เรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ "กฐิน"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย นะมัตถุ โพธิยา, 22 ตุลาคม 2008.

  1. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    กฐิน

    หมายถึง การถวายผ้าให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล ๑ เดือนหลังจากออกพรรษาแล้วเท่านั้น ตามพระวินัยกำหนด คือ นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
    จึงถือเป็นกาลทาน เพราะต้องทำภายในระยะเวลา ๑ เดือนที่พระวินัยกำหนด ถ้าถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือว่า หาโอกาสทำได้ยาก ประกอบด้วย ๒ พิธี คือ


    พิธีทอดกฐินและอปโลกน์กฐิน
    การทอดกฐิน เป็นพิธีกรรมฝ่ายผู้ถวาย คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่ง แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผาไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำการอปโลกน์กฐิน คือ การมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระมีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการเพียงนี้ ตามพระวินัยถือว่า พิธีทอดกฐินและอปโลกน์กฐิน ไม่ใช่สังฆกรรม จึงทำที่โบสถ์หรือศาลาก็ได้


    พิธีกรานกฐิน
    เป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ คือ ภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้วภิกษุรูปหนึ่งขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ ครั้นแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน เปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้นตามลักษณะผ้าที่กราน ลำดับนั้นท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงฆ์กล่าวคำอนุโมทนาประกาศ ต่อนั้นสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุ
    ทั้งปวงอนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ จนหมด เมื่อเสร็จแล้วหันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมาว่าพร้อมกันอีก ต่อจากก็นั้นสวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธี ตามพระวินัยถือว่า พิธีกรานกฐิน เป็นสังฆกรรม จึงต้องทำเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น


    * สังฆกรรม คือ การประชุมสงฆ์เพื่อทำกิจใดๆเฉพาะตามที่พระวินัยกำหนด
    เช่น สวดปาติโมกข์(สวดศีล๒๒๗), บวชพระ, กรานกฐิน, ปวารณาออกพรรษา เป็นต้น


    อานิสงส์สำหรับฝ่ายผู้ถวายและคณะ
    (๑) ชื่อว่าได้ถวายสังฆทาน อันเป็นทานที่มีอานิสงส์ผลบุญใหญ่กว่าทานทั่วไป แม้ผ้ากฐินนั้นจะตกแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ชื่อว่าได้ถวายแก่หมู่สงฆ์เป็นส่วนรวม
    (๒) ชื่อว่าได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งห่มใหม่ อานิสงส์ผลบุญของการถวายผ้าคือ ในชาติหน้า ถ้าเกิดเป็นเทวดาก็ทำให้มีเครื่องประดับเป็นทิพย์งดงาม ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็มีเสื้อผ้าใช้ไม่ขาดแคลน
    (๓) การทอดกฐินทำให้เกิดสามัคคีธรรม คือการร่วมมือกันทำคุณงามความดี เพื่อรักษา
    พระศาสนาให้ยั่งยืนสถาพรสืบไป


    อานิสงส์สำหรับฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับและกรานกฐิน
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ (ในวินัยปิฎก เล่ม ๕ หน้า ๑๓๖) ว่า ภิกษุผู้กรานกฐินแล้วย่อมได้รับประโยชน์ ๕ ประการทางพระวินัย ทำให้พระสงฆ์รักษาพระวินัยได้สบายขึ้น ดังนี้คือ
    (๑) รับนิมนต์ฉันไว้แล้วไปไหนไม่ต้องบอกลาภิกษุในวัด ตามความในสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์
    (๒) ไปไหนไม่ต้องนำไตรจีวรไปครบสำรับ
    (๓) เก็บผ้าที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษไว้ได้ตามปรารถนา
    (๔) จีวรอันเกิดในที่นั้นเป็นสิทธิของภิกษุเหล่านั้น
    (๕) ขยายเขตแห่งการทำจีวรหรือการเก็บจีวรไว้ได้จนถึงสิ้นฤดูหนาว (คือจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสุดท้าย)

