เจริญกรรมฐานอโหสิกรรมได้...จะได้ไม่มีกรรมเวรกันไปในชาติหน้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ถนอม021, 7 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. ถนอม021

    ถนอม021 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,098
    ค่าพลัง:
    +3,163
    [​IMG]
    คนผัดวันประกันพรุ่งนะ นอนตื่นสาย หน่ายทำกิน
    ไปหมิ่นเงินน้อย ไปนั่งคอยวาสนา วาสนามาหาเองไม่ได้
    ต้องทำต้องสร้างความดี ไม่สร้างไม่ได้หรอก
    ความชั่วไม่ต้องสร้าง มาเอง มันชั่วอยู่ทุกวัน
    จิตใจมันหลั่งไหลไปสู่ที่ชั่วทุกวันตลอดเวลากาล
    ไม่ต้องสร้างนิดเดียวมันก็ไปแล้ว
    จิตเลเพลาดพาด หละหลวม เหลวไหลตลอดรายการ
    แต่ความดีนี่ทำยากต้องสร้างสรรหาแสวงหาความดีให้แก่ตนเอง
    และก็ตัวเองมีความดีอยู่แล้ว ๑๐๐% จิตประภัสสร
    แต่เราเอาความดีในตัวไปทิ้งเสีย
    น่าเสียดายเอาความชั่วมาแทนที่ ความดีก็มีไม่ได้
    นี่แหละสร้างความดีนี่ต้องสร้างต้องเสริม ต้องส่งในกุศลให้แก่ตน
    มีจิตมั่นคง คือ สมาธิภาวนา มีปัญหาแก้ไขปัญหาได้
    คนที่สร้างความชั่วนี่นะไม่ต้องมีตำราหรอก เพราะเราตามใจตัวเอง
    จิตใจก็เหลวแหลก แตกไปในทางต่ำ
    ยกตัวอย่างว่าจิตมันเป็นน้ำ โยมลองเทน้ำดูซิ
    มันจะไหลไปที่สูงหรือที่ต่ำ จิตมันชอบต่ำ ชอบไอ้โน่น ชอบไอ้นี่
    อาหารของจิต ก็คือ กิเลส ความโกรธ ความโลภ ความหลง
    ความหายนะ เป็นอาหารของจิต
    แต่เราต้องฝืนไม่ให้มันกินอย่างนั้น
    ต้องฝืนใจอย่างมากกว่าจะได้ดี

    ขอเจริญพรว่า ความขยันได้มาจากความขี้เกียจ
    กว่าจะขยันได้ ขี้เกียจมาก่อน
    ความสุขเราได้มาจากความทุกข์
    ต้องมีความทุกข์ร้อนใจเหลือเกิน
    กว่าจะพบกับความสุขที่แน่นอนเช่นดังกล่าวมาแล้ว
    มันมีแต่ความทุกข์ระทบขมขื่นต้องผ่านทุกข์ก่อน
    จึงจะพบความสุขที่แน่นอน
    อาตมาผู้หนึ่งขี้เกียจที่สุด บัดนี้เราต้องฝืนใจ
    กว่าจะขยันกว่าจะทำอะไรให้สำเร็จ
    ฝืนใจจนขยัน บัดนี้จะกลับไปขี้เกียจคงไม่ได้แล้ว ไม่ได้แน่
    ถ้าโยมเคยขี้เกียจแล้ว ไม่ฝืนใจ ไม่ขยัน
    มันก็แค่นั้น ทำอย่างไรก็แค่นั้น ดีไม่ได้แน่นอน
    เหมือนหมากรุก ๖๔ ตา เดินตาเดียวอยู่ตลอดกาลเวลา
    จะดีได้อย่างไรเล่า เพราะฉะนั้น ทาน ศีล ภาวนา นี้ครบ
    ทานการให้แต่ศีล ก็คือ สติกรรมฐาน
    ถ้าเราเจริญสติกรรมฐาน แล้วจะพบทาน ๓ อย่าง
    ถ้าได้สติสัมปชัญญะแล้วจะพบทาน ๓ อย่าง

    ทานข้อ ๑ คือ ให้แล้วไม่หวังผลตอบแทน

    ทานที่ ๒ คือ ธรรมทาน ให้ธรรมะเป็นทาน
    พิมพ์หนังสือสวดมนต์บ้าง พิมพ์หนังสือธรรมะแจกกัน
    เรียกว่า ธรรมทาน มันก็ได้ผล
    ทานกรรมฐานเป็นสังฆทานแน่ เพราะจิตไม่หวังผล
    ก็ต้องให้สาธารณประโยชน์ สาธารณชนทั่วไป

    ทานที่ ๓ ของกรรมฐาน คือ อภัยทาน
    ให้อภัยได้อภัยโทษไม่โกรธกัน เรียกว่า ทานกรรมฐาน
    ถ้าโยมไม่เจริญกรรมฐานรับรองหมื่นเปอร์เซ็นต์
    จะให้อภัยใครไม่ได้ ผูกพยาบาทตลอดเวลา
    ถ้าท่านไม่มีกรรมฐานแล้ว ท่านจะให้อภัยทานได้ยาก
    อโหสิกรรมกันได้ยาก มีแต่ผูกใจโกรธ ผูกพยาบาท ฆ่ารันฟันแทงกัน
    ถึงคนนั้นจะบริจาคทาน สร้างวัดสร้างวากี่วัดก็ตาม
    ก็ยังให้อภัยทานไม่ได้
    ท่านต้องมีจิตสูงในกรรมฐาน ต้องมีสติปัฏฐานกำหนดจิต
    รู้หนอ ๆ รู้อย่างไร รู้ว่า เราโกรธเขา
    รู้หนอ ๆ อย่าโกรธเขาเลย ให้อภัยเขาเถอะ
    มันด่าเรา กำหนดต่อไป ด่าเรายังโกรธก็โกรธหนอ ๆ
    อ๋อบัดนี้ข้าพเจ้าไม่โกรธแล้ว ข้าพเจ้ามีกรรมฐาน
    ข้าพเจ้าจะไม่ขอโกรธท่าน เรียกว่า อโหสิกรรม
    กรรมนั้นจะไม่ต่อให้ยืดยาว เรียกว่า ตัดให้มันสั้น
    เหมือนรถหมดน้ำมัน ไม่วิ่งอีกแล้ว
    กรรมไม่ต่อกรรมอีกแล้ว เรียกว่า อโหสิกรรม

