เรื่องราว

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 15 มีนาคม 2011.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ตราบใดที่ยังมีกิเลส ยังไม่ได้ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดถึงความเป็นพระ
    อรหันต์ก็ยังต้องมีการเกิดในภพต่าง ๆ อยู่ร่ำไป ยังเดินทางต่อไปอีกในสังสารวัฏฏ์
    ดังนั้น เมื่อกล่าวอย่างกว้าง ๆ แล้ว ใครก็ตาม ที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ก็ได้ชื่อว่า
    เป็นสัมภเวสี ทั้งหมด เพราะคำว่า สัมภเวสี แปลตามศัพท์ได้ว่า ผู้แสวงหาการเกิด
    หมายความว่า เป็นผู้ยังต้องเกิดอีก ตามข้อความที่ว่า
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่มที่ ๑๗ -หน้าที่ ๕๖๖, ๕๖๗
    เหล่าสัตว์ที่เสาะหา คือ แสวงหาการสมภพ คือ การเกิด ได้แก่ การบังเกิดขึ้น
    ชื่อว่า สัมภเวสี.
    สัตว์เหล่าใด กำลังแสวงหาการเกิด สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สัมภเวสี, คำว่า สัมภเวสี
    นี้ เป็นชื่อของพระเสขะและปุถุชนผู้กำลังแสวงหาการเกิดต่อไป เพราะยังละสังโยชน์
    ในภพไม่ได้ (คือ ละความติดข้องในภพ ยังไม่ได้).
    อกุศลเหมือนโอฆะ ซึ่งกว้างใหญ่มาก เพราะเหตุว่า เวลาที่มี
    การเห็นครั้งหนึ่ง แล้วไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนั้น เพราะ
    "อวิชชา" เพราะฉะนั้น เราใช้คำว่า อวิชโชฆะ หมายความถึง ทะเลที่
    กว้างใหญ่มากของอวิชชา เป็นการแสดงให้เห็นว่า ความไม่รู้ของเรานี้
    มากแค่ไหน
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เล่มที่ ๓๗ - หน้าที่ ๒๓๖



    ๔. ธัมมัญญูสูตร
    (ว่าด้วยธรรม ๗ ประการ มีรู้จักธรรม เป็นต้น)


    [๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ควร
    ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลควรกระทำ
    อัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประการ เป็นไฉน?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมัญญู (รู้จักธรรม) ๑ อัตถัญญู
    (รู้จักอรรถ) ๑ อัตตัญญู (รู้จักตน) ๑ มัตตัญญู (รู้จักประมาณ) ๑ กาลัญญู
    (รู้จักกาล) ๑ ปริสัญญู (รู้จักบริษัท) ๑ ปุคคลปโรปรัญญู (รู้จักความยิ่งความหย่อน
    ของบุคคล) ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม
    คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม
    เวทัลละ หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ... เวทัลละ เราก็ไม่พึงเรียกว่า
    เป็นธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ.... เวทัลละ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น
    ธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้.
    ก็ ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความแห่งภาษิต
    นั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า
    นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู แต่เพราะภิกษุรู้
    เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
    เป็นอัตถัญญู, ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญูด้วยประการฉะนี้.
    ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม รู้จักตนว่า เราเป็นผู้มี
    ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่พึงรู้จักตนว่า เรา
    เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเพียงเท่านี้ เรา ก็ไม่พึงเรียกว่า
    เป็นอัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
    ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู, ภิกษุเป็นธัมมัญญู
    อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้.

    ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับ จีวร
    บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จักประมาณ
    ในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ไม่พึงเรียกว่า
    เป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสะ และ
    คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู, ภิกษุเป็นธัมมัญญู
    อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญูด้วยประการฉะนี้.
    ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาล
    เรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้ เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น
    หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นการประกอบ
    ความเพียร นี้เป็นการหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จัก
    กาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็น
    กาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า เป็นกาลัญญู, ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู
    อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วยประการฉะนี้.
    ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัท
    กษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึง
    ยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงพูดอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้
    จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู

    แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์... พึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้น เราเรียกว่า
    เป็นปริสัญญู, ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู
    ด้วยประการฉะนี้.
    ก็ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้รู้จักบุคคลโดย
    ส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการเห็นพระอริยะ พวกหนึ่งไม่
    ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ
    บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่
    ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการจะฟังสัทธรรม พวกหนึ่งไม่
    ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ
    บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่
    ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟัง
    ธรรม บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม
    พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือพวก
    หนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรง
    จำธรรมไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พึงได้รับ
    ความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ฟ้งแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวก
    หนึ่งพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
    ที่ทรงจำไว้ บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียนด้วย
    เหตุนั้น ๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญ
    ด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก
    คือ พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พวกหนึ่ง หารู้อรรถรู้ธรรม
    แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่
    ธรรมไม่ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่
    ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม
    สมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติ
    เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
    บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุ
    นั้น ๆ บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความ
    สรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒
    ฉะนี้แล ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญู อย่างนี้แล
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควร
    ของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

