โรคปวดหลังและคอ

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย lekgunner, 15 เมษายน 2008.

  1. lekgunner

    lekgunner เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    777
    ค่าพลัง:
    +2,693
    บรรเทาปวดหลัง ดูแล"เสาหลัก"ร่างกาย



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>คนในวัยผู้ใหญ่ถึงร้อยละ 80 ต้องทรมานจากการปวดหลัง โดยทั่วไปมักจะหายไปเองภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ แต่ในกรณีร้ายแรงก็อาจกินระยะเวลานาน และทรมานอย่างยิ่ง

    เหตุผลหนึ่งที่ทำให้อาการปวดหลังนั้นหายยาก เนื่องจาก "หลัง" เปรียบเสมือน "เสาหลัก" ของร่างกาย โดยมีกล้ามเนื้อหลัง และเส้นเอ็นต่างๆ ทำหน้าที่รับน้ำหนักส่วนใหญ่เรียกว่าทุกการเคลื่อน ไหวล้วนเกี่ยวข้องกับหลังทั้งสิ้น

    น.พ.นันทเดช หิรัณยัญษฐิติ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์ เนชั่น แนล กล่าวในงาน Health Roadshow กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องโรคเกี่ยวกับอาการปวดหลังและคอ ว่า แท่งกระดูกสันหลังประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังเรียงตัวซ้อนๆ กันมากกว่า 30 ปล้องเกิดเป็นช่อง ซึ่งล้อมรอบ และปก ป้องไขสันหลัง และมีเส้นประสาทโยงใยเข้าออกจากไขสันหลังผ่านทางช่องกระดูกสันหลัง

    กระดูกสันหลังแต่ละปล้องถูกยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นต่างๆ โดยระหว่างกระดูกแต่ละปล้องนั้นจะมี "หมอนรอง" ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับแรงกระแทกไม่ให้กระดูกแต่ละปล้องกระทบกันเมื่อเดินหรือกระโดด

    สาเหตุของโรคปวดหลังและคอ เกิดจากหลังส่วนล่างเป็นบริเวณที่รับน้ำหนักของร่างกายมากที่สุด และเกิดอาการปวดบ่อยที่สุด อาการปวดหลังโดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลังหรือกล้ามเนื้อที่คอยพยุงหลัง และจะปวดขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในหลายๆ กรณี อาการปวดอาจรักษาได้ภายในเวลาไม่กี่วันด้วยการรับประทานยาแก้ปวด เช่น lbuprofen ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายจากอาการปวดเล็กๆ น้อยๆ ได้ภายใน 2 สัปดาห์ด้วยการบำบัดเพียงเล็กน้อย

    ในกรณีที่อาการปวดคงอยู่เป็นเวลาเกินกว่า 4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมเพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง ส่วนมากแล้ว ประมาณร้อยละ 80 ของโรคปวดหลังจะมีสาเหตุมาจากอาการหลังตึง

    ส่วนสาเหตุอื่นๆ มีดังนี้ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือหกล้ม หมอนรองกระดูกเสื่อม อันเป็นผลมาจากกระดูกอ่อนที่หุ้มกระดูกสันหลังแต่ละปล้องเกิดการฉีกขาด ภาวะข้อเสื่อม/ช่องไขสันหลังตีบ ภาวะติดเชื้อที่กระดูกสันหลังทำให้สันหลังแข็งขาดความยืดหยุ่น กระดูกสันหลังเคลื่อน และสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น มะเร็ง นิ่วในไต หรือภาวะติดเชื้อต่างๆ

    ทั้งนี้ แพทย์จะซักถามเพื่อประเมินสาเหตุของอาการปวด ประวัติด้านความเจ็บป่วย และการผ่าตัดของทั้งคุณและสมาชิกในครอบครัว ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยถึงต้นตอของอาการปวด และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อกิจวัตรประจำวันได้ สำหรับกรณีที่มีอาการปวดรุนแรง แพทย์อาจต้องวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์ และการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ภาพตัดขวาง (CT Scans) <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    การรักษา โรคปวดหลังและคอส่วนใหญ่อาจรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องใช้วิธีที่ซับซ้อนนัก เพียงพักผ่อนประมาณ 2-3 วัน รับประทานยาแก้อักเสบร่วมกับการประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม และลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อก็จะดีขึ้นได้ภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนอาการปวดหลังเรื้อรัง แพทย์จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาที่ครอบคลุมหลายด้านมากขึ้น โดยอาจรวมการทำกายภาพบำบัด และการจัดการความปวดเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาด้วย

    ในภาวะปกติกระดูกสันหลังจะมีความยืดหยุ่น และโค้งงอได้ แต่การบาดเจ็บที่หลัง และภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลังแข็ง ขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้ปวดรุนแรง และเรื้อรัง ซึ่งในกรณีนี้แพทย์อาจทำการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังให้ผู้ป่วย

    การป้องกัน ในกรณีที่คุณไม่มีอาการปวดหลังและคอ การบริหารร่างกายที่ช่วยยืดและสร้างความแข็งแรงให้กับหลังเป็นการดีที่สุดที่ช่วยให้หลังของคุณมีสุขภาพดี เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและปวดบริเวณหลังน้อยลง ท่าบริหารต่อไปนี้ทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษใดๆ

    การปรับท่าทางให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพหลัง เวลายกของ ให้ย่อเข่าเพื่อยกโดยพยายามให้หลังตรงเสมอ ไม่ควรโน้มตัวลง เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง แล้วยกโดยใช้กล้ามเนื้อขา ยืดเข่าขึ้น ยืนให้มั่นคง พยายามอย่ายกของหนักซึ่งตั้งอยู่สูงกว่าระดับเอว ยกของโดยให้ของอยู่ชิดตัวเพื่อกระจายน้ำหนัก และเมื่อจะวางของให้ย่อเข่าลง ใช้กล้ามเนื้อขาอย่าให้หลังงอ

    ส่วน การนอน ไม่ควรวางหมอนไว้ใต้ไหล่ วางหมอนไว้ใต้ศีรษะอย่าให้หมอนหนาเกินไป พยายามนอนในท่าที่หลังโค้งได้อย่างเป็นธรรมชาติ อย่านอนคุดคู้ ไม่ควรนอนคว่ำ เพราะจะทำให้คุณเมื่อยคอและหลัง เลือกที่นอนที่ดีต่อสุขภาพหลัง อย่าให้นุ่มจนเกินไป

    "การดูแลและเอาใจใส่ต่อสุขภาพที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด" น.พ.นันทเดช กล่าวทิ้งท้าย
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ขอขอบคุณสาระดีดีนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...