แนะนำ ฌาน 4,5 และแนวทาง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย phuang, 3 สิงหาคม 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE borderColorDark=#f3f3f3 width="80%" borderColorLight=#f3f3f3 border=1><TBODY><TR bgColor=#6699ff><TD class=white10bc width="100%">Religion : แนะนำ ฌาน 4,5 และแนวทาง</TD></TR><TR><TD style="MARGIN-LEFT: auto; WIDTH: 99%; COLOR: #000000; MARGIN-RIGHT: auto" width="100%" bgColor=#ffffff>พระพุทธเจ้าสอนให้เราเริ่มจาก ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
    1. ทาน คือรู้จักการให้ เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนี่ยวหรือละความโลภก่อน
    2. ศีล คือ การไม่เบียดเบียนกัน
    3. สมาธิ คือ การฝึกจิตตั้งมั่นในการบำเพ็ญเพียรภาวนาจนเกิดฌาน
    4. ปัญญา คือ การหยั่งรู้ แล้วจะเกิดฌาน



    การจะรู้ถึง ฌาน เป็นอย่างไร สิ่งที่ควรรู้ก่อนคือ
    - สมถะ แปลว่า ความสงบ กาย วาจา ใจ
    - วิปัสสนา แปลว่า การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง
    - กรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่
    รวมกันได้ สมถะวิปัสสนากรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่เพื่อเกิดความสงบทาง กาย วาจา ใจ เป็นการทำปัญญาให้เห็นแจ้ง


    องค์ประกอบของฌาน ได้แก่
    วิตก : คือ ยังภาวนาบทบริกรรมอยู่
    วิจาร : คือ การคิดถึงบทบริกรรม และรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่
    ปิติ : มีอาการ 5 อย่างคือ ขนลุก น้ำตาไหล ตัวโยก ตัวลอย ตัวหรือส่วนใดๆของร่างกายขยายใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง (อาจมีเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง)
    สุข : จิตที่อิ่มในอารมณ์
    เอกัคคตารมณ์ : จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน
    อุเบกขา : การวางเฉย


    ฌานนั้นมี 4 รูปฌาน และ 4 อรูปฌาน รวมกันเราเรียกว่า สมาบัติ 8 และอุปสรรคขวางกั้นฌานคือ นิวรณ์ 5

    นิวรณ์ 5 คือ กิเลสที่เกิดขึ้นกับอายตนะ
    อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    นิวรณ์ 5 ได้แก่
    1.หมกมุ่นกามารมณ์ ลุ่มหลงความรัก
    2.โกรธเกลียด อาฆาต พยาบาทเครียดแค้น
    3.ซึมเซา เหงาหงอย หาวนอน
    4.ฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ รำพึงรำพัน
    5.ลังเล สงสัย เชื่อ ไม่เชื่อ


    ฌานหนึ่งหรือปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์

    ฌานสองหรือทุติยฌาน จะมีเพียงแค่ ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์

    ฌานสามหรือตติยฌาน จะมีเหลือเพียง สุข กับ เอกัคคตารมณ์

    คนเราส่วนมากมักจะติดอยู่ในฌานสาม จะมีแต่สุขกับเอกัคคตารมณ์ หรือจิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เมื่อสุขแล้วก็ไม่อยากคิดอะไร จึงติดอยู่ในสุขไปไหนไม่ได้ ฌานหนึ่งถึงฌานสามเรียกว่าสมถะกรรมฐาน คือ ความสงบในกาย วาจา ใจ ถือเป็นสมถะกรรมฐาน เราต้องใช้วิปัสสนาด้วย วิปัสสนาคือ การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง เมื่อจิตสงบอยู่ในฌานสาม ให้รีบพิจารณา พิจารณาอะไร พิจารณาพระไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

    ทุกขัง คือ ภาวะที่ทนได้ยาก หรือความเป็นทุกข์ หรือ เกิดทุกข์
    อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน

