เยือน’วัดฝอกวงซาน’ เมืองเกาสงแดนไต้หวัน

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 17 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b8a7e0b8b1e0b894e0b89de0b8ade0b881e0b8a7e0b887e0b88be0b8b2e0b899-e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887.jpg
    เยือน‘วัดฝอกวงซาน’ เมืองเกาสงแดนไต้หวัน


    เป็นครั้งแรกที่ได้ไปเยือนไต้หวัน รู้สึก ตื่นเต้นเป็นพิเศษ โดยทางซีพีออลล์ ชวนไปทำข่าวแข่งหมากล้อมระดับโลก ที่ “วัดฝอกวงซาน” ใน เมืองเกาสง (Kaohsiung) เมืองทางตอนใต้ของไต้หวันที่เป็นเมืองใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศนี้ เป็นเมืองท่าใหญ่ติดอันดับโลก มีอะไรน่าสนใจหลายอย่าง เป็นที่ถูกอกถูกใจของนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ครั้งนี้จะขอโฟกัสที่วัดนี้ที่เดียวก่อน

    8a7e0b8b1e0b894e0b89de0b8ade0b881e0b8a7e0b887e0b88be0b8b2e0b899-e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-1.jpg

    วัดฝอกวงซาน ชื่อไทยว่า วัดพุทธรังษีญาณสังวราราม หรือ มูลนิธิแสงพุทธธรรม อันเป็นสถานที่จัดงานแข่งหมากล้อม อยู่แถวชานเมือง นั่งรถออกไกลที่เดียวเกือบชั่วโมง เป็นวัดนิกายมหายาน สายรินไซเซ็นที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน

    ก่อตั้งมาประมาณ 50 ปีแล้ว และวัดแห่งนี้ได้ขยายสาขาไปทั่วโลกถึง 200 กว่าแห่ง ในไทยก็มีเช่นกัน

    ประวัติความเป็นมาของวัดนี้ไม่ธรรมดาเลย เริ่มตั้งแต่ที่พระเถระซิงหวิน หรือท่านซิงหวิน เจ้าอาวาสรูปแรกที่ก่อตั้งวัด ปณิธานของท่าน คือ มุ่งส่งเสริมงานด้านการศึกษาและช่วยเหลือสังคม ปัจจุบันมีพระสงฆ์และภิกษุณี 1,000 กว่ารูป ตอนนี้ท่านซิงหวินเป็นอาจารย์ใหญ่ของวัดฝอกวงซาน ส่วนเจ้าอาวาสจะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันมาบริหารในวาระ 4 ปี อยู่ได้ไม่เกิน 8 ปี เป็นการปกครองในรูปแบบองค์กรที่ดีทีเดียว ซึ่งที่นี่ถือเป็นองค์กรการกุศลที่ใหญ่สุดในไต้หวัน

    8a7e0b8b1e0b894e0b89de0b8ade0b881e0b8a7e0b887e0b88be0b8b2e0b899-e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-2.jpg

    การกำหนดวาระการทำงานแบบนี้ ส่วนหนึ่งพระจะได้ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง หรือแสดงว่าเป็นเจ้าของ

    ในเว็บไซต์ www.crs.mahidol.ac.th เขียนโดย นภาพร ทรัพย์โสภา เล่าถึงท่านซิงหวินว่า เกิดเมื่อปี พ.ศ.2470 เป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อยู่มณฑลเจียงตู บรรพชาเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาตอนอายุ 12 ปี และอุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี ที่วัดชีเสียซัน เมืองนานกิง จนสำเร็จการศึกษาสงฆ์ด้านวิปัสสนารินไซขั้นสูง ที่วิทยาลัยสงฆ์ชีเสียซัน

