'เหรียญพระสงฆ์เรื่องของ...เวลาเปลี่ยนค่านิยมเปลี่ยนตามเวลา

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 18 พฤษภาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    คมชัดลึก : ในหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า "เบญจ" (อ่านว่า เบน-จะ) หมายถึง ห้า (๕) ลำดับที่ ๕ ส่วนคำว่า "ภาคี" หมายถึง ผู้มีส่วน ผู้เป็นฝ่าย เมื่อนำมารวมกันเป็นคำ “เบญจภาคี” จึงหมายถึง ห้าส่วน ห้าแบบ หรือ ห้าชนิด นั่นเอง
    <SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-1044823792492543";/* Kom-newdesign338x280story */google_ad_slot = "7614892621";google_ad_width = 336;google_ad_height = 280;//--></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 336px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 280px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 336px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 280px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><IFRAME id=google_ads_frame1 style="LEFT: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px" name=google_ads_frame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-1044823792492543&dt=1242621513895&lmt=1242621513&output=html&slotname=7614892621&correlator=1242621513895&url=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2Fdetail%2F20090518%2F13211%2F%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87...%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2.html&ref=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2Fsection%2F%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87.html&frm=0&ga_vid=2365628693026910700.1240383841&ga_sid=1242621514&ga_hid=985820384&ga_fc=true&flash=9.0.47.0&w=336&h=280&u_h=864&u_w=1152&u_ah=834&u_aw=1152&u_cd=32&u_tz=420&u_his=2&u_java=true&dtd=65&w=336&h=280&xpc=7CSnkzzBF2&p=http%3A//www.komchadluek.net" frameBorder=0 width=336 scrolling=no height=280 allowTransparency></IFRAME></INS></INS>

