เหี้ยเข้ามาใกล้ดาบสก็จะฆ่าเหี้ย เหี้ยมันคอยระวังอยู่นี่ พอได้ท่าดาบสก็เอากระบองแล่นผลุงเข้าไปให้ เหี้ยมันก็หลบไปเสีย ลงดินติดอยู่กับดินนั่น เหี้ยปรูดเข้าโพรงไปแล้ว เข้าปล่องไปแล้ว เรียกเหี้ยออกมา เหี้ยก็บอกว่า ออกมาได้อย่างไรละ ไม้พลองมันอยู่ในมือนะ นั่นแน่ไอ้ไม้พลองอยู่ในมือ ไม่ได้การเอาจริงไอ้นี่ เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็ดี ทั้งหญิง ชาย คฤหัสถ์ บรรพชิตไม่ว่า ถ้านักบวชก็เหมือนกัน ยังมีเก็บศัสตราอาวุธกันอยู่แล้วก็ไม่ได้ นักบวชจอมปลอมอยู่แล้วก็ไม่ได้การหละ มีดพกมีดอะไรเก็บใส่หีบใส่ตู้ซ่อนเร้นไว้ อะไรต่างๆ นานาเหล่านี้นะไม่ได้ นักบวชเหล่านั้นไม่ได้ ยังจอมปลอมอยู่ ไม่ใช่นักบวชจริงหรอก นักบวชโกงต้องรีบแก้ไขไม่แก้ไขไม่ได้ เป็นพระเป็นเณรไม่เข้าใจ ให้สึก เป็นอุบาสกอุบาสิกา ไม่เข้าใจ ซ่อนอาวุธอยู่แล้วก็ไม่ได้ นิหตสตฺถา นิหตทณฺฑา ไม่มีศัสตราและท่อนไม้ในมือแล้วมือเปล่าแล้ว นี้เขาเรียกว่ามันคายงวงแล้ว ปล่อยแล้ว ปล่อยไม่เอาธุระแล้ว อย่างนี้เรียกว่าใช้ได้หละ ตาก็ตรงแล้ว ไม่ปะหลับปะเหลือกแล้ว อย่างนี้ใช้ได้ นี่ตัวอย่างนะ ถ้าว่าใครเป็นเช่นนี้แล้วเลิกเสียนะ เป็นภิกษุสามเณรเลิกเชียว ไอ้ซ่อนเร้นอาวุธอย่างนี้นะมันยังเป็นคนร้ายอยู่ในตัว อุบาสกอุบาสิกาก็เลิกเสียนะ มันเป็นคนร้ายอยู่ในตัวมัน ต้องแก้ไขมันเสียทีเดียว ถ้าแก้ไขมันได้แล้ว มันเชื่อเราแล้วละก็ได้ชื่อว่าไม่เข้าไปฆ่าสัตว์อื่นแล้ว ไม่เบียดเบียนผู้อื่นแล้ว แน่หละไว้ใจได้ ถ้ามันยังมีอาวุธอยู่ละก็ยังไว้ใจไม่ได้ มันจะต้องไปฆ่าสัตว์อื่น ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไว้ใจมันไม่ได้ ตัวของเราเองแหละ ไม่ต้องไปตัวคนอื่นหละ ไว้ใจมันไม่ได้ ตีหัวมันเปก หรือตบตัวมันเปกหรือผางเข้าไปให้ค่อยๆ มันก็พอจะทนได้ ถ้าว่ามันหน้ามืดขึ้นมาละก็ เขาว่าเห็นช้างเท่าหมู เทียวนะ มันโกรธขึ้นมาแล้วละก็เล็กโตไม่ว่า เอาทีเดียวแหละ มันไม่กลัวกันหละ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ คอยดูตัวของตัวไว้ มันจะเพลงโกงตัวเองอยู่อย่างไรละก็แก้ไขมันเสีย ถ้าว่ามันยังเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ มันยังจะฆ่าผู้อื่นอยู่ มันจะเข้าไปฆ่าผู้อื่นอยู่ เข้าไปเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ จะเรียกว่านักบวชที่ดีไม่ได้ จะเรียกว่าสมณะไม่ได้ จะเรียกว่าบรรพชิตไม่ได้ ใช้ไม่ได้ทีเดียว เหตุฉะนั้น ต้องเลิกพวกเหล่านี้เสียให้ขาด ใจจะเป็นนักบวชที่ดี ทำธรรมะให้เป็นขึ้น ทำใจให้อยู่กับที่ ทำธรรมะเรื่อยๆไป นั่นแหละเป็นนักบวชที่ดีได้ เป็นอุบาสก อุบาสิกาที่ดีได้ในพระพุทธศาสนา


    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมัตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา เอเตนส จฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทาโสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ฯ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘
    ๑. นิพพานสูตรที่ ๑

    [๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
    ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย
    ธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว
    น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่
    ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
    พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
    จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
    นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ


    จบสูตรที่ ๑

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๙๗๗ - ๓๙๙๒. หน้าที่ ๑๗๕.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 19564.jpg
      19564.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.6 KB
      เปิดดู:
      68
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2015
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER>คารวสูตรที่ ๒</CENTER><CENTER> [๕๖๒] สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กล่าวนิคมคาถาอีกว่า พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้า ทั้งหลายเหล่าใดที่ยังไม่มีมาก็ดี และพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ ใดในบัดนี้ผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดี พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัทธรรม อยู่แล้ว ยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นธรรมดาของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักตน หวังความเป็นผู้ใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรม ฯ<CENTER></CENTER>
    </CENTER><CENTER> </CENTER></PRE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...