อิ่มบุญอิ่มใจ ไหว้ 7 พระยืนในกรุงเทพ

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 กันยายน 2008.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>อิ่มบุญอิ่มใจ ไหว้ 7 พระยืนในกรุงเทพ
    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000112783
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>23 กันยายน 2551 16:15 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธโลกนาถ ในพระวิหารทิศตะวันออกวัดโพธิ์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ไปเที่ยววัดมาก็หลายวัด ไปไหว้พระมาก็หลายหน สิ่งหนึ่งที่ฉันสังเกตก็คือพระพุทธรูปประธานในวัดส่วนมากมักจะเป็นพระในอิริยาบถนั่ง และปางที่นิยมที่สุดก็น่าจะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งถือเป็นปางสำคัญที่บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการตรัสรู้

    แต่พระพุทธรูปปางอื่นๆ เช่น อิริยาบถยืนนั้นไม่ค่อยจะได้เห็นบ่อยสักเท่าไร อาจเป็นเพราะต้องใช้พื้นที่มากในการสร้างก็เป็นได้ แต่สำหรับฉันแล้ว เวลากราบพระพุทธรูปยืนก็จะมีความรู้สึกที่แตกต่างไปจากพระพุทธรูปปางอื่นๆ เวลาก้มลงกราบพระก็เหมือนกับได้กราบลงที่พระบาท เวลามองก็ต้องแหงนหน้ามอง ทำให้รู้สึกว่าพระพุทธเจ้านั้นยิ่งใหญ่ ส่วนมนุษย์ที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่างเรานั้นตัวเล็กเสียเหลือเกิน

    ฉันเลยลองหาวัดในกรุงเทพที่มีพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากวัดนัก หากพร้อมจะไปไหว้พระยืนแล้วก็ขอเชิญเดินทางไปพร้อมฉันได้เลย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระยืนปางห้ามสมุทรในวัดบวรสถานสุทธาวาส</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เริ่มจากวัดฝั่งพระนครกันก่อน ที่"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" หรือวัดโพธิ์ท่าเตียน ซึ่งมีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ในพระวิหารทิศตะวันออก หรือบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถของวัดโพธิ์ พระพุทธรูปองค์นี้มีนามว่า "พระพุทธโลกนาถ ราชมหาสมมตวงศ องคอนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร" หรือเรียกกันสั้นๆว่า "พระพุทธโลกนาถ"

    พระพุทธโลกนาถซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาตินี้มีขนาดสูง 20 ศอก เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อกรุงแตก วัดต่างๆ ถูกเผาทำลายรวมถึงวัดพระศรีสรรเพชญ์ด้วย ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ ขึ้น จึงโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระพุทธโลกนาถจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกจนปัจจุบัน

    ในวัดโพธิ์นี้ยังมีพระยืนอีกองค์หนึ่ง แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เพราะเป็นพระพุทธรูปยืนที่ประดิษฐานอยู่ในพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชรดาญาณ เจดีย์กระเบื้องเคลือบสีเขียวซึ่งเป็นพระเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1 พระศรีสรรเพชญ์นั้นเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดสูง 16 เมตร เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกับพระพุทธโลกนาถ และได้ถูกข้าศึกทำลายในคราวกรุงแตกเช่นเดียวกัน อีกทั้งข้าศึกยังได้เอาไฟเผาเพื่อหลอมทองที่หุ้มองค์พระออกไปด้วย องค์พระศรีสรรเพชญ์จึงมีความเสียหายอย่างหนัก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระอัฎฐารสในพระวิหารวัดสระเกศฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> รัชกาลที่ 1 เคยโปรดเกล้าฯให้ซ่อมพระศรีสรรเพชญ์ที่ชำรุดมากด้วยการหล่อขึ้นใหม่ แต่มีผู้ทัดทานไว้ว่าพระศรีสรรเพชญ์ได้เคยสร้างสำเร็จเป็นองค์พระพุทธรูปแล้ว ไม่ควรเอาเข้าไฟหล่อใหม่อีก พระองค์จึงโปรดฯให้บรรจุพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่เหลือแต่แกนพระไว้ในพระมหาเจดีย์ และถวายนามเจดีย์ตามชื่อของพระพุทธรูปว่า "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ" นั่นเอง

    มาถึงพระยืนอีกวัดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ นั่นก็คือ "วัดบวรสถานสุทธาวาส" หรือ "วัดพระแก้ววังหน้า" ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ เชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งพระนครนี่เอง แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้ามาก่อน โดยตำแหน่งวังหน้านี้คือตำแหน่งอุปราชในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั่นเอง

    วัดพระแก้ววังหน้านั้นได้ก่อสร้างขึ้นในสมัยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ วังหน้าในรัชกาลที่ 3 และพระองค์ยังได้ทรงสร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางห้ามสมุทรไว้สำหรับประดิษฐานในพระอุโบสถนี้ด้วย แต่ยังไม่ทันสร้างเสร็จก็ประชวรหนัก พระองค์จึงทรงจบผ้าห่มที่ตั้งใจจะถวายแด่พระพุทธรูป และทรงมีพระดำรัสสั่งไว้ว่า ต่อไปใครเป็นใหญ่ได้ทรงบูรณะวัด ก็ขอให้ถวายผ้าห่มผืนนี้แด่พระพุทธรูปด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หลวงพ่อโตปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ปัจจุบันวัดพระแก้ววังหน้าคงเหลือแต่เพียงพระอุโบสถทรงจัตุรมุขขนาดใหญ่งดงาม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ เพราะสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้าในรัชกาลที่ 4 เคยจะทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ที่นี่ และนอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องราวประวัติพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประวัติพระคเณศ วรรณคดีเรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ ภาพพระราชพิธีโบราณของไทยก็มีวาดไว้ด้วยเช่นกัน

    และที่ "วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร" นอกจากจะมีภูเขาทองเป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันดีแล้ว ก็ยังมีพระพุทธรูปยืนนามว่า "พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร" เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติขนาดสูง 5 วา 1 ศอก 10 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดสระเกศอีกด้วย

    เดิมทีนั้น พระอัฏฐารสเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก ต่อมารัชกาลที่ 3 โปรดฯให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่พระวิหารวัดสระเกศเมื่อคราวที่มีการปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ สันนิษฐานว่าน่าจะอัญเชิญมาในช่วงเดียวกับที่มีการอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาไว้ที่วัดบวรนิเวศฯนั่นเอง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระยืนปางห้ามญาติในพระวิหารวัดราชโอรสฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในย่านบางขุนพรหม ที่ "วัดอินทรวิหาร" ก็มีพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางแจ้ง เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไปด้วยเช่นกัน พระพุทธรูปองค์นี้มีนามว่า "พระศรีอริยเมตไตรย" หรือที่คนนิยมเรียกท่านว่า "หลวงพ่อโต" โดยเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรที่สูงที่สุดในโลก คือมีความสูงประมาณ 32 เมตร และบนยอดเกตุของหลวงพ่อโตก็มีพระบรมสารีริกธาตุที่รัฐบาลประเทศศรีลังกามอบให้รัฐบาลไทยประดิษฐานอยู่ ส่วนองค์ของหลวงพ่อโตนั้นก็ประดับด้วยกระจกโมเสกทองคำแท้จากประเทศอิตาลีทั้งองค์ มองดูเหลืองอร่ามท่ามกลางแสงแดด

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่เมื่อสร้างไปได้ถึงเพียงพระนาภี หรือบริเวณสะดือของพระพุทธรูป สมเด็จโตก็มรณภาพเสียก่อน การก่อสร้างจึงได้หยุดชะงักอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะดำเนินต่อมาอีกถึง 60 ปี ก่อนที่จะสร้างพระศรีอริยเมตไตรยองค์นี้เสร็จสิ้นลงในสมัยรัชกาลที่ 7

