เปล่าๆ บริสุทธิ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย wisarn, 8 มีนาคม 2023.

  1. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    เปล่าๆ บริสุทธิ์ : ณรงค์ศักดิ์ เนียมนัด

    มีสติ รู้เท่าทัน ความคิด รู้เท่าทันอารมณ์ ทุกขณะปัจจุบัน เมื่อรู้เท่าทันเร็วเท่าใด ความคิดหรืออารมณ์จะหายไปเร็ววันเท่านั้น เดี๋ยวก็มีความคิดใหม่ หรือ มีอารมณ์ใหม่ รู้เท่าทันเร็วเท่าใด ก็หายไปเร็วเท่านั้นอีก

    เมื่อความคิดและอารมณ์หายไป หรือ ดับไป ใจก็ว่างเปล่าอยู่ช่วงขณะหนึ่ง เดี๋ยวก็มีความคิดหรืออารมณ์เกิดขึ้นอีก ก็รู้เท่าทันอย่างรวดเร็วอีก ความคิดและอารมณ์ก็จะหายไป ใจก็ว่างเปล่าอีก จนเกิดความชำนาญในการมีสติรู้เท่าทันความคิดอารมณ์ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่มความคิด หรือ เริ่มเกิดอารมณ์ใหม่ทุกครั้งไป

    ข้อควรระวัง: ไม่ใช้ความคิดสะกดความคิด สะกดอารมณ์ไว้จนมีความรู้สึกว่าไม่คิด ไม่มีอารมณ์ใดเลย ความคิดที่จะสะกดความคิด หรือ สะกดอารมณ์ไว้ ก็เป็นความนึกคิดปรุงแต่งจิตตลอดเวลา ต้องมีสติรู้เท่าทันความนึกคิดปรุ่งแต่งจิตนี้เหมือนกัน

    ในที่สุดหยุดแสวงหา(ธรรม) หยุดการดิ้นรนแสวงหาธรรมะใดๆ (หยุดนึกปรุงแต่ง) แล้วจะพบความจริง หรือ ความว่างจากทุกข์

    ถ้ายังไม่หยุดการดิ้นรนทางใจ หรือหยุดอยากโดยสิ้นเชิง หรือยังไม่หยุดการคิดค้นการค้นการคว้า การแสวงหาธรรม ใจก็ยังดิ้นรนอยู่ จะบอกว่าหยุดการดิ้นรนแสวงหาหรือหยุดการคิดค้น การค้นคว้าทางใจไม่ได้เลย

    เมื่อใจเริ่มมีการดิ้นรนค้นหา แสวงหาธรรมครั้งใด ก็มีการเคลื่อนไหวทางใจเสียทุกครั้งไป ดังนั้น เมื่อมีการดิ้นรนแสวงหาธรรมะในใจขึ้นครั้งใด ใจก็ไม่ว่างถึงธรรม

    ในที่สุดต้องหยุดการดิ้นรนแสวงหาธรรมะทั้งหมด คือ หยุดการคิดค้นในเรื่องธรรมเรื่องกิเลสโดยสิ้นเชิง ใจก็จะถึงความว่าง คือ เมื่อใจมีการกระเพื่อมขึ้นมา หรือ สั่นไหวขึ้นมา โดยไม่ว่าจะมีการกระเพื่อมเพราะมีสิ่งใด เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ต่างๆ หรือความอยากบรรลุธรรมมาเป็นตัวล่อ ก็ให้รู้เท่าทันในทันทีทันใดทุกครั้งไป ความกระเพื่อมหรือความสั่นไหวของใจ ก็จะสงบลงไปเอง หรือเรียกว่ารู้เท่าทันความคิด ความนึก ความปรุงแต่งในใจทุกครั้ง ความว่างเปล่านี้ก็จะปรากฏขึ้นเรื่อยๆ หลังจากความคิดความนึก ความปรุงแต่งของใจ หรือการกระเพื่อมหวั่นไหวภายในใจสงบลง

    ให้รู้เท่าทันความคิด ความนึก ความปรุงแต่งของใจทุกขณะปัจจุบัน โดยไม่สนใจว่าข้างหน้าจะเกิดผลเช่นใด จนเป็นปัจจัตตังรู้ได้ด้วยตัวเอง ในที่สุดก็ให้หยุดการดิ้นรน แสวงหาธรรมะโดยสิ้นเชิง เหมือนกับผู้ไม่รู้ธรรมอะไรเลย จึงเรียกว่าหยุด และว่างเปล่าจริงๆ

    ถ้าไม่หยุดก็ไม่ว่างเสียที.
     

แชร์หน้านี้

Loading...