เพราะให้ไป จึงได้มา

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย slamb, 21 กรกฎาคม 2008.

  1. slamb

    slamb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,021
    ค่าพลัง:
    +538
    ถาม – ผมเป็นนักธุรกิจ ควรมีความเชื่อเรื่องกรรมอย่างไรจึงจะทำธุรกิจได้รุ่งเรือง?
    กฎ ธรรมชาติมีอยู่ข้อหนึ่ง คือ เพราะให้ไป จึงได้มา แต่เพราะตระหนี่ ถึงมีก็หมด กฎอันเป็นธรรมดาข้อนี้นะครับ ถ้ารู้ซึ้งเข้าไปจริงๆด้วยจิตแล้ว ไม่มีความสงสัยใดๆแล้ว คุณจะอยากฝึกให้ทานเป็นนิตย์ เหมือนเช่นที่พระพุทธองค์เคยตรัสว่าถ้าคนทั้งหลายทราบผล ทราบอานิสงส์ของการให้ทานแล้ว ก็คงแจกจ่ายอาหารให้ผู้อื่นก่อนบริโภคเองเป็นแน่แท้
    ถ้าหากสงสัยในแง่ที่ว่าเหตุใดชาตินี้ใครทำมาค้าขึ้น ใครขยันค้าขายแค่ไหนก็ขาดทุนยับเยินตลอดศก เสมือน [FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT]ทุนเก่า[FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT] ที่ลึกลับมีมาไม่เท่ากัน อันนี้ก็ขอให้ดูที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ผู้ใดเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วเอ่ยปากเปิดโอกาสให้พวกท่านขอปัจจัยที่ ต้องการ เมื่อสมณะหรือพราหมณ์เอ่ยปากขอแล้ว…
    ๑) เขากลับไม่ถวายปัจจัยตามที่รับปาก เมื่อเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ ก็ย่อมประสบกับความขาดทุน
    ๒) เขาถวายปัจจัยตามที่รับปากไว้ แต่ไม่เป็นไปตามความต้องการของสมณะหรือพราหมณ์ผู้ขอ เมื่อเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ ก็ย่อมไม่ได้กำไรตามที่ความมุ่งหวัง
    ๓) เขาถวายปัจจัยตามที่รับปากไว้ และตรงกับความต้องการของสมณะหรือพราหมณ์ เมื่อเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ ก็ย่อมได้กำไรตามที่มุ่งหวัง
    ๔) เขาถวายปัจจัยตามที่รับปากไว้ และของถวายมากเกินกว่าที่สมณะหรือพราหมณ์ต้องการ เมื่อเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ ก็ย่อมได้กำไรยิ่งกว่าที่มุ่งหวัง
    ที่พระพุทธเจ้าท่านยกเอาบุคคลอัน เป็นเป้าหมายของการให้ทานเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็เพราะความจริงมีอยู่ว่าสมณะหรือพราหมณ์นั้นเป็นบุคคลจำพวกที่ทรงคุณใหญ่ ขอให้ทราบว่าสมณะหรือพราหมณ์มิใช่จำเพาะเจาะจงแต่ว่าต้องเป็นภิกษุสงฆ์ในเขต พุทธศาสนา แต่เป็นนักบวชผู้มีความประพฤติพรหมจรรย์สะอาด มีศีลที่เหนือกว่าชาวบ้านร้านถิ่นธรรมดา นี่ก็นับว่าใช้ได้แล้ว
    เมื่อเข้าหาบุคคลผู้มีระดับจิต วิญญาณชั้นสูง เกิดความเลื่อมใสในบุญ เอ่ยปาก รับปาก ว่าจะจัดหาของใช้ให้ด้วยจิตคิดบริจาคอย่างแท้จริง นั่นเรียกว่ามีเชื้อ มีทุน มีปัจจัยอยู่กับตัว เกิดชาติใดถ้าอยากเป็นพ่อค้าแม่ขาย อยากเป็นคหบดีใหญ่ผู้มีทรัพย์มาก ก็ย่อมอาศัยทุนใหญ่ประเภทนี้เองเป็นตัวชี้ชะตา ว่าจะค้าขายขาดทุนหรือได้กำไร
    อย่างไรก็ตาม ดังกล่าวแล้วว่าทุนจากอดีตชาติเป็นของลึกลับ เชื่อได้ยาก แม้รู้ว่าผลลัพธ์มีจริง แต่ก็ไม่อาจสืบพิสูจน์ทราบได้จะแจ้ง เว้นแต่จะเป็นผู้มีสมาธิจิตผ่องแผ้วพอจะโน้มน้อมไปรู้เห็นเหตุผลระดับข้ามภพ ข้ามชาติได้ ฉะนั้นมาดูทานที่เป็นปัจจุบันดีกว่า ตั้งคำถามง่ายๆครับ คุณทำเพื่อลูกค้าแค่ไหน?