    นี่แหละกรรมฐานจึงแก้กรรมได้ เจริญกรรมฐานอโหสิกรรมได้
    จะได้ไม่มีกรรมเวรกันไปในชาติหน้า
    เราจึงนิยมการที่จะลากรรมฐานขออโหสิกรรม
    ขอขมาลาโทษพระรัตนตรัย มี พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
    อาจจะเจตนาไม่ดี คิดไม่ดี อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์
    เป็นบาปเป็นกรรมทั้งนั้น จึงต้องให้อภัยทาน ให้อภัยโทษ
    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อโหสิกรรม จะไม่เอาเวรกรรมกันต่อไปอีก
    กรรมสิ้นกันเสียที นับตั้งแต่บัดนี้ คือ การเจริญพระกรรมฐาน
    ถ้าโยมไม่เจริญกรรมฐาน กรรมไม่รู้จักสิ้น จะแก้กรรมอะไรไม่ได้
    จะต่อเวรต่อกรรมให้มันยืดยาวออกไป
    จะไปถึงลูกหลาน ลูกหลานก็จะลำบาก
    กระเสือกกระสนในอนาคต ตรงนี้สำคัญ
    ถ้าโยมหญิง โยมชาย รู้ตัวว่า สร้างกรรมไว้กับใคร
    ก็ขอประทานโทษโปรดอภัยเถิดนะเจ้าคะ
    ขอเจริญพรว่า ภรรยาเคยว่าสามี หรือ คิดในใจว่าสามีของข้านี้ไม่ดี
    เท่านี้ก็บาปนะ กระทั่งสามีไม่ได้เป็นเช่นนั้น สามีก็เช่นเดียวกัน
    ไปนินทาว่า ภรรยาของเราไม่ดี เท่านี้บาปนะ
    จะทำกรรมฐานไม่ได้ผลหรอก ด่าสามี มาทำกรรมฐานไม่ได้ผล
    จะได้ผลต้องอโหสิกรรมเสีย อภัยทาน อภัยโทษได้ผลแน่นอน
    ก็ขอเจริญพรฝากญาติโยมไว้ อย่าโกรธอย่าลงโทษกันเลย
    ให้อภัยกันเถิด หนักนิดเบาหน่อยให้อภัย
    บางคนมาที่วัดนี้นานแล้ว ตั้ง ๒๐ ปี จำได้ คนมันแน่น
    มีงานขึ้นในวัด เขาเหยียบเท้ากัน เหยียบเท้าลงไปที่เท้าคนอื่นนะ
    เขาก็รู้ตัวว่าไปเหยียบเท้าคนอื่น เขาขอโทษครับ
    คนนั้นมันเมามันไม่อโหสิ ชกกันเลย ต่อยกันแหลกไปเลย
    คนที่ขอขมาลาโทษก็หนีไป เห็นไหม คนไม่มีกรรมฐาน
    คนที่เจริญสติได้ เขาจะให้อภัยทุกประการ นี่ขอฝากไว้

    ถ้าคนขอโทษอย่าโกรธเขานะโยมนะ มาขอโทษโปรดอภัย
    รับผิดแล้ว ให้อภัยเขาเถอะ เรียกว่าอภัยทาน อภัยโทษ อย่าโกรธกันไว้ในใจทำไมเล่า พกความโกรธไว้ในใจเหมือนไฟเผาหัวจิตหัวใจเศร้าหมองทำใจร้อนรน ทนไม่ไหว
    กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เป็นบาป เหมือนตกนรกทั้งเป็นเลยนะ อย่าไปมั่วสุมเช่นนั้นเลย...

    [​IMG]

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14108
     
  2. SOMDEJ

    SOMDEJ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    611
    ค่าพลัง:
    +353
    อนุโมทนาจ้ะ
    สาระธรรมเตือนสติดีแท้
    ขออนุญาตเก็บไว้นะจ๊ะ
     
  3. TJ69

    TJ69 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    436
    ค่าพลัง:
    +152
    อนุโมทนาสาธุ ในผลบุญด้วยครับ

    --------------------------------------
    คนที่ไม่เคยเป็นผู้ให้...ย่อมยากที่จะได้รับ..
    “การให้”..มองอย่างธรรมดาดูเหมือนว่า..เป็นการสูญเสีย..
    แต่แท้ที่จริงแล้ว...
    ผู้ให้ คือ..ผู้ที่ได้รับต่างหาก..
    คนที่เป็นผู้ให้จึงมีเกียรติคุณเกริกกรรจายชั่วฟ้าดินสลาย
    ทั้งนี้นั่นเป็นเพราะ
    “...โลกคารวะผู้ให้... แต่บอดใบ้ต่อผู้กอบโกยและโกงกิน...”




    ที่มา : ธรรมะรับอรุณ....ท่าน ว. วชิรเมธี
    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...