เกี่ยวกับคาถา/บทสวด /บทถอยหลัง

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย mw user, 15 กรกฎาคม 2006.

  1. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    สวัสดีครับ
    ผมพูดแต่พระอภิธรรม

    โอกาสนี้ขอนอกเรื่อง
    มีเรื่องย่อย ๆ ไม่ซีเรียสมาพูดให้ฟัง ตั้งคำถาม
    1. คาถา คืออะไร ?
    2. จังงัง คืออะไร ?


    1. คาถา เป็นกวีทางบาลี (ป.ธ. 8) คล้ายกับของเรา กลอนตลาด อินทวิเชียร์ เป็นต้น คาถาหนึ่งประกอบด้วย 4 บาท บาทหนึ่งประกอบด้วย 8 คำ ใน 8 คำนั้นประกอบด้วยคำหนักเบา ขึ้นอยู่กับชนิดของกวี
    เช่นว่า
    อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญจ เสวนา
    ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

    นี้เรียก 1 คาถา
    2. จังงัง เป็นคำที่บางคนดึง หรือจับคำบางคำจากจุดไหนก็ได้ ออกมาเรียงกันใหม่ ด้วยวัตถุประสงค์ใหม่ของเขา

    และบทสรรเสริญคุณพระรั้ตนตรัยทั่วไป ก็ประกอบด้วยคำพูดธรรมดา และคาถา
    เช่น บทอิติปิโส บทพาหุง เป็นต้น ที่พุทธศาสนิกสวดกันอยู่
    ในบทสวดต่าง ๆ สามารถจะสวดย้อนหลัง (ปฏิโลม) ตามแต่ความสามารถด้าน Memory ของแต่ละท่าน เหล่านี้ จึงเป็นต้นเหตุให้เกิดบทสวดถอยหลัง ซึ่งเหมือนจะจังงัง (ตัดปลาย ตัดต้น ตัดกลาง ฯลฯ) แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ถึงอย่างไร เมื่อสวดบทใด สิ่งที่ไม่ควรลืมคือ ควรจะรู้ว่า สวดอะไรอยู่ เพื่ออะไร หรือทำไม

    ผมขอชวน ว่าง ๆ ลองมาสวดบทอิติปิโสถอยหลังกันเถอะ ดีไหมครับ ..
    (เพียงข้อเสนอ)


    สำหรับท่านที่สนใจ ผมมี 2 ขั้นตอนการท่อง ยิ่งถ้ารู้ความหมาย ก็ยิ่งช่วยให้จำง่าย

    1. อันดับแรก ท่านต้องได้อนุโลม คือเดินหน้าได้

    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
    วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู
    อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
    สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
    พุทฺโธ ภควาติ


    2. หลังจากนั้น ท่านก็ตั้งสติกระทำปฏิโลม ย้อนหลัง ทีละคำ ดังนี้

    ติวาคภ โธพุทฺ
    นํสานุสมวเท ถาสตฺ
    ถิรสามทมฺสริปุ
    โรตนุตฺอ ทูวิกโล โตคสุ
    โนปนฺสมฺณรจชาวิชฺ
    โธพุทฺสมฺมาสมฺ หํรอ วาคภ โสปิติอิ


    ใช้ได้แม้กับบทอื่น ๆ .. ลองดูซิครับ (verygood)
    ที่มากระทู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2006
  2. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    ก่อนนอน หรือวันนี้ เราแผ่เมตตาให้ตัวเองหรือยัง !!

    อหํ สุขิโต โหมิ
    อเวโร,
    อพฺยาปชฺโฌ,
    อนีโฆ,
    สุขี อตฺตานํ ปริหรามิ

    สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ,
    อเวรา, อพฺยาปชฺฌา,
    อนีฆา โหนฺตุ,
    สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุฯ

    ตัวข้า สำรวมจิต น้อมอุทิศแผ่เมตตา
    แด่สัตว์ ในโลกา บรรดามีชีวิตครอง
    สัตว์ทั้งหลาย อย่าผูกเวร คิดเฆี่ยวเข็ญตอบสนอง
    สัตว์ทั้งหลาย อย่าคิดปอง จิตขุ่นข้อง เบียดเบียนกัน
    สัตว์ทั้งหลาย จงพ้นทุกข์ ประสบสุขเกษมสันต์
    ทุกชีวิต มีจิตมั่น เมตตากัน นิรันดร์เทอญ
    (f) <i>(มะลิหอม ๆ สักดอก คงจะดี)</i>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2006
  3. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    วิธีท่อง คาถาชินบัญชร (สำเนามาจากมนต์พิธี)

    ๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
    จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
    ๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มะนุสสะรา
    ๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
    สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
    ๔. หะทะเย อะนุรุทโธ จะ สาริปุตโต จะ ทักขิเณ
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
    ๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา
    กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตถะเก
    ๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร
    นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนีปุงคะโล
    ๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
    ๘. ปุณโณ จะ อังคุลิมาโล อุปาลีนันทะสีวะลี
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
    ๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวกา
    เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
    ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

    ๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
    ๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสณฺฐิตา
    ๑๒. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา
    วาตปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
    ๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
    วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
    ๑๔. ชินะปัญขะระมัชเฌหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล
    สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
    ๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
    ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
    ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
    สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
    สัทธัมมานุภาวะปาลีโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.

    <HR>

    1. จำให้ได้ว่า มีกี่ข้อ (15 ข้อ )
    2. แต่ละข้อ ทั้ง 15 ข้อ จำให้ได้ว่า ข้อนั้น ต่อด้วยคำอะไร เป็นคำขึ้นต้น
    เช่นข้อ 1 จำให้ได้ว่า 1 ชิ, 2 ตัณ, 3 สี ฯลฯ
    หลังจากนั้นให้ตัดตัวเลขออก จำให้ได้แค่คำขึ้นต้น เช่น ชิ ตัณ สี ฯลฯ
    ทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้สับสน หรือให้ต่อเนื่องได้ (ทำไว้ในใจให้มั่น)
    3. คาถาจะประกอบด้วย 4 เนื้อหาหลักคือ อ้างถึงพระพุทธเจ้า พระสงฆ์และพระธรรม
    จบด้วยการอ้อนวอน (ทำไว้ในใจให้มั่น)
    4. แต่ละคาถา (4 บาท) จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน (เป็นบล็อค ๆ)
    5. ต้องให้จำได้ทีละบาท และไปเป็นคาถา (อย่าข้ามไป) แล้วค่อยขยายมากขึ้น
    6. จากข้อ 5 ต่อจากนั้น ต้องสามารถย้อนกลับ (ปฏิโลม /ถอย) ได้ เช่น
    ๑๔. เต มะหาปุริสาสะภา สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ
    วิหะรันตัง มะฮีตะเล ชินะปัญขะระมัชเฌหิ
    (ย้อนเป็นบาท หรือทีละบาทได้ เมื่อย้อนได้ทีละคาถา คราวนี้ ก็ย้อนตั้งแต่ท้ายสุด
    ไปจนถึงต้นสุด กลับไปกลับมา.. แล้วความจำของเราจะมั่น คือจำได้นาน
    ท่านใดเก่ง ๆ จะย้อนทีละคำก็ตามใจครับ)
    6. ทบทวน ทำซ้ำ ๆ .. วันละนิด .. เท่านี้ ท่านก็มีมนต์ประจำหัวใจแล้วหนึ่ง ก่อนนอนได้
    7. ส่วนเรื่องผล หรืออานิสงส์ ก็อย่าเสียเวลาหวังนักเลย
    เพราะความดีอันบุคคลรักษาดีแล้ว มีผลเป็นความสุขอยู่แล้วเสมอ <br>หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่า เดี๋ยวเขาก็มาเอง ...
    เหมือนเราทานข้าวกับผัดกะเพาทะเล หรือดื่มน้ำเย็นสะอาด
    เรายังจะหวังอีกหรือว่า ขอความอิ่ม จงบังเกิดแก่เรา ดังนี้
    แม้นได้สร้างได้ทำ ต้องทำไว้เยอะ ๆ เราต้องได้ใช้ในปัจจุบันด้วย<br>และตุนไว้อนาคตที่เรามองไม่เห็นด้วย ยิ่งมากก็ยิ่งดี
    เช่นเดียวกับที่เรา ลำบากด้วยการงาน หวังเก็บตังส์ไว้เยอะ ๆ ในธนาคาร .. เพื่ออะไร !!
    http://yenta4.exteen.com/20050629/entry
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2006
  4. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    วิธีท่อง <u><b>อาฏานาฎิยปริตร</u></b><br>
