เหตุที่ทำให้นิวรณ์เกิดและดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไต้ซือฟาง, 7 เมษายน 2012.

  1. ไต้ซือฟาง

    ไต้ซือฟาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +3
    ประสกทั้งหลายพึงอ่าน


    เหตุที่ทำให้นิวรณ์เกิด

    การที่จะทำสมาธิได้ผล ผู้ปฎิบัติจะต้องรู้ถึงต้นเหตุของนิวรณ์ทั้งห้า ข้อนั้นเสียก่อนจึงจะกำจัดได้ผลดี เหมือนกับแพทย์ที่จะบำบัดโรคต่างๆ ถ้า ลามารถรู้ต้นเหตุของโรคแล้ว ก็จะป้องกันโรคนั้นได้ง่ายกว่าปล่อยให้โรคนั้นเกิด ขึ้นแล้วรักษา เช่น แพทย์หรือคนทั่วไปลามารถจะทราบว่าไข้มาลาเรียเกิดจาก ยุงเป็นพาหะตัวนำ จึงถือว่ายุงเป็นต้นเหตุให้เกิดไข้มาลาเรีย หรือคนที่เป็นโรคตับแข็งก็รู้ถึงลาเหตุว่าชอบดื่มสุราจัด จึงเป็นเหตุให้เกิดโรคตับแข็งได้ หรือ บุคคลที่เป็นโรคเบาหวานก็รู้ถึงสาเหตุว่ามีน้ำตาลเก็บไว้ในร่างกายมาก เป็นต้น ข้อนี้ฉันใดการที่เราจะกำจัดนิวรณ์ได้ดีก็ต้องรู้ถึงสาเหตุของนิวรณ์เสียก่อนฉัน นั้นเหมือนกัน
    ฉะนั้น ในคัมภีร์ปัญจกนิบาต อังคุตรนิกาย พระพุทธองค์จึงได้ทรง แสดงเหตุเกิดนิวรณ์ไว้ว่ามี ๕ ประการเข่นกัน คือ
    (๑) สุภนิมิต ความรักสวยรักงาม เป็นเหตุให้เกิดกามฉันท์
    (๒) ปฏิฆนิมิต การกระทบกระทั่งจิต เป็นเหตุให้เกิดพยาบาท
    (๓) อรติ ความไม่พอใจ, ตันทิ ความเกียจคร้าน, วิชัมภิกา ความ อ่อนเพลีย, ภัตตสัมมทะ การเมาอาหาร,
    เจตโส สีนัตตัง การที่จิตหดหู่ ทั้งห้า ประการนี้เป็นเหตุให้เกิดถีนมิทธะ
    (๔) เจตโส อวูปสมะ การที่ใจไม่สงบ เป็นเหตุให้เกิดอุทธัจจกุกกุจจะ
    (๕) อโยนิโสมนสิการ การไม่ทำใจโดยแยบคาย เป็นเหตุให้เกิดวิจิกิจฉา
    เหตุเกิดของนิวรณ์แต่ละข้อนี้ ถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นขัดว่า การที่คน เรามีความระทมทุกข์หรือความวุ่นวายใจในวันหนึ่งๆ นั้น เป็นเพราะนิวรณ์ ชนิดใดชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในใจ แต่นิวรณ์ทั้งห้าประการนี้ไม่ใช่จะเกิดพร้อมกันใน ขณะเดียวกัน แต่จะเกิดครั้งละอย่างเท่านั้น เช่น ถ้าพยาบาทเกิดแล้วในขณะ นั้น นิวรณ์อย่างอื่นอีกสี่ก็ไม่เกิด หรือ อุทธัจจกุกกุจจะ เกิดอยู่ในขณะนั้น นิวรณ์ อย่างอื่นอีกสี่ก็เกิดไม่ได้ อันแสดงให้เห็นว่านิวรณ์แต่ละอย่างนั้นเกิดไม่พร้อมกัน เพราะจิตรับอารมณ์ได้ครั้งละหนึ่งอย่างเท่านั้นในขณะหนึ่ง ๆ แต่แม้นิวรณ์จะ เกิดไม่พร้อมกัน ก็ทำจิตให้เศร้าหมองเช่นเดียวกัน


