เว็บพลังจิต เชิญร่วมกุศล สร้างสรรค์โปรโมต ห้องพุทธศาสนาและธรรมะกัน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด, 19 สิงหาคม 2010.

  1. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    พุทธศาสนา - ธรรมะ ( 138 คน กำลังดูอยู่ )
    พุทธศาสนา ธรรมะ หัวข้อธรรมต่างๆ อภิธรรม ธรรมสำหรับชีวิต และทุกอย่างที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา
    ห้องย่อย: [​IMG] ท่องวัดและศาสนสถาน, [​IMG] ในหลวงกับพุทธศาสนา


    อะไร ๆ ที่เกี่ยวกับห้องนี้ เชิญเอามาแจกจ่ายกัน...

    อนุโมทนาความดีของทุก ๆ คน
    ;41
     
  2. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    <title></title>
          • [SIZE=+2]ธรรมทาน[/SIZE]

            1) เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๓๔
            ... การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง
            รสแห่งธรรม ย่อมชำนะรสทั้งปวง
            ความยินดีในธรรม ย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง
            ความสิ้นตัณหา ย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง
            โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
            แต่หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่ คนมีปัญญาทรามย่อมฆ่าตนได้
            เหมือนบุคคลฆ่าผู้อื่นเพราะความอยากได้โภคทรัพย์
            ฉะนั้น นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ
            เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากราคะ
            ย่อมมีผลมาก
            นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ
            เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโทสะ
            ย่อมมีผลมาก
            นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นโทษ
            เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโมหะ
            ย่อมมีผลมาก
            นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
            หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล
            ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา ย่อมมีผลมาก ฯ

    <hr width="100%">
          • 2) เล่มที่ ๒๐
            [๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้
            ธรรมทานเป็นเลิศ ฯ

            [๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้
            การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

            [๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสละอามิส ๑ การสละธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสละ ๒ อย่างนี้
            การสละธรรมเป็นเลิศ ฯ

            [๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริจาคอามิส ๑ การบริจาคธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้
            การบริจาคธรรมเป็นเลิศ ฯ

            [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริโภคอามิส ๑ การบริโภคธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้
            การบริโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ

            [๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสมโภคอามิส ๑ การสมโภคธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสมโภค ๒ อย่างนี้
            การสมโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ

            [๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การจำแนกอามิส ๑ การจำแนกธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้
            การจำแนกธรรมเป็นเลิศ ฯ

            [๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
            การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

            [๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
            การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
            การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

            [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้
            ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
            ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๑ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
            จบทานวรรคที่ ๓

    <hr width="100%">
          • 3) ทานสูตร
            เล่มที่ ๒๕
            [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ
            อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้
            ธรรมทานเป็นเลิศ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ
            การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้
            การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ
            การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
            การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

            พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม
            วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอันเลิศ
            รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการแจกจ่ายทานนั้นๆ
            ใครจะไม่พึงบูชา (ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า
            ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้แสดงและผู้ฟังทั้ง ๒
            ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคตย่อมหมดจดประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต ย่อมหมดจด ฯ
            จบสูตรที่ ๙

    <hr width="100%">
          • 4) กินททสูตรที่ ๒
            เล่มที่ ๑๕
            [๑๓๗] เทวดาทูลถามว่า
            บุคคลให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้กำลัง
            ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้วรรณะ
            ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้ความสุข
            ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้จักษุ
            และบุคคลเช่นไรชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
            ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์
            ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ฯ

            [๑๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
            บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง
            ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ
            ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข
            ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
            และผู้ที่ให้ที่พักพาอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
            ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้อมฤตธรรม ฯ

     

แชร์หน้านี้

Loading...