    ๑. <b>นะ</b>โม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
    ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
    ๒. <b>สะ</b>ระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
    โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
    ๓. <b>สุ</b>มะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
    โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
    ๔. <b>ปะ</b>ทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถี
    ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
    ๕. <b>สุ</b>ชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
    อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
    ๖. <b>สิท</b>ธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
    ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
    ๗. <b>สิ</b>ขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
    กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
    ๘. <b>กัส</b>สะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว ฯ <hr>
    1. อย่าลืมว่ามี 7.5 คาถา
    2. จำคำข้อ และคำขึ้นต้นให้ได้เช่น ๑. นะ, ๒. สะ, ๓. สุ ฯลฯ จำได้แล้วให้ตัดตัวเลขออก
    คงเหลือ นะ สะ สุ ฯลฯ
    3. สร้างไว้ในใจทุกบาท/คาถาให้มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน
    เหมือนตาข่าย ตามรูปศัพท์ดังนี้ (นึกภาพบันทัดตามด้วย)
    3.01 ตัณหังกะโร สัมพันธ์กับ เมธังกะโร (เป็นครั้งที่ 1)
    3.02 สะระณังกะโร สัมพันธ์กับ ทีปังกะโร (เป็นครั้งที่ 2)
    3.03 สุมะโน สัมพันธ์กับ เรวะโต (เป็นครั้งที่ 3)
    3.04 โกณฑัญโญ สัมพันธ์กับ โสภิโต (เป็นครั้งที่ 4)
    3.05 มังคะโล ปุริสาสะโภ สัมพันธ์กับ ปิยะทัสสี นะราสะโภ (เป็นครั้งที่ 5)
    3.06 ปะทุโม สัมพันธ์กับ ปะทุมุตตะโร (เป็นครั้งที่ 6)
    3.07 ปะทุโม สัมพันธ์กับ ปะทุมุตตะโร (เป็นครั้งที่ 6)
    3.08 ปิยะทัสสี สัมพันธ์กับ อัตถะทัสสี และสัมพันธ์กับ ธัมมะทัสสี (เป็นครั้งที่ 7)
    3.09 ติสโส สัมพันธ์กับ ปุสโส (ในฐานะ วรโท พุทโธ - เป็นครั้งที่ 7)
    3.10 วิปัสสี สัมพันธ์กับ สิขี (ในฐานะ สัพพะหิโต สัตถา - เป็นครั้งที่ 8)
    3.11 เวสสะภู สัมพันธ์กับ กะกุสันโธ และสัมพันธ์กับ โกนาคะมะโน (เป็นครั้งที่ 9)
    3.11 กัสสะโป สัมพันธ์กับ โคตะโม (ในฐานภัทรกั่ลป์ - เป็นครั้งที่ 10)
    .. ขยับทีละข้อ ขยายให้มากขึ้นเรื่อย ๆ
    4. กระทำปฏิโลม เป็น
    กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว ฯ
    กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
    ฯล่ฯ
    5. จะทีละอักษร ก็ตามสะดวกเมโมรี่ของท่าน
    6. กลับไป และกลับมา (อนุโลม - ปฏิโลม)
    6. ส่วนเรื่องผลานิสงส์ ... ก็เหมือนเดิม..
    ขอพุทธมนต์ จงสถิตย์อยู่กับท่าน
     
  5. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    วิธีเจริญ กรณียะเมตตา
    ๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
    สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
    ๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
    สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
    ๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
    สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
    ๔. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
    ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลา
    ๕. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
    ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
    ๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
    พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
    ๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
    เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
    ๘. เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
    อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
    ๙.ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
    เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
    ๑๐. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน

    กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ <HR>

    1. ระลึกไว้ในใจว่ามี 10 ข้อ พร้อมคำนำหน้า 1. กะ, 2. สัน, 3. นะ ฯลฯ
    และตัดตัวเลขออกให้เลขเพียงอักษา กะ สัน นะ ฯลฯ
    2. คาถานี้ สร้างสัมพันธ์กันลำบาก แต่พอได้ด้วยเนื้อหาตามลำดับชั้นบรรได หรือตามลำดับ
    คุณธรรม ดังนี้
    2.1 กัลยาณชน ปกติเป็นคนขยัน มีความเคารพ ซื่อตรง ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่หยิ่ง
    2.2 ใช้ชีวิตพอเพียง เลี้ยงง่าย ไม่ทำให้กิจยุ่ง ทำตัวเบา
    ระวังกิริยา มีปัญญาดี ไม่เห็นแก่กิน ไม่หนักเตร็ดเตร่
    2.3 ไม่ละเมิดแม้ในเรื่องเล็กน้อยที่วิญญุตำหนิ ไม่ว่าร้ายใคร
    ปรารถาให้ผุ้อื่นเป็นสุข ให้ถึงภาวะเป็นผู้สบายตลอดทิพาราตรี
    2.4 แผ่ความหวังดีไปยังสัตว์ทั้งหลายที่ใช้ชีวิตอยู่ทั่วไป ตัวกระด้าง ทนทาน (ช้าง) กำยำ
    ตัวยาว (งู) ตัวใหญ่ ตัวกลาง ๆ ตัวสั้น หรือมีตัวนิดเดียว
    2.5 มองเห็นหรือมองไม่เห็น อยู่ไกล หรือใกล้
    ได้ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาอยู่ เหล่านั้น ขอจงประสบสุข
    2.6 (อย่าว่างั้นงี้) ใคร ๆ ก็ไม่ควรโกรธใคร ๆ ไม่ควรตำหนิใคร ๆ
    ไม่ควรหวังทุกข์แก่ใคร ๆ เพียงเพราะความขัดเคืองอันเกิดจากอก
    2.7 เปรียบดังมารดา เผ้ารักษาลูกน้อยด้วยชีวิตตน
    ควรเจริญเมตตาไปในเหล่าสัตว์ ให้หาประมาณมิได้ เช่นนี้แหละ
    2.7 ควรเจริญเมตตาไปในเหล่าสัตว์ ให้หาประมาณมิได้ เช่นนี้
    ไม่เว้นแม้ที่อยู่บนอากาศ (เรือบิน-นก) ใต้ดิน เสมอกัน ในที่แคบ ที่มีเวร หรือเป็นศัตรู
    2.8 ยืนอยู่ หรือนั่ง หรือนอน หรือง่วง ก็ตาม
    ตั้งสติไว้ได้แบบนี้ในชีวิตประจำวัน บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ใช้ชีวิตอยู่เสมือนพรหม
    (สรุป)
    2.9 อาศัยทิฏฐิ เป็นผู้ทรงศีล (กัลยาณะ) พร้อมด้วยทัศนะ (โสดาบัน)
    บรรเทาความใคร่ในกามเสียได้ (อานาคามี) ย่อมไม่ต้องมานอนในท้องใครอีก (อรหันด์-บนพรหมโลก)
    3. คาถานี้ แค่เดินหน้า หัวใจผมก็จะแย่อยู่แล้ว ....
    ท่านที่เมโมรี่ดี หรือยังจ๊าบอยู่ ก็ขอเชิญ ใช้วิธีเดิมครับ
    (f)

    <MARQUEE style="WIDTH: 637px; HEIGHT: 40px; TEXT-ALIGN: center">

    .. ขอเมตตาธรรม จงสถิตย์เคียงคู่ดวงใจท่าน ..






    </MARQUEE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2006
  6. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    (b-evil)
    เก้าวิธี ข่มความโกรธ /ปฏิฆะ
    ____[นัยที่ ๑-ระลึกถึงโทษของความโกรธ]
    ____[สอนตนนัยที่ ๒ - ระลึกถึงความดีของเขา]
    ____[สอนตนนัยที่ ๓ - โกรธคือทำทุกข์ให้ตนเอง]
    ____[สอนตนนัยที่ ๔ - พิจารณากัมมัสสกตา]
    ____[สอนตนนัยที่ ๕ - พิจารณาถึงบุพจริยาของพระศาสดา]
    ____[สอนตนนัยที่ ๖ - พิจารณาถึงความที่เคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ]
    ____[สอนตนนัยที่ ๗ - พิจารณาอานิสงส์เมตตา]
    ____[สอนตนนัยที่ ๘ - ใช้วิธีแยกธาตุ]
    ____[วิธีสุดท้าย - ทำทานสังวิภาค]
    (วิสุทธิมรรค ภาค 2) ที่มา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...