แนวทางปฏิบัติและสอนธรรม๑๑ประการของหลวงปู่มั่น โดยหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 24 ตุลาคม 2013.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    [​IMG]



    หลวงปู่กงมา ได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและสอนธรรม
    เป็นหลักธรรมที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตได้วางเอาไว้ ซึ่งหลวงปู่กงมา
    ก็จดจำได้อย่างขึ้นใจคือธรรม ๑๑ ประการ อันได้แก่..


    ๑.) การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปาทานเป็นหลัก


    ๒.) การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทำเฉย ๆ
    ให้มันถ่ายถอนเอง


    ๓.) เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้น ต้องสมเหตุสมผล
    เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ
    ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ธรรมทั้งหลายดับไปเพราะเหตุ
    พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้


    ๔.) เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอนอุปาทานนั้น
    มิใช่มีเหตุและไม่สมควรแก่เหตุ ต้องสมเหตุสมผล


    ๕.) เหตุ ได้แก่ สมมติบัญญัติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น
    เริ่มต้นด้วยการสมมติตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้ว
    ก็ไปหลงคนอื่น หลงว่าเราสวยแล้ว จึงไปหลงผู้อื่นว่าสวย
    เมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้ว ก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัว
    กลับกลายเป็นราคะ โทสะ โมหะ


    ๖.) แก้ เหตุ ต้องพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    ด้วยสามารถแห่งกำลังของสมาธิ เมื่อสมาธิชั้นต่ำ การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นต่ำ
    เมื่อเป็นสมาธิชั้นสูง การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นสูง แต่อยู่ในกรรมฐาน ๕


    ๗.) การ สมเหตุสมผล คือคันที่ไหนก็ต้องเกาที่นั่นจึงจะหายคัน
    คนติดกรรมฐาน ๕ หมายถึงหลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันตรงนี้
    ถ้าไม่มีหนังคงจะวิ่งกันแทบตาย เมื่อหลงกันที่นี่ ก็ต้องแก้กันที่นี่
    คือเมื่อกำลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริง เกิดความเบื่อหน่าย
    เป็นวิปัสสนาญาณ


    ๘.) เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์
    ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปิทุกข์ พยาธิปิทุกข์ มรณัมปิทุกข์
    ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน ๕ เป็นต้น
    ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้ว ตายแล้ว จึงได้ชื่อว่า พิจารณากรรมฐาน ๕
    อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณาตัวทุกข์จริง ๆ


    ๙.) ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมั่นจึงเป็นทุกข์
    เมื่อพิจารณาละได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง
    สมคำว่า รูปสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺญายปิ นิพฺพินฺทติ
    สงฺขาเรปิ นิพฺพินฺทติ วิญฺญาณสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ
    เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน ๕) เป็นต้น แล้วก็คลายความกำหนัด
    เมื่อเราพ้น เราก็ต้องมีญาณทราบชัด ว่าเราพ้น


    ๑๐.) ทุกขนิโรธ ดับทุกข์ เมื่อเห็นกรรมฐาน ๕ เบื่อหน่ายได้จริง
    ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เช่นเดียวกับ ท่านสามเณรสุมนะ
    ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศีรษะ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์


    ๑๑.) ทุกข คามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือการเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ
    ปัญญาเห็นชอบ เห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    การเห็นจริง แจ้ง ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งสัมมาทิฐิ ไม่หลงคติสุข
    มีสมาธิเป็นกำลัง พิจารณากรรมฐาน ๕ ก็เป็นองค์มรรค


    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 164.jpg
      164.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41 KB
      เปิดดู:
      2,885
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 ตุลาคม 2013
  2. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..นั่นไง พี่เสขะผมมีดี มักจะเอาไว้ชมคนเดียวเสมอ..อะไรเป็นปัจจัยให้เกิด..อุปทาน..อุปทานเป็นปัจจัยให้เกิดอะไร..อีกในห่วงโซ่ ปฏิจจสมุปบาททั้ง12ห่วง ..
    คนขี้เหนียวธรรม มักไม่ยอมแบ่งปัน เก็บซ่อนธรรม จะเป็นเศรษฐีธรรมอีกคนละซิ
    เราชี้ธรรม จี้ธรรม ของเศรษฐีธรรม ใครจะมองเห็นเหมือนเรารึไม่ หรือเข้าใจในธรรมรึไม่ ตัวใครตัวมันครับ สาธุ
     
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023

แชร์หน้านี้

Loading...