    สุภนิมิต คือ เหตุเกิดของกามฉันท์ "ลุภะ" แปลว่า สวยงาม "นิมิต" แปลว่า การกำหนด ดังนั้น "สุภนิมิต" จึงแปลว่า "การกำหนดว่าสวยงาม" ในที่นี้หมายถึงการกำหนดในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสทางกายของเพศที่ ตรงกันข้ามหรือในเพศเดียวกัน ว่าดี ว่าสวยงาม เข่น การกำหนดว่างามในรูป ร่างกาย เป็นต้น การกำหนดว่าสวยงามในรูปร่างกายนั้นท่านแยกเป็น ๒ ส่วน คือ
    (๑) กำหนดว่าสวยงามของอวัยวะแต่ละส่วน
    (๒) การกำหนดว่าสวยงามโดยส่วนรวม
    การกำหนดว่างามของอวัยวะแต่ละส่วนหรือส่วนย่อยนั้น เช่น เห็นว่า ผิวงาม หน้างาม ปากงาม ฟันงาม เท้างาม เล็บงาม เป็นต้น เมื่อกำหนดว่า งามอยู่อย่างนี้ก็เป็นเหตุให้เกิดกามฉันท์หรือความรักในทางความใคร่ขึ้น ส่วนการ กำหนดว่าสวยงามโดยส่วนรวมนั้น เช่น เห็นว่าร่างทั้งร่างนั้นงาม ทรวดทรงงาม หล่อ คือถือว่าร่างกายทั้งหมดนั้นงาม เมื่อกำหนดว่างามอย่างนี้อยู่ก็เป็นเหตุให้ เกิดกามฉันท์ เพราะฉะนั้น สุภนิมิตหรือความกำหนดหมายว่างามในร่างกายนี้ เองที่เป็นต้นเหตุให้เกิดกามฉันท์หรือความพอใจในกาม
    อีกอย่างหนึ่ง ความดำริในทางกาม (กามสังกัปปะ) เป็นเหตุให้เกิด กามฉันท์ เพราะกามทุกชนิดเกิดจากความดำริ ถ้าไม่คิดคำนึงถึงกามแล้ว คือ ไม่คำนึงว่างามว่าสวยแล้ว กามจะเกิดขึ้นไม่ได้ สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน คัมภีร์มหานิทเทสว่า ''ดูก่อนเจ้ากาม เรารู้ต้นเค้าของเจ้าแล้วว่าเจ้าเกิดจาก ความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ดูก่อนเจ้ากาม เมื่อเป็นเช่นนี้เจ้าจักไม่มี แก่เราอีกต่อไป"
    นี้คือพระพุทธพจน์ที่ยืนยันว่ากามนั้นเกิดจากดำริ ถ้าเราไม่ต้องการให้ กามเกิดขึ้นก็อย่าดำริในเรื่องที่เป็น
    สุภนิมิต กามก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะสุภนิมิต เป็นเหตุให้เกิดกามฉันท์

    ปฏิฆนิมิต คือ เหตุเกิดของพยาบาท ปฏิฆนิมิตคือการกระทบกระทั่ง ของจิต เพราะจิตของคนบางคนเป็นเสมือนใจที่มีแผล ปกติว่าแผลนั้น ถ้าใคร กระทบกระทั่งหรือสะกิดเข้าก็จะรู้ว่าเจ็บหรอแสบเสียวเพราะมีแผลอยู่ จิตของ คนเราที่ถูกพยาบาทเข้าครอบงำก็เหมือนกัน ถ้าใครพูดกระทบกระทั่งจิตเข้าก็ จะรู้สึกไม่พอใจ แล้วเกิดความโกรธขึ้นมาได้ในทันที ตัวปฎิฆนิมิตนี้เองเป็นเหตุ ให้เกิดโทสะหรือพยาบาทขึ้น ฉะนั้น เมื่อเราทราบว่าใจที่ถูกระทบกระทั่ง (ปฎิฆนิมิต) เป็นเหตุให้เกิดพยาบาทขึ้น ก็จงพยายามทำลายต้นเหตุนี้เลีย