    สังฆทาน และ วิหารทาน คืออะไร?
    สังฆทาน หมายความว่า ถวายวัตถุสิ่งของในหมู่สงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตามพระวินัยท่านเรียกกันว่าคณะสงฆ์ ถ้าบุคคลเดียวเป็น ปาฏิปุคคลิกทาน(ทานเป็นส่วนบุคคล)
    วิหารทาน คือ การสร้างถาวรวัตถุ มีการก่อสร้าง เช่น สร้างพระอุโบสถ วิหาร ส้วม ศาลา การเปรียญ กุฏิ เจดีย์ เป็นต้น


    อานิสงส์ถวายสังฆทาน และวิหารทาน
    การถวายทานเป็นส่วนบุคคลกับถวายเป็นสังฆทาน อานิสงส์มันต่างกันหลายแสนเท่า ดังนี้
    ให้ทานกับพระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับ พระพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
    ให้ทานกับพระพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง
    และถ้า ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับ ถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง


    การถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และก็ถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวายเกิดไปทุกชาติขึ้นชื่อว่าความยากจน เข็ญใจไม่มี ในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน คนที่ถวายสังฆทานแล้ว จะไม่เกิดในที่นั้นผลที่ให้ไปไกลมาก กล่าวว่า แม้แต่พระพุทธญาณเองก็ยังไม่เห็นผลที่สุดของการถวายสังฆทาน


    คำว่าไม่เห็นที่สุดของการถวายสังฆทาน หมายความว่า แม้แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของสังฆทาน บำเพ็ญบารมีแล้ว แล้วเกิดไปอีกกี่แสนชาติก็ตาม จนกระทั่งเข้าพระนิพพาน อานิสงส์นั้นก็ยังไม่หมด


    การทอดกฐิน กับ การทอดผ้าป่า อย่างไหนได้อานิสงส์มากน้อยกว่ากัน?
    กฐิน กับ ผ้าป่า เป็น สังฆทาน ด้วยกันทั้งคู่ แต่ทว่าอานิสงส์กฐิน ได้มากกว่า
    เพราะกฐินทำได้ยากกว่า เนื่องด้วยกฐินมีข้อจำกัดมากกว่าทานประเภทอื่นๆ ๗ ประการ คือ
    1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
    2. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป
    3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
    4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
    5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
    6. จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
    7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝนได้ในช่วงเข้าพรรษา แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง


    สำหรับอานิสงส์ก็ได้ทั้งสองฝ่าย คือผู้ทอด(ฆราวาส)ก็ได้อานิสงส์สังฆทา และพระผู้รับก็ได้อานิสงส์ทางพระวินัย คือ พระผู้รับมีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท ทำให้รักษาพระวินัยได้สบายขึ้น

    ท่านกล่าวว่า การทอดกฐินครั้งหนึ่ง จะอธิษฐานปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอรหันต์สาวกก็ได้ ถ้าหากว่ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใดอานิสงส์จะให้ผลท่านผู้นั้น แต่คนที่ทอดผ้ากฐิน หรือว่าร่วมในการทอดผ้ากฐินครั้งหนึ่งก็ดี บุญบารมีส่วนนี้ยังไม่ทันจะหมดก็ปรากฏว่าท่านเจ้าของทานไปนิพพานก่อน


    ผ้าป่า ก็เป็นสังฆทาน แต่อานิสงส์จะน้อยกว่าไปนิด เพราะผ้าป่าไม่จำกัดกาล
    คือ ทำได้ตลอดทั้งปี ปีละกี่ครั้งก็ได้ แต่ละวัดรับผ้าป่าได้ไม่จำกัดจำนวน
    ผ้าป่า ผู้ถวายได้อานิสงส์สังฆทาน แต่พระผู้รับได้อานิสงส์แค่ใช้สอย(ไม่ได้อานิสงส์ทางพระวินัย)
    สรุปเป็นอันว่าทั้งสองอย่างนี้ถือว่า อานิสงส์การทอดกฐิน มากกว่า ผ้าป่า


    องค์กฐิน ที่แท้จริง เป็นอย่างไร?
    องค์กฐิน จริง ๆ คือ ผ้าไตร นอกนั้นเป็นบริวาร เวลากรานกฐินจริง ๆ เรากรานได้แต่ผ้า
    การถวายก็ไม่ยาก เรามีผ้าจีวรผืนหนึ่ง หรือว่าสบงผืนหนึ่ง หรือว่าสังฆาฏิผืนหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ จะถวายทั้งไตรก็ได้ ถวายมากก็ได้ ถวายน้อยก็ได้ อานิสงส์เหมือนกัน