    พระพุทธเจ้าทรงถามพระอานนท์ว่า อานนท์เธอคิดถึงความตายอย่างไร พระอานนท์ตอบว่า คิดถึงทุกวันเลยพระองค์ท่าน พระพุทธเจ้าก็ทรงเฉย พระอานนท์ก็ตอบอีกว่า คิดถึงวันละ 3 เวลาเลยพระองค์ท่าน พระพุทธเจ้าทรงส่ายพระพักตร์ ตรัสว่า เธอควรคิดถึงความตาย ทุกลมหายใจเข้าออก เพื่อความไม่ประมาท


    ในเมื่อเรารู้แล้วว่า เราหนีความตายไปไม่พ้น ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง แล้วเราจะโลภ จะโกรธ จะหลงไปทำไม เมื่อจิตไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่อยาก ก็จะเข้าสู่อุเบกขา คือการวางเฉย


    ฌานสี่หรือจตุตถฌาน มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างคือ อุเบกขา และเอกัคคตารมณ์

    ฌานห้าหรืออรูปฌานหนึ่ง เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ ฌานที่ไม่มีรูป สังขาร ร่างเหมือนอากาศที่ว่างเปล่า เมื่อได้ฌานสี่หรือจตุตฌาน เราสามารถถอดกายได้ วิธีการถอดกายอย่าถอดกายออกจากฐานกระหม่อมเบื้องบน เพราะถ้ากายทิพย์ลอยออกจากกระหม่อม เราก้มลงมาเห็นกายหยาบนั่งอยู่จะตกลงมาทันที ให้พยายามถอดกายออกจากด้านข้าง หรือทางด้านหน้า ถอดออกแล้วอย่าไปไหน ให้พยายามมองดูตัวเองที่นั่งสมาธิอยู่ มองดูกายหยาบจนเห็นชัด เห็นแล้วให้รีบพิจารณาอสุภกรรมฐาน มองดูตั้งแต่ เส้นผม หนังศีรษะ กะโหลก มันสมอง เส้นขน ผิว หนัง เนื้อ กระดูก ซี่โครง หัวใจ ตับไต ไส้พุง มองพิจารณาให้เห็นเป็นอสุภกรรมฐาน มองจนสลายกลายเป็นเถ้าถ่านไป เรียกว่า ฌานห้าหรืออรูปฌานหนึ่ง

    ฌานหกหรืออรูปฌานสอง เรียกว่า วิญญาณัญจายตนะ ให้พยายามมองดูที่ดวงจิตที่ใส เหมือนดวงแก้ว มองจนดวงจิตนั้นหายไปเรียกว่า วิญญานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณ

    ฌานเจ็ดหรืออรูปฌานสาม เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ ให้มองที่กาย มองดูที่จิตพร้อมกันทั้งสองอย่างมองจนกระทั่งหายไปทั้งกายและดวงจิต เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ ไม่มีกาย ไม่มีจิต

    ฌานแปดหรืออรูปฌานสี่ เรียกว่า เนวะสัญญานาสัญญายตนะ กายทิพย์นั้นจะกลับเข้าสู่ร่างเดิม แต่จะชาหมด ลมหายใจเหลือแผ่วๆ เบามากจนแทบไม่มีการหายใจ ไม่รับรู้อะไรทั้งหมด ชาไร้ความรู้สึกเหมือนท่อนไม้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    ฌาณ 5 ไม่มีรูปกายแล้วครับ(ในความรับรู้) ไม่ว่ารูปหยาบ หรือรูปทิพย์ ไม่รับรู้เลยว่ามีอยู่ รู้แต่ความว่างอันเวิ้งว้าง เหมือนว่าในจักรวาลนี้ ไม่มีสสาร แสง สี ใดๆ เลย

    ฌาณ 6 เพ่งวิญญาณครับ (ธาตุรู้) วิญญาณธาตุรู้ชัดแจ๋วในความรู้สึก อันเป็นสภาวธรรมที่ไม่มีนิมิตหมายใดๆ ไม่มีขอบเขตใดๆ รู้ในธาตุรู้อันเป็นนามธรรมล้วน
     

แชร์หน้านี้

Loading...