อินทรีย์ ๕ ? จะเอาอะไรก็ได้ทั้งนั้น (ถ้ามีนะ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny2, 24 มิถุนายน 2015.

  1. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    อินทรีย์ ๕
    การเจริญอินทรีย์ ๕ เส้นทางสีทองสู่ความตื่นรู้

    มนุษย์เราทุกคนที่เกิดมาแล้วในโลกล้วนแล้วแต่มีหน้าที่ เช่น หน้าที่ต่อตนเอง หน้าที่ต่อครอบครัว หน้าที่ความเป็นลูก หน้าที่ของความเป็นญาติพี่น้อง หน้าที่ต่อสังคม หน้าที่การเรียนการทำงาน หน้าที่ต่อประเทศ โดยมีสถานะเป็นตัวกำหนดบทบาทแต่ละคนในหน้าที่ขณะนั้นๆ
    หน้าที่หลักที่สำคัญของ มนุษย์ทุกคนที่เกิดมา คือ การพัฒนาความรู้เพื่อนำสู่การวิวัฒน์พัฒนายกระดับ อินทรีย์ คุณธรรมความดีงามสู่ความตื่นรู้ทางจิตวิญญาณเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์พ้น ไปจากการเวียนว่ายตายเกิด หากว่าเขาไม่หลงลืมและได้ทำหน้าที่นี้ ก็เท่ากับการปฏิบัติธรรม ธรรมะหมายถึงหน้าที่
    สิ่งที่เป็นใหญ่ในชีวิตจิตวิญญาณของแต่ละคน คือ อินทรีย์ และเป็นสิ่งที่ควรสร้างสมบ่มเพาะถ้าหากว่าเขานั้นต้องการที่จะพัฒนาในธรรม

    อินทรีย์มี ๕ อย่าง ประกอบ ด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาอินทรีย์ ๕ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่ผู้ต้องการจะพัฒนาในธรรมควรฝึกฝนเพาะบ่มให้ ยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ

    ศรัทธา อินทรีย์ คือ ความเชื่อในสิ่งที่ดีงาม ความศรัทธาในพุทธศาสนา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีความเชื่อในบาปบุญคุณโทษ ซึ่งความเชื่อนี้ก็จะไม่เป็นเพียงแต่ความเชื่อศรัทธาไว้อย่างเดียว แต่ศรัทธาความเชื่อลักษณะดังกล่าวจะส่งผลออกมาทางปฏิบัติตนออกมาทางศีลสำรวม ด้วย
    ศีลสำรวม คือความเป็นปกติ เกิดจากศรัทธาความดีงาม ศีลเป็นข้อปฏิบัติให้อยู่ร่วมกันในทุกสังคมอย่างสันติ ซึ่งแต่ละสังคมสิ่งแวดล้อมมีข้อระเบียบบัญญัติในความเป็นปกติไว้ตามสถานะ คือ ศีล ๕ ศีล๘ ในหมู่สังคมฆราวาส, ศีล ๑๐ สำหรับสมเณร แม่ชี, ศีล ๒๒๗ สำหรับหมู่สังคมพระสงฆ์,ศีล ๓๓๑ สำหรับภิกษุณีสังคมใดจะอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ ก็เพราะสังคมนั้นผู้คนที่อยู่ร่วมกันมีระเบียบวินัย
    เมื่อมีบุคคลที่สนใจปฏิบัติในรายละเอียดที่ลึกลงไปของพุทธศาสนา คือสมาธิ ซึ่งมีทั้งสมถะและวิปัสสนาเขาจะศึกษาน้อมนำ ศีลกุศลกรรมบท ๑๐ มาศึกษาปฏิบัติ เพราะบาทฐานของสมาธิ คือศีล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน
    บุญ(ปุญญ-เครื่องให้ฟูใจ) และกุศล(ภาวะดีงามที่ได้ปอกลอกมลทินห่อหุ้มจิตใจ) สองสิ่งนี้จะนำไปสู่ความสุขสงบยิ่งขึ้นไปโดยลำดับเหตุมาจากการเจริญทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
    ศีลสำรวมกุศลกรรมบท ๑๐ เกื้อหนุนสมาธิภาวนา เป็นการสำรวมกาย วาจา และจิตใจ ให้อยู่ในความประพฤติการกระทำที่ดีงาม เป็นความศรัทธาในความดีงามความถูกต้อง สำนึกรู้ในบาปบุญคุณโทษ-หิริโอตตัปปะ และกฏแห่งกรรมสิ่งที่ออกมาจากจิตใจ คือวาจา และการกระทำ จะไปในทิศทางเดียวกันคือเขาจะเป็นที่คนพูดจาตรงกับใจ และพูดอย่างไรก็จะมีเจตนาความพยายามทำอย่างนั้นตามที่ได้พูดไว้ ซึ่งจะได้ทำ ทำได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย
    ความดำริ(สังกัปปะ) ในการรักษาความดีงามกุศลกรรมบท ๑๐ ประการ
    อาชชวะ คือ ความซื่่อตรงต่อตนเอง และผู้อื่น มีความนึกคิด วาจา และการกระทำที่ซื่อตรงไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
    ศีล สงเคราะห์ลงใน ศรัทธาอินทรีย์ หนึ่งในอินทรีย์ ๕