    การถวายทานแก่พระสงฆ์แต่ละองค์ มีผลไม่เสมอกัน?
    การถวายทานแก่พระที่มีจิตกำลังฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจของนิวรณ์(กิเลส) ๕ ประการ
    อานิสงส์ก็ไม่มากเท่ากับ ถวายแก่พระสุปฏิปันโน(ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ) คือ พระที่เข้าถึงจิตบริสุทธิ์
    ถ้ายิ่งได้ถวายทานหลังจากที่พระเพิ่งออกจากสมาธิ ตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ ฌานสมาบัติ(สมาธิขั้นสูง) จนถึงผลสมาบัติ(สมาธิของพระอริยะเจ้าผู้ตัดกิเลสได้) อย่างนี้ก็ยิ่งมีผลมากๆ


    มหากฐินคืออะไร?
    มหากฐิน คือ การถวายผ้ากฐินแด่พระทุกรูปในวัด และอาจถวายของอื่น ๆ ไปพร้อมกับองค์ กฐินเรียกกันว่า บริวารกฐิน ตามที่นิยมกันมีปัจจัย ๔ คือ เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร มีไตรจีวร บริขารอื่น ๆ ที่จำเป็น เป็นของที่สมควรแก่พระภิกษุสามเณรจะบริโภค


    มหากฐินแตกต่างจากกฐินทั่วไปอย่างไร?
    กฐินทั่วไป จะถวายผ้ากฐินแด่พระ ๑ รูปเท่านั้น จึงทำให้พระในวัดอีกหลายรูปที่อาจขาดแคลนผ้านุ่งห่มไม่ได้รับผ้าใหม่ จึงดำรงชีพด้วยความลำบาก เพราะตามพระวินัยห้ามพระสงฆ์ขอผ้านุ่งห่มจากฆราวาส (ยกเว้น ญาติตามสายโลหิต และผู้ที่ปวารณาตนเป็นอุปัฏฐาก)
    มหากฐิน ทำให้พระทั้งวัดได้รับผ้าใหม่ครบทุกรูป จึงปฏิบัติศาสนธรรมได้สะดวกขึ้น


    กฐินสามัคคีคืออะไร?
    เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน มักจะตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ดำเนินการแล้วมี หนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่นด้วย เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน รวมทั้งบริวาร ปัจจัยที่เหลือก็ถวายวัดเพื่อทางวัดจะนำไปใช้จ่ายในทางที่ควร กฐินสามัคคีนี้มักนำไปทอดยัง วัดที่กำลังมีการก่อสร้างหรือกำลังบูรณะปฎิสังขรณ์ เพื่อเป็นการสมทบทุนให้วัด


    กฐินสามัคคีแตกต่างจากกฐินทั่วไปอย่างไร?
    อานิสงส์กฐินแท้จริง อยู่ที่ผ้ากฐินเท่านั้น
    กฐินทั่วไป มีเจ้าภาพเพียงแค่คนเดียว(หรือกลุ่มเดียว)เท่านั้น ที่เป็นเจ้าของผ้ากฐิน
    กฐินสามัคคี ถือว่า ผู้ร่วมบุญทุกคนเป็นเจ้าของผ้ากฐิน(เจ้าภาพ)ร่วมกัน ทุกคนจึงได้อานิสงส์จาก
    ผ้ากฐินเท่ากันหมด (ไม่ว่าผู้นั้นจะร่วมบุญมากน้อยเท่าใด)

    ;aa20
     
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะศาลาการเปรียญวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325<O:p</O:p
     
  3. ปัทมินทร์

    ปัทมินทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +1,393
    อนุโมทนา สาธุ ไปทำความดี สะสมบุญ ละความชั่ว กันนะครับ
     
  4. โป๊ยเซียนสาว

    โป๊ยเซียนสาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,543
    ค่าพลัง:
    +2,279
    อนุโมทนา สาธุ เจ้าของกระทู้ที่นำความรู้มาบอกกล่าวกัน

    [​IMG]
     
  5. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    ปีนี้คุณทำบุญ ทอด"กฐิน"แล้วหรือยังครับ?



    อนุโมทนาสาธุ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...