    ส่วนคำว่า “เบญจภาคี” ที่ถูกมาใช้ในวงการพระเครื่องนั้น "ตรียัมปวาย" หรือ พ.อ.(พิเศษ) ประจน กิตติประวัติ อดีตนายทหารประจำกองบัญชาการทหารสูงสุดท่านนี้เอง ที่จัดทำเนียบชุดพระเครื่องเบญจภาคีขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕
    โดยเมื่อแรกเริ่มยังคงเป็นเพียง พระชุดไตรภาคี ซึ่งมีเพียง ๓ องค์เท่านั้น ประกอบด้วย พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์ประธาน ซ้ายขวาเป็น พระนางพญา จ.พิษณุโลก และ พระรอด จ.ลำพูน
    จากนั้นไม่นานจึงได้ผนวก พระกำแพงซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร และ พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี เข้าเป็น พระชุดเบญจภาคี ซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย
    นอกจากนี้แล้วนักเลงพระยุคก่อน และเซียนพระสมัยปัจจุบัน ยังมีการจัดพระเครื่องเป็นชุดเบญจภาคี แยกย่อยออกไปอีกหลายชุด เช่น พระเบญจภาคียอดขุนพล เบญจภาคี พระปิดตา (เนื้อผง เนื้อโลหะ) เบญจภาคีเหรียญพระพุทธ เบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์ ฯลฯ รวมทั้งเบญจภาคีเครื่องราง
    ในกรณีของการจัด เหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์ นั้น เดิมทีประกอบด้วย ๑.เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กทม. สร้างปี ๒๔๖๗ ๒.เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างปี ๒๔๖๙ ๓.เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท สร้างปี ๒๔๖๖ ๔.หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี สร้างปี ๒๔๖๕ และ ๕.เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กทม.สร้างปี ๒๔๗๗
    อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงลำดับความนิยมของเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์นั้น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ เหรียญหลวงพ่อกลั่น จากอันดับสอง เลื่อนขึ้นไปอยู่อันดับหนึ่ง ค่านิยมปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ๕-๖ ล้านบาท
    ส่วน เหรียญหลวงปู่เอี่ยม ลดลงมาอยู่อันดับสอง ค่านิยมปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ๔-๕ ล้านบาท
    เหตุที่ทำให้มีการเลื่อนอันดับ น่าจะเป็นเพราะ หลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระไว้หลายรุ่น หลายประเภท เช่น พระปิดตายันต์ยุ่ง พระชัยวัฒน์ พิมพ์เขื่อนใหญ่ พิมพ์เขื่อนเล็ก พระปิดตาเนื้อตะกั่ว ฯลฯ
    ในขณะที่หลวงพ่อกลั่น สร้างเพียงรุ่นเดียว จึงทำให้ค่านิยมสูงกว่า
    สำหรับ เหรียญหลวงพ่อพุ่ม ต้องหลุดจากชุดเบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์ ด้วยเหตุที่ว่า บนเหรียญไม่มีตัวหนังสืออะไรระบุไว้เลย ทั้งชื่อหลวงพ่อ และชื่อวัด ค่านิยมปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ๗-๘ แสนบาท
    ในขณะที่ เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ซึ่ง อาจารย์เภา ศกุนตะสุต ลูกศิษย์หลวงพ่อคง ได้เล่าประสบการณ์ของผู้นำเหรียญไปใช้ว่า มีประสบการณ์ต่างๆ นานา ความนิยมจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ค่านิยมปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ๑-๒ ล้านบาท ทำให้เหรียญหลวงพ่อคงขึ้นไปอยู่ในทำเนียบเบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์
    สำหรับเหรียญพระสงฆ์อื่นๆ ซึ่งได้รับความนิยมเทียบเท่า หรืองสูงกว่าเหรียญเบญภาคีพระสงฆ์ ที่เคยจัดลำดับไว้ในอดีต เช่น เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม จ.ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี และ เหรียญสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทราวาส กทม.เป็นต้น
    แต่มีเหรียญหนึ่งที่ถือว่าแพงสุดๆ ในบรรดาเหรียญพระสงฆ์ทั้งหมด และไม่ได้จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์ด้วย
    เหรียญนั้นคือ เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุข (วัดเชิงเลน) กทม. สร้างปี ๒๔๗๓ สันนิษฐานว่า สร้างไม่เกิน ๗๐ เหรียญ อย่างกับเหรียญที่นำภาพมาประกอบเรื่องนี้ ค่านิยมสูงถึง ๕ ล้านบาทเลยทีเดียว
    เหรียญหลักล้าน
    นอกจากเบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีเหรียญที่มีค่านิยมสูงกว่าหลักล้านบาทอีกหลายเหรียญ ทั้งนี้ต้องเป็นเหรียญที่สวยสมบูรณ์ด้วย ได้แก่
    ๑.เหรียญหลวงพ่อโสธร ทุกเนื้อ ทุกพิมพ์ ที่จัดสร้างในปี ๒๔๖๐ ๒.เหรียญเสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ เนื้อทองคำ สร้างปี ๒๔๖๖ ๓.เหรียญหลวงพ่อเพชร เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง วัดอัมพวัน เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี
    ๓.เหรียญหลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ กทม. เนื้อทองแดง สร้างปี ๒๔๖๙ ๔.เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เนื้อทองแดง สร้างปี ๒๔๗๐ รวมทั้งเหรียญเนื้อเงิน กะไหล่ทอง สร้างปี ๒๔๘๒ และ ๕.เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดตะโนดหลวง เนื้อทองคำ รุ่น ๒ สร้างปี ๒๔๙๘
    ในจำนวนเหรียญหลักล้านมีอยู่ ๔ เหรียญ ที่สร้างขึ้นหลังปี ๒๕๐๐ ประกอบด้วย ๑.เหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี เนื้อทองแดงกะไหล่เงิน รุ่นแรก สร้างปี ๒๕๐๐ ๒.เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี เนื้อเงิน สร้างปี ๒๕๐๓
    ๓.เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร (วัดถ้ำขาม) จ.สกลนคร เนื้อทองแดง และเนื้ออัลปาก้า รุ่นแรก สร้างปี ๒๕๐๗ และ ๔.เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา เนื้อทองคำ สร้างปี ๒๕๑๙ ซึ่งน่าจะเป็นพระสงฆ์เพียงรูปเดียว ที่เหรียญมีราคาหลักล้าน ทั้งๆ ที่ตัวท่านยังมีชีวิตอยู่
    สำหรับผู้ที่สนใจหนังสือ เหรียญยอดนิยม อมตะแดนสยาม เล่ม ๒ ขณะนี้หนังสือได้จัดพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว และรับได้แล้ว
    ส่วนผู้ที่สนใจเรื่องเหรียญ นอกจากที่เขียนในคอลัมน์นี้ สามารถเข้าไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.boytarprajun.com

    และหากท่านผู้ใดมีคำถามเกี่ยวกับเหรียญรุ่นอื่นๆ หรือต้องการให้เขียนถึงเหรียญรุ่นหนึ่งรุ่นใด ฝากคำถามไว้ได้ที่ Boy333999@hotmail.com โทร.๐๘-๕๙๔๔-๔๔๒๓
    บอย ท่าพระจันทร์
     

แชร์หน้านี้

Loading...