เมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรม ... "พระราชวัง" จะคล้ายเป็น "สำนักวิปัสสนา" กลาย ๆ!!

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 11 พฤศจิกายน 2016.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    ตามรอยพ่อ...ต่อรอยธรรม!! เมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรม ... "พระราชวัง" จะคล้ายเป็น "สำนักวิปัสสนา" กลาย ๆ!!

    [​IMG]


    "การฝึกสมาธิ" ของ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" นั้น มิได้ทรงปฏิบัติแต่พระองค์เดียว หากยังทรงพระกรุณาพระราชทานคำแนะนำให้ผู้อื่นอย่างทั่วหน้า ข้าราชสำนักได้รับพระราชทานทั้งหนังสือและเทปคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ทรงเองแล้วและทรงเห็นว่าแยบคายหรืออาจจะมีประโยชน์อยู่เสมอ เมื่อทรงมีโอกาสก็พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับสมาธิให้ฟังเป็นครั้งคราว ทำให้ข้าราชบริพาร นายทหารและนายตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในราชสำนักพากันสนใจและฝึกสมาธิตามเสด็จกันเป็นจำนวนมาก
    ผลของพระมหากรุณาธิคุณเกี่ยวกับเรื่องนี้ทำให้พระราชฐานที่ประทับกลายเป็นสำนักวิปัสสนากลาย ๆ!!
    การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสมาธิหรือกรรมฐานเป็นปรากฏการณ์ธรรมดา!!
    ข้าราชบริพารหลายคนกลายเป็นผู้ใฝ่ธรรม!!

    [​IMG]


    [​IMG]


    เวลาเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับต่างจังหวัด งานอดิเรกอย่างหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ผู้ตามเสด็จฯ ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารชอบทำก็คือ การเร่ร่อนไปตามวัดหรือสำนักสงฆ์ต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสมาธิจากพระภิกษุสงฆ์ในฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    เมื่อการฝึกสมาธิได้กระทำโดยสม่ำเสมอเช่นนั้น ผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติก็คือ มีสติมั่นคง สามารถนำเอาสมาธิมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและการงาน และสามารถเผชิญกับอุปสรรคข้อขัดแย้งด้วยความเยือกเย็น ไม่ตีโพยตีพายหรือเสียสติ
    พระราชสมาธิในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงไม่เพียงแต่จะทำให้พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติลุล่วงไปอย่างเรียบร้อยเท่านั้น แต่มีอานิสงส์ทำให้มีผู้โดยเสด็จฯ และทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของคนเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือธุรกิจอื่นใด สำเร็จลุล่วงไปอย่างเรียบร้อยเช่นเดียวกันด้วย ...


    [​IMG]


    [​IMG]

    ที่มา : "การปฏิบัติธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร (จากหนังสือ "สองธรรมราชา", อัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์)


    -------------
    ที่มา
    panyayan.tnews
     

แชร์หน้านี้

Loading...