    จบ ธัมมัญญูสูตรที่ ๔
    อรรถกถาธัมมัญญูสูตรที่ ๔

    ธัมมัญญูสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    บทว่า กาล ชานาติ ความว่า ย่อมรู้จักกาลอันควรที่มาถึงแล้ว. บทว่า อย กาโล
    อุทฺเทสสฺส ความว่า นี้เป็นเวลาเรียนพระพุทธวจนะ. บทว่า ปริปุจฺฉาย ความว่า
    เป็นเวลาสอบถามถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า
    โยคสฺส ความว่า เพื่อใส่การกระทำในการประกอบความเพียร. บทว่า ปฏิสลฺลานสฺส
    ความว่า เพื่อความเป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่ผู้เดียว. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า
    เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น อันเป็นธรรมสมควร แก่โลกุตตรธรรม ๙.
    คำว่า เอว โข ภิกฺขุ ปุคฺคลปโรปรญฺญู โหติ ความว่า ภิกษุย่อมเป็นผู้สามารถรู้
    จักความยิ่งและหย่อน คือ ความกล้าแข็งและอ่อนแอของบุคคลทั้งหลาย ด้วยประ
    การฉะนี้.
    จบ อรรถกถาธัมมัญญูสูตรที่ ๔

    ข้อความโดยสรุป

    ๔. ธัมมัญญูสูตร
    (ว่าด้วยธรรม ๗ ประการ มีรู้จักธรรม เป็นต้น)
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ว่า เป็นผู้ควร
    ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ...(ซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระอริยบุคคล) ดังนี้ คือ
    ๑. รู้จักธรรม (เข้าใจธรรม ซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
    ๒. รู้จักอรรถ (เข้าใจความหมายของภาษิตซึ่งเป็นคำพูด)
    ๓. รู้จักตน (รู้ตนเองตามความเป็นจริงว่า มี ศรัทธา ศีล การฟังพระธรม เป็นต้น
    มากน้อยเพียงใด)
    ๔. รู้จักประมาณ (รู้จักประมาณในการับปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่-
    อาศัย และยารักษาโรค)
    ๕. รู้จักกาล (รู้จักว่ากาลไหนควรเรียน ควรสอบถาม ควรประกอบความเพียร
    ควรหลีกออกเร้นอยู่)
    ๖. รู้จักบริษัท (รู้จักประชุมชนต่าง ๆ พร้อมทั้งระเบียบข้อปฏิบัติในการเข้าไป
    สู่ประชุมชน นั้น ๆ)
    ๗. รู้จักความยิ่งความหย่อนของบุคคล (รู้ัจักบุคคลตามเป็นจริง ว่า มีอัธยาศัย
    ความประพฤติเป็นไปอย่างไร)
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 7
    ข้อความบางตอนจาก เรื่อง พระเอกุทานเถระ
    ลักษณะผู้ทรงธรรมและไม่ทรงธรรม
    พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือ
    พูดมากว่า ' เป็นผู้ทรงธรรม ' ส่วนผู้ใดเรียนคาถาแม้คาถาเดียวแล้วแทง
    ตลอดสัจจะทั้งหลาย, ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม" ดังนี้แล้ว ตรัส
    พระคาถานี้ว่า:-
    บุคคล ไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก;
    ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรมด้วย
    นามกาย, บุคคลใด ไม่ประมาทธรรม, บุคคลนั้นแล
    เป็นผู้ทรงธรรม."

    ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน ก็คือ

    มานะทั้งหมดมีการยกตน และ ข่มผู้อื่น เป็น นิมิตร
    คือเป็นสภาพที่ปรากฏให้รู้ได้
    เป็นเหตุให้ไม่ทำการกราบไหว้ ต้อนรับ
    คือ อัญชลีกรรม และ สามีจิกรรม เป็นต้น
    ในท่านผู้อยู่ในฐานะที่ควรเคารพ
    เป็นเหตุให้ถึงความประมาท
    โดยความมัวเมาในชาติเป็นต้น
    ซึ่งสภาพธรรมที่ตรงข้ามกับมานะ
    ก็คือในขณะที่ จิตอ่อนน้อมในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
    ความรู้สึกในขณะนั้นดุจคนจัณฑาล เข้าไปสู่ราชสภา

    เอาบุญมาฝากตั้งใจว่าจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน บอกบุญผู้อื่น กรวดน้ำอุทิศบุญ บูรณะ
    สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาทาง SMS 9 บาท
    ให้อภัยทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เมื่อวานนี้ได้ไปปิดทองสักการะพระธาตุ
    กราบสังขารอดีตเจ้าอาวาสที่เจดีย์วัดแจ้ง อนุโมทนากับผู้ไปทำบุญที่วัดแจ้ง
    เช่นให้อาหารปลา ปิดทอง กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาส อนุโมทนากับป้ายบอกบุญตามข้างทาง
    และตั้งใจว่าจะอนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง ให้อาหารสัตว์เป็นทาน
    สร้างพระและเจดีย์และนำดอกไม้มาถวายบูชาพระรัตนตรัย ถวายข้าวพระพุทธ และ
    เมื่อวานนี้ได้อนุโมทนากับเพื่อนๆที่ได้ให้อาหารและความรู้เป็นทาน เมื่อวานนี้ได้
    ให้อาหารสัตว์เป็นทานตามถนนหนทาง สร้างพระและเจดีย์และนำดอกไม้มาบูชาพระรัตนตรัย
    และสวดมนต์เป็นประจำ และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    บุญใหญ่ 3 อานิสงส์ ขอเชิญร่วมสร้าง "พระศรีอาริยเมตไตรย-ลป.ทวด" ถวาย "ลป.ญาท่านสวน"
    --------------------------------------------------------------------------------
    วัตถุประสงค์ในการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีอุบลนี้ได้แก่
    1. ประดิษฐานพระพุทธปางมหาจักรพรรดิ์
    2. ประดิษฐานพระพุทธมงคลนาุอุดมประทานพรวิสุทธิผล
    3. ประดิษฐานลอยพระพุทธบาืทจำลอง
    4. ประดิษฐานพระสุนทรีวาณี
    5. ประดิษฐานพระมหาอุปคุต ผู้ปราบพญามารและผู้เป็นเอกแห่งลาภ
    6. จารึกประวัติพระอนุพุทธ 80 องค์ และจารึกอักขระเลขยันต์ต่างๆบนฝาผนัง
    7. บรรจุพระกรุ 84,000 องค์
    8. ประดิษฐานรูปเหมือน 4 บูรพคณาจารย์
    9. เป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาวัตถุมงคลแต่ละรุ่นของหลวงปู่ทั้งหมด
    10. ประดิษฐานระฆังสำริดหล่อแบบโบราณ
    ถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของพวกเราที่จะได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการร่วมสร้าง "เหรียญพระศรีิอาริยเมตไตรยทรงเครื่องปางมหาจักรพรรดิ์ - หลวงปู่ทวด" ในครั้งนี้... จึงขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมด้วยช่วยกันในการรวบรวมชนวนศักดิ์สิทธิ์จากพระอริยสงฆ์องค์ครูบาอาจารย์ทั้งหลายทั่วประเทศให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้นะคะ
    ที่อยู่ในการจัดส่งชนวนโลหะเพื่อร่วมสร้างพระ... ขอความกรุณาวงเล็บไว้ด้วยว่า "สร้างพระถวายหลวงปู่ญาท่านสวน"
    คุณคันธ์ชิต บุญลาภวงศ์สกุล
    9/165 หมู่บ้านลลิลกรีนวิลล์
    ถ.สุขาภิบาล 5
    แขวงออเงิน เขตสายไหม
    กรุงเทพฯ 10220

