เผย! ปี 53 คนไทยฆ่าตัวตายกว่า 3.7 คน เฉลี่ยวันละ10 ราย ภาคเหนือแชมป์

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย ped2011, 6 กันยายน 2011.

  1. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    เมื่อวันที่ 5 กันยายน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าวการสัมมนาทางวิชาการ “การป้องกันการฆ่าตัวตายในหลากสังคมหลายวัฒนธรรม (รักตัวเองบ้าง...นะ)“ ว่า กรมได้ดำเนินการชำระข้อมูลการฆ่าตัวตายของคนไทยตั้งแต่ปี 2540-2553 ทำให้ได้ข้อมูลว่า หลังจากที่กรมจัดทำโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายตั้งแต่ปี 2542 อัตราการฆ่าตัวตายลดลงจากปีละ 5,700 ราย หรือคิดเป็น 8 ต่อประชากรแสนคน เหลือเพียง 5.9 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2553 หรือ 3,761 รายต่อปี เฉลี่ยวันละ 10 ราย โดยเพศชายมีอัตราฆ่าตัวตายอยู่ที่ 9.29 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าเพศหญิงที่มีอัตราอยู่ที่ 2.62 ต่อประชากรแสนคน

    [​IMG]

    นพ.อภิชัยกล่าวอีกว่า เมื่อจำแนกตามช่วงอายุในกลุ่มเพศชาย พบว่า กลุ่มอายุ 80-84 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด อยู่ที่ 10.73 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 75-79 ปี อยู่ที่ 10.19 ต่อประชากรแสนคน ตามด้วยอายุ 70-74 ปี 8.37 ต่อประชากรแสนคน ทั้งนี้ ภาคเหนือตอนบนยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดแม้ตัวเลขจะลดลง โดย 5 จังหวัดแรกที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ จ.ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน และเชียงใหม่ อยู่ที่ 20.02, 15.63, 14.45, 13.03 และ 12.47 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ


    สำหรับ 5 จังหวัดที่มีอัตราต่ำสุด ได้แก่ จ.ปัตตานี หนองคาย นราธิวาส ยะลา และพิจิตร อยู่ที่ 0.77, 1.76, 1.77, 1.86 และ 2.17 ต่อประชากรแสนคน วิธีการฆ่าตัวตายสำเร็จมากที่สุด ได้แก่ การแขวนคอ/รัดคอ ร้อยละ 66.42 รองลงมา คือ พิษจากยาฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ร้อยละ 19.81 พิษจากยา ตัวยา และสารชีวภาพอื่น ร้อยละ 4.28 สารเคมีและสารพิษ ร้อยละ 3.67 กระสุนปืนร้อยละ 3.11 และอื่นๆ ร้อยละ 2.71

    ที่มา: มติชนออนไลน์ อึ้ง!! เผยปี 2553 คนไทย "ฆ่าตัวตาย" กว่า 3.7 พันคน เฉลี่ยวันละ 10 ราย ชายมากกว่าหญิง : มติชนออนไลน์

    ภาพประกอบ: google
     
  2. pr!mpr!e

    pr!mpr!e เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2010
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +145
  3. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    นพ. อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต สธ. ระบุจากการศึกษาข้อมูลการฆ่าตัวตาย ในจังหวัดที่เป็นปัญหา โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน พบปัจจัยที่เป็นสาเหตุการฆ่าตัวตายของคนในภาคเหนือ เกิดจากวัฒนธรรมที่มีส่วนในการตัดสินใจ เนื่องจากคนในภาคเหนือตอนบนมีวัฒนธรรมการรักษาหน้าอย่างรุนแรง การเสียหน้าถือเป็นเรื่องที่รุนแรงมาก เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น จึงไม่ต้องการปรึกษาใคร ซึ่งคนในภาคอื่นไม่มีวัฒนธรรมเช่นนี้ ประกอบกับคนในภาคเหนือไม่มีพื้นที่พูดคุยเหมือนกับคนในภาคอื่นๆ จึงทำให้ไม่มีพื้นที่ในการระบายออก ขณะที่คนในภาคอื่น มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความเห็น เช่น ร้านน้ำชา ร้านขายซาลาเปาในตอนเช้า ฯลฯ ใช้เป็นที่พบปะพูดคุย ซึ่งในทางสุขภาพจิตถือว่าการปรึกษากับผู้อื่นเป็นสิ่งสำคัญมาก