    คำว่า [FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT]นักธุรกิจ[FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT] นั้นเหมือนมีแต่เอา ความจริงไม่ใช่เช่นนั้นเลย คุณจะค้าขายอะไรก็ตาม หากมีจิตคิดให้ประโยชน์แก่ลูกค้า ผลิตสินค้าอะไรก็คัดแต่สิ่งดีๆ สิ่งที่คุณรู้แก่ใจว่านั่นคือของเลิศสุด สมราคาที่สุด ผ่านกระบวนการผลิตที่น่าไว้ใจสูงสุด เท่านั้นก็จัดเป็นการค้าขายด้วยจิตอนุเคราะห์แล้ว
    เปรียบเทียบแบบอ้อมๆกับพุทธพจน์ข้าง ต้น ก็คือว่าคนซื้อเขาต้องการของอย่างหนึ่ง สินค้าของคุณเสมือนการรับปากว่าจะจัดให้ตามที่เขาต้องการ ก็เรียกว่าเสมอกันระหว่างเงินที่ยื่นมากับของที่ให้เขาไป ความสุขความพอใจของฝ่ายซื้อหาย่อมทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองหรือมีกำไร ตามที่คาดเอาไว้
    แต่หากคุณให้ [FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT]เกินความต้องการ[FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT] คือลูกค้าได้อะไรเกินคาด เกินราคาสินค้าระดับเดียวกัน คุณไม่ต้องเพิ่ม แต่ก็เพิ่มให้ หากมีจิตคิดอนุเคราะห์โดยบริสุทธิ์แท้จริงแล้ว ก็หวังได้ว่าคุณจะมีกำไรอื้อซ่า หรืออย่างน้อยก็เกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ในการทำแผน
    แต่แม้จะเป็นเรื่องพิสูจน์ได้ในชาติ ปัจจุบัน ของก็ต้องรอเวลาให้ผลเหมือนกันนะครับ หรืออาจจะมีปัจจัยแทรกซ้อนซึ่งคาดเดายากมาบั่นทอนกำลังใจเสียก่อน เช่นคุณเคยไปสัญญากับพระอรหันต์ว่าจะถวายปัจจัยที่ท่านต้องการ แล้วเกิดลืม หรือเกิดขี้เกียจ หรือมีเหตุติดขัดให้ไม่อยากถวาย แบบนี้คุณเจอวิบากหนักชนิดแก้ยาก และจะทำให้คุณท้อถอยในการมีจิตคิดอนุเคราะห์ นี่ก็ทำให้อดเห็นผลของการค้าขายแบบมีจิตอนุเคราะห์ได้เหมือนกัน
    ความสุขและความพอใจของคนกลุ่มใหญ่ นั้น ถ้าว่ากันตามจิตวิทยาเชิงการตลาดคือการสร้างภาพที่ดี น่าประทับใจ และอยากอุดหนุนให้ลูกค้า แต่ในแง่ของกรรม ถ้าคุณให้กับคนอื่นด้วยความจริงใจ ก็จะได้ใจจริงตอบกลับมา นี่อาจเป็นคำตอบว่าทำไมบางทีพ่อค้าวางแผนแจกจ่ายของฟรีอย่างดิบดี แต่กลับไม่ได้รับความพอใจ นั่นก็เพราะไม่มี [FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT]ใจ[FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT] อยู่ในสินค้าตั้งแต่แรก มีแต่การให้แบบลงทุนหวังผลตอบแทน หวังทำยอดให้เข้าเป้าหรือเกินเป้า และจิตที่คิดให้แบบลงทุน ก็มักเหมือนมีม่านหมอกบดบังทัศนวิสัย มันทำให้ความคิดอ่านและการคัดสรรของคุณพร่าเลือนหรือกระทั่งเลวลง จนตัดสินใจเลือกอะไรผิดๆ ไม่น่าประทับใจสำหรับลูกค้า
    ส่วนจิตที่คิดให้ จิตที่คิดอนุเคราะห์ จิตที่หวังประโยชน์ผู้อื่นเป็นที่ตั้งนั้น จะทำให้คุณมีรสนิยมดี รวมทั้งเข้าถึงศาสตร์และศิลป์แห่งการค้าอย่างแท้จริง จิตคุณจะมีศักยภาพในการคัดเลือก ในการตัดสินใจ และในการคิดค้นปรับปรุงแก้ไขกิจการให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นได้ คุณต้องไปถึงจุดนั้นถึงจะเห็นและเชื่อด้วยตนเองครับว่า ทานจิตนั่นแหละ ปัจจัยสำคัญสูงสุดสำหรับการเป็นพ่อค้าแม่ขายผู้ประสบความสำเร็จ

