อีกโรคหนึ่งต้องพึงระวัง!!มะเร็งเม็ดเลือด "เอ็มเอ็ม"

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 15 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> เพียงแค่เอ่ยถึง " มะเร็ง" คนร้อยทั้งร้อยก็สามารถรับรู้ถึงความน่ากลัวแห่งโรคภัยจากเพียงสองพยางค์สั้นๆ นั้น ในยุคนี้แม้ว่าได้มีการพัฒนาความก้าวหน้าด้านการแพทย์ไปมากแล้วก็ตาม "มะเร็ง" ก็ยังเป็นอีกหนึ่งโรค ที่ถือเป็นโรคร้ายแรง และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยจำนวนมาก แต่สิ่งที่อีกหลายคนยังไม่รู้ก็คือ ยังมีมะเร็งทางโลหิตวิทยาอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งที่ฤทธิ์เดชของมัน ไม่ได้ด้อยไปกว่ามะเร็งที่อื่นๆ เลย ดังนั้นวันนี้จึงมีรายละเอียดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดแบบ "เอ็มเอ็ม" มาแนะนำให้รู้จักกัน


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เซลล์มะเร็งมัลติเพิล มัยอิโลมา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ** "โรคเอ็มเอ็ม" คืออะไร
    "เอ็มเอ็ม" (MM) หรือในชื่อเต็มๆ ว่า มัลติเพิล มัยอิโลมา (Multiple Myeloma) เป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยารูปแบบหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งตัวของพลาสม่าเซลล์ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากไขกระดูก มีการสร้างโปรตีนที่ผิดปกติในเลือด ((Monoclonal protein หรือ "เอ็มโปรตีน) ซึ่งวิธีที่เราจะตรวจพบโรคนี้ได้ ต้องเป็นการตรวจแยกโปรตีนในห้องปฏิบัติการ

    ฤทธิ์ร้ายของโรคเอ็มเอ็มนี้ ที่แม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญก็หนักใจ ก็คืออาการของโรค ซึ่งการป่วยในระยะแรกนั้น ผู้ป่วยแทบไม่รู้สึกตัวเลยว่า ได้ถูกเจ้าโรคมะเร็งร้ายแบบเอ็มเอ็มเล่นงานเข้าให้แล้ว เพราะอาการเบื้องต้นของโรคนี้มีประการเดียวคือ อาการซีด และโลหิตจางเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งเป็นการยากที่จะวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องได้ด้วยอาการชี้บ่งเพียงแค่อาการเลือดจางเล็กน้อย เพราะภาวะเลือดจางนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าป่วยเป็นโรคเอ็มเอ็ม ก็ต้องลุกลามเข้าระยะที่2 หรือ 3 ที่มีอาการโลหิตจาง ปวดกระดูก กระดูกพรุน กระดูกหัก แคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งก็เป็นระยะที่การรักษาถือว่าทำได้ยากแล้ว

    ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเอ็มเอ็ม จากหน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ระบุว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเอ็มเอ็มจะถูกส่งไปแผนกออร์โธปิดิกส์ หรือด้านกระดูกก่อน เพราะอาการที่แสดงออกทางร่างกายจะเป็นอาการปวดตัว ปวดหลัง กระดูกพรุน กระดูกทรุด กระดูกหัก เป็นต้น ซึ่งกว่าจะหาพบว่าเป็นโรคอะไรก็กินเวลานานพอสมควร

    ** สาเหตุของ
     

แชร์หน้านี้

Loading...