เอาคาถามาฝาก จากเว็บแม่เกษรค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย MissyKelly, 12 พฤศจิกายน 2004.

  1. MissyKelly

    MissyKelly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +1,195
    วันนี้นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่านค่ะ มีความรู้สีกอยากจะบอกคาถาบทนี้ในกระทู้ให้หมั่นภาวนากัน

    พระคาถาอาการวัตตาสูตร
    อานิสงค์พระอาการวัตตาสูตรโดยสังเขป

    พระอาการวัตตาสูตรนี้ ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนานพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เป็นพระพุทะเจ้า มีปัญญามากเพราะเจริญพุทธมนต์บทนี้
    ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ เจริญได้ทุก ๆวัน จะเห็นผลความสุขเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่า ผู้ที่เจริญพระสูตรครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการ ได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียน ได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการบูชา เคารพนับถือพร้อมทั้งไตรทวารก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใส จงกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร อันจะเป็นที่พักผ่อนพึ่งพาอาศัยในวัฏฏะกันดาร ดุจเกาะแลฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลาย ผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าของเราปัจจุบันนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงเจริญรอยตามพระสูตรนี้มาทุก ๆ พระองค์ จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่น ไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึง เป็นธรรมอันระงับได้โดยแท้ ในอนาคตกาล
    ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาตคือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เป็นวัชชกรรม ที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม คือ สัญชีพนรก อุสุทนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉานกำเนิดไซร้ ถ้าได้ท่องบ่นจำจนคล่องปาก ก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาล นาน 90 แสนกัลป์ ผู้นั้นระลึกตามเนือง ๆ ก็จะสำเร็จไตรวิชชา และอภิญญา 6 ประการ ยังมีทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์ ดุจองค์มเหสักกเทวราช มีการรีบร้อน ออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรูหมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี่เป็นทิฏฐธรรมเวทนียนิสงส์ปัจจุบันทันตา ในสัมปรายิกานิสงส์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้ เมื่อสืบขันธะประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติหิรัญรัตนมณีเหลือล้น ขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการวิภูษิตพรรณต่าง ๆ จะมีกำลังมากแรงขยันต่ออยุทธนาข้าศึก ศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ ทั้งที่ฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ มีจักษุประสาทรุ่งเรื่องงามไม่วิปริต แลเห็นทั่วทิศซึ่งสรรพรูปทั้งปวง และจะได้เป็นพระอินทร์ ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระ ในทวีปใหญ่ 4 มีทวีปน้อย 2000 เป็นบริการ นานถึง 36 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยประสาทอันแล้วไปด้วยทองควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร อานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไป ให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณ อวสานที่สุดชาติก็ได้บรรลุพระนิพพาน อนึ่ง ถ้ายังไม่ได้ถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉานกำเนิด และมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม ช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุภโตพยัญชนกอันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย จะไม่ไปบังเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทย ที่เป็นอภัพพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใด ๆ จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองคำธรรมชาติ เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรคาพยาธิเบียดเบียน สัพพะอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สัพพะอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกาย ก็จะสงบระงับดับคลายลง ด้วยคุณานิสงส์ ผลที่ได้สวดมนต์ได้สดับฟังพระสูตรนี้ ด้วยประสาทจิตผ่องใส เวลามรณสมัยใกล้ตายจะไม่หลงสติ จะดำรงไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรกชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบ ซึ่งพระสูตรอันเจือปนด้วยพระวินัยปรมัตถ์ มีนามบัญญัติชื่อว่าอาการวัตตาสูตร มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้ จบอานิสงส์สังเขป




    ขึ้นต้นพระคาถาอาการวัตตาสูตร

    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ
    ปัพพะเต เตนะ โขปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ
    อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะ


    พระอาการวัตตาสูตร


    อิติปิโส ภะคาวา อะระหัง
    อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต
    อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมนุสสานัง
    อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ
    อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวาติ
    พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม ฯ

    อิติปิโส ภะคะวา อภินิหาระ ปาริมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    อะภินิหาระวัคโค ทุติโยฯ

    อิติปิโส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สุวะวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปะริณามะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
    คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโยฯ

    อิติปิโส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ ฯ

    อิติปิโส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม ฯ

    อิติปิโส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
    ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ ฯ

    อิติปิโส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ตังตังชานะหะนัง ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโมฯ

    อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา มะโนมยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจารณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    วิชชาวัคโค อัฏฐะโม ฯ

    อิติปิโส ภะคะวา ปะริญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปาหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปะริญญา ปะหานะ สัจฉิกิริยา ภาวนะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญานะ ปาระมิสัมปันโน
    ปะริญญาวัคโค นะวะโม ฯ

    อิติปิโส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อินทริยะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา มะหาปุริสะกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโมฯ

    อิติปิโส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สัตตานัง นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปะโรปะริยัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา จุตูปะปาตะญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโมฯ

    อิติปิโส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานัง ปะกะติสะทัสสานัง หัตถีนัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ยะมะกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา คุณะปาระมี สะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
    กายะพะละวัคโค ทวาทะสะโมฯ

    อิติปิโส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อุสสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ถามะพะละวัคโค เตระสะโมฯ

    อิติปิโส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปาระมิ อุปะปาระมิ ปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    จริยาวัคโค จะตุทะสะโม ฯ

    อิติปิโส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตูสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา วิปะรืณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ลักขะณะวัคโค ปัญจะทะสะโม ฯ

    อิติปิโส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา คะตัฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา วุสิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา วุสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโมฯ

    อิติปิโส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา จะตุพรหมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา จะตุพรหมะวิหาระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อะนาวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา อะนาวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปะริยันตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา ปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สัพพัญญุตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม ฯ

    จบพระอาการวัตตาสูตรแต่เท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2004
  2. MissyKelly

    MissyKelly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +1,195
    แม่เกษรท่านเก่งมาก สอนธรรมะให้ทั้งฆราวาสและพระสงฆ์ค่ะ

    จำได้ลางๆว่าท่านเคยแนะนำบทสวดนี้ไว้ตอนที่พบท่าน

    ยังมีคาถาบทแผ่ส่วนกุศลด้วยค่ะ
     
  3. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    พระคาถานี้ เอมักจะสวดเวลาดวงตกเลยค่ะ บางทีก็สวดมันติดๆกันหลายวัน เพราะสุดยอดไปเลย เป็นพระคาถาที่เค้าว่ากันว่าคุ้มกันภัยได้ถึง4เดือนต่อการสวดอย่างมีสมาธิ1ครั้ง

    ตอนไปบวชเอก็สวดบอกเจ้าที่ค่ะ ว่าอย่ามากวน พอสวดพระคาถานี้ ท่านก็ไม่มาแสดงตนอีกเลยค่ะ มาแต่กลิ่นหอมๆแทน เป็นพระคาถาที่เยี่ยมยอด
    คนเราควรจะรู้จักพระคาถานี้เอาไว้
    บางคนรู้จักพระคาถาให_่ๆแต่พระคาถาชินบั_ชรกับยอดพระกัณฑ์
     
  4. นายฉิม

    นายฉิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    2,099
    ค่าพลัง:
    +2,696
    จะเอาไปหัดท่องไว้ครับ ขอบคุงๆ :[
     

แชร์หน้านี้

Loading...