    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพเทปูน รอบองค์พระธาตุเจดีย์ ให้เสร็จก่อนวันงาน ๑๘ เม.ย. ๕๔
    --------------------------------------------------------------------------------
    ๑. ใช้ปูนเทพื้น จำนวน ๑๐ คิว ๆ ละ จำนวน ๑,๔๐๐ บาท
    ๒. ใช้เหล็กวายเมตในการเทพื้น จำนวน ๕ ม้วน ๆ ละ ๘๐๐ บาท
    ทางวัดจึงขอประชาสัมพันธ์บอกบุญมายังคณะศรัทธาสาธุชนทั้งหลาย ได้ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพเทปูนบริเวณรอบองค์พระธาตุเจดีย์ ตามกำลังศรัทธาของท่านทั้งหลาย และขอให้อานิสงค์ผลบุญในครั้งนี้ ส่งผลให้คุณโยมทั้งหลายประสบความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยเทอญ.
    จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาร่วมบุญ ตามกำลังศรัทธา
    ขอเจริญพร
    พระครูปลัดอัครพล กนฺตธมฺโม
    เจ้าสำนักสงฆ์ฉลองราชศรัทธาราม
    ร่วมทำบุญเทปูนรอบพระธาตุเจดีย์ได้ที่
    ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่เมาะ
    ชื่อบัญชี
    สำนักสงฆ์ฉลองราชศรัทธาราม (ก่อสร้างพระธาตุเจดีย์)
    เลขที่บัญชี
    ๕๐๐-๐-๑๘๐๗๔-๗
    ร่วมจัดส่งพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในองค์พระธาตุเจดีย์ได้ที่
    วัดฉลองราชศรัทธาราม
    เลขที่ ๕๘๔ หมู่ที่ ๕ (บ้านใหม่ฉลองราช)
    ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
    รหัสไปรษณีย์ ๕๒๒๒๐ โทรศัพท์ ๐๘-๕๐๓๗-๐๓๗๐

    ขอเชิญร่วมทำบุญ สร้างแม่พิมพ์ หล่อสมเด็จองค์ปฐม หน้าตัก ๒ เมตร สาธุ ๆ ๆ
    --------------------------------------------------------------------------------
    โทรศัทพ์ ๐๘-๕๐๓๗-๐๓๗๐ อีเมล์ maemoh1@hotmail.com
    ร่วมทำบุญสร้างแม่พิมพ์สมเด็จองค์ปฐมฯ ได้ที่
    ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่เมาะ
    ชื่อบัญชี
    สำนักสงฆ์ฉลองราชศรัทธาราม (ก่อสร้างสมเด็จองค์ปฐม ๕๐๐ องค์)
    เลขที่บัญชี
    ๕๐๐-๐-๑๘๕๐๐-๕


    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ
    หล่อสมเด็จองค์ปฐมเนื้อสำฤทธิ์ หน้าตัก ๑๙ นิ้ว ศิลปะอยุธยา
    "พระพุทธปฐมบรมไตรโลกเชษฐมหาพิทักษ์"
    "องค์ปฐมคุ้มภัย"
    วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๔
    วัดพุน้ำร้อน ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
    ท่านสามารถร่วมสร้างมหากุศลครั้งนี้ได้ดังนี้
    ๑. ร่วมส่งแผ่นทองอธิษฐานจากครูบาอาจารย์ หรือของท่านและคณะ ชนวมมวลสารอันเป็นมงคลต่าง ๆ เพื่อรวมเป็นชนวนหล่อองค์ปฐมได้ที่
    โครงการจัดสร้างระฆัง ๑๒ นักษัตร ถวายเป็นพระราชกุศล ๕ ธันวามหาราช
    ตู้ปณ.๑๒ ปณฝ.ธรรมศาสตร์ รังสิต
    ๑๒๑๒๑
    ๒. โอนเงินเข้าบัญชีโครงการ(ใช้บัญชีเดียวกับระฆัง งานเกี่ยวเนื่อง)
    บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขา มาบุญครองเซ็นเตอร์
    ชื่อบัญชี ระฆัง ๑๒ นักษัตร ถวายเป็นพระราชกุศล ๕ ธันวามหาราช
    บัญชีเลขที่ ๖๙๘-๐-๐๙๐๖๖-๖


    เนื่องด้วยทางวัดพระธาตุแม่เจดีย์มีการจัดสร้างองค์หลวงปู่ครูบาศรีวิชัยขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีขององค์หลวงปู่ครูบาศรีวิชัยที่ท่านได้เป็นต้นแบบพระอริยะของประเทศ และเป็นพระอริยเจ้าที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    สำหรับบัญชีการร่วมบุญ
    พระครูไพบูลย์ พัฒนาภิรักษ์ (ถวัลย์ ปรักกโม)
    เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแม่เจดีย์
    หมายเลขบัญชี 5980186042 ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาแม่ขะจาน
    เบอร์โทร 085-7063570
    และต้องการมวลสารที่ใช้หล่อสัมฤทธิ์
    ท่านสามารถส่งร่วมบุญได้ที่
    พระครูไพบูลย์ พัฒนาภิรักษ์
    วัดพระธาตุแม่เจดีย์ หมู่ที่ 3 บ้านแม่เจีย์ อ.เวียงป่าเป้า
    จ.เชียงราย 57260
    สำหรับเว็บที่ดูภาพวัดเพิ่มเติม
    วัดพระธาตุแม่เจดีย์
    http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=669.0
    Bloggang.com :
     

แชร์หน้านี้

Loading...