เอาสมาธิเป็นนิพพาน มันบ้าสมาธินี่! (หลวงปู่มั่นสอนสมถะและวิปัสสนาหลวงตามหาบัว)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 6 ตุลาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    แม้พระหลวงตาจะมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างเต็มหัวใจมากเพียงไร ท่านก็ยังมีความลังเลสงสัยว่า

    “เวลานี้มรรคผลนิพพาน จะมีอยู่เหมือนสมัยพุทธกาลหรือไม่ ?”

    ทำให้ท่านมีความสนใจ และมุ่งที่จะไปพบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระกรรมฐานที่มีชื่อเสียงมานานในสมัยนั้น เพราะเชื่อว่าจะเป็นผู้ให้ความกระจ่างแก่ท่านได้ วันแรกที่ท่านได้พบท่านพระอาจารย์มั่น ดูเหมือนท่านพระอาจารย์มั่นจะล่วงรู้วาระจิตของท่านทุกอย่าง ได้พูดจี้เอาตรง ๆ ในคืนวันนั้นเลยว่า

    “ท่านมาหามรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน ? ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ฟ้าอากาศเป็นฟ้าอากาศ แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นของของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่หัวใจ ขอให้ท่านกำหนดจิต จ่อด้วยสติที่หัวใจ ท่านจะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งของกิเลส อยู่ภายในใจ ในขณะเดียวกัน ท่านก็จะเห็นมรรคผลนิพพานโดยลำดับลำดา”

    คำเทศนาดังกล่าวทำให้ท่านหายสงสัย มีความเชื่อมั่นในมรรคผลนิพพาน และเชื่อมั่นในความรู้ความเห็นของท่านพระอาจารย์มั่นอย่างถึงใจ ท่านพระอาจารย์มั่นเตือนท่านต่อไปว่า

    “เวลานี้ธรรมที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมา ได้มากได้น้อยยังไม่เอื้อประโยชน์ อย่าเข้าใจว่าผมประมาทธรรมะของพระพุทธเจ้านะ ให้ยกบูชาไว้ก่อน อย่าได้เอาธรรมที่เรียนมาเทียบเคียง ในขณะที่ทำใจให้สงบ จะกลายเป็นสัญญาอารมณ์ ต่อเมื่อถึงกาลที่ธรรมที่เรียนมา จะมาเข้าสนับสนุนให้ได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น ธรรมที่เรียนมาทั้งหมด จะวิ่งเข้ามาประสานกันกับด้านปฏิบัติ และกลมกลืนกันได้อย่างสนิท”

    “อย่างไรจิตสงบลงได้ หรือจะใช้สติปัญญาค้นคิดในขันธ์ ขอให้ท่านทำในวงกายนี้ก่อน เพราะธรรมในตำรา ท่านก็ชี้ลงในขันธ์ทั้งนั้น”

    ขณะอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น หลวงตาได้เร่งทำความเพียรอย่างเต็มที่ นั่งสมาธิโต้รุ่งหลายคืนติดต่อกัน จนก้นแตก เกิดทุกขเวทนาแสนสาหัส และทุกคืนจะเห็นความอัศจรรย์เกิดขึ้นเสมอ หลวงตาปฏิบัติแบบเอาเป็นเอาตายเข้าว่า ไม่สนใจเรื่องถ่ายหนัก ถ่ายเบา ได้อดอาหารติดต่อกันหลายวัน ด้วยหวังจะเอาชนะกิเลส และถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด ในข้อฉันอาหารที่ได้มาโดยบิณฑบาตรเท่านั้น เมื่อท่านพระอาจารย์มั่น รู้ถึงข้อวัตรปฏิบัติของหลวงตาที่ได้เล่าถวาย ให้ท่านฟัง ท่านจึงได้ตักเตือนว่า “กิเลสมันไม่ได้อยู่ที่ร่างกายนะ มันอยู่กับจิต” และได้ยกเอาเรื่องการฝึกม้าในพระบาลี มาเตือนสติท่าน

    ในพรรษาที่ ๑๐ สมาธิธรรมของท่านมีความหนาแน่นมั่นคงมาก จะนั่งสักกี่ชั่วโมงก็อยู่ได้ และมีความสุขอย่างยิ่ง เพราะจิตไม่มีความฟุ้งซ่านรำคาญ จนท่านหลงเข้าใจว่าเป็น "นิพพาน" ท่านติดสมาธิธรรมอยู่ เป็นเวลาถึง ๕ ปี ไม่ยอมเข้าสู่ขั้นปัญญา เพื่อถอดถอนกิเลสออกมาให้สิ้นซาก จนท่านพระอาจารย์มั่นต้องฉุดลากออกมา โดยพูดเตือนสติท่านว่า

    “ท่านจะนอนตายอยู่อย่างนั้นหรือ? ท่านรู้ไหม? สุขจากสมาธินั้น มันเหมือนเนื้อติดฟัน มันสุขขนาดไหน? เนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม? ท่านรู้ไหม? ว่าสมาธิทั้งแท่งนั้นล่ะ คือตัวสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหม? นี่! เอาสมาธิเป็นนิพพาน มันบ้าสมาธินี่!”

