เรื่องเด่น แห่กราบไหว้”หลวงปู่มั่น”หลังยูเนสโกยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b89ae0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89be0b8b9e0b988e0b8a1e0b8b1e0b988e0b899.jpg
    สกลนคร-พุทธศาสนิกชนเดินทางไปกราบไหว้สักการะหลวงปู่มั่นอย่างต่อเนื่อง บรรยากาศวัดป่าภูริทัตตถิราวาสเริ่มกลับมาคึกคัก หลังยูเนสโกยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก

    เมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่วัดป่าภูริทัตตถิราวาส (วัดป่าบ้านหนองผือ) บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร มีประชาชนเดินทางไปกราบไหว้สักการะหลวงปู่มั่นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปีนี้ครบรอบ 150 ปีชาตกาลของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกทั้งยูเนสโกยังประกาศให้พระอาจารย์มั่นเป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ ทำให้บรรยากาศที่วัดป่าภูริทัตตถิราวาสเป็นไปอย่างคึกคัก

    b89ae0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89be0b8b9e0b988e0b8a1e0b8b1e0b988e0b899-1.jpg
    ยายวิไล สุพนทวนิช อายุ 77 ปี ผู้ที่อยู่อาศัยใกล้บริเวณวัดป่าบ้านหนองผือ กล่าวว่า เกิดทันช่วงที่หลวงปู่มั่นมรณภาพ เห็นแต่คนหามหลวงปู่มั่นผ่านทุ่งนาไป แต่ตอนนั้นยังเป็นเด็กน้อยก็กลัวเลยไม่ได้ตามไปดู

    ขณะที่ ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตในวาระที่มีชาตกาลครบ 150 ปี ใน พ.ศ. 2563 เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำวาระปี 2563-2564 นับเป็นพระอริยสงฆ์รูปที่ 3 ของประเทศไทย นับตั้งแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และท่านพุทธทาสภิกขุ เนื่องจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คือหนึ่งในพระวิปัสสนาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย เป็นผู้มีปฏิปทาสันโดษ มักน้อย แสวงหาความวิเวก และปรารภความเพียรตั้งแต่วันแรกบรรพชา-อุปสมบทจวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต เรียกได้ว่าครบถ้วนสมบูรณ์แบบ

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระเถรานุเถระสายวิปัสสนากรรมฐานที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยให้ความเคารพนับถือ นามของท่านได้รับการกล่าวถึงทั้งในขณะที่ท่านยังมีชีวิตดำรงอยู่ และละสังขารขันธ์ไปแล้ว เนื่องด้วยท่านเป็นผู้นำในการฟื้นฟูวงการพระพุทธศาสนาของประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในช่วงสมัย กึ่งพุทธกาลนี้

    b89ae0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89be0b8b9e0b988e0b8a1e0b8b1e0b988e0b899-2.jpg
    ทั้งนี้ ยังเป็นผู้นำกองทัพธรรมเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไปยังพุทธศาสนิกชนชาวไทยอันยังผลให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการพระพุทธศาสนาในทางที่ถูกต้องดีงาม และในโอกาสอันเป็นมงคล ในวันที่ 20 มกราคม 2563 เป็นวาระครบรอบ 150 ปีชาตกาลของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    วัดป่าภูริทัตตถิราวาส หรือวัดป่าบ้านหนองผือ เป็นวัดที่สำคัญมากวัดหนึ่งในสายวัดป่ากัมมัฏฐาน ถ้าดูตามแผนที่วัดนี้จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจ.สกลนคร และตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอ.พรรณานิคม แต่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของหมู่บ้านหนองผือ เริ่มแรกสถานที่แห่งนี้เป็นป่าพงดงดิบ อันเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์นานาชนิดอาทิ เสือ หมี อีเก้ง กวาง หมูป่า สัตว์เลื้อยคลาน มีแลนและงูชนิดต่าง ๆ สัตว์ปีกมีนกเกือบทุกชนิด นอกจากนั้นยังชุกชุมไปด้วยเชื้อไข้ป่ามาลาเรียเป็นอันมาก

    ต่อมาสถานที่แห่งนี้มีผู้เข้าไปหักร้างถางพง ทำเป็นไร่ปลูกพริกปลูกฝ้าย แล้วจับจองหมายเอาเป็นที่ของตนเอง บางคนจับจองแล้วทำไม่ไหวก็ปล่อยทิ้งให้รกร้างอยู่เป็นเวลานานหลายปี จนป่าเกิดขึ้นมาใหม่ เพราะที่ป่าสมัยนั้นมีเป็นจำนวนมาก จะเลือกจับจองหมายเอาที่ป่าตรงไหน ที่ชอบใจก็ย่อมได้หากใครมีกำลังพอก็มีมากภายหลัง พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ท่านธุดงค์หาที่วิเวกอยู่แถวบริเวณนี้ ต้องการที่จะสร้างที่พักสงฆ์สักแห่งหนึ่งที่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากนัก

    b89ae0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89be0b8b9e0b988e0b8a1e0b8b1e0b988e0b899-3.jpg
    เมื่อท่านหาที่พักสงฆ์ชั่วคราวได้แล้ว ก็มีพระภิกษุสามเณรเดินธุดงค์สัญจรผ่านไปมาเข้าพักพิงพึ่งพาอาศัยอยู่ไม่ขาดสาย มาภายหลังสถานที่แห่งนี้จึงได้กลายเป็นที่พักสงฆ์และสำนักสงฆ์ถาวรตามลำดับ จนกระทั่งได้พัฒนามาเป็นวัดโดยสมบูรณ์ ตอนแรกให้ชื่อว่า “วัดสันติวนาราม”

    ต่อมาหลังจากหลวงปู่มั่น มรณภาพแล้ว (พ.ศ. 2492) พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโร) วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฑลในเขตนี้ และเป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ได้เล็งเห็นความสำคัญในสถานที่แห่งนี้อันเป็นสถานที่ที่หลวงปู่มั่น เคยพำนักจำพรรษาอยู่เป็นเวลาถึง 5 ปีติดต่อกัน ท่านจึงดำริให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่เชิดชูบูชาคุณให้สอดคล้องกับนามฉายาของหลวงปู่มั่น อันเป็นมงคลนามว่า “วัดภูริทัตตถิราวาส” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    b89ae0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89be0b8b9e0b988e0b8a1e0b8b1e0b988e0b899-4.jpg
    b89ae0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89be0b8b9e0b988e0b8a1e0b8b1e0b988e0b899-5.jpg
    b89ae0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89be0b8b9e0b988e0b8a1e0b8b1e0b988e0b899-6.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/607668
     

แชร์หน้านี้

Loading...