    ศรัทธาอินทรีย์ สงเคราะห์ลงใน สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ในองค์มรรค ๘

    วิริยะ อินทรีย์ คือ ความเพียรในการดำรงรักษาจิตไปในทางกุศล หากมีอกุศลจิตเกิดขึ้นก็พยายามดับไป และเฝ้าดูแลสภาวธรรมที่ไหลออกมาจากจิตอนึ่ง กุศลธรรมและกุศลจิต มีความหมายอย่างเดียวกัน เพราะธรรมทั้งหลายไหลออกมาจากจิต จิตเป็นสภาพรับรู้ อยู่ในสภาพกลาง ที่มี องค์ประกอบจิตหรือเจตสิก เป็นตัวเข้ามาปรุงแต่งจิต ไปทางกศุลหรืออกุศลการดูแลมิให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นติดต่อเรียงกัน การเพียรดับอกุศลธรรม คือการพยายามเข้าไปดับเจตสิกขณะที่ปรุงแต่งไปด้วยอกุศลนั่นเอง
    วิริยะอินทรีย์ คือ สัมมาวายามะ หนึ่งในองค์มรรค ๘

    สติ อินทรีย์ คือ สติปัฏฐาน๔ ที่มีการระลึกเฝ้าตามดูในกาย สิ่งที่เกี่ยวข้องที่กำลังเกิดภายในกาย ตามการระลึกรู้เฝ้าตามดูเวทนาหรือความรู้สึก การระลึกรู้เฝ้าตามดูจิต การระลึกรู้เฝ้าตามดูธรรม ทั้งหมดมี ๔ ฐานคือกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งฐานกายแยกออกเป็นการฝึกฝน ๖ วิธีตามความถนัด อุปนิสัยจริตแต่ละบุคคล ส่วนฐานเวทนา จิต และธรรม นั้นล้วนเป็นไปในทางเดียวกันทั้งสิ้นซึ่งกำลังของสติ ความละเอียดคมชัดของสติเป็นปัจจุบันขณะ เกิดจากการฝึกฝนทั้ง ๔ ฐานดังที่กล่าวมาแล้วโดยย่อ
    สติอินทรีย์ คือ สัมมาสติ หนึ่งในองค์มรรค ๘

    สมาธิ อินทรีย์ คือ รูปฌานที่มี ๔ ลำดับ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน สมาธิซึ่งมีทั้งสมถะและวิปัสสนา ซึ่งสองอย่างนี้อันใดมาก่อนมาทีหลังก็ขึ้นกับจริตอุปนิสัยแต่ละบุคคลราย ละเอียดเกี่ยวกับการฝึกฝนสมาธิภาวนา สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่างการเจริญพรหมวิหาร ๔ ไว้อย่างสม่ำเสมอจะเกื้อกูลสมาธิอินทรีย์(พรหมวิหาร๔ ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
    สมาธิอินทรีย์ คือ สัมมาสมาธิ หนึ่งในองค์มรรค ๘

    ปัญญา อินทรีย์ คือ ความรู้และการได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรงที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติเองใน ทุกข์, สาเหตุให้เกิดทุกข์,ความดับทุกข์, การศึกษาเรียนรู้ฝึกฝนในหนทางที่จะดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์ ๘ ปัญญาอันประกอบด้วยไตรลักษณ์
    ปัญญาอินทรีย์ คือ สัมมาทิฎฐิ หนึ่งในองค์มรรค ๘
    เอามาจาก https://sites.google.com/site/chamcharat2/inthree5
    แต่ที่จริงหาได้อีกหลายที่เลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...