เหรียญ’หมานเงินหมานทอง’มาแรง! หลวงปู่แสง เกจิอายุยืน 108 ปี แห่งเมืองนครพนม

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 มีนาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    วันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562, 15.37 น.


    พระครูอุดมรังสี หรือ “หลวงปู่แสง จนฺทวํโส” เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม และอดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง

    หลวงปู่แสง เป็นพระป่ากรรมฐานศิษย์สายหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล,หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต,สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) และหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย โดยเมื่อครั้งหลวงปู่คำพันธ์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านทั้งสองจะไปมาหาสู่กันตลอด

    ปัจจุบันหลวงปู่แสงอายุ 108 ปี พรรษา 89 พื้นเพเป็นชาวเมืองนครพนมโดยกำเนิด เกิดในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2454 ที่บ้านโพนตูม อำเภอนาแก ต.ก้านเหลือง จ.นครพนม

    e0b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b980e0b887e0b8b4e0b899e0b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887e0b8a1.jpg

    วัยเยาว์เด็กชายแสนใช้ชีวิตตามประสาเด็กชนบททั่วไป จนกระทั่งอายุ 19 ปีได้บวชเณรหน้าไฟอุทิศกุศลให้คุณตาที่วัดศรีสำราญ ต.ก้านเหลือง จ.นครพนม โดยมี พระอินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    หลังจากบวชส่งศพคุณตาสู่จิตกาธารแล้ว ท่านอยากจะสึก แต่เจ้าอาวาสไม่ยอมสึกให้ ท่านจึงธุดงค์ไปทางจ.ขอนแก่น บ้านไผ่ จ.ร้อยเอ็ด จนถึงอำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี ใช้เวลา 7 เดือน พร้อมอุปสมบทเป็นพระ ภิกษุ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง อำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า”จนฺทวํโส”

    b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b980e0b887e0b8b4e0b899e0b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887e0b8a1-1.jpg

    หลวงปู่แสง ได้ใช้เวลาเล่าเรียน นักธรรมตรี โท เอก จนสำเร็จ เป็นพระภิกษุผู้ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เอาใจใส่การศึกษาปฏิบัติธรรม มีความรู้ความเห็นลึกซึ้ง มีปฏิภาณเทศนาแจ่มแจ้ง โวหารไพเราะจับใจ เชื่อว่าท่านสำเร็จฌาณสมาบัติขั้นสูง เพียงท่านจับมือใครคนนั้น ท่านจะรู้หมดทุกเรื่องในตัวคนนั้น และท่านจะบอกเรื่องดีๆให้คนๆนั้นได้พบกับความเจริญรุ่งเรือง

    ด้านคาถาอาคม อักขระเลขยันต์ หลวงปู่แสงมีความเชี่ยวชาญยิ่งนัก กล่าวว่าเป็นผู้มากวิชารูปหนึ่งในเมืองไทย สมญานามที่กล่าวขานยกย่องท่านเป็น “เทพเจ้าบันดาลทรัพย์” ใครที่มากราบไหว้ขอพร มักได้ตามความปรารถนาเสมอ

    แม้อายุล่วงเลยมากว่า 108 ปี แต่สายตาท่านยังดี หากจะอ่านหนังสือสวดมนต์หรือหนังสือธรรมะจะใส่แว่น หูได้ยิน 1 ข้าง ชอบพูดคุยสนทนาสนุกสนานติดตลก ไม่ถือเนื้อถือตัว ไม่เคยเจ็บป่วย เคยเข้าโรงพยาบาลแค่ 1 ครั้ง ด้วยสาเหตุท้องผูก

    ไม่เคยนอนกางมุ้ง แต่ยุงไม่กัด เป็นคนที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว อากาศหนาวเหน็บเพียงใด จะใส่แค่สบงห่มด้วยจีวร ปล่อยวางไม่ยึดติดกับวัตถุใดๆ และ ไม่แสวงหาความสุขสบาย โดยเฉพาะกุฏิหลังใหม่ที่ลูกศิษย์สร้างถวาย 7 แสนกว่าบาท แต่ท่านไม่ไปอยู่ เพราะอึดอัดและหายใจไม่ออก

    b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b980e0b887e0b8b4e0b899e0b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887e0b8a1-2.jpg

    วัตถุมงคลของหลวงปู่แสงกล่าวขานว่า พุทธคุณดีครบเครื่อง ทั้งเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาด โชคลาภ ซึ่งหลายรุ่นหลายแบบมีกระแสความนิยมสูง และเป็นที่ชื่นชอบของนักสะสมต่างชาติ อย่างเช่น พระปิดตา รุ่นแรก,พระขุนแผนแสงสะท้าน รุ่นแรก และเหรียญเสมารุ่นมหาสมปรารถนา

    ล่าสุด คณะศิษย์สายสกลนครนำโดย นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ,ป้อม สกลนคร ,หนุ่มเสก สกลนคร ,สุชานนท์ ศิริพงศ์สิน และชาติ สกลนคร ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรุ่น “หมานเงินหมานทอง”

    b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b980e0b887e0b8b4e0b899e0b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887e0b8a1-3.jpg

    เพื่อนำรายได้สมทบกองทุนหลวงปู่แสง จันทวังโส และสมทบทุนปรับปรุงห้องน้ำวัดโพธิ์ชัยเพื่อเป็นสาธารณสมบัติสืบต่อไป

    คำว่า”หมาน” เป็นภาษาอีสานหมายถึง โชคดี, รวย

    รูปแบบเหรียญขวัญถุง พิมพ์กลม มี 3 บล็อกคือ บล็อก A ประคำ 19 เม็ด หูขีด (บล็อกทองคำ) มีประมาณ 1,999 องค์ บล็อกB ประคำ 19 เม็ด บล็อกC ไม่มีประคำ มีประมาณ 1,999 องค์ สร้างหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ,เนื้อเงินลงยาราชาวดี เนื้อ 3K เนื้อสัตตโลหะ,เนื้อปลอกลูกปืน,เนื้อนวะลงยาเสือสมิง,เนื้อทอแดงผิวรุ้ง ฯลฯ

    b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b980e0b887e0b8b4e0b899e0b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887e0b8a1-4.jpg

    เหรียญ “หมานเงินหมานทอง” มีการออกแบบที่งดงามด้วยพุทธศิลป์ เข้มขลังด้วยอักขระเลขยันต์ ทุกเหรียญมีเลขและตอกโค้ดกำกับชัดเจน หลวงปู่แสงปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถอันเข้มขลังตามตำราโบราณ จึงได้รับความนิยมจากลูกศิษย์อย่างล้นหลาม เมื่อสร้างเสร็จจึงหมดจากวัดอย่างรวดเร็ว

    b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b980e0b887e0b8b4e0b899e0b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887e0b8a1-5.jpg

    b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b980e0b887e0b8b4e0b899e0b8abe0b8a1e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887e0b8a1-6.jpg

    เข้าชมรายละเอียดพิธีการจัดสร้างได้ที่…https://www.facebook.com/groups/555622711488951/?ref=share





    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/146331
     

แชร์หน้านี้

Loading...