เทคนิคทำจิต ให้ถึง อัปนาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยอดคะน้า, 5 มกราคม 2016.

  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    เกร็ดธรรม
    หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา





    ที่นี้ เกี่ยวกับเรื่องการบริกรรมภาวนา
    ซึ่งท่านได้กล่าวเสมอว่า
    บริกรรมภาวนาทุกชนิด
    หรือทุกอย่าง เฉพาะในหลัก อนุสติ 10
    อนุสติ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อที่ 8
    ข้อ 1 ก็คือ...พุทธานุสติ
    ข้อ 2 ...ธัมมานุสติ
    ข้อ 3 ...สังฆานุสติ
    …และ เทวตานุสติ ..อุปสมานุสติ เป็นลำดับไป
    (พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณสติ กายคตาสติ
    อานาปานสติ อุปสมานุสติ)

    เรื่องของอนุสติ 8 ข้อนี้ เกี่ยวเนื่องด้วยบริกรรมภาวนา
    ขึ้นชื่อว่า การบริกรรมภาวนานี่
    ใครจะบริกรรมภาวนาอย่างไรก็ตาม
    จะบริกรรมภาวนากันทั้งวัน ทั้งคืนก็ตาม
    จิตไม่สามารถจะสงบลงไปถึงขั้น..อัปปนาสมาธิ
    ขอให้พึงทำความเข้าใจกันอย่างนี้

    ยกตัวอย่าง เช่น
    พูดภาวนา..พุทโธ..พุทโธ..พุทโธ..พุทโธ
    ภาวนา..พุทโธ นี่จิตไม่ถึงขั้นสมถะ
    คือจิตไม่ถึง...อัปปนาสมาธิ

    ท่านทั้งหลายอย่าพึงเข้าใจผิด
    ว่าภาวนา..พุทโธ จิตได้แต่..สมถกรรมฐาน ไม่ถึง วิปัสสนากรรมฐาน
    แต่แท้ที่จริงแล้ว ...ภาวนาพุทโธนี่ จิตถึงแค่อุปจารสมาธิ

    ท่านเคยสังเกตุมั๊ย
    ท่านบริกรรมภาวนาพุทโธ..พุทโธ..พุทโธ..พุทโธ..พุทโธ
    ถ้าจิตรู้สึกเคลิ้มๆ แล้วก็สว่าง จิตนิ่ง..นิ่ง..
    แต่ยังรู้สึกว่ามีกายอยู่
    อารมณ์ภายนอก เช่น ลมพัดผ่านเข้ามา
    ก็ยังรู้สึกเย็น รู้สึกหนาว รู้สึกร้อนอยู่
    จิตยังไม่ปล่อยวางกายทั้งหมด

    แล้วคำว่าพุทโธหายไป

    เมื่อเป็นเช่นนั้น อุปจารสมาธิเนี่ย ไม่ใช่ขั้นสมถะ
    เป็นแต่เพียงความสงบจิตเพียงนิดหน่อยเท่านั้น

    คือ

    จะให้จิตสงบเป็นอัปปนาสมาธิ ถึงขั้นสมถะนั้น
    ผู้ฉลาดในการภาวนาจะต้องกำหนดจิต
    ลมหายใจ เข้า-ออก...จะเป็นสื่อทำจิตให้ดำเนินเข้าไปสู่อัปปนาสมาธิ
    ถึงขั้นสมถะ

    หรือมิฉะนั้น

    ก็กำหนด กายคตาสติ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
    พิจารณาแง่ใด สุดแท้แต่ท่านจะสะดวก
    แต่พิจารณาในแง่...
    อนิจจัง ทุกขัง
    อนัตตา ..ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นอนัตตา..ก็ได้

    จะพิจารณาในแง่อสุภะกรรมฐาน
    ว่าพระพายเป็นของปฏิกูลเน่า..เศษโสโครกสกปรกก็ได้

    แล้วถามปัญหา ถามตอบตัวเองไปเป็นข้อๆ

    เพื่อประคับประคองจิตให้นึกคิดพิจารณาอยู่ในเรื่องๆ เดียว
    หรือ
    ท่านอาจจะพิจารณาว่ากายนี้
    มีสภาพเศษดิน มิใช่สัตว์..บุคคล..ตัวตน..เราเขา
    เป็นแต่เพียง ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกัน

    แล้วก็มีจิตวิญญาณมายึดถือความเป็นเจ้าของ
    จึงเกิดความยึดมั่นถือมั่นว่า

    ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเราเป็นเขา...ของเราของเขา
    แต่เมื่อแยกออกไปโดยเป็นสัดส่วนแล้ว

    หาสัตว์..บุคคล..เรา..เขาไม่มี
    อันนี้คือผลลัพธ์พิจารณาธาตุกรรมฐาน

    (เครดิต เพื่อนสมาชิกพลูโตจัง)
     

แชร์หน้านี้

Loading...