อุปกิเลสเกิดจาก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 18 มิถุนายน 2008.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    อุปกิเลส คือ โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก มี ๑๖ อย่าง คือ ๑) อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร ๒) โทสะ คิดประทุษร้าย ๓) โกธะ โกรธ ๔) อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ ๕) มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ๖) ปลาสะ ตีเสมอ ๗) อิสสา ริษยา ๘) มัจฉริยะ ตระหนี่ ๙) มายา เจ้าเล่ห์ ๑๐) สาเถยยะ โอ้อวด ๑๑) ถัมภะ หัวดื้อ ๑๒) สารัมภะ แข่งดี ๑๓) มานะ ถือตัว ๑๔) อติมานะ ดูหมั่นท่าน ๑๕) มทะ มัวเมา ๑๖) ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต)

    เป็นเรื่องของภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในยุคสมัยนั้น อันเกิดขึ้นมานานหลายพันปี ดังนั้นเมื่ออ่านดูจึงดูแปลกๆ อ่านแล้วเข้าใจได้หลายแง่หลายมุม อีกทั้งยังไม่ กำหนด กฎเกณฑ์ ต้นเหตุที่เกิดอุปกิเลส ให้ได้รู้ ให้ได้เห็น ให้ได้เข้าใจอย่างชัดเจน นั่นก็เป็นเพราะ เป็นเรื่องของศัพท์ภาษาที่ใช้กันเมื่อ หลายพันปีก่อน
    ถ้าจะพิจารณา และค้นหาสาเหตุ แห่งอุปกิเลสแล้ว ย่อมหมายถึง หรือเป็น ผลแห่งความคิด อันได้รับจากการขัดเกลาทางสังคม ได้รับจากการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมของแต่บุคคล และแต่ละสังคม และสภาพสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ฯลฯ
    เป็นเหตุทำให้เกิด กิเลส ซึ่งในทางศาสนาพุทธ กำหนดไว้ว่า เป็นเครื่องเศร้าหมองในจิตใจ เมื่อมีเหตุอันทำให้เกิดกิเลสเครื่องเศร้าหมองแล้ว ย่อมมีผล แห่งกิเลส ซึ่งล้วนเป็น ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    และอุปกิเลส ทั้ง 16 อย่าง ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    หรือสิ่งที่เกิดจาก ความคิด ประสบการณ์ การได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น
    ดังนั้นหากท่านทั้งหลายพิจารณาให้รอบคอบแล้ว ตามที่ข้าพเจ้าสอนไปข้างต้น ก็จะเกิดความเข้าใจ และรู้จักวิธี หรือเทคนิค ที่จะทำให้ไม่เกิด อุปกิเลสขึ้นในจิตใจได้ ถ้าไม่มีความคิดแข็งขืน ถือดี จนเกินเหตุ
     
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ชอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...