    ถาม – ทำไมคนค้าขายสินค้าที่ผิดศีลธรรมจึงร่ำรวย?
    ก่อนอื่นต้องมองว่าการค้าขายเริ่มต้นขึ้นจากความต้องการซื้อ เมื่อมีความต้องการซื้อย่อมมีผู้เสนอตัวเข้ามาหยิบยื่นสินค้าให้ ใน โลกนี้กิเลสของคนผลักดันให้อยากซื้ออะไร ขอให้มองและตรองตามจริงก่อน จะเห็นว่าเครื่องของอันเป็นไปในทางอบายมุข ทั้งเหล้ายา นารี เกมการพนัน ล้วนเป็นที่ต้องการอันดับหนึ่ง ดังนั้นใครครองตลาดได้ก่อน ได้ส่วนแบ่งมาก ย่อมมีรายได้มากเป็นเงาตามตัว และย่อมมีอิทธิพลเหนือธุรกิจอื่นซึ่งชาวโลกอยากซื้อหาน้อยกว่าด้วย
    ความฉลาดเกี่ยวกับกลไกการตลาด วิธีผลักดันด้วยภาพลักษณ์น่าประทับใจผ่านระบบโฆษณาอันล้ำลึก ล้วนเป็นตัวแปรให้สินค้าขายดิบขายดียิ่งกว่าเทน้ำเทท่า
    มองในแง่ที่จับต้องได้เช่นนั้นแล้ว ลองหันมามองในแง่ที่จับต้องไม่ได้บ้าง การค้าขายสินค้าผิดศีลธรรมไม่ใช่เหตุแห่งความวิบัติของทรัพย์สินเงินทองโดยตรง เพราะฉะนั้นทรัพย์ที่ได้มาถ้าเก็บสะสมไว้ก็จะยิ่งพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีเหตุปัจจัยลึกลับมากระทำให้พินาศลง
    กรรมอันเป็นเหตุแห่งความวิบัติของ ทรัพย์สินเงินทองโดยตรงคือการลักขโมย ความคดโกง ความอกตัญญู ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดใจการพนัน ถ้าคุณลองสำรวจคุณสมบัตินักค้าของผิดศีลธรรมรายใดแล้วไม่พบกรรมอันนำไปสู่ ความวิบัติแห่งทรัพย์ดังกล่าวมา ก็อย่าเพิ่งไปอยากให้เขาวิบัติเป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ค้าของผิดศีลธรรมราย อื่น เหมือนกับที่คุณไม่ชอบใครแล้วจะไปแช่งให้เขาล่มจมตามใจชอบไม่ได้ กรรมของเขาเองช่วยเลี้ยงดูสมบัติของเขาอยู่ และกรรมของเขาเองอาจช่วยกวาดล้างสมบัติของเขาเมื่อถึงเวลาไปเอง