    เหตุเกิด ถีนมิทธะ ท่านแสดงไว้ว่ามี ๕ ชนิด คือ

    ๑. อรติ ความไม่ยินดี คือไม่ยินดีในการทำงานหรือในการทำสมาธิ เป็นต้น เมื่อเกิดความไม่ยินดีหรือความไม่พอใจขึ้นแล้ว ใจก็ท้อถ้อย ไม่อยาก ทำสมาธิ ไม่อยากเดินจงกรม รวมทั้งไม่อยากทำอะไร ก็เป็นเหตุให้ง่วง เป็นเหตุ ให้ท้อแท้ เพราะเกิดอรติหรือความไม่พอใจขึ้น
    ๒. ตันทิ ความเกียจคร้าน คือ ความเกียจคร้านนี้ถ้าเกิดขึ้นในใจ ของผู้ใดแล้วก็จะทำให้ใจผู้นั้นท้อแท้ท้อถอย ไม่อยากทำงาน ไม่อยากทำสมาธิ เป็นต้น
    ๓. วิชัมภิกา ความอ่อนเพลีย การบิดกายขี้เกียจ คือ เมื่อความ อ่อนเพลียเกิดขึ้น บางคนก็บิดกาย แสดงถึงความขี้เกียจ ความง่วงซึมของกาย ก็เกิดขึ้น เป็นลักษณะที่แสดงถึงความเกียจคร้านของบุคคลนั้นๆ อันนี้ก็เป็นเหตุ ให้เกิดถีนมิทธะ
    ๔.ภัตตสัมมทะ การเมาอาหาร ปกติว่าอาหาร ถ้าใครบริโภคเข้าไป มากมักจะทำให้ร่างกายง่วงซึมได้ ท่านจึงเรียกว่า "เมาในภัตหรีอเมาในอาหาร" การเมาในอาหารเป็นธรรมขาติของร่างกาย แต่เป็นเหตุให้เกิด
    ถีนมิทธะได้ ฉะนั้น ท่านจึงให้รู้จักบริโภคอาหารแต่พอประมาณเพื่อไม่ให้เกิดถีนมิทธะขึ้น หรือไม่ ให้ทำสมาธิในขณะกำลังอิ่มอาหารเพราะถีนมิทธะเกิดง่าย อันเกิดจากการเมา อาหาร
    ๕. เจตโส สีนัตตัง การที่จิตหดหู่ คือ การที่จิตไม่ชื่นบาน ไม่เบิกบาน ซึม หน้าตาไม่สบาย เพราะความผิดหวังในชีวิต เป็นต้น ทำให้หมดกำลังใจ อันนี้ก็เป็นเหตุให้เกิดถีนมิทธะ

    เจตโส อวูปสมะ คือ การที่จิตไม่สงบ เป็นเหตุให้เกิดอุทธัจจกุกกุจจะ คือใจของคนเราถ้าไม่สงบ เข่น ตกใจกลัว มีความหวาดเสียว มีความกังวลผิด หวัง มีความละเทือนใจ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ใจก็ไม่สงบ เหมีอนกับคลื่นใน มหาสมุทร ไม่สงบ มีระลอกคลื่นอยู่ตลอดเวลา ความที่ใจไม่สงบนี้เองเป็นต้น เหตุให้เกิดอุทธัจจกุกกุจจะหรือความฟ้งซ่านและความรำคาญ

    อโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดวิจิกิจฉา คือการไม่ใช้ปัญญาพิจารณา สภาพธรรมหรือสภาพความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย ถ้าใช้ปัญญาไตร่ตรอง พิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงเรืยกว่า "ใช้โยนิโสมนสิการ', คือคน บางคนนั้น เมื่อตนไม่เข้าใจสิ่งใดก็ไม่เข้าไปไต่ถามท่านผู้รู้ ทั้งตนเองก็ไม่ยอม พิจารณาเหตุผลตามความเป็นจริง ก็ย่อมเกิดวิจิกิจฉาหรือความสงสัยขึ้นได้ เข่น มีความสงสัยในเรื่องบุญบาป ในเรื่องนรกสวรรค์ หรือในเรื่องการบำเพ็ญ กรรมฐาน ไม่แน่ใจว่าที่ตนทำไปนั้นจะถูกต้องหรือไม่ เมื่อไม่ใช้ปัญญาพิจารณา โดยแยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) คือไม่พิจารณาเหตุผลด้วยปัญญา ก็เป็นเหตุให้ เกิดความสงสัยคือวิจิกิจฉานิวรณ์ข้อนี้ขึ้น ก็ย่อมจะขัดขวางการทำสมาธิ เพราะ มีความสงสัยลังเลใจในข้อปฏิบัติเนื่องจาก
    อโยนิโสมนสิการหรือการไม่ใช้ปัญญา พิจารณาไตร่ตรองนี้เอง
    เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติศึกษาให้เข้าใจเหตุเกิดของนิวรณ์ทั้งห้า ประการแต่ละข้อนี้แล้วว่ามีต้นเหตุมาจากอะไร แล้วพยายามตัดต้นเหตุเหล่า นั้นเสีย นิวรณ์จะเกิดขึ้นครอบงำใจได้ยากหรือเกิดขึ้นไม่ได้
     