    เมื่อท่านออกจากสมาธิ ด้วยอำนาจธรรมอันเผ็ดร้อนของท่านพระอาจารย์มั่นเข่นเอาอย่างหนัก จึงออกพิจารณา พอออกพิจารณาทางด้านปัญญาก็เป็นไปอย่างคล่องตัวรวดเร็ว เพราะสมาธิพร้อมอยู่แล้ว ทำให้รู้เรื่องรู้ราว ฆ่ากิเลส ตัดกิเลสตัวนั้น ตัวนี้ ได้โดยลำดับ ๆ ก็เร่งทางปัญญาใหญ่ ทั้งกลางวันกลางคืน หมุนติ้ว ๆ ไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน ไม่มีการห้ามล้อเลย และมาคิดตำหนิสมาธิว่า “นี่ ! มานอนตายอยู่เปล่า ๆ” กี่ปีกี่เดือนแล้ว ที่จริงสมาธินั้นมีประโยชน์ คือเป็นเครื่องพักจิตให้มีกำลังทำงานต่อไป เมื่อท่านไปเล่าถวายให้ท่านพระอาจารย์มั่นฟังว่า ได้พิจารณาธรรมทั้งวันทั้งคืน ไม่หลับไม่นอน ท่านพระอาจารย์มั่นจึงพูดว่า

    “นั่นละ ! มันหลงสังขาร มันบ้าสังขาร” คือ ใช้สังขารจนเลยเถิด เกินประมาณ มันเป็นสมุทัย ให้ใช้พอเหมาะพอดี จึงจะเป็นมรรคฆ่ากิเลส นี่ ! ถ้าไม่พิจารณาก็ไม่รู้ จึงต้องเบรกอย่างแรง เพราะสติปัญญามันทำงานไม่ถอย ต้องรั้งเอาไว้ บังคับให้จิตเข้าสู่สมาธิ เพื่อความสงบ พักงาน เอา “พุทโธ” มาเป็นคำบริกรรม ให้จิตสงบอยู่กับพุทโธ เมื่อจิตสงบลงแล้ว เหมือนถอดเสี้ยนถอดหนาม สงบเย็น มีกำลังวังชาออกทำงาน ใช้สติปัญญาพิจารณา ฆ่ากิเลส ตัดกิเลส ต่อไปได้

    อุบายธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น พระหลวงตามหาบัว
    อุบายธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น
    (ธรรมะหลวงตา จากหนังสือพ่อแม่ครูอาจารย์บัว ญาณสัมปันโน)
    ธรรมะจากพระอริยสงฆ์: อุบายธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น .. พระหลวงตามหาบัว
     
  2. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ถึงแล้วท่านต่อให้

    ยังไม่ถึง แล้วจะไปต่อ ไปไม่ได้
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการ ที่เมื่อพิจารณาอยู่
    ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้ง
    เพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้ง
    เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป"


    อุทเทสวิภังคสูตร
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๑๐/๔๑๓
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่าความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ แล่นไป
    ตามนิมิตคือรูป กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือรูป ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือรูป ประกอบด้วยสัญโญชน์
    คือความยินดีนิมิตคือรูป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
    ความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ...
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน แล่นไปตามนิมิตคือ
    ธรรมารมณ์ กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ประกอบ
    ด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ความรู้สึกฟุ้งไป
    ซ่านไปภายนอก ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่าความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก ฯ


    อุทเทสวิภังคสูตร
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๑๐/๔๑๓
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๖๔๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ไม่
    แล่นไปตามนิมิตคือรูป ไม่กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือรูปไม่ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือรูป ไม่ประกอบ
    ด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิตคือรูปพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
    ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ...
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
    ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ไม่แล่นไปตามนิมิต
    คือธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่ผูก พันด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่
    ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ความรู้สึก
    ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอกดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่า
    ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ฯ

    อุทเทสวิภังคสูตร
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๑๐/๔๑๓
     
  6. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    นพเก้า
    ปรารถนากันเหลือเกิน
    แปลก.....ไก่ได้พลอย
    ลิงได้แหวน
    พระลอหนีบ้านหนีเมืองมาตามไก่

    จิตเกิดปัญญาอัตโนมัติ่หมือนท่านกล่าวยังไม่พานเลยครับ
    หลงจิต
    จิตเขารู้ไม่ใช่เรารู้แล้วบอกหรือตรสว่ารู้

    รู้เองรู้อย่างไร

    รู้พิจารณาคำสอนไม่ใช่รู้คำสอน

    วิตกวิจารณ์ปิติสงบสุขเอกคตาไม่ต้องมีหากเรารู้คำสอนแล้วเช่นนั้นหรือขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    หลวงปู่หล้า พระสุปฏิปันโนแห่ง ภูจ้อก้อ ยังเคยกล่าวไว้ครั้งสนทนาธรรมกับหลวงปู่บุญฤทธิ์ว่า

    “ผู้รู้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เร็วที่สุด จิตก็เหมือนกัน ติดต่อกันอยู่ หาระหว่างไม่ได้ ใครว่าจิต ไม่เกิด ไม่ดับ ผู้นั้นเป็น มิจฉาทิฏฐิ
    เหตุฉะนั้นท่านจึงบัญบัติว่า รูป จิต เจตสิก นิพพาน ไม่ได้บัญญัติว่า จิตเป็นพระนิพพาน ไม่ได้บัญญัติว่าพระนิพพาน เป็นจิต”
     
  8. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    แม้จะได้สมถะ และวิปัสสนา ก้ยังต้องอาศัยทางมัชฌิมาเป็นเหตุอยู่ เพราะที่สุดของทาง2 สาย
    คือการปล่อยวางทางจิต แม้ว่าจะเพียรมากจนเกินไปจนจิตไม่ได้พัก หรือร่างกายไม่ได้นอนก้ยังถือ
    ่ว่าไม่เหมาะสม อะไรที่พอดีแล้วเหมาะสมแล้วต่อตัวผู้ปฏิบัตินั่นแล จึงเรียกว่า สมควรแก่เหตุ และมีผล ตามมาตามลำดับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...