    ลองดูแง่ดีของเขาบ้างดีกว่า ส่องให้เห็นว่าเขาเคยบริจาคอะไรให้สังคมบ้างไหม? เขามีใจคิดสละไหม? เขาค้าขายซื่อตรงกับลูกค้าไหม? เขาห่างจากการพนันไหม? หากเขามีกรรมที่เป็นบวกอยู่มาก คุณก็ต้องให้เครดิตเขาว่าเป็นผู้ฉลาดในกองบุญอยู่บ้าง และเห็นตามจริงว่าเขาได้ในสิ่งที่สมควรจะได้แล้ว
    เจ้าของธุรกิจใหญ่นั้นมักอยู่ในฐานะ เจ้านายใหญ่ซึ่งมีผลกระทบกับหมู่คนจำนวนมากไปด้วย และความเป็นนายใหญ่ก็รวมกรรมหลากหลายไว้ในหนึ่งเดียว เช่นความเมตตาต่อลูกน้อง ความเอื้ออาทรต่อสังคม หากศึกษาชีวประวัติของบุคคลที่ร่ำรวย คุณจะพบว่าแต่ละคนต้อง [FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT]ให้[FONT=Tms Rmn,Times New Roman][/FONT] อะไรคนอื่นมามาก เขาจึงมีเส้นสาย มีคนอยากตอบแทน และมีช่องทางมากกว่าคู่แข่งอื่นๆ
    การให้ของคนๆหนึ่งนั้น มีเขารู้อยู่แก่ใจว่าให้แบบหวังผล ให้ด้วยความเคยชิน หรือให้ด้วยจิตคิดอนุเคราะห์อย่างแท้จริง หากคุณไม่อาจหยั่งทราบน้ำใจของใครได้ ก็ขอให้ดูผลว่าเขาประกอบกิจการได้งอกเงยยั่งยืนเพียงใด หยัดสู้คู่แข่งได้เหนียวแน่นยาวนานแค่ไหน นั่นพอเป็นสิ่งที่สะท้อนได้ว่ากรรมของเขา ไม่อดีตชาติก็ปัจจุบันชาติ ที่กำลังอุดหนุนค้ำชูอยู่ และคุณจะไม่มีวันหาคำอธิบายที่น่าฟังได้ว่าทำไมชะตาของแต่ละคนจึงคงเส้นคงวา บ้าง ผันผวนขึ้นๆลงๆรวดเร็วบ้าง
    ส่วนผลกรรมจากการค้าขายสิ่งผิด ศีลธรรมนั้น แน่นอนว่าต้องเป็นไปในทางไม่ดี เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่าชาวพุทธไม่พึงกระทำอาชีพ ๕ ประการคือ ค้าขายอาวุธ ค้าขายสัตว์ ค้าขายเนื้อสัตว์ ค้าขายน้ำเมา ค้าขายยาพิษ
    และเหตุที่ไม่ควรค้าสิ่งเหล่านี้ แน่นอนครับ ก็คงเป็นเพราะมีแนวโน้มจะได้ไปอบายมากกว่าค้าขายสิ่งอื่นนั่นเอง