  2. ไต้ซือฟาง

    ไต้ซือฟาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +3
    เหตุที่ทำให้นิวรณ์ดับ

    ในคัมภีร์ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย เช่นกัน พระพุทธเจ้าทรงแสดง เหตุที่ทำให้นิวรณ์ดับว่ามีลักษณะ ๕ ประการเหมือนกัน คือ
    (๑) อสุภนิมิต การกำหนดว่าไม่งาม เป็นเหตุให้กามฉันท์ดับ
    (๒) เมตตาเจโตวิมุตติ การที่จิตมีเมตตา เป็นเหตุให้พยาบาทดับ
    (๓) วิริยะ ความเพียร เป็นเหตุให้ถีนมิทธะดับ
    (๔) เจตโส วูปสมะ การสงบใจ เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะดับ
    (๕) โยนิโสมนสิการ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นเหตุให้ วิจิกิจฉาดับ
    เหตุดับของนิวรณ์ทั้งห้าประการนี้ ในพระคัมภีร์ท่านอธิบายรายละเอียด ไว้มาก แต่ในที่นี้จะนำมาขี้แจงไว้พอเป็นแนวการบำเพ็ญสมาธิเท่านั้น

    ข้อที่ ๑ "อสุภนิมิตเป็นเหตุให้กามฉันท์ดับ"' คือใครก็ตาม ถ้ามาตั้งใจ พิจารณาให้เห็นความเป็นของน่าเกลียดในร่างกายของตนเองและของคนอื่นว่า "กายนี้ตั้งแต่พื้นเท้าจนจดปลายผมเต็มไปด้วยของไม่สะอาด ปฏิกูล ไม่งาม ทั้งสิ้น" ก็จะกำจัดตัวราคะหรือกามฉันท์ลงได้ แท้จริง ร่างกายของคนเรานี้เต็ม ไปด้วยของไม่สะอาดต่างๆ อยู่ภายใน และมีของไม่สะอาดไหลออกจากกายนี้ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีทวารหรือช่องสำหรับถ่ายเทของไม่สะอาดประจำกายอยู่ ๙ ช่อง คือ มีขี้ตาไหลออกจากตาทั้งลอง มิขี้หูไหลออกจากหูทั้งสอง มิน้ำมูกไหล ออกจากกระพุ้งจมูกทั้งสอง มิขี้ฟัน เสลด เลือด และอาเจียนไหลออกจากปาก มิปัสสาวะไหลออกจากทวารเบา มีอุจจาระไหลออกจากทวารหนัก นอกจาก ทวารทั้งเก้านี้แล้วก็ยังมีเหงื่อไหลออกจากขุมขนซึ่งท่านกล่าวว่ามิถึงเก้าหมื่น เก้าพันขุม
    ร่างกายนี้เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมประการต่าง ๆ และยังเต็มไปด้วย ซากศพนานานานิดที่มนุษย์รับประทานเข้าไป เข่น ศพเป็ด ศพไก่ ศพกุ้ง ศพ ปลา ศพวัว และศพควาย เป็นต้น ซ้ำยังมีเชื้อโรคนานาชนิดอาศัยเกิดแก่เจ็บ ตายในร่างกายนี้ ร่างกายนี้จึงเป็นรังของโรค อันความไม่สะอาดของร่างกายนี้ จะเห็นได้ชัด เข่น ถ้าเจ้าของกายไม่อาบน้ำเพียงวันเดียวโดยเฉพาะในฤดูร้อนจะ รู้สึกมีกลิ่น ยิ่งปล่อยไว้นานวัน ยิ่งเห็นชัดยิ่งชื้น แม้เจ้าของกายเองก็ไม่ชอบใจ เมื่อพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว กายนี้มองดูว่าสวยก็เพราะผิวและเครื่องนุ่ง ห่มอาภรณ์ปกปิดไว้ต่างหาก ถ้าไม่มีผิวหรือเครื่องอาภรณ์ปกปิดไว้ก็จะสกปรก อย่างยิ่ง ไม่มีความแตกต่างอะไรกันระหว่างร่างกายของพระราชาและร่างกาย ของคนจัณฑาล คือมีความสกปรกปฏิกูลน่าเกลียดเหมือนกันหมด ถ้าพิจารณา เห็นร่างกายว่าเป็นของไม่งามอย่างนี้ คือเป็นอสุภนิมิต ก็จะทำให้กามฉันท์สงบ ลงได้