    พอปี พ.ศ.2492 ช่วงการปฏิวัติครั้งใหญ่ในจีน รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ ยึดวัดและที่ดินสงฆ์ บีบให้พระสงฆ์ลาสิกขาบทไปประกอบอาชีพทำไร่ทำนา พระเถระซิงหวินในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโส่วซัน เมืองนานกิง จึงรวบรวมกำลังพระสงฆ์ 70 รูป ข้ามทะเลมายังเกาะไต้หวัน

    [​IMG] [​IMG]

    8a7e0b8b1e0b894e0b89de0b8ade0b881e0b8a7e0b887e0b88be0b8b2e0b899-e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-3.jpg

    กระทั่งมาจำพรรษาที่วัดเหวียน กวง เมืองจงลี่ หลายปี ต่อมาย้ายไปอยู่ที่วัดเหลยอิน เมืองอี๋หลัน ด้วยวัตรปฏิบัติที่ทำเพื่อพุทธศาสนิกชน ทำให้ประชาชนในละแวกนั้นเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านเป็นอย่างมาก จึงพากันเรียกขานว่า “อาจารย์ที่ประตูทิศเหนือ” ที่นี่ท่านซิงหวินได้จัดตั้งชมรมสวดมนต์ขึ้น นอกจากนี้ยังได้ตั้งคณะเสียงสรรเสริญพุทธคุณขึ้นเป็นวงแรกของไต้หวัน และจัดตั้งกลุ่มเรียงความเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ในด้านภาษาวรรณกรรมด้วย พร้อมกันนั้นยังได้ก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์โซ่วซันขึ้นในพ.ศ.2507 ซึ่งมีนักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านซิงหวินจึงสร้างวิทยาลัยสงฆ์แห่งใหม่ที่เมืองเกาสง ในปี พ.ศ.2510 จนกลายเป็นวัดฝอกวงซันในปัจจจุบัน

    8a7e0b8b1e0b894e0b89de0b8ade0b881e0b8a7e0b887e0b88be0b8b2e0b899-e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-4.jpg

    ที่ผ่านมา พระเถระรูปนี้ได้สร้างคุณูปการต่อศาสนาพุทธนิกายมหายานมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน พูดได้ว่าคนในไต้หวันรู้จักชื่อเสียงเรียงนามและเลื่อมใสศรัทธาท่านเป็นอย่างมาก

    ใครที่ได้ไปเยือนวัดแห่งนี้ต่างประทับใจในความสวยงาม อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ดีต้องมีเวลาสักหนึ่งวันจะได้ดูให้ทั่วถึง เพราะวัดมีพื้นที่กว้างขวางสุดลูกหูลูกตา ครอบคลุมเขาทั้งลูก

    ภายในวัดมีอาคารหลากหลาย เป็นที่ประดิษฐานของ “พระทันตธาตุ” ของพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปหยกขาว ปางไสยาสน์จากเมียนมา รวมถึงพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบกษัตริย์ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานมา และยังมีวิทยาลัยสงฆ์ วิหาร หอบูชา ศาลา เจดีย์ สะพาน หอไตร หอฝึกสมาธิ พิพิธภัณฑ์ สระน้ำ ถ้ำจำลอง พระพุทธรูปใหญ่น้อยจำนวนมาก และมีพระพุทธรูปประดิษฐานองค์ใหญ่สุดสูงถึง 108 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่สูงที่สุดในไต้หวัน มีเจดีย์ซ้ายขวารวม 8 องค์

    8a7e0b8b1e0b894e0b89de0b8ade0b881e0b8a7e0b887e0b88be0b8b2e0b899-e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-5.jpg

    จุดนี้เป็นไฮไลต์ของวัดที่ผู้คนต้องมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกัน

    นอกจากนี้ยังมีอาคารรองรับผู้มาเยือน สามารถช็อปปิ้งของฝากของที่ระลึก ซึ่งแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวมาเยือนเป็นร้อยเป็นพัน เพราะใช่จะมาชมวัดกันเท่านั้น แต่วัดนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานต่างๆ ในระดับนานาชาติอีกด้วย

    โดย ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_2422362
     

แชร์หน้านี้

Loading...