    ขอขอบคุณ
    http://dungtrin.com/newsletter/prepare022.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2008
  2. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุบุญ


    นรชนควรสละทรัพย์เพื่อรักษา อวัยวะ
    นรชนควรสละอวัยวะเพื่อรักษา ชีวิต
    นรชนควรสละทรัพย์ อวัยวะ ชีวิต เพื่อรักษา ธรรม<O:p</O:p



    "การให้ จะเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งผู้รับ และผู้ให้ มีความสุข"<O:p</O:p
    "การให้" (GIVE) ที่ก่อให้เกิดสุขควรมีลักษณะดังนี้
    <O:p
    Gladly (ให้ด้วยใจยินดี)<O:p</O:p
    Impartially (ให้อย่างไม่ลำเอียง)<O:p</O:p
    Voluntarily (ให้ด้วยความสมัครใจ)<O:p</O:p
    Expecting Nothing Back (ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน)<O:p</O:p
    การให้เช่นนี้ เป็นการให้ที่ "มีคุณค่า"<O:p</O:p
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    บารมี ๑๐ ทัศ

    บารมี คือ คุณงามความดีที่ควรบำเพ็ญ คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญในอันที่ช่วยเหลือเกื้อหนุนให้ถึงซึ่ง โพธิญาณ ดังที่ใน ชินลังการฎีกา แสดงว่า ปารํ นิพฺพานํ อยนฺติ คจฺฉนฺติ เอตาหีติ ปารมิโย การกระทำที่ประกอบด้วย กุสลเจตนาที่ยังให้ถึงฟากฝั่งพระนิพพานนั้น เรียกว่า บารมี

    บารมี = ปรม (ประเสริฐ) + อิ (การกระทำ) = การกระทำที่ประเสริฐ

    จริยปิฎกอรรถกถา แสดงลักษณะของบารมีว่า สพฺเพปิ ปารมิโย ปรานุคฺคหลกฺขณา ปวงบารมี ย่อมมีการอนุเคราะห์แก่บุคคลอื่น เป็นลักษณะ บารมี ๑๐ ทัศ ก็คือ บารมี ๑๐ ประการนั้นเอง ได้แก่

    ๑. ทานบารมี ปฏิปักขธรรม คือ มัจฉริยะ(ตระหนี่)
    ๒. สีลบารมี ปฏิปักขธรรม คือ ทุสีล (ละเมิดศีล)
    ๓. เนกขัมมบารมี ปฏิปักขธรรม คือ กามะ
    ๔. ปัญญาบารมี ปฏิปักขธรรม คือ อญาณะ
    ๕. วิริยบารมี ปฏิปักขธรรม คือ โกสัชชะ (เกียจคร้าน)
    ๖. ขันติบารมี ปฏิปักขธรรม คือ อขันติ
    ๗. สัจจบารมี ปฏิปักขธรรม คือ วิสังวาทะ (ตบตา, หลอกลวง,พูดปด)
    ๘. อธิฏฐานบารมี ปฏิปักขธรรม คือ อนธิฏฐาน
    ๙. เมตตาบารมี ปฏิปักขธรรม คือ โทสะ
    ๑๐. อุเบกขาบารมี ปฏิปักขธรรม คือ โลกธรรม

    ------------------------------------------------------------------

    ๑. ทานบารมี
    ปุตฺตทารธนานิ อุปกรณ ปริจาโค ทานปารมี ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา)
    เจตนาที่สามารถสละให้ซึ่ง บุตร ภรรยา ธนสารสมบัติ เป็นต้นนั้น เรียกว่า ทานบารมี

    คำว่า ทาน หมายถึงการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ จัดเป็นให้เพื่ออนุเคราะห์ ให้เพื่อสงเคราะห์ ให้เพื่อบูชาคุณ ให้เพื่ออนุเคราะห์ เป็นการให้แก่ผู้ที่ด้อยกว่าตนในอายุ กำลังกายกำลังทรัพย์ กำลังปัญญา เช่น การเลี้ยงดูบุตรธิดา ให้แก่ผู้ที่ยากจนขัดสน คนพิการทุพพลภาพ เป็นต้น

    การให้เพื่ออนุเคราะห์ มีความเมตตากรุณาเป็นมูล

    ให้เพื่อสงเคราะห์ เป็นการให้แก่บุคคลในชั้นเดียวกันเสมอกัน เช่น เพื่อนฝูง มิตรสหาย เป็นต้น การให้เพื่อสงเคราะห์นี้มีความรักความนับถือเป็นมูล

