แนวทางการพิจารณา พระซ่อม-พระตกแต่ง

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คนไม่พิเศษ, 23 มีนาคม 2008.

  1. คนไม่พิเศษ

    คนไม่พิเศษ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    476
    ค่าพลัง:
    +32
    http://matichon.co.th/khaosod/view_...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdNeTB5TXc9PQ==

    แนวทางการพิจารณา พระซ่อม-พระตกแต่ง

    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

    โดย ราม วัชรประดิษฐ์




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    การจะตัดสินใจจะเช่าบูชาพระเครื่องเก่าแก่สักหนึ่งองค์ ยิ่งถ้ามูลค่าสูงๆ ด้วยแล้ว คงต้องมีการพิจารณากันอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลังว่าเป็นพระเก๊บ้าง พระซ่อมบ้าง โดยเฉพาะพระเครื่องที่มีอายุยาวนานมากๆ ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่องค์พระอาจเกิดการแตกหักหรือชำรุด ซึ่งจะทำให้มูลค่าลดลงไปตามส่วน "พันธุ์แท้พระเครื่อง" จึงขอนำ "แนวทางการพิจารณาพระซ่อม-พระตกแต่ง" มาให้เรียนรู้กันพอสังเขปจะได้ไม่โดนหลอกง่ายๆ ครับผม

    การซ่อมพระในวงการพระเครื่อง พระบูชา เริ่มมีเป็นอาชีพมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2490 ต่อมาแพร่ขยายออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการพัฒนาถึงขั้นดูไม่ออกเลยว่า เป็นพระที่ผ่านการซ่อมมาแล้วก็มี ขนาดเอากล้องส่องยังไม่พบร่องรอยการซ่อมว่าอยู่ตรงไหน จะรู้กันเพียงเจ้าของพระกับช่างซ่อมเท่านั้น ยิ่งในกรณีที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจ ยังไม่มีการชำระค่าเช่าบูชาแก่เจ้าของพระ ยิ่งเป็นการลำบากที่จะนำพระมาล้าง เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับเจ้าของพระได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่มีคุณค่าสูง มูลค่าสูง และหายากด้วยแล้ว
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ข้อแนะนำประการแรกคือ ให้นำองค์พระไปที่ "แผนกรังสีวิทยา" ของโรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่ง เพื่อให้ทำการ "เอกซเรย์" เพราะรอยหักรอยซ่อมจะปรากฏชัดขึ้นตามฟิล์ม อันเป็นบทพิสูจน์อย่างหนึ่งว่าพระหักเป็นสองชิ้น ถึงแม้จะซ่อมยอดเยี่ยมเพียงใด ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อให้เป็นเนื้อเดียวกันได้ ด้วยอายุขัยของเนื้อมวลสารและรอยประสานที่แตกต่างกัน และกลายเป็นหลักปฏิบัติมาถึงปัจจุบัน แต่ในบางกรณีที่องค์พระเกิดการกะเทาะ ช่างซ่อมจะตกแต่งให้สมบูรณ์ขึ้น อันนี้ ถ้าช่างฝีมือเยี่ยมจริงๆ จะดูได้ยากมาก ถ้านำพระไปเอกซเรย์ตามปกติคือวางพระในแนวราบธรรมดา เพราะฉะนั้นจะต้องวางองค์พระในแนวตะแคงทำมุม 15 องศา จึงจะสังเกตเห็นได้ อีกวิธีการหนึ่งในการตรวจสอบพระซ่อม โดยเฉพาะพระสมเด็จ คือ ให้นำ "เมทิลแอลกอฮอล์" ใส่สำลีแล้วเช็ด 2-3 ครั้ง ที่องค์พระ รอยซ่อมก็จะปรากฏ

    พระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น พระสมเด็จวัดระฆังฯ จะทำการซ่อมและตกแต่งยากกว่าพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เพราะเป็นพระที่ไม่ได้ผ่านการบรรจุกรุ จึงไม่มีคราบกรุที่จะอำพรางรอยซ่อมได้ แต่สำหรับพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมมักจะมีคราบกรุจับ ช่างเก่งๆ บางคนสามารถทำการ "ย้ายคราบกรุ" มาปิดตรงบริเวณที่ซ่อมเพื่อเป็นการอำพราง ไม่ว่าจะเป็นพระแท้ที่หักเป็น 2 ส่วน พระแท้หักครึ่ง 2 องค์ แม้กระทั่งพระแท้ครึ่งองค์กับพระเทียมครึ่งองค์ก็มี จนในวงการมักมีคำล้อกันว่า "ซื้อองค์เดียวได้สององค์" พระที่ถูกซ่อมในลักษณะเช่นนี้ ให้พิจารณา "ซุ้มครอบแก้ว" ว่าบรรจบเหลื่อมล้ำกันหรือไม่ ดูแผ่นหลัง รอยตัดข้าง สีผิวขององค์พระว่ามีความแปลกแตกต่างกันไหม ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์และความละเอียดรอบคอบอย่างสูง

    จึงขอแนะนำวิธีง่ายๆ แต่ค่อนข้างพิสูจน์ได้ คือ นำองค์พระไปตรวจสอบกลางแดด เอียงองค์พระในลักษณะ 45 องศา ให้สะท้อนกับแสงแดด กระดกองค์พระไปมา ถ้าเป็นพระที่ไม่มีการซ่อมจะมีผิวด้านเสมอกัน แต่หากบริเวณใดมีการซ่อมจะปรากฏความมันสะท้อนแตกต่างจากจุดอื่น ให้ตั้งข้อสังเกตได้เลยว่า น่าจะเป็นพระที่ผ่านการซ่อมมา แต่ระวังอย่ากระดกแรงไป เดี๋ยวหลุดมือขึ้นมา..เรื่องใหญ่ครับผม
     
  2. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    ขอบคุณมากๆครับ สำคัญนะครับเรื่องนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...