    ข้อที่ ๒ "เมตตาเป็นเหตุให้พยาบาทสงบ" ข้อนี้เห็นได้ง่าย ถ้าใคร มีเมตตา พยาบาทก็หมดไป เพราะเมตตาเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท ฉะนั้น คน ที่ขี้โกรธหรือพยาบาท ท่านจึงสอนให้เจริญเมตตาเป็นประจำซึ่งเป็นต้นเหตุให้ พยาบาทสงบลงได้ เพราะนอกจากจะปราบพยาบาทได้ อานิสงส์ของเมตตายัง ก่อให้เกิดความสงบสุขและคุณประโยชน์อื่นๆ อีกเป็นอันมาก

    ข้อที่ ๓ "วิริยะเป็นเหตุให้ถีนมิทธะดับ" คือใครก็ตาม ถ้าเกิดความง่วง ความซึม ท้อแท้ ขี้เกียจ แต่ไม่ยอมท้อถอย ใช้วิริยะความเพียรอย่างเด็ดเดี่ยว บากบั่นก้าวไปข้างหน้า ไม่ยอมท้อ กิเลสเหล่านี้ก็แพ้ได้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรง ตั้งปณิธานในวันที่ตรัสรู้ในเมื่อพระองค์ทรงปูหญ้าคาภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางด้านทิศตะวันออก ทรงตั้งพระทัยอธิษฐานอย่าง แน่วแน่ว่า
    ''เลือดเนื้อในร่างกาย (ของเรา) จะเหือดแท้งไป เหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที ทากไม่ได้รับสิ่งที่จะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความพยายามของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร (เป็นอันขาด)"
    นี้คือปณิธานอันเด็ดเดี่ยวในการเริ่มความเพียรอันยิ่งยวดของพระพุทธองค์ เมื่อความเพียรเกิดขึ้น ถีนมิทธะจะเกิดได้อย่างไร แม้ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถูก ขจัดไปด้วยความเพียรอย่างแน่นอน พระกรรมฐานโดยทั่วไปท่านบำเพ็ญเพียร ในลักษณะที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา เป็นชาคริยานุโยค คือความเพียรเป็นต้นเหตุให้ ตื่นอยู่ จึงเป็นเหตุให้กินมิทธะดับไปได้

    ข้อที่ ๔ "การสงบใจเป็นเหตุให้ อุทธัจจกุกกุจจะดับ" การทำใจให้สงบ ท่านเรียกว่า "เจตโส วูปสมะ" แต่การที่ใจจะสงบได้นี้ก็ด้วยการทำสมาธิ ถ้า ไม่ทำสมาธิ ใจที่ฟ้งซ่านและรำคาญก็ยากที่จะสงบลงได้ ฉะนั้น การทำสมาธิจึง เป็นเหตุทำให้ใจสงบ และใจที่สงบก็เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะดับไปได้

    ข้อที่ ๕ "การพิจารณาโดยแยบคายเป็นเหตุให้วิจิกิจฉาดับ" คือ การ ใช้ปัญญาในการพิจารณา (โยนิโสมนสิการ) ค้นหาเหตุผลของสิ่งที่สงลัย เช่น ว่า "คนเราตายแล้วเกิดหรือเปล่า" "มารดาบิดามีคุณหรือเปล่า" "กรรมฐานที่ บำเพ็ญอยู่นี้ถูกหรือเปล่า" ก็ต้องหาเหตุผลตามเป็นจริง โดยไต่ถามท่านผู้รู้ หรือใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ แล้วปฏิบัติทดลองด้วยตัวเองด้วยการทำสมาธิ วิจิกิจฉานิวรณ์จึงจะดับไปได้
    ฉะนั้น หากนิวรณ์ข้อใดข้อหนึ่งเกิดขึ้น ผู้บำเพ็ญสมาธิก็สามารถกำจัด ได้โดยใช้ตัวยาคือหลักธรรมในการกำจัดนิวรณ์แต่ละข้อตามที่พระพุทธเจ้าตรัส ไว้แล้ว การทำสมาธิก็จะได้ผลและได้ผลดียิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ เป็นองค์ประกอบในการทำสมาธิอื่นๆ อีกหลายอย่าง ในลำดับ ต่อไป
     
  3. ไต้ซือฟาง

    ไต้ซือฟาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +3
    ไม่ได้ไปก๊อปที่เว็ปไหนมา หากแต่เอามาจากหนังสือ "จิตมนุษย์สุดมหัศจรรย์"
    ประสกทั้งหลายพึงอ่านเถอะ ***อามิตตาพุทธ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...