    ให้เพื่อบูชาคุณ เป็นการให้แก่บุคคลที่ทรงคุณควรคารวะบูชา ได้แก่ บิดา มารดา ครู อาจารย์ อุปัชฌาย์ ท่านผู้มีคุณแก่ตน หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ การให้เพื่อบูชาคุณนี้ มีความกตัญญู ความเคารพบูชา เป็นมูล

    อนึ่ง การบริจาคทรัพย์เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาก็ดี บำรุงสาธารณกุสลทั่วไป เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สร้างถนน สร้างสะพานต่าง ๆ เหล่านี้ก็ดี ก็อนุโลมเข้าในการให้เพื่อบูชาคุณ คือ บูชาคุณความดีแห่งบุญกุสลที่ทำให้ตนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ อันเป็นความกตัญญูต่อบุญกุสลนั่นเอง

    ทานนี้จำแนกประเภทได้เป็นหลายอย่างหลายกระบวน ในที่นี้ขอนำมาแสดงเพียง ๒ นัย คือ

    นัยหนึ่ง จำแนกทานออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ วัตถุทาน อภัยทาน และธรรมทาน

    วัตถุทาน เป็นการทำบุญให้ทานด้วยการให้สิ่งของต่าง ๆ สิ่งของที่ให้นั้นเมื่อสรุปแล้วก็มี ๕ อย่าง คือ
    ก. ธนปริจาค การสละซึ่ง ธนสารสมบัติ
    ข. ปุตฺตปริจาค การสละซึ่ง บุตร
    ค. ภริยาปริจาค การสละซึ่ง ภรรยา
    ง. องฺคปริจาค การสละซึ่ง ส่วนของร่างกาย
    จ. ชีวิตปริจาค การสละซึ่ง ชีวิต

    อภัยทาน เป็นการทำบุญด้วยการช่วยชีวิตคนหรือสัตว์ให้พ้นจากอันตราย ช่วยป้องกันภัยที่จะทำลายทรัพย์สมบัติให้สูญเสียไป ตลอดจนการให้ความไม่มีภัยแก่ผู้ที่ทำให้ตนเดือดร้อนเสียหาย

    ธรรมทาน เป็นการทำบุญด้วยการสอน การแสดงธรรม ให้ผู้อื่นเข้าใจถึงบาปบุญคุณโทษ ตลอดจนการสร้างหนังสือธรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา

    ทานบารมี มีการบริจาค เป็นลักษณะ

    ทานบารมี ที่กล่าวยืดยาวไปหน่อย เพราะทานบารมีเป็นเครื่องอุปการะให้เกิดบารมีอื่น ๆ คือ ความสำเร็จแห่งบารมีอื่น ๆ นั้น ต้องอาศัยทานบารมีนี้เป็นพื้นฐาน


    http://www.larntum.in.th/cgi-bin/kratoo.pl/009147.htm


    ;aa40
     
  4. ปิยธรรมโม

    ปิยธรรมโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    473
    ค่าพลัง:
    +349
    อนุโมทนาสาธุ [​IMG] ท่านเจ้าของกระทู้ครับ..
    โดยส่วนตัวผมเชื่อ โดยไม่มีข้อกังขา ว่า "ยิ่งทำยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี"
    (พิสูจน์ด้วยตนเองมาแล้ว) แต่ทั้งนี้ ต้องทำอย่างมีสตินะครับ:cool:
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่านครับ[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2008
  5. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่วครับ
     
  6. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
     
  7. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    สาธุ
    ขออนุโมทนาบุญให้ธรรมทานนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. คำจันทร์

    คำจันทร์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุ
    ขออนุโมทนาบุญให้ธรรมทานนี้ครับ
     
  9. chanthawat_k

    chanthawat_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    955
    ค่าพลัง:
    +413
    อนิจจา วต สังขารา
    อุปปาทวยธัมมิโน
    สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
    เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป...สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...