    คราวนี้ข้ามมาไหว้พระยืนที่แถวฝั่งธนกันบ้าง แถวเขตจอมทองที่ "วัดราชโอรสาราม" วัดประจำพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่มีความโดดเด่นตรงที่มีศิลปกรรมแบบจีนสอดแทรกอยู่ในวัดไทย เช่น หน้าบันของพระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าใบระกาเหมือนวัดอื่นๆ แต่กลับเป็นหน้าบันแบบเรียบๆประดับด้วยเครื่องกระเบื้องและลวดลายปูนปั้นต่างๆ อันเป็นศิลปะแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ 3

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระประธานในพระอุโบสถวัดเครือวัลย์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ส่วนพระยืนในวัดราชโอรสนั้นประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่อยู่ทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน หน้าบันเป็นลวดลายประแจจีน ประดับด้วยเครื่องถ้วย พระพุทธรูปยืนที่ประดิษฐานในพระวิหารนั้นเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ สันนิษฐานว่าวิหารหลังนี้เคยเป็นพระอุโบสถเก่าของวัดมาก่อน และพระยืนองค์นี้ก็เป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังเดิม ก่อนรัชกาลที่ 3 จะทรงเข้ามาบูรณะ

    อีกทั้งบริเวณด้านหน้านั้นก็มีพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เป็นที่บรรจุอัฐิของราชสกุลลดาวัลย์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 อีกด้วย

    แต่คนที่อยากจะกราบพระยืนในพระวิหารวัดราชโอรสฯ คงต้องรอช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทางวัดจะมีงานประจำปี เพราะตามปกติแล้ววิหารพระยืนจะไม่เปิดให้เข้าชม

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระยืนด้านนอกพระวิหารวัดดุสิต หรือวัดภุมรินราชปักษีเก่า</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ส่วน "วัดเครือวัลย์วรวิหาร" วัดซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับกรมอู่ทหารเรือ ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีพระพุทธรูปยืนเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระยาอภัยภูธรและเจ้าจอมเครือวัลย์ในรัชกาลที่ 3 ผู้เป็นธิดาได้ปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง วัดนี้จึงได้รับพระราชทานนามว่า "วัดเครือวัลย์" โดยหน้าบันของพระอุโบสถนั้นประดับลายปูนปั้นลายเครือเถา บานประตูและหน้าต่างมีลายปูนปั้นงดงาม จิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้า 500 ชาติ ฝีมือช่างในรัชกาลที่ 3 ส่วนพระประธานในพระอุโบสถนั้น เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติอันงดงามไม่แพ้วัดไหน

    มาไหว้พระยืนที่วัดสุดท้ายกันที่ "วัดดุสิดารามวรวิหาร" บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี วัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่รวมเอาพื้นที่ของวัดเก่า 3 วัดรวบเข้าเป็นพื้นที่เดียวกัน คือวัดดุสิดาราม วัดน้อยทองอยู่ และวัดภุมรินราชปักษี

    พระพุทธรูปยืนที่ฉันพูดถึงนี้อยู่ในเขตของวัดภุมรินราชปักษีเก่า ซึ่งยังคงมีอุโบสถและวิหารหลงเหลืออยู่ แม้โบสถ์และวิหารจะมีขนาดค่อนข้างเล็กแต่ก็มีความสวยงามด้วยลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานพระอุโบสถและพระวิหารโค้งปากสำเภาหรือตกท้องช้าง หน้าบันและคันทวยเป็นลายแกะสลักไม้ โดยบริเวณด้านหลังของวิหารนั้นจะมีพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติองค์ใหญ่อยู่ด้วย

    และนี่ก็คือ 7 พระพุทธรูปยืนในกรุงเทพฯ ที่หากใครสนใจก็ขอเชิญมากราบไหว้กันได้ตามศรัทธา

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...