    สำหรับสาเหตุของการฆ่าตัวตายในกลุ่มสูงอายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุคิดว่าไม่รู้จะมีชีวิตอยู่ไปทำไม ไม่มีเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ ประกอบกับไม่มีญาติ หรือบุตรหลานดูแล และไม่ต้องการอยู่คนเดียว เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย จึงส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจได้ง่ายๆ อีกทั้งปัจจุบันมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ไทยโพสต์, โลกวันนี้, มติชน, ไทยรัฐ, เอเอสทีวี ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, สำนักข่าวแห่งชาติ, คม ชัด ลึก, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)


    ดร. ฮันส์ อูลริช วิตต์เชน ผอ.สถาบันจิตวิทยาและจิตบำบัดประจำมหาวิทยาลัยเดรสเด็น แห่งเยอรมนี รายงานผลการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารของสมาคมเภสัชวิทยาทางจิตและประสาท (ENCP) ระบุ ชาวยุโรปมีอาการป่วยทางจิตและระบบประสาท ทั้งความเครียด กังวล นอนไม่หลับ และจิตเสื่อมเพิ่มขึ้นราว 165 ล้านคน/ปี หรือร้อยละ 38 ของประชากรในยุโรปทั้งสิ้น 214 ล้านคน ใน 30 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกสหภาพยุโรป (EU) 27 ประเทศ รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์ แต่กลับพบผู้มีอาการทางจิตในยุโรปที่ได้รับการบำบัด หรือรักษาทางการแพทย์มีประมาณ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้น ทั้งที่ความผิดปกติทางจิตได้กลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่อันตรายที่สุดแห่ง ศตวรรษที่ 21


    ทั้งนี้ ผลการสำรวจครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2548 ระบุ รัฐบาลกลุ่มประเทศยุโรปต้องรับภาระ ค่ารักษาโรคที่เกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตเป็นเงินสูงกว่า 386,000 ล้านยูโร (ประมาณ 162 ล้านล้านบาท) เป็นสาเหตุให้กระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้ป่วยทางจิตกลายเป็นภาระของสังคม เพราะอาการทางจิตส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการมีปฏิ สัมพันธ์กับผู้อื่น (ไทยรัฐ)


    องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ในแต่ละปีจะมีคน 1 ล้านคน เสียชีวิต ด้วยการฆ่าตัวตายและคาดการณ์ในปี 2563 จะมีคนเสียชีวิตด้วยปัญหานี้ประมาณ 1.53 ล้านคน ขณะที่สมาคมป้องกันการฆ่าตัวตาย สหรัฐอเมริกา ประมาณอัตราส่วนของผู้ที่พยายามทำร้ายตัวเอง แต่ไม่สำเร็จ มีสูงกว่าผู้ที่ทำสำเร็จถึง 25 เท่า ส่งผลกระทบถึงครอบครัวและผู้คนรอบข้างอีกประมาณ 10 - 20 ล้านคน ในแต่ละปี


    นอกจากนี้ ผลประเมินสถานการณ์ด้านสุขภาพประจำปี 2554 ของ WHO ยังระบุ ภายในปี 2563 ภาวะเครียดจัดจะกลายเป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยมากเป็น อันดับ 2 ของโลก(ไทยรัฐ)


    ที่มา : http://www.bangkok.go.th/th/page/?&3